ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 02, 2012, 07:50:15 pm »

 :13: เพลงฟังเพราะครับ กำลังอ่านบทความเพลงขึ้นด้วยแฮะ ผมตกใจเลยได้ยินเสียงเพลง ขอบคุบครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 11:03:00 pm »




โกตาบารู - สมชาติ ชนะโชติ

โก ตา บา รู
ก็ รู้ คู่ ยะ ลา
รองเง็ง เฮฮา
ภาษา มลายู

ภาษา ยา วี
เรา นี้ ก็พอรู้
รสชาติ บู ดู
อู้ ฮู้.. อร่อยจัง

มากัน นาซิ
ดนดีกินข้าวหรือยัง
ไม่ มี สตางค์
ทรัพย์จางตะเดาะดูวิ

โก ตา บา รู
เรียนรู้ พูดยาวี
ขอบอก คนดี
ซายอ กาเซะ กามู

<a href="http://hostarea.de/out.php/i263640_hifias134s.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://hostarea.de/out.php/i263640_hifias134s.swf</a>

บ้านเก่าของเจ้าเมืองผู้ครองเมืองโกตาบารู ปัจจุบันยังมีลูกหลานผู้สืบสกุลอาศัยอยู่

ประวัติเมืองโกตาบารู


ย้อนอดีต เมืองโกตาบารู พุทธศักราช 2465 รัฐบาลสยามได้จัดระบบการปกครองหัวเมืองมลายูใหม่ โดยแบ่งเป็น 7 หัวเมือง และขึ้นกับมณฑลปัตตานี มณฑลปัตตานีจึงแบ่งเป็นปัตตานี    หนองจิก   ยะหริ่ง   สายบุรี   ยะลา    ระแงะ และเมืองโกตาบารูหรือเมืองรามันห์ขึ้นกับจังหวัดยะลามี ต่วนกาลูแป เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอโกตาบารู ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงอรรถสิทธิสมบูรณ์”

                        เมืองโกตาบารู เดิมเป็นเมืองที่เจริญอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งช้าง ป่าไม้ ทอง และแร่ทับทิม มีกองทหารที่กล้าหาญ องอาจ มีอาณาเขตขยายกว้างไปถึงเมืองเปอร์ลิสของมาเลเซีย มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันหลายคนที่สำคัญ และเป็นที่นับถือชาวพุทธ มุสลิมและชาวจีนทั้งในถิ่นและนอกถิ่น คือ โต๊ะนิจาแว หรือเรียกสั้นๆว่า โต๊ะนิ

                        มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าเมืองโกตาบารู โดยเฉพาะพระยารัตนภักดี (ต่วนมาลาแลยาวอ)
มีฐานะร่ำรวยเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ท่านได้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนบ้านโกตาบารู (รัตนผดุงวิทยา) ให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานคนในท้องถิ่น

                        วังโกตาบารู เป็นสถานที่ราชการพบปะผู้คน เป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น
พระยารัตนภักดีเป็นที่รักของประชาชน ราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยก็สามารถไปอาศัยในวังได้ โดยทำงานหรือทำนาเป็นการแลกเปลี่ยน วังโกตาบารูเป็นสถานที่พักพิงของผู้คนสัญจรไปมาหรือคนที่มาทำธุระที่เมืองที่ต้องการเดินทางไปเมืองยะลา สามารถมาพักค้างแรมที่วังโกตาบารูได้ เนื่องจากในเรือนครัวของวังโกตาบารูมีหม้อหุงข้างใบใหญ่ 2 ใบ จะหุงข้าวได้ตลอดเวลาเพื่อให้แขกที่มาพักแรมได้รับประทานอาหาร

                        เจ้าเมืองโกตาบารูเป็นคนที่ชอบความสนุกสนาน ชอบการกีฬา โดยเฉพาะศิลปะการป้องกันตัว ที่เรียกว่า “สิละ” เจ้าเมืองได้ฝึกชายหนุ่มในวังให้รำสิละเป็นทุกคน โดยหาครูฝึกมาจากเมืองโกตาบารูให้รัฐกลันตันของมาเลเซีย พอถึงวันสำคัญก็จะมีการแข่งขันรำสิละ ตกกลางคืนจะมีการแสดงลิเกฮูลู ลิเกฮูลูจึงถือกำเนิดที่เมืองโกตาบารูนี้เป็นครั้งแรก ต่อมาจึงขยายไปสู่เมืองอื่นๆ เมืองโกตาบารู จึงได้ชื่อว่า “โกตารามัย” แปลว่า เมืองแห่งความรื่นเริง ในยามที่มีงานสำคัญหรือต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลก็จะมีการฉลองอย่างสนุกสนานและสมเกียรติ

                        ปัจจุบันยังมีลูกหลานเจ้าเมืองหลงเหลืออยู่ โดยใช้นามว่า“ต่วน”นำหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

                        โกตาบารู เป็นอำเภอสังกัดจังหวัดยะลา จนถึงพ.ศ.2487 จึงเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น“รามัน” ตามเดิม

ขอบคุณข้อมูล - เทศบาลตำบลโกตาบารู   
noway2know -http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=6441.0