ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2012, 11:43:38 pm »

ปลดแอก"ภาษีผัวเมีย"

ทวี มีเงิน



ราวๆ 4-5 เดือนมาแล้วเคยเขียนถึงปัญหาภาษีที่บังคับให้ภรรยาต้องนำรายได้มารวมกับรายได้ของสามีแล้วเสียในนามสามีเป็น "ภาษีที่ไม่เป็นธรรม" ในที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถทำได้ เมื่อเปิดมาแล้วก็ถือโอกาสปิดประเด็นฉลองชัยเสียหน่อย

สำหรับสาระคร่าวๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประมวลอัษฎากรมาตรา 40 และมาตรา 57 กำหนดให้เงินได้ทั้งสามีและภรรยารวมกัน และทำให้มีการเสียภาษีสูงขึ้นนั้น "ขัดรัฐธรรมนูญ" และ "ขัดหลักความเสมอภาค" และเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา 30 เนื่องจากมีความแตกต่างในเรื่องสถานะบุคคล อีกทั้งไม่ได้เป็นมาตราที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้สามารถใช้สิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับคนอื่น

เหตุผลของศาลเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวทำให้สามีภรรยาที่มีเงินได้ "เสียภาษีสูงกว่าปกติ" และยังทำให้หญิงที่มีสามีเสียภาษีสูงกว่าผู้หญิงโสด กฎหมายดังกล่าวไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัวจึงทำให้หญิงและชายไม่นิยมสมรสเพราะต้องรับภาระภาษีที่สูงขึ้น ผู้สมรสแล้วต้องวางแผนเสียภาษีโดยบางรายถึงต้อง "จดทะเบียนหย่า" เพื่อจะได้ไม่ต้องนำเงินได้ของสามีและภรรยามารวมกัน

คาดจะมีผลปีหน้าแต่ที่เสียไปแล้วจะได้คืนหรือไม่ต้องลุ้นกันอีกช็อต

ก่อนหน้านี้กรมสรรพากรเคยคิดเลิกภาษีผัวเมียมาแล้ว แต่ดันไปบรรจุอยู่ในแพ็กเกจปรับโครงสร้างภาษี มาทราบภายหลังติด อยู่ที่คลังไม่เห็นด้วยที่จะลดภาษีบางประเภทที่อยู่ในแพ็กเกจนำเสนอ ขณะที่ก่อนหน้านี้คลังลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% สูญเงินหลายหมื่นล้านไปแล้วก็เลยเบรกหัวทิ่มทั้งแพ็กเกจ

ทั้งที่มูลค่าภาษีผัวเมียจิ๊บจ๊อยแค่ 4 พันล้านบาท จึงโดนหางเลขไปด้วย

อันที่จริงในแพ็กเกจปรับโครงสร้างภาษีที่สรรพากรเสนอให้คลังพิจารณา มีภาษี "บุคคลธรรมดา" ที่จะปรับโครงสร้างให้เป็นธรรมขึ้น เดิมช่องว่างการเสียภาษีห่างกันมากทำให้คนมีรายได้สูงได้เปรียบ แต่คลังไม่เห็นด้วยอีกเหมือนกัน

ตราบใดที่ไม่ปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาไปด้วยถือว่าไม่เป็นธรรม ทั้งที่ข้อดีมีมากมาย จะมีเงินมากระตุ้นการบริโภค คนจะหันมาเสียภาษีมากขึ้น ทุกวันนี้คนที่ต้องเสียภาษี 10 ล้านคน แต่เสียจริงๆ แค่ 2 ล้านคน เพราะ "ภาษีแพง-โทษเบา" หากลดภาษีลง คนก็จะยอมเข้าระบบ รัฐก็จะมีเงินเข้าคลังมากขึ้น

ธรรมดาของถูกย่อมมีลูกค้ามาก รายได้ก็มากตามไปด้วย

-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME1Ua3pNekV5Tmc9PQ==&sectionid=-
.