พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEE0TURjMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHdOeTB3T0E9PQ==-
ในความเชื่อของฝ่ายมหายาน ที่กล่าวว่าในมหาจักรวาลอันแผ่ไพศาลออกไปจนหาที่สุดมิได้นั้น ประกอบด้วยพุทธเกษตร (หรือเรียกอีกความหมายก็คือ พุทธมณฑล) จำนวนมากมายมหาศาล ในพุทธเกษตรเหล่านั้นก็จะมีพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตร
ในพุทธเกษตรที่สำคัญ 5 พุทธเกษตร ซึ่งได้บรรยายไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์สำคัญคือ พระไวโรจนะพุทธไปแล้ว ในพุทธเกษตรสำคัญองค์ต่อมาก็คือ พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า
พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าเป็นพระธยานิพุทธสำคัญหนึ่งในห้าของความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าของฝ่ายมหายาน ประจำอยู่ในพุทธเกษตรทางทิศเหนือ ในคำอธิบายของมหายานกล่าวว่าพระธยานิพุทธนั้นมีกายอันเป็นทิพย์ที่พระโพธิสัตว์เท่านั้นที่จะได้เห็นและได้รับฟังคำเทศนาสั่งสอน
รูปภาพรูปปั้นของพระอโมฆสิทธิพุทธะที่พบเห็นกันนั้น เป็นการแสดงลักษณะทางกายภาพทางพุทธศิลป์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจในคติธรรม ซึ่งในทางกายภาพที่ได้แสดงไว้ก็คือ เป็นพระพุทธรูปปางอภัย หรือปางนั่งสมาธิ มีสัญลักษณ์คือวัชระไขว้ (ความหมายของวัชระก็คืออาวุธ (หรือปัญญา) ที่มีความคมสูงสุด) สามารถตัดอวิชชาให้ขาดได้ มีกายสีเขียว ซึ่งสัญลักษณ์ของการกระทำอันสมบูรณ์ คือการกระทำที่ปราศจากกิเลส และพ้นจากกิเลส การบรรลุความสำเร็จนี้ตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม อย่าเข้าใจปนกันระหว่างพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ คือ พระกกุสันโธพุทธเจ้า กับ พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ประจำอยู่ทางทิศเหนือ พระกกุสันโธนั้นเป็นอดีตพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาทที่มีแนวคิดแนวปฏิบัติโดยวิธีการที่พิจารณาถึงสัจจะหรือความจริงที่จะทำให้พ้นจากวัฏสังสาร ส่วนพระอโมฆสิทธิของฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นพุทธเจ้าที่มีพร้อมกับสรรพสิ่งทั้งปวงนั้น
คติธรรมก็คือแนวทางการใช้สติปัญญาพิจารณาในเรื่องของกรรม
.