ใต้ร่มธรรม
แสงธรรมนำใจ => จิตวิวัฒน์ กระบวนการนิวเอจ นิเวศแนวลึก => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊กซ ที่ มิถุนายน 28, 2016, 02:18:24 am
-
(http://www.bloggang.com/data/plaiplang/picture/1215082381.jpg)
(http://www.bloggang.com/data/plaiplang/picture/1215082490.jpg)
https://www.youtube.com/v/ztGjvEqV5lQ
คำสำคัญ วันละคน ตอน มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
หัวข้อธรรม : เรียนสัจจะจากธรรมชาติ
"เป้าหมายสูงสุด ของการทำเกษตร ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น
แต่เป็นการเพาะปลูกความสมบูรณ์แบบของมนุษย์"
ในปี ๒๕๓๐ โลกถูกปลุกให้หันมาสนใจเกษตรกรรมแนว “วิถีดั้งเดิม” โดยอดีตนักจุลชีววิทยาด้านศัตรูพืช มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ผู้ผันตัวเองสู่ท้องนาชนบท เพื่อพิสูจน์แนวคิดและความเชื่อของตน
ฟูกูโอกะ เชื่อว่า ธรรมชาติสร้างความสมดุลได้ด้วยตัวเอง มนุษย์จึงไม่ต้องทำอะไรเกินความจำเป็นอีกต่อไป ไม่ต้องไถพรวนดิน เพราะรากพืชและไส้เดือนก็ทำหน้าที่ชอนไชพรวนดินตามธรรมชาติอยู่แล้ว
ตรงกันข้าม การไถพรวนดินกลับยิ่งทำให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ใต้ดินมีโอกาสขึ้นมาเจริญเติบโต เขาควบคุมวัชพืชด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ซึ่งจะทับถมกลายเป็นปุ๋ยในภายหลัง และควบคุมแมลงโดยปล่อยให้ชีวิตเล็กๆ เหล่านี้อยู่กันตามธรรมชาติและปล่อยให้กลไกห่วงโซ่อาหารทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของแมลง
ฟูกูโอกะลงมือเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ซึ่งสะท้อนแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติ ซึ่งสวนทางกับการทำเกษตรกรรมของหลายคนในเวลานั้น ที่มนุษย์เชื่อว่า สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ไม่เว้นแม้แต่ ธรรมชาติ ซึ่งนั่นทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและยาฆ่าแมลงเพื่อใช้ในการควบคุมแมลง วัชพืชและปริมาณผลผลิต แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม ยิ่งควบคุมก็ยิ่งห่างไกลธรรมชาติออกไปทุกที
เขาจึงนำเสนอแนวทางทำการเกษตรแบบ “อกรรม” นั่นคือ การงดเว้นกิจกรรมการเกษตรที่ไม่จำเป็นทุกชนิดที่เป็นการรบกวนและเป็นภัยต่อธรรมชาติ ด้วยการไม่ทำกิจกรรม ๔ อย่าง คือ
๑.ไม่มีการไถพรวนดิน
๒.ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
๓.ไม่มีการกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะการใช้ยาปราบศัตรูพืช และ
๔.ไม่มีการใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด
อาจดูเหมือนว่าเขาปล่อยให้พืชพันธุ์ เจริญเติบโตโดยไม่ได้มีวิธีการดูแลบำรุงรักษาเหมือนกับเกษตรกรคนอื่นๆ ที่เค้าทำกัน แต่ที่จริงแล้ว การทำเกษตรแบบ “อกรรม” ไม่ได้แปลว่าไม่ทำอะไรเลย หากหมายถึง การทำทุกอย่างเท่าที่จำเป็น ง่าย และงาม ตามธรรมชาติ เรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจมากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ กลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง
ในปี ๒๕๓๑ ฟูกูโอกะ ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ จากแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติที่เป็นการเกื้อกูลระบบนิเวศน์ และเป็นหนทางที่เกษตรกรทุกระดับสามารถทำได้ทุกพื้นที่การเกษตร
ดังคำกล่าวหนึ่งของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ กล่าวว่า
"เป้าหมายสูงสุด ของการทำเกษตร ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น
แต่เป็นการเพาะปลูกความสมบูรณ์แบบของมนุษย์"
©ทรูปลูกปัญญา
ที่มา : สามเณร ปลูกปัญญาธรรม http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=25284 (http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=25284)
และ http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/10/30/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/10/30/entry-1)
http://bokujou.org/article/topic-44486.html (http://bokujou.org/article/topic-44486.html)
https://loveplant.wordpress.com/2012/07/30/one-straw-revolution/ (https://loveplant.wordpress.com/2012/07/30/one-straw-revolution/)
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=598:seubnews&Itemid=14 (http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=598:seubnews&Itemid=14)
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html)
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?PHPSESSID=s0raq33io7hhmaupahoa6aaes7& (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?PHPSESSID=s0raq33io7hhmaupahoa6aaes7&)
(https://loveplant.files.wordpress.com/2012/07/masanobu-fukuoka.jpg)
โหลดไปอ่านได้ ที่ http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/the_one_straw_revolution.pdf (http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/the_one_straw_revolution.pdf)
https://www.youtube.com/v/KCT45-8mZDE
-
(http://www.newheartawaken.com/uploads/cover/aa1f3cdcf1889fb0b6a164933cf9119f.jpg)
ฟางเปลี่ยนโลก มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
แนวคิด / ประสบการณ์ตื่นรู้
"จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของการทำนาไม่ใช่การปลูกพืช แต่มันคือการทำคนให้เป็นคน"
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/fukuoka.jpg)
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เห็นปรัชญาจากวัฏจักรของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เขายึดหลักอกรรม (การไม่ทำ) ก่อเกิดกรรม (การกระทำ) ฟูกูโอกะเห็นว่าสรรพสิ่งนั้นขับเคลื่อนด้วยพลวัตที่ปราศจากพลวัต จึงกลายเป็นที่มาของทฤษฎีกสิกรรมที่โด่งดังของเขา คือการทำกสิกรรมโดยการไม่ทำกสิกรรม ไม่ดูแลไร่นา ไม่ดูแลผืนดิน
แนวคิดที่ทั้งดูแล และไม่ดูแลไร่นาและผืนดินนี้เรียกว่า "ฌิเซน โนโฮ" ซึ่งสอดคล้องกับหลัก "มู" เป็นหลักหนึ่งของพุทธศาสนา หมายถึง "ศูนยตา" หรือความไร้ แต่เป็นความไร้ที่ไม่ได้สูญเปล่า เป็นความไร้ที่ประกอบไปด้วยสาระของสรรพสิ่ง คือความกลมกลืนหนึ่งเดียวกันของทั้งความไร้และความมี ฟูกูโอกะเห็นว่าเมื่อเราชักพาสรรพสิ่งสู่ความไร้แล้ว มันจะดำเนินไปตามครรลองของมันเอง เหมือนกับที่เมื่อเราจัดการพืชผักผืนดินและปล่อยมันไว้อย่างถูกต้อง มันก็จะเกิดการเติบโตของมันเองได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูแล
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/fukuoka1.jpg)
ช่วงที่เขาป่วยจากอาการปอดบวม ถูกกักบริเวณอยู่แต่ในโรงพยาบาล ฟูกูโอกะครุ่นคิดเรื่องชีวิตและความตายด้วยจิตใจที่จดจ่อสับสน คืนหนึ่ง เขาปล่อยให้ความสับสนต่อสู้กับตัวเองจนเผลอหลับไปใต้ต้นไม้ใหญ่ เสียงนกกระยางปลุกเขาให้ตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ เขามองไปรอบๆ พบแสงตะวันเปิดฟ้า เสียงนกขับขาน สรรพชีวิตกำลังเริ่มต้นวัฏจักรของมันอีกครั้ง ช่วงเวลานี้เองที่ภาวะตระหนักรู้บังเกิดขึ้นกับเขา เขาเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครต้องทำอะไร และสิ่งต่างๆ ที่เขายึดมั่นถือมั่นไว้มาโดยตลอด ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลย
นับแต่วันนั้น ฟูกูโอกะเริ่มต้นชีวิตแบบใหม่ที่ไร้ความหมาย ไร้การกระทำ เพราะชีวิตใหม่ของเขาคือการไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เดินทางเร่ร่อนไปเรื่อยๆ จากเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่ง อาศัยน้ำใจของผู้คนตามทางเพื่อประทังชีวิต จนกระทั่งเขากลับบ้านแล้วขอให้พ่อปันพื้นที่เพาะปลูกให้ส่วนหนึ่งเพื่อทดลองทฤษฎีของการทำเกษตรแบบไม่ต้องทำอะไรของเขา ปล่อยให้พืชพันธุ์และสรรพสัตว์เติบโตและกันไปตามครรลองของธรรมชาติ เขาเชื่อว่าการไม่ทำอะไรคือการทำที่ยิ่งใหญ่ และมันจะให้ผลที่ยิ่งใหญ่
ขาไม่ทันคิดถึงเรื่องนี้เลย ต้นไม้ใบหญ้าที่ถูกเขาทิ้งไว้ให้โตเองตามธรรมชาติ กลับถูกแมลงเจาะกินจนวอดวายไปต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่ว่าทฤษฎีของเขาผิดพลาด แต่เพราะเขาประเมินสถานการณ์พลาดไปอย่างมหันต์ เขาพบว่าเพราะสิ่งมีชีวิตบนโลกพึ่งพาอาศัยการบงการมานานเกินไป จนไม่อาจอยู่ได้โดยลำพังตามครรลองของมันเองอีก ดังนั้นก่อนที่มันจะคืนสู่ธรรมชาติ มนุษย์จึงต้องบงการมันเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการตระเตรียมมันก่อนจะทอดทิ้งมันอย่างสมบูรณ์แบบ
ฟูกูโอกะพบว่าสิ่งที่จะใช้เข้าไปบงการมันเป็นครั้งสุดท้ายก็คือฟาง ฟูกูโอกะใช้เพียงฟางในการเข้าไปควบคุมดูแลการเติบโตของเหล่าพืชผลในไร่นา แล้วจึงปล่อยให้มันดูแลกันเองจนเติบโตได้ในที่สุด เขาใช้ฟางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพดังทีหนังสือเล่มหนึ่งของเขาชื่อ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว"
ดังนี้ ฟูกูโอกะจึงพบว่าสัจธรรมไม่ใช่ทั้งการทำ หรือไม่ทำอะไร แต่เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างนั้น หรือ "มู" ต่างหาก เขาใช้แนวคิด "ณิเซน โนโฮ" และ "มู" ดังกล่าวนี้ทั้งในการดำเนินชีวิต และในการพลิกฟื้นชีวิตของผืนดินในทุกที่ที่เขาเดินทางไป
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/masanobu.jpg)
ชีวประวัติ
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ในเมืองเล็กๆ ที่ชื่ออิโยะ จังหวัดเอฮิเมะ บนเกาะชิโกกุ ดินแดนแถบนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการประมงและการสวนผลไม้ ครอบครัวของเขามีสวนส้มและแปลงเกษตรกว้างใหญ่ ฟูกูโอกะผู้พ่อได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้เป็นแม่สืบเชื้อสายจากสกุลซามูไรเก่าแก่ ชีวิตของเขาค่อนข้างสุขสบาย ทั้งยังได้รับโอกาสทางการศึกษาเหนือกว่าเด็กทั่วๆ ไป
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 30 ฟูกูโอกะเริ่มทำงานด้านการวิจัยเกษตร มีอยู่ช่วงหนึ่งเขาไปประจำอยู่ที่สำนักศุลกากร เมืองโยโกฮามา ในกองตรวจสอบพันธุ์พืช ช่วงนี้เองที่เขาได้ค้นพบความอัศจรรย์ของธรรมชาติผ่านกล้องจุลทรรศน์ เขาได้พบกับพันธุ์พืชแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็นรักแท้ครั้งแรกของชีวิตเขาก็ว่าได้
แต่แล้วเมื่ออายุได้ 25 ปี เขาล้มป่วยลงด้วยโรคปอดขั้นรุนแรง ต้องถูกกักตัวไว้ในโรงพยาบาล ไม่มีเพื่อนสักคนมาคอยสอบถามอาการ เป็นช่วงที่เขาทบทวนชีวิตตัวเองมากที่สุดช่วงหนึ่งจนแตกฉานในแนวคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง "มู" ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ วิถีชีวิต และกสิกรรมทั้งสิ้น
หลังจากรอดพ้นอาการป่วยมาได้ ฟูกูโอกะเริ่มต้นลงมือทำตามสิ่งที่เขาค้นพบ หรือการกสิกรรมแบบณิเซน โนโฮ ในทันที แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในตอนแรก อีกทั้งช่วงหนึ่งของการทดลองนี้ต้องหยุดชะงักลงเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟูกูโอกะถูกเกณฑ์ไปรบ แต่สงครามก็สิ้นสุดอย่างรวดเร็วหลังการทิ้งระเบิดปรมาณู และแม้จะเหลือที่ดินน้อยลงกว่าเดิมมากจากการจัดสรรของอเมริกา แต่ก็ยังเพียงพอให้ฟูกูโอกะทำการทดลองของเขาต่อไป เขาล้มเหลวและฝึกฝนจนมีวิธีการที่ใช้ได้จริงเกิดขึ้นในที่สุด
ฟูกูโอกะเขียนหนังสือออกมาเพื่อแบ่งปันแนวคิดต่างๆ ของเขา ทั้งเรื่องการเกษตรและปรัชญาการใช้ชีวิต เขาเดินทางไปทั่วโลกเพื่อประกาศสิ่งที่เขาค้นพบ และช่วยเหลือเกษตรกรในการพลิกฟื้นผืนดิน จากสหรัฐถึงเอธิโอเปีย จากไทยถึงอัฟกานิสถาน จากอินเดียถึงจีน จากบราซิลถึงฟิลิปปินส์ และอีกมากมายหลายแห่งหน และเป็นคุรุผู้สอนการทำกสิกรรมตามแนวทาง "ณิเซน โนโฮ" ไปจนบั้นปลายชีวิต
มาซาโนบุ ฟูกูโอะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2008 อายุได้ 95 ปี
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/c.gif)
เส้นทางชีวิต
ค.ศ. 1913
เกิดที่เมืองอิโยะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น ในครอบครัวเจ้าที่ดินท้องถิ่น
ค.ศ. 1934
ทำงานที่สำนักงานศุลกากรเมืองโยโกฮามาฝ่ายวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ค.ศ. 1937
ป่วยด้วยโรคปอดบวมอย่างหนัก เกิดประสบการณ์การตื่นรู้
ค.ศ. 1938
เริ่มการทดลองทฤษฎีเกษตร
ค.ศ. 1940
แต่งงานกับ อะยะโกะ มีบุตรด้วยกัน 5 คน
ค.ศ. 1945
ถูกเกณฑ์เป็นทหารและถูกปลดประจำการ
ค.ศ. 1947
เริ่มทำตามทฤษฎีเกษตรอย่างจริงจังอีกครั้ง พิมพ์หนังสือเรื่อง Mu 1: The God Revolution
ค.ศ. 1975
พิมพ์หนังสือชื่อ The One-Straw Revolution หรือการปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว
ค.ศ. 1979
เป็นต้นมา ฟูกูโอะกะ เดินทางไปทั่วโลกเพื่อบรรยาย สาธิต และรับรางวัล
ค.ศ. 1990 - 1991
ฟูกูโอะกะ เดินทางมายังไทย เพื่อเยือนแปลงเกษตรต่างๆ และเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์
ค.ศ. 2008
เสียชีวิตมื่อวันที่ 16 สิงหาคม วัย 95 ปี หลังจากป่วยจนต้องนั่งรถเข็นมานาน
(http://img.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2011061814218_b.jpg)
วาทะ
เป็นหมายสูงสุดของการทำไร่นาไม่ใช่แค่การปลูกพืช แต่คือการเพาะพันธ์ความประเสริฐของมนุษย์
ถ้าเราไล่ธรรมชาติออกจากบ้าน
มันจะกลับมาอีกครั้งพร้อมคราดในมือ
ใจกลางสวนเล็กๆ ของเราตรงนี้นั่นแหละ คือศูนย์กลางแห่งจักรวาล
อ่านเพิ่มเติม
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B0%20book.jpg)
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/2016-05-23_15-12-24.jpg)
Sowing Seeds in the Desert: Natural Farming, Global Restoration, and Ultimate Food Security. Masanobu Fukuoka
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/2016-05-23_15-13-04.jpg)
The Natural Way of Farming: The Theory and Practice of Green Philosophy. Masanobu Fukuoka
(http://www.newheartawaken.com/uploads/images/masanobu/2016-05-23_15-13-35.jpg)
One-Straw Revolution, The: an Introduction to Natural Farming. Masanobu Fukuoka
ดูเพิ่มเติม
Masanobu Fukuoka -- Farming Philosophy
https://www.youtube.com/v/55m1SypX7pw
จาก http://www.newheartawaken.com/guru/38 (http://www.newheartawaken.com/guru/38)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/576/29576/images/msbn77090.jpg)
เพิ่มเติม ทั้งเล่มเลย เคยลงไว้
Masanobu Fukuoka เกษตรกรผู้ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html)
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๑ กลับคืนสู่ต้นกำเนิด http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3600.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3600.0.html)
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๒ เกษตรธรรมชาติ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3715.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3715.0.html)
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๓ ทางออกอันอ่อนน้อม http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3789.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3789.0.html)
https://www.youtube.com/v/EE33XM0FvP4