ใต้ร่มธรรม
แสงธรรมนำใจ => ใต้ร่มบารมี สดุดีราชัน => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊กซ ที่ พฤศจิกายน 05, 2016, 01:04:00 am
-
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402301.JPEG)
"เราจะช่วยเหลือเขา ให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้" พ่อหลวงผู้สอนลูกจับปลา ปลดหนี้อย่างยั่งยืน
จากชีวิตที่เคยสิ้นหวัง กลับฟื้นคืนรอยยิ้มให้ปรากฏบนใบหน้าได้อีกครั้ง จากพสกนิกรที่เคยแบกหนี้สินท่วมหลัง กลับได้รับชีวิตใหม่ที่ยั่งยืนอีกหน ด้วยแสงเทียนนำทางจากองค์พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเสด็จไปปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่ประชาชน จนส่งให้แผ่นดินไทยในวันแห่งความทุกข์ยาก กลับกลายเป็นแผ่นดินทองมาได้ถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรง “ปิดทองหลังพระ” มาตลอด 70 ปี
ชีวิตใหม่ของลูก จากหัวใจของพ่อ...
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402302.JPEG)
“พวกเรามาอยู่ที่นี่ ก็เพราะที่นี่ขาดน้ำทำกิน เรามาสู้กับความยากจนนานาประการ เพื่อให้คนไทย เป็นไทแก่ตนอย่างแท้จริง ให้เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยที่ท่านทั้งหลายก็สนับสนุนอยู่มิใช่หรือ”
นี่คือถ้อยคำที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยรับสั่งเอาไว้ เมื่อครั้งนักข่าวสัญชาติอังกฤษซักถามเกี่ยวกับการเสด็จมาทรงงานในพื้นที่ชายแดนของประเทศ ด้วยถ้อยคำซักไซ้ทีเล่นทีจริงที่ว่า “เสด็จมาทำอะไรกัน มีทหารล้อมหน้าล้อมหลัง จะมาสู้กับคอมมิวนิสต์หรือ”
พระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ในขณะนั้น ช่วยสะท้อนให้เห็นว่า กษัตริย์ผู้ทรงงานด้วยหัวใจอย่างสุดพระปรีชาสามารถผู้นี้ ไม่เคยมองผู้ใดเป็นศัตรูเลย มีเพียง “ความยากจน” เท่านั้นที่พระองค์ทรงต้องการต่อสู้และเอาชนะให้ได้ เพื่อพสกนิกรและแผ่นดินที่เปรียบเหมือนชีวิตของพระองค์เอง
ทุกก้าวย่างที่พระองค์ทรงฝากรอยพระบาทพระราชดำเนินไป ไม่เคยมีความยากลำบากใดเลยรอดพ้นพระเนตรพระกรรณไปได้ ด้วยทรงเอาใจใส่ในความทุกข์ยากของราษฎร แม้แต่เรื่องราวความเดือดร้อนของชาวบ้านตาดำๆ ยังถูกนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแก้ไข ส่งให้เกิดเรื่องเล่าจากคราบน้ำตาแห่งความปลื้มปีติขึ้นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับอีกหนึ่งเรื่องเล่าที่เรียกกันว่า “ปลาร้องไห้...ที่สายบุรี” เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาพรุแฆแฆ จ.ปัตตานี
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402303.JPEG)
ครั้งนั้น นายอูเซ็ง ชาวบ้านผู้เลี้ยงปลากะพงเพื่อยังชีพ ตั้งใจอยู่รอรับเสด็จ เพื่อถวายภาพถ่ายปลาในกระชังลอยตายเต็มแพนับหมื่นตัว เนื่องจากปัญหาการปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรุพาเจาะ ที่ไหลผ่านกระชังบริเวณนั้นก่อนลงทะเล เป็นเหตุให้ปลาขาดออกซิเจนและตายเป็นจำนวนมาก
ในขณะที่นายอูเซ็งถวายคำอธิบายไปก็ร้องไห้ไป ด้วยไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร มองไม่เห็นหนทางทำกินจนต้องขอพึ่งพระบารมี ในหลวงทรงทอดพระเนตรเห็นอาการสะอึกสะอื้นเหมือนเด็กๆ ของเขาก็ทรงเห็นใจ จึงตรัสด้วยพระราชอารมณ์ขันด้วยประโยคสั้นๆ ว่า "...ปลาร้องไห้ จะต้องหาทางแก้ไข..."
จากนั้นพระองค์ทรงเปิดแผนที่เพื่อทอดพระเนตรต้นเหตุของปัญหา เพื่อชี้ให้เห็นว่าเส้นทางปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรุบาเจาะ ปล่อยน้ำผ่านแม่น้ำกอตอซึ่งเป็นจุดที่เลี้ยงปลากะพงบริเวณจุดเกิดเหตุนี้อย่างไร ทรงศึกษาหาวิธีป้องกันการปล่อยน้ำเปรี้ยวลงจุดเดิมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งทรงมอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบวางแผนระยะยาว ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์จากวันนั้น จึงทำให้นายอูเซ็งและชาวบ้านอีกหลายหลังคาเรือน ไม่ต้องมีทั้ง “ปลา” และ “คน” ร้องไห้อีกต่อไป
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402304.JPEG)
แม้ในวันที่พระองค์ไม่อาจเสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชนเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้เหมือนเคย แต่พระราชดำริของพระองค์ที่ทรงคิดค้นเป็นศาสตร์แห่งการยังชีพเอาไว้ ก็ยังคงช่วยปลดหนี้และสร้างความอบอุ่นใจให้แก่ปวงชนชาวไทยตลอดมา โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่ลืมตาอ้าปากได้เพราะ “ศาสตร์ของพระราชา”
"ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เลี้ยงทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่เลี้ยง หากเหลือส่งขาย" เพียงเริ่มปฏิบัติตามโมเดลเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงฝากเอาไว้ให้เป็นมรดกแผ่นดิน ลุงตี๋-สุรชัย แซ่จิว ก็สามารถปลดหนี้กว่าครึ่งล้านลงได้ภายในเวลาเพียง 3 ปี แถมทุกวันนี้ยังกลายเป็น “ปราชญ์เกษตร” ที่ได้รับรางวัลกว่า 50 ครั้ง จึงพูดได้อย่างเต็มปากและเต็มใจว่า ที่ลืมตาอ้าปากและปลดหนี้ได้อย่างทุกวันนี้ก็เพราะพระบารมีของในหลวงของเรา
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402306.JPEG)
“พระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง” คือแสงตะเกียงนำทางชีวิตให้เกษตรกรอีกรายอย่าง อ.ธงไชย คงคาลัย สามารถปลดหนี้ 50 ล้านได้เช่นกัน จากวันที่ต้องแบกหนี้เพราะน้ำท่วมฟาร์มไก่และบ่อปลา กลับได้เกิดใหม่อีกครั้งเมื่อได้ฟังพระราชดำรัสในปี 2539 ของพระองค์ จนทุกวันนี้ นำชุดความรู้จากพ่อหลวงไปปรับใช้ จนเปิดเป็น “ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลสวนธงไชย-ไร่ทักสม” ถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นอย่างยั่งยืนได้แล้ว
“ผมฟังแล้วทึ่งมาก เข้าใจเลยว่าที่ผ่านมาเราเดินผิดทาง เพราะมัวพึ่งพาระบบทุน ที่ผ่านมาเราหลงเชื่อฝรั่ง ทำเกษตรแบบซื้อปุ๋ยซื้อยา ซื้อทุกอย่าง ทั้งที่ฝรั่งเขาอยู่คนละทวีปกับเรา ไปเชื่อเขาได้อย่างไร บ้านเมืองเขามีแต่หิมะ ไม่มีทรัพยากร ผลิตอะไรก็ไม่ได้ เลยต้องซื้อทุกอย่าง แต่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มาก มีทรัพยากรเต็มไปหมด สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ย เป็นยา เป็นอาหารสัตว์ แต่เราไม่ได้นำมาใช้
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402305.JPEG)
ในหลวงไม่ได้ทรงจับปลาให้แก่ประชาชน เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืน แต่พระองค์ทรงสอนให้เราจับปลา คือทรงแนะวิธีพึ่งพาตนเองให้แก่พวกเรา ให้เรารู้จักนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า ศาสตร์พระราชาจึงเป็นศาสตร์ที่ทำให้เราชนะทุนนิยม ชนะคนทั้งโลก”
ทรงปิดทองหลังพระ โครงการหลวงเพื่อลูก
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402310.JPEG)
"...เราจะช่วยเหลือเขา ให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้..." คือพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ส่งให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริครั้งแรกขึ้นมา โดยเริ่มจากโครงการพัฒนาชนบท สร้างถนนให้ชุมชนบ้านห้วยมงคล ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2495 ด้วยตั้งพระราชหฤทัยเอาไว้ว่า จะ “ตัดเส้นทาง” เปิดประตูสู่พื้นที่ชนบท เพื่อสร้างความมั่นคงผาสุกและความร่มเย็นอย่างยั่งยืนให้แก่สยามประเทศของเรา
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402313.JPEG)
อย่างที่บ้านห้วยมงคล แม้จะเป็นหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญไม่ถึง 20 กม. แต่กลับไม่มีถนนจากหมู่บ้านสู่ตลาดหัวหิน ส่งให้ประชาชนได้รับความยากลำบากในการเดินทางติดต่อกับโลกภายนอกอย่างมาก พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อไปบุกเบิกพื้นที่ กระทั่งวันหนึ่งรถพระที่นั่งเกิดติดหล่มขณะเสด็จกลับ ลุงรวย งามขำ เกษตรละแวกนั้นจึงเข้ามาช่วย ก่อนพบว่าผู้ประทับอยู่ภายในรถคือองค์เหนือหัวและองค์ราชินีของปวงชนนั่นเอง
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402311.JPEG)
"...ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ได้รับสั่งถามถึงปัญหาของหมู่บ้าน และทรงทราบว่าสิ่งที่ชาวบ้านห้วยมงคลต้องการมากที่สุดคือถนน..."
พระองค์ทรงใช้เส้นทางซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเหล่านั้น ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกเกือบ 4,000 โครงการ กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งให้พสกนิกรไทยทั้งในชนบทและชุมชนเมือง พึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงและยั่งยืนจวบจนวันนี้
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402307.JPEG)
พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่เพียงปกเกล้าปวงชนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายองค์ความรู้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว, พม่า, ภูฏาน และอีกหลายประเทศทั่วโลก ให้เข้ามาศึกษาดูงานในโครงการหลวง
โดยเฉพาะการเปลี่ยนพื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่นยังชีพด้วยความยากจน ให้กลายเป็นปลูกพืชในโครงการหลวงแทน จนได้รับการถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด จากสหประชาชาติ (UNDCP) ให้เป็น “โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก” และบรรทัดต่อจากนี้คือคำบอกเล่าจาก ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งถวายงานรับใช้องค์เหนือหัวมากว่า 40 ปีแล้ว
“โครงการของเราเป็นแห่งเดียวในโลกที่ทำแล้วสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ที่ได้คือชาวบ้านรวย บ้านเมืองเจริญ มีถนน ไฟฟ้า และคนข้างล่างได้ประโยชน์ได้กินของอร่อยๆ ป่าไม้บนดอยไม่ถูกทำลาย นี่คือความสำเร็จของโครงการหลวงจากพระเมตตาของพระเจ้าอยู่หัว
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402308.JPEG)
เมื่อทรงทราบว่า “ชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน” จึงทรงมีพระราชดำริให้ตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี 2512 ซึ่งเป็น “โครงการส่วนพระองค์” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 2 แสนบาท สำหรับซื้อที่บริเวณดอยปุยหลังพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ใช้เป็นที่เริ่มต้นทำสถานีวิจัยผลไม้เมืองหนาว เป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และจัดซื้อที่ดิน
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402312.JPEG)
ณ วันนี้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงมีทั้งหมด 38 แห่ง กระจัดกระจายอยู่ตามดอยในภาคเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน และพะเยา
พระองค์รับสั่งให้ทำงานโครงการหลวงแบบ “ปิดทองหลังพระ” คือตั้งใจทำงานอย่างเงียบๆ ไม่โฆษณาออกตัว เพราะเป็นโครงการส่วนพระองค์ และเป็นโครงการต้นแบบที่ทรงริเริ่มเพื่อให้รัฐบาลเอาไปสานต่อ”
(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000011402314.JPEG)
จาก http://astv.mobi/A5rIiTD (http://astv.mobi/A5rIiTD)