รูปที่ชอบใจและรูปที่ไม่ชอบใจพุทธดำรัส“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว
พึง
บรรเทาความกำหนัดในรูปที่ชอบใจ
และไม่พึงเสียใจว่าเราได้รูปไม่น่ารัก
ได้ยินเสียงที่น่ารักและเสียงที่ไม่น่ารัก
พึงระงับใจว่าเราได้เสียงไม่น่ารัก
พึงบรรเทาความขัดเคืองใจในเกลิ่นที่ไม่น่าใคร
และพึงกำจัดความดีใจในกลิ่นที่น่าใคร่
ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
ติดใจ และไม่ควร
ยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย
ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว ไม่พึงมัวเมา
แม้ถูกสัมผัสที่เป็น
ทุกข์กระทบเข้าก็
ไม่ควรหวั่นไหว ใจที่บุคคลเจริญดีแล้ว
ในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ในกาลใดในกาลนั้นจิตของบุคคลนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ใด....”
สังคัยหสูตร“ดูก่อนมาลุงกยบุตร ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว
รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น
ในรูปที่เห็นแล้ว
จักเป็นแค่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน จักเป็นแต่ได้ยิน
ในอารมณ์ที่จักเป็นแต่รู้ ในอารมณ์ที่รู้แจ้งจักเป็นแต่รู้แจ้ง
เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ......”
สังคัยหสูตร“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
ไม่ระวังอินทรีย์ คือ จักษุ... หู... จมูก...
ลิ้น... กาย... ใจ...
จิตย่อมใส่ไปในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เมื่อภิกษุมีจิต
แส่ไปแล้วปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี
เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี
เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้น
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของภิกษุผู้มีทุกข์ย่อมไม่เป็นสมาธิ
เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ....
.............. ภิกษุนั้นย่อมนับได้ว่า
เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท..........”
ปมาทวิหารีสูตร