ใต้ร่มธรรม

อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี => พระอริยบุคคล => ข้อความที่เริ่มโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 06:51:52 pm

หัวข้อ: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 06:51:52 pm
นิสัยเถื่อน (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

จิตไม่สงบเพราะมันคุ้นกับการที่จะไปตามอารมณ์  ตามความคิดปรุงแต่งของมัน
การฝึกหัดใจ  คล้ายกับการฝึกหัดสัตว์  ที่เริ่มต้นนั้นยังป่าเถื่อน  ต้องค่อยๆ  ฝึก
เพราะความไม่รู้ที่เรียกว่า  อวิชชา  ตัณหา  ความทะยานอยาก 
และอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ  มันยังมีมาก  เต็มอัตราศึก 
มันก็จะไปตามกำลังเถื่อนของมัน

สัตว์ป่าเมื่อมันถูกผูกติดอยู่  มันก็จะดิ้นรน  พยศจนสุดกำลัง
จิตเมื่อถูกจับฝึกก็เช่นกัน  มันก็จะขัดขืนสุดๆ  เช่นกัน
อยู่ธรรมดาเราดูเหมือนไม่เดือดร้อนอะไร  พอจะหัดทำใจให้สงบ 
โดยการลองภาวนาอะไรดูบ้าง  มันไม่เป็นดังคิดมันดีดดิ้นออกไป
นึกถึงอย่างอื่นตามชอบของมัน

เราจะต้องพิจารณาให้มาก  จึงจะละนิสัย  ละความเถื่อนตามกิเลส 
หรือความขุ่นมัว  หลงใหลที่เคยมาแต่กาลก่อนลงได้

ต้องมองทะลุออกไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นของเที่ยงแท้ถาวร 
ว่างจากตัวตน  และหมดความหมายไปในตัว
ขอบพระคุณคุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 07:01:25 pm
ควรหมั่นทำ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

ทุกข์โทษของกิเลสตัณหานั้น  มันมีหนักทับอยู่ในใจ
จะมาคอยแก้ไขที่ข้างนอกอย่างเดี่ยวจึงไม่ถูก 
ต้องคอยหมั่นสังเกต  หมั่นสำนึกตัวเองให้พร้อม
ตัวเองจะต้องคอยหัดขัดเกลา  ตัณหา  อุทาทานต่างๆ 
ให้มันเกลี้ยงเกลาลง

ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่มีทางจะพ้นทุกข์ 
จะถูกกิเลสมันเผาย่างเล่นต่อไป  ไม่มีวันสิ้นสุดหยุดได้ 
แม้นนานแสนนานชั่วกับปป์  ชั่วกัลป์ ชั่วพุทธันดร

จะยอมถูกกิเลสเผาอยู่ข้างเดี่ยวไปทำไม 
เราก็ต้องเล่นงานมันกลับบ้าง
เล่นงานมันด้วยการขัดขืนกระด้างกระเดื่องต่อสู้มัน
อะไรที่ไม่สมควรก็อย่างปล่อยตามใจ  ขัดขวางมันไว้ 
เป็นการทรมานกิเลสมันให้เร่าร้อน  การชนะอยู่ในจิตนั้น 
มีค่าสูงสุดเหลือเกิน

ด้วยการไม่ตามใจตัว  นี้เป็นวิธีการหนึ่งที่จะตัดกำลังของกิเลสลงได้ 
หมั่นทำ  ไม่ตามใจตัวเองได้อย่างแยบยลแล้ว 
กิเลสมันจะอ่อนกำลังลง  และจะไม่มีเหลือได้ในที่สุด


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 07:04:03 pm
คนจน (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

ปุถุชนนั้นเอาแต่ได้  เห็นข้าวของเงินทอง  ลาภยศ  เป็นสิ่งสำคัญ 
จึงต้องตกทุกข์ยาก  มากมายอย่างที่เห็น

เคยคิดไหมว่าทรัพย์ภายนอกเป็นของกลาง  ตายไปแล้วก็กลายเป็นของคนอื่น 
จะมีคุณค่าอยู่บ้างก็เมื่อเรายังมีชีวิต  ต้องรุ้จักพิจารณาใช้ให้ดีจึงจะเกิดมีกำไร

การนำทรัพย์ใช้จ่ายให้เป็นบุญกุศล  ให้กำไรกับชีวิตมาก 
เกื้อกูลทั้งตัวเองและสรรพสัตว์

ทางธรรมถือว่าทรัพย์สิน  ไม่ใช่เครื่องแสดงฐานะที่สำคัญของบุคคล 
คนมีศีลพร้อมต่างหาก  ที่ธรรมะถือว่าเป็นคนมั่งมี

การไม่มีศีลถือเป็นการขาดทุนสูญกำไรของชีวิตอย่างยิ่ง
เป็นคนทุศีล  ก็คือ  เป็นคนสิ่นเนื้อประดาตัวที่สุดอยุ่ในตัวเอง 
ถึงจะมีทรัพย์มากมาย  ในทางธรรมก็ถือว่ายากจนที่สุด
อย่างที่เรียกว่า  จนในใจ  ใจมันหิว  ใจมันอยาก 
ซึ่งเป็นเรื่องเสียหายมาก  เพราะคนจนศีล  จนธรรม 
ก็พาก่อกรรมไม่สิ้นสุด  เกิดมาก็มีแต่เพิ่มทุกข์  เพิ่มโทษให้กับตัวเอง 
หาความร่มเย็นได้ยาก  แม้ยังไม่ตาย  ก็เหมือนมีเปลวไฟนรกแลบเลียอยู่ให้เห็นแล้ว

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 07:06:37 pm
รู้ตัวไหม? คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง

พวกเราล้วนถูกกิเลสหลอกมานานแล้ว  เราหลงเชื่อมันมานานแล้ว
ไม่เห็นได้ดีอะไรขึ้น  ก็เห็นมีแต่ทุกข์อยู่อย่างนั้น

อยากให้คนเขาชม  ให้เขานับถือ  หรือให้คนเขารุ้จักยกย่อง  มันคืออะไร 
ถ้าไม่ใช่การชูหัว  ชูคอ  ของกิเลส

หวังจะได้  หวังจะมี  พอได้พอมีแล้วแทนที่จะเป็นสุขพอใจ 
ก็ไม่เห็นเป็นสุขกันสักที  กลับเห็นมีแต่โลภะจะเอาอีก  เอาอีก  และเอาอีก 
ก็เลยมีแต่โง่หนัก  จมปลักดัดดานยิ่งขึ้น

ลองทำงานด้วยความรุ้สึกที่ว่างลง  จะเห็นว่าต่างกับที่ทำงานด้วยความอยาก 
ที่ทั้งเหนื่อย  ทั้งหนัก  ทั้งวุ่น  ร้อนเร่าไปหมด  ยิ่งมีการแก่งแย่ง
มีผลประโยชน์รุนแรงเท่าไร  ก็ยิ่งเร่าร้อนจัดจ้านขึ้นเท่านั้น

ทำงานตามหน้าที่ของตน  ไม่หวังบุญคุณกับใครให้ยุ่งยากใจ 
ทำงานเพื่อให้สังคมเจริญตามกำลังความสามารถของตน 
ใครไม่ชอบก็ชั่ง  ใครชังก็เฉย  กลับทำให้ใจนั้นโปร่ง 
เบาและชุ่มเย็น  สุข  สันติ

การไม่หวังอะไร  อาจจะดูเหมือนจะทำให้หัวใจแห้งแล้งแต่พอลองทำได้ 
สัมผัสได้เข้าจริงๆ  ก็จะกลับรู้สึกสงบ  เย็นเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง           

ถ้ามัวแต่ยินดีในคำสอพลอ  อยากได้แต่คำสรรเสริญชื่นชม 
แล้วจะได้อะไร  รู้ตัวไหมว่า  ตัวเองกำลังโง่มากขึ้น  โง่อย่างไร้เทียมทาน!

 ขอบพระคุณ คุณนริศรา

 
 
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ พฤศจิกายน 04, 2010, 10:01:47 pm
 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก^^
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 07:38:06 pm
ไม่ง่ายเหมือนปากพูด (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

การรู้โดยการฟัง  การอ่าน  เป็นเรื่องง่าย 
มรรคมีองค์แปดนั้นใครๆ  ก็ท่องได้
แต่พอไปสอบผลทางจิตใจ 
มันไม่ใช่เรื่องของการไปนั่งท่อง 
ไม่ใช่เป็นผลของการไปบอกกันแต่ปากว่า

ไม่รู้  ไม่เห็น  ไม่ชัดแจ้งในปัญญา 
ก็ปล่อยวางไม่ได้  คงได้แต่ยึดถือเข้ามา 
เพราะมันถนัดมาแต่อย่างนั้น 
ทำได้โดยไม่ต้องสอน

สิ่งที่นอนเนื่องกันมายาวนานในสันดานนั้น 
ต้องรู้จักกับมันให้ดีโดยแยบคายก่อน 
คือต้องรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)

เมื่อมีความแยบคายแล้วมันจะค่อยๆ  ตัดได้ 
ปล่อยได้ไปทีละเล็กทีละน้อย 
ไม่ใช่รู้แล้วจะสามารถไปปล่อยวางได้ทั้งหมดเลยทีเดียว

มันไม่ใช่ของง่ายเหมือนปากพูด 
ต้องอบรมให้มาก  คิดพิจารณาให้มากให้ยิ่ง 
ให้แยบคายอยู่เสมอ  ถึงจะเห็นผล 
และก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา  แต่ก็ได้ผลคุ้มค่า

ขอให้มองในทางที่ว่างจากตัวตนให้ได้ทุกๆ  ขณะเถิด

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 07:40:37 pm
น่าคิด (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

ที่จะเอาอะไรตามใจของตัวเอง

ใจมันพาเราไปตกหล่มจมปลักกันอยู่หรือเปล่า?

เห็นแก่ตัวของตัวอยู่ฝ่ายเดียว

ไม่นึกถึงเพื่อนร่วมทุกข์เกิด  แก่  เจ็บ ตาย

คิดเอาแต่ได้ประโยชน์ส่วนตน

ใครเป็นอย่างไรไม่ว่า  ข้าเอาของข้าไว้ก่อน

จะเสียหายแก่ส่วนรวม  ไม่นึกถึง

ตกลงนั่นก็คือ  ความเห็นแก่ตัวจัดนั่นเอง

จะคิดถึงประโยชน์ส่วนกลางสักหน่อยจะได้ไหม

จะกอดสมบัติ  อัตกรรมทำเวรใส่ตน

ขนบาปใส่ใจไปใช้ในชาติหน้ากันหรืออย่างไร?

โง่แกมหยิ่งนี้รุ้สึกตัวยากแท้

มันก็ล้วนแต่โง่เง่าหาเรื่องเผาตัวเอง

จะเอา  จะเป็นทั้งนั้น

งมงายไปจนหมดอายุ

ยิ่งแก่  ยิ่งหลง  อยากได้หนักขึ้น  กิเลสหนาหนักเข้า

วันเวลาของชีวิตเหลือน้อยเข้าไป

วันเวลาแห่งความตายใกล้เข้ามา

น่าสังเวชเหลือเกิน  สุขที่เคยคิดอยากได้เก็บไว้นั้น 

มันกำลังจะกลับกลายเป็นทุกข์ไปทั้งสิ้น

ขอบพระคุณ คุณนริศ
รา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 07:43:11 pm
ทางแก้ คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง

                พึงเข้าใจว่า  ตัวเรานี่เองที่เป็นต้นเหตุ
ก่อทุกข์อะไรต่างๆ  เข้ามาสุมเผาใจตัวเอง
ห้เศร้าหมองอยู่ตลอดวันเวลา  แต่กลับไม่รู้ตัวกัน 
มองไม่ออกว่า  ตัวเรานี่แหละเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ของเรา

                ก็ทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นติดในตัวเรา 
วางไม่ลง  ปลงไม่ตก  หวงแหน  ปกป้องตัวเราสุดชีวิต 
และดูเหมือนว่าการยึดเข้ามาจะง่ายกว่าที่จะปล่อยออกไปเสียอีก

                ยึดติดตัวเรา  จึงกอบโกยเพื่อตัวเรา 
กอบโกยกิเลสเก็บไว้แล้วกิเลสมันก็ทับถมตัวเรา                         
บางวันกิเลสก็กลายเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาเผาตน 
และก็เป็นปรกติที่ยังมีการเที่ยวระบายพิษ 
ไปเผาไหม้คนอื่นด้วยเผื่อแผ่กันไป 
กลัวว่าคนอื่นเขายังทุกข์ร้อนอยู่ไม่พอ 
ไม่เคยหลาบจำ  ทำจนชิน  ก่อกรรม  ก่อเวรภัย

                คิดเอาแต่ได้  ว่าถูก  ว่าดี  ก็ไอ้ตัวถูก 
ตัวดีของเรานี่แหละที่มันเป็นตัวหลอกที่สำคัญ 
หลอกว่าตัวเองเก่ง  ว่าดี  หลอกให้ทะนงตัว 
ที่แท้ก็คือ  โง่เขลาบริสุทธิ์  งมงายทุกข์หนัก 
ดักดาน  หวังสิ่งไม่ควรหวัง  หวงสิ่งไม่ควรหวง

                 เชื่อไหมว่า  ถ้าวางตัวให้ว่างจากตัวเราแล้ว 
ทุกข์จะห่างหายจากไปเอง  แล้วความสุขที่ไม่เคยได้พบ 
ก็จะมาปรากฏให้เห็น  ให้รู้จัก

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 07:50:03 pm
อย่านึกว่าจะพูดอะไรก็ได้

                วจีกรรม  คำพูดบริสุทธิ์พร้อมดีหรือยัง 
ไม่พูดเท็จ  ไม่ส่อเสียด  ไม่กล่าวคำหยาบ 
ไม่เพ้อเจ้อโปรยประโยชน์  เราเข้าใจกันไหม  คำโปรยประโยชน์?

                การพูดความจริง  บางครั้งก็ไม่สมควรพูด 
เช่น  เมื่อเราได้ยิน  คนนั้นนินทาคนโน้น 
แล้วเรานำเรื่องนั้นไปเล่าให้คนโน้นฟัง

                การพูดความจริงเช่นนี้  เป็นการส่อเสียด 
จะกลายเป็นทุศีลโดยตัวเองไม่กลัว

                ฉลาดแต่คิดไปภายนอก  ถนัดแต่จำเอามาคิด 
แต่ไม่เคยพิจารณาให้รู้เห็นเลย

                เชื่อตามกิเลสเรื่อยไป  ใช้แต่สติปัญญาของกิเลส 
มีแต่การส่งเสริมการเอามาเพื่อตัวกู

                ทำผิดคำสอนพระพุทธเจ้าแล้ว 
การกระทำนั้นจะพร้อมบริบูรณ์ไปได้อย่างไร?

                การกระทำทุกสิ่งต้องใคร่ครวญ  โดยแยบคาย 
คำประชดประชัน  ถือเป็นคำหยาบ  เช่น  การประชดว่าแม่มหาจำเริญ 
แต่ใจมันโกรธจึงได้ประชดว่าอย่างนั้น 
อย่างนี้ถือว่าเป็นวาจาหยาบอย่านึกว่าจะพุดอะไรก็ได้

..................................


ต้องทุศีลต่อไป

                ทำอะไรชอบแอบๆ  ปิดๆ  บังๆ  กลัวใครเขาจะรู้ 
อย่านึกว่าไม่มีใครเห็นแล้วไม่เป็นไร  นั่นแหละจะมีเวรภัย 
และก็ทุกข์อยุ่ในตัว        ชอบทำตัวเหมือนหนามแหลม 
ต้องทิ่มแทงคนอื่นให้เจ็บปวด  ไม่ชอบตรวจตัวเอง

                เอาแต่จะสนใจภายนอกว่า  ที่โน่นมีอย่างนั้น 
ที่นั่นมีอย่างงี้  มีแต่สติปัญญาที่จะจ้องเอาอะไรต่ออะไร
เข้ามาเป็นของตน  มีแต่ปัญญาของกิเลส 
ส่วนปัญญาที่จะใช้ดับทุกข์ได้นั้นไม่มี

                แทนที่ยิ่งอยุ่นาน  จะมีความรุ้ตัวให้ดีขึ้น 
มีการสลัดอะไรทิ้งไป  ไม่ทำ  รุ้งแววทางธรรมแม้แต่ขั้นหยาบๆ 
จะปรารภกันให้เห็น  ให้ได้ยินนั้นแสนยาก

                สติปัญญาดับทุกข์เงียบกริบ  ดับอะไรได้นิดได้หน่อย
ก็ทำเป็นอวดดี  ก็เห็นมีแต่อวดดีอยู่ในวงล้อมกิเลส 
ชอบปฏิบัติด้วยความประมาท  แล้วจะเอาตัวรอดได้อย่างไร

                ต้องรู้ว่าสิ่งที่ยังต้องรู้นั้นยังมีอีกมาก  เรื่องอย่างนี้คนเห็นแก่ได้ 
มักง่ายอยู่ก็ต้องทุศีลต่อไป


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 07, 2010, 09:03:58 am
กำไรสูง (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

เราจะต้องคอยดัดสันดานตนเองสารพัด 
ต้องหัดทำใจได้มีสติอยู่เสมอ  ที่เรียกว่า  มีสติสังวร
ต้องมีกติกากับตนเอง  และก็จะต้องเคร่งครัด

ถ้าใครยังมัวเล่นๆ  อยู่  ก็ให้รู้ว่าจะเสียเวลา 
มาสร้างกรรมกันเล่นอยู่เปล่าๆ 
และบางครั้งก็อาจจะทำให้คนอื่นเขาต้องมาพลอยเดือดร้อน 
เพราะการกระทำของเราด้วย

วันคืนก็ล่วงไป  ล่วงไป  มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่ 
ถ้าเพื่อกินๆ  นอนๆ  และคอยกอบโกยเอาอะไรต่างๆ  อยู่ 
จิตใจก็จะวุ่นวาย  ล้วนแต่เป็นทุกข์อยู่ในตัวทั้งนั้น

จะคอยแก้เฉพาะแต่ปัญหาจากข้างนอก  เป็นไม่สำเร็จแน่ 
จะต้องแก้ปัญหาจากภายใน  ต้องหมั่นพิจารณา 
ต้องหมั่นสำนึกตัวให้มากว่า  มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่ 
เพื่อจะหัดปฏิบัติขัดเกลาหรือเพื่อจะเพิ่มทุกข์ 
เพิ่มโทษให้แก่ตัวเอง  หมั่นสำนึก 
ก็จะสามารถระงับดับสันดานดิบลงได้

ทำงานตามฐานะ  ทำงานตามหน้าที่ 
ทำงานเพื่อประโยชน์เกื้อกุลแก่ผู้ร่วมทุกข์ทั้งหลาย 
ผลที่ได้รับจะกำไรสูงมากเหลือ  เพราะเราไม่คิดจะเอา

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 08, 2010, 04:54:22 am
ก. เขาสวนหลวง ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๗
หมายเหตุ สรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมนี้ ท่าน ก. เขาสวนหลวง
ได้เรียบเรียงเขียนขึ้นด้วยตนเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗
เพื่อพิมพ์ในหนังสืออ่านใจตนเอง ท่าน ก. ได้สังเกตพิจารณา
ศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ตามแนวนี้มาด้วยตนเอง และเป็นแนวทางที่ท่านได้ย้ำอธิบาย
แก่ผู้ปฏิบัติธรรม ณ เขาสวนหลวงเสมอมา

ผู้ปฏิบัติควรศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไป ดังนี้
การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาล
ทุกขณะได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า ก็คือ ศึกษาในห้องเรียน
กล่าวคือในร่างกายยาววา หนาคืบ มีสัญญาใจครอง
ในร่างกายนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

ขั้นของการศึกษา
ก.เบื้องต้นให้รู้ว่า กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
ส่วนใหญ่ได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ
ส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
เป็นต้นว่า สี กลิ่นลักษณะ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เต็มไปด้วยของปฏิกูล พิจารณาให้ลึกจะเห็นว่าไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร
มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ ไม่มีภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเรา ของเรา”
เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจนก็จะคลายความกอดรัด
ยึดถือในกายว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขาเป็นนั่น เป็นนี่เสียได้
ข.ขั้นที่สองในส่วนของนามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณกำหนดให้รู้ตามความเป็นจริง ล้วนเป็นเอง
ในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปคือ เกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา
พิจารณาเห็นจริงแล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรมว่าเป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

ค.การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟัง การอ่านเท่านั้น
ต้องการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

๑. ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
(จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมอง วุ่นวายอย่างไร)
ด้วยความมีสติสัมปชัญญะกำกับ รู้กาย รู้จิตใจ อบรมจิตทรงตัวเป็นปรกติ

๒. เมื่อจิตทรงตัวเป็นปรกติได้ จะเห็นสังขาร หรืออารมณ์ทั้งหลายเกิดดับ
เป็นธรรมดาจิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

๓. ความรู้ว่าไม่มีตัวตนแจ่มชัดเมื่อใด จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายในเป็นสิ่งที่พ้นทุกข์
ไม่มีการหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ ไม่มีความเกิดความตาย
สิ่งที่มีความเกิดย่อมมีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา

๔. เมื่อเป็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะวาง ไม่เกี่ยวเกาะอะไร
แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร คือ ไม่ยึดถือตัวเอง
ว่าเป็นอะไรทั้งหมด จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

๕. เมื่อบุคคลมองเห็นสภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ย่อมเบื่อหน่ายในการทนทุกข์ ซ้ำๆ ซากๆ เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลก
และฝ่ายธรรมตลอดแล้วจะเห็นผลประจักษ์ว่า สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้น
มีอยู่อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเชื่อตามใครไม่ต้อง ถามใครอีก
เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตัง คือ รู้เฉพาะตนจริงๆ
ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ

รวบรวมข้อปฏิบัติ คำสอน (ท่าน ก. เขาสวนหลวง)
การเกิดมานี้มิใช่เพื่ออะไรอื่น เพื่อจะมีการศึกษาให้รู้เรื่องทุกข์เรื่องเหตุ
ที่ทำให้เกิดทุกข์ และทางดำเนินไปสู่ความดับสนิทแห่งทุกข์
ให้มีความละอาย และมีความกลัวต่อทุกข์โทษนานัปประการ
ให้ค้นหาความจริง จนแน่ใจในตนเองให้ได้ ไม่ต้องไปเชื่อตามใคร
ถ้ามีหลักของพิจารณาตนเองพอสมควร ก็จะรู้เรื่องของกาย ของใจ
ที่มันเป็นกลุ่มของธรรมชาติ ที่มีความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ไม่ใช่ตัวตนถ้ารู้อยู่ในลักษณะอย่างนี้ก็ดับทุกข์ ดับกิเลสได้เรื่อยไป
และจะต้องตรวจกันให้ละเอียด ตรวจให้ลึก จึงจะทำลายโรคกิเลสได้

ขั้นแรก ต้องฝึกฝนอบรมให้จิตสงบ โดยมีกรรมฐานเป็นเรือนที่อยู่ของจิต
และก็ควบคุมอายตนะ ผัสสะให้อยู่ในอำนาจของสติ
แล้วก็คอยเฝ้ามองแต่จิตใจของตนเองทุกอิริยาบถ
อะไรจะเกิดขึ้นมาก็เห็นมันไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป จิตก็เป็นปรกติ
ก็รู้อยู่อย่างนั้น แล้วก็พิจารณาประกอบทุกอิริยาบถ
ฉะนั้นความรู้ที่เป็นการอ่าน การฟัง มันก็เท่ากับเป็นแผนที่อยู่แล้ว
แต่ตัวจริงนี้มันต้องมากำหนด ต้องมารู้ ต้องมาพิจารณา
มันจึงจะปล่อยวางได้เรื่องจริงมีอยู่อย่างนี้ มันจึงจะปล่อยวางได้
ดังนั้นจึงต้องใช้ปัญญาของตนเองเป็นเครื่องมือสำคัญ
การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกอิริยาบถ กำลังพูด กำลังฟังอยู่เดี๋ยวนี้
ให้รู้แจ้งด้วยใจจริงในลักษณะของความว่าง คือ ฟังให้เข้าใจ
และให้ความรู้สึกอย่างนี้เข้ามาอยู่ในใจด้วย แล้วก็ให้รู้ว่าเสียง
เป็นเพียงสื่อให้เข้าไปรู้ใจเป็นสื่อให้ใจรู้จริง แล้วก็เป็นสื่อให้ใจรู้แจ้ง
แม้จะมีข้อปฏิบัติมากมาย แต่ความสำคัญอยู่ตรงที่หยุด จะต้องย้ำอยู่อย่างนี้
ให้หยุดดูทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วดับหมด พิจารณาเรื่องนี้เรื่องเดียว
แล้วจะแก้ปัญหาในข้อปฏิบัติได้มากมาย
ขอให้รู้อยู่ตรงจิต ตรงใจทุกขณะไปให้ได้ การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นการทำได้ง่ายๆ
จิตก็สงบ มันสงบจากการทำชั่ว ศีลก็บริสุทธิ์อยู่ในตัว
หยุดดู หยุดรู้ หยุดปล่อย หยุดวาง ดับหมด แล้วให้ทรงภาวะของจิตที่มีความรู้
ความรู้ในลักษณะที่ว่างอยู่ในตนเองไว้
ถ้าว่างอย่างนี้ได้ติดต่อ นิพพานก็ปรากฏอยู่ที่จิต เป็นการดับสนิทของทุกข์ได้ทุกขณะ
ดับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ขณะไหน ก็เป็นนิพพานขณะนั้น
เป็นนิพพานทีละเล็กละน้อยไปก่อน จนกว่าเป็นนิพพานจริงคือ
โลภ โกรธ หลง หรือกิเลส ตัณหาสลายตัวหมดสิ้นเหมือนกับตาลยอดด้วนไม่มีงอกเลย
ในขณะที่ตาเห็นรูป จิตนี้ก็ยังเป็นปรกติอยู่ ในขณะที่ฟังเสียง จิตก็ยังเป็นปรกติอยู่
ตลอดจนการได้กลิ่น ลิ้นรู้รส หรือ การสัมผัสผิวกายอะไรขึ้นมานี้
จิตก็มีการดำรงสติอยู่ เป็นอันว่ารู้อยู่โดยเฉพาะตัวจิต ไม่มีการแส่ส่ายไปตามผัสสะ
ความรู้สึกรับสัมผัสอะไรทางทวารนี้ ขอ ให้มองเห็นเป็นธรรมชาติไว้
คือว่าไม่ให้ไปหมายว่ามันดี มันชั่ว หรือมันสุข มันทุกข์อะไรทั้งหมด
ปล่อยวางให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้วจิตนี้จะอยู่ในภาวะที่อยู่ในความสงบได้
มันไม่มีเรื่องที่จะคิดนึก ปรุงแต่ง แส่ส่ายไป มันก็สงบตามธรรมชาติของมันได้
การอบรมข้อปฏิบัติในด้านจิตใจนี้เป็นของละเอียด และเป็นของสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นเราจะต้องสำรวมแล้ว สำรวมอีก ระวังอยู่รอบด้านทีเดียว
เพราะว่ากิเลสเกิดง่ายๆ ถ้าไม่สำรวม ไม่ระวังรักษาตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจไว้
กิเลสสำคัญนัก จะมาเผาให้จิตใจเร่าร้อน เศร้าหมอง

ที่มาhttp://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1145.php
ขอบพระคุณที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35349
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 10, 2010, 08:07:02 pm
สัจจะ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การมีสัจจะเป็นเครื่องบังคับตัวเอง  เป็นความดี 
เป็นความเหมาะสม  เพราะถ้าไม่มีเครื่องบังคับ  กิเลสตัณหา
มันพาโลเล  เลื่อนลอย  พบอะไรมันก็จะเอา  จะหยิบจะฉวยรวบรัด
เอาเฉพาะหน้า  แบบเห็นแก่ได้

                สัจจะจะช่วยป้องกันความเหลวไหนได้รอบตัว 
คุ้มครองให้ศีลบริสุทธิ์  ผุดผ่องขึ้น  ข้อปฏิบัติอื่นๆ 
ก็เจริญงอกงามตามไป  ทำให้ศีล  สมาธิ  ปัญญา 
ก็คล้อยตามกันไป  เกิดเป็นมรรคเป็นผลเต็มที่

                การมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว  จะเป็นกำลังผลักดัน
ให้ก้าวหน้า  ถ้าไม่มีอย่างนี้มันจะโลเลถอยหลัง 
จะไปเป็นทาสของกิเลสตัณหา

                พอจะมีสัจจะเด็ดขาดขึ้น  อารมณ์โลเลพวกนี้
มันก็ดับหายไปหมด  ไม่มาสอพลออีก  ถ้าไปทำเล่นๆ 
อารมณ์พวกนี้มันหาโอกาสมาแหย่  จะให้เลี่ยงวินัย 
ข้อบังคับ ทีละน้อย

                คนที่ตั้งสัจจะนับว่าเป็นคนเด็ดขาดไม่เหลวไหล 
ถ้าใครยังพูดให้กำลังกิเลสอยู่  คนนั้นเป็นคนเหลาะแหละโลเล
ระวังจะเอาตัวไม่รอด

                จะต้องรู้ว่า  กิเลสตัณหามันก็กลัวการมีสัจจะอยู่เหมือนกัน



............





ผลประโยชน์มากสุด

                คนมีความอดทน  เมื่อกระทบกระทั่งอะไรแล้วก็นิ่งได้ 
สงบได้  พิจารณาปล่อยวางไปได้  ไม่เที่ยวเอะอะโวยวาย
ไปกระทบกระเทือนคนอื่นเขาง่ายๆ  ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนแล้ว 
เป็นอันไม่ถูก  ไม่ชอบทั้งนั้น

                ควรหัดสำรวมระวัง  สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ก็ให้รู้จักฝึกเลี่ยงหลีกปลีกตัวให้ได้  ศีลจึงจะบริสุทธิ์ 
ผุ้ปฏิบัติจะต้องมีความรุ้สึกอย่างนี้ไว้เป็นประจำ

                อย่างมุ่งแต่แก่งแย่งผลประโยชน์ 
อย่าไปเชื่อกิเลสเชื่อมามากแล้ว  ร้อนรน 
ทนทุกข์มามากน้อยเท่าไรแล้ว?

                ค่อยๆ  ลองคิดทบทวนดู  ผลประโยชน์ที่ได้มานั้น
มันเป็นผลประโยชน์ของกิเลส  หรือประโยชน์ของเรา 
เหนื่อยร้อนอ่อนใจขนาดนั้น  เคยคิด  เคยรู้สึกตัวไหม? 
ผลน่าพึงพอใจคุ้มทุนดีหรือ?

          ควรหมั่นตรวจสอบดู  อย่าทำเฉยเมย
มัวประมาทอยุ่เลยหัดตัวเองให้รุ้จักอดทนยิ่งๆ  ขึ้น 
อดทนต่อแรงยั่วยุของกิเลสแล้ว
จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด  คือ 
จะสามารถดับทุกข์ดับกิเลสได้เป็นลำดับ  มีสันติอย่างนิรันดร

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
 
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ พฤศจิกายน 10, 2010, 11:32:08 pm
 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก ขอบคุณมากมายครับผม^^
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 11, 2010, 08:09:16 pm
อันตรายของชีวิต (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

            วันเวลาของชีวิตมันนับแต่จะหมดไป  สิ้นไปอยู่ในตัว

                อันตรายของชีวิตมีการเปรียบว่า  เหมือนประทีปที่จุดไว้ในที่แจ้ง 
พายุจะพัดดับเมื่อไรก็ไม่รู้           จะต้องพยายามให้ได้ที่พึ่งของตัวเอง 
ก่อนที่  ความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  จะมาถึง

                การปฏิวัติเพื่อสร้างที่พึ่งก็ไม่มีเรื่องอื่น 
มีแต่เรื่องการพิจารณาควบคุมจิตใจ  การพิจารณาให้ปลงตก 
ไม่ยึดมั่นจนสามารถปล่อยวางได้ในที่สุด

                เมื่อรู้ด้วยสติปัญญาออกมาจริงๆ  แล้ว 
มันก็จะปล่อยวางอะไรต่ออะไรออกไปได้เอง 
ทำให้จิตใจเกิดการสงบยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น

                กิเลสตัณหาอุปทานแม้มีมากมาย  มันก็ไม่ได้ไปเกิดที่ไหน 
ล้วนแต่มาเกิดกลุ้มรุมสุมเผาอยู่ที่จิตเท่านั้น

                ถึงแม้ว่ามันจะอาศัยการสัมผัส  และเครื่องอวัยวะที่รับสัมผัสต่างๆ 
เป็นที่เกิด  แต่ในที่สุดแล้วมันก็กลุ้มรุมล้อมเข้ามาที่จิต

                จึงต้องระวังรักษาจิตให้มากเป็นพิเศษ 
ควบคุมจิตไว้ได้อย่างเดียว  ศีลกี่ข้อๆ  ก็จะบริสุทธิ์ขึ้นมาได้

                การที่จะรู้จักใช้  กาย  วาจา  ใจ  ให้เป็นไปด้วยสติปัญญา
จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกหัดอบรม  ต้องฝึกให้เป็นความเคยชิน

                เท่ากับรู้จักสร้างที่พึ่งของตนเอง  ถึงตอนนั้นแม้ลมพายุจะมา 
วันเวลาของชีวิตจะหมด  เราก็ไม่เสียใจ


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 14, 2010, 04:52:42 pm
คำสอน (ท่านก.เขาสวนหลวง)

                พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปนานมากแล้ว 
แต่คำสอนของพระองค์ยังคงอยู่  ก็อย่างที่พวกเรา
ได้นำมาปฏิบัติดับกิเลสกันอยู่นี้เป็นตัวอย่าง 
ถ้าคำสอนของพระองค์ไม่มีเหตุผล 
ก็คงต้องสูญหายไปนานแล้ว

                นี่เป็นแก่นธรรมแท้  จึงปรากฏคงอยุ่ได้จนปัจจุบัน 
และทำให้เราสามารถนำคำสอนนั้นมาปฏิบัติ  ดับทุกข์ 
ดับกิเลสกันได้จริงตามสติกำลัง

                เราจะต้องพยายามดับความหลงของตนเอง 
เกิดมาจะได้ไม่เสียเที่ยวเสียชาติ

                เมื่ออบรมปฏิบัติพิจารณาเรื่อยไป 
การบรรลุธรรมแต่ละกระแส  จะรวมกำลังกันเข้าทีละน้อย 
ทุกครั้งที่เราเอาชนะได้

                เมื่อมันรวมกำลังมากเข้า 
บางที่อาจจะไปถึงจุดสิ้นสุด เรียกว่าการบรรลุธรรมสูงสุด 
หมดอาสวะกิเลส  (สิ่งหมักหมมต่างๆ  ในใจ)  ไปก็ได้ 
เป็นของไม่แน่  เพราะเป็นปัจจัตตัง (รู้เฉพาะตน) 
ไม่มีใครรุ้ของใครได้

                เมื่ออบรมจิต  ปฏิบัติใจไปอย่างนี้ 
จิตย่อมจะค่อยมีความสะอาด  สว่าง  สงบเพิ่มขึ้นเรื่อยไป 
พอมันรวมจุดขึ้นมา  มันตัดอะไรได้เด็ดขาด 
อาจจะว่า  สำเร็จบรรลุนิพพานได้ ก็ไม่มีใครรุ้ล่วงหน้า

                เป็นอย่างนี้  จะไม่น่าปฏิบัติได้อย่างไร 
ใครจะมาปฏิบัติแทนก็ไม่ได้  ต้องทำเอง 
กิเลสในหัวใจใคร  ก็ต้องดับเอาเองเพราะต่างคนต่างใจ

 
ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 15, 2010, 08:03:28 pm
ของเฉพาะตัว (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การปฏิบัตินั้นเป็นของเฉพาะตัวแต่ละคนเท่านั้นก็จริง 
แต่ก็จำเป็นที่จะต้องบอกแนะแนวกันบ้างตามสมควร 
เพื่อจะได้เกิดไหวพริบ  หรือแยบคายอะไรขึ้นมา 
ในการที่จะเข้าไปรู้อะไรข้างในตัว

                เมื่อมีการปฏิบัติที่พิจารณาเฝ้ามองเข้าไปด้านในตัวเองแล้ว 
ปัญญาภายในจะได้ทำลายความมืดมิดปิดบังที่มีอยู่ 
ให้เห็นข้อเท็จด้วยตัวสติปัญญาแท้ของตัว

                การมองเห็นความจริง  คือ  เกิดดวงตาเห็นธรรม 
เห็นความจริงชัดใจ  อาจจะเกิดความสลดสังเวชขึ้นก็ได้ 
หรือบางที  อาจเกิดปีติเลื่อมใสยิ่งขึ้นก็ได้  มีสองลักษณะ

                ถ้าไม่หมั่นพิจารณาเข้าด้านในแล้ว 
จิตก็จะแส่ส่ายไปตามอารมณ์เลื่อนลอย 
การมองเข้าด้านในให้มากเป็นพิเศษ 
ก็เพื่อให้รู้จริง  รุ้แจ้ง  ไม่มีการยึดถือตัวตนได้ยิ่งขึ้นเรื่อยไป

                ตัวตนนั้นไม่ใช่มันจะหมดไปได้ง่ายๆ 
มันอาจจะผอมลง แต่พิษสงมันก็ยังมีมากมายคล้ายงูพิษ
มันจะอยู่ในรู  หรือ  อยู่ในซุ้มผอมโซก็แล้วแต่
ถ้าเราไม่พบและไม่คุ้ยเขี่ยมัน  มันก็ไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรออกมา
ถ้าเราไปคุ้ยเขี่ย  หรือว่าลองไปแหย่มันดู 
ธรรมดางูพิษเมื่อถูกแหย่  ก็ต้องชูหัวออกมา

                ถึงตอนนั้น  เราก็จะรู้ถึงที่ซ่อนของมัน 
เราต้องคอยจัดการกับมันให้ดี  ด้วยความระมัดระวัง 
ไม่ประมาท  ไม่ต้องไปกลัวมัน  เราก็จะจัดการกับมันได้ 
งูตัวนี้เราต้องคอยดักตีให้ตายด้วยตัวปัญญาของเราเอง


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 16, 2010, 08:10:33 pm
ต้องตามเห็น (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                เรื่องของกิเลสภายในจิตใจ  มันมากมายก่ายกอง 
ชนิดที่เราก็ไม่ค่อยจะรู้จักมัน

                แล้วเราก็อยู่อย่างชนิดที่ไม่ค่อยจะมีการพินิจพิจารณามันให้รุ้ 
โดยแยบคาย  ดังนั้นมันก็ยิ่งสางไม่ออก  ปลงไม่ตก  ปล่อยไม่ได้

ถึงจะปล่อยได้บ้าง  ก็ปล่อยได้แต่ที่ไม่สลักสำคัญอะไร
ที่จะเข้าหาตัวการคือตัวกูนี่  เป็นของยาก

                เพราะเราคอยแต่จะเลี่ยงมันไว้เสียเรื่อย
 “มันหวงของมันนัก  มันรักของมันอยู่”  เพราะฉะนั้นการพิจารณาอะไร 
ให้เห็นความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตัวตนของเบญจขันธ์
คือกายกับใจนี้ล้วนๆ  จึงไม่ค่อยมีการแจ่มแจ้งอะไรขึ้นนัก

                ต้องตามพิจารณา  ความเป็นอนิจจัง 
คือความไม่เที่ยงของตัวเราอยู่อย่างเดียว 
เดี๋ยวเราก็มองทะลุตัวของเราได้  (ที่ว่า “เดี๋ยว” 
นั้นจะช้าหรือเร็วอย่างไรขึ้นกับแต่ละคน) แล้วจากความไม่เที่ยงนั้น 
ก็จะพิจารณาเห็นถึงความเป็นทุกข์ไปด้วยในตัว 
และก็กลายเป็นเรื่องของความว่างจากตัวตนในเวลาเดียวกันด้วย 
ให้พิจารณาอย่างนั้น  ไม่ต้องดูอื่น  มองให้เห็นความว่างจากตัวตน 
ปรากฏอย่างแจ่มแจ้งอยู่ภายใน  เท่านี้ก็พอ

                ต่อไปถ้ามันจะปรุงอะไรขึ้นมาเป็นสัญญา  ติดใจบ้าง 
มันก็แต่เกิดดับๆ  ไม่ก่อรูปก่อเรื่องปรุงจิตให้เร่าร้อน 
ให้เศร้าหมองไปเหมือนเดิมที่เคยเป็น

                หลักความรู้อย่างนี้  ต้องหมั่นพิจารณาอยู่เสมอ

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 17, 2010, 06:03:03 pm
อยู่ในร่องรอย (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ถ้าไม่ได้อบรมปฏิบัติ  ไม่ได้ควบคุมจิตใจของเราเองแล้ว
มิใยที่ใจของเราจะถูกกิเลสเผาเท่าไรก็ไม่รู้สึกตัว  ไม่รุ้ร้อน 
ไม่รู้ว่านรกอยู่ในตัว  ขุ่นมัวไปด้วยอำนาจของ  โลภ  โกรธ  หลงที่เป็นไปทั้งนั้น

                ต้องสังวรระวัง  ต้องคุ้มครอง  หู  ตา  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
ที่เป็นบ่อเกิดของอารมณ์   ไม่ปล่อยโล่งๆ  มิฉะนั้นมันจะถูกฉุดไปรอบด้าน 
มันจะเหนื่อยและร้อนเร่าเศร้าหมองไปตามผัสสะตามสัมผัสที่มากระทบ

                บางคนชอบพูดตลอดคะนองเป็นนิสัย  เห็นว่าใครๆ  หัวเราะชอบใจ
ก็นึกว่าตัวดี  ที่แท้ตัวทำทุศีลไปไม่รู้สึก  ไม่สมควรกล่าวก็ต้องเงียบ

                เรื่องที่จะพูดคำที่มีประโยชน์  ก็ต้องพูดเท่าที่สมควรเห็นทุกข์ 
เห็นโทษของการแสดงออกทางกาย  ทางวาจา

                อะไรที่ไม่งดงาม  หรือผิดพลาด  พลั้งเผลอ  รู้ตัวแล้ว
ก็ต้องระมัดระวังต่อไป  ไม่ใช่ทำผิดแล้วๆ  กัน  ศีลนั้นบริสุทธิ์ได้
ด้วยความละอายและความกลัวบาป

                ถ้าคนไหนมีความรู้สึกตัวได้  นั่นแหละจึงจะเป็นการเหยียบย่าง
ตามอยู่ในร่องรอยของพระอริยเจ้าได้

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 18, 2010, 07:07:03 pm
ตรวจย้อน (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ขอให้ผู้ปฏิบัติมีการพิจารณา  ตรวจย้อนกลับ
จับความเป็นมายาในตัว  ของตัว  ถ้าไม่มีการรู้แยบคาย
ในเรื่องความรุ้ของตัวที่มีอยู่  การปฏิบัติจะกลายเป็นการคลำ 
เหมือนหาอะไรอยู่ในความมืด  แล้วก็ยึดอะไรต่ออะไรหลอกๆไปทั้งนั้น

                ไม่ว่าจะยึดดีชั่วตัวตนอะไร ก็กำลังถูกหลอกอยุ่ตลอดเวลาไป 
แล้วก็ซ้ำซากอยู่อย่างนี้  ต้องกลับเข้าไปดูมันให้รู้เรื่องความรู้ผิดเห็นผิด 
มันปิดบังซ่อนหมกหลบอยู่ในตัวของตัวเอง

                พยายามใหม่ เบิกลูกตามองเข้าไปข้างในใหม่ 
เป็นการอ่านตัวเอง  ว่ามันโง่ดักดานมาเท่าไรแล้ว  ลืมตาดูเสียทีเถอะ 
จะได้เห็นอะไรต่ออะไรที่เป็นความจริงเสียก่อนตาย

                เพราะว่าชีวิตไม่แน่นอน  จะหมดลมหายใจเมื่อไรก็ได้

                แต่ว่าต้องลืมตาดูให้ทั่วก่อน  ก่อนจะทิ้งจากกันไปหมด 
ไม่ใช่มาเอาดีเอาเด่น  เอาผิดเอาถูก  อวดเก่งอะไรกัน 
มันเน่าหมดไม่เหลือ

                ขอให้ผู้ปฏิบัติย้อนกลับมาจับดูต้นขั้วตัวตน 
ต้นเหตุของความปรุงคิด  เพ่งตรงไปที่จิต 
ให้ได้ความรู้แยบคายให้ได้ทุกๆ ขณะเถิด

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 19, 2010, 07:58:03 pm
ทำไปแล้วดีเอง (คำสอนของท่านก.เขาสวนหลวง)

                การพิจารณาตัวเองอยู่เป็นประจำ 
จะเห็นความไม่เที่ยงความเสื่อมสิ้นไปของกาย

                กายประกอบไปด้วยสิ่งปฏิกูล  เน่าอยู่ข้างในทั้งนั้น 
มันเกรอะกรังออกมาเป็นขี้หู  ขี้ตา  และขี้ต่างๆ  ต้องล้างต้องเช็ดกันอยู่

                เมื่อพิจารณาแล้ว  จะเห็นความเป็นธาตุ 
ความเป็นปฏิกูลนี้  และความเป็นศีลก็บริสุทธิ์ก็ผุดอยุ่ตรงนั้น

                ถ้าหมั่นพิจารณากันอยู่  มันทำให้ดับทุกข์โทษอะไรได้หลายๆ  อย่าง

                ทำให้รู้สึกว่า  การที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรขึ้นมา  มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น

                ถ้าเรารู้จักพิจารณาแล้ว  วันเวลาของชีวิต 
ทุกเวลานาทีจะมีแต่ความรู้จริงเห็นแจ้ง  ในความไม่เที่ยง 
เป็นทุกข์  ความว่างจากตัวตน  อยุ่เป็นประจำ

                แล้วมันจะเป็นการโค่นทำลายตัวตน 
ตัวเราของเราที่มันก่อเรื่องวุ่นๆ  วายๆ  อยู่เป็นประจำวัน

                เมื่อเราพยายามทำให้เต็มที่อยุ่ก็ดีแล้ว 
ไม่ต้องไปหมายผลอะไรขึ้นมาหรอก  ตั้งหน้าทำไปก็แล้วกัน 
เพียรเผากิเลสดับทุกข์เป็นประจำวันเรื่อยๆ 
แล้วทุกเวลานาทีของชีวิตก็ย่อมเกิดเป็นผลดีไปเอง

 
ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 20, 2010, 08:56:09 pm
มืดมา  มืดไป (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                วิธีที่จะดับทุกข์  มีพร้อมอยู่แล้ว 
ยังขาดการกระทำจริงอยู่อย่างเดียว

                ไม่มีกำลังของใครจะมาช่วยทำลายกิเลสของเราได้ 
แม้จะมีฤทธิ์เดช  บุญ  วาสนา  บรรดาศักดิ์เท่าไรๆ 
ก็มาทำอะไรกับกิเลสไม่ได้

                จะต้องใช้สติปัญญาของตัวเราเท่านั้น  จึงจะทำลายได้ 
มันจึงน่าสนใจ  น่าใฝ่หาการปฏิบัติจริงๆ  กันเหลือเกิน

                ถ้าไม่ทำแล้วก็เป็นการหมดราคม  ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
ได้พบพระพุทธศาสนา  เรียกว่ามืดมา  มืดไป

                การจะละอะไรจากจิตใจได้  ก็พยายามกันเสียให้เต็มที่
อย่าได้มีการประมาทเพลิดเพลินไปเลย

                ทุกเวลานาทีของชีวิตมันเป็นของไม่เที่ยง 
อย่านึกจะอยู่เอาสบายๆ  กันนัก

                ความสบายมันเป็นของลวงหลอก  ทำให้หลง

                เรื่องติดสุขนี้เป็นเรื่องมายาทำให้แย่

                พยายามทำให้ทันก่อนที่ความเจ็บ  ความตายมันมาปล้นชีวิตไป

                ควรต้องให้รุ้เรื่องเท็จจริงภายในเสียก่อน  ก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป

                อย่าไปผลัดเพี้ยนเลย  ถ้าผลัดเพี้ยนต่อไป 
ก็คงจะมีเพียงแต่คำว่า  “เสียใจ”  หลงเหลืออยู่
ในท่ามกลางความเสียดายของตัวเองเพียงเท่านั้น!

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 22, 2010, 07:05:59 pm
เทวดาในเมืองมนุษย์ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)‏

                ธรรมดาสัตว์ที่ไปเกิดในนรกก็มีแต่ไฟ  มีแต่ทุกข์ 
มันไม่สามารถที่จะพิจารณาให้เห็นทุกข์ได้

                ทั้งๆ ที่อยู่ในกองทุกข์  มันก็ร้องแต่ว่าทุกข์ 
แต่ว่ามันก็ไม่มีสติปัญญาที่จะไปดับทุกข์ได้ 
เพราะว่ามันเต็มปรี่ไปด้วยทุกข์ทั้งนั้น

                ส่วนเหล่าเทวาที่ได้ไปเกิดในชั้นเทพ  ก็มีแต่ความสนุกสนาน 
มีกามคุณเป็นที่เป็นทิพย์  ก็พากันมัวเมาเพลิดเพลินไป 
เลยไม่มีโอกาสที่จะเกิดความเข้าใจไปรู้เรื่องของอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตาได้ 
นอกเสียจากเทวดาพวกที่เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะรู้ได้

                ดูพวกเทวดาในเมืองมนุษย์เป็นตัววอย่างบ้างก็ได้ 
หนุ่มสาวที่กำลังอยู่ในวัยสวยวัยงาม  ปราดเปรียวเพรียวลม 
ถ้าจะไปบอกว่า  ความสวย  ความงามของเขานั้น  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์
และก็ไม่ใช่ตัวตน  พวกเขาก็คงไม่ยอมรู้ประสีประสาด้วยเหมือนกัน

                มนุษย์ธรรมดานี่ยังหลงใหลอยู่ในความสวยงาม 
ก็ล้วนเห่อเหิมเพิ่มเชื้อ  เชื่อมั่นอยู่กับตัวตนกันอยุ่ทั้งนั้น 
นี่ก็หลงกันอยู่เท่าไหร่แล้ว

                ความหลงเช่นนี้มันเป็นธรรมดากันไปหมดสิ้นแล้ว 
มีแต่จะหลงตามๆ  กันหนักเข้า

                แถมยังว่าโลกเจริญ  มันก็เจริญไปด้วยความหลง 
ไม่ใช่เจริญด้วยความรู้ชัด  ที่จะมองเห็นความเสื่อมสิ้น 
ไม่ค่อยมีใครจะรู้ได้

                จะพากันมองไปทางวัตถุด้วยกันทั้งนั้น 
หรือไม่ก็เป็นทางกามคุณทั้งหมด  หลงใหล  ใฝ่ฝัน 
มัวเมากันไปแต่ภายนอกตัวของตัวก็ไม่เคยจะเหลียวมามอง

                ไม่มีกำลังพอจะเข้าใจว่ารูปไม่เที่ยงเป็นอย่างไร 
เวทนาไม่เที่ยงอย่างไร  แยกแยะไม่ได้  อ่อนนิ่มกันไปหมด

                เพราะว่ามีแต่หลงมัวเมา  เพลิดเพลินไปตามอารมณ์
อยู่ท่ามกลางความหลง  เกินกว่าจะเชื่อความจริง

                อยู่ด้วยความหลง  ดำรงชีวิตด้วยความหลง 
ตายไปกับความหลง  แม้จะเกิดใหม่อีกก็ยังคงมีความหลงอยู่เหมือนเดิม 
คงจะต้องวนเวียนซ้ำๆ  ซากๆ  อยู่ในวัฎสงสาร 
นานจนกว่าจะยอมรู้ความจริงและช่วยตนได้ 
ซึ่งไม่รู้ว่าจะยาวนานอีกเพียงใด

                ดูเพียงเผินๆ  แล้ว  เทวดาน่าจะสุข 
แต่พระพุทธองค์ท่านกล่าวว่า  “สุขนั้นไม่ยั่งยืนจะเวียนไปสู่ความทุกข์” 
ดังนั้นถ้าจะบอกว่า  เทวดานั้นก็คือ  สัตว์นรก
ที่ถูกปลดปล่อยมาชั่วขณะ  ก็คงไม่ผิด

                และถ้าตามดูให้ดีก็จะเห็นว่า  เทวดาในเมืองมนุษย์นี้ 
ไม่ช้าเกินรอ  ก็จะพากันกลับตกลงไปในนรกโลกันต์
ให้เห็นนั้นมีอยู่มากมายไม่น้อยเลย

                การปฏิบัติที่เป็นไปให้รู้จักทุกข์ในอริยสัจจ์ 
เพื่อความบริสุทธิ์เท่านั้นที่พอจะช่วยได้!

ขอบพระคุณ คุณนริศรา

 
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 23, 2010, 06:11:03 pm
ของศักดิ์สิทธิ์(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                คนส่วนมากชอบเรื่องของศักดิ์สิทธิ์  ของขลัง 
เพราะมันเป็นเรื่องของลาภสักการะ

                สมัยนี้จึงมีระบาดทั่วไปกันหมด

                ถ้าใครเชื่ออย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าได้เข้ามาอยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า 
เป็นคนนอกธรรมวินัย

                เพียงความเชื่ออย่างนี้เท่านั้น  ก็ทำให้ไตรสรณาคมน์เศร้าหมองแล้ว

                ถ้าใครเชื่ออยู่ถึงจะมาบวชเรียน  มาสวมเครื่องแบบชาวพุทธ 
ก็คงเป็นได้เฉพาะเครื่องแบบ

                แต่ความเชื่อของเขาเป็นความเชื่ออย่างพวกชาวผี 
เป็นชาวปีศาจที่จะคอยหลอกหลอนอยู่  ไม่มีธรรมวินัย  เชื่อเรื่อยไป

                อยู่วัดไปจนตาย  ก็อยู่ไปอย่างนั้นเอง  เหมือนกับแมว  ไก่  มด 
ปลวก  มันก็อยู่กัน  แต่มันก็ไม่รุ้อะไร  ไม่เข้าใจธรรมวินัยคำสอนอะไร

                ทำไปทำมาคนพวกนี้  เสร็จแล้วก็ไปตอดอยู่กับเวทย์มนต์
ติดอยู่กับภูตผีปีศาจอยู่นั่นเอง  ไม่ทำศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาได้ โสมมจมโคลน

                จะเชื่อคำสอนอยู่บ้างก็เชื่อนิดๆ  หน่อยๆ 
ไมได้ถูกช่องร่องรอยคำสอนแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

                ไม่ต่างกับพวกหน้าไหว้หลังหลอก  เดี๋ยวก็เชื่อพระเดี๋ยวก็เชื่อผี

                จิตใจอ่อนแอกลับกลอกหลอกลวง  แล้วจะได้ประโยชน์อะไร

                การที่จะเข้ามาศึกษาอบรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น 
ก็ควรจะทำความเห็นได้ถูกตรงและทำศีลให้บริสุทธิ์เป็นพื้นฐานขึ้นมาเสียก่อน 
นั่นแหละจึงจะพ้นอบายภูมิได้

                ถ้ายิ่งปฏิบัตินานๆ  แล้ว  ยิ่งหมักหมมหนักเข้า 
โลภก็จัด  โกรธก็จัด  หลงก็จัด  มันก็แย่!

                จิตใจมัวคล้อยไปในการหวังพึ่งแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
ก็จึงไม่ยอมที่จะคิดพึ่งตัวเอง

                ถ้าไม่เชื่อว่าทุกคนมีกรรมเป็นของของตน
มีกรรมเป็นมรดกตกทอดมาจากการกระทำของตน 
ความเชื่ออย่างนั้นมันก็ปีนเกลียวคำสอนของพระพุทธเจ้า

                สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวิเศษที่ไหนก็จะมาทำลายล้างกรรมของตนไปไม่ได้

                ทางถูก ทางเจริญที่เราควรชอบ  ควรเชื่อ  คือ  พยายามละชั่ว 
หมั่นทำความดี  และพยายาฝึกใจให้บริสุทธิ์  สงบ  ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ขอบพระคุณ คุณนริศรา

 
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 24, 2010, 07:59:55 pm
ศีล (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

             ทุศีลนี่พระพุทธเจ้าบอกว่าต้องไปอบายภูมิ

                ถ้าว่าเรากลัวทุกข์โทษ  มีการทนทุกข์ทรมานเพราะความทุศีล 
เราก็ต้องมีการสำรวมระวังให้มากขึ้น

                ความเสียหายที่ต้องตกนรก  ใครก็ช่วยไม่ได้ 
มันเป็นความทุกข์ทรมานของตัวเองแท้ๆ

                ที่จะไม่ไปสู่อบายภูมิ  ก็เพราะมีศีลบริสุทธิ์

                แม้นว่าจะมีราคะ  โทรสะ  โมหะอยู่ 
แต่ว่าศีลบริสุทธิ์ก็ยังปิดอบายภูมิได้  ไม่ต้องไปรับทุกข์ยาก 
ทุกข์แล้วทุกข์อีกที่ใครก็ช่วยไม่ได้

                การลูบคลำศีลเป็นเรื่องต้องห้าม

                เรื่องความเชื่อของศักดิ์สิทธิ์มากมาย  การเสก  เป่า 
และการเล่นอบายมุข  เป็นการเชื่อที่อนอกรีตนอกรอย
เป็นไปตามประสาโลกๆ  ถ้าจะมาปฏิบัติกันจริงๆ 
แล้วก็ต้องทิ้งทั้งหมด  เรื่องงมงายอย่างนั้น

                “คราเกิดเคระห์ภัยเป็นไปหมด  พวกแม่มดว่าวุ่นถูกคุณผี

                โหรก็ว่าเทวดาเข้าราวี  เหล่าเมธีบอกว่ากรรมที่ทำมา!

             ถ้าเชื่อเรื่องกรรมก็เป็นเรื่องของพุทธศาสนา 
                 เชื่อการทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว

                แต่ก็ยังเป็นขั้นต่ำอยุ่เหมือนกัน  ไม่ถึงขั้นสูงอะไร

                กรรมที่เป็นขั้นสูงนั้น  เป็นการเจริญมรรค  คือศีล  สมาธิ  ปัญญา!

 
ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 25, 2010, 07:42:52 pm
ทวนกระแส(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การยึดถือตัวตนมันอยู่ในส่วนลึก  เราต้องทวนกระแสเข้าไป 
ที่มันบอกว่าดี  จะต้องกลับเป็นไม่ดีทั้งหมด  อย่าไปตามใจมันเลย 
ถ้าผิดไปจากนี้แล้วก็คิดดูเอาก็แล้วกัน

                เมื่อกระทบกระทั่ง  ตัวตนมันก็ปรากฏออกมาเรื่อย 
เวลาที่มันยังไม่ก่อเกิดอะไรขึ้นมารุนแรง  มันก็ยังว่างอยู่ 
มันยังเยือกเย็นอยู่ได้ก็เหมือนกับว่า  ว่างจากตัวตน

                มันอาศัยกระทบผัสสะ  แล้วมันก็ก่อเกิดเป็นตัวตนขึ้นมา
เกิดขึ้นมาแล้วก็ดิ้นรนร้อนเผ่า เ ผาอะไรต่ออะไรวินาศไป  ซ้ำๆ  ซากๆ

                ถ้าไม่คิดแก้ไขเรื่องนี้แล้ว  ไม่มีการที่จะพ้นจากทุกข์ออกไปได้

                ความเหนียวแน่นของการยึดถือตัวตน  มันมีฤทธิ์เดชมากมาย 
มายาของความมีตัวตนมันลึกซึ้งอยู่ในตัวเอง 
และมีเล่ห์กลมารยาสาไถยอยู่มากมายเหลือเกิน

                ตัวกูนี้สำคัญนัก  มีโลภจัด มีโกรธจัด  มีหลงจัด  ก็เพราะตัวกูนี้

                ตัวหาเรื่อง  ตัวอวดดี  อวดเก่ง  ถ้าไม่คอยสับสนลงไป  ก็ยากที่ใครจะมาสับได้

                ต้องอาศัยธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำมาคอยสับทำลายมันด้วยตนเอง 
                ให้มันยับย่อยให้ได้

                ให้กำลังมันมามากแล้ว  ยิ่งให้กำลังมัน  มันก็เป็นยักษ์เป็นมารไปใหญ่โต

                คราวนี้ถ้ามันจะเพ่ง  จะปรุงเอาอะไร  เราก็จะต้องคอยตัดรอนตัดกำลังมันเรื่อยไป

                ปฏิบัติธรรมขัดใจตัวตน  กินอยู่อย่างต่ำ  มุ่งกระทำอย่างสูง 
ตามแบบของผู้ปฏิบัติธรรมแท้ๆ  ไม่ตามใจตัว  ทำอะไรก็ต้องรู้ตัว  รู้ตน 
มีสติตามรักษา  มีปัญญาตามรับรู้

                ทวนกระแสกิเลสไป  เสียลสะตัวตนไป  ไม่ต้องปรารถนาเอาอะไร 
ให้กลัดกลุ้มใจ  ทำงานเพื่อหน้าที่ของชีวิตทำเพื่อเกื้อกูลเพื่อนร่วมทุกข์ 
ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ทำงานเพื่อให้รู้จักปลดปล่อยตัวเองให้เป็น

 

หัดกลัวไว้บ้าง

                การไถ่ถอนอุปาทาน  ทียึดมั่นถือมั่น  มีตัวเรา  ตัวเขา 
ของเรา  ของเขา  ต้องทำกันด้วยการใช้สติปัญญาจริงๆ 
มิฉะนั้นมันจะคุ้นเคยอยู่อย่างเดิม  ไม่เปลี่ยนนิสัยเดิมออกไปได้

                การปฏิบัติก็ยังป้วนเปี้ยน  วนเวียนอยู่ในกองทุกข์กองไฟนั่นเอง 
ค่อยจะกลัวกันเลย  กลับกล้าไปเสียด้วยซ้ำ

                ต้องสังวรระวังจิตใจด้วยการใช้สติปัญญา  พอมันคุ้นเคยมาทางนี้ได้ 
มันก็ค่อยเห็นโทษ  แม้พอจะผิดพลาดไปมันก็เห็นโทษได้เร็ว 
เช่นเคย  สังวรวาจา  เป็นคนพูดน้อย  มัธยัสถ์คำพูด ถ้าไปเผลอไผลพูดมากเข้า 
ก็จะรู้สึกตัวว่า  “เราพูดไม่เป็นการเหมาะสม  ไม่เป็นการสมควรเลย”

                ต้องคอยพิจารณาตัวเองอยู่  ทำตัวเองให้มีธุระน้อยที่สุด
ศีลจึงจะค่อยบริสุทธิ์  ผุดผ่องขึ้นมาได้  พร้อมทั้งกายวาจาใจ 
สติปัญญาจะได้มีโอกาสพิจารณาตัวเอง

                อะไรมันก็สกปรกไปหมดตั้งแต่ต้นแล้ว

                เมื่อเป็นอย่างนี้  จะให้ใครจะมาชำระสะสางให้  ฟอกให้ 
ตัวเองต้องใช้สติปัญญา  ต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องซักฟอกตัวเอง

                การเจริญวิปัสสนา  ถ้าไม่ได้ทำไปเพื่อให้รู้เรื่องทุกข์โทษของกิเลส 
เพื่อทำลายกิเลส  จะมุ่งทำให้ไปรู้ไปเห็นอะไรกัน  จะทำให้เป็นคนวิเศษประเภทไหน

                ขอให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาดูเอาเอง  และมีการสนใจในเรื่องทุกข์นี้
ให้มากเป็นพิเศษ  อยู่ในทุกๆ  ขณะจิตเถิด

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 04:18:01 am
ท่านพุทธทาสกล่าวถึง ก. เขาสวนหลวง


ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่าน ก. เขาสวนหลวง
ในการสัมภาษณ์ลงหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา”
ในฐานะสหายธรรมทาน ว่า

“สำหรับทางฝ่ายราชบุรีนั้น คุณกี นานายน
ได้ร่วมมือในการเผยแผ่อย่างเต็มกำลังสติปัญญาของตน
เป็นผู้มีความประสงค์เพื่อความรู้เรื่องธรรมะโดยแท้
ตลอดเวลาที่ติดต่อกันมาเพื่อธรรมะทั้งนั้น
เมื่อค้าขายรวบรวมเงินทองได้ทุนสำรองไว้เป็นหลักแล้ว
ก็ออกไปตั้งสำนักเองที่สวนหลวง ตอนจะออกไปก็ได้มาคุย
มาบอก มาปรึกษา แกเป็นคนกล้าหาญ ไม่กลัวตาย
มีลักษณะเป็นผู้นำ คิดจะเปิดสำนักสำหรับผู้หญิงขึ้นปกครองดูแลกันเอง
ก็ทำได้อย่างที่แกคิด แกอ่านหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
ศึกษามาอย่างดีแล้วค่อยมาพบ ผมก็ให้พักที่บ้านโยม
กลางวันก็มาคุยกันใต้ถุนกุฎิ ตรงริมสระเล็ก (สวนโมกข์เก่า)
เรื่องที่คุยกันก็เป็นเรื่องปรมัตถธรรม ที่แกได้ศึกษามาแล้ว
มาซักถามเพื่อความเข้าใจ ก็ต้องนับว่าเป็นผู้หญิงพิเศษ
ไม่แต่งงาน น้องสาวก็ไม่แต่งงาน และรับงานทางสำนัก
ต่อมาเมื่อคุณกีตายแล้ว ตอนมาหาผม ไม่มีแววว่ามีความทุกข์อะไรมา
มาแบบนักศึกษาธรรมะ แกอยากแต่งกลอน แต่แต่งไม่เป็น
ผมเลยสอนให้ทางไปรษณีย์
ยังได้เอามาลงหนังสือพิมพ์พุทธสาสนาอยู่หลายชิ้นในสมัยนั้น” 

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1922

 
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 05:00:14 am
แนวทางปฏิบัติธรรม
โดย ท่าน ก.เขาสวนหลวง


ผู้ปฏิบัติควรจะศึกษาให้เข้าใจเป็นลำดับไปดังนี้

การศึกษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาละ ทุกขณะ
ได้ผลทันที ไม่ต้องรอรับผลข้างหน้า ก็คือ ศึกษาในโรงเรียน
กล่าวคือ ในร่างกายยาววาหนาคืบมีสัญญาใจครอง
ในร่างกายนี้มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นหยาบจนถึงขั้นละเอียด

ขั้นของการศึกษา

ก. เบื้องต้น ให้รู้ว่ากายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ
ส่วนใหญ่ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ส่วนย่อยได้แก่ ส่วนที่จับติดอยู่กับส่วนใหญ่
เป็นต้นว่า สี กลิ่น ลักษณะ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้มีลักษณะไม่คงทน (ไม่เที่ยง) เป็นทุกข์
เต็มไปด้วยของปฏิกูล พิจารณาให้ลึก
ก็จะเห็นไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร มีแต่สภาพธรรมล้วนๆ
ไม่มีสภาวะที่ควรเรียกว่า “ตัวเราของของเรา”
เมื่อตามเห็นกายอยู่อย่างนี้ชัดเจน
ก็จะคลายความกอดรัดยึดถือในกายว่าเป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่นเป็นนี่เสียได้

ข. ขั้นที่สอง ในส่วนนามธรรม (คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
กำหนดให้รู้ตามความเป็นจริง ล้วนเป็นเองในลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
คือเกิดๆ ดับๆ เป็นธรรมดา พิจารณาเห็นจริง
แล้วจะคลายความยึดถือในนามธรรมว่า เป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา เป็นนั่น เป็นนี่ เสียได้

ค. การศึกษาขั้นปฏิบัติ มิได้หมายเพียงการเรียน การฟังการอ่านเท่านั้น
ต้องมีการปฏิบัติให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยจิตใจตนเอง ด้วยการ

(๑) ปัดเรื่องภายนอกทั้งหมดทิ้งเสียก่อน มองย้อนเข้าดูจิตใจตนเอง
(จนรู้ว่ามีความแจ่มใส หรือมัวหมองวุ่นวายอย่างไร)
ด้วยการมีสติสัมปชัญญะกำกับ รู้กายรู้จิตใจอบรมจนจิตทรงตัวเป็นปกติ

(๒) เมื่อจิตทรงตัวเป็นปกติได้ จะเห็นสังขารหรืออารมณ์ทั้งหลาย
เกิดดับเป็นธรรมดา จิตจะว่างวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
และเห็นรูปนามเกิดดับเองตามธรรมชาติ

(๓) ความรู้ว่าไม่มีตัวตน แจ่มชัดเมื่อใด จึงจะพบเข้ากับสิ่งที่มีอยู่ภายใน
เป็นสิ่งที่พ้นทุกข์ ไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เป็นอมตะ
ไม่มีความเกิด ความตาย สิ่งที่มีความเกิดย่อมมีความแก่
ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา

(๔) เมื่อเห็นความจริงชัดใจแล้ว จิตจะว่าง ไม่เกี่ยวเกาะอะไร
แม้ตัวจิตเองก็ไม่สำคัญว่าเป็นจิต หรือเป็นอะไร
คือ ไม่ยึดถือตัวเองว่าเป็นอะไรทั้งหมด จึงมีแต่สภาพธรรมล้วนๆ เท่านั้น

(๕) เมื่อบุคคลมองเห็นสภาพธรรมล้วนๆ อย่างแจ่มแจ้ง ย่อมเบื่อหน่าย
ในการทนทุกข์ซ้ำๆ ซากๆ เมื่อรู้ความจริงฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมตลอด
แล้วจะเห็นผลประจักษ์เฉพาะหน้าว่า สิ่งที่หลุดพ้นจากทุกข์นั้น
มีอยู่อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเชื่อตามใคร ไม่ต้องถามใครอีก
เพราะพระธรรมเป็นปัจจัตตังคือรู้เฉพาะตนจริงๆ
ผู้ที่มองเห็นความจริงด้านในแล้ว จะยืนยันความจริงอันนี้ได้เสมอ


ก. เขาสวนหลวง

.................................................

หมายเหตุ

สรุปแนวการปฏิบัติธรรมนี้ ท่าน ก. เขาสวนหลวงได้เรียบเรียงเขียนขึ้นด้วยตนเอง
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2497 เพื่อพิมพ์ในหนังสือ “อ่านใจตนเอง”
ท่าน ก. ได้สังเกตพิจารณาศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ตามแนวนี้มาด้วยตนเอง และเป็นแนวทาง
ที่ท่านได้ย้ำอธิบายแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ณ เขาสวนหลวง เสมอมา

.................................................

คัดลอกมาจาก :: ผู้จัดการออนไลน์
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ขอบพระคุณท่านสายลม
ขอบพระคุณที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1902
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 07:21:19 pm
หัดกลัวไว้บ้าง (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การไถ่ถอนอุปาทาน  ทียึดมั่นถือมั่น  มีตัวเรา  ตัวเขา 
ของเรา  ของเขา  ต้องทำกันด้วยการใช้สติปัญญาจริงๆ 
มิฉะนั้นมันจะคุ้นเคยอยู่อย่างเดิม  ไม่เปลี่ยนนิสัยเดิมออกไปได้

                การปฏิบัติก็ยังป้วยเปี้ยน  วนเวียนอยู่ในกองทุกข์กองไฟนั่นเอง 
ไม่ค่อยจะกลัวกันเลย  กลับกล้าไปเสียด้วยซ้ำ

                ต้องสังวรระวังจิตใจด้วยการใช้สติปัญญา 
พอมันคุ้นเคยมาทางนี้ได้  มันก็ค่อยเห็นโทษ 
แม้พอจะผิดพลาดไปมันก็เห็นโทษได้เร็ว 
เช่นเคย  สังวรวาจา  เป็นคนพูดน้อย  มัธยัสถ์คำพูด
ถ้าไปเผลอไผลพูดมากเข้า  ก็จะรุ้สึกตัวว่า 
“เราพูดไม่เป็นการเหมาะสม  ไม่เป็นการสมควรเลย”

                ต้องคอยพิจารณาตัวเองอยู่  ทำตัวเองให้มีธุระน้อยที่สุด
ศีลจึงจะค่อยบริสุทธิ์  ผุดผ่องขึ้นมาได้  พร้อมทั้งกายวาจาใจ 
สติปัญญาจะได้มีโอกาสพิจารณาตัวเอง

                อะไรมันก็สกปรกไปหมดตั้งแต่ต้นแล้ว

                เมื่อเป็นอย่างนี้  จะให้ใครจะมาชำระสะสางให้  ฟอกให้ 
ตัวเองต้องใช้สติปัญญา  ต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องซักฟอกตัวเอง

                การเจริญวิปัสสนา  ถ้าไม่ได้ทำไปเพื่อให้รู้เรื่องทุกข์โทษของกิเลส 
เพื่อทำลายกิเลส  จะมุ่งทำให้ไปรู้ไปเห็นอะไรกัน 
จะทำให้เป็นคนวิเศษประเภทไหน

                ขอให้ผุ้ปฏิบัติพิจารณาดูเอาเอง  และมีการสนใจในเรื่องทุกข์นี้
ให้มากเป็นพิเศษ  อยู่ในทุกๆ  ขณะจิตเถิด


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 07:31:42 pm
ความรู้ที่เต็มปรี่ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่ความเกิดดับอย่างนี้เหมือนกันหมด 
ถ้าไปยึดถือเข้าก็เป็นทุกข์  ถ้าไม่ยึดถือก็ว่างๆ  เปล่าๆ  อยู่อย่างนั้น
จะเพ่งไปดูในอะไรๆ  ก็เห็นอยู่ในลักษณะอย่างนี้

                อย่าเที่ยวไปอยากดู  อยากรู้อย่างอื่นเลย 
มันไม่มีอะไรจริงจังทั้งนั้น  ดูเลวของตัว  ดูชั่วของใจ 
กวาดทุกข์ให้เกลี้ยง เรียงทุกข์ดูให้เข้าใจ  ถ้าดูอย่างนี้แล้ว
 มันหมดเรื่องหมดราวไปสิ้น

                ถ้ารู้จักทุกข์  รุ้จักอนัตตา  ได้ถูกต้องชัดประจักษ์ใจ 
แม้จะไม่พูดอะไรสักคำเดียว  นั่นก็เป็นความรู้ที่เต็มปรี่อยุ่ภายในแล้ว

                ศึกษาจากตำรับตำรามามาก  อ่านกันเท่าไรๆ 
ก็เหมือนหนอนแทะหนังสือ  ไม่เกิดความรู้แจ้งด้วยสติปัญญาของตัวเองเลย 
ปล่อยวางอะไรก็ไม่ได้  ยังยึดถืออยู่อย่างนั้น  เป็นการอ่านแล้วจำได้ 
ถ้าไม่มีการฝึกหัดปฏิบัติแล้ว  มันก็รู้เหมือนไม่รู้อะไรไปตามเดิม

                ทำความเพียรให้รู้แจ้งถึงความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไปของรูปธาตุ 
นามธาตุ  ที่ไม่มีอะไรเป็นตัวตนเลย  จะเป็นการรู้อะไรจริงๆ  ขึ้นมาด้วยสติปัญญา

                ในการศึกษาจากปัจจุบันธรรมที่มีความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป 
เป็นปรกติอยู่อย่างนี้  จะเป็นหนทางเพื่อความสิ้นอาสวะนี้
เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเปิดเผยไว้นานแล้ว


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 01:55:42 am
 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 01:20:53 pm
ทำตัวง่ายๆ(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

            พวกฤาษีไม่ได้เรียนรู้สรีรศาสตร์  หรือจิตเวชศาสตร์ไป
มีความสงบกาย  สงบวาจา  สงบจิตใจ  อยุ่ในป่าคนเดียว 
กินผลไม้ประจำวัน  ยังชีวิตไปเท่านั้น  จะตายก็ไม่ต้องไปหาหมอ 
ตายก็ตายไป  อยู่ก็อยู่ไป  จิตใจก็สงบไป  ว่างไปตามธรรมชาติ

                เพราะฉะนั้นจะเอาสิ่งภายนอกมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ 
ไม่จำเป็นที่จะต้องห่วงใยกับสิ่งภายนอก เรื่องของกายที่ว่าอวัยวะใด
อยู่ที่ไหน  ก็ไม่ต้องไปค้นคว้า  เรื่องตับไตอยู่ที่ไหนไม่ต้องไปสนใจ 
ให้รู้แต่ว่ามันไม่เที่ยง  ปรับปรุงมันไปตามสมควร 
ไม่ถือกายเป็นเรื่องสำคัญ  ถือจิตเป็นเรื่องสำคัญ

                พวกมุนีที่อยู่กันเงียบๆ  จิตใจมีความสงบ 
เอาความเยือกเย็นของจิต  อาบ  รด  ดื่มกินอยุ่ได้ 
โดยที่ไม่ไปคอยวิตกกังวลถึงเรื่องที่จะต้องไปพูดกับใคร 
ไม่ต้องว่ามันจะขาดอาหาร  ไม่ต้องเป็นห่วง 
ห่วงแต่ธาตุจิตที่มันถูกกิเลสเผาอยู่นี่ 
ให้มันอยู่รอดปลอดภัยเท่านั้นเป็นพอ

                ร่างกายมันก็จะต้องแตกดับไปด้วยกันทั้งหมด 
ไม่มีอยู่ค้ำฟ้าไปได้  อย่าไปคิดเอาใจอะไรมันมากนัก  มันจะเป็นกังวล

                พระอริยเจ้าทั้งหลายที่ท่านหมดกิเลสไปแล้ว 
ท่านก็รู้แต่เรื่องข้างใน  ส่วนเรื่องข้างนอกจะมีอะไรวิจิตรบรรจง 
พิสดารปานใด  ท่านก็ไม่เห็นเป็นความคีเด่นอะไร 
เขาเอาอะไรมาให้ก็รับ  แต่ถ้าเขาจะแย่งเอากลับก็ไม่ขัดขืน 
อยู่อย่างเรียบง่าย  ไม่เป็นปัญหากับใคร  ความสุขสงบของท่านๆ 
หมายเอาที่ใจหมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 06:06:58 pm
ต้องรู้ดวยปัญญา (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                การที่เที่ยวคิด  เที่ยวใฝ่ฝันไปนั่น  ฝันมานี่ 
มันก็ฝันเอาทุกข์มาใส่ตัวเองทั้งนั้น  เลิกฝันกับมันเสียที 
หยุดกันเสียที  มีอะไรขึ้นมา  ก็ปล่อยวางมันไป  ถึงเราไม่ปล่อย 
มันก็ต้องดับไปเอง  แต่ผลที่เกิดกับเรา  มันจะต่างกันมาก 
หนักอกหนักใจมากกว่ากันเยอะเลย

                ถ้าเราเที่ยวนึกคิดไปต่างๆ  นานา 
จิตก็มีการปรุงแต่งไปสารพัด  ล้วนแต่จะเป็นความสกปรก 
เศร้าหมอง  อยู่กับดีๆ  ชั่วๆ  ตัวตนของเรา  ของเขา 
จนจิตนี้ก็จะถูกผูกมัดทำให้หมดอิสระ

                การสลัดคืน  การไม่เอาอะไร  จะทำให้จิตนี้เป็นอิสระขึ้นมา
มันก็เป็นเรื่องตรงไปตรงมาง่ายๆ  อย่างนี้

                จิตที่เป็นอิสระได้  ย่อมไม่ตกเป็นทาสอารมณ์ 
ไม่ยอมเป็นทาสแก่ความอยากที่ยุแหย่  จิตจะไม่เอาอะไร 
ถ้าไม่เอาปล่อยวางได้แล้ว  ก็ไม่รู้ว่ามันมีอะไรที่จะมาเป็นสายใย
ที่จะผูกมัดจิตใจให้หมดอิสระได้

                เหล่านี้แหละเป็นความรู้ที่ถูกต้องแล้ว 
ไม่ต้องไปหาความรู้ที่ไหนก็ได้  แต่ที่สำคัญก็คือ 
ความรู้นี้ต้องรู้ด้วยสติปัญญา  ไม่ใช่รู้ด้วยความทรงจำ 
การรู้ด้วยความทรงจำนั้น  มันเป็นขันธสัญญา 
ยังแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้  ต้องรู้ด้วยปัญญาจึงจะแก้ไขได้ 
จะมีปัญหาอย่างไร  สุขทุกข์อย่างไร  มันปลงตก 
แล้วก็ปล่อยวางไปได้  มันพิเศษอย่างนั้น 
แต่ถ้ารู้ด้วยเพียงความทรงจำก็จะมีแต่ความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นเอง 
แก้ปัญหาไม่ตก  ไม่ว่าเรื่องอะไร

                รู้ด้วยปัญญา  คือรู้ด้วยการอบรมจิตใจ 
ต้องมีความพยายามอยู่เนืองนิตย์  แล้วทำให้ติดต่อให้มากขึ้น
ในทุกอิริยาบถ  เพ่งดูความไม่เที่ยงให้เห็น 
หรือว่าจะมีการกำหนดละตัณหาหรือรู้จักตัณหาอยุ่ทุกอิริยาบถ 
เมื่อทำมากเข้าก็จะละกิเลสได้  วางเรื่องทั้งปวงไว้อย่างที่มันเป็นได้!


ขอบพระคุณ คุณนริศรา
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (นิสัยเถื่อน)‏
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ ธันวาคม 01, 2010, 06:38:39 pm
เจริญอายุ  บรรลุธรรม (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการพัฒนาเกิดขึ้น  ต้องมีการละวางอะไร
ไปได้ทีละเล็ก  ทีละน้อย  เรียกว่า  ต้องมีการบรรลุธรรม  การบรรลุดธรรมที่ว่านี้ 
ไม่ได้หมายถึงการบรรลุธรรมสูงสุดหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์  แต่หมายถึง 
การเข้าถึงธรรมะไปเป็นขั้นๆ  การเข้าถึงธรรมะแต่ละขั้น  มีการปลงตกออกไปบ่อยๆ 
ถือว่าเป็นการบรรลุไปตามลำดับ

                เราต้องหัดปฏิบัติละเว้นสิ่งต่างๆ  การบริโภคปัจจัย 4 ควรบริโภค 
คือใช้ตามความจำเป็น  และต้องหมั่นพิจารณาว่า  เราบริโภคเพื่อยังอัตภาพ
ของเราให้เจริญธรรมอยู่ได้  ไม่ใช่สุรุ่ยสุร่ายใช้ไปด้วยความมัวเมา 
มันจะเป็นการปฎิบัติกิเลสไม่ใช่การปฏิบัติธรรม

                ยิ่งทำ  ยิ่งปฏิบัติ  ก็ควรจะละเว้น  ปล่อยวางอะไรให้ได้มากขึ้น 
ไม่ใช่ยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งกอดรัดอัดแน่นเข้ามาเป็นของข้าทั้งหมด 
วันเวลาผ่านไปจิตใจควรจะงอกงาม  สงบ  ฉลาด  สุขุมไม่ยึดถือตนยิ่งขึ้น 
สมกับที่ว่า  “เจริญอายุ  บรรลุธรรม”

                การให้พรเขาว่า  “จงเจริญอายุ  บรรลุธรรม” 
เราก็ต้องปฏิบัติตัวของเราด้วย  ไม่ใช่ให้พรเขาแต่ปาก 
เราต้องทำตัวเราให้เป็นเนื้อนาบุญของเขาด้วย 
คือเราก็ต้องปฏิบัติตัวเราให้สมกับที่เขานับถือ
ว่าเรากำลังเป็นผู้แสวงหาทางหลุดพ้น  ถ้าทำอย่างนั้นได้ 
ผู้ที่เขามอบปัจจัย 4 แก่เรา  ก็เท่ากับได้ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมไปกับเราด้วย 
เขาก็ได้สละละความตระหนี่  ละโลภ  โกรธหลง  ลงในเนื้อนาบุญ 
เพิ่มบุญขึ้นโดยชอบ  สมกับที่ได้รับพร  “เจริญอายุ  บรรลุธรรม”

ขอบพระคุณ คุณนริศรา

 [/size]
หัวข้อ: Re: คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง (ดูให้มันรู้)
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ ธันวาคม 03, 2010, 09:24:46 pm
ดูให้มันรู้ (คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)
                ถ้ามีความประมาทมัวเมาเพลิดเพลินอยู่  อย่างที่เป็นกันเช่นนี้แล้ว  ชีวิตประจำวันจะได้อะไร  ก็ได้แต่ทุกข์เท่านั้นเอง  ได้แต่ความสกปรกเศร้าหมองของใจ  ก็ทุกข์เท่านั้น  ไฟทั้งนั้น
                เป็นปัญหาเฉพาะหน้า  ที่เราควรรีบพยายามไม่ให้จิตมันใฝ่ต่ำ  ไปทำตัวเป็นทาสรับใช้กิเลส  หรือไม่ยึดถืออะไรให้เป็นทุกข์  ไปปั้นนำให้เป็นตัวขึ้นมา

                ถ้าพยายามกันจริงๆ  ก็ดับทุกข์ในชีวิตประจำวันได้ตลอดจนเวลาจะเจ็บจะตาย  ที่จะเกิดทุกข์โทษอะไรนานัปการขึ้นมา  ก็รู้จักดับได้  ปล่อยได้  วางได้

                แล้วจิตก็จะไม่วุ่น  มันว่างเรื่อย  พอปล่อยอะไรได้  มันก็จะว่างเพิ่มขึ้นได้อีก  ไม่ขันตัวอัดฝังแน่นอยู่ในเกลียวทุกข์เกลียวระทมใดๆ  มีแต่จะผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ  เรียกว่า คลายน๊อตของความทุกข์ลงได้เป็น

                ดูให้มันรู้ความจริงให้ได้ว่า  เรากำลังหลงงุ่มง่ามในความมมืดของกิเลสอยู่  คือมองไม่เห็นความจริง  จึงว่ามืด  กำลังหลงอยู่ต่อหน้า  ทั้งๆ  ที่กำลังลืมตาอยุ่เดี๋ยวนี้

                ตอกย้ำซ้ำซากกับตน  เรียนเอาในใจในตัวเองทั้งหมดเพียรกันเรื่องรู้ทุกข์นี้ตลอดเวลาของชีวิต  หยุดความอยากทั้งหลายทั้งปวง  แล้วห้องหัวใจก็จะเหลือแต่ความว่างในที่สุด

(ท่านใดต้องการหนังสือธรรมะแจกฟรี 7 เล่ม  เขียนโดยพระอาจารย์ยุทธนา เตชปัญโญ ติดต่อได้ที่เบอร์ 086-1637969 089-9154499 ชื่อหนังสือมีดังนี้ 1.วันหนึ่งก็ต้องจากลา 2.ดีชั่วรู้หมดแต่มันอดใจไม่ไหว 3.ช้าอีกนิดสุขอีกนาน 4.ชีวิตเสรีจิตอิสระจึงไร้ทุกข์ 5.หลงตัวตนสับสนหนทาง 6.สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวเรา 7.เส้นทางใจ  รีบหน่อยนะคะ ช้าหมดค่ะ )

 
หัวข้อ: เข้าใจว่าเป็น...งง
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ ธันวาคม 03, 2010, 09:26:23 pm
เข้าใจว่าเป็นสุข(คำสอนท่านก.เขาสวนหลวง)

                ชีวิตหมดไป  วันหนึ่งๆ  ด้วยการกินอิ่ม  หลับนอนเพลิดเพลินไปอยู่กับความหลง  สรรพสัตว์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข

                ไม่ได้รู้  ไม่ได้เข้าใจว่าในขณะเวลาเดียวกันนั้น  ทุกข์ก็กำลังเกิดขึ้นกับตัวตน  ทุกข์เพราะ  ความเป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ที่ใครบังคับไม่ได้  มันจัดการเล่นงานอยู่กับรูปกายของสรรพสัตว์              และก็ในขณะเดียวกัน  ความอยากหนาตัณหาแรงก็เป็นตัวช่วยทิ่มแทง  เล่นงานใจของสรรพสัตว์  เดี๋ยวโลก  เดี๋ยวหลง  เดี๋ยวโกรธ   พยายาท  เดือดร้อนอยู่ไม่มีหยุด  ไม่มีหย่อน

                ผู้ที่พิจารณาตามรู้ได้โดยแยบคายมีน้อย  ผู้ไม่รู้มีมากมาย

                จึงมีแต่ผู้ที่หลงตัวเองว่า  กำลังเป็นสุขนั้นอยุ่ดาษดื่นทั่วทั้งโลก

                ด้วยอุบายตื้นๆ  เช่นนี้  กิเลสก็หลอกครองโลกได้ทั้งหมดทั่วไตรภพ  คือ  ตลอดกามภพ  รูปภพ  และอรูปภพ

                เมื่อเข้าใจเช่นนั้นว่าเป็นสุข  สรรพสัตว์ก็จึงหลงเสาะแสวงหา  จึงได้แต่ภาพลวงตา  ภาพลวงใจ  เวียนว่ายตายเกิด  อยู่มิรุ้สิ้นสุด

                ความไม่รุ้จริง  คือรู้ผิด  เพียงเท่านี้ก็ทำให้ทางเดินในวัฎสงสารยาวไกลไม่รู้สิ้นสุด

                เมื่อรู้จักคิดรู้จักพิจารณา  เพียงรู้ความจริง  ว่างจากตัวตนได้จริง  เพียงเท่านี้  การเดินทางอันยาวไกลในวัฎสงสารก็จะสิ้นสุดลงได้  จบกรรม!