ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Uzumaki Naruto
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2012, 01:47:44 am »



      เราเชื่อในหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า เรื่องบาปเรื่องบุญ เรื่องสุขเรื่องทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรมเหล่านี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เป็นความจริงอยู่ตลอดกาล
      
      แต่จิตใจของเราเท่านั้นยังไม่ได้รับการอบรมให้ยอมรับความจริงอันนี้ จึงยังหลงอยู่ จำเป็นจะต้องอบรมต่อไปอีก จนกว่าจิตของเรายอมรับทำตามได้ รู้ตามได้ เห็นตามได้ ละตามได้ พ้นตามได้ จนกว่าจะพ้นจาก ทุกข์จริงๆ ในสิ่งที่เราไม่ต้องการ
      
      คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีผู้นำมาใช้โดยศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใส ด้วยความตั้งใจ ความเสียสละใน สิ่งที่ควรเสียสละ ตัดในสิ่งที่ควรตัด เมื่อตัดบางสิ่งบางอย่างแล้ว บางสิ่งบางอย่างมันเกิดขึ้นได้ มันมีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ตัดบางอย่างที่เราต้องการ ความสงบก็ไม่บังเกิด
      
      เพราะฉะนั้นพอตัดอันหนึ่ง ทิ้งอันหนึ่งไปแล้ว ความสงบเกิดขึ้นแทน ความสุขเกิดขึ้นแทน เราควรเอาความสุข ควรเอาความสงบ ควรเอาการงานภาระของเราให้น้อยลง ให้เบาบางลง
      
      เพราะฉะนั้น คำว่า “ละ” ไม่ใช่ว่าละแล้วไม่ได้อะไร ถ้าละแล้วสูญเปล่า พระพุทธเจ้าก็ไม่สอนให้ละ แต่เราละอันหนึ่งแล้ว อันหนึ่งงอกงาม
      
      เราเห็นสิ่งหนึ่งไม่ดี แต่สิ่งหนึ่งมันดีผ่องใส เช่น เห็นกายในกาย ที่พระพุทธเจ้าท่านให้เห็นตามความเป็นจริง ก็เพื่อกำจัดสิ่งที่หลอกลวง สิ่งที่ไม่จริง ที่มีอยู่ในจิตใจ ที่เคยหลงมาก่อน เพราะความจริงเท่านั้น ทำให้เรายึดมั่นได้ เป็นที่พึ่งได้ กำจัดภัยได้ เพราะความรู้จริงเห็นจริงตามสภาวะธาตุสภาวะธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ที่ทำให้เราและสัตว์ทั้งหลายเข้าใจผิด สำคัญผิด ยึดถือไปผิด เลยได้รับทุกข์จากความรู้ผิด เข้าใจผิด มาเป็นเวลายาวนาน ไม่ใช่เฉพาะปีนี้ หรือไม่ใช่เฉพาะแต่ชาตินี้ หลายชาติหลายภพมาแล้ว หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่เมื่อเราไม่รู้จักแล้ว ก็นึกว่าไม่มีอะไร
      
      พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงรู้เห็นตลอดเวลา เพราะพระปัญญาของพระองค์ละเอียดอ่อน ของลึกลับขนาดไหน พระองค์ก็เห็นได้ จิตใจของเรา ฝึกฝนยังไม่พอ จึงรับยังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แม้สิ่งเหล่านั้นมีอยู่ บาปมีอยู่ บุญมีอยู่ นรกมีอยู่ สวรรค์มีอยู่ แต่ก็ยังสงสัย เพราะไม่ประจักษ์ในใจของเราเอง
      
      เมื่อตราบใด เราพยายามทำใจของเราให้มีญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นขึ้นมาแล้ว เราก็จะสิ้นสงสัยทันที เมื่อเราไม่สงสัยแล้ว กำลังใจในการปฏิบัติ ก็เพิ่มขึ้นทันที
      
      ความสงสัยเป็นตัวอุปสรรคอย่างสำคัญมาก เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตัดความสงสัยเสียได้ จึงเป็นผู้ที่เข้าเขตแดนอริยะ แก้ความสงสัยก็ด้วยการปฏิบัติจิตภาวนา สร้างสติสร้างปัญญาในสมาธิให้เกิดขึ้น ปรากฏในจิตใจของเรา เมื่อมันชัดในจิตใจแล้ว ความสงสัยก็เลิกไปเอง หมดไปเอง
      
      สิ่งใดที่ว่าละยากๆ ถ้าจิตมันเข้าไปถึง เข้าไปรู้ไปเห็น แล้ว เมื่อเราต้องการละ มันก็ละ ต้องการบำเพ็ญ มันก็บำเพ็ญให้เรา เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามอบรมจิตของเรานี้แหละ ให้รู้เห็นธรรมะที่ละเอียดไปตามลำดับ ที่ไม่สามารถที่จะไปเห็นด้วยตาธรรมดา ไม่สามารถสัมผัสได้ในจิตธรรมดา แต่สัมผัสได้ในจิตที่ได้อบรมละเอียดในองค์สมาธิ จึงจะสัมผัสได้ จึงจะรู้ได้
      
      เพราะฉะนั้น พยายามรวบรวมจิตของเรา ให้มีอารมณ์อันเดียว มีจิตดวงเดียว มีธรรมอันเดียว ให้จิตเข้าสู่ความสงบความละเอียดไปตามลำดับ ตัดความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงภาระภายนอก ไม่ให้มีอยู่ในจิตในใจ ปล่อยวาง ให้หมด สละให้หมด สละด้วยสติด้วยปัญญาอันชอบ สละด้วยความเห็นชอบ ไม่ต้องไปแก้ไขภายนอก คือสละใน จิตนั้นเอง ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องไปทำอะไรกับภายนอก เพราะวัตถุภายนอกนั้น เขาไม่เป็นมูลแห่งสุขและแห่ง ทุกข์ ส่วนมูลที่ให้เกิดสุขเกิดทุกข์ มันเป็นเรื่องของจิต
      
      เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นอะไรที่เราจะไปตัดสิ่งภายนอก จะไปแก้สิ่งภายนอก ด้วยกายด้วยวาจา แต่มาแก้จิตใจของเรา ด้วยสติปัญญาอันชอบ อันถูกต้อง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงพาปฏิบัติพากระทำ เดินตามพระองค์ เชื่อตามพระองค์ ส่วนไหนที่เรารู้แล้วว่าไม่ดี ที่พระพุทธเจ้าท่านให้ละ เราก็อบรมจิตใจของเราให้เห็นชอบตาม ให้ละได้ตาม ให้ปล่อยวางตาม
      
      สมาธิ...ควรทำจิตให้สงบ เราก็เห็นตามชอบตามสงบตาม
      
      ควรอยู่ในความวิเวก เราก็กำหนดจิตให้เกิดความวิเวก มีความปีติมีความสุขในธรรม เพราะอาศัยความวิเวก มีอารมณ์อันเดียว ที่ท่านยกย่องว่าผู้มีอารมณ์อันเดียว มีสติบริสุทธิ์ มีความสุข
      
      อันนี้เป็นเรื่องจิตกับความคิดดำริอันชอบภายในเท่านั้นเอง ไม่เกี่ยวกับสิ่งอื่นเลย โดยเฉพาะจิตเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น เรื่องเฉพาะจิตอันนี้แหละ ถ้าสติเข้าไปรักษาให้เป็นปัจจุบัน รู้อันมั่นคง ไม่วอกแวก ไม่ริบหรี่ เหมือนกับไฟเทียนที่ไม่มีลมพัด มันก็เที่ยง ถ้ามีลมพัดมา วิบๆแวบๆ อ่านหนังสือก็ไม่ออก รู้อะไรก็ไม่ชัด จิตที่มัน ไม่เที่ยงนี้แหละ ที่ขึ้นๆ ลงๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ความรู้ที่เรารู้ ให้มันตั้ง เหมือนกับหลักหินที่มันตั้ง ลมพัดจากทิศต่างๆ ไม่กระเทือนไม่หวั่นไหว
      
      เราปฏิบัติจิตอบรมจิตให้มีสมาธิ ให้ตั้งอย่างนั้นแหละ อย่าให้มันหลวม อย่าให้มันโยกเยกๆ ให้มันตั้งมั่น โดยสติเป็นผู้ระลึกสัมปชัญญะเป็นผู้รู้ สติระลึกเตือนคำบริกรรม กำกับให้มันทำงาน ไม่ให้เผลอ ไม่ให้ปล่อยทอดธุระ ละไปเอาอันอื่นมาแทน เอาเฉพาะจำกัดที่เรา มอบงานให้ทำ แม้นานเท่าไรเราก็ทำ ยอมรับทำอยู่อันเดียว เพื่อให้เกิดฐานอันมั่นคงก่อน สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นคง ยังไม่รู้ไม่เห็นก็ตาม ให้เห็นความมั่นคงเกิดขึ้น ในจิตใจก่อน ให้เห็นอันนี้ก่อน เป็นประตูแรก เป็นขั้นแรก ของมรรคของการปฏิบัติ เพื่อออกจากทุกข์อย่างแท้จริง
      
      ได้ยินได้ฟังแล้ว ตั้งใจปฏิบัติ อธิบายย่อๆ เท่านี้แหละ

 :07: