ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 05:08:33 pm »





เรื่อง “จิตคิด” กับ “จิตรู้”

ที่จริงถ้าเราแยกนามธรรมได้ชำนาญ เราจะไม่กล่าวถึง..
“จิตคิด” กับ “จิตรู้”
เพราะจิตนั้น มันมีคุณสมบัติหลายอย่าง ตั้งแต่
รู้สึก จำ คิด รับรู้ และเสพย์ อารมณ์

หากเราแยกนามได้ชำนาญ เราจะพบว่า
คุณสมบัติแต่ละอย่างของจิตนั้น ก็คือนามขันธ์ แต่ละตัวนั่นเอง
คือความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็คือเวทนา ไม่ใช่จิต

ความจำก็คือสัญญา ไม่ใช่จิต
ความคิดนึกปรุงแต่งก็คือสังขาร ไม่ใช่จิต
ความรับรู้ก็คือวิญญาณ ไม่ใช่จิต
เอาเข้าจริง สิ่งที่เราเรียกว่าจิต ก็ไม่ใช่จิต



แต่เพราะเราไม่รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ขันธ์แต่ละขันธ์
เขาทำหน้าที่ของเขา
จึงไปยึดเอานามธรรมว่าเป็นจิตเรา แล้วให้มันร่วมมือกันทำงาน
จนหลอกเราได้
เช่นพอรู้ว่ามีความสุข ก็ยึดเอาว่า จิตสุข หรือเราสุข

ไม่ได้เห็นว่าความสุข ก็เป็นสิ่งภายนอก เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา
พอมีความจำได้หมายรู้ ก็ยึดว่าเราจำได้หมายรู้
ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความคิดนึกปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และเป็นกลาง
ก็ว่าจิตเราดี จิตเราชั่ว จิตเราเป็นกลาง
ไม่เห็นว่าความคิดนึกปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา

พอมีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ว่าจิตเรารับรู้
ไม่เห็นว่าความรับรู้เป็นสภาพธรรมที่เป็นอิสระอยู่นอกเหนือ
การบังคับบัญชาของเรา

จิตนั้นอาศัย “จิตสังขาร” คือเวทนา สัญญา และสังขาร จึงรู้สึกว่า
เป็นจิต
ขอเพียงปล่อยวาง นามขันธ์เสียให้หมด ไม่เห็นว่าเป็นเรา

ธรรมชาติรับรู้ล้วนๆ ก็จะปรากฏขึ้น
และธรรมชาติอันนั้น จะไม่มีความรู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่า เป็นตัวเรา หรือจิตเรา
อย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็น
สิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับ

รักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่อง
รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
รูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว




โดยคุณ สันตินันท์
(นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)


>>> F/B Trader Hunter พบธรรม