ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 11:16:23 pm »

 :07: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:02:51 am »

ความสัมพันธ์ที่การเริ่มต้นใหม่ (Beginning Anew)

จากเอกสารประกอบการภาวนาของหมู่บ้านพลัม

 

การเริ่มต้นใหม่ คือ การมองอย่างลึกซึ้งและซื่อสัตย์ ถึงการกระทำ คำพูด และความคิดในอดีต เพื่อสร้างสรรค์การเริ่มต้นอย่างสดใหม่ของเราและระหว่างเรากับผู้อื่น ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม สังฆะของเราจะจัดพิธีเริ่มต้นใหม่ทุกสองสัปดาห์ และสำหรับส่วนตัวก็สามารถทได้บ่อยเท่าที่ต้องการ





เราฝึกเริ่มต้นใหม่เพื่อที่จะทำความกระจ่างแจ้งแห่งจิตและรักษาการฝึกของเราให้แช่มชื่นเบิกบาน เมื่อเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของร่วมปฏิบัติ เมื่อหนึ่งในพวกเรารู้สึกขุ่นเคืองหรือเจ็บปวด เราจะทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มต้นใหม่ โดยปฏิบัติตามรายละเอียดสี่ขั้นตอนของกระบวนการเริ่มต้นใหม่ เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งพูด ในเวลานั้นจะไม่มีการขัดจังหวะ ผู้เข้าร่วมปฏิบัติท่านอื่นก็จะฝึกฟังอย่างลึกซึ้งและเฝ้าติดตามลมหายใจของตนเอง

๑. รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งดอกไม้ นี้คือโอกาสที่จะบอกเล่าสิ่งที่เราชื่นชมในผู้อื่น เราอาจระบุถึงเหตุการณ์อันเฉพาะเจาะจงที่ผู้อื่นได้เคยกล่าวหรือทำบางสิ่งที่ทำให้เราพอใจ นี้เป็นโอกาสให้ดวงตะวันฉายลงบนเมล็ดพันธุ์แห่งพละกำลังของผู้นั้น เสริมสร้างสังฆะและให้กำลังใจเธอหรือเขาสำหรับความเจริญงอกงาม

๒. บอกเล่าความทุกข์โศกเสียใจ เราอาจะระบุถึงการกระทำ คำพูด หรือความคิดของเราที่ยังไม่มีโอกาสกล่าวขอโทษ





๓. แสดงความเจ็บปวด เราอาจจะร่วมแบ่งปันถึงความรู้สึกเจ็บปวดจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติท่านอื่น เนื่องจากการกระทำ คำพูด และความคิดของเธอหรือเขา (การที่จะแสดงความเจ็บปวด เราควรเริ่มต้นด้วยการรดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งดอกไม้เสียก่อน โดยบอกเล่าด้านดีของเขาสองอย่าง ซึ่งเราสังเกตเห็นอย่างซื่อตรง)

๔. บอกเล่าความทุกข์ที่ยาวนานและขอความช่วยเหลือ ในอดีตเราแต่ละคนต่างก็มีช่วงเวลาที่ยุ่งยากและเจ็บปวด ซึ่งได้มีผลมาสู่ปัจจุบัน เมื่อเราบอกเล่าเรื่องนี้ เพื่อนจะเข้าใจเราได้ดีมากขึ้นและให้ความช่วยเหลือตามที่เราต้องการอย่างแท้จริง

การฝึกการเริ่มต้นใหม่นี้ ช่วยให้เราพัฒนาคำพูดอันเมตตา และพัฒนาการรับฟังด้วยความกรุณา การเริ่มต้นใหม่เป็นการฝึกเพื่อตระหนักรู้และชื่นชมองค์ประกอบด้านบวกภายในสังฆะของเรา ตัวอย่างเช่น เราอาจจะสังเกตเห็นว่าเพื่อนร่วมห้องของเรานั้นใจกว้างในการร่วมแบ่งปันบอกเล่าเรื่องราวส่วนตัว และเพื่อนอีกคนก็ดูแลทะนุถนอมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์นี้อย่างดี การตระหนักถึงด้านดีของผู้อื่นทำให้เรามองเห็นด้านดีของเราเช่นเดียวกัน




พร้อมด้วยด้านดีเหล่านี้ เราแต่ละคนก็มีด้านที่อ่อนแอด้วย เช่น การพูดถึงความโกรธหรือความรับรู้ผิดๆของเรา เมื่อเราฝึกรดน้ำเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ เราช่วยพัฒนาส่วนดีของกันและกัน และในขณะเดียวกัน เราก็ช่วยผ่อนเบาความทุกข์ของอีกฝ่ายหนึ่ง เหมือนเช่น เมื่อเรารดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งดอกไม้ในสวน ด้วยความรักและความเมตตากรุณา เราได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความรับรู้ผิดๆ ออกไปด้วย

เราสามารถฝึกเริ่มต้นใหม่ได้ทุกๆวัน ด้วยการแสดงออกถึงความชื่นชมของเราต่อผู้เข้าร่วมปฏิบัติท่านอื่นและขอโทษทันทีที่เราทำหรือพูดบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เขาเจ็บปวด เราควรที่จะบอกกล่าวอย่างสุภาพต่อผู้อื่นในยามที่เรารู้สึกเจ็บปวดด้วยเช่นกัน เราควรที่จะให้คนอื่นรู้ว่าสุขภาพและความสุขของสังฆะชุมชนทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความปรองดองสมานฉันท์ ความสุข สงบสันติและความเบิกบานของทุกๆคนในสังฆะ
 
 
http://www.sdsweb.org/th/index.php?topgroupid=1&groupid=%20%20%20%20%209&subgroupid=&contentid=371
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2010, 09:01:02 am »

ทุนของชีวิตคือจิตที่ไม่ขุ่นมัว

ความสัมพันธ์ที่การเริ่มต้นใหม่ (Beginning Anew)





คุณยายจ๋ามักสอนพ่อแม่ว่าสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาครอบครัว คือการสื่อสารอย่างมีปัญญา ปัญญาไม่ใช่เรื่องเหตุผลว่าใครถูกใครผิด แต่เริ่มจากการรับฟังและสื่อสารกันด้วยหัวใจ อย่างเมตตาว่าสามีหรือภรรยาของเรากำลังมีความทุกข์นะ ที่เขาแสดงออกนั้นอาจจะไม่น่ารัก เช่น ไม่พูดไม่จา กระแทกกระทั้น กระแนะกระแหน าะ เป็นเพราะเขาอาจจะยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ที่ขุ่นมัวของตัวเองได้ และไม่มีวิธีการสื่อสารที่จะขอความช่วยเหลือจากเราอย่างตรงไปตรงมาจากหัวใจ เรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟังคราวนี้ เป็นเรื่อง “ความสัมพันธ์ที่การเริ่มต้นใหม่ (Beginning Anew)” ซึ่งเป็นคำสอนที่ครอบครัวจิตประภัสสรได้เรียนรู้กับหมู่บ้านพลัมในกิจกรรม “ภาวนาว่าด้วยรัก” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

“หมู่บ้านพลัม” เป็นชุมชนชาวพุทธ นิกายมหายาน ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีท่านติช นัท ฮันห์ พระภิกษุชาวเวียดนามเป็นครูบาอาจารย์ และขณะนี้มีชุมชนเช่นนี้ที่เมืองไทยแล้ว และมีภิกษุณีนิรามิสา ซึ่งเป็นชาวไทยที่บวชเป็นภิกษุณีที่นั่น พร้อมภิกษุณีดอกบัวและ

ภิกษุฟับเจือง ชาวเวียดนาม มาพาพวกเราให้เรียนรู้ไปกับเทคนิคให้ยิ่งอยู่ยิ่งรัก ตามแนวปฏิบัติของหมู่บ้านพลัม