ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 09:16:35 pm »

อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม

 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2011, 11:13:25 am »




"กาลกิณี"กับ"สีเสื้อ"
บทความธรรมะ : รจนา โดย : น้อมเศียรเกล้า

ความเชื่อที่ไม่ประกอบไปด้วยเหตุด้วยผล อันเป็นความเห็นผิด ในทางพระพุทธศาสนา
เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” ในพระอภิธรรมปิฏก (ธัมสังคณี) อธิบายว่า
เป็นทิฏฐิ (ความเห็น) อันเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
เช่นความตั้งมั่น ยึดมั่นในทางชั่ว ทางผิด การถือโดยวิปลาส

ขอเรียกง่ายๆว่า ความงมงาย ความยึดติดในมงคลข่าว หรือยึดติดในพิธี อันไม่ใช่ข้อปฏิบัติ
เพื่อความดับทุกข์ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในสังโยชน์ ๑๐ คือกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, สิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับ
ความทุกข์ สิ่งที่ร้อยรัดสัตว์ให้อยู่กับทุกข์ไม่อาจจะสลัดหลุด มีทั้งหมด ๑๐ ประการคือ

๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ ๖. รูปราคะ ๗. อรูปราคะ ๘. มานะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐. อวิชชา


ความยึดติดในทิฏฐิผิดมีอยู่มากในทุกยุคทุกสมัย การยึดคึดติดเช่นนี้บ้างก็ทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายน้อย แต่บ้างก็ทำให้เกิดความเสียหายมาก เช่น ความเชื่อเรื่องชื่อ ความเชื่อเรื่องโชคยาม ความเชื่อเรื่องดวงดาว ความเชื่อต่อเรื่องสัตว์รูปร่างประหลาด ความเชื่อในไสยเวทย์ ฯลฯ



สมัยโบราณในประเทศอินเดีย เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่บังเกิดมาประกาศพระศาสนา ก็มีความเชื่อว่าอาบน้ำในแม่น้ำจะช่วยชำระบาปได้ ในคราวหนึ่ง สุนทริกภารทวาชพราหมณ์นั่งอยู่ใกล้พระศาสดา ทูลถามพระศาสดาว่า พระองค์จะไม่ทรงเสด็จไปแม่น้ำพาหุกา เพื่อสรงสนานดอกหรือ พระศาสดา ตรัสว่า สุนทริกะ คนพาลที่ทำบาป มีกรรม ไม่ว่าจะไปยังแม่น้ำ พาหุกา อธิกักกะ คยา สุนทริกา สรัสสดี ปยาคะ พาหุมดี เพื่ออาบน้ำเป็นนิตย์ ก็ทำให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย แต่บุคคลผู้มีศีล มีวัตรงาม มีการงานอันสะอาด ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ต่างหาก

(พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์)

และถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้าชะลอย กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน...และถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาปที่ทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย

(ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา ๒๖/๔๖๖/๔๗๓)

พระพุทธศาสนาสอนให้หลักเหตุและผล แต่ทุกวันนี้มีการนำความเชื่ออื่นเข้ามาปนกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ทุกวันนี้บางคนจึงกล่าวว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมกลับกลายเป็นเรื่องงมงาย เป็นที่น่าเสียดายเพราะไม่มีโอกาสได้ศึกษาความรู้แก่นของพระพุทธศาสนา ส่วนผู้ที่มีสีลัพพตปรามาส คือเชื่อในสิ่งที่ไม่ควรเชื่อควรยึดก็ไม่มีโอกาสที่จะสลัดออกจากเครื่องยึด ไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกได้ตามความเป็นจริง

บุคคลจึงควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่เชื่อสิ่งที่ไม่ควรเชื่ออันไม่ประกอบด้วยเหตุและผล ควรเชื่อว่าความสุขความเจริญขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของตน มากกว่าเชื่อเรื่องชื่อ ฤกษ์ยาม ภูเขาและต้นไม้ อันจะทำให้ห่างไกลจากความเพียรที่จะกระทำความดีตามหลักในพระพุทธศาสนา

ผู้ใดปฏิบัติได้ดังนี้ ย่อมชื่อว่าไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว หากผู้ใดทำได้เช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว อันครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก

สุดท้ายขอน้อมนำพุทธโอวาทว่าด้วยการพินิจด้วยปัญญาเพื่อละสีลัพพตปรามาสมาดังนี้ว่า

บุคคลประพฤติชอบ ปฏิบัติดีในเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคลดี เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี และเป็นอันได้ทําบูชาดีแล้ว ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้กายกรรมของเขาก็เป็นสิทธิโชค วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค ประณิธานของเขาก็ย่อมต้องเป็นสิทธิโชค ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค

(สุปุพพัณหสูตร, องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต ๒๐/๕๙๕/๓๗๙)

ขอความเป็นมหามงคลอันสูงสุดจงสำเร็จแด่ผู้เขียน ผู้อ่าน
พร้อมครอบครัววงศ์ตระกูลทุกประการด้วยอานุภาพแห่งบุญนี้เทอญ




http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&date=29-11-2010&group=2&gblog=20
ขอบพระคุณ
บทความธรรมะ : รจนาโดย : น้อมเศียรเกล้า
Pics by : น้อมเศียรเกล้า : Google
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแผ่..
สุุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...