คนที่ปวดศีรษะไมเกรน ถ้ารีบรักษาจะหายเร็ว กินยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนฟน ไอบูโปรแฟน หรือแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) ตามขนาดที่แพทย์แนะนำ บางคนอาจบำบัดด้วยการนอนในห้องมืด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (กาแฟหรือโคล่า) พบแพทย์
ถ้าใช้วิธีดูแลรักษาตนเอง 1-2 วัน แล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า เป็นอาการปวดศีรษะชนิดใด มีสาเหตุจากอะไร และจะพยายามตัดต้นเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ผู้ป่วยอาจต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติม แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดขนาดใดขนาดหนึ่ง ให้ เพื่อระงับอาการปวดชนิดที่แพทย์วินิจฉัยได้ ซึ่งยาระงับอาการปวดแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณระงับอาการป วดศีรษะบางอย่างโดย เฉพาะ ซึ่งไม่เหมือนกัน สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนขั้นรุนแรง แพทย์อาจสั่งซูมาทริปแทนหรือยาตัวอื่นๆ ให้ผู้ป่วยซูมาทริปแทนจะทำหน้าที่เหมือนซีโรโตนิน สารเคมีในสมองชนิดหนึ่งถ้าเป็นไมเกรนบ่อยๆ แพทย์อาจจ่ายยาป้องกันให้กินทุกวัน
ข้อควรระวัง
อย่ามองข้ามอาการปวดศีรษะที่หาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีถ้าหากอาการปวดศีรษะ
เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในทันที
เกิดพร้อมอาการไข้ คอแข็ง เป็นผื่น สับสน ชัก เห็นภาพซ้อน อ่อนเพลีย ชา หรือพูดลำบาก
เกิดจากการเจ็บคอหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
รุนแรงขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหกล้ม หรือถูกกระแทก
ไม่เคยเป็นมาก่อน และผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี
ไม่อยากปวดศีรษะต้อง ?
การกิน การดื่ม หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง มีส่วนทำให้คุณปวดศีรษะหรือเปล่า คนที่ไม่อยากปวดศีรษะควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้าเห ล่านี้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน ที่พบบ่อยคือ
แอลกอฮอล์ ไวน์แดง
การสูบบุหรี่
ความเครียด หรืออาการอ่อนเพลีย
สายตาล้า
การมีกิจกรรมทางเพศ หรือการออกกำลังกายต่างๆ
การวางท่าทางของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง
เปลี่ยนเวลานอน หรือเปลี่ยนเวลาอาหาร
อาหารบางชนิด เช่น
อาหารหมักดอง
กล้วย
กาเฟอีน
เนยแข็งที่ทิ้งไว้นาน
ช็อกโกแลต
ผลไม้ประเภทส้มและมะนาว
สารปรุงแต่งอาหาร (โซเดียมไนไตรตในฮ็อตด็อก ไส้กรอก เนื้อวัว ผลชูรสในอาหารสำเร็จรูป )และเครื่องปรุงรสอื่นๆ
ถั่วและเนยถั่ว
พิซซ่า
ลูกเกด
ขนมปังที่ใส่เชื้อหมักให้ฟู
สภาพภูมิอากาศ ระดับความสูงของภูมิประทศ หรือการเดินทางข้ามเขตเวลาที่ต่างกันมากๆ
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในรอบประจำเดือน หรือการหมดประจำเดือน การกินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน
แสงจ้าหรือแสงกะพริบ
กลิ่นจากน้ำหอม ดอกไม้ หรือน้ำมันรถ
มลภาวะในอากาศ หรือห้องที่อยู่กันอย่างแออัด
เสียงที่ดังมากเกินไป
การดูแลเด็ก เด็กโตและผู้ใหญ่มักปวดศีรษะซ้ำซาก แต่น้อยมากที่จะส่งเค้าถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง การปวดศีรษะอาจสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ถ้าเด็กปวดศีรษะบ่อยๆทั้งที่สุขภาพปกติ ควรปรึกษาแพทย์
เด็กบางคนอาจปวดศีรษะไมเกรนหรือมีแนวโน้มปวดศีรษะไมเ กรน ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมาก่อน อาการคือ เด็กมักจะอาเจียน ตาสู้แสงไม่ได้และอยากนอนตลอดเวลา แต่จะดีขึ้นเองภายใน 2-3 ชั่วโมง เด็กอาจจะปวดศีรษะเพราะความเครียดที่โรงเรียน มีปัญหากับเพื่อนหรือครอบครัว หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้คัดจมูก
ถ้าคิดว่าเป็นการปวดศีรษะเหตุความเครียด ให้ลองวิธีบำบัดโดยไม่ใช้ยา แต่ถ้าเป็นบ่อยๆคุณต้องช่วยเด็กบันทึกอาการปวดศีรษะเ ป็นประจำทุกวัน อาจต้องให้กินอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟนบ้าง แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะยาอาจปกปิดสาเหตุอาการของโรคที่แท้จริง
ถ้าเด็กปวดศีรษะอยู่นานไม่ยอมหาย หรือปวดทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุสมควรหรือปวดมากขึ้นเร ื่อยๆควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงกรณีปวดศีรษะเพราะหูติดเชื้อ ปวดฟัน เจ็บคอจากการติดเชื้อ
สเตปโตคอคคัสหรือเชื้ออื่นๆ ด้วย และที่สำคัญควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย ถ้าบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยง่ายขึ้น
กาแฟกับเรื่องปวดศีรษะ
ฤทธิ์กาแฟทำให้หลายคนปวดศีรษะในตอนเช้าจริง โดยเฉพาะคนที่ดื่มกาแฟมากกว่า 4 ถ้วย ต่อวันเป็นประจำ และถ้าหยุดไปหนึ่งวันจะมีอาการถอน (คือปวดศีรษะ) ทันที การปวดศีรษะบางอย่างจะทุเลาลงได้ถ้าดื่มกาแฟ เพราะฤทธิ์ของกาแฟจะทำให้หลอดเลือดที่ขยายตัวอยู่หดล งชั่วคราวเพราะฉะนั้น สำหรับผู้ใหญ่ ถ้ากินแอสไพรินหรืออะเซตามิโนเฟนแล้วยังไม่หายปวดศีร ษะให้ลองกินยาที่มีส่วน ผสมของกาแฟอีนแทน แต่ไม่ควรมากเกินไป การได้รับกาแฟอีนมากๆ จะทำให้กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก และแน่นอนจะกลับมาปวดศีรษะอีก เพราะอาการ "ถอน" นั่นเอง
ที่มาข้อมูล : ทีมอายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยาโรงพยาบาลวิภาวดี
__________________
ขอบคุณ http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=364221#post364221
มั่งมีเพราะประหยัด อัตคัดเพราะฟุ่มเฟือย