ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2011, 11:48:22 pm »

 :45: อนุโมทนา ขอบคุณนะค่ะพี่แทน :46:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2011, 10:06:14 pm »




:13:    :45: :07: :45:
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณครูแทน



ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2011, 08:41:52 pm »

ธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
ผู้ที่เข้าใจธรรมะ ก็เป็นผู้เข้าใจตนเอง
เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะ  เมื่อใดที่เราเห็นถูก
เมื่อนั้น  เราก็จะมีความปลอดโปร่ง
จะมีแต่ความเป็นอิสระตลอดเวลา
ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ท่านอย่ายึดมั่นในธรรม”
ธรรมะคืออะไร?
คือทุกสิ่ง  ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ
ความรัก  ความเกลียด  ก็เป็นธรรมะ
ความสุข  ความทุกข์  ก็เป็นธรรมะ
ความชอบ  ความไม่ชอบ  ก็เป็นธรรมะ
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยสักเพียงไหน
สิ่งเหล่านั้น  ก็ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมะทั้งนั้น
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2011, 08:40:51 pm »

การฝึกใจ
ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง
ยิ่งกว่านั้น
มันยังมีเสือกำลังอาละวาดอยู่ในกรงด้วย
ถ้าไม่ได้อะไรตามที่ต้องการแล้ว มันก็อาละวาด
เพราะฉะนั้น  เราต้องอบรมใจ
ด้วยการปฏิบัติภาวนา  ด้วยการเจริญสมาธิ
นี่แหละ  เราเรียกว่า  “การฝึกใจ”
ใจที่ยังไม่ได้ฝึก
มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยความเคยชิน
ใจที่ยังไมได้อบรม  มันก็เต้นไปตามเรื่อง
เต้นไปตามความคะนอง  เพราะยังไม่เคยถูกฝึก
ดังนั้น  จงหมั่นฝึกใจของตัวเองไว้ให้ดี
 
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2011, 08:02:13 pm »

กรรมฐาน  ปราบกิเลส
อารมณ์กรรมฐานนี้
สามารถที่จักทำจิตให้บริสุทธิ์ได้
ฉะนั้นท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐาน  ว่า
อารมณ์อันใดถูกใจ  ถูกจริตของเรา
ท่านให้พิจาณา  เช่น
เกศา  โลมา  นขา  ทันตา  ตโจ
ท่านให้พิจารณากลับไปกลับมา
ถ้าอันโดถูกจริตของเราแล้ว
อันนั้นก็เป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา
สำหรับที่จะให้เราได้ใช้เป็นอาวุธ
ในการปราบกิเลสทั้งหลายให้เบาบางลงไป
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 09:03:29 pm »

ตที่กำหนดรู้ จักเป็นอิสระ
จิตที่มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอาหาร
เป็น “จิตที่กำหนดรู้”
เมื่อรู้ว่าอันนั้นเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง
ทุกขัง เป็นทุกข์
อนัตตา ไม่ใช่เราหรือของเราแล้ว
ขอให้มีสติอยู่ เห็นการเกิดดับของใจ
แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย
ให้เราปล่อยวางมันลงไป
ความรัก เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
ความโลภ เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
ความโกรธ เกิดขึ้น ก็ปล่อยมันไป
กระทั่งความหลงเกิดขึ้น ก็ปล่อยมันลงไป
มันมาจากที่ไหน ก็ให้มันกลับไปที่นั่น
อย่าเก็บมันไว้ เมื่อนั้นจิตของเราก็จะหลุดพ้น
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 08:21:24 pm »

รู้แจ้งโลก
คนทั้งหลาย  เกิดแล้วไม่อยากให้แก่
ไม่อยากให้เฒ่า  ไม่อยากให้เจ็บ
ตลอดจนกระทั่งไม่อยากให้ตายทีเดียว
ท่านจึงสอนให้พิจารณาโลก
ให้มีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงของโลก
โลกเป็นอย่างใด  ก็ให้รู้เท่าตามเป็นจริง
ถ้าเรารู้จักปัญหาของโลกแล้ว
ก็เหมือนกับเรารู้จักธรรมะ
ก็เหมือนกับเราได้บรรลุธรรมะ
เมื่อรุ้จักธรรมะแล้ว  มันก็  “รู้แจ้งโลก”
เมื่อเรารู้แจ้งโลกแล้ว
เราก็ไม่ติดในโลก  เป็นโลกวิทู  รุ้แจ้งโลก
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 07:18:53 pm »

ที่พึ่งทางใจ
ใจของเราเป็นสิ่งสำคัญ
แต่โดยมาก
คนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญนั้น
ไปมองดูในสิ่งอื่นที่มันไม่สำคัญ
บางคนแต่งบ้านแต่งช่องอะไรสารพัดอย่าง
แต่  กลับไม่ค่อยคิดที่จะแต่งใจกัน
พระพุทธองค์ท่านจึงตรัสว่า  “ให้หาที่พึ่งทางใจ”
ที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง
พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้  แต่ก็ไม่แน่นอน
เราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวเราเอง
เราต้องมีที่พึ่งก่อน  จะพึงอาจารย์  จะพึ่งมิตรสหาย
การที่จะพึ่งได้ดีนั้น
เราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน
 From:   
narissara saitham