ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2012, 09:43:49 pm »

ระวัง! ไตวายเฉียบพลัน เพราะใช้เครื่องสำอางปนเปื้อนสารไดเอทิลีน ไกลคอล
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000122402-



ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


       สธ.พบการปนเปื้อนของสารไดเอทิลีน ไกลคอล ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กลีเซอรีน พอลิเอทิลีน ไกลคอล และ โพรไพลีน ไกลคอล เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา เนื้อเยื่ออ่อน หากเข้าสู่กระแสเลือดเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และระบบสืบพันธุ์
       
       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่เคยมีข่าวการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตของผู้บริโภคในต่างประเทศ ซึ่งได้รับสารไดเอทิลีน ไกลคอล (diethylene glycol) หรือ DEG ที่ปนเปื้อน หรือลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยา อาหาร และเครื่องสำอาง นั้น สาร DEG มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ละลายได้ดีในน้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) และ อะซิโตน (acetone) สำหรับความเป็นพิษของสาร DEG สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางผิวหนัง การหายใจ และการกิน โดยจะก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เมื่อสารดังกล่าวถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลต่อการทำงานของตับ ไต และระบบประสาทส่วนกลาง ก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้สาร DEG ยังมีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพที่ใกล้เคียงกับสารกลีเซอรีน (glycerin) สารพอลิเอทิลีน ไกลคอล (polyethylene glycol) และสารโพรไพลีน ไกลคอล (propylene glycol) ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องสำอางและเป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประมาณร้อยละ 3-10 โดยน้ำหนัก ทำให้อาจมีการปนเปื้อนของสาร DEG ได้
       
       นพ.สุรวิทย์ กล่าวต่ออีกว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสาร DEG ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศ โดย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจวิเคราะห์เอกลักษณ์ของสาร DEG ปนเปื้อนในกลีเซอรีน พอลิเอทิลีน ไกลคอล และ โพรไพลีน ไกลคอลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี GC-FID จำนวน 42 ตัวอย่าง ตรวจพบการปนเปื้อนของสาร DEG จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 7 ในจำนวนนี้พบการปนเปื้อนของสาร DEG ในปริมาณร้อยละ 0.04 0.05 และ 0.08 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ทั้งนี้ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปด้านเครื่องสำอาง (EU Directives 76/768/EEC) และกฎหมายอาเซียนด้านเครื่องสำอาง (ASEAN Cosmetics Directives หรือ ACD) กำหนดให้สาร DEG เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง แต่อาจมีสาร DEG ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก สำหรับประเทศไทย กำหนดให้สาร DEG เป็นสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 80 ง ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ลำดับที่ 1242
       
       นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลจากการตรวจพบสาร DEG ปนเปื้อนในกลีเซอรีน พอลิเอทิลีน ไกลคอล และ โพรไพลีน ไกลคอล ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางในครั้งนี้ แม้ปริมาณที่ตรวจพบการปนเปื้อนจะต่ำกว่า เกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย จะยังคงดำเนินการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัย ของผู้บริโภค นอกจากนี้ประชาชนควรมีความรู้ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย ระบุชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิต มีวันเดือนปีที่ผลิต สถานที่ผลิต หรือผู้นำเข้าอย่างชัดเจน เพื่อช่วยประกอบการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์นั้นยังคงคุณภาพดีอยู่หรือไม่ ควรซื้อเครื่องสำอางที่มีขนาดปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ใช้ได้หมดภายในเวลาสมควร และก่อนใช้เครื่องสำอางควรอ่านฉลาก ปฏิบัติตามวิธีใช้ คำเตือน รวมทั้งทดสอบการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง