ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 12:06:44 pm »

ขอบคุณมากๆๆนะคับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:01:39 pm »

สันติในเรือนใจ 5. ความเมตตา


คันฉ่องและโคมฉาย - สันติในเรือนใจ 5. ความเมตตา


ที่มา คมชัดลึก

มชัดลึก : ที่ใดก็ตามที่มีตัณหา มานะ ทิฐิ คือ อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ ณ ที่นั้นก็จะไม่มีสันติภาพ ถ้าในใจของเราเต็มไปด้วยความอยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ ใจของเราก็ไม่มีสันติหรอก คนที่มีความโลภมาก ๆ มีแล้วก็อยากมีอีกหายุติไม่ได้ เพราะว่าจะนอนไม่หลับ คนที่อยากใหญ่ บ้าอำนาจ อยากเอาชนะคะคาน อยากอยู่เหนือผู้อื่นตลอดเวลา ก็ไม่มีสันติภาพ เพราะต้องเกรงว่าใครจะมาเทียบรัศมีฉัน และคนที่ใจแคบเห็นคนที่คิดต่าง พูดต่าง เทศน์ต่างก็ฟังไม่ได้ ก็ไม่มีความสุข ไม่มีสันติภาพอีก

ฉะนั้นตัณหา มานะ ทิฐิ อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ มีที่ไหนไม่ว่าจะเป็นมิติของจิตใจ มิติขององค์กร มิติของสังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติหรือในเวทีโลก ถ้าอยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ แทรกซึมอยู่ในมิติไหน ก็ มิตินั้นก็ไร้สันติภาพ ถ้าเราจะสร้างสันติภาพ เราจะทำอย่างไร ท่านอาจารย์ใหญ่ของเราบอกว่า ให้เรารู้จักใช้ชีวิตนี้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ท่านได้ใช้คำว่า ธรรมะคือหน้าที่
ถ้าเราแต่ละคนมุ่งมั่นทำหน้าที่ของเราอย่างชัดเจนแน่นอนที่สุดสันติภาพ ก็เกิดขึ้น แต่ถ้าเราไม่ได้มุ่งมั่น ทำหน้าที่ของเรา เช่นว่า มีหน้าที่อย่างหนึ่งแต่ไพล่ไปทำอีกอย่างหนึ่ง ก็เกิดวิกฤต พอวิกฤตก็ไร้สันติภาพ ที่นี้ในทัศนะของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมว่า หากอยากให้โลกนี้มีสันติภาพ ก็ต้องปฏิบัติตามหลักการที่ชื่อ สาราณียธรรม หรือ สามัคคีธรรม ทั้ง ๖ ประการต่อไปนี้
๑ คิดด้วยเมตตา
๒ พูดด้วยเมตตา
๓ ทำด้วยเมตตา
๔ สาธารณโพธิตา มีจิตสำนึกสาธารณะ ได้ทรัพยากรดี ๆ มา แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้
๕ ทิฐิสามัญตา มีความคิด ความเห็นลงรอยเป็นหนึ่งเดียวกัน
๖ ศีลสามัญตา มีความประพฤติ หรือมีแบบแผนในการดำรงชีวิตลงรอยเป็นแนวเดียวกัน
ถ้ามี สาราณียธรรม ทั้ง ๖ ประการดังนี้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละสันติภาพในสังคม ในประเทศ และในโลกก็จะเกิดขึ้น
ขออธิบายสั้น ๆ เท่าที่เวลาจะอำนวยว่า ๑. คิดด้วยเมตตา หมายความว่า ให้เรารู้จักเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือโลกทัศน์ของเรา เช่น ปกติเวลาเราเห็นคน เราก็จะรักเฉพาะคนที่มีรากร่วม ทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับเรา เช่นคนไทย ถ้าเป็นคนเหนือด้วยกันก็จะรู้สึกผูกพันกันง่ายกว่าคนใต้ ถ้าคนใต้ด้วยกันเจอกันที่ไหน พอแหลงใต้ด้วยกันก็จะรู้สึกว่าเป็นเพื่อนกันทันที ถ้าต่างศาสนา ถ้าชาวพุทธเจอชาวพุทธ ก็จะรู้สึกเป็นพวกเดียวกันทันที ชาวคริสต์เจอชาวคริสต์ เขาก็จะรู้สึกว่าเป็น คริสเตียนเหมือนกันก็จะจับมือกันได้ง่ายกว่า
นี่เป็นวิธีคิดที่แบ่งขั้ว เลือกข้าง แยกส่วน เราจะเลือกรักเลือกเมตตาเฉพาะคนที่มีรากร่วมทางวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับเราเท่านั้น นี่ยังไม่ใช่ความเมตตาที่แท้จริง


"ว.วชิรเมธี"




.

[url]http://www.komchadluek.net/detail/20110226/89958/%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%885.%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2.html