ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 27, 2010, 11:03:25 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: ธันวาคม 27, 2010, 09:36:53 pm »

ความเป็นผู้ซื่อตรง
 :13: :13: :13: :13:


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

"ความ เป็นผู้ซื่อตรง" หรือคำว่า อาชชวะ มีความหมายถึง การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน

อาทิ เป็นคนไทยก็ต้องซื่อตรงต่อชาติ พระศาสนาและพระมหากษัตริย์

ความซื่อตรง แบ่งออกเป็น ๖ ประการ อธิบายได้ ดังนี้

๑. ตรง ต่อบุคคล

คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เนรคุณผู้มีพระคุณ และไม่เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก

๒. ตรงต่อเวลา

คือ จะนัดหมายกับใคร หรือจะทำงานสิ่งใดก็ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ และไม่เอาเวลาราชการไปเป็นประโยชน์ส่วนตน

๓. ตรงต่อวาจา

คือ เมื่อได้รับปากกับใครว่าจะทำสิ่งที่ดีและสุจริต จะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีและทุจริต ก็ให้กระทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้

๔. ตรงต่อหน้าที่

คือ ซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อหน้าที่การงานของตน ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ละทิ้งหน้าที่และปัดความรับผิดชอบ

๕. ตรงต่อธรรมะ

คือ การยึดมั่นในหลักคุณธรรม และบูชาความถูกต้อง ความยุติธรรม ความชอบธรรมไว้เหนือสิ่งอื่นใด

๖. ตรงต่อตนเอง

คือ การไม่โกหกตนเอง ซื่อสัตย์สุจริตต่ออุดมการณ์ของตน ไม่ฝืนใจทำในสิ่งที่ไม่ใช่ปณิธานของตนเอง

อาชชวธรรม จึงเป็นหลักธรรมสำคัญในการปกครอง เพราะคนอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่

ถ้าผู้นำปฏิบัติตนไม่ซื่อตรงไม่ซื่อสัตย์ จะเป็นบ่อเกิดแห่งความประพฤติทุจริตคิดมิชอบและก่อให ้เกิดความหวาดระแวง

ถ้า ประพฤติตรงและปฏิบัติตรงต่อกัน มีความจริงใจต่อกันและกันแล้ว ก็จะก่อให้เกิดความไว้วางใจ ยอมรับนับถือและสมัครสมานสามัคคีก็จะอยู่เย็น เป็นสุข ไม่ต้องอยู่ร้อน นอนทุกข์ เพราะประพฤติผิดปฏิบัติผิด

สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงอรรถาธิบายขยายความคำว่าอาชชวะในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท" ตอนหนึ่งว่า

"พระมหากษัตริย์ จะต้องมีพระอัธยาศัยประกอบด้วยความเที่ยงตรงต่อประชา ชนโดยทั่วไป ไม่ทรงคิดลวงหรือประทุษร้ายผู้ใด"

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความซื่อตรง ทรงยึดมั่นอยู่ในหลักแห่งอาชชวธรรม โดยไม่ทรงเอนเอียงเปลี่ยนแปลงไป

พระองค์ ทรงโดดเด่นเป็นสง่า ประทับอยู่ในดวงหทัยของพสกนิกรชาวไทยตลอดมา ก็เพราะทรงมีพระราชอัธยาศัยซื่อตรงทรงสัตย์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเสมอกันหมด ไม่ทรงเอนเอียงหรือหนักไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใด ภาคไหนหรือนับถือศาสนาอะไรก็ตาม



คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา โดย สาโรจน์ กาลศิริศิลป์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ใน ข่าวสดรายวัน วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓,ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๗๒๑๒, หน้า ๓๑
โพสที่  http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=385597
__________________