ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2012, 07:09:19 pm »



อุปธิ   อุป ( เข้าไป , ใกล้ , มั่น ) + ธิ ( สภาพที่ทรงไว้ )
สภาพที่เข้าไปทรงไว้ซึ่งทุกข์   หมายถึง   สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์หรือเป็น
มูลแห่งทุกข์  ได้แก่  อุปธิ   ๔  คือ  ...

๑. กามูปธิ
๒. ขันธูปธิ   
๓. กิเลสูปธิ   
๔. อภิสังขารูปธิ

  กามูปธิ     สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือกาม    เพราะกามทั้งหลายเป็นเหตุให้
เกิดความทุกข์ยากในการแสวงหา    เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย   เป็นเหตุให้เกิด
ความทุกข์ยากในการแสวงหา   เป็นเหตุแห่งการฆ่าฟันกัน  เป็นเหตุให้ทำทุจริต
เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ

  ขันธูปธิ     สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือขันธ์    เพราะขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยงมี
ความแปรปรวน  ทำให้มีความแก่  ความเจ็บ  ความตาย   เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์โดย
ประการต่างๆ

  กิเลสูปธิ    สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือกิเลส       เพราะกิเลสเป็นเหตุให้ทำ
อกุศลกรรม    ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากที่เป็นทุกข์  และทำให้วนเวียนไป
ในสังสารทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

  อภิสังขารูปธิ      สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คืออภิสังขาร  เพราะปุญญาภิสัง-
ขาร   อปุญญาภิสังขาร    และ  อเนญชาภิสังขาร    ซึ่งได้แก่    กุศลกรรม  และ
อกุศลกรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก      ทำให้มีการเกิดและเป็นไปในภพต่างๆ   ซึ่ง
เป็นทุกข์ในสังสารวัฏฏ์

ในขุททกนิกาย จูฬนิเทส แสดงอุปธิ ๑๐ ประการ คือ ...
๑. ตัณหูปธิ   
๒. ทิฏฐูปธิ   
๓. กิเลสูปธิ   
๔. กัมมูปธิ     
๕. ทุจจริตูปธิ     

๖. อาหารูปธิ     
๗. ปฏิฆูปธิ   
๘. อุปธิคืออุปาทินนธาตุ  ๔   
๙. อุปธิคือ อายตนะภายใน  ๖
๑๐. อุปธิคือหมวดวิญญาณ  ๖     

ทุกข์แม้ทั้งหมดก็เป็นอุปธิ  เพราะอรรถว่า  ยากที่จะทนได้

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คำขยายของอุปธิ 10 ประการ
๑. ตัณหูปธิ คือ โลภะ ความติดข้อง   
๒. ทิฏฐูปธิ  คือ  ความเห็นผิด มีเห็นว่าเที่ยงหรือตายแล้วขาดสูญ เป็นต้น
๓. กิเลสูปธิ  คือ  กิเลสประการต่างๆ มี โลภะ เป็นต้น
๔. กัมมูปธิ   คือ  กรรมต่างๆ มีกุศลกรรม เป็นต้น
๕. ทุจจริตูปธิ  คือ ทุจริตต่างๆ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

๖. อาหารูปธิ คือ  อาหารที่บริโภค(กวฬิงการาหาร)
๗. ปฏิฆูปธิ คือ โทสะ 
๘. อุปธิคืออุปาทินนธาตุ  ๔  คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟอันมีกรรมเป็นสมุฏฐาน   
๙. อุปธิคือ อายตนะภายใน  ๖ คือ ตา หู จมูก...เป็นต้น
๑๐. อุปธิคือหมวดวิญญาณ  ๖     คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ...เป็นต้น

                               อ่านเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎกที่นี่ครับ
                พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 150
                -http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=10662