ใต้ร่มธรรม
แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => วัชรยาน => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊กซ ที่ สิงหาคม 08, 2016, 06:32:15 pm
-
(http://travel.mthai.com/wp-content/uploads/2015/04/27A96F7000000578-3043400-Larung_Gar_Buddhist_Academy_is_home_to_40_000_monks_and_nuns_who-a-16_1429437246486.jpg)
ชุมชนชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เทือกเขาหิมาลัยในทิเบต เป็นดินแดนที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นหลังคาโลก
ดินแดนแห่งนี้ไม่ได้มีเสน่ห์เพียงทิวทัศน์งดงาม ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ภูเขาหิมะและธารน้ำแข็งเย็นยะเยือก หรือพระอาทิตย์ตกดินที่ชวนตื่นตาตรึงใจเท่านั้น
แต่ ณ กลางหุบเขาสูงอันห่างไกล ยังมีสิ่งน่าดึงดูดใจอย่างคาดไม่ถึงซ่อนตัวอยู่ นั่นคือ อาณาจักรของผู้ปฏิบ้ติธรรม “สถาบันพุทธศาสนาเซอตา” ศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาสายทิเบตที่มีชื่อเสียง และมีบทบาทสำคัญที่สุดของทิเบต มีศิษย์ทั้งพระสงฆ์ ชี และฆราวาส เข้ามาศึกษาและสร้างที่พักอาศัยอยู่รอบๆสถาบันประมาณ 40,000 รูป/คน
(http://f.ptcdn.info/971/020/000/1404712391-1JPEG-o.jpg)
• ‘ดินแดนธรรม’ ส่องประกายกลางหุบเขา
ท่ามกลางความหนาวเหน็บตามสภาพภูมิอากาศ และแวดล้อมด้วยความขาวโพลนของหิมะนั้น การดำเนินชีวิตถูกขีดจำกัด ถูกบั่นทอนความกระตือรือร้นมากกว่าผู้คนในภูมิภาคอื่นๆของโลก การกระตุ้นด้วยสีสันของเสื้อผ้าและการตกแต่งอาคารบ้านเรือน ก็ยังอาจจะไม่สามารถเรียกคืนความมีชีวิตชีวาและความหมายแห่งชีวิต ได้เท่ากับการได้รับประกายความอบอุ่นจากแสงแห่งธรรมในสถานที่แห่งนี้
สถาบันพุทธศาสนาเซอตา (Serthar Buddhist Institute) หรือสถาบันพุทธศาสนาลารังการ์ (Larung Gar Buddhist Institute) ตามคำเรียกภาษาทิเบต หรืออารามเซดา (Seda Monastery) ตามคำเรียกภาษาจีน ตั้งอยู่ในหุบเขาลารัง (Larung Valley) เมืองเซอตา (ภาษาทิเบตเรียก เซ่อต้า) แคว้นคาม มณฑลเสฉวน เขตปกครองตนเองทิเบต อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สูงจากระดับน้ำทะเล 4,000 เมตร ห่างจากถนนหลักประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเซอตาประมาณ 15 กิโลเมตร
อารามแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2523 โดย เกนโป จิกมี พุนซอค (Khenpo Jigme Phunsok) เพื่อการฝึกอบรมพุทธศาสนาสายทิเบตแบบรวมเป็นหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก และตอบโจทย์ความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูการภาวนาและความรู้ด้านพุทธศาสนาทั่ว ทั้งทิเบต ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2509-2519
คณะกรรมการบริหารของสถาบันประกอบด้วยลามะโดยตำแหน่ง 7 รูป แต่ในเรื่องสำคัญๆ จะต้องนำเข้าหารือขอความเห็นชอบจากเกนโป จิกมี พุนซอค ก่อน จึงจะมีผลในทางปฏิบัติ เซอตามีครูผู้สอนราว 500 คน สอนระดับปริญญาตรีด้านศาสนศาสตร์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องคุณภาพการศึกษา ว่ามีมาตรฐานสูงทั้งทางโลกและทางธรรม มีการสอนภาษาอังกฤษ จีน และทิเบต รวมถึงคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย
แม้จะอยู่ห่างไกลและทุรกันดารเพียงใด อาณาจักรแห่งนี้ก็ยังขยายออกไปเรื่อยๆ จากหยิบมือเดียวในตอนเริ่มต้น กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาสายทิเบตที่ใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่ สุดของโลก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา สำหรับบุคคลที่นับถือต่างนิกาย ต่างเชื้อชาติ ทั้งพระสงฆ์ แม่ชี และนักศึกษาฆราวาส ที่มารับการอบรมปฏิบัติธรรม รวมกว่า 40,000 รูป/คน
อาณาเขตของเซอตาครอบคลุมพื้นที่ผืนใหญ่ เนืองแน่นด้วยที่อยู่อาศัยของพระและชีทั่วทั้งหุบเขา โดยมีกำแพงใหญ่กั้นกลางแบ่งเป็นเขตสงฆ์และเขตชี ซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่ของตน การพบปะสื่อสาร จะทำได้ในสถานที่เพียงแห่งเดียว คือ บริเวณลานส่วนกลางด้านหน้าของอุโบสถ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการปฏิบัติศาสนกิจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการไหว้พระ สวดมนต์ ทำวัตร เดินจงกรม ปุจฉา-วิสัชนาธรรม เป็นต้น
สภาพของที่พักอาศัยเป็นบ้านหลังเล็กสร้างด้วยไม้ หน้าตาเกือบเหมือนกันหมด ตั้งชิดชนิดหลังคาแทบจะเกยกัน เหมือนกล่องเล็กๆ วางเรียงปะติดปะต่อกันเป็นแถวยาว แต่ละแถวเรียงรายรอบอุโบสถแผ่ขึ้นไปตามแนวลาดชันของหุบเขา และแต่ละหลังมีขนาด 1-3 ห้อง ไม่มีห้องน้ำ ต้องไปใช้ห้องน้ำสาธารณะที่สร้างสำหรับคนกว่า 40,000 คน เช่นเดียวกับแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ก็ต้องไปตักจากบ่อส่วนรวมที่ใช้ร่วมกัน
(http://f.ptcdn.info/971/020/000/1404712443-2-o.jpg)
• ชุมชนคนปฏิบัติธรรม
เซอตาเปิดรับทุกคนที่มุ่งมั่นจะมาศึกษาพระพุทธศาสนาอันเป็นสากล ตามวิธีการเผยแผ่ของเกนโป จิกมี พุนซอค ที่นี่จึงเป็นศูนย์รวมของผู้ที่สนใจเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติธรรมจากหลาย แหล่งหลายชนชาติ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย กระทั่งชาวจีนก็มีจำนวนไม่น้อย (แม้ว่ารัฐบาลจีนจะไม่ยอมรับชาวทิเบตก็ตาม)
ทางสถาบันฯ จึงต้องจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาจีนโดยเฉพาะ แยกจากห้องเรียนภาษาทิเบตซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและจำนวนห้องมากกว่า ทั้งนี้นักศึกษาต้องดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำรงชีพเอง แต่สำหรับผู้ยากไร้ ทางสถาบันฯ จะพยายามจัดหาทุนให้
นอกจากนี้ เกนโป จิกมี พุนซอค มองว่าการศึกษาของแม่ชีเป็นเรื่องสำคัญมาก ขณะที่ในภูมิภาคนี้ยังขาดสถาบันส่งเสริมพุทธศาสนาสำหรับสตรี โดยจำกัดให้มีสำนักชีได้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เซอตาจึงเป็นสถานศึกษาพุทธศาสนาสำหรับสตรีที่สำคัญ มีแม่ชีจากทุกเขตของทิเบตมาพักอยู่ประมาณ 3,500-4,000 คน เพื่อศึกษาพุทธศาสตร์กับหลานสาวของเกนโป จิกมี พุนซอค คือ เจตซัน มุนต์โซ (Jetsun Muntso) โดยเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนาและฝึกปฏิบัติสมาธิพร้อมกันไป
และที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือ ที่นี่ยอมรับให้แม่ชีดำรงตำแหน่งครูผู้สอนได้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทิเบต เพราะความรู้ของแม่ชีที่จบจากเซอตานี้ เทียบได้กับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยทางซีกโลกตะวันตกเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดี ความหลากหลายเชื้อชาติและเหตุผลทางการเมือง ทำให้จีนจับตามองและพยายามยับยั้งการเติบโตของเซอตา โดยมีการแจ้งเตือนให้นักศึกษาและแม่ชีออกไปจากสถาบัน ในปี 2544 ตำรวจพร้อมอาวุธได้บุกเข้ามาขับไล่นักศึกษาและแม่ชีให้ออกไป พร้อมกับทำลายที่พักของแม่ชีประมาณ 2,000 หลัง เพื่อไม่ให้กลับเข้ามาพักอาศัยอีก จากเหตุการณ์นั้น เกนโป จิกมี พุนซอค ซึ่งสุขภาพไม่ดี ก็ล้มป่วยลง และถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวดในที่พักภายในสถาบันนานหลายเดือน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังใช้รถตักดินขุดเป็นถนนรอบๆ เซอตา และห้ามสร้างที่พักภายนอกเขตถนนนั้น พื้นที่ของสำนักพุทธศาสนาจึงลดน้อยลง แต่ก็ยังมีพระสงฆ์ แม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรม มาสร้างที่พักใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละกว่า 1,000 หลัง ด้วยความช่วยเหลือจากครอบครัวและมิตรสหาย
แม้อาณาบริเวณจะถูกจำกัด แต่ความยิ่งใหญ่ของพื้นที่นั้นถ้าวัดด้วยใจ มหาศาลกว่าที่สายตาเห็นมากนัก
(http://f.ptcdn.info/971/020/000/1404712490-3JPEG-o.jpg)
• พุทธศาสนาคือชีวิต
สถาบันพุทธศาสนาเซอตาอาจจะสร้างหลักปักฐานมาได้ไม่กี่สิบปี ทว่าการน้อมรับธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้หยั่งรากฝังลึกในใจมาเนิ่นนาน จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและลมหายใจของชาวทิเบต
แต่เดิมก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ ทิเบตมีลัทธิศาสนาเป็นของตนเองอยู่ นั่นคือ ลัทธิโบน (Bonism) ซึ่งเชื่อเรื่องอำนาจภูติผี วิญญาณ ธรรมชาติ และการบูชายัญ แม้เมื่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับในทิเบตแล้ว ลัทธิโบนก็ยังคงถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ โดยได้กลมกลืนเข้ากับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบทิเบตที่มี เอกลักษณ์เฉพาะ
พุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาในทิเบตนั้น มีทั้งนิกายมหายานจากอินเดียและจีน และนิกายตันตระของอินเดีย จึงเกิดเป็นนิกายวัชรยาน (บางทีเรียกพุทธศาสนานิกายมหายานทิเบต หรือเรียกนิกายตันตระ ก็มี) พร้อมกับเกิดคัมภีร์ขึ้นมาหลายคัมภีร์
(http://f.ptcdn.info/971/020/000/1404712546-5570000076-o.jpg)
เดินเวียนเทียนรอบโบสถ์
ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความกรุณา เมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เคารพซึ่งกันและกัน เพราะเชื่อว่าทุกคนมีความเป็นพุทธะในตัวเอง และสักวันหนึ่งอาจเป็นพระพุทธเจ้าได้
หลักธรรมในพระพุทธศาสนา สอนชาวทิเบตให้มีจิตใจเบิกบาน อดทน ไม่ทุกข์ร้อนเรื่องความยากลำบาก กล้าเผชิญความจริง สนใจสิ่งแปลกใหม่ เป็นผู้ใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญก็จะเดินทางไปแสวงบุญ แม้หนทางจะไกลสักเพียงใด ปัจจุบัน การบวชก็ยังได้รับความนิยมเช่นในอดีต พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ส่วนผู้หญิงก็นิยมบวช เป็นที่รู้กันว่าทิเบตเคยมีสามเณรีมากที่สุดในโลก สมัยก่อนที่จะถูกจีนยึดครอง
การน้อมรับพระธรรมด้วยใจ และนำพระธรรมนั้นมาสู่วิถีแห่งชีวิต ทำให้ดินแดนแห่งนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “แดนแห่งพระธรรม” ซึ่งสถาบันพุทธศาสนาเซอตาก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพุทธศาสนาสาย ทิเบต ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ประจักษ์ชัดในความยิ่งใหญ่ ชนิดภาพที่ว่าน่าตื่นตะลึงก็ไม่อาจเก็บได้หมด หากท้าทายให้ผู้คนได้เข้าไปสัมผัส และซึมซับพระธรรมอันแทรกอยู่ทุกอณูของชีวิต ที่เรียบง่ายตามวิถีพุทธของชาวทิเบตอย่างแท้จริง
(http://f.ptcdn.info/971/020/000/1404712600-5JPEG-o.jpg)
• เกนโป จิกมี พุนซอค ผู้ก่อตั้งสถาบันพุทธศาสนาเซอตา
เกนโป จิกมี พุนซอค เป็นลามะที่ทรงอิทธิพลที่สุดของนิกายนยิงมาปะ (Nyingmapa) หรือนิกายหมวกแดง เป็นชาวเมืองเซอตา แคว้นคาม มณฑลเสฉวน ศึกษาคำสอนแบบอทวิภาวะของทิเบต (Dzogchen หรือ Great Perfection) จากวัดนับซอ (Nubzor Monastery) เป็นผู้นำการภาวนาและสอนอทวิภาวะที่มีชื่อเสียง
ท่านเคยเรียกร้องให้เลิกการซื้อขายจามรี ซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านประจำถิ่น ด้วยเหตุผลทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์ในหลายประเทศ
และยังเคยเดินนำลูกศิษย์หลายร้อยคนจากวัดเซอตาไปจาริกแสวงบุญที่ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อู่ไถ (Mount Wutai) ในมณฑลชานซี (Shanxi) ประเทศจีน เคยไปเยือนประเทศอินเดีย และได้รับเชิญให้ไปสอนที่ศูนย์พุทธศาสนาในยุโรปและอเมริกาเหนือ จนเป็นที่รู้จักของโลกตะวันตก อย่างสหรัฐฯ แคนาดา เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย เนปาล และภูฏาน
วันที่ 29 ธันวาคม 2546 ในวัย 70 ปี ท่านถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทหารในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ด้วยปัญหาด้านหัวใจ และถึงแก่กรรมในวันที่ 7 มกราคม 2547
ที่มา : นิตยสารธรรมลีลา
ฉบับที่ 163 กรกฎาคม 2557
โดย วิรีย์พร
www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000073965 (http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000073965)
https://www.youtube.com/v/3-_72cME0OQ
Spirit of Asia : นารุง สำนักสงฆ์บนหลังคาโลก (24 เม.ย. 59)
นารุง ในภาษาทิเบต แปลความหมายได้ว่า อยากบวช กล่าวคือผู้ที่ย่างกรายเข้ามาดินแดนนี้ล้วนแต่ปรารถนาปวารณาตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
นารุงตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,100 เมตร เมื่อนานมาแล้ว สถานที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงทิเบต ในปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดที่ได้รับสิทธิในการ ปกครองตนเองทิเบต กระนั้น ชาวฮั่นหรือชาติพันธุ์อื่นๆ หรือแม้แต่จากประเทศอื่นทั่วโลกยังคงหลั่งไหลเดินทางเพื่อมา แสวงบุญที่นี่ ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นแหล่งความรู้และแก่นของ ศาสนาพุทธแบบทิเบต
เมื่อผู้คนอยู่ร่วมกัน นอกจากจิตใจที่มองหาพระนิพพานเหมือนกันแล้ว กฎระเบียบคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่กันได้อย่างสงบ พึ่งพาอาศัยกันเท่าที่จำเป็น เคารพกันและกัน และปฏิบัติตัวตามหน้าที่ที่ตนพึงกระทำ เวลาที่ใช้ไปกับการเล่าเรียนและสวดมนต์มีค่ามากกว่ากิจกรรมอื่นใด แรงศรัทธาที่เข้มข้นเอาชนะความหนาวสะท้านของหิมะที่กระหน่ำลงมาไม่ขาดสาย ความเป็นความตายคือเรื่องธรรมดา หากใช้เวลาเข้าหาพุทธองค์มากพอ สิ่งสุดท้ายที่ต้องการคือขอให้แร้งฉีกกระชากซากที่เปลือยเปล่าของตนเองเพื่อเป็นขั้นบันไดนำทางสู่สรวงสวรรค์
ที่ความสูงระดับหลังคาโลก ดินแดนแห่งพุทธศาสนาแห่งนี้กำลังฉายฉานโชนแสงแห่งธรรมะท่ามกลางภิกษุนับหมื่นรูป สำนักสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือพื้นที่ของวิถีชีวิตแห่งผู้มีศรัทธาในกลิ่นรสพระพุทธศาสนา และเสียงสวดภาวนาที่หนักแน่นกำลังกึกก้องครอบคลุมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อย่างไม่เสื่อมคลาย
ติดตามชมรายการ Spirit of Asia ตอน นารุง สำนักสงฆ์บนหลังคาโลก วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 16.30 – 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง http://www.thaipbs.or.th/live (http://www.thaipbs.or.th/live)
https://www.youtube.com/v/MzLdFnGjk3k
https://www.youtube.com/v/WNg0-9a5t5w
https://www.youtube.com/v/QWs2KWKP8fc
https://www.youtube.com/v/k-JlUezzf0E
-
ชมภาพเมืองวัดพุทธทิเบตที่ใหญ่สุดในโลก
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642182)
ภาพอารามเซดา ที่เนื่องแน่นไปด้วยบ้านเรือนเล็กๆ ที่เป็นที่พักอาศัยของลามะ และชี นับได้เป็นโรงเรียนพุทธศาสนาแบบทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์--อาราม เซ่อต้า (Seda Monastery/色达) ชาวทิเบตเรียกว่า Serthar เป็นโรงเรียนพุทธศาสนาแบบทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่แคว้นปกครองตัวเองกันจือ(甘孜藏族自治州)ทางทิศตะวันตกของมณฑลซื่อชวน (หรือเสฉวน) ทั้งนี้บางแหล่งเรียกแคว้นปกครองตัวเองของชนชาติทิเบตแห่งนี้ว่า “Kardze" หรือ “Garzin”
อารามแห่งนี้ เสมือนดงกุฏิเล็กๆ หลายร้อยหลัง เป็นที่พักอาศัยของลามะ และชี ถึง 40,000 คน
ชุมชนพุทธแห่งนี้กลับกลายเป็นสนามประท้วงที่จุดชนวนเหตุรุนแรง นับจากการลุกฮือของชนชาติทิเบตที่กรุงลาซา เดือนมี.ค. ปี 2551 ต่อมา ในปี 2552 ยังเกิดกระแสลามะและชนชาติทิเบตจุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงการปกครองจีน ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย รวมกว่า 110 คน ที่ ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บ โดยกลุ่มประท้วงชี้ว่าการพัฒนาในท้องถิ่นโดยรัฐบาลจีนนั้น เป็นการกดขี่ชนชาติส่วนน้อยทิเบต แต่ปักกิ่งมองว่าสิ่งที่รัฐบาลผลักดันในเขตชนชาตทิเบตนั้น เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนา ขณะที่กระแสวิจารณ์ชี้ว่า การพัฒนาในทิเบต ทำให้ชาวฮั่นหลั่งไหลเข้ามาในดินแดน และกลืนวัฒนธรรมท้องถิ่น
สำนักข่าวเอเอฟพีได้นำเสนอภาพชุมชนทิเบตที่อารามเซดา ระหว่างวันที่ 4-5 เม.ย.2556
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642183)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642184)
ชนชาติทิเบตผู้แสวงบุญที่อารามเซดา (โดยการเดินคลานกราบแบบอัฐฎางคประดิษฐ์ คือ การบูชาสูงสุดของชาวพุทธ คือให้อวัยวะบนร่างกายแปดจุดสัมผัสพื้น)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642185)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642186)
ลามะถอดรองเท้าไว้ด้านนอก ก่อนเข้าไปศึกษาถกพระธรรม
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642188)
ลามะกำลังโต้วาทีทางธรรม
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642190)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642202)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642203)
แม่ชีในศาสนาพุทธทิเบตกำลังนั่งอ่านหนังสือ ข้อความป้าย “วิทยาลัยเป็นบ้านของเรา การรักษาความสะอาดเป็นความรับผิดชอบของทุกคน”
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642204)
แม่ชีวางลูกประคำเป็นของสักการะบูชา
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642205)
ชาวทิเบตกำลังล้างมือด้วยกระบวย
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642224)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642225)
ลามะหนุ่มกำลังชูมีดหั่นผัก
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642226)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642227)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642230)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642231)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642232)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2642233)
จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051859 (http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051859)