(http://lh4.ggpht.com/_0PApGu2nb30/TEftE_dRx7I/AAAAAAAAAvM/YKFo3xwGYWw/buddha1-1.gif)
(http://lh3.ggpht.com/_0PApGu2nb30/THd61eMCGfI/AAAAAAAAA0g/5hfWu8cv2GQ/000293.jpg)
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=6ie5F84S_sw[/youtube]
การอบรมเจริญเมตตาเป็นเรื่องละเอียด เพราะสภาพธรรมต้อง
ตรงตามความจริง คือ ขณะที่{กุศลจิต}เกิดแม้เพียงเล็กน้อยก็ต่างกับขณะที่
โลภะเกิดมาก ๆ แต่ถ้า{สติปัฏฐาน}หรือ สติสัมปชัญญะ ไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไร
ว่า ขณะใดเป็น{โลภะ}ขณะใดเป็น{เมตตา}เมื่อไม่รู้จึงอาจเจริญโลภะแทน
เจริญเมตตาก็ได้
ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องศึกษาโดยละเอียดให้รู้ลักษณะที่ต่าง
กันของโลภะและเมตตาข้อความใน{อัฏฐสาลินีนิกเขปกัณฑ์}อธิบาย
นิทเทสโลภะ{๑๐๖๕}แสดงลักษณะอาการต่าง ๆ ของโลภะที่ต่างกับ
เมตตามีข้อความว่า.....................................
ชื่อว่า ความกำหนัด เนื่องด้วยความยินดี ชื่อว่า ความกำหนัด
นักโดยความหมายว่ายินดีรุนแรงชื่อว่าความคล้อยตามอารมณ์เพราะยัง
สัตว์ทั้งหลายให้คล้อยตามไปในอารมณ์ทั้งหลาย
นี่เป็นชีวิตประจำวันที่จะต้องพิจารณาจริง ๆ ว่าในขณะใดที่
เมตตาไม่เกิดจิตย่อมคล้อยตามโลภะไปในอารมณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
ถ้าไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่าจิตคล้อยตามโลภะอยู่เสมอเมื่อมีความยินดีพอใจ
ในอารมณ์ใดก็กระทำตามความคิดตามความพอใจในอารมณ์นั้นทุกอย่าง
ในขณะนั้นรู้ได้ว่าไม่ใช่{เมตตา}เมื่อรู้ลักษณะของโลภะแล้ว
ภายหลังเมื่อเมตตาเกิดก็จะเปรียบเทียบได้ถูกต้องว่าลักษณะของ{โลภะ}
ต่างกับลักษณะของเมตตา ยกมาจาก{ธัมมนิเทส}
{โลภะ} บางเบาแทรกอยู่ในอากาศ
ฉวยโอกาสอยู่เนือง ๆ...................................................
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
สำนักงานเลขที่ 174/1 ซอย เจริญนคร 78
ดาวคะนอง ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร 10600 โทร 02 - 4680239