ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:19:45 am

หัวข้อ: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:19:45 am

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/1456601_10151845571684023_1752527459_n.jpg)

บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด
 ( โลหิตสูตร )

BLOOD STREAM  SERMON

(http://img410.imageshack.us/img410/6381/zazen.gif)

ทุกสิ่งที่ปรากฏในภพทั้งสามล้วนเกิดจากจิต1*
ดังนั้น พระพุทธเจ้า2* ทั้งในอดีตและอนาคต
ย่อมสอนด้วยวิธีจิตสู่จิต โดยไม่ยึดรูปแบบตายตัวใด ๆ3*

“ แต่ถ้าไม่ใช่รูปแบบตายตัว พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจะใช้จิตโดยวิธีใด ? ”
“ สิ่งที่ท่านถามนั้นแหละคือจิตของท่าน ”
“ สิ่งที่ฉันตอบนั้นแหละคือจิตของฉัน ”

“ ถ้าฉันไม่คิดฉันจะตอบได้อย่างไร ”
“ ถ้าท่านไม่คิดท่านจะถามได้อย่างไร ”
“ สิ่งที่ท่านถามก็คือความคิด ( จิต ) ของท่าน ”

ตลอดกัปกัลป์4* อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้
ท่านทำสิ่งใดก็ตาม
อยู่ที่ไหนก็ตาม สิ่งนั้นคือจิตที่แท้จริงของท่าน

สภาวะนั้นคือพระพุทธเจ้าที่แท้จริงของท่าน จิตนี้คือพุทธะ5*   
ท่านกล่าวว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
นอกเหนือจากจิตนี้แล้วท่านจะพบพระพุทธเจ้าที่อื่นไม่ได้เลย

การแสวงหาโพธิ6* ( การบรรลุธรรม ) หรือนิพพาน7*
นอกจากจิตนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้
ความเป็นจริงของธรรมชาติของท่านเอง8*
ที่เป็นสภาพที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็เกิดมาจากจิตด้วย
เพราะภาวะแห่งนิพพานมีอยู่แล้วในจิตของท่าน

ท่านอาจคิดเอาเองก็ได้ว่า
ท่านสามารถค้นพบพระพุทธเจ้าหรือโพธิอยู่นอกจิตนี้
แต่สถานที่เช่นนั้นจะไม่มีอยู่จริงได้เลย


(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/1237930_184981171684820_995067659_n.jpg)

เชิงอรรถ บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด

1*พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดตนเองว่ามีพระพุทธเจ้าองค์เดียว เข้าใจกันว่ามี พระพุทธเจ้านับไม่ได้ แท้จริงแล้วทุกคนมีพุทธภาวะ มีพุทธะในทุก ๆ โลก (ทุกๆ หนแห่ง) เหมือนมีความรู้สึกตัวอยู่ในทุกความคิด คุณสมบัติสำคัญสำหรับพุทธภาวะ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่สมบูรณ์ ( สติสัมปชัญญะเต็มเปี่ยม)

2* หลังจากที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านโพธิธรรมได้ใช้เวลา 9 ปี โดยการพึ่งกรรมฐานหันหน้าเข้ากำแพงแห่งถ้ำ ใกล้กับวัดเส้าหลิน คำว่า กำแพงตามความหมายของท่านโพธิธรรม ก็คือความว่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่ตรงข้ามทุกสิ่ง รวมทั้งตนเองและ ผู้อื่น คนพาลหรือบัณฑิตก็ตาม

3* ไม่มีขอบเขตในการถ่ายทอดธรรม เป็นเครื่องทดลองแบบหนึ่งของพุทธศาสนานิกายเซ็น ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการไม่ใช้คำพูดเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นก็มิได้จำกัดรูปแบบในการถ่ายทอด การแสดงอาการ ( บอกใบ้ ) เป็นการถ่ายทอดพอ ๆ กับการใช้คำพูด

4*กัลป์เป็นช่วงจากการสร้างโลกไปจนความวินาศของโลกชื่อ กัลป์หนึ่ง

5* นี้คือพุทธศาสนาแบบมหายาน มีเรื่องเล่าไว้สั้น ๆ ว่า ครั้งหนึ่งพระรูปหนึ่งถามปุโรหิตท่านหนึ่งว่า “ท่านมัชสุ ( MATSU ) สอนเขาว่าอย่างไร ?” ปุโรหิตตอบว่า “ จิตคือพุทธะ” พระนั้นตอบว่า “ปัจจุบันท่านมัชสุสอน (ไหม) ว่า สิ่งใดไม่ใช่จิตสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธะ” ปุโรหิตนั้นจึงตอบว่า “ ขอให้ท่านมีสิ่งที่ทั้งไม่ใช่จิตและไม่ใช่พุทธะ” เมื่อท่านมัชสุได้ยินเรื่องนี้จึงกล่าวว่า “ลูกพลัมสุกแล้ว” (BIG PLUM=ปุโรหิต แปลจากปทีปสูตรบทที่ 7)

6* โพธิเมื่อจิตหลุดพ้นจากโมหะจึงเรียกว่า “ มีแสงสว่างเต็มรอบ ” เสมือนพระจันทร์ไม่มีเมฆหมอกบดบังอีกต่อไป เป็นการประสบกับการเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง คนที่บรรลุโพธิแล้วย่อมถึงพระนิพพาน เพราะโพธิทำให้หมดกรรม การได้ยินได้ฟัง ( สุตะ ) เป็นหน้าที่อันดับแรก แต่การเห็นเป็นความเคยชินของมนุษย์ ซึ่งเป็นแหล่งหรือบ่อเกิดความรู้เกี่ยวกับความจริง ดังนั้น การใช้อุปมาอุปไมยกับสิ่งที่เห็นจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ในพระสูตรก็พูดถึงโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสอน โดยความรู้สึกทางกลิ่นด้วยเช่นกัน ( ฆานสัมผัส )

7* ผู้แปลภากษ์จีนครั้งแรก พยายามจะใช้ภาษาจีนประมาณ 40 คำก่อน ในที่สุดก็ใช้จนจบ และคำนี้ก็แปลมาจากคำสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การไม่หายใจ” แต่มัน ก็จำกัดว่าเป็นความสงบเท่านั้น คนส่วนมากก็เข้าใจว่าเหมือน “ความตาย” แต่การนิพพานแบบพุทธหมายถึง การไม่เกี่ยวข้องว่าลมหายใจมีหรือไม่มี ตามหลักของท่านนาคารชุน ว่า “ เมื่อมีอัตตาที่รับกรรมอยู่ สังสาระก็มี เมื่อไม่มีอัตตาที่รับกรรมอีกต่อไปก็เป็นนิพพาน” ( มัธยามิกสูตร บทที่ 25 คาถาที่ 9 ไตรปิฎกมหายาน)

8* สภาวะสิ่งที่เป็นเช่นนั้นเอง สภาวะไม่ได้อาศัยอะไร คือภาวะทั้งถาวร,ชั่วคราว หรือว่าง ๆ ดุจอากาศ , สภาวะไม่มีปรากฏการณ์ที่อยู่รวมกันหรือแยกกัน สภาวะเป็นความว่างจากรูปลักษณ์ รวมทั้งความว่างเอง และสภาวะยังจำกัดความจริงด้วย
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:38:29 am

(http://i346.photobucket.com/albums/p422/greencactus_2008/DSCN2913.jpg)

ความพยายามค้นหาพระพุทธเจ้า หรือค้นหาการบรรลุธรรม
ก็เหมือนการจับฉวยเอาอากาศ ซึ่งมีแต่ชื่อแต่ไร้ตัวตน
มันไม่ใช่สิ่งที่ท่านจะสามารถหยิบขึ้นหรือวางลงได้

และท่านไม่สามารถจะจับฉวยมันได้
พระพุทธเจ้าเกิดจากจิตของท่าน
แล้วจะค้นหาพระพุทธเจ้านอกจิตนี้ไปทำไม ?

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคตล้วนแต่กล่าวถึงจิตนี้เท่านั้น
ดังนั้น จิตนี้จึงคือพุทธะ และพุทธะก็คือจิตนั่นเอง

นอกเหนือจากจิตไม่มีพุทธะ และนอกเหนือพุทธะก็ไม่มีจิต
ถ้าท่านคิดว่ามีพุทธะที่เหนือจิตนี้แล้ว พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนกันล่ะ

ดังนั้น จึงไม่มีพระพุทธเจ้านอกเหนือจากจิต   ทำไมเราไม่เผชิญหน้ากับพระองค์
ตราบใดที่คุณหลอกตัวเองอยู่   คุณก็ไม่สามารถรู้จักจิตที่แท้จริงของตัวเอง

ตราบใดที่คุณยังหลงติดอยู่ในรูปที่ไร้ชีวิต
( หมายถึงรูปกับนามไม่ได้อยู่ด้วยกัน กายอยู่ที่หนึ่งแต่จิตคิดไปอีกที่หนึ่ง )

คุณก็ยังไม่มีอิสระ ถ้าไม่เชื่อคำกล่าวนี้  คุณก็หลอกตัวเอง
อย่างช่วยไม่ได้
มันไม่ใช่ความผิดของพระพุทธเจ้า


(http://cs320823.vk.me/v320823476/2d2b/fhG92ORef1A.jpg)
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 04:19:33 am
(http://www.ronnajevne.ca/ronnajevne/wp-content/uploads/2008/06/zen-retreat.jpg)


แม้ประชาชนเองก็ถูกหลอก พวกเขาไม่เคยรู้จักว่า จิตของตนเองนั้นแหละ
คือพระพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแสวงหาพระพุทธเจ้านอกจิตของตนเอง

พระพุทธเจ้าย่อมไม่ดูแลรักษาพระพุทธเจ้าด้วยกันเอง   หมายความว่า
ถ้าท่านใช้จิตของท่านหาพุทธะ ท่านก็จะไม่เห็นพุทธะ
(การใช้ความคิดดูจิตย่อมไม่เห็นจิต ใช้สติดูจิตจึงจะเห็นจิต )

ตราบใดที่ท่านหาพระพุทธเจ้าภายนอกตนเอง
ท่านก็ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ภายในจิตของท่านเอง

อย่าใช้พระพุทธเจ้าบูชาพระพุทธเจ้า   ( ผู้ที่รู้จักตนเองย่อมไม่หลงบูชา สิ่งอื่น )
อย่าใช้จิตปลุกพระพุทธเจ้า9*

พระพุทธเจ้าย่อมไม่สวดมนต์10*  พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาศีล11*
พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาวินัย และไม่ต้องละเมิดวินัยใด ๆ

พระพุทธเจ้าไม่ต้องทำดีหรือชั่ว

( จิตเข้าถึงพุทธะย่อมอยู่เหนือสมมติ และโลกธรรมทั้งปวง )

การค้นหาพุทธะท่านต้องค้นหาตนเองให้พบก่อน
ใครก็ตามที่เห็นตนเอง ชื่อว่าเห็นพุทธะ12*

ถ้ายังไม่เห็นตนเอง,การทำพุทธาภิเษก ,การท่องบ่นพระสูตร,
,การบำเพ็ญทาน และการรักษาศีล
ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องไร้ประโยชน์

การปลุกเสก การสวดมนต์อ้อนวอนพระพุทธเจ้า
อาจส่งเสริมให้สร้างกุศลกรรม

การท่องจำพระสูตรอาจเป็นผลให้มีความทรงจำดี,
การสมาทานรักษาศีลอาจเป็นผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

และการบำเพ็ญทานเป็นผลให้ได้รับความสุข แต่ไม่ส่งผลให้เป็นพุทธะได้
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 09:32:04 am

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/960039_458470104259359_1628640357_n.jpg)

เชิงอรรถ บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด

9* การอ้อนวอน ( หรือการอธิษฐาน ) รวมทั้งการจินตนาการถึงพุทธะและกล่าวพระนามของพุทธะบ่อยๆ จุดประสงค์โดยทั่วไปของการแสดงความจงรักภักดีคือ อมิตาพุทธะซึ่งเป็นพุทธเจ้าสากล การแสดงความจงรักภักดีแบบหมดชีวิตจิตใจต่ออมิตาพุทธะ เป็นหลักประกันผู้ภักดีว่าจะได้ไปเกิดใหม่ในสวรรค์ด้านตะวันตก ซึ่งเป็นสภาพที่จะได้บรรลุธรรมได้ง่ายกว่าที่กล่าวไว้ในโลกนี้ * ( *คติของพุทธแบบหินยาน หรือเถรวาท อาจจะได้แก่โลกพระศรีอริยเมตไตย …. ผู้แปลไทย )

10* พระสูตรหมายถึงเส้นด้าย คือพระสูตรย่อมร้อยเรียงเอาพระพุทธพจน์เข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่

11* ศีล การรักษาศีลแบบชาวพุทธ ได้รวมเอาข้อห้ามไว้จำนวนหนึ่งด้วย โดยทั่วไปศีล 5 สำหรับ ฆราวาส ศีล 227 หรือเกือบ 250 สำหรับพระ และศีล 350 ถึง 50 อันมาจากที่ต่าง ๆ สำหรับภิกษุณี

12* เห็นธรรมชาติของท่านเองจะเรียกว่า SELF – NATUER หรือ BUDDHA – NATUER ก็ได้ ธรรมชาติของเราคือธรรมกายของเรา ( กายจริง ) และมันก็รวมถึงกายเทียม ( รูปกาย – รูปสมมติ ) ของเราด้วย ธรรมกายของเรา มิใช่อัตตาภาวะที่จะไปเกิดหรือตาย ปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่กายเทียมของเรายังอยู่ในภาวะที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อเห็นธรรมชาติของตนเอง ธรรมชาติของเราก็เห็นตัวมันเองด้วย เพราะความหลงและความรู้สึกตัวมิได้ต่างกัน สำหรับการปรากฏขึ้นของสภาวะนี้ ให้ไปดูหนังสือของท่าน D.T.SUZUKI ชื่อ ZEN DOCTRINE OF NO MIND .
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 09:58:03 am
(http://farm2.static.flickr.com/1268/682821891_e93259ea69.jpg)


ถ้าท่านไม่เข้าใจคำสอนด้วยตัวของท่านเอง ท่านก็ต้อง
ไปพบกับครูผู้มีความเข้าใจลุ่มลึก
และลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและความตาย13*

ผู้ไม่เห็นธรรมชาติของตนเองนั้นยังเป็นครูไม่ได้

ถึงแม้เขาจะสามารถ
ท่องพระไตรปิฎกได้จบถึงสิบสองรอบก็ตาม14*

เขาก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารได้15*
เขาย่อมเป็นทุกข์อยู่ในภพทั้งสาม ( กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ )
โดยไม่มีหวังที่จะปลดเปลื้องทุกข์ได้เลย

นานมาแล้ว มีพระรูปหนึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป16*
เป็นผู้สามารถท่องพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด
แต่ท่านก็ไปไม่พ้นจากวัฏฏสงสาร

เพราะท่านไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง*
( *ผู้เห็นธรรมชาติของตน เข้าใจว่าเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม
หรือได้ธรรมจักษุ นับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป … ผู้แปลไทย)

เพราะเข้าใจกันว่าการท่องพระสูตรเป็นเหตุให้มีชื่อเสียง17*
ดังนั้นศาสนิกทุกวันนี้จึงชอบท่องพระสูตรหรือคาถาไว้มากบ้างน้อยบ้าง
และคิดว่าการได้ท่องพระสูตรได้เป็นการรู้ธรรมะ

ความเข้าใจเช่นนั้นเป็นเรื่องที่โง่เขลา เว้นไว้แต่คนที่รู้จักจิตของตนเอง
การสาธยายพระสูตรหรือท่องคาถาภาษิตได้นั้น

นับได้ว่าเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 10:31:33 am

(http://farm4.static.flickr.com/3495/4037495124_743173d05f.jpg)
http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8


เชิงอรรถ บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด


13* การออกเรือนบวชของพระศากยมุนี เพื่อแสวงหาการออกจากวัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันไม่มีสิ้นสุด ใครที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ก็ต้องทำเช่นเดียวกับพระองค์ เมื่อคราวที่มีการมอบจีวรและบาตรเพื่อสืบทอดทายาททางธรรมของเซ็น ท่านรัง -เจน (Hung-jen) สังฆปรินายกเซ็นองค์ที่ 5 ได้เรียกสาวกของท่านมารวมกัน และบอกว่า “ ไม่มีอะไรสำคัญมากกว่าชีวิตและความตาย แต่แทนที่จะค้นหาทางออกจากทะเลแห่งชีวิตและความตาย พวกท่านกลับใช้เวลาทั้งหมดของพวกท่าน แสวงหาทางแห่งบุญถ้าท่านยังใบ้บอดต่อธรรมชาติของตนเอง บุญจะมีประโยชน์อะไร ? จงใช้ปัญญาของท่าน ธรรมชาติแห่งปัญญามีอยู่แล้วในใจของท่าน ขอให้ทุกท่านจงเขียนโศลกธรรมแก่ฉันคนละหนึ่งโศลก ” สูตรแห่งสังฆปรินายกองค์ที่หก ( บทที่ 2 )

14* คัมภีร์ 12 หมวด สิบสองหมวดของคัมภีร์ที่พุทธศาสนามหายานยอมรับ สิบสองหมวดเหล่านี้ที่ทำการแยกส่วนต่าง ๆ และแยกเป็นหัวข้อ ๆ รวมลงพระสูตร – สุตตะ = ธัมมเทศนาของพระพุทธเจ้า, พระเคยยะ = พระพุทธพจน์ที่ซ้ำ ๆ กัน , คาถา = บทสวดและโศลกธรรม , นิทาน = คำบรรยายทางประวัติศาสตร์ , ชาดก = เรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต , อิติวุตตกะ = เรื่องราวในอดีตของพระสาวก , อัพภูตธรรม = ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า , อาทาน = นิทานเปรียบเทียบ , อุปเทศ = การสนทนาธรรม , อุทาน = บทธรรมที่แสดงโดยไม่มีการอาราธนา ( คำอุทาน ) เวปุลละ = คำขยายอธิบายพระสูตรและไวยากรณ์ = คำทำนายการบรรลุธรรมหรือพุทธพยากรณ์ * ( *คำสอนทั้งหมดตามคัมภีร์ของหินยาน -เถรวาท เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ แต่คัมภีร์ของมหายานมี 12 หมวด อาจเรียกเสียใหม่ว่า “ ทวาทสังคสัตถุศาสน์ ” … ผู้แปลไทย )

15* วัฏฏจักรแห่งการเกิดใหม่ ซึ่งผู้มีได้บรรลุพุทธภาวะเท่านั้น จึงจะหลีกหรือพ้นได้

16* ในบทที่ 33 แห่งนิพพานสูตร Good Star กล่าวกันว่าเป็นพระราชกุมารองค์หนึ่งในบรรดาพระราชกุมาร 3 พระองค์ ของพระศากยมุนีและดูเหมือนพระราหุลจะเป็นพี่ชายของท่าน ต่อมาก็ได้บวชเป็นพระ ท่านสามารถอธิบายและสาธยายพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ได้หมด ตลอดชีวิตของท่าน และเข้าใจว่าตัวเองบรรลุพระนิพพาน ที่จริงท่านเข้าถึงเพียงฌานที่ 4 อันเป็นรูปฌานและด้วยอำนาจแห่งกรรมนั้น ท่านกลับไปเกิดในนรกแห่งวัฏฏะ อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้

17* Surtras คือ พระสูตรอันเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า Shastras คือพระสูตรของพระมหาสาวก เช่นของพระสารีบุตร ( เถระคาถา ) เป็นต้น
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: (〃ˆ ∇ ˆ〃) ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 11:53:52 am
อนุโมทนาสาธุค่ะ ^^
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 12:28:35 pm
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 01:42:41 pm
(http://peacefieldsretreat.co.uk/resources/_wsb_461x634_2008+Peacefields+Logo.jpg)


การจะค้นพบพระพุทธเจ้า สิ่งที่ท่านต้องทำก่อนคือ
การค้นตนเองให้พบ
เพราะ ธรรมชาติของตนเอง นั่นแหละคือพุทธะ
พบพุทธะภาวะซึ่งเป็นภาวะที่อิสระ
คืออิสระจากพิธีกรรม อิสระจากอุบายต่าง ๆ
และอิสระจากการปรุงแต่งวิตกกังวล

ถ้าท่านยังไม่เห็นตนเอง ย่อมวนเวียนแส่ส่ายหาแต่สิ่งภายนอกตัวเรื่อยไป
เพราะสัจจธรรมมีอยู่แล้วในคนทุกคนไม่มีความจำเป็นต้องค้นหาอีก
แต่การเข้าถึงปัญญาเช่นนั้นได้ ท่านจำเป็นต้องใช้ความเพียรพยายาม
เพื่อทำให้ตนเองเข้าใจตนเอง ( ทำความเข้าใจในตนเองได้ )

ชีวิตและความตายเป็นสิ่งสำคัญ
อย่าทำตนเองให้เป็นทุกข์กับสิ่งที่ไร้สาระ
การหลอกลวงตนเอง
ไม่ได้ทำให้ท่านก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้เลย
แม้ท่านจะมีเพชรเม็ดโตเท่าภูเขา
และมีบริวารมากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ตาม

(http://farm4.static.flickr.com/3110/2612724569_f23a80b804_o.gif)

เมื่อท่านเห็นความจริงเหล่านี้ ดวงตาของท่านก็สว่างไสว
แต่ดวงตาของท่านปิดเพราะอะไร และปิดตั้งแต่เมื่อไหร่
ท่านต้องรู้และเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
เพราะทุกสิ่งที่ท่านเห็นมันเป็นเสมือนความฝัน หรือภาพลวงตา

ถ้าท่านไม่รีบพบครูโดยเร็ว ท่านก็จะมีชีวิตอยู่อย่างไร้สาระประโยชน์
ความจริงก็คือว่า ท่านมีพุทธภาวะอยู่แล้ว
แต่เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากครู ( กัลยาณมิตร )
ท่านจึงไม่รู้จักพุทธภาวะนั้น
แต่ก็มีเพียงหนึ่งในล้านคนที่จะบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยครู
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 02:42:03 pm
(http://images.travelpod.com/users/oandb/1.1271202420.kinkaku-ji-temple.jpg)


ถ้าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าหมายถึงอะไร
เข้าใจความปรุงแต่งของสังขารทั้งหลาย ( ขันธ์ห้า )
บุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องมีครู
เพราะคนเช่นนั้นมีสติสัมปชัญญะสูงมาแต่กำเนิด
ใครจะสอนสิ่งใดเขาก็เข้าใจได้ทันที
สำหรับท่านที่สร้างสมบารมีมามาก
ศึกษาปฏิบัติมาด้วยความยากลำบาก
ท่านเหล่านี้เพียงอาศัยการสอนเท่านั้นก็เข้าใจได้

คนที่ไม่เข้าใจธรรมะถ่องแท้ และคิดว่าตนเองเข้าใจ
โดยปราศจากการศึกษาและปฏิบัติ (อย่างถูกต้อง)
คนเช่นนั้นก็ไม่แตกต่างไปจากคนหลงทาง
หลงตนเองไม่สามารถจะแยกขาวต่างจากดำได้18*
ย่อมประกาศพุทธธรรมอย่างผิด ๆ เช่นนั้นย่อมชื่อว่า
กล่าวตู่หรือดูหมิ่นพระพุทธเจ้า และชื่อว่าเป็นผู้ลบล้างพระธรรม

เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขากำลังทำฝนให้ตก
แต่ที่จริงคนเช่นนั้นกำลังแสดงธรรมของมาร
ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ครูของพวกเขาก็คือพญามาร19*
และสาวกของเขาก็คือบริวารของพญามาร
คนที่หลงงมงายทำตามคำสอนเช่นนั้น
ย่อมจมลงในทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ

ศาสนิกจะสามารถเรียกตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกได้อย่างไร
หากพวกเขาเป็นคนโกหกหรือมุสา
ซึ่งหลอกลวงผู้อื่นให้ก้าวไปสู่ภพภูมิแห่งมาร ( อบายภูมิ )
นอกจากคนที่เห็นตนเองแล้ว
การแสดงธรรมของคนผู้ที่เรียนแต่พระไตรปิฎกได้ถึง 12 หมวด
ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรนอกจากเป็นการแสดงธรรมของมาร


 
(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:hCqYxEnLO8Bv5M:http://www.earlywomenmasters.net/shobogenzo/images/buddha_holdingflower.jpg)


18* หลักฐานยืนยันที่มาของศาสนาพุทธ เหมือนกับศาสนาขงจื้อหรือลัทธิเต๋า ซึ่งได้กล่าวไว้ ในข้อเขียนของท่านฮุย – หลิน ( Hui – Lin ) ที่เขียนเป็นเรื่องราวถึง 435 เรื่อง ซึ่งเขาเรียกว่า ความจริงเสมอกันของลัทธิขงจื้อและพุทธศาสนา ในข้อเขียนเหล่านี้ เขาได้ปฏิเสธถึงการให้ผลของกรรม หลังจากการตายแล้วด้วย

19* ปีศาจ ชาวพุทธก็เหมือนกับศาสนิกของศาสนาอื่น ๆ คือ รู้จักแยกแยะเป้าหมาย ( จุดประสงค์ ) ของตน คือการหลีกเลี่ยงที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง มารซึ่งเป็นผู้นำกองทัพปีศาจอันมหาศาล ซึ่งถูกพระพุทธเจ้าทรงปราบปรามให้พ่ายแพ้ ในคืนวันตรัสรู้ของพระองค์เอง
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 02:58:55 pm


(http://bp1.blogger.com/_9kizZyRO6Pk/SH1-90QraeI/AAAAAAAAAp0/EaGxrJIeklU/s1600/1339750gxmrip07pn.jpg)


ความเลื่อมใสก็เป็นความเลื่อมใสต่อมาร
ไม่ใช่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าไม่อาจแยกขาวออกจากดำได้
เขาจะหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร

ผู้ใดเห็นธรรมในตนผู้นั้นชื่อว่าเป็นพุทธะ (เห็นพุทธะ)
ผู้ใดยังไม่เห็นธรรมในตน ผู้นั้นชื่อว่ายังเป็นปุถุชน*

( *คือผู้ที่ต้องตายด้วยความประมาท เพราะความประมาทคือความตาย…
 ผู้แปลไทย)

ถ้าท่านค้นพบพุทธภาวะของตนเอง
อันต่างไปจากความเป็นปุถุชน
สภาพเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ตรงไหน

ปุถุชนภาวะของเราก็คือพุทธภาวะของเราเช่นกัน

นอกจากปุถุชนภาวะก็ไม่มีพุทธภาวะเช่นกัน
พุทธภาวะก็คือธรรมชาติของเรา
ไม่มีพุทธะนอกเหนือไปจากธรรมชาติ
และไม่มีธรรมชาตินอกเหนือไปจากพุทธภาวะ

“ สมมติว่าฉันยังไม่เห็นธรรมชาติของฉัน
ฉันไม่สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการปลุกพุทธะ ,
สาธยายพระสูตร , ให้ทาน , รักษาศีล ,
อุทิศส่วนบุญหรือทำกรรมดีใด ๆ ได้เลยหรือ ? ”

“ ไม่ ท่านยังบรรลุธรรมไม่ได้ ”
“ ทำไม จึงไม่ได้ ”

“ ถ้าท่านเข้าถึงได้ในสิ่งหนึ่ง
มันก็เป็นเพียงสังขาร ( เป็นการคิดเอา )
ซึ่งทำให้ต้องทำกรรมต่อไป

ทำกรรมนั้นก็ให้ผลสนองตอบต่อไป

ผลกรรมนั้นก็ทำให้ต้องเวียนว่ายในวัฏฏสงสารอยู่เรื่อยไป
ตราบใดที่ท่านยังต้องทำกรรมที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย

ท่านก็ยังจะบรรลุธรรมไม่ได้ เพราะการบรรลุธรรมได้
ท่านต้องเห็นธรรมชาติของตนเองก่อน
เมื่อเห็นธรรมชาติในตนเองแล้ว

การพูดถึงเหตุปัจจัยทุกอย่างเป็นเรื่องไร้ประโยชน์

พระพุทธเจ้าจะไม่ทำในสิ่งเหลวไหลไร้สาระ เพราะพระองค์
เป็นอิสรภาพ
จากกรรม
20* และเป็นอิสรภาพจากเหตุปัจจัย


20* กรรม คือ ดุลยภาพแห่งธรรมชาติ เป็นกฎแห่งเหตุและผลของกรรม ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร และก่อให้เกิดความทุกข์ แม้แต่การทำดีหรือกุศลกรรม ก็นำไปสู่สังสารวัฏนี้เช่นกัน ส่วนเป้าหมายของการปฏิบัติแบบพุทธนั้น คือต้องการทำให้ตนเองพ้นไปจากวัฏฏสงสารดังกล่าวนี้ เป็นการตัดกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ต้องทำ (อโหสิกรรม) โดยไม่หวังว่าจะได้ไปเกิดอีกในภูมิที่ดีกว่าต่อไปอีก

หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:41:35 pm

(http://images.travelpod.com/users/oandb/1.1271202420.golden-pavillon.jpg)


การกล่าวว่า ตนได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ( ถ้าไม่เป็นจริง )
ถือว่าเป็นการกล่าวตู่ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า  คนเช่นนั้นจะบรรลุธรรมอะไรได้ ?

แม้แต่การสำรวมจิต การมีพลังสำนึก , ความเข้าใจและความเห็นที่ถูกต้อง
ต่อพระพุทธองค์ยังไม่มีเลย
พระพุทธเจ้าไม่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งจิตของพระองค์ มีความว่าง
เป็นพื้นฐาน


ไม่ใช่ความสะอาดหรือสกปรก พระองค์เป็นอิสระจากการปฏิบัติและการรู้แจ้ง
เป็นอิสระจากเหตุปัจจัย

พระพุทธเจ้าไม่ได้สมาทานศีล , ไม่ได้ทำความชั่วอีก ไม่ได้เป็นคนขยันหรือขี้เกียจ
พระองค์ไม่ได้ทำอะไรต่อไปอีก
ไม่ได้ระวังจิตเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า และพระองค์ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า  

ถ้าท่านไม่เห็นสิ่งที่ท่านกำลังพูด ท่านก็ยังไม่รู้จักใจของตนเอง
คนที่ยังไม่เห็นตนเอง
แต่คิดเอาว่าเห็นตนเองและปฏิบัติด้วยจิตว่างตลอดเวลา

นั้นเป็นเรื่องโกหกและโง่เขลาด้วย  เขาย่อมตกไปสู่ห้วงเหวอเวจีได้

เหมือนคนเมาไม่อาจแยกดีออกจากชั่วได้

ถ้าท่านใส่ใจที่จะฝึกฝนอบรมการปฏิบัติให้เข้าใจตนเอง

ท่านต้องเห็นตนเองเสียก่อน แล้วท่านจึงจะทำลายความคิดปรุงแต่งให้สิ้นสุดได้
การบรรลุธรรมโดยไม่เห็นธรรมชาติของตนเองก่อนย่อมเป็นไปไม่ได้
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:47:38 pm
(http://images.travelpod.com/users/oandb/1.1271202420.zen-garden-at-ninna-ji-temple.jpg)


ถ้ายังประกอบกรรมทำชั่วชนิดต่าง ๆ อยู่
แล้วอ้างว่ากรรมที่ทำไม่มีผล

เมื่อทุกสิ่งเป็นความว่าง
ทำกรรมชั่วแล้วคิดว่าไม่ผิด

ความเข้าใจเช่นนั้นยังมีอันตรายอยู่มาก
คนเช่นนั้นย่อมตกนรกในอเวจี


โดยไม่มีหวังจะปลดเปลื้องได้เลย
แต่ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่เข้าใจเช่นนั้น

“ แต่ถ้าทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมาจากจิตทั้งหมด
ทำไมเมื่อกายและจิตนี้แตกดับเราจึงไม่รู้ ? ”

“ จิตนี้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ท่านไม่ดูจิตต่างหากเล่า ! ”
“ แต่ถ้าจิตเป็นปัจจุบันเสมอ ทำไมฉันจึงไม่เห็นจิต ? ”

“ ท่านเคยฝันบ้างไหม ? ”
“ เคยแน่นอน ”

“ เมื่อท่านฝัน ความฝันนั้นเป็นท่านใช่ไหม ? ”
“ ใช่ เป็นข้าพเจ้า ”

“ และในฝันนั้น ท่านกำลังทำ กำลังพูดอะไร มันต่างไปจากตัวท่านหรือไม่ ? ”
“ ไม่ ไม่แตกต่างอะไรเลย ”

“ แต่ ถ้าไม่แตกต่าง กายนี้เป็นธรรมกายของท่าน
และกายของท่านก็เป็นใจของท่านด้วย  
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 03:50:37 pm
(http://images.travelpod.com/users/oandb/1.1271202420.ninna-ji-pavillon.jpg)


จิตนี้ได้ผ่านกาลเวลามาหลายกัปหลายกัลป์
ไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่มีการเริ่มต้น และไม่เคยแปรเปลี่ยน ,
มันไม่เคยอยู่และไม่เคยตาย ,

ไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป , ไม่ได้สะอาดหรือสกปรก ,
ไม่ดีหรือไม่ชั่ว , ไม่ได้เป็นอดีตหรืออนาคต , ไม่ถูกหรือผิด , จริงหรือเท็จ ,

ไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย , ไม่ใช่เป็นพระหรือฆราวาส , ไม่ใช่สามเณรหรือพระเถระ ,
ไม่ใช่นักปราชญ์หรือคนพาล , ไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรือปุถุชน

เป็นความเพียรที่ไม่ต้องการรู้แจ้ง เป็นทุกข์โดยไม่ต้องการสร้างกรรม ไม่มีภาวะแข็งหรืออ่อน

มันเป็นเสมือนอากาศ ท่านไม่สามารถจะเป็นเจ้าของหรือทำลายมันได้
ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของสภาวะนี้ด้วยแรงแห่งภูเขา , แม่น้ำ , หรือกำแพงหิน

พลังอำนาจของสิ่งนี้ ( พุทธภาวะ ) มีอำนาจเจาะทะลุภูเขาแห่งขันธ์ห้า21*
อย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ และสามารถข้ามโอฆะสงสารได้22*

ไม่มีกรรมใด ๆ สามารถควบคุม ธรรมกาย ( กายแท้หรือนามรูปล้วน ๆ ) นี้ได้
แต่จิตเป็นภาวะละเอียดอ่อนยากที่จะมองเห็น

มันไม่เหมือนจิตที่รู้สึกนึกคิดได้ ( จิตตสังขาร ) ทุกคนต้องการเห็นจิตนี้

คนที่เคลื่อนไหวมือและเท้า
โดยอาศัยความชัดเจนของความรู้สึกชนิดนี้ให้ได้มากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา

แต่เมื่อถามถึงลักษณะของความสว่างไสวของจิตชนิดนี้
ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันเป็นเหมือนหุ่นกระบอก

คนที่ใช้เท่านั้นย่อมรู้ ทำไมคนดูจึงไม่เห็นล่ะ ?


21* เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การปรุงแต่งทางจิต ( จิตตสังขาร ) หรือนามรูป คือรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ

22* หมายถึง กระแสของความต่อเนื่องของเหตุปัจจัย ( อิทัปปัจจยตา ) เป็นวัฏฏะแห่งความสิ้นไป คือความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันของการเกิดและการตายที่ไม่จบสิ้น
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 04:13:27 pm
(http://images.travelpod.com/users/oandb/1.1271202420.pagoda-in-ninna-ji.jpg)


พระพุทธเจ้าตรัสว่า สรรพสัตว์ถูกอวิชชาครอบงำ นี้คือเหตุผลที่ว่า
เมื่อใดทำกรรมเมื่อนั้นย่อมเข้าไปสู่กระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

และเมื่อใดเขาพยายามออกจากกระแส
ก็ดูเหมือนดิ่งจมลึกลงไปอีก เพราะคนเหล่านั้นไม่เห็นตนเอง

ถ้าสรรพสัตว์ไม่ถูกครอบงำ ทำไมเขาจึงถามเรื่องธรรมะ
ทั้ง ๆ ที่ธรรมะก็ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเขานั้นเอง

ไม่มีใครเข้าใจความเคลื่อนไหวของมือ
และเท้าของตนเองเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้ผิด
 
แต่เพราะมนุษย์ถูกความหลงครอบงำ จึงทำให้ไม่รู้จักว่าตนเองเป็นใคร
เป็นสิ่งที่ยากแก่การหยั่งรู้

แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้สิ่งที่คนอื่นรู้ได้ยาก
นอกจากผู้มีปัญญาเท่านั้นจะรู้จักจิตนี้ จิตนี้จึงถูกเรียกว่าธรรมชาติบ้าง อิสรภาพบ้าง

ไม่ว่าชีวิตหรือความตายไม่อาจควบคุมหรือหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของจิตนี้ได้
ไม่มีอะไรยั้งจิตได้เลยจริง ๆ

แม้พระตถาคต23* ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้เช่นกัน คือเป็นภาวะที่เข้าใจยาก ,
เป็นอัตตาที่ศักดิ์สิทธิ์ , ไม่รู้จักตาย ( ตายไม่เป็น ) , เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ จิตนี้จึงมีชื่อต่าง ๆ กันไป

 ไม่มีสาระที่แน่นอน พุทธภาวะก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ไม่ทอดทิ้งจิตของตนเอง

ศักยภาพของจิตนี้ไร้ขอบเขต
การปรากฏตัวของจิต

เป็นภาวะที่ไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส
บทบาททุกอย่างล้วนออกมาจากจิตของตนทั้งสิ้น

ในทุก ๆ ขณะจิตของเราสามารถไปได้ทุกหนทุกแห่ง
ที่มีสื่อภาษาให้ไปถึงได้ ( สมมติ ) และไปเหนือภาวะที่ไร้ภาษา ( ปรมัตถ์ )

23* เป็นพระนามหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าใช้เรียกพระองค์เอง พุทธะ คือ สติ ตถาคต คือ การเกิดขึ้นของพุทธะ
เป็นนิรมานกายซึ่งแยกจากสัมโภคกายและธรรมกาย ฉะนั้นคำว่า ตถาคต จึงเป็นผู้สอนธรรมทั้งปวง


สามารถหาอ่านเพิ่มเติม
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2981 (http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2981)

Credit by : http://ongart.spaces.live.com/blog/cns (http://ongart.spaces.live.com/blog/cns)!8526C50E90F50A92!1121.entry
 sookjai.com/

Pics by : http://www.travelpod.com/travel-blog-entries/oandb/1/1271202420/tpod.html#pbrowser/oandb/1/1271202420/filename=nanna-ji-cherry-trees.jpg (http://www.travelpod.com/travel-blog-entries/oandb/1/1271202420/tpod.html#pbrowser/oandb/1/1271202420/filename=nanna-ji-cherry-trees.jpg)
: Google

ขอบพระคุณที่มาส่วนนี้ทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ... (มีต่อ)
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 15, 2010, 05:44:28 pm

(http://farm4.static.flickr.com/3326/3506977364_7025a8cbd2.jpg)


ในพระสูตรกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีที่สุด และรูปกายเช่นนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์ ความเปลี่ยนแปลงที่ไร้ขอบเขตของรูปเป็นผลที่เนื่องมาจากจิต จิตสามารถที่จะแยกแยะทุกสิ่งได้ การเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถใด ๆ ก็ตาม เกิดมาจากความรู้สึกทางจิตของเราทั้งสิ้นแต่จิตก็ไม่มีรูป ความรู้สึกของจิตก็ไม่ใช่ขอบเขตดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีขอบเขต รูปนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์นั่นเอง (ธรรมกาย)

รูปกายอันประกอบด้วยธาตุ 4 (24*) เป็นทุกข์ และเป็นที่ตั้งของความเกิดและความตาย แต่ธรรมกาย ( รูปแท้จริงหรือกายดั้งเดิม ) ดำรงอยู่โดยไม่แสดงตัวเพราะธรรมกายของพระตถาคตไม่เคยเปลี่ยนแปลง ( ความรู้สึกตัว )
( เชิงอรรถ 24* คือ องค์ประกอบทั้ง 4 ของวัตถุทั้งปวง รวมทั้งร่างกายนี้ด้วย ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ และ ลม )

พระสูตรกล่าวว่า “ บุคคลควรรู้จักธรรมชาติของพุทธภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ” พระคุณเจ้ามหากัสสปะ เป็นบุคคลแรก ( นอกจาก พระพุทธเจ้า ) ที่รู้แจ้งธรรมชาติของตน

ธรรมชาติของเราก็คือจิต จิตก็คือธรรมชาติของเรา ธรรมชาติก็เหมือนกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ 25* พระพุทธเจ้าทั้งอดีตและอนาคต อุบัติมาเพียงเพื่อถ่ายทอดจิตชนิดนี้ นอกจากจิตชนิดนี้แล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าในที่ไหนเลย
( 25* พระมหากัสสปะ หรือพระมหากัสสปเถระ เป็นพระสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งในเหล่าสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และได้เป็นผู้ยอมรับนับถือยกย่องให้ดำรงตำแหน่ง พระสังฆปรินายกองค์แรกของเซ็น ในประเทศอินเดีย ในคราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชูดอกไม้ขึ้น แล้วตรัสถามปัญหา ท่านกัสสปเถระได้ตอบโดยการยิ้ม และนั้นเป็นการสื่อความหมายแบบเซ็นเป็นครั้งแรก )

แต่ปุถุชนที่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ย่อมไม่รู้จักจิตของตนเองว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะเขามัวแต่แสวงหาแต่พระพุทธเจ้าภายนอก และถามอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใดหนอ ?

อย่าหลงเพลินไปในจินตนาการอันหลอกหลอนเช่นนั้นอีกเลย ให้มารู้จักจิตของตนเองเท่านั้น นอกเหนือจากจิตนี้แล้วไม่มีพุทธะในที่อื่นเลย พระสูตรกล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่มีรูปล้วนเป็นมายาหลอกลวง ” ท่านกล่าวไว้อีกว่า “ ท่านอยู่ที่ใดพุทธะก็อยู่ที่นั้น ” เพราะจิตของท่านก็คือพุทธะ อย่าใช้พุทธะบูชาพุทธะ

หากแม้พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ 26* บังเอิญปรากฏขึ้นต่อหน้าท่านไม่จำเป็นต้องทำความเคารพ เพราะจิตของเรานี้เป็นความว่าง และไม่บันทึกรูปใด ๆ เอาไว้
( 26* พระโพธิสัตว์ เป็นอุดมคติของฝ่ายมหายาน หมายถึง ผู้ที่วางเงื่อนไข ความหลุดพ้นของตนเองไว้กับสรรพสัตว์ ส่วนพระอรหันต์นั้น เป็นอุดมคติของฝ่ายหินยาน หมายถึง ผู้ที่แสวงหาความหลุดพ้นด้วยตนเอง แทนที่จะนำจิตเข้าสู่สุญญตภาวะเหมือนพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์กลับแผ่ขยายไปสู่ชีวิตอื่น ๆ อย่างไม่มีขอบเขต นั้นเป็นเพราะเขาเข้าใจแจ่มแจ้งว่าทุกชีวิตมีพุทธภาวะเหมือนกันหมด )

บรรดาบุคคลที่ยึดถือเอาตามปรากฏการณ์คือปีศาจ พวกเขาย่อมหลุดไปจากทางอริยมรรค จะหลงบูชามายาที่เกิดจากจิตอยู่ทำไม ? คนบูชาย่อมไม่รู้ คนที่รู้ย่อมไม่บูชา เพราะการบูชานั้นท่านต้องตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร

ฉันชี้ให้เห็นจุดนี้ เพราะเกรงว่าท่านจะไม่รู้สึกตัว*
( *คนที่มัวเคารพบูชาสิ่งภายนอกตัว มักจะหลงลืมความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง ไม่ให้ความสำคัญความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง …..ผู้แปลไทย)

เพราะธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของพุทธะ ไม่มีรูปใด ๆ อยู่เลย*
( *มโนภาพหรือจินตนาการเป็นภาวะแปลกปลอมที่เกิดขึ้นทีหลัง เหมือนรูปปรากฏขึ้นในกระจก …. ผู้แปลไทย)

จงรักษาความรู้สึกตัวนี้ไว้กับจิตเสมอ แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะดูไม่เหมาะสมก็ตาม ก็จงอย่ายึดติดอย่าเกิดความขี้ขลาดหวาดกลัว อย่าสงสัยเลยว่าจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะมีห้อง ( หัวใจ ) ห้องไหนว่างสำหรับรูปเช่นนั้นอีก ?



(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:Fzv5JD4fpbh0uM)
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 17, 2010, 05:45:08 am

(http://farm4.static.flickr.com/3349/3181362557_def466601d.jpg)


ขณะเดียวกันเมื่อภูตผีปีศาจหรือเทวดา 27* ปรากฏขึ้นก็อย่าคิดเคารพหรือหวาดกลัว เพราะจิตของท่านเป็นจิตว่างมาแต่เดิม ปรากฏการณ์ทั้งปวงล้วนเป็นมายาภาพ อย่ายึดมั่นถือมั่นเอาตามปรากฏการณ์
( 27* หมายถึง ชีวะที่แยกออกจากร่างกาย Demons คือเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งเทพบนฟ้า (เทวดา ) ในทะเล (นาค ) และบนพื้นพิภพ ( ยักษ์ ) Devine Being คือ พระอินทร์ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระพรหมคือผู้สร้างสรรพสิ่ง )

เมื่อท่านได้พบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ 28* และคิดจะเคารพท่านเหล่านั้น ท่านก็ผลักไสตนเองไปสู่ภูมิปุถุชน
( 28* หมายถึง องค์ประกอบทั้งสามประการ อันเป็นที่พึ่งของชาวพุทธ เรียกว่าพระรัตนตรัย พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลที่ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้น เรียกว่าพระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ ตามทัศนคติฝ่ายมหายาน )

ถ้าท่านแสวงหาความไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นก็ตาม ท่านจะประสบความสำเร็จ

ฉันไม่มีคำแนะนำอย่างอื่น พระสูตรกล่าวว่า “ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นมายาภาพ มายาภาพเหล่านี้ไม่มีภพที่แน่นอน ไม่มีรูปที่ถาวร เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ ( อนิจจัง ) อย่ายึดมั่นกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย แล้วท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ

พระสูตรกล่าวว่า “ สิ่งซึ่งเป็นอิสรภาพจากรูปทั้งปวง คือพุทธภาวะ ”

แต่ทำไมเราจึงบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กันอีกเล่า ?

ภูตผีปีศาจเป็นเจ้าของอำนาจแห่งปรากฏการณ์ อำนาจเหล่านี้สามารถสร้างมโนภาพพระโพธิสัตว์ให้ปรากฏขึ้นด้วยรูปจำแลงชนิดต่าง ๆ แต่ก็เป็นพระโพธิสัตว์ปลอม ไม่มีใครเป็นพุทธะจริง ( ด้วยมโนภาพ ) เพราะพระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือจิตของเราเอง อย่านำการบูชาของท่านไปในทางที่ผิด

พุทธะ เป็นศัพท์สันสกฤตแทนคำที่ท่านเรียกว่า “ สติสัมปฤดี ” คือ ตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ คือ อาการยินยอมน้อมรับด้วยความรู้สึกตัวในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การพับตา เลิกคิ้ว เคลื่อนไหวมือและเท้า ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติแห่งการตื่นอย่างปาฏิหาริย์ของท่าน และธรรมชาตินี้ก็คือจิต จิตนี้ก็คือพุทธะ และพุทธะก็คือมรรค มรรคก็คือเซ็น 29*
( 29* คำว่า เซ็น เดิมใช้ว่า ธฺยาน ซึ่งเป็นศัพท์กรรมฐานในภาษาสันสกฤต ท่านโพธิธรรมได้รับรองว่า เป็นเซ็นที่ปราศจากรูปแบบของการปฏิบัติเป็นการใช้คำเหมือน ( ไวพจน์ ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เซ็นเป็นจิตที่ซื่อ ๆ ตรง ๆ เป็นจิตที่นั่งโดยไม่ต้องนั่ง และทำโดยไม่ต้องทำ )

แต่คำว่าเซ็นเป็นเพียงคำเดียว ที่ยังความพะวงสงสัยให้เกิดแก่ปุถุชนและนักปราชญ์ เมื่อเฝ้าดูธรรมชาติของตนก็คือเซ็น เมื่อท่านได้เห็นธรรมชาติของตนเองแล้วมันก็ไม่ใช่เซ็น *
( *คำว่า “ เซ็น “ มาจากคำว่า “ฌาน” ในภาษาบาลี แปลว่า การเพ่งพินิจหรือการเฝ้าดูจิต การเผาผลาญความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ อันเกิดจากการปรุงแต่ง ภาวะที่ทำงานเช่นนั้นเรียกว่า เซ็น ตามภาษาญี่ปุ่น … ผู้แปลไทย)
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: aun63 ที่ กรกฎาคม 17, 2010, 06:22:08 am
 :13:
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 04:59:44 am

(http://www.tairomdham.net/index.php?action=dlattach;topic=237.0;attach=103;image)
Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net


แม้ท่านจะสามารถอธิบายพระสูตร ได้หลายพันสูตรก็ตาม 30* เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของท่าน ที่ยังเป็นธรรมชาติของอัตตาอยู่ การเห็นตัวเอง* ที่ยังเป็นอัตตาอยู่เช่นนั้น ยังเป็นคำสอนของปุถุชน ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
( 30* เป็นหมวดหมู่แห่งคำสอนของพุทธศาสนาในจีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระไตรปิฎก แต่งขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 6 เท่าที่ปรากฏมีจำนวนถึง 2,213 เล่ม และในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ เป็นพระสูตร 1,600 เล่ม และมีหลายสูตรที่เพิ่มเข้าในพระไตรปิฎกในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคัมภีร์จะมีเป็นจำนวนมากมาย ก็ยังมีการสูญหายไปบ้างมิใช่น้อย ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีจำนวน 1,662 เล่ม )
( *การเห็นตัวเองตามความเป็นจริง หมายถึงการเห็นที่ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นมิใช่เห็นด้วยความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตน … ผู้แปลไทย . )

มรรคที่แท้จริงคืออริยมรรค อริยมรรคไม่สามารถจะสื่อกันได้ด้วยภาษา แล้วตำราหรือคัมภีร์จะมีประโยชน์อะไร ?

คนที่พบเห็นตนเองแล้ว ย่อมพบทางแห่งอริยมรรค แม้เขาจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ตาม คนที่เห็นธรรมในตนเองก็คือพุทธะ และธรรมกายของพุทธะเป็นกายที่บริสุทธิ์ ไม่มีมลทินโดยแท้ ทุกสิ่งที่ท่านตรัสก็เป็นสิ่งที่แสดงออกมาจากใจอันบริสุทธิ์ของท่าน

เมื่อพุทธะเป็นความว่างมาแต่เดิมแล้ว พุทธะก็ไม่อาจค้นพบได้ในคำพูดหรือคำสอนในคัมภีร์ใด ๆ อันมีถึงสิบสองหมวดก็ตาม (พระไตรปิฎกมหายาน)

อริยมรรคเป็นมรรคที่สมบูรณ์มาแต่เดิม ไม่ต้องการความสมบูรณ์ใด ๆ อีก อริยมรรคไม่มีรูปหรือเสียง เป็นสภาพที่ละเอียดประณีต และยากแก่การเข้าใจ เหมือนกับท่านดื่มน้ำ ท่านย่อมรู้เองว่าความร้อนความเย็นเป็นอย่างไร แต่ท่านไม่อาจจะบอกผู้อื่นได้

ในบรรดาสภาพธรรมเหล่านั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้นทรงรู้ มนุษย์และเทวดายังเข้าใจไม่ได้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชนยังไม่สมบูรณ์ ตราบใดที่เขายังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับปรากฏการณ์ เขาก็ยังไม่รู้ว่าจิตของเขาเป็นความว่างและเพราะการยึดติด ตามปรากฏการณ์ของทุกสิ่งอย่างผิด ๆ พวกเขาจึงหลงทาง

ถ้าท่านทราบว่าทุกสิ่งล้วนออกมาจากจิต ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อใดท่านหลงยึดถือก็ย่อมหลงลืมตัวเองเมื่อนั้น เมื่อใดท่านเห็นธรรมชาติของตัวเองเมื่อนั้นคัมภีร์ธรรมะทั้งหมดก็กลายเป็นเพียงคำพูดธรรมดา ๆ

พระสูตรและคาถาเป็นจำนวนหลาย ๆ พันสูตร เป็นประโยชน์เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือชำระจิต ความเข้าใจเกิดจากคำพูดเป็นสื่อกลาง แล้วคำพูดคำสอนที่เป็นสื่อกลางแบบไหนล่ะ ? ที่เป็นคำสอนที่ดี

ปรมัตถสัจจะ ย่อมอยู่เหนือคำพูด คำสอนเป็นเพียงคำพูด คำสอนจึงไม่ใช่อริยมรรค มรรคไม่ใช่คำพูด คำพูดเป็นมายาภาพ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏในความฝันของท่านในเวลากลางคืน ซึ่งท่านอาจฝันเห็นปราสาท ราชวัง ราชรถหรือวนอุทยาน หรือทะเลสาปหรือพระราชฐานอันโอ่อ่า อย่าหลงติดใจกับสิ่งที่เป็นความฝัน เพราะทั้งหมดเป็นเหตุให้สร้างภพใหม่ จงตั้งใจให้ดีเท่านั้น ขณะที่ท่านใกล้ตาย
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 01:17:27 pm


(http://3.bp.blogspot.com/_9kizZyRO6Pk/SxLG48_Ll4I/AAAAAAAACR4/EcqBZy7R-iI/s400/clouds.jpg)

จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด

อย่าหลงติดใจในปรากฏการณ์ แล้วท่านจะผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตทั้งปวงได้ ความไม่แน่ใจแต่ละขณะ จะทำให้ท่านตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร ธรรมกายของท่าน ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์หนักแน่น แต่เพราะโมหะธรรมจึงทำให้ท่านหลงลืมกายนั้น ( สติ – สัมปชัญญะ )เพราะเหตุนี้ท่านจึงทุกข์ เพราะความหลงทำให้ท่านทำในสิ่งที่ไร้สาระ เมื่อใดท่านหลงเกิดความยินดีพอใจ 31* ท่านก็ถูกผูกมัด ( ด้วยอุปาทาน ) แต่เมื่อใดท่านตื่นรู้ต่อกายใจดั้งเดิมของท่าน ( รูป – นาม ) ท่านก็ไม่ถูกผูกมัดด้วยอุปาทานต่อไป
( 31* ร่างกาย คือ ธาตุ 4 จิตใจคือขันธ์ 5 ที่มีการแสดงตัวในลักษณะต่าง ๆ แต่ท่านโพธิธรรมกล่าวว่า ได้แก่ตัวพุทธะนั้นเอง )

ใครก็ตาม ยังไม่ละเลิกความติดยึดในกามคุณ ซึ่งปรากฏในหลากหลายรูปแบบ ( รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) เขาก็ยังเป็นปุถุชนอยู่

พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่ค้นพบอิสรภาพ คือเป็นอิสระจากโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย การค้นพบเช่นนั้นเป็นอำนาจของพระองค์ ที่ทำให้กรรมไม่อาจติดตามทันได้ ไม่ว่ากรรมชนิดใดก็ให้ผลต่อพระองค์ไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงกรรมได้ สวรรค์และนรก 32* ก็ไม่มีผลอะไรต่อพระองค์ แต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชน เป็นภาวะที่คลุมเครือ เศร้าหมอง เมื่อเปรียบเทียบกับของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก
( 32* พุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าใจเรื่องสวรรค์เป็นรูปธรรมว่ามี 4 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งออกได้อีก 16 – 18 ชั้น และที่ไม่มีรูปอีก 4 ชั้น ซึ่งตรงข้ามกับสังสารวัฏ คือ นรกร้อน 8 ขุม และนรกเย็นอีก 8 ขุม แต่ละขุมก็มีบริวารอีกขุมละ 4 มีนรกพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง คือนรกมืดและทุกข์ตลอดกาล )

ถ้าท่านไม่แน่ใจอย่าพึ่งทำอะไร เมื่อท่านทำลงไป ก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิด และเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่พึ่ง ความทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้น เพราะความคิดผิด (มิจฉาทิฏฐิ ) การเข้าใจสภาวะจิตเช่นนี้ ท่านต้องทำแบบไม่ทำ* ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจะทำให้ท่านเห็นทุกสิ่งจากญาณทัศนะของพระตถาคต
( *คือทำสักแต่ว่าทำ หมายถึงการมีสติปัญญากำหนดรู้ใน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมตลอดเวลา เมื่อกรรมถูกกำหนดรู้อย่างเท่าทัน กรรมนั้นจะดับด้วยพลังของ ญาณปัญญา, อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไม่อาจเข้าไปแทรกแซง ปรุงแต่ง แต่เป็นกรรมได้ เรียกว่า ทำแบบไม่ทำ … ผู้แปลไทย )

แต่เมื่อท่านเข้าปฏิบัติตามมรรคครั้งแรก ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านยังไม่มีจุดรวม ท่านก็เห็นทุกสิ่งเป็นเรื่องแปลก เหมือนภาพในฝัน แต่ท่านอย่าสงสัยว่า ความฝันทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตของท่านเอง ไม่ได้เกิดจากที่อื่น

ถ้าท่านฝันว่าท่านเห็นแสงสว่างเจิดจ้ายิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ ( นั้นเป็นนิมิตหมายว่า ) อุปาทานของท่านที่ยังเหลืออยู่ก็จะหมดไปโดยเร็ว และธรรมชาติของสัจจธรรมก็ปรากฏตัวขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนั้นจะเป็นเครื่องช่วยเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุธรรม แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่อาจอธิบายให้ผู้อื่นทราบได้

หรือหากท่านกำลังยืน เดิน นั่ง หรือนอนในป่าอันสงัดวิเวก ท่านอาจเห็นแสงสว่าง ( อันเกิดจากนิมิต ) ไม่ว่าเป็นนิมิตที่แจ่มใส หรือคลุมเครืออย่าบอกเรื่องนั้นแก่ผู้อื่น และอย่ากำหนดจดจำนิมิตเช่นนั้นไว้ เพราะมันเป็นภาวะที่สะท้อนออกมาจากธรรมชาติภายในของท่านเอง

ถ้าท่านกำลังยืน เดิน นั่งหรือนอน ในที่สงบเงียบ และมืดในยามกลางคืน ( นิมิตปรากฏให้ท่านเห็น ) ทุกสิ่งปรากฏเสมือนกลางวัน ก็อย่าตกใจ เพราะปรากฏการณ์นั้นเกิดจากจิตของท่านเอง ที่ต้องการ เปิดเผยตัวมันเอง


หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 02:00:06 pm
(http://www.yimwhan.com/board/data_user/bas3dbas/photo/cate_1/r99_3.jpg)


การตัดเวรตัดกรรม คือการตัดความคิดปรุงแต่ง

ถ้าท่านฝันในเวลากลางคืน ทำให้ท่านเห็นพระจันทร์และดวงดาวสว่างทั่วท้องฟ้า นั้นเป็นนิมิตหมายว่า การบำเพ็ญเพียรทางใจของท่านใกล้ถึงที่สุด แต่อย่าบอกนิมิตนั้นแก่คนอื่น

ถ้าความฝันของท่านไม่ชัดเจนเหมือนท่านกำลังเดินในที่มืด นั่นเป็นเพราะจิตของท่านถูกครอบคลุมไปด้วยความวิตกกังวล ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องกำหนดรู้เท่านั้น



(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/944/40944/images/landscape.jpg)


ถ้าท่านเห็นธรรมชาติของตน (เห็นตัวเอง) ก็ไม่จำเป็นต้องอ่านพระสูตร
หรืออ้อนวอนพระพุทธเจ้า
ความเป็นผู้คงแก่เรียนหรือมีความรู้ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งไร้สาระเท่านั้น ยังเป็นสิ่งที่บดบัง
ความรู้สึกตัวของท่านเองด้วย

ธรรมะหรือคำสอนเป็นเพียงสิ่งชี้นำให้รู้จักจิตเท่านั้น เมื่อท่านเห็นจิตของตนเอง
อยู่เสมอแล้ว
ทำไมต้องไปสนใจคำสอนอีกเล่า ?


การก้าวจากความเป็นปุถุชน ไปสู่ความเป็นพุทธะ ทำให้ท่านสิ้นกรรม จงดูแลรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านให้ดี * และยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต (ตามความเป็นจริง )
( *เจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ… ผู้แปลไทย)

ถ้าท่านเป็นคนมักโกรธ ความโกรธนั้นจะเป็นอุปสรรคขัดขวางตัวท่านไม่ให้บรรลุมรรคผล การหลอกลวงตัวเองไม่ทำให้ท่านก้าวหน้าได้เลย พระพุทธเจ้าผ่านพ้นความเกิดและความตายอย่างอิสระ จะอุบัติหรือจุติได้ตามความตั้งใจ กรรมไม่อาจหยุดยั้งท่านได้ แม้ภูตผีปีศาจและมารก็ไม่อาจเอาชนะท่านได้

เมื่อใดปุถุชนเห็นธรรมชาติของตนเอง (เห็นตนเอง ) อุปาทานทั้งปวงก็หมดไป ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไม่ใช่สิ่งลึกลับ แต่ท่านสามารถพบมันได้ในปัจจุบันขณะ (ตลอดกาล) มันเป็นปัจจุบันธรรม
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 04:21:13 pm

(http://newheartnewlife.net/wordpress/wp-content/uploads/2008/05/autumn-leaves.jpg)


การศึกษาข้างนอกมากเกินไป ทำให้ลืมการศึกษาภายใน

ถ้าท่านต้องการพบมรรคจริง ๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ เมื่อใดท่านถึงที่สุดแห่งกรรม ( สิ้นกรรม ) จงดำรงรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านไว้ อาสวะใด ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็ค่อย ๆ หมดไป

ความเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ท่านไม่ต้องสร้างความพยายามใด ๆ แต่ความหลงใหลคลั่งไคล้ 33* ไม่ได้ทำให้เข้าใจ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

ถ้าพยายามที่จะรู้ธรรมะ ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะรู้ขึ้นไปอีกต่อไป พวกเขาก็จะได้แต่จดจำเอาความรู้ของพวกนักปราชญ์เท่านั้น ( จำธรรมะไม่ใช่รู้ธรรมะ )

ตลอดเวลาอันยาวนานที่พวกเขาอ้างพระพุทธเจ้า และสาธยาย พระสูตร ( ติดคัมภีร์ ) เขาก็ยังใบ้บอดต่อธรรมชาติอันเป็นทิพย์ของตนเอง และไม่อาจพ้นไปจากวัฏฏสงสารได้เลย

พระพุทธเจ้าคล้ายเป็นคนขี้เกียจ เพราะพระองค์ไม่ได้วิ่งตามลาภสักการะและโลกธรรมทั้งหลาย ที่สุดแล้วโลกธรรมมันมีอะไรดีเล่า ?

บุคคลที่ยังไม่เห็นตนเอง ได้แต่คิดและอ่านแต่พระสูตร อ้อนวอนแต่พระพุทธเจ้า จะศึกษายาวนานเพียงใด ปฏิบัติจริงจังทั้งเช้าจรดเย็น จนไม่หลับไม่นอน หรือได้ความรู้ทางธรรมมามากมายก็ตาม ก็ยังชื่อว่าลบหลู่ดูหมิ่นพระธรรมอยู่

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ทรงกล่าวถึงการเห็นธรรมชาติของท่านเท่านั้น ( การเห็นตนเอง ) การปฏิบัติทุกอย่างยังไม่แน่นอน เว้นแต่ว่าเขาได้เห็นตนเอง คนที่อ้างว่าได้บรรลุธรรมอันเลิศ 34* สำเร็จหมดแล้วเป็นคนมุสา

ในบรรดาพระสาวกองค์สำคัญที่สุด 10 องค์ของพระศากยมุนี 35* พระอานนท์ 36* เป็นสาวกผู้เลิศในการเรียนรู้ แต่ท่านก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ( ตามความเป็นจริง ) ท่านเป็นผู้ศึกษาและจดจำทุกอย่างได้เท่านั้น

พระอรหันต์ทั้งหลาย 37* ก็ไม่รู้จักพระพุทธเจ้าทั้งหมด ที่ท่านรู้จัก คือ การปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้งให้มากเท่านั้น และท่านก็ถูกดักไว้ด้วยเหตุผล สภาพเช่นนั้นเป็นกรรมของปุถุชน ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเกิด และการตายได้ คนที่ทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาตั้งใจ คนเช่นนั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้า การฆ่ามิจฉาทิฏฐิไม่มีความผิด



(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:rZ7fhczF2iRl-M::&t=1&usg=__r_AQmCVc5oHjyxQElE6rKHHPZOY=)
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 05:30:50 pm

(http://photos.xihalife.com/wallpapers/images/374_640.jpg)


เชิงอรรถ

33* ในระหว่างเหล่าสาวกทั้งหลาย ทั้งชาวพุทธและต่างนิกาย ส่วนมากได้รับการตำหนิติเตียนว่าเป็นเหมือนคนบ้า เป็นผู้ที่หลงใหลในการบำเพ็ญทุกรกิริยา และการทรมานตนให้ลำบาก หรือเป็นผู้ทำตามตัวหนังสือโดยไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้นั้นเอง

34* หมายถึง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ ให้ดูความเป็นมาใน ระตะนะสูตร

35* ศากยะ เป็นราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า มุนี คือนักบวชโคตมะ เป็นนามแห่งตระกูลของพระองค์ และมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ ส่วนกาลเวลานั้นมีกล่าวไว้หลากหลาย แต่ที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นคือ ก่อนคริสตศักราช 557– 487 หรือในราว ๆ นั้น

36* พระอานนท์ เป็นพระญาติของพระศากยมุนี ซึ่งเกิดในคืนวันที่พระพุทธองค์ทรงได้ตรัสรู้ และ 25 ปี ต่อมา ท่านก็ได้บวชในพุทธศาสนาและได้ทำหน้าที่เป็นผู้อุปัฏฐาก หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ท่านได้รับหน้าที่เป็นผู้สาธยายคำสอนของพระพุทธเจ้า ( วิสัชชนาพระสูตร ) ในคราวที่ทำปฐมสังคายนาด้วย

37* พระอรหันต์ คือบุคคลที่เป็นอิสระจากการเกิดใหม่ เป็นเป้าหมายสูงสุดของสาวกฝ่ายหินยานหรือยานเล็ก ในขณะที่พระอรหันต์เป็นผู้ไกลจากกิเลส เขาก็เป็นผู้ไกลจากความกรุณาที่จะให้กับผู้อื่นไปด้วย เขาไม่เข้าใจว่าความตายล้วนเป็นธรรมชาติที่เสมอกันของสรรพสิ่ง และนั่นคือไม่มีพุทธะอื่นอีกแล้ว นอกจากพุทธะของคนทุกคน
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 06:00:52 pm

(http://4.bp.blogspot.com/_9kizZyRO6Pk/SVJ-iytoj1I/AAAAAAAABbg/qdRtADse1Fo/s400/winter-snow-tree-fantasy-1280x10-1.jpg)


คนตาบอดย่อมไม่รู้จักคนตาบอด

พระสูตรกล่าวว่า “พวกที่เป็นอิจฉันติกะ 38 (มิจฉาทิฏฐิ) ไม่สามารถทำให้เกิดความเชื่อเลื่อมใสได้ ดังนั้นการฆ่ามิจฉาทิฏฐิจึงไม่ผิด ยกเว้นคนมีศรัทธาถูกต้อง ย่อมเข้าถึงพุทธภาวะได้”

เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของตนเองแล้ว ก็ไม่ควรเที่ยววิพากษ์วิจารณ์ความดีของผู้อื่น การหลอกลวงตัวเองไม่ได้ทำให้ท่านก้าวหน้าเลย ความดีและความชั่วเป็นสภาพที่แตกต่างกัน เหตุและผลเป็นสภาวะที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง สวรรค์และนรกเป็นสิ่งที่ปรากฏเฉพาะหน้าของท่านเอง

แต่คนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่มีศรัทธาย่อมตกไปสู่นรกอเวจีอันมืดมิด ไม่อาจรู้พุทธภาวะนี้ได้ สิ่งที่เข้ามาบดบังความเชื่อเลื่อมใสของเขาก็คือ กรรมอันหนักหน่วงของเขานั้นเอง พวกเขาเหมือนคนตาบอดที่ไม่เชื่อว่าจะมีแสงสว่างเช่นนั้น หากท่านอธิบายเรื่องแสงสว่างให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เชื่อ เพราะพวกเขาเป็นคนตาบอด พวกเขาจะสามารถแยกแสงสว่างได้อย่างไร

สำหรับคนโง่ที่ยึดถือความจริงในทางผิด ย่อมตกอยู่ในภพภูมิชั้นต่ำ 39* อันได้แก่พวกที่มีชีวิตยากจนและเป็นทุกข์ พวกเขาไม่อาจมีชีวิตหรือไม่อาจตายได้ และในสถานที่เป็นทุกข์ทรมานเช่นนั้น ถ้าท่านถามเขา เขาก็จะบอกว่าเขามีความสุขเหมือนเทวดา ปุถุชนทุกคนเขาคิดว่าเขาเกิดมาดีแล้ว เพราะความไม่รู้จักชีวิต เขาจึงมีกรรมอันหนักหน่วง คนโง่เช่นนั้นไม่อาจสร้างความเชื่อในพุทธภาวะได้และไม่สามารถพบอิสรภาพอันแท้จริงได้เลย*
( * ความสุขของปุถุชน ก็เหมือนความสุขของหนอนที่อยู่ในส้วม มีกินมีใช้ทุกอย่าง แต่เป็นความสุขที่ไม่ประเสริฐ…. ผู้แปลไทย)

บุคคลที่เห็นจิตของตนเองเป็นพุทธะแล้ว ไม่จำเป็นต้องโกนผมห่มผ้าเหลืองก็ได้ 40* อุบาสกก็เป็นพุทธะได้เช่นกัน เว้นแต่คนที่ไม่เห็นตนเอง ( ตามความเป็นจริง ) แล้วไปโกนผมห่มผ้าเหลือง นับเป็นความหลงใหลคลั่งไคล้ธรรมดา ๆ นั่นเอง แต่อุบาสกที่แต่งงานแล้วยังไม่เลิกจากกาม พวกเขาจะเป็นพุทธะอย่างไร?

ฉันพูดถึงการเห็นตนเองเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงเรื่องกาม ก็เป็นธรรมดาเพราะท่านยังไม่เห็นตนเองเมื่อใดท่านเห็นตนเอง ก็เห็นว่ากามเป็นเพียงนามรูปขั้นต่ำ แล้วท่านก็จะเบื่อหน่ายไปเอง*
( * เหมือนเด็ก ที่ชอบเล่นของสกปรก เมื่อเขาโตขึ้นก็ย่อมเลิกเล่นไปเอง มนุษย์เมื่อจิตยังต่ำย่อมหมกมุ่นในกาม เมื่อพัฒนาจิตสูงขึ้นก็เบื่อหน่ายไปเอง… ผู้แปลไทย)

เชิงอรรถ

38* คือชีวิตอีกแบบหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องมัวเมาในกามสุขอันวิเศษ ซึ่งความเชื่อในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องยุ่งยากและไกลตัว พวกเขาละเมิดข้อห้าม ( ศีล ) และไม่ยอมรับผิดหรือรับโทษที่จะตามมา ในคัมภีร์จีน นิพพานสูตรตอนแรกกล่าวปฏิเสธว่า อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะ โดยอ้างว่าศีลของชาวพุทธนั้นต่อต้านการฆ่าเป็นเจตนาที่จะป้องกันการฆ่าผู้ที่มีความสามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้ การฆ่าอิจฉันติกะนั้นจึงไม่น่าตำหนิ นี้เป็นเพียงทัศนะในหลักทฤษฎี อย่างไรก็ตาม การแปลความหมายในพระนิพพานสูตรตอนหลัง ๆ มา ก็ได้แก้ไขข้อความตอนนี้ใหม่ โดยกล่าวว่า แท้จริงแล้ว อิจฉันติกะ มีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่ [อิจฉันติกะ (คือมิจฉาทิฏฐินอกศาสนา)]

39* ได้แก่ ภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เปรต และสัตว์นรก

40* เมื่อพระศากยมุนีเสด็จออกจากพระราชวังของพระบิดา ในยามราตรี เพื่อเสาะแสวงหาความหลุดพ้นนั้น พระองค์ได้ตัดพระเกศาที่ยาวปกไหล่ ด้วยพระขรรค์เสีย พระเกศาที่เหลืออยู่ก็กลายเป็นรูปทักษิณวัฏฏ์ ( หมุนเป็นวงกลมไปทางขวามือเหมือนก้นหอย ) โดยไม่ต้องตัดอีกต่อไป ต่อมาเหล่าพระสาวกของพระองค์ ก็ได้เริ่มปลงผมของพวกเขาเพื่อให้ดูต่างออกไปจากนิกายอื่น ๆ ในยุคนั้น

หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 18, 2010, 06:46:34 pm


(http://3.bp.blogspot.com/-LcEkibDEPiY/T1F0YuCCd1I/AAAAAAAAEEU/wQH99GgNIBY/s640/417427_196839013753544_103287066442073_291856_511745957_n.jpg)


เพราะตัณหาเกิด ทุกข์ก็เกิด เมื่อตัณหาดับ ทุกข์ก็ดับ

กามจะสิ้นสุดตามความพอใจของท่าน ( เมื่อท่านพอใจจะเลิก ) แม้ว่าราคานุสัยบางอย่างยังเหลืออยู่ มันก็ไม่เป็นอันตรายแก่ท่าน เพราะธรรมชาติจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน แม้จะยังอาศัย รูปธาตุ 4 อยู่ก็ตาม

ธรรมชาติของท่านก็ยังมีความบริสุทธิ์อยู่ ธรรมกาย ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์โดยพื้นฐาน มันไม่ถูกทำให้เศร้าหมองได้ง่าย กายดั้งเดิมของท่านสะอาดบริสุทธิ์มาแต่เดิม ธรรมกายของท่าน ไม่มีความรู้สึกทะยานอยาก ไม่มีความหิวกระหาย , ไม่อุ่นหรือเย็น , ไม่เจ็บไม่ป่วย , ไม่รักไม่ชัง , ไม่สุขไม่ทุกข์ , ไม่ดีไม่ชั่ว , ไม่สั้นไม่ยาว , ไม่อ่อนไม่แข็ง จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรเลย เพราะเรายึดติดรูปกายนี้เท่านั้น จึงทำให้ทุกสิ่งมี คือมีหิวกระหาย มีอุ่นมีเย็น มีเจ็บมีป่วยปรากฏขึ้น*
( *เมื่อมีอุปาทาน ธรรมชาติเป็นของคู่ก็มี… ผู้แปลไทย)

เมื่อใดท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามหน้าที่ของมัน ท่านก็จะพ้นจากความเกิด และความตาย ท่านจะเปลี่ยนแปลงไปทุกอย่าง ( จิตเปลี่ยน ) ท่านจะเป็นนายของจิต 41* คือมีกำลังใจ ซึ่งไม่มีอะไรจะมาขัดขวางได้ ท่านจะพบกับความสงบสุขทุกหนทุกแห่ง

ถ้าท่านยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ ท่านก็ยังไม่เห็นตนเองอย่างแท้จริง ท่านไม่ต้องทำอะไรเลยจะดีกว่า เพราะถ้าท่านทำลงไป ท่านก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้

เมื่อใดท่านเห็นธรรมในตนเอง ท่านก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แม้ท่านจะเป็นพ่อค้าเนื้อก็ตาม แต่คนค้าเนื้อสร้างกรรมโดยการฆ่าสัตว์เขาจะเป็นพุทธะได้อย่างไร ?

ฉันพูดถึงการเห็นธรรมชาติในตนเอง ไม่ได้พูดถึงการสร้างกรรม ถ้าไม่ยึดติดกับสิ่งที่เราทำ กรรมก็ไม่ติดตามเรา แม้ตลอดกัปอันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ มันเป็นเพราะเราไม่เห็นตนเองเท่านั้น จึงทำให้เราต้องไปสิ้นสุดกันที่ขุมนรก

เชิงอรรถ

41* พุทธศาสนิกชนพึงสำเหนียกถึงพลังหรืออำนาจวิเศษ 6 ประการ คือความสามารถในการเห็นรูปทั้งปวง ความสามารถในการฟังเสียงทั้งปวง ความสามารถในการดมกลิ่นทั้งปวง ความสามารถในการรับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ความสามารถในการระลึกรู้อดีตของตนและผู้อื่น ความสามารถในการที่จะอยู่ที่ไหนทำอะไรอย่างตั้งอกตั้งใจ และความสามารถในการที่จะรู้จักความสิ้นสุดลงแห่งการเวียนว่ายตายเกิด* ( *หมายถึง ญาณทั้ง 3 ที่ทำให้ได้ตรัสรู้นั่นเอง.... ผู้แปลไทย )


หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 19, 2010, 10:48:55 am

(http://img142.imageshack.us/img142/8041/nature1411aq4.jpg)


การถ่ายทอดธรรม คือการถ่ายทอดจิตสู่จิต

ตราบใดที่คนยังสร้างกรรมอยู่ เขาก็ต้องวกวนไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป เมื่อใดคนได้รู้ประจักษ์แจ้งในธรรมชาติของตนเอง เขาก็หยุดสร้างกรรม ถ้าเขาไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง ก็อ้อนวอนพระพุทธเจ้าเรื่อยไป

ซึ่งไม่อาจปลดเปลื้องตนเองออกจากกรรมได้เลย แม้ว่าเขาจะเป็นคนขายเนื้อก็ตาม แต่เมื่อใดเขาประจักษ์แจ้งในตนเอง ความสงสัยทั้งปวง ก็หมดไป แม้กรรมของการค้าเนื้อก็ไม่มีผลแก่คนขายเนื้อนั้น

ในอินเดียมีสังฆปรินายกถึง 27 องค์ 42* ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตหรือพุทธจิต 43* ฉันมาสู่ประเทศจีน ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว คือ การถ่ายทอดการรู้ธรรมแบบฉับพลัน ( อึดใจเดียว ) ของมหายาน 44* ( คำกล่าวของท่านโพธิธรรม )

“ จิตนี้คือพุทธะ ฉันไม่ได้พูดถึงการถือศีล, การให้ทาน หรือการเคร่งครัดแบบฤาษี เช่น การลุยน้ำลุยไฟ เหยียบมีดเหยียบหนาม รับประทานวันละมื้อ หรือไม่นอนเลย การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ เป็นคำสอนที่สร้างภาพพจน์ชั่วคราวไม่ยั่งยืน เมื่อใดท่านรู้จักและเข้าใจการเคลื่อนไหวของตนเอง รู้จักธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ จิตของท่านก็จะเป็นเช่นเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์”

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึง การถ่ายทอดเรื่องจิต พระองค์ไม่ได้สอนเรื่องอื่นเลย ถ้าผู้ใดเข้าใจคำสอนนี้ได้ แม้เขาจะไม่รู้หนังสือเลย เขาก็เป็นพุทธะได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่เห็นตนเองไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ของตนเอง ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้า แม้ท่านจะปฏิบัติกรรมฐานไปจนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงก็ตาม 45*

พระพุทธเจ้าคือธรรมกายของท่าน คือ ใจดั้งเดิมของท่าน จิตนี้ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีเหตุหรือผล ไม่มีเอ็นหรือกระดูก มันเป็นเสมือนอวกาศ ไม่อาจจับต้องได้ มันไม่ใช่จิตของพวกวัตถุนิยม หรือวิญญาณนิยม นอกจากพระตถาคตแล้ว ปุถุชนหรือคนหลง ไม่มีใครจะสามารถหยั่งรู้ความจริงอันนี้ได้

แต่จิตนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกกายภายนอก ในธาตุ 4 ถ้าปราศจากจิตนี้ เราก็ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ กายที่ไม่มีความรู้สึกตัว ก็เหมือนกับต้นไม้หรือก้อนหิน กายที่ไม่มีจิตจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตนี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวได้

ภาษาและพฤติกรรม สัญญาและเจตนาล้วนเป็นหน้าที่ของจิต การเคลื่อนไหวทั้งปวง ล้วนเป็นการเคลื่อนไหวของจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต ปราศจากจิตก็ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวไม่ใช่จิต และจิตก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว*

( * ข้อสังเกต “ หลวงพ่อเทียน น่าจะเป็น…ปรมาจารย์เซ็นในประเทศไทย ”

การเคลื่อนไหวโดยพื้นฐานไม่ใช่จิต และจิตโดยพื้นฐานก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากจิต และจิตก็ดำรงตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากการเคลื่อนไหว และไม่มีการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกจิต การเคลื่อนไหวจึงเป็นหน้าที่ของจิต และหน้าที่ของจิตก็คือความเคลื่อนไหว

ทฤษฎีของท่านโพธิธรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว มาตรงกับวิธีการที่ชี้นำสู่ตัวพุทธธรรม โดยวิธีการของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ได้อย่างสอดคล้องกัน ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้กล่าวถึงการยกมือสร้างจังหวะ หรือเดินจงกรมก็ตาม และถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีชีวิตอยู่ห่างกันถึงเกือบ 2,000 ปีก็ตาม แต่การชี้นำเข้าสู่พุทธธรรมของท่านผู้รู้ทั้งสองท่าน เกือบตรงกันทุกเรื่อง ถึงแม้สำนวนภาษาดูไม่เหมือนกันก็ตาม แต่โดยสาระแทบจะเป็นอันเดียวกัน

ดังนั้น น่าจะกล่าวได้ว่า แนวการบรรลุธรรมของท่านทั้งสองไม่ต่างกัน แต่วิธีการ การถ่ายทอดอาจต่างกันไปตามยุคตามสมัย ดังนั้น ถ้าท่านโพธิธรรมเป็นผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนามหายานแบบเซ็นในประเทศจีน หลวงพ่อเทียนก็อาจกล่าวได้ว่า เป็นผู้ให้กำเนิดมหายานแบบเซ็นที่แท้จริงแก่ประเทศไทย ได้เช่นกัน… ผู้แปลไทย)

เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่ทั้งการเคลื่อนไหวหรือการทำหน้าที่ เพราะสาระสำคัญในหน้าที่ของจิตคือความว่าง และความว่างโดยเนื้อแท้ก็ไม่มีการเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหวก็เป็นอันเดียวกันกับจิต และจิตโดยเนื้อแท้แล้วก็ไม่มีการเคลื่อนไหว
หัวข้อ: Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 19, 2010, 11:35:26 am


(http://3.bp.blogspot.com/-SdCckr2O_kY/T1eV_8jr8_I/AAAAAAAAEEs/b44K1hhbNkM/s320/420953_401849513165123_167855136564563_1769150_1658247962_n.jpg)


เชิงอรรถ

42* พระสังฆราชองค์แรกของวงศ์เซ็นคือพระกัสสปะ พระอานันทะเป็นองค์ที่ 2 พระปรัชญาตาระเป็นองค์ที่ 27 พระโพธิธรรมเป็นองค์ที่ 28 และเป็นสังฆราชองค์ที่ 1 ในประเทศจีนด้วย

43* รอยประทับจิต คือการเข้าสู่จิตแบบเซ็น จะมีสภาวะที่เหมือนกันทุกประการ ซึ่งสามารถทำการพิสูจน์กับของจริงได้เสมอ และเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลานานและต้องทำให้มั่นคงดุจตราประทับเลยทีเดียว

44* มหา แปลว่า ใหญ่ ยานะ แปลว่า ยานพาหนะ เป็นรูปแบบที่ทรงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในเอเชียฝ่ายเหนือ เอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศัพท์ว่า หินยาน จึงถูกนำมาใช้เรียก นิกายฝ่ายเถรวาทด้วย

45*Atom* ในยุคแรก พุทธศาสนานิกายสรวัสติกวาทิน ได้กล่าวถึงเรื่องของอนุภาคปรมาณูเอาไว้ว่า ปรมาณูเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ด้วยสมาธิเท่านั้น และอนุภาคทั้ง 7 เหล่านี้ ก่อให้เกิดปรมาณูต่าง ๆ ขึ้นมา และปรมาณูทั้ง 7 ก็ก่อให้เกิดอนูขึ้น ซึ่งจะมองเห็นได้ก็เฉพาะผู้ที่มีโพธิจักษุเท่านั้น นิกายสรวัสติกวาทิน กล่าวอ้างว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นเกิดมาจากอนูต่าง ๆ ถึง 84,000 84,000 มักนำมาใช้กับปริมาณที่นับไม่ได้อยู่บ่อย ๆ (*ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา , ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม …ในพระบาลี )



จบบทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )


(http://www.tairomdham.net/index.php?action=dlattach;topic=237.0;attach=94;image)
Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net (http://www.tairomdham.net)
: Google


ข้อมูลส่วนนี้นำมาจาก : http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8 (http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8)

โพสต์โดย : คุณมดเอ็กซ์
อนุโมทนาสาธุธรรม และอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ