ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 01:26:43 pm »

สาธุครับ

 :07: :07: :07:
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2012, 11:41:52 pm »

อนุโมทนาค่ะ

 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2012, 08:48:31 pm »





พรที่นางวิสาขา ขอพระพุทธเจ้า 8 ประการ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา

(ตัดข้อความที่สำคัญมาให้ดูบางส่วน)         
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเตรียม
บาตรจีวร ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว.

             ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จหายไปใน
พระเชตวัน มาปรากฏที่ซุ้มประตูบ้านนางวิสาขามิคารมาตา ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้
หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย พร้อมด้วย
พระสงฆ์.

             ขณะนั้น นางวิสาขามิคารมาตากล่าวว่า ชาวเราผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ ชาวเรา
ผู้เจริญปลาดจริงหนอ พระตถาคต ชื่อว่ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเมื่อห้วงน้ำไหลนอง
ไปเพียงเข่าบ้าง เพียงสะเอวบ้าง เท้าหรือจีวรของภิกษุ แม้รูปหนึ่ง ก็ไม่ได้เปียกน้ำ ดังนี้แล้ว
ร่าเริง เบิกบานใจ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต
ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จแล้ว
ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรห้ามภัตร
แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นางได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า
หม่อมฉันทูลขอประทานพร ๘ ประการต่อพระผู้มีพระภาค
พระพุทธเจ้าข้า.

             ภ. ตถาคตเลิกให้พรเสียแล้ว วิสาขา
             วิ. หม่อมฉันทูลขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. จงบอกมาเถิด วิสาขา
             วิ. พระพุทธเจ้าข้า

 
สำหรับพระสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎก
จะถวายภัตรเพื่อพระอาคันตุกะ
จะถวายภัตรเพื่อพระที่เตรียมจะไป
จะถวายภัตรเพื่อพระอาพาธ
จะถวายภัตรเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ
จะถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ
จะถวายยาคูประจำ
และสำหรับภิกษุณีสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายอุทกสาฎก จนตลอดชีพ.

             ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงขอพร ๘ ประการ ต่อตถาคต.
             วิ. พระพุทธเจ้าข้า วันนี้หม่อมฉันสั่งทาสีว่า ไปเถิด แม่ทาสี เจ้าจงไปอาราม แล้ว
บอกภัตรกาลว่า ภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าข้า และนางก็ไปวัด ได้เห็นภิกษุทั้งหลายเปลื้องผ้าสรง
สนานกายอยู่ เข้าใจผิดคิดว่า ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนานกายอยู่ จึงกลับ
มาบ้าน แล้วรายงานแก่หม่อมฉันว่า คุณนาย ไม่มีภิกษุในอาราม มีแต่พวกอาชีวกสรงสนาน
กายอยู่.

             ๑. พระพุทธเจ้าข้า ความเปลือยกายไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจ
ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎกแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
             ๒. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง ไม่รู้จัก
ที่โคจร ย่อมเที่ยวบิณฑบาตลำบาก ท่านฉันอาคันตุกภัตรของหม่อมฉันพอชำนาญหนทาง รู้จัก
ที่โคจร จักเที่ยวบิณฑบาตได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวาย
อาคันตุกภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.

             ๓. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้เตรียมตัวจะไปมัวแสวงหาภัตตาหาร
เพื่อตนอยู่ จักพลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปอยู่เมื่อพลบค่ำ จักเดิน
ทางลำบาก ท่านฉันคมิกภัตรของหม่อมฉันแล้ว จักไม่พลาดจากหมู่เกวียน หรือจักถึงสถานที่
ที่ตนต้องการจะไปอยู่ไม่พลบค่ำ จักเดินทางไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึง
ปรารถนาจะถวายคมิกภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
             ๔. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้โภชนาหารที่เป็นสัปปายะ
อาพาธกำเริบ หรือท่านจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานภัตรของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา
ท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานภัตรแก่สงฆ์
จนตลอดชีพ.

             ๕. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้พยาบาลพระอาพาธ มัวแสวงหาภัตตาหาร
เพื่อตน จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธจนสาย ตนเองจักอดอาหาร ท่านได้ฉันคิลานุปัฏฐาก-
*ภัตรของหม่อมฉันแล้ว จักนำภัตตาหารไปถวายพระอาพาธตามเวลา ตนเองก็จักไม่อดอาหาร
หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานุปัฏฐากภัตรแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
             ๖. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระอาพาธไม่ได้เภสัชที่เป็นสัปปายะ
อาพาธจักกำเริบ หรือจักถึงมรณภาพ เมื่อท่านฉันคิลานเภสัชของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา
ท่านจักไม่ถึงมรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่
พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.

            ๗. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์ ๑๐ ประการ
ได้ทรงอนุญาตยาคูไว้แล้ว ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็นอานิสงส์ตามที่พระองค์ตรัสนั้น
จึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์ จนตลอดชีพ.
             ๘. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำร่วมท่ากับหญิงแพศยา ณ แม่น้ำ
อจิรวดีนี้ หญิงแพศยาเหล่านั้นพากันเย้ยหยันภิกษุณีว่า แม่เจ้าเอ่ยพวกท่านกำลังสาวประพฤติ
พรหมจรรย์จะได้ประโยชน์อะไร ควรบริโภคกามมิใช่หรือ ประพฤติพรหมจรรย์ต่อเมื่อแก่เฒ่า
อย่างนี้ จักเป็นอันพวกท่านยึดส่วนทั้งสองไว้ได้ ภิกษุณีเหล่านั้นถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันอยู่
ได้เป็นผู้เก้อ ความเปลือยกายของมาตุคามไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง หม่อมฉันเห็นอำนาจ
ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎก แก่ภิกษุณีสงฆ์
จนตลอดชีพ.

             ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอานิสงส์อะไร จึงขอพร ๘ ประการต่อตถาคต
             วิ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ จำพรรษาในทิศทั้งหลายแล้ว
จักมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระองค์ แล้วจักทูลถามว่า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพแล้ว ท่านมีคติ
อย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระองค์จักทรงพยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อานาคามิผล หรืออรหัตผล

หม่อมฉันจักเข้าไปหาภิกษุพวกนั้น แล้วเรียนถามว่าพระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมาพระนครสาวัตถีไหมเจ้าข้า
ถ้าท่านเหล่านั้นจักตอบแก่หม่อมฉันว่า ภิกษุนั้นเคยมาพระนครสาวัตถี
หม่อมฉันจักถึงความตกลงใจในการมาของพระคุณเจ้ารูปนั้นว่า พระ-คุณเจ้ารูปนั้นคงใช้สอยผ้าวัสสิกศาฎก
คงฉันอาคันตุกภัตร คมิกภัตรคิลานภัตร คิลานุปัฏฐากภัตรคิลานเภสัช หรือยาคูประจำเป็นแน่

เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลนั้นอยู่ ความปลื้มใจจักบังเกิด
เมื่อหม่อมฉันปลื้มใจแล้ว ความอิ่มใจจักบังเกิด เมื่อมีใจอิ่มเอิบแล้ว กายจักสงบ เมื่อมีกาย
สงบแล้ว จักเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตจักตั้งมั่น จักเป็นอันหม่อมฉันได้อบรมอินทรีย์
อบรมพละ อบรมโพชฌงค์
นั้น
หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอประทานพร ๘ ประการต่อพระองค์พระพุทธเจ้าข้า.

     ภ. ดีละ ดีละ วิสาขา ดีแท้ วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอพร ๘ ประการ
     ต่อตถาคต เราอนุญาตพร ๘ ประการ
แก่เธอ.

     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนานางวิสาขามิคารมาตา
     ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=5&A=4005&w=พร_๘
-http://www.madchima.org/


คาถาอนุโมทนา 

สตรีใด ให้ข้าวและน้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว
บริจาคทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก
นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี
ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอายุเป็นทิพย์
สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีสุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย
ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน

พระพุทธานุญาตผ้าวัสสิกสาฎกเป็นต้น
             [๑๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนา นางวิสาขา มิคารมาตา
ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับกลับไป
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ผ้าวัสสิกสาฎก อาคันตุกภัตร คมิกภัตร คิลานภัตร คิลานุปัฏฐากภัตร
คิลานเภสัช ยาคูประจำ อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์.

                ******************


                   

นางวิสาขามหาอุบาสิกาจะนิพพานในเทวโลกในอนาคต

อนึ่ง  พระโสดาบันบางองค์ มีอัชฌาสัยในวัฏฏะ   เป็นผู้ยินดีในวัฏฏะ
ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏะบ่อยๆ นั่นเทียว ปรากฏอยู่.
                                  ก็ชนเหล่านั้น  มีประมาณเท่านี้  คือ

         ๑.    อนาถบิณฑิกเศรษฐี
         ๒.    วิสาขา   อุบาสิกา
         ๓.    จูลรถเทวบุตร
         ๔.    มหารถเทวบุตร
         ๕.    อเนกวรรณเทวบุตร
         ๖.    ท้าวสักกเทวราช
         ๗.    นาคทัตตเทวบุตร.

ทั้งหมดนี้ มีอัธยาศัยในวัฏฏะ เกิดในเทวโลก  ๖ ชั้น ตั้งแต่ต้น
ชำระจิตให้สะอาดในเทวโลกนั่นแหละ แล้วจึงตั้งอยู่ใน อกนิฏฐภพ
(เป็นพรหมชั้นสูงสุดในรูปพรหม)
จึงจักปรินิพพาน ชนเหล่านี้ พระองค์มิได้ทรงถือเอา ในที่นี้ ก็ชนเหล่านี้
พระองค์มิได้ทรงถือเอาเท่านั้นก็หาไม่

พระโสดาบันองค์ใด บังเกิดในมนุษยโลกทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปแล้ว
ในมนุษยโลกนั่นแหละ สิ้น ๗ ครั้ง แล้วจึงบรรลุพระอรหันต์ก็ดี
พระโสดาบันองค์ใด บังเกิดในเทวโลกทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
ในเทวโลกนั่นแหละสิ้น ๗ ครั้ง   แล้วบรรลุพระอรหันต์   ก็ดี
พระโสดาบันแม้เหล่านั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงถือเอา.

         แต่ว่าพึงทราบว่า ในที่นี้พระองค์ทรงถือเอาพระโสดาบัน ที่ชื่อว่า
สัตตักขัตตุปรมะ    กับโกลังโกละ    ด้วยสามารถแห่งภพอันเจือกัน  และ
พระโสดาบันผู้บังเกิดในภพของมนุษย์เท่านั้นที่ชื่อว่า   เอกพีชี.

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓   หน้าที่ 236
๒/๑/๓๕๘-๓๖๙ ; ป�ฺจ.อ. ๒๓๖-๒๓๗]


บทว่า สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส คือ พึงถืออัตภาพเกิดในภพ ๗ ครั้ง คือ ๗ คราวเป็นอย่างยิ่ง
ชื่อว่า สตฺตกฺขตฺตุปรโม คือไม่ถือเอาภพที่ ๘ อื่น ไปจากภพที่อุบัติถืออัตภาพนั้น.
ได้แก่พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น.

บทว่า โกลงฺโกลสฺส ชื่อว่า โกลังโกละ เพราะไปสู่ตระกูลจากตระกูล.
ความว่า เพราะไม่เกิดใน ตระกูลต่ำจำเดิม แต่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ย่อมเกิดในตระกูล โภคสมบัติมากเท่านั้น. ได้แก่พระโกลังโกลโสดาบัน.

บทว่า เอกพีชิสฺส ท่านกล่าวพืชคือขันธ์. โสดาบันมีพืชคือขันธ์หนึ่งเท่านั้น
ถืออัตภาพหนึ่งชื่อว่า เอกพีชี. ได้แก่พระเอกพีชีโสดาบัน.

ชื่อของบุคคลเหล่านั้น เป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้.
เพราะบุคคลผู้ถึงฐานะประมาณเท่านี้ ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ
ประมาณเท่านี้ชื่อโกลังโกละ ประมาณเท่านี้ชื่อว่าเอกพีชี เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งให้แก่บุคคลเหล่านี้ .
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้
บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้แล้วจึงทรงตั้งชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลเหล่านั้น.



-http://larndham.org/index.php?/topic/41439-วัฏฏาภิรตโสดาบัน(สังเขป)
* Agaligo Home บ้านที่แม้จริง อกาลิโก โฮม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2012, 06:11:47 pm »




ภาพวาดนางวิสาขามิคารมารดา กราบทูลขอพรถวาย
ผ้าอาบน้ำฝนพระพุทธเจ้า

เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ปกตินางจะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง เพื่อรับภัตตาหารอยู่เสมอ
วันหนึ่ง สาวใช้ได้ไปที่วัดตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อย คิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า

“ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่”
นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน
คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำ จึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำอาศัยเหตุนี้

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์


วิสาขาวัตถุ (เชื่อม) ถึง คิลานวัตถุกถา จบ
พระไตรปิฎกฉบับเสียงอ่าน มหาจุฬาลงกรณ์ / พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕



http://www.bodhiyalai.org/bodhiyalai/index.php?option=com_content&view=article&id=61%3A2009-09-14-06-28-16&catid=95%3A2009-03-26-07-22-02&Itemid=138&limitstart=2