ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => วัชรยาน => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊กซ ที่ กันยายน 01, 2016, 10:20:06 pm

หัวข้อ: จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊กซ ที่ กันยายน 01, 2016, 10:20:06 pm

จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

โดยส่วนตัวแล้วย่ามีความชื่นชอบ ศิลป วัฒนธรรมของธิเบต ค่อนข้างสูง
และเนื่องจากธิเบตเป็นอาณาจักรที่ถูกขนานนามว่าเป็นหลังคาโลก
และมีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

พอทราบข่าวว่ามีงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของธิเบต ย่าจึงขอไปชมให้เป็น
บุญตาสักหน่อย งานนี้มีในวันที่ ๕-๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา

ในงาน มีการก่อมันดาลา ทราย

(http://2g.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-0.jpg)

มนฑลแห่งการตรัสรู้ ทำจากทราย (Sand Mandala)เป็นการโรยทรายสี
ให้เป็นลวดลายโดยไม่มีการร่างแบบ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและสมาธิในการ
ทำค่อนข้างสูง การถ่ายภาพจึงห้ามใช้แฟลช

----

พระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ
บางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน การสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่าง
หนึ่ง มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การสร้างมันดาลาไม่มีการ
ร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กชนาดใด มโนจิต
ในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่อง
มนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วย ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

(http://2g.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-1.jpg)

รูปปั้นทำจากเนยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูชาพระพุทธองค์พุทธองค์
สิ่งสักการะนี้สามารถเก็บไว้เป็นวัตถุบูชาถาวรได้

(http://2g.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-2.jpg)

รูปปั้นเนย(Buttur Sculpture)

การปั้นเนยบูชาพระพุทธองค์เป็นพระเพณีอันเก่าแก่ของชาวธิเบต
ส่วนใหญ่จะปั้นในช่วงงานเทศกาลประจำปีของชาวธิเบตที่เรียกว่า
เทศกาลมอลลัมและงานพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆรูปปั้นทำจาก
เนยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูชาพระพุทธองค์ในระหว่างที่
ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนา รูปปั้นบูชาทำจากเนยอาจมีฐาน
กว้างถึง ๑๐ เมตร และสูงถึง ๔ เมตร (รูปทรงเหมือนกรวย)
หรือมีขนาดเล็กแตกต่างกันไปตามประเภท รูปปั้นบูชาจะทำขึ้นจาก
เนยบริสุทธิ์ที่เกิดจากส่วนผสมของเนยสัตว์และขี้ผึ้งที่มีอุณหภูมิ
อุ่นสามารถปั้นเป็นรูปทรงได้ รูปปั้นบูชาทำจากเนยมีเอกลักษณ์
เฉพาะตัวที่โดดเด่น เป็นศิลปะที่น่าดึงดูดใจและมีความซับซ้อนสูง
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนการบูชาทางศาสนา

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-3.jpg)

เดิมทีตั้งจะว่าจะไปเก็บภาพระหว่างการปั้นเอามานำเสนอ
แต่เนื่องจากกว่าจะว่างไปการปั้นเนยเขาได้ทำการปั้นเสร็จสิ้น
เรียบร้อยแล้ว มีแต่เพียงควันหลงมาให้ชมเพียงเท่านี้

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-4.jpg)

งั้นเรามาชมลวดลายเนยปั้น กันใกล้ๆว่าสวยงามเพียงไร
เนยบูชาพระพุทธองค์รูปทรงเหมือนกรวย

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-5.jpg)

ตั้งบูชาแบบนี้ค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-6.jpg)

วิธีการปั้นเนยและการตกแต่ง เนื่องจากพลาดชมจึงขออนุญาตนำภาพที่โชว์วิธีการปั้นมาให้ชมแทน

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-7.jpg)

ธงมนต์หลากสี

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-8.jpg)

ประดับตกแต่งทั่วบริเวณงาน

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-9.jpg)

ลวดลายของแมนดาร่าทรายมองจากมุมสูง พระลามะ
กำลังจัดแต่งลวดลายให้ได้รูปทรงสวยงามด้วยมีด

----
ปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลา คือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์
สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไป
ตามธรรมชาติ และก็เช่นกันเมื่อสูญสลายไปแล้ว ก็จะ
ต้องถูกสร้างขึ้นมาอีก เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความ
ว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-10.jpg)

เครื่องมือในการทำมันดาลาทราย

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-11.jpg)

ถึงแม้นว่าจะเป็นวันท้ายๆของงาน ผู้คนก็ยังทะยอย
มาถ่ายรูปและชมการโรยทราย ทำมันดาลา อยู่ไม่
ขาดสาย ชาวต่างประเทศก็ให้ความสนใจมาบันทึก
ภาพเป็นจำนวนมาก

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-12.jpg)

ศิลปินผู้วาดภาพ ทังก้า

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-13.jpg)

ตัวอย่างภาพวาดจากศิลปินท่านนี้
ละเอียดอ่อนช้อยสวยงาม ต้องไปชมของจริงค่ะ
สีสันสวยงามกว่าภาพที่ย่าถ่ายมาให้ชมเยอะเชียวค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-14.jpg)

ภาพเขียนทังก้า

ซึ่งจัดเป็นศิลปะชั้นสูง คือ ภาพวาดแทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หากจะเข้าใจได้ง่ายก็เปรียบเสมือนพระพุทธรูปนั่นเอง โดยปกติ
แล้วทังก้าจะเขียนบอกเล่าเกี่ยวกับพุทธองค์ เหมือนจิตรกรรม
ฝาผนังในประเทศไทย แต่เขียนลงบนผ้าแทน ชาวธิเบตไม่มี
พระพุทธรูป จะมีทังก้าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า เมื่อชนเผ่าเร่ร่อน
เดินทางย้ายถิ่นฐานสมบัติสำคัญของพวกเขาคือคัมภีร์พระธรรมและ
ทังก้าที่เป็นภาพพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ มันดาลาหรือวัฏสงสาร
ประกอบด้วยสัตว์ทั้งหกประเภทที่ใช้ชีวิตวนเวียนกับการเวียนว่าย
ตายเกิด ที่สำคัญในการทำแบบโบราณดั้งเดิม สีที่ใช้เขียนเป็นสี
ธรรมชาติที่ต้องสรรหาแร่ธาตุตามเทือกเขาหิมาลัย นำมาบดผสม
กับยางไม้ เขียนด้วยเกรียงจากเขาจามรี ส่วนสีทองก็จะใช้เนื้อ
ทองคำแท้ น้ำที่ใช้ผสมสียังต้องใช้น้ำแร่ผสมกับสีธรรมชาติใน
การวาด ซึ่งภาพที่ดีที่สุดนั้นใช้เวลาในการทำ
ถึง 60 วัน และอยู่ได้นานเป็นเวลาถึง 400 ปี

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-15.jpg)

แร่ธาตุที่นำมาจากภูเขา เพื่อใช้ในการวาดรูป

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-16.jpg)

แปรงทำเอง สำหรับใช้ในงานเขียนภาพ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-17.jpg)

ลายปักบนย่ามของพระลามะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-18.jpg)

องค์ทะไลลามะ ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัฒนธรรมธิเบตไว้ว่า
“วันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมอันเก่าแก่
ที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงต่อการล่มสลายอยู่ในตอนนี้
เราจึงต้องการความช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติ
เพื่อปกป้องวัฒนธรรมของเรา วัฒนธรรมที่เป็นดั่งมรดกโลก
การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่
จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น
แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-19.jpg)

การจัดงานในครั้งนี้ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
เป็นองค์หลักในการระดมทุนและจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงแต่รายรับ
ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการจัดงาน จึงบอกกล่าวมายัง
กัลยาณมิตรทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยเพื่อสืบทอด
คุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและสร้างเสริมสิ่งที่ดีงามสู่สังคม

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกัลยาณมิตรทุกท่าน และขอ
ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อาภาภร คำเจริญ โทร. 085-215-4977

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-20.jpg)

ภายในงานมีเครื่องปั้นดินเผาจากธิเบตจำหน่าย

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-21.jpg)

เต่าก็มีค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-22.jpg)

เครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์ของธิเบต

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-23.jpg)

ศิลปลวดลายบนเครื่องเงินของธิเบต

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-24.jpg)

ระฆังสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-25.jpg)

วัชระ ที่องค์ทะไลลามะ จะถือไว้ ข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งจะถือระฆัง
ระหว่างประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-26.jpg)

ฉิ่งลวดลายสวยงามมาก

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-27.jpg)

ขันลวดลายสวยงาม

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-28.jpg)

ด้านในมีรูปดวงตาธรรม

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-29.jpg)

หน้ากากที่ใช้สวมใส่ในการเต้นรำ
พูดถึงการแสดงย่าไม่ได้ดูค่ะเพราะเริ่มดึกมากและไม่ได้จองไว้ก่อน

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-30.jpg)

ขออนุญาตนำภาพการเต้นรำสวมหน้ากากนำมาประกอบภาพด้านบน

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-31.gif)

ชอบใจข้อความที่ด้านหลังเสื้อยืดที่จำหน่ายในงาน
ถ่ายมาให้อ่านกันเล่นๆค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-32.jpg)

หนูน้อยคนนี้กำลังสนใจชมสินค้าไม่ทราบว่าเล็งชิ้นไหนไว้

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-33.jpg)

นอกจากนั้นยังมีรูปสวยๆจากธิเบตจำหน่ายด้วยค่ะ
สั่งจองได้ที่งาน แต่ละรูปล้วนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธิเบตได้อย่างชัดเจน

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-34.jpg)

อย่างเช่นรูปนี้ ผู้แสวงบุญแม้จะมีเนื้อตัวมอมแมม ผมเผ้ายุ่งเหยิง
แต่ใบหน้าและแววตาบ่งบอกถึงความศรัทธาและเชื่อมั่นในบุญกิริยา

พวกเขามีความเชื่อว่ายิ่งลำบากก็จะยิ่งได้บุญมากค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-35.jpg)

นอกจากนั้นยังมีภาพถ่ายประวัติศาสาตร์เกี่ยวกับองค์ทะไลลามะ องค์ก่อนๆ
และองค์ปัจจุบันให้ได้ชมและศึกษาอีกด้วยค่ะ
---

พุธศาสนาถูกนำเข้ามาสู่ธิเบตในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ สมัยพระเจ้าซงเซ็น กัมโป
พุทธศาสนาแบบธิเบตเรียกตนเองว่าวัชรยาน หมายถึงมีพาหนะเป็นดังเพชร
ที่สามารถตัดกิเลสได้อย่างรวดเร็วในชาตินี้ แต่ยังกลับมารับใช้สรรพสัตว์ต่อไป
อย่างไม่รู้จบสิ้น

หากการนำเสนอของย่ามีจุดไหนที่ควรแก้ไขหรือไม่เหมาะไม่ควรประการใด
โปรดแจ้งให้ทราบด้วยค่ะ หรือจะเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

การแพทย์ของธิเบตก็น่าสนใจค่ะ ยังไม่ได้ทำภาพ หากมีโอกาสทำภาพมานำเสนอในภายหลังค่ะ

(http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G8995699/G8995699-36.jpg)

จาก http://www.oknation.net/blog/dada/2010/03/16/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/dada/2010/03/16/entry-1)