ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 05, 2011, 06:25:37 am »

ไปต่างประเทศนานเกินรอ ไม่ยอมกลับขอหย่าได้หรือไม่/มังกรซ่อนกาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 มิถุนายน 2554 14:54 น.

สังคมไทยทุกวันนี้สามีภริยาต่างต้องช่วยกันทำมาหากินเลี้ยงชีพ ซึ่งบางครอบครัวออกไปช่วยกันทำงานแต่พอเลิกงานก็ได้พบปะกัน บางครอบครัวสามีอยู่ทางภริยาอยู่ทาง แต่หากเข้าใจกันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดความไม่เข้าใจกัน ปัญหาอาจตามมาได้ แล้วจะแก้ปัญหากันอย่างไร เรื่องทำนองอย่างนี้มีข้อเท็จจริงมานำเสนอให้ทุกท่านได้พิจารณา กล่าวคือ นางเขียวหวานเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายไข่ดาว มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กหญิงน้ำตาล อายุ 3 ปี กับเด็กหญิงน้ำผึ้ง อายุ 4 ปี นายไข่ดาวรับราชการอยู่กรมที่ดินกรุงเทพมหานคร ส่วนนางเขียวหวานขายอาหารตามสั่งอยู่ที่บ้าน ในปี 2540 นางห่อหมก พี่สาวของนางเขียวหวาน ชวนนางเขียวหวานไปขายอาหารที่ประเทศญี่ปุ่น นางเขียวหวานจึงตกลงกับนายไข่ดาวสามีว่าจะไปช่วยพี่สาวขายอาหารที่ประเทศญี่ปุ่น จะได้มีรายได้มาก ๆ เก็บไว้ส่งลูกเรียน นายไข่ดาวไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะบุตรทั้งสองก็ยังเล็กเกรงว่าตนเองจะดูแลไม่ไหว แต่ไม่อาจทัดทานนางเขียนหวานได้
       
       ช่วงปีแรก นางเขียวหวานแจ้งให้นายไข่ดาวทราบทางโทรศัพท์ว่าตนเองอยู่ที่ใดกับใครและมีรายได้จากการทำงานจำนวนเท่าใด นางเขียวหวานทำงานได้ 2 ปี นายไข่ดาวได้มีโอกาสไปราชการดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2542 นายไข่ดาวแวะไปพบนางเขียวหวานและได้พูดจากับนางเขียวหวานว่า นางเขียวหวานมาทำงานร่วม 2 ปีแล้ว ขอให้กลับบ้านที่ประเทศไทย เพื่อมาช่วยดูแลบุตร และกลับไปอยู่พร้อมหน้ากันเป็นครอบครัว แต่นางเขียวหวานยืนกรานจะขอทำงานหาเงินต่อไป เพราะมีรายได้มากกว่าอยู่ประเทศไทย เมื่อนายไข่ดาวกลับประเทศไทย นางเขียนหวานโทรกลับมาที่บ้านบางครั้ง
       
       ต่อมาในปี 2543 นางเขียวหวานโทรมาหานายไข่ดาว นายไข่ดาวได้พูดยืนยันกับนางเขียวหวานว่าไปทำงานนานแล้ว ตนลำบากมากขอให้นางเขียวหวานกลับมาดูแลครอบครัว หากไม่กลับมาและยืนยันที่จะทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไปเรื่อย ๆ ปล่อยให้ตนลำบากต่อไปแล้ว นายไข่ดาวจะขอหย่ากับนางเขียวหวาน หลังจากนั้น นางเขียนหวานก็ไม่ติดต่อกับนายไข่ดาวอีก และนายไข่ดาวก็ไม่สามารถติดต่อกับนางเขียวหวานได้ เพราะนางเขียวหวานเปลี่ยนร้านที่ทำงานอยู่เสมอ เมื่อถึงกลางปี 2544 นายไข่ดาวจึงยื่นฟ้องหย่านางเขียวหวาน อ้างว่านางเขียวหวานจงใจทิ้งร้างนายไข่ดาวเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี และไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ขอให้ผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของนายไข่ดาวแต่ผู้เดียว นางเขียวหวานให้การต่อสู้ว่า การไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นตนได้เคยตกลงกับนายไข่ดาวแล้วก่อนไป นายไข่ดาวมิได้ห้ามปราม นายไข่ดาวยังเคยไปเยี่ยมที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย นางเขียวหวานได้ส่งเงินมาให้นายไข่ดาว และอุปการะบุตรตลอดมาไม่เคยทิ้งร้างนายไข่ดาว ขอให้ยกฟ้อง ส่วนบุตรทั้งสองคนเป็นผู้หญิงและยังเป็นผู้เยาว์อยู่ การอยู่ในอำนาจปกครองของนางเขียวหวานผู้เป็นมารดาจะดูแลได้ดีกว่า และนางเขียวหวานมีรายได้มากกว่านายไข่ดาว สามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ให้ได้รับการศึกษาที่ดีกว่านายไข่ดาว ขอให้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองอยู่กับนางเขียวหวาน ในชั้นสืบพยานปากนางเขียวหวาน นางเขียวหวานไม่มาสืบพยานด้วยตัวเอง อ้างว่าไม่สามารถเดินทางกลับได้ทัน ปัญหาดังกล่าว ศาลจะพิจารณาคดีนี้อย่างไร
       
       เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏแม้เมื่อนางเขียวหวานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วช่วงแรกนายไข่ดาวไม่มีพฤติการณ์คัดค้าน แต่ในช่วงหลัง คือ หลังจากที่นางเขียวหวานไปทำงานอยู่ประมาณ 2 ปี นายไข่ดาวได้ขอร้องให้นางเขียวหวานกลับมาดูแลครองครัวโดยตลอด พฤติการณ์ของนายไข่ดาวช่วงหลังแสดงว่า นายไข่ดาวไม่ยินยอมให้นางเขียวหวานทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป แม้นายไข่ดาวจะขอให้กลับหลายครั้ง นางเขียวหวานก็ยังเพิกเฉย นอกจากนั้น เมื่อนายไข่ดาวฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ นางเขียวหวานกลับมอบอำนาจให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ดำเนินคดีแทน และในวันสืบพยานปากนางเขียวหวาน ทนายได้แจ้งให้นางเขียวหวานทราบถึงเหตุที่ต้องมาเบิกความด้วยตนเอง แต่นางเขียวหวานยังคงยืนยันว่าไม่สามารถมาเบิกความได้ตามที่ทนายความแจ้งให้ทราบแล้ว
       
       ข้อเท็จจริงที่ปรากฏดังกล่าวแสดงให้เห็นพฤติการณ์ของนางเขียวหวานว่า นางเขียวหวานจงใจทิ้งร้างนายไข่ดาวไปเกินกว่า 1 ปี นับตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งเป็นปีที่นายไข่ดาวขอให้นางเขียวหวานกลับมาอยู่กับนายไข่ดาวที่ประเทศไทยเป็นต้นมา แต่นางเขียวหวานประสงค์ที่จะทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยไม่สนใจที่จะกลับมาดูแลบุตรและอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภริยากับนายไข่ดาวอีกต่อไป นายไข่ดาวจึงฟ้องหย่านางเขียวหวานได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4) ส่วนเด็กหญิงน้ำตาลและเด็กหญิงน้ำผึ้งยังเป็นผู้เยาว์และอยู่ในความอุปการะของนายไข่ดาวมาโดยตลอด นายไข่ดาวประกอบอาชีพรับราชการอันเป็นอาชีพที่มั่นคง ส่วนนางเขียวหวานทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทิ้งบุตรทั้งสองให้อยู่ในความปกครองของนายไข่ดาวกว่า 4 ปีแล้ว เมื่อคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดอันจะเกิดแก่ผู้เยาว์ทั้งสองในปัจจุบันและอนาคต จึงควรให้นายไข่ดาวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่ผู้เดียว ศาลจึงพิพากษาให้นายไข่ดาวและนางเขียวหวานหย่าขาดจากกัน ให้นายไข่ดาวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิงน้ำตาลและเด็กหญิงน้ำผึ้งแต่เพียงผู้เดียว (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 6948/2550)
       
       สรุปการหาเงินได้มากเท่าใดก็ไม่สำคัญไปกว่าการได้อยู่กันเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์และอบอุ่น อย่างพอเพียง
       
       hiddendragon2552@gmail.com


.

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065948

.