(http://www.creativekavita.com/wp-content/uploads/2010/05/buddha-avatara.jpg)
วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"( พระสูตรที่ยังธรรมจักรให้เป็นไป )ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์"
เรียบเรียงโดย
คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ
(http://www.kaewjamfa.org/uploads/THE20FIRST20S.jpg)
ในอดีตกาลที่ผ่านมา คำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ถึงวิธีการ
เพื่อทำให้จิตของคนได้เห็นการหมุนวนของความสัมพันธ์
ที่อายตนะภายนอก ภายในส่งต่อเชื่อมโยงสภาพรู้กันกลับไปกลับมา
คือ พระธรรมเทศนาที่ได้ตรัสให้ปล่อยวางจากความ
ยึดติด จากอายตนะ
ทั้งสองส่วน คือ อายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน
ดังคำตรัสนี้"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว
เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญานให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ข้อปฏิบัติ
ทางสายกลาง ประกอบด้วยองค์แปดประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ
สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ"
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็
อริยสัจ คือ ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา
นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับสนิทโดยไม่เหลือของตัณหา
มรรค ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์
ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ
ข้อปฏิบัติเป็น
หนทางอันประเสริฐ แปดประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เรา
ไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า ก็
อริยสัจ คือ
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควร
กำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว
ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว
อนึ่ง
ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป"
ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา"
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาได้บันลือเสียงว่า
นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตพระนครสาวัตถี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้
ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ
โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ
ด้วยประการฉะนี้
( บางส่วนจากพระสูตร ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 4 พระบาลีวินัยปิฎก มหาวรรค
ปฐมภาค ขันธกะที่ 1 มหาขันธกะ )
(http://sites.google.com/site/ingdhamma/_/rsrc/1268577443033/dhamma/lotus1.jpg)
:13: : http://sites.google.com/site/ingdhamma/dhamma7 (http://sites.google.com/site/ingdhamma/dhamma7)
มีต่อค่ะ