ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 08:08:19 pm »

 :02: ดูแล้วอยากไปร่วมจังเลย ขอเป็นเด็กเสิร์พน้ำก็ยังดี 555
ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: (〃ˆ ∇ ˆ〃)
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 10:32:08 am »


 
 :12:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 08:56:06 am »

ภายใต้แรงกดดันมหาศาลของการแข่งขัน การทำงานจึงต้องเคร่งเครียดไปด้วย
ความเครียดในที่ทำงาน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในองค์กรแย่ลง
การพูดคุยกันดีๆ หาได้ยากขึ้น
เพราะแต่ละคนมีเป้าหมายที่ต้องทำให้บรรลุ และเป้าหมายนั้นอาจไม่สอดคล้องกัน
ความเครียดจึงเกิดขึ้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น
องค์กรที่มีความเครียดสูงทำให้เกิดการสูยเสียบุคลากรที่ดีไปได้ง่ายๆ เพราะการแข่งขันนั้นมาในรูปแบบของสงครามการดึงตัว แย่งตัว (พนักงาน)ด้วย
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้จัดการฝึกอบรม เรื่อง สุนทรียสนทนา โดยเชิญอาจารย์ วรภัทร์ ภู่เจริญ มาเป็นกระบวนกร เพื่อสร้างพื้นที่แห่งความรักความไว้วางใจให้เกิดขึ้นที่องค์กรให้มากขึ้น
รูปแบบการจัดห้อง เป็นห้องโล่งๆ จัดเก้าอี้ล้อมเป็นวงกลม กรณีนี้ความอยากให้การสนทนานั้นเป้นไปแบบลื่นไหล จึงขอร้องให้โรงแรมเวสทินแกรนด์ จัดผ้าปูพื้นเผื่อว่าจะเกลือกกลิ้งเล่นกันได้ยามวงสนทนาลื่นไหลถึงขีดสุด
 


เริ่มต้นด้วย กรรมการผู้จัดการ คุณ C.M. Hsu ให้โอวาทเรื่องความสำคัญของผู้นำ เนื่องจากกลุ่มนี้เป้นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
 


อาจารย์วรภัทร์ เริ่มต้นการ Check-in เพื่อให้ทุกคนเข้าสู่บรรยากาศของ Dialogue ซึ่งตอนนี้ทุกคนดูจะเกร็งๆ
 


อาจารย์ทั้งยั่ว แหย่ ให้อัตตาของเราคุกรุ่นขึ้นมา และ เชิญชวนให้พวกเราอออกนอกกะลามาดูโลกกัน
 
 


ช่วงแรกของ สุนทรียสนทนา ก็เป็นการสังเกต วางมาด ยังไม่มีส่วนร่วมมากนัก ซึ่งวิทยากรจะต้องพยายามสร้างพื้นที่แห่งความไว้ใจ เอื้อให้เกิดการพูดคุย
 
จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นที่ ๒ ของวงสนทนา ในขั้นนี้แต่ละคนก็แสดงอัตตา ตัวตนออกมา
 


อาจารย์เชิญชวนพวกเรา เปิดวงคุย ด้วยการแนะนำตนเอง ความคาดหวัง และเล่นเกมเพื่อเชื่อมต่อการสนทนาเป็น พหุปัญญา คือปัญญาร่วม
 
ขั้นนี้คือ ขั้นที่ ๓ คือการไหลลื่น เริ่มสนุก
 


เมื่อลื่นไหลเต็มที่ก็เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
 


กติกาอย่างหนึ่งของ สุนทรียสนทนาก็คือ การใช้ Indian Stick คือ เครื่องมือในการกำหนดคนพูด ใครที่มีไม้ หรือสัญลักษณ์นี้อยู่ในมือจึงมีสิทธิ์พูด ส่วนที่เหลือ ตั้งใจฟัง
 
ฟังแบบไม่ตัดสิน แขวนการตัดสินไว้
 


เมื่อวงสนทนาลื่นไหล ปัญญาก็ไหลลื่น
 
 


จบการสุนทรียสนทนาวันนั้น
 
เราได้แนวคิด ประสบการณ์ที่ดีมาก อย่างเช่น
อาจารย์สอนให้เรามองเห็นลักษณะการดำรงอยู่ขององค์กรผ่านโลกทัศน์การเปรียบเทียบแบบแสบๆคันๆเช่น
 
องค์กรยุคแรก แบบ ค๊อตเล่อร์ 1.0 คือ แบบอยู่รอด คือองคกรไม่สนใจอะไรอื่นนอกจากความอยู่รอดขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่รอด เพราะเห็นแก่ตัว งกๆเค็มๆ
 
องค์กรยุคที่ ๒ คือ คอตเล่อร์ 2.0 แบบอยู่ร่วม คือ การอยู่ร่วมกันสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม คิดถึงหัวอกพนักงาน นัยว่าเป็นแบบ ความรับผิดชอบต่อสังคม CSR นั่นเอง
 
แบบสุดท้าย คือ ค๊อตเล่อร์ 3.0 แบบอยู่เพื่อค้นหาความหมาย ความหมายของชีวิต ความหมายของการดำรงอยู่ ซึ่งนับเป็นเป้าหมายที่บรรเจิด มุ่งสู่โลกุตรธรรมอย่างกลมกลืน ไม่ต้องรอให้แก่ก่อนจึงเข้าวัด เข้าหาธรรมะ
 
สุดท้ายบรรดาลูกศิษย์ก็มาขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับมหาคุรุท่านนี้
 
เริ่มด้วย ผู้จัดอย่างกระผม เป็นพื้นที่ให้คนข้างหลังครับ
 
 


ถัดมา พี่สมนึก ผู้จัดการฝ่ายขาย (Nation Sales Manager) และ พี่อ้น ฝ่าย Professional Service ที่ให้วิชาการแก่ลูกค้าในโรงพยาบาล
 


ต่อมา ศุภกิจ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการขายตลาดอุตสาหกรรม
 


คนต่อมา โจ พีระพงศ์ ผู้จัดการโรงงานลาดหลุมแก้ว ลูกศิษย์ที่วิศวะ จุฬา
 


ต่อมาก คุณฟู ผู้จัดการส่วน IT
 


ปิดท้ายที่พี่รุจิวรรณ ผู้จัดการส่วนเทคนิคและบริการลูกค้า
 


งานนี้จบแบบชัดเจน เพื่อลื่นไหลต่อ
และเราจะนำการสนทนาแบบนี้มาใช้ในการ คุยงาน ประชุม และพัฒนาลูกน้องครับ
 
 
http://www.oknation.net/blog/hrd/2010/07/13/entry-1