ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 01:17:50 pm »

 :45: ขอบคุณครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:07:08 pm »

 :13: :13: :13: :13:
  เปิดใจกว้าง รับฟังกันให้มากๆ
 :19: :19: :19: :19:
เวลาคนอื่นพูด เราต้องเปิดใจรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง แล้วเราจะเข้าใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้น

 

พระไพศาล วิสาโล

เรื่องที่ต้องระวังก็คือ นอกจากปัญหากับคนนอกแล้ว เราอาจจะมีความไม่เข้าใจหรือขัดแย้งกับพวกเรากันเอง แค่ความเข้าใจผิดจากคนภายนอกก็รู้สึกแย่อยู่แล้ว ยังมาเจอกับความเข้าใจผิดจากเพื่อน ๆ ด้วยกัน ก็ยิ่งรู้สึกแย่เข้าไปใหญ่ การทำงานนั้นมักจะมีปัญหาการสื่อสาร ยิ่งทำงานกลุ่มใหญ่ ปัญหาการสื่อสารก็ยิ่งเพิ่มตามมา ทำให้มีโอกาสเข้าใจผิดกันง่าย

ดังนั้นจำต้องมีวิธีการป้องกัน เช่น พยายามเปิดใจรับฟังกันให้มากๆ โดยไม่คาดหวังล่วงหน้าหรือคิดหาข้อโต้แย้งไว้ก่อน อย่างที่เรียกว่าการฟังอย่างลึกซึ้ง (Active listening) เวลาคนอื่นพูด เราต้องฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง แล้วเราจะเข้าใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้น

การทำงานด้วยใจที่เปิดกว้างเป็นเรื่องสำคัญ ใจที่เปิดกว้างนี้รวมถึงการไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางหรือนึกถึงตัวเองมากเกินไป ไม่เช่นนั้นจะเกิดอัตตาขึ้น การทำงานแม้จะเสียสละเพียงใด แต่อัตตาก็อาจเกิดขึ้นได้ ทำอะไรก็อยากให้ผลออกมาถูกใจฉัน ให้คนยอมรับฉัน พอคนไม่เข้าใจฉัน ก็จะทุกข์ เสียใจว่าทำไมเขาไม่เข้าใจฉัน ฉันอุตส่าห์เสียสละมากมาย

นี่เป็นเพราะเราปล่อยให้อัตตามาเป็นใหญ่ มันก็เลยดึงเอาทุกอย่างมาสนองอัตตา หรือเรียกร้องให้ถูกใจอัตตา เวลาถูกคนวิจารณ์ ก็คิดแต่ว่า “ทำไมเขามาว่าฉัน” นี่เป็นมุมมองของอัตตา แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำถามเสียใหม่เป็นว่า “เออที่เขาพูดมามันจริงไหม มันถูกมั้ย” เราจะได้ประโยชน์ เพราะเปิดโอกาสให้เรามาใคร่ครวญว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นประโยชน์แก่เราแค่ไหน แม้มันจะไม่ถูกใจเราก็ตาม

....................

อัตตานั้นพอเกิดขึ้นแล้วมันจะเกิดอาการถือพวกถือพ้อง รวมทั้งมีการแบ่งเขาแบ่งเรา ใครที่ทำงานกับเรา เราก็ถือว่าเป็นพวกเรา ใครที่ทำงานกับองค์กรอื่นก็ถือว่าเป็นพวกอื่น เกิดการแข่งขันกัน จนอาจเกิดความขัดแย้ง อันนี้เราต้องระวัง เพราะคนเรามักชอบแบ่งเขาแบ่งเราโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆที่ก็ทำงานอย่างเดียวกัน ช่วยเหลือคนเดือดร้อนเหมือนกัน แต่บางทีก็มาทะเลาะกันเพียงเพราะว่าอยู่คนละองค์กรกัน กลายเป็นว่าเราไม่ได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แต่ทำงานเพื่อตัวเราเอง อัตตามักทำให้เกิดแบ่งพวกแบ่งพ้องอยู่เสมอ อย่าให้มันเข้ามาเป็นใหญ่ ไม่งั้นจะกระทบกันง่าย

แต่ถ้าเรามีอัตตาน้อยลง การทำงานจะมีความสุข ไม่ว่าเจอความล้มเหลวหรือความสำเร็จ ก็ล้วนมีบทเรียนต่าง ๆ ให้เรารับรู้

ล้มเหลวก็มีประโยชน์คือทำให้รู้ว่าอะไรที่ไม่ควรทำ สำเร็จก็มีประโยชน์เพราะรู้ว่าอะไรที่ควรทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ล้มเหลวก็ไม่ทุกข์ เพราะงานล้มเหลวแต่ตัวฉันไม่ได้ล้มเหลวด้วย สำเร็จก็ไม่ลืมตัวเพราะไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง

ทำงานโดยมีอัตตาน้อยเท่าไร ก็จะสนุกและเป็นสุขมากเท่านั้น และช่วยให้ชีวิตมีความสงบเย็นมากขึ้นด้วย

ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยกล่าวว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์ ที่ผ่านมาเราได้ใช้ชีวิตอย่างมีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ก็อย่าลืมความสงบเย็น ขอให้ได้สัมผัสกับความสงบเย็นขณะที่ทำสิ่งมีประโยชน์ด้วย

ขอให้ทุกคนมีร่างกายที่เข้มแข็ง จิตใจที่สดชื่นแจ่มใส เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้อย่างเต็มที่ แม้จะมีอุปสรรค ก็ขอให้ข้ามพ้นไปได้ด้วยดี อย่าได้มีอันตรายใด ๆ มาแผ้วพาน ขอให้อานิสงส์แห่งผลบุญดังกล่าวเอื้ออำนวยให้ทุกคนเจริญงอกงามในธรรม อยู่เย็นเป็นสุข และปลอดพ้นจากความทุกข์ด้วยประการทั้งปวงเทอญ
 :13: :13: :13: :13:
ขอบคุณโพสจาก  http://www.carefor.org/content/view/1489/153/