(http://perso.wanadoo.fr/zen-deshimaru-dijon/images/arbre%20%E0%20bouddha.gif)
เซน ศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม
คติธรรมเซน
เซนถือว่าถ้อยคำประกาศสัจจะที่แสดงถึงภูมิปัญญา
ของผู้แถลง ไม่มีความหมาย
จนกว่าประสบการณ์ของเรา จะซึมซับมันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา
และเราได้ให้ความหมาย เฉพาะตัวของเราแก่มัน เท่านั้น
การมองภาพเซนจึงไม่ต้องใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ
ไม่ต้องคร่ำเคร่งศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจภูมิหลังของมัน
เพราะหัวใจของภาพเซนคือ
ความเป็นไปของชีวิตและการดำรงอยู่ของพลังจักรวาล
ท่ามกลางความแปรปรวนอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ
สิ่งที่เราใช้มองภาพเซนจึงเป็นประสบการณ์ชีวิต
ประสบการณ์ที่แตกต่าง
จะได้ประโยชน์ที่แตกต่าง และเมื่อการมองภาพเซนสิ้นสุด
มันก็ไม่ได้ทิ้งความประทับใจหลงเหลือไว้ให้เรา
แต่เรากลับกระปรี้กระเปร่าขึ้น จากการค้นพบคุณค่าบางอย่าง
ที่ทำให้โลกภายในของเราสงบนิ่งและสว่างไสว
(http://www.jobbees.com/japanese/images/lesson57_01.jpg)
จากหนังสือ เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง เข้าถึงคติธรรมเซนผ่านภาพเซน
และบทกวีไฮกุ " เหล่าซือ " เรียบเรียง
โดย... โอสถ
คติธรรมเซน : (http://www.mawbo.com/images/12.%E6%BD%91%E5%A2%A8%E4%BA%BA%E7%89%A9-%E6%9D%BE%E6%9C%88%E7%BE%85%E6%BC%A266-144cm.jpg)
คติธรรม ๑ : ความเป็นจริงต่าง ๆ ของชีวิต ส่วนใหญ่มองเห็นได้
อย่างแท้จริงจากสิ่งต่าง ๆ และการกระทำต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
คติธรรม ๒ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ
ของมันเอง การรับรู้ส่วนตัวของเราในเรื่องเกี่ยวกับค่า ความถูกต้อง
ความงาม ขนาด และคุณค่า ล้วนแต่อยู่ในหัวของเรา ไม่ได้อยู่ข้างนอกเลย
คติธรรม ๓ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่โดยสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ
คติธรรม ๔ : ตัวตนและสิ่งอื่น ๆ ที่เหลือไว้ในจักรวาลไม่ได้แบ่งแยกกัน
อย่างแท้จริง แต่ทำหน้าที่เป็นองค์รวม
คติธรรม ๕ : มนุษย์เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และก้าวหน้าไปอย่าง
มีประสิทธิผลที่สุด
ด้วยการร่วมมือกับธรรมชาติ แทนที่จะพยายามเอาชนะมัน
คติธรรม ๖ : ไม่มีอัตตาในความหมายของจิตวิญาณส่วนตัว
หรือบุคคลิกภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงอันคงอยู่ต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งข่มร่างกายเอาไว้เป็นการชั่วคราว
คติธรรม ๗ : ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากความรู้
เฉพาะด้าน จากการเป็นสมาชิกของคณะกลุ่มบุคคล จากลัทธิหรือหลักความเชื่อ
มันมาจากญาณหยั่งรู้ก่อนจิตสำนึกแห่งการดำรงอยู่ทั้งปวงทั้งปวงของตน
จากรหัสของตนเอง
คติธรรม ๘ : รูปแบบต่าง ๆ เกิดจากความว่าง เมื่อผู้ใดว่างจากสมมุติฐาน
และการวินิจฉัยที่สั่งสมมาหลายปี ผู้นั้นจะเข้าไกล้ธรรมชาติดั้งเดิมของตน
ย่อมเข้าใจแนวคิดดั้งเดิม และสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้อย่างใหม่สด
คติธรรม ๙ : การทำตนเป็นผู้สังเกตุการณ์ในขณะที่เป็นผู้มีส่วนร่วม
พร้อมกันด้วยนั้น จักทำให้การกระทำของผู้นั้นเสื่อมเสียไป
คติธรรม ๑๐ : ความมั่นคงและความไม่เปลี่ยนแปลงนั้นถักทอขึ้นด้วยจิตใจ
ที่ถูกครอบงำโดยอัตตาและหาได้ดำรงอยู่ในธรรมชาติไม่
การยอมรับความไม่มั่นคง และผูกพันตนเองกับสิ่งที่ไม่รู้จะก่อให้เกิดศรัทธาต่อจักรวาล
คติธรรม ๑๑ : คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น
คติธรรม ๑๒ : กระบวนการแห่งการใช้ชีวิตและถ้อยคำต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน
ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และไม่ควรได้รับการปฏิบัติต่อ อย่างมีคุณค่าเท่าเทียมกัน
คติธรรม ๑๓ : เมื่อเราเข้าใจถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างทฤษฏีต่าง ๆ
เกี่ยวกับชีวิตและสิ่งที่เรารู้สึกได้จากญาณหยั่งรู้ว่าเป็นความจริง
โดยไม่ต้องใช้คำพูดและไม่ได้อาศัยการวินิจฉัย ก็ไม่มีอะไรที่ต้องทำอีกแล้ว
นอกจากหัวเราะ
คติธรรม ๑๔ : ศิลปะเซนมีคุณสมบัติในลักษณาการดังนี้ มันสามารถหลอมรวม
เอาความชื่นชมต่องานทัศนศิลป์ ความรู้เกี่ยวกับชีวิต และประสบการณ์
และญาณหยั่งรู้ส่วนตัวให้เข้ากันเป็นเหตุการณ์ที่สร้างสรรค์หนึ่งเดียวกัน
คติธรรม ๑๕ : เราแต่ละคนจะพัฒนาไปสู่ความเป็นเอกปัจเจกชน
ผู้ติดต่อโดยจำเพาะเจาะจงกับโลก ที่ดำรงอยู่สำหรับคนคนนั้น
คัดลอกโดย... โอสถ
(http://www.ramaquotes.com/assets/images/sitmonk.gif)