ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 11:21:33 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับผม  ขอบคุณครับคุณนู๋ตา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 12:47:01 pm »




อนุโมทนาค่ะ  :13: :19:
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 08:32:10 am »


 
 
ในย่างก้าวสู่ปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๔ จึงใคร่ขอให้สาธุชนใช้สติตามดู ตามรู้ ตามเห็น ไอ้ตัวโกรธ ไอ้ตัวขี้หงุดหงิด ไอ้ตัวอาฆาตพยาบาท หวังประทุษร้ายในผู้อื่นว่า หน้าตามันเป็นอย่างไร !? หากหน้าตามันคล้ายกับเรา หรือเหมือนกับเรา ก็ขอให้รีบแก้ไขเสีย อย่าปล่อยปละละเลยให้มันครอบอยู่ เพราะเราจะเสียจิต ... ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างลำบาก ประสบแต่โทษทุกข์สืบต่อไปไม่หมดสิ้น ... ที่สำคัญคือ มันสามารถทำลายผู้อื่น ... ทำลายสังคมได้อย่างฉับพลัน แค่เพียงหนึ่งอารมณ์เดียวของความคิดที่มีโทสะ ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ แปลว่า ผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำจิตแล้ว ย่อมสละกุศลเสีย หรือมองอีกนัยหนึ่ง คือ ความโกรธเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมสลัดความดีทิ้งได้ไม่ยาก ทั้งนี้เพราะคนเราเมื่อความโกรธเข้าครอบงำแล้ว ย่อมจะไม่คำนึงถึงความดี ศีลธรรมนั้นไม่ต้องยกมากล่าวอ้างกันอีกแล้ว กูไม่ฟัง ... กูไม่เชื่ออะไรทั้งสิ้นแล้ว บาปบุญไม่มี .. ไม่ต้องมาพูดถึงกันอีกแล้ว ซึ่งเป็นภาวะจิตที่อันตรายมาก เรียกว่า ยอมเลว ยอมตาย ยอมตกนรกหมกไหม้ ดังที่มีบุคคลบางคนที่ผูกอาฆาตพยาบาท ชอบกล่าวว่า “แม้จะต้องลงนรก ก็ยอม...” ไม่กลัวอะไรแล้วทั้งนั้น !!! เรียกว่า ยอมวินาศ ฉิบหาย เพราะเห็นแก่ความโกรธ จึงปฏิเสธหลักศีลธรรม ไม่ยอมรับหลักอภัยทาน จองเวร จองกรรมกันไปจนกว่าตนหรือคนอื่นๆ จะต้องฉิบหายไปข้างหนึ่ง ไม่สนใจอะไรทั้งสิ้นแล้ว แม้บ้านเมือง สังคม ของตนเองจะต้องฉิบหายไปด้วย... นี่เป็นอันตรายของความโกรธประการหนึ่งที่เห็นได้ชัด และปรากฏเกิดขึ้นให้เห็นแจ้งประจักษ์ในสังคมไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา จนมีการเผาบ้านทำลายเมืองติดอาวุธฆ่าฟันกัน ดุจสงครามกลางเมือง ก็ด้วยฤทธิ์เดชของความโกรธ ดังพระบาลีที่ว่า หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ แปลว่า คนโกรธย่อมฆ่าได้ แม้กระทั่งมารดาของตน
 

 
หากสืบสาวเพื่อเข้าให้ถึงความจริงว่า “ความโกรธเกิดจากอะไร ... หรือความโกรธมาจากไหน!?” ก็คงตอบกันไม่ยาก เมื่อพิจารณาดูตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท ก็ให้พบว่า เหตุแห่งความโกรธ ก็คือ ตัณหา ด้วยตัณหาเป็นสมุทัยของความทุกข์ ซึ่งความโกรธนั้นนำไปสู่ความทุกข์อย่างยิ่ง ... โดยหากมองเข้าไปหาความหมายของตัณหา ก็คงจะสรุปให้ตรงกันว่า เป็นอำนาจความอยากที่เกิดขึ้นจากอวิชชาเป็นปัจจัย หรือเป็นความอยากที่เกิดขึ้นจากอวิชชาเป็นปัจจัย หรือเป็นความอยากด้วยอำนาจอวิชชาก็ว่าได้ ซึ่งหมายถึง ความอยากที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความโง่ เช่น กามตัณหา แปลว่า ความอยากในทางกาม โดยเฉพาะการอยากเสพกาม ด้วยมีความต้องการหรือมีความรักที่สร้างขึ้นด้วยอำนาจกามตัณหา ทีนี้เมื่อได้ตามต้องการ ความโกรธก็เกิดขึ้น ดังนั้น หากไม่มีตัณหา มันก็ไม่ต้องการ ไม่ตั้งค่าความหวังใดๆ ก็ไม่ผิดหวังในเรื่องนั้นๆ ความโกรธก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีความรัก ความไม่ชอบใจไม่เกิดขึ้น ก็เพราะไม่มีความชอบใจ ... !! ดังที่เรียกว่า ภวตัณหา คือความอยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ ด้วยความยึดถือความเป็นตัวตน หรือวิภวตัณหา คือ ความไม่อยากเป็นอย่างนั้น ไม่อยากเป็นอย่างนี้ ... ซึ่งเมื่อไม่ได้ตามประสงค์ ก็ให้มีความขัดใจ ขุ่นใจ และนำไปสู่ความโกรธ โดยสรุปของความโกรธก็มาจากอาการขัดใจ ไม่ได้ดังใจ ไม่สมประสงค์ ไม่สมปรารถนาตามที่ตั้งใจ อยากเสพ อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือไม่อยากมี ไม่อยากเป็น จึงเกิดไฟโทสะเผาไหม้ขึ้นภายในจิตใจ และหากพลุ่งพล่านออกมาภายนอก ก็ทำให้คนอื่นฉิบหายด้วย ดังพระบาลีที่ว่า นตฺถิ โทสสโม คโห นตฺถิ โทสสโม กลิ แปลว่า ความโกรธนี้เป็นเคราะห์ภัย หรือเป็นกลีที่สุด ซึ่งแปลให้ชัดตรงเข้าไปเลยก็สรุปได้ว่า “ความโกรธเป็นกลีที่สุด หรือไม่มีความเลวร้ายชนิดไหนเทียบเท่ากับความโกรธ หรือ โทสะ ได้เลย ...
 

 
หากจะถามว่า ก็ในเมื่อความโกรธมีแต่ความเลวร้าย นำไปสู่ความฉิบหาย เป็นกลีที่สุดแล้ว ทำไมคนเราจึงไม่กลัวเกรง เพื่อยุติการกระทำ ก็ต้องตอบว่า “ก็เพราะความโกรธมันมีเสน่ห์...” แต่มันมีเสน่ห์สำหรับคนโง่ ... คนอับปัญญา !!! หรือมันเป็นของอร่อยสำหรับคนโง่ ดังภาษาบาลีที่ว่า โกโธ ทุมฺ เมธโคจโร แปลว่า ความโกรธเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา
เราจึงเห็นคนที่อยู่ในระหว่างความโกรธเขาจะเพลิดเพลินในการแสดงบทบาทคุณ .. กล่าว หรือใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันอย่างเมามัน... จนขาดจากความเป็นสัตว์ประเสริฐไป ให้ดูคล้ายๆ กับกิริยาท่าทางของสัตว์เดรัจฉาน มีการแยกเขี้ยวเคี้ยวฟัน ดวงตาถมึงทึง หน้ายักษ์ หน้ามาร... อย่างไม่รู้ตัวว่ามีความน่าเกลียดน่ากลัวขนาดไหน ... เรียกว่า ไฟโกรธมันสำแดงฤทธิ์เดชอย่างเต็มที่ ... ไม่ว่าจะมีอะไรมาขวางหน้าก็ไม่กลัวอีกแล้ว ตายเป็นตาย (แต่พอจะตายจริงๆ กลับกลัว...) ทั้งนี้ เพราะขณะที่ไฟโกรธแผดเผาอยู่นั้น คนโง่จะให้ความรู้สึกเพลิดเพลินเหมือนได้ดื่มกินน้ำตาลหวานอร่อย แต่ภายหลังโกรธเสร็จแล้ว กลายเป็นยาพิษให้ขมขื่นทีหลัง ดังพระบาลีที่ว่า ปจฺฉาโส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑโฒว ตปฺปติ แปลว่า ภายหลังเมื่อความโกรธหมดไปแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
อาตมาขอน้อมนำเรื่อง ไฟแห่งความโกรธ พิษแห่งความโกรธ ความฉิบหายที่มาจากความโกรธ เพื่อเป็นอนุสติธรรมแด่สาธุชนชาวไทย จะได้เป็นเครื่องเตือนใจในการก้าวเดินต่อไปบนสะพานแห่งเวลาที่สืบเนื่องต่อไปในปีพุทธ
 
 
------------
โพสต์ทูเดย์
อนุสติธรรมปีใหม่ (๒๕๕๔)
รูปภาพประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
ข้อความโดย: i mah'ta
« เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 08:28:20 am »

อนุสติธรรมปีใหม่ (๒๕๕๔)
 
ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผู้ปรารถนาประกอบคุณความดี ผู้มุ่งหลีกหนีสรรพทุกข์ ยกย่างวันเวลาเข้าสู่ปีใหม่
 
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
 

 
ขอเจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผู้ปรารถนาประกอบคุณความดี ผู้มุ่งหลีกหนีสรรพทุกข์ ยกย่างวันเวลาเข้าสู่ปีใหม่ เป็นอีกนิมิตหนึ่งที่แสดงอายุกาลแห่งชีวิตว่า แก่เฒ่าเพิ่มไปอีกปีหนึ่ง หรือหากมองเข้าหามุมความจริง ก็จะพบว่า เวลาแห่งชีวิตได้ลดลงไปอีกแล้ว ดุจดังเทียนเล่มหนึ่งที่กำลังสว่างไสวอันน่าพึงใจสำหรับผู้พบเห็นประโยชน์จากความสว่างของเทียนเล่มนั้น ซึ่งแท้จริงของประโยชน์นั้น ก็เกิดจากความเป็นโทษภัยที่เทียนเล่มนั้นถูกเผาไหม้ไปด้วยไส้ ด้วยไขเทียนที่เป็นเชื้อเพลิงยังมีอยู่ ด้วยน้ำตาเทียนที่รินหลั่งไหลอย่างไม่ขาดสาย อันบ่งบอกถึงการถูกเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง ให้ผลเป็นแสงสว่างไปทั่วอาณาบริเวณ เป็นประโยชน์กับผู้ใช้สอย ซึ่งประโยชน์นั้น แท้จริงเกิดจากการทำลายของตัวมันเองไปทุกขณะ จนกว่าจะมอดสิ้นไปในเทียนไขเล่มนั้น ซึ่งค่อยๆ เผาไหม้ตัวมันเองไปทีละน้อย ไปทีละมาก ผันแปรไปตามปัจจัยเกี่ยวเนื่อง อันมองให้เห็นความจริงอันหนึ่งที่ปรากฏมีอยู่ในความสืบเนื่อง (สันตติ) คือ ความเกิดขึ้น มีอยู่ แปรปรวน และสูญหาย ที่เรียกว่า “อนิจจัง”
เช่นเดียวกันกับการมีชีวิตสืบต่อไปเบื้องหน้าอย่างไม่สิ้นในขณะนี้ ก็ด้วยเชื้อไขแห่งชีวิตยังมีอยู่ ดุจเหมือนมีประโยชน์กับชีวิตนั้นๆ หากรู้กาลอันควร และรู้ฐานะที่ควรกระทำที่เป็นไปตามหลักธรรมอริยสัจ ซึ่งจะต้องรู้จักหนทางแห่งการกระทำที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้เข้าถึงความจริงขั้นอริยสัจนั้น อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์ หรือพระนิพพาน
 

 
ในวิถีพุทธ ซึ่งให้คติแห่งการดำรงชีวิตท่ามกลางความผันแปรไม่เที่ยงแท้ในสรรพธรรมทั้งหลายว่า “จงอย่าประมาท เพราะสังขารมีความเกิด มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมเถิด...” ในข้อนี้ คงเป็นธรรมที่ควรคิดอันยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นชั้นความจริงขั้นสูงสุด ซึ่งไม่มีใครๆ จะปฏิเสธได้ ดังความหมายที่ว่า “ทุกคนล้วนมีความแตกดับอยู่เบื้องหน้า” ดุจเทียนเล่มหนึ่งที่กล่าวมา ว่า ในความสว่างไสวนั้น แท้จริงเบื้องหน้า ก็คือ ความดับ ... อย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่เป็นไปจากนี้ และไม่แปรเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เพราะมันเป็นเช่นนี้เอง !!
หากลองมองย้อนกลับไปในกาลเวลาที่ผ่านมา เพ่งพินิจพิจารณาในหลากหลายเรื่องราวเหล่านั้น ก็คงจะพบประโยชน์ที่จะนำมาเป็นครูไว้สอนใจได้อย่างมากมาย ทั้งในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับเราโดยตรง หรือเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม จึงไม่ควรให้เรื่องราวเหล่านั้นผ่านไปอย่างไร้ค่า แม้เป็นเรื่องที่ไม่มีคุณค่าความดีใดๆ เลย ก็คงเป็นประโยชน์อยู่บ้าง หากรู้จักคิดพิจารณา เพื่อสืบสาวหาเหตุปัจจัย เพื่อเข้าให้ถึงเค้าเงื่อนเหตุของปัญหา ซึ่งจะนำพาให้เราได้เข้าใจความจริงว่า “สิ่งนี้มี ... เพราะมีสิ่งนี้ หรือเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ...”
 

 
การรู้จักนึกคิดพิจารณาสืบสาวหาเหตุหาผลดังกล่าว จะทำให้เราเข้าใจ เข้าถึงความจริงในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเราจะพบว่า “สิ่งนี้ เราควรทำ สิ่งนี้ เราไม่น่ากระทำเลย ...” หรือเราอาจจะเข้าถึงขั้นของความสำนึกที่ว่า “เราไม่น่าจะกระทำอย่างนี้เลย...”
การรู้จักคิดพิจารณานั้น จะต้องใช้สติปัญญา โดยจะต้องรู้จักอบรมจิตให้อยู่ในขั้นของคุณภาพการใช้งานเพื่อทำให้เกิดปัญญาได้ หรือจะเรียกว่า จะต้องพัฒนาคุณภาพจิตให้มีความพร้อมที่สามารถจะนำไปใช้งานได้ ที่เรียกว่า สมาธิภาวนา จึงไม่เป็นไปกับบุคคลโดยทั่วไปที่ปล่อยตัว ปล่อยใจมาโดยตลอดว่า สามารถจะพัฒนาคุณภาพชีวิตไปตามวิถีพุทธได้
หากจะพูดเรื่องคุณภาพชีวิตตามวิถีพุทธ ก็คงจะนำไปเกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีวิตอย่างรู้จักความพอเพียง... ความพอดี... และอยู่อย่างมีความพึงใจที่ได้กระทำความดีนั้นๆ ซึ่งหมายถึง จะดำรงชีวิตเพื่อลด ละ ปล่อยวางในโลภะ โทสะ โมหะ หรือทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้ลดลงไป ให้เบาบางไปจากชีวิตของตน
 

 
ทั้ง ๓ อย่างนั้น เป็นอกุศลกิเลสที่ทำให้จิตเศร้าหมอง มุ่งไหลไปสู่ฝ่ายต่ำ คือให้จิตใจตกต่ำจากฐานะอันประเสริฐที่ได้มา โดยเฉพาะ กาลีโทสะ ที่แปลว่า ประทุษร้าย ซึ่งเป็นกลุ่มไวพจน์เกี่ยวกับโกธะ ที่แปลว่า โกรธ ก็ว่าได้ แต่โดยแท้จริงแล้ว โทสะเป็นส่วนแสดงผลออกไปจากความมีโกธะ หรือความโกรธ ซึ่งเมื่อโกรธแล้ว ก็นำไปสู่ความประทุษร้าย จึงเรียกฐานของความโกรธนี้ว่า “โทสะ” เพื่อแสดงให้เห็นอำนาจของความเป็นจริงที่เป็นโทษของความโกรธ หรือโกธะ
หากยังเก็บกดความโกรธอยู่ หรือเรียกว่า ผูกโกรธไว้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า “อุปนาหะ” จะแปลว่า ผูกอาฆาตไว้ก็ย่อมได้ และหากมีการแสดงความโกรธไม่ค่อยมากนัก อยู่ในขั้นหงุดหงิดใจ ขัดใจ จะเรียกว่า “ปฏิฆะ”