(http://www.fisho.com/whatsup/img/20060926-3219_2.jpg)
มิลินทปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงการทำบาปแห่งผู้รู้กับผู้ไม่รู้
พระเจ้ามิลินทร์....." ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่ามีคน ๒ คน
คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทำบาปด้วยกันทั้งสองคน
ข้างไหนจะได้บาปมากกว่ากัน ? "
พระนาคเสน....." ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า "
พระเจ้ามิลินทร์....." ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยมหรือราชมหาอำมาตย์คนใดรู้ แต่ทำผิดลงไป
โยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ "
พระนาคเสน " ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร
คือสมมุติว่ามีคน ๒ คน จับก้อนเหล็กแดงเหมือนกัน
คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน ? "
พระเจ้ามิลินทร์....." ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า "
พระนาคเสน....." ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ไม่รู้บาปได้บาปมากกว่า"
พระเจ้ามิลินทร์....." ชอบแล้ว พระนาคเสน "
---------------------------------------------------------------------------------------------
คำว่า ไม่รู้จักบาป นั้น หมายความว่า ไม่รู้ว่าบาปนั้น ให้ผลในอนาคตได้ และเป็นผลที่ไม่น่าพอใจ
คนที่ไม่รู้จักบาป จึงทำบาปโดยปราศจากความเกรงกลัวในผลการกระทำ ขาดความยับยั้งชั่งใจ
ในระยะสั้น คนที่ไม่รู้จักบาป เมื่อหวนระลึกการทำบาป
ก็จะมองเห็นแต่ผลในปัจจุบัน ไม่เห็นผลในอนาคต
ใจก็ยิ่งเพลิดเพลินยินดีในการทำบาปนั้น
คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น
ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท
ในระยะยาว การทำบาปจะเป็นทางเลือกอันดับแรกๆ ของเขา
การทำบาปก็จะยิ่งพอกพูนมากขึ้น
ส่วนคนที่รู้ว่า ผลของบาปมีอยู่ และเป็นผลที่ไม่น่าพอใจ
แม้ว่า ในครั้งนี้ เขาเลือกจะเดินทางผิด แต่ใจของเขาก็จะไม่ยินดีในการทำบาปนั้น
เพราะเขาเกรงกลัวผลที่จะตามมาในอนาคต
ในระยะยาว การทำบาปจะไม่เป็นทางเลือกอันดับแรกๆของเขา
คำอุปมาของท่านพระนาคเสนเถระ ชอบด้วยเหตุผล น่าฟัง
ส่วนคำกล่าวที่ว่า ผู้ไม่รู้ ไม่ผิด นั้น
ผมเห็นว่า หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ว่า การกระทำนั้นๆของตน จะก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่น
คือ ผู้ไม่มีเจตนาร้าย ไม่ผิด
ไม่ได้หมายถึง ผู้ไม่รู้ว่าบาปมีผล ไม่ผิด
ขออนุโมทนาคับ :07: :07: :07:
ขอขอบคุณที่มา http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=2759.0;wap2
ขอขอบคุณผู้ตอบคำถาม คุณ suwit02: