ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2012, 08:10:45 pm »

    วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8052 ข่าวสดรายวัน
-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREUxTVRJMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHhNaTB4TlE9PQ==-

ยุติธรรม

ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com


กรรมจำแนกสัตว์ให้เลวทรามและประณีต รูปร่างของสัตว์มีลักษณะต่างกันโดยที่มิได้จงใจในปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องของกรรมในอดีตตกแต่งมา บางคนต่ำ บางคนสูง บางคนขาว บางคนดำ บางคนสวย บางคนไม่สวย บางคนมีอวัยวะร่างกายแตกต่างกัน กรรมจึงกระทำให้รูปร่างของสัตว์ทั้งหลาย มีลักษณะแตกต่างกัน

ทุกชีวิตต้องอยู่ในลักษณะเป็นผู้รับผลของกรรม และเมื่อสิ่งนั้นเป็นผลของกรรม เราจะไปแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ เป็นกฎแห่งกรรม เช่นคนที่เกิดมาผิวดำ ไม่เป็นที่นิยมของชาวโลก ซึ่งบางกลุ่มเขาเหยียดหยามมาก จึงรู้สึกไม่พอใจ พยายามคิดแก้ไข เพื่อจะให้ร่างกายมีผิวขาวขึ้น คิดดูว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ คงได้คำตอบเหมือนกันคือแก้ไขไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร สุดท้ายต้องยอมรับผลของกรรมนั้นด้วยความยินดี ควรวางใจคิดว่าเป็นกรรมของเขา เพราะใครๆ ไม่ปรารถนาจะเกิดมามีผิวดำอย่างนี้ การเหยียดหยามกันในเรื่องผิว จะไม่เกิดขึ้นเพราะคนเราเลือกเกิดไม่ได้ สิ่งสำคัญคนเราจะดีหรือชั่วอยู่ที่การกระทำ ไม่ใช่อยู่ที่สีผิว

บุคคลที่ควรได้รับการอนุเคราะห์อยู่มากเหมือนกัน เช่น คนที่เกิดมาตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นบ้า หรืออวัยวะพิกลพิการ บุคคลเหล่านี้เกิดมาเพื่อใช้หนี้กรรม เขาไม่ปรารถนาจะเป็นเช่นนั้น

เคยได้ยินปัญหาอยู่หลายครั้ง มีผู้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเป็นไปของสัตว์โลกว่าเป็นไปอย่างไม่ยุติธรรม เช่น สัตว์โลกต้องมีฐานะต่างกัน เบียดเบียนกัน เช่น บางคนเกิดมาพิการ บางคนเกิดมาสมบูรณ์ดีทุกอย่าง บางคนเกิดมาจน บางคนเกิดมาร่ำรวย สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก สัตว์ที่แข็งแรงกว่าเบียดเบียนสัตว์อ่อนแอ คนที่มีอำนาจมากข่มเหงรังแกคนที่มีอำนาจน้อย คนโง่ตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด ดูแล้วโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม

คนที่มีความรู้สึกเช่นนี้ น่าเห็นใจมาก เพราะเขาไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม อันเป็นกฎที่ทุกคนหลีกหนีไม่พ้น จึงมองเห็นโลกในแง่ของความไม่ยุติธรรม ซึ่งถ้าเขาเหล่านั้นได้ศึกษาเหตุเกี่ยวกับเรื่องของกรรมแล้ว จะเห็นความจริงของโลกนี้ เต็มไปด้วยความยุติธรรม

หากพิจารณาดูว่าสัตว์ที่แข็งแรงกว่าเบียดเบียนสัตว์ที่อ่อนแอ คนที่มีอำนาจเบียดเบียนคนที่ไม่มีอำนาจ คนโง่ตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด คนที่เกิดมาพิการ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลของกรรม ตามหลักของพระพุทธศาสนานั้นคำว่า ยุติธรรม หมายถึงผลของกรรม ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งมากกว่าความยุติธรรมทางโลก

ความยุติธรรมทางโลก เป็นเพียงสมมติ จึงปรากฏอยู่เสมอว่า ผู้นั้น ผู้นี้ไม่ได้รับความยุติธรรม ตามความเข้าใจที่วัด กันด้วยความรู้สึก ส่วนมากจึงหาข้อยุติไม่ได้ว่า อย่างไรจึงเรียกว่ายุติธรรม บางคนมีความเห็นว่า ความยุติธรรมคือสิ่งที่เท่ากัน และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย บางคนมีความเห็นว่าความยุติธรรมคือความพอใจของผู้ให้ และผู้รับยอมรับว่าสิ่งนั้น เป็นธรรม แท้จริงแล้ว ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน อธิบายว่า ยุติธรรม คือความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREUxTVRJMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHhNaTB4TlE9PQ==