ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2012, 12:21:21 am »





หนทางผ่าน จนนานเนิ่น เกินวิถี
ย่ำทุกที มากี่ภพ ไม่จบสิ้น
ยังเวียนกัน เกิดใหม่ ในราคิน
จิตยังดิ้น ตามกิเลส เป็นเหตุทำ



เมื่อตัณหา ยังพาเที่ยว ในสามภพ
ไม่รู้จบ ที่ตรงไหน ใจถลำ
ต่อเมื่อหยุด จึงได้เห็น ว่าเป็นธรรม
เลิกก่อกรรม ทำวิถี ที่จิตกลาง



หยุดตัวตน ว่ายเวียน เพียรให้มาก
ลดละอยาก ในกายใจ ให้สะสาง
ว่าเป็นเพียง ไตรลักษณ์ รู้จักวาง
ส่งจิตว่าง เป็นพุทธะ ละตัวตน

มาเถิดหนา ผองข้า จงมาสู่
ยังประตู พระนิพพาน ให้ผ่านพ้น
หยุดเวียนว่าย เกิดตาย ในสากล
ทำจิตพ้น เหนือสมมุติ หยุดนิรันดร์




อันหลายสิ่ง ผันผาน ผ่านชีวิต
ครั้นพินิจ ให้ปลดปลง ในสงสาร
ช่างไร้แก่น ไร้สาระ มานมนาน
แต่ยังผ่าน สืบไป ไม่ระวัง

หากรู้ทัน มันจะหยุด เมื่อฉุดคิด
รู้ทันจิต จึงไม่หลง ปลงจิตว่าง
เป็นทุกขัง อนัตตา อนิจจัง
จึงหยุดยั้ง เกิดดับ รับนิพพาน




เดินทาง อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว
มาเพียง ผู้เดียว มาแต่ไหน
ยังเดิน ยังย่าง ยังต่อไป
สุดตรงไหน ไม่รู้ ไม่อยากคิด

เดินทาง จากวันวาน นานเนิ่น
แสนเพลิน ทุกข์ซ้ำ ย้ำจิต
มัวเมา หลงโลก หลงชีวิต
เพราะคิด ว่าดี ว่างาม



นิพพาน นั้นมี จริงจริงไหม
อยากใคร่ ใฝ่รู้ กู่ถาม
หรือเพียง ลมหลอก ลวงตาม
คำถาม นี้ตอบ ได้อย่างไร

ก้าวกัน มานานแล้ว ยังไม่หยุด
หนอมนุษย์ จะหยุดยั้ง อย่างไรได้
ก็กิเลส ตัณหา พาวุ่นวาย
จึงดึงดัน กันไว้ ในวังวน

ตื่นเถิด ตูสู ตูข้า
ลองมา ฟังผู้รู้ ดูสักหน
อันความ เป็นจริง ทุกสิ่งตน
ย่อมพ้น ทางอบาย ได้ทางตรง



ดูก่อน ศีลธรรม ประจำไว้
ปัญญา ในใจ แจ้งให้โล่ง
เลิกมัวเมา แล้วเรา จะเย็นลง
จิตดำรง คงมั่น พ้นพาลภัย


ให้รู้จิต เห็นได้ ในขันธ์ห้า
เห็นชัดว่า อนัตตา ละสงสัย
อนิจจัง ทุกข์ขัง อย่างเข้าใจ
เพียรเห็นไว้ ให้ชัดแท้ ไม่แพ้เลย




ความสงสัย ในธรรม จึงสิ้นสุด
ภพชาติหยุด เลิกเหนี่ยวไว้ ไม่เมินเฉย
เผากิเลส ที่เหตุร้อน ก่อนเคยเคย
จิตเสบย สบายหนอ ขอนิพพาน

มาวันนี้ ชาติภพ ใกล้จบสิ้น
เสียงเพลงพิณ เคยบรรเลง เป็นเพลงผ่าน
จึงเปรียบได้ ในเสียง เพียงตำนาน
ปัจจุบัน อยู่กับรู้ ดูเข้าใจ


๐๐๐  คีตเสวี  ๐๐๐

-http://blog.revolgroup.com/hall-of-fame/%E0%B8%AD-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95.html