(http://zensiam.com/images/thumbnails/images/remote/http--i0110.com-zen-book-DiamondSutra-01001-300x443.jpg)
วัชรสูตร ( 金剛經 - Diamond Sutra )
แปลโดย เสถียร โพธินันทะ
เรียบเรียง โดย เย็นเจี่ยวภิกขุ
เอื้อเฟื้อจากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
คลิ๊กเพื่ออ่าน.. ตามลำดับหัวข้อ ๐๑ - ๓๒
>>> http://zensiam.com/book/290-diamondsutra-book (http://zensiam.com/book/290-diamondsutra-book)
(https://i.pinimg.com/564x/37/4a/9e/374a9e7b46e3f8f4095b5caa39a2082e.jpg)
Shakyamuni’s preaching at Shravasti to the assembly of monks, bodhisattvas, devas and lay-people.
เพชรตัดทำลายมายา : วัชรสูตร
วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร หรือ วัชรสูตร หรือ ปรัชญาปารมิตาสูตร (Dimond That Cuts Through Illusion หรือ The Wisdom Sutra หรือ The Heart of Wisdom Sutra) หมายถึง พระสูตรที่มีหัวใจหลักอันเป็นปัญญา เพื่อให้ลุถึงฟากฝั่งโน้น(นิพพาน) เนื้อหาหลักของพระสูตรนี้ว่าด้วยเรื่อง ความว่าง หรือ สุญญตา โดยเน้นว่า ขันธ์ 5 คือ ความว่าง
ในบทที่ 6
ภิกษุสุภูติกราบทูลพระผู้มีพระภาค “ ในกาลข้างหน้าหากจักมีสัตว์ใด เมื่อสดับพระธรรมคำสอนนี้แล้ว บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงขึ้นได้หนอ ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ “ อย่ากล่าวอย่างนั้นสิสุภูติ เมื่อตถาคตดับขันธปรินิพพานล่วงไปแล้วห้าร้อยปี ก็ยังจะมีผู้ได้เสวยรสธรรมจากการปฏิบัติตามพระสัทธรรมนี้ เมื่อบุคคลเช่นนั้นได้ฟังพระธรรมคำสอนนี้เข้า จักบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสว่าพระสัทธรรมนี้คือสัจจะ ดังนั้นแล้ว จงสำเหนียกไว้เถิด ว่าบุคคลนั้นหาได้ปลูกฝังกุศลมูลเพียงในกาลสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวหรือในกาลสมัยแห่งพระพุทธเจ้าสองพระองค์ สาม สี่ หรือห้าพระองค์เท่านั้น แท้จริงแล้วเขาได้สั่งสมบุญกุศลมาตลอดพุทธะสมัยแห่งพระพุทธเจ้าอเนกอนันต์นับพันนับหมื่นพระองค์ บุคคลใดได้สดับพระธรรมซึ่งตถาคตได้ตรัสแสดง แล้วบังเกิดศรัทธาด้วยจิตบริสุทธิ์สว่างไสวแม้เพียงชั่วขณะจิตเดียว ตถาคตย่อมเห็นและรู้ว่าบุคคลนั้นจักเกิดปีติปราโมทย์อย่างไม่อาจประมาณได้ ไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ”
“ ก็เพราะเหตุว่า บุคคลเช่นนั้นไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดเนื่องด้วยตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ เขาไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรมและอธรรม ไม่ยึดมั่นว่านี้คือรูปลักษณะ นั่นไม่ใช่รูปลักษณะเช่นนั้น เพราะเหตุใด ก็เพราะว่า ถ้าบุคคลยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรม จิต บุคคลนั้นก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ ถ้าเขายึดมั่นอยู่กับความคิดว่าไม่มีธรรม จิตเขาก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ อยู่นั่นเอง
ฉะนั้นบุคคลจึงไม่พึงยึดถือผูกพันอยู่กับธรรมหรือคิดว่าธรรมเป็นสิ่งไม่มีอยู่ นี่คือนัยความหมาย เมื่อตถาคตกล่าวว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ ว่าธรรมที่เราแสดงมีอุปมาดั่งพ่วงแพ ” แม้แต่สิ่งที่ตถาคตสอนก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงที่ไม่ได้กล่าวเทศนา ”
ในบทสุดท้ายของพระสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ว่า
(http://zensiam.com/images/thumbnails/images/remote/http--i0110.com-zen-book-DiamondSutra-28004-300x225.jpg)
สรรพสิ่งปรุงแต่ง
ดุจความฝัน
ดุจพรายน้ำ ดุจสายฟ้า ดุจภูตหลอน
จงดูให้เห็นสิ่งเหล่านั้น
ด้วยการเพ่งภาวนา
(http://media-cache-cd0.pinimg.com/236x/c7/0c/f0/c70cf05768729723c99aa0326c3ecafc.jpg)
คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
(ไป ไปเถอะ ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง!
สู่ความตรัสรู้! ความเบิกบาน)
(http://zensiam.com/images/thumbnails/images/remote/http--i0110.com-zen-book-DiamondSutra-14005-300x320.jpg)
http://phurich360d.spaces.live.com (http://phurich360d.spaces.live.com)