ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 07:40:17 pm »

:13: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 07:28:29 am »

พรอันประเสริฐ


งาน ศพของคนในเมืองใหญ่ จึงเป็นงานสวยงาม เป็นงานเกียรติยศ เป็นงานหรูหรา เป็นงานที่มองไม่เห็นว่า คนที่นอนอยู่ในโลง จะสอนคนที่อยู่ข้างนอกได้อย่างไร

เรื่อง : ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
เคยสังเกตบ้างไหมว่า ทำไมเมื่อมีคนตายลง จึงนิยมนำศพไปตั้งสวดพระอภิธรรม หรือทำพิธีกรรมเกี่ยวกับศพกันที่วัด ตายแล้วทำไมไม่เผาทันที
บางคนอาจตอบแบบง่ายๆ ว่า ก็เพื่อให้พระสวด
บางคนอาจตอบว่า ก็เพราะศพไม่ควรจะอยู่ในบ้านร่วมกับคน
บางคนอาจตอบว่า ขืนจัดงานศพที่บ้าน ก็คงถูกผีหลอก





เหตุผล ที่แท้ที่นิยมสวดศพกันในวัด ก็เพราะท่านต้องการให้พระที่วัดใช้ศพเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา กรรมฐานยิ่งศพอยู่ในสภาพเน่าเหม็น อุจาด มีหมู่หนอนชอนไช ยิ่งเป็นอารมณ์กรรมฐานชั้นดี ยิ่งพิจารณายิ่งทำให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ของสังขาร

ยิ่งพิจารณายิ่งตระหนักถึงสัจธรรมที่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

การ เผาศพในอินเดีย จึงนิยมทำกันกลางแจ้ง วางศพบนท่อนฟืน จากนั้นจุดไฟเผาอย่างเปิดเผย ญาติๆ ยืนรายล้อม ดูศพของคนอันเป็นที่รักค่อยๆ มอดไหม้ไปต่อหน้าต่อตา ศพที่กำลังถูกเผาจนป่นเป็นผงคลีธุลีดิน จะแปรรูปเป็น “อาจารย์ใหญ่” ให้กับผู้ที่ยืนดูอย่างแจ่มกระจ่าง

ชีวิตสุดท้ายก็จบลงตรงนี้ (ความตาย)
ทุกชีวิตจะเป็นอย่างนี้ (เกิดขึ้น เปลี่ยนแปร แตกดับ)
ทุกชีวิตจะเหลือแค่นี้ (ผงคลีธุลีดิน)
พระ หลายรูปในสมัยพุทธกาล บรรลุธรรมเมื่อได้พิจารณาอสุภซากของผู้ตาย พระหลายรูปเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยลง ปลงเป็น เห็นธรรม งานศพกลางแจ้ง จึงเป็นนิทรรศการที่น่าดูชมที่สุด
งาน ศพจึงเป็นงานที่ควรทำอย่างเปิดเผยที่สุด เพราะยิ่งเปิดเผย ยิ่งก่อเกิดสติปัญญาแก่ผู้ที่ยังอยู่ นับเป็นโชคดีที่วันนี้ เรายังพอมีงานศพกลางแจ้งให้เห็นอยู่บ้าง แต่ในเมืองใหญ่ จะหางานศพกลางแจ้งให้ดูชม ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนในเมืองใหญ่ ไม่ชอบความจริง ไม่อยากฟังความจริง แม้จะรู้ดีว่า วันหนึ่งความจริงสุดท้าย คือ ความตายจะเกิดขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน
แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ไม่อยากฟัง ไม่อยากรู้ ไม่อยากพบ ชั้นแต่คำว่า “ตาย” ก็ไม่ควรนำมาพูดในชีวิตประจำวัน
งาน ศพของคนในเมืองใหญ่ จึงเป็นงานสวยงาม เป็นงานเกียรติยศ เป็นงานหรูหรา เป็นงานที่มองไม่เห็นว่า คนที่นอนอยู่ในโลง จะสอนคนที่อยู่ข้างนอกได้อย่างไร ด้วยท่าทีเช่นนี้เองที่ต่อให้สัจธรรมเปิดเผยตัวเองอยู่ตรงหน้า คนในเมืองใหญ่ ก็ไม่อาจมองเห็น

ในเมื่อตั้งใจที่จะปิดหู ปิดตา ปิดใจตัวเองจากสัจธรรมสุดท้าย พวกเขาจึงพลาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้ความหมายของการดำรงอยู่อย่างดีที่สุด
ช่างเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่คนซึ่งล้วนแต่จะตายในอนาคต กลับไม่อยากสบตากับความตาย ทั้งยังมองความตายว่า เป็นเรื่องอัปมงคล !
มหาเศรษฐีคนหนึ่งไปทำบุญที่วัด เมื่อทำบุญเสร็จแล้ว จึงขอให้หลวงพ่อเขียนคำอวยพรให้มีความสวัสดีมีชัยตลอดไป
หลวงพ่อหยิบพู่กัน กระดาษ แล้วตวัดข้อความที่เป็นพรสุดวิเศษ
เศรษฐี เฝ้ามองด้วยใจระทึก เมื่อเขียนเสร็จหลวงพ่อก็ยื่นกระดาษคำอวยพรให้ แต่เมื่อได้รับแล้ว เศรษฐีกลับโกรธสุดขีด เพราะในกระดาษนั้น มีคำอวยพรที่เขียนว่า
“ขอให้พ่อตาย ลูกตาย แล้วหลานก็ตาย”
“หลวง พ่อ ผมขอให้เขียนคำอวยพรให้ครอบครัวของกระผม แล้วนี่มันอะไรกัน ทำไมท่านจึงเขียนข้อความที่เป็นอัปมงคลเช่นนี้” เศรษฐีตำหนิหลวงพ่ออย่างหัวเสีย
หลวงพ่อยิ้ม วางพู่กัน พลางอธิบาย
“อาตมา จะบอกให้ สิ่งที่เขียนให้นี้ ไม่ใช่เรื่องอัปมงคล แต่มันคือพรแสนวิเศษ โยมลองคิดดูสิ ถ้าลูกของโยมตายก่อนตัวโยม โยมจะเสียใจขนาดไหน ถ้าหลานของโยมตายก่อน ทั้งโยมและลูกจะเสียใจขนาดไหน แต่ถ้าทุกคนในครอบครัวตายไปตามลำดับอย่างเป็นธรรมชาติอย่างที่อาตมาเขียนให้ นี้ ก็นับเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เช่นนี้ ยังไม่นับเป็นพรที่แสนวิเศษอีกหรือ ?”


พรอันประเสริฐ

.

http://www.posttoday.com/lifestyle/h...B8%B4%E0%B8%90

.



.