ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => วัชรยาน => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊กซ ที่ ธันวาคม 24, 2010, 03:30:49 pm

หัวข้อ: เตรียมตัวตายอยางมีสติ : ทาไลลามะแห่งธิเบต
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊กซ ที่ ธันวาคม 24, 2010, 03:30:49 pm
(http://www.ravencrow.org/dalai_lama.jpg)


ทาไลลามะแห่งธิเบต


เมื่อพระพุทธศาสนาบังเกิดขึ้นที่ภารตประเทศนั้น ได้แพร่ขยายออกไปทั่วทั้ง ชมพูทวีปแล้วลงใต้ไปทางลังกา ตลอดจนเอเชียอาคเนย์ และขึ้นเหนือไป ทางเมืองจีน ธิเบต เกาหลี และญี่ปุ่น กินเวลาหลายศตวรรษ

ธิเบตเป็นดินแดนของชนชาตินักรบ ที่เคยเอาชนะจีน ดังตามสัญญาสงบศึก คราวหนึ่งพระเจ้ากรุงจีนต้องถวายราชธิดาไปเป็นมเหสีพระเจ้าแผ่นดินธิเบต ซึ่งได้ทรงอภิเษกกับราชธิดาพระเจ้ากกรุงเนปาลด้วย พร้อม ๆ กันไป โดย เจ้าหญิงทั้งสองพระองค์เป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา จึงช่วยให้พระราช สวามีหันมารับนับถือพระรัตนตรัยด้วย

เวลานั้น ธิเบตยังไม่มีภาษาเขียนหรือวรรณศิลป์ ลัทธิศาสนาเป็นการนับถือ ผี เรียกว่า บอน เมื่อทรงสมาทานพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินธิเบต ทรงส่งคณะทูตไปภารตประเทศเพื่อเรียนภาษาสันสกฤต แล้วนำอักษรเทวนา ครีตลอดจนคัมภีร์ไวยากรณ์มาใช้ เป็นบรรทัดฐานสำหรับสำหรับพัฒนาภาษา ธิเบต เป็นเหตุให้ภาษาและวัฒนธรรมของธิเบตเป็นไปตามนัยแห่งพระพุทธ ศาสนามากยิ่งขึ้นทุกที มีการสร้างวัดวาอาราม สำนักเรียน สำนักปฏิบัติ จน เป็นหลักฐาน นับว่าพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นที่ในประเทศนั้นโดยแท้
 
ที่จริง เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้วไปได้ราว ๆ พันปีนั้น พุทธศาสนาทางจีน ได้แตกต่างไปจากทางอินเดียมากแล้ว พระเจ้าแผ่นดินธิเบตทรงสนพระทัยว่า จะเลือกพระพุทธศาสนาแบบใหน จึงได้อาราธนาพระอาจารย์เจ้ามาจากทั้ง ๒ ประเทศ ให้แสดงปุจฉาวิสัจฉนากัน ผลปรากฏว่าทรงพระราชศรัทธาฝ่ายภารต ธิเบตจึงปิดกั้นไม่รับศาสนธรรมจากกระแสจีนอีกเลยก็ว่าได้

พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อ ๆ มาได้ตั้งราชบัณฑิตสภาขึ้น อาราธนาพระมหาเถระ จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ในชมพูทวีป มาสอนธรรมและแปลพระธรรมคัมภีร์เป็น ภาษาธิเบต นับว่าเป็นเหตุอันพึงยินดี เพราะหลังจากนี้อีกไม่นาน พระพุทธ ศาสนาก็อันตรธานไปจากอินเดีย มหาวิทยาลัยสงฆ์ถูกทำลาย วัดวาอาราม รกร้าง พระธรรมคัมภีร์สูญหาย ครูอาจารย์ถูกฆ่าตาย ฯลฯ เพราะภัยจากพวก มุสลิมด้วย และจากพวกพรหมณ์ด้วย โดยไม่นับความเสื่อมของพุทธศาสนิก ชนเอง นอกไปจากนี้แล้ว คัมภีร์ที่เขียนขึ้นบนใบลานนั้น โดนลมฝนและ อุณหภูมิอย่างเมืองร้อนเข้า รวมทั้งมดและปลวก ช่วยให้อันตรธานได้ง่าย กว่าทางธิเบตและเอเชียกลาง ซึ่งยังเก็บตำรานั้น ๆ ไว้ได้กว่าพันปีก็มี

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ธิเบตได้รักษาพระพุทธศาสนาแบบตันตรยานไว้ได้ โดยนิกายนี้เป็นหลักในชมพูทวีปเมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ราว ๆ พันปี ใน ขณะที่ลังการักษารูปแบบของเถรวาทหรือทักษิณยานไว้ได้ และจีนรักษา มหายานหรืออาจารยวาทไว้ได้แล้วแพร่ขยายออกไปยังเกาหลีญี่ปุ่น และ เวียดนาม โดยที่มหายานและตันตรยานเคยแพร่ขยายไปถึงสยาม กัมพูชา และอินโดนีเซียด้วย
 
ตันตรยานหรือวัชรยานนั้นถือว่า พระภิกษุสงฆ์ต้องเคร่งครัดตามพระธรรม วินัยอย่างฝ่ายเถรวาท หากมุ่งที่โพธิสัตวบารมีเพื่อขนสรรพสัตว์ให้ข้ามโอฆ สงสารอย่างฝ่ายมหายาน โดยมีการสอนมนตร์กันอย่างรหัสนัย อันเรียกว่า ตันตรวิธี คือ ศิษย์เรียนจากพระอาจารย์เจ้าโดยตรงด้วยวิธีการอภิเษก สืบ ทอดพระธรรมวิเศษจากคุรุหรือลามะถึงสานุศิษย์โดยนัยแห่งวัชยานคือมียาน เป็นเพชรอันอาจตัดกิเลสได้ขาดอย่างรวดเร็วทันใจในชาตินี้ ไม่ต้องรอไปถึง ชาติหน้าโน้น

ในบรรดาผู้นำทางศาสนานิกายวัชยานหรือตันตรยานของธิเบตนั้น ท่าน ปทุมสัมภวะ หรือปทุมสมภพถือเป็นต้นนิกาย ดังท่านนาคารชุนเป็นสดมภ์ หลักทางมหายาน และท่านพุทธโฆสาเป็นพระอรรถกถาจารย์ใหญ่ของ ฝ่ายเถรวาทนั่นเอง ส่วนชาวพื้นเมืองในธิเบตเองนั้น ถือกันว่า ท่าน เกน- ดรุน-ดรุป เป็นพระอาจารย์เจ้าที่สำคัญยิ่ง ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๔ - ๒o๑๘ เมื่อท่านมรณภาพล่วงไปแล้ว บรรดาสานุศิษย์ พากันกล่าวว่าท่าน เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะยังไม่ยอมตรัสรู้ หากจะกลับมาเกิดเพื่อช่วยสรรพ สัตว์ ทั้งยังเชื่อกันด้วยว่า ท่านได้บารมีจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ อวตารให้มาเกิดในธิเบตเพื่อประดิษฐานพระศาสนาให้มั่นคง

อันพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ นั้น ทางตันตรยานถือว่า ท่านคือบุคคลาธิษ ฐานแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันอาจถือกำเนิด เป็นชายก็ได้ หญิงก็ได้ ( เช่นเจ้าแม่กวนอิม ) เป็นเทพก็ได้ สัตว์ก็ได้ ฯลฯ เท่ากับการอวตารหรือแบ่งภาคมาเกิด ส่วนพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า อันเป็นธรรมาธิษฐานนั้น ในทางบุคคลาธิษฐานก็คือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ โดยที่พลานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ในทางบุคคลาธิษฐาน ได้แก่ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

เมื่อเชื่อแน่ว่า ท่าน เกน-ดุน-ดรุป เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะกลับชาติมาเกิด อีกในธิเบต โดยท่านให้นัยไว้ก่อนมรณภาพ หลังจากนั้นไม่นาน พวกสานุศิษย์ จึงค้นหาทารกที่เกิดใหม่ได้ว่าคือ พระอาจารย์เจ้า กลับชาติมาเกิด และเมื่อ ท่าน เกน-ดุน-ดรุป กลับชาติมาเกิดเป็นครั้งที่ ๓ แล้วนั้น จึงได้รับสมัญนามว่า ทะไลลามะ จากอัลตัน ข่าน พระมหากษัตริย์แห่งมงโกเลีย จึงหันมาสมาทาน พระพุทธศาสนาเพราะเมตตาบารมีของพระอาจารย์เจ้ารูปนี้ ทำให้ชาติมงโกเลีย เปลี่ยนสภาพจากความเป็นนักรบที่ดุร้าย อันเคยไปพิชิตถึงยุโรปและกรุงจีน มาเป็นชนชาติที่สงบแต่นั้นมา และประชาชนยังนับถือพระพุทธศาสนานิกาย วัชรยานมาจนบัดนี้ ทั้งที่จีนยึดครองไป และที่รัสเซียมีอำนาจทางการเมือง เหนือในอีกส่วนแล้วก็ตาม

ทะไล ในภาษามงโกล แปลว่า ทะเล ลามะในภาษาธิเบตแปลว่า อาจารย์ รวมความแล้วหมายความว่าพระอาจารย์ผู้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้งดุจดัง มหาสมุทร โดยถือเอาพระนามนี้มีผลย้อนหลังไปถึงท่านเกน- ดุน - ดรุป องค์แรก องค์ที่ได้รับถวายพระนามจึงถือได้ว่าเป็นทะไลลามะองค์ที่ ๓

ทะไลลามะดำรงตำแหน่งประมุขทางศาสนานิกายวัชรยานอยู่ประมาณ ร้อยปีจนถึงองค์ที่ ๕ จึงทรงไว้ซึ่งพระสถานะประมุขแห่งอาณาจักรด้วย และศาสนจักรด้วย ทั้งนี้เพราะมงโกเลียสนับสนุน ทั้งยังทรงพระปรีชา สามารถมากทางรัฐประศาสนศาสตร์ ตำแหน่งดังกล่าวสืบต่อเนื่องมาจนถึง องค์ปัจจุบัน นับเป็นอันดับที่ ๑๔ หากถูกจีนยึดครองธิเบตในทางการเมือง เมื่อพ.ศ.๒๕o๒ เป็นเหตุให้องค์ทะไลลามะเสด็จลี้ภัยพาลมาประทับที่ธรรม ศาลาในประเทศอินเดียพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสจำนวนหลาย แสน เป็นเหตุให้แพร่พระพุทธศาสนาออกไปยังนานาประเทศอย่างน่าสน ใจยิ่ง

จากจำนวนทะไลลามะทั้งหมดนั้น บัดนี้มีพระประวัติและพระนิพนธ์ของ แทบทุกพระองค์ออกมาเป็นภาษาอังกฤษด้วย แล้ว ๕ พระองค์แรก ดูทรง จะเป็นนักปราชญ์ ฉลาดการสอนธรรม เป็นประการสำคัญ ยังองค์ที่ ๗ และที่๘ ก็สำคัญนัก ส่วนองค์ที่ ๖ ออกจะทรงเฮี้ยว ๆ อยู่สักหน่อยและมีเรื่อง ขำ ๆ เล่าเกี่ยวกับพระองค์ท่านมาก

ในช่วงศตวรรษที่แล้ว มีการเมืองจากต่างประเทศเข้าไปพัวพันกับสถานะ ของทะไลลามะมากอยู่ตั้งแต่องค์ที่ ๙ จนองค์ที่ ๑๒ ต้องเผชิญกับอำนาจ ของเนปาลกับจีน ซึ่งบีบบังคับธิเบตยิ่งขึ้น ทั้งภายหลังยังมีอังกฤษและ รัสเซียที่พยายามแพร่อิทธิพลเข้าไป โดยไม่ต้องเอ่ยถึงมิชชันนารีฝรั่งเอา เลยก็ได้ ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ ต้องพยายามประคับประคองประเทศชาติ มาก บางครั้งต้องทรงอพยพหลบจีนบ้าง อังกฤษบ้าง จนสิ้นพระชนม์ลง ใน พ.ศ. ๒๔๗๖

(http://www.meaus.com/dalailama11.GIF)

เมื่อทะไลลามะสิ้นพระชนม์ลง ย่อมมีการเลือกตั้งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ให้เป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะหาองค์ใหม่ได้ แล้วถวายคำ ปรึกษาหารือ หรือปกครองในพระนามาภิไธยจนบรรลุพระนิติภาวะ

ทางด้านประชาราษฎร พอรู้ว่าองค์พระประมุขสิ้นพระชนม์ แทบทุกครัว เรือนย่อมคอยสังเกตุการฝัน และเฝ้ามองปรากฏการณ์อันอาจเป็นสิริมงคล พิเศษ เพื่อจะรู้ว่าทารกที่มาเกิดใหม่อาจเป็นองค์ทะไลลามะก็ได้

พระศพทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ ประดิษฐานไว้ในท่านั่ง ณ พระราชวังฤดูร้อน แห่งกรุงลาสา ๒ ครั้ง ยามราตรีที่พระศพพลิกพระพักตร์ไปทางตะวันออก ทั้งมีรุ้งพวยพุ่งขึ้นและเมฆปรากฏอย่างประหลาดทางท้องฟ้าภาคตะวันออก ด้วย ส่อว่าทะไลลามะองค์ใหม่คงจะไปปฏิสนธิทางแถบนั้น

เมื่อได้สัญลักษณ์เช่นนี้ ผู้สำเร็จราชการจึงออกไปยังทะเลสาบใกล้กรุงลาสา เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนาอธิษฐาน ขอนิมิตหมายสำหรับแสวงหาที่ประสูติของ ทะไลลามะ

นิมิตที่ปรากฏจากทะเลสาบคือวัดที่มีอาคารสูงสามชั้น ประกอบไปด้วย พระเจดีย์ทรงจีนสีทองมียอดคล้ายโดม มุงหลังคาด้วยกระเบื้องสีเขียวขุ่น หลังพระเจดีย์มีทางเดินสีขาวเข้าสู่เรือนชาวบ้าน ตัวเรือนมีชายคาทรงแปลก และมีสุนัขธิเบตตัวใหญ่อยู่หน้าประตู

เป็นอันส่งคณะผู้สำรวจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือก่อน โดยไปปรึกษา กับคณะลามะพื้นเมืองและหารือพระสงฆาธิการตามท้องถิ่น เพื่อหาราย งานเกี่ยวกับทารกที่ถือกำเนิดอย่างพิเศษ โดยทางบิดามารดาฝันอย่างแปลก ประหลาดด้วย
 
ทางแถบอัมโด มีทารกเข้าข่ายแห่งการพิจารณา ๑๒ คน ทุกคนได้รับการ ทดสอบ แล้วคณะผู้สำรวจส่งตัวแทนบางคนไปยังเรือนพ่อค้าม้าชาวธิเบต แห่งหนึ่ง ซึ่งได้ทราบว่ามีทารกเกิดมาได้ ๒ ปีแล้ว

คณะนี้ปลอมตัวไป หัวหน้าแต่งตัวเป็นคนรับใช้ ให้คนใช้ครองผ้าดังเป็น พระคณาจารย์ใหญ่เข้าไปบอกเจ้าของบ้านว่าเป็นกลุ่มผู้แสวงบุญ มาเพื่อน มัสการพระ ณ วัดกุม-บุม ทางแถบนั้นขออนุญาติจากมารดาทารก เพื่อค้าง คืน ซึ่งตามปกติบุญจาริกย่อมประพฤติปฏิบัติกันเช่นนี้ในธิเบต
 
เมื่อคณะนี้เดินเข้าเรือน ได้สังเกตุเห็นเด็กชายอายุ ๒ ขวบ หัวหน้าคณะ ที่แต่งเป็นคนรับใช้ คล้องลูกประคำที่คอ โดยที่ประคำสายนี้เป็นของทะไล ลามะองค์ที่ ๑๓ พอเด็กเห็นเข้าเท่านั้นได้วิ่งเข้าไปยังพระรูปนี้ แย่งลูกประคำ มาและบอกว่า " นี่ของฉัน " แล้วปีนขึ้นไปนั่งบนตักของท่านองค์นั้น ซึ่ง พูดว่า " ฉันจะให้ลูกประคำเธอ ถ้าเธอบอกได้ว่าฉันเป็นใคร " เด็กตอบทันที ว่า " ท่านเป็นพระจากวัดเสระ " ซึ่งถูกต้อง ครั้นถามต่อไปว่าคนที่นั่งถัดไป เป็นใครเด็กเอ่ยชื่อเสียงเรียงนามได้ถูกต้องอีก

คณะผู้สำรวจเก็บความแปลกใจไว้เงียบ ๆ ตลอดคืน รุ่งเช้าก็ลาเจ้าของ บ้านไป เด็กร้องไห้และวิ่งเต้น ขอตามไปด้วย

คณะผู้สำรวจรายงานกลับไปยังเมืองหลวงว่าเห็นทีจะได้ทะไลลามะองค์ ใหม่แน่แล้ว แต่ก็ต้องสำรวจต่อไปอีก โดยไม่ได้กลับไปบ้านนั้นอีกหลาย เดือนต่อมา

เมื่อกลับมาครั้งหลัง ทุกรูปครองผ้าแแบบสมณะ หากบอกเจ้าของบ้านว่า มาหาการเกิดใหม่ของลามะที่สำคัญ อันมักมีอยู่เนือง ๆ ในธิเบต ด้วยริมโปเจ ที่ทรงสมาธิคุณขั้นสูง กำหนดการเกิดใหม่มีได้เป็นร้อย ๆ รูป เป็นแต่ถือกัน ว่าทะไลลามะทรงคุณวิเศษสูงกว่าองค์อื่น ๆ เท่านั้น แม้ในครอบครัวนี้เอง เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ก็มีลามะในแถบนั้นรูปหนึ่งกลับชาติมาเกิด

คราวนี้ คณะผู้สำรวจนำสิ่งของของทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ มาด้วยหลายชิ้น และเอาของปลอมที่คล้าย ๆ กันมาด้วย คือ ลูกประคำดำสาย ๑ ลูกประคำ เหลืองสาย ๑ ธารพระกร ๑ กลองที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ๑ เอาของจริงของ ปลอมวางไว้บนโต๊ะให้เด็กเลือก เด็กเลือกประคำดำได้ถูกต้องทันที แล้วก็ หยิบประคำเหลืองได้ถูกต้องด้วย ส่วนธารพระกร ๒ อันนั้น เด็กชะงักทีแรก เลือกได้อันผิดแล้ววางจึงเลือกได้อันถูก แท้ที่จริงทราบกันภายหลังว่า ธาร พระกรที่เด็กแรกหยิบนั้นเคยมีผู้ถวายทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ ซึ่งทรงเก็บไว้ วันหนึ่ง แล้วประทานให้ผู้อื่นไปส่วนกลอง เด็กหยิบถูกทันทีเลย

คณะผู้สำรวจแน่ใจว่าค้นได้ทะไลลามะองค์ใหม่แน่แล้วจึงส่งม้าเร็วไป แจ้งข่าวยังเมืองหลวงซึ่งต้องใช้เวลา ๒ เดือน ( เพราะถ้าส่งโทรเลขต้อง ผ่านเมืองจีน กลัวความลับรั่ว ) พร้อมกันนี้คณะผู้สำรวจก็ต้องติดต่อเจ้า เมืองทางแถบนั้น ซึ่งเป็นชายแดนติดต่อกับจีนทางทะเลสาบโกโกนอร์ แจ้งว่าพบเด็กซึ่งอาจเป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ คนที่เข้าข่ายแห่งการคัด เลือกเป็นทะไลลามะ จึงอยากขออนุญาติพาตัวไปเมืองหลวงเพื่อคัดเลือก ในการเข้ารอบ

เจ้าเมืองเป็นจีนมุสลิม และเป็นนายทหารที่มีชื่อเสียงไม่ดีนัก ทั้งยังฉลาด แกมโกงอีกด้วยพอทราบข่าวจากคณะสำรวจ ก็ให้ไปตามพ่อแม่เด็กมาและ ให้เอาตัวเด็กมาด้วย แล้วถามเด็กอายุ ๓ ขวบว่า " เธอคือทะไลลามะหรือ " เด็กตอบว่า " ใช่ ฉันคือทะไลลามะ " เจ้าเมืองเลยยึดเอาตัวเด็กไว้ แล้วเรียก เงินแท่งเป็นคาไถ่ ๕ แสนเหรียญจากรัฐบาลธิเบต เมื่อได้เงินแล้วจึงยอมปล่อย ตัวเด็กไป


(http://4.bp.blogspot.com/_1EDafL1qUqg/TDiLde7YviI/AAAAAAAAMnI/hcyxSbE8ajU/s400/dalai+lama+child.jpg)


เป็นอัน อัญเชิญทะไลลามะองค์ใหม่ขึ้นเสลี่ยง นำข้ามภูเขาลูกต่าง ๆ ไปยัง กรุงลาสา เมื่อพระชนม์ครบ ๕ จึงสถาปนาขึ้นเป็นทะไลลามะองคืที่ ๑๔ ถวายพระนามว่า เตนซิน กยัตโส แล้วก็ต้องทรงศึกษาพระธรรมวินัยอย่าง เข้มงวดกวดขันภายในพระราชวังโปตาลา แล้วยังต้องไปศึกษาตามวัดใหญ่ ๆ อีกหลายแห่ง พระอาจารย์ประจำพระองค์มี ๒ รูป ล้วนเป็นนักปราชญ์คน สำคัญของธิเบตทั้งคู่แต่พอมาถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ จีนคอมมิวนิสต์ก็บุกธิเบต เมื่อพระชนม์ได้ ๑๕

ตามปกติ ทะไลลามะจะไม่ทรงว่าราชการบ้านเมืองจนบรรลุนิติภาวะเมื่อ พระชนม์ได้ ๑๘ หากเกิดภาวะวิกฤตขึ้น จึงต้องทรงรับภาระหน้าที่ทาง การเมืองเมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ หลังจากนั้นได้เสด็จไปปักกิ่งกับปันเจน ลามะ ซึ่งถือว่าเป็นอุปราชทางศาสนา ได้ทรงพบทั้งเมาเซตุงและจูเอนไลและแน่ พระทัยว่าจีนจะยึกครองธิเบต และจีนก็ทำเช่นนั้นในปี ๒๕o๒

ที่เล่ามานี้ เก็บความจากหนังสือฝรั่ง ( ซึ่งถือพุทธ ) เขียนขึ้น หากจะอ่าน จากพระนิพนธ์ของพระองค์เอง ขอให้ดูแผ่นดินและประชากรของข้าพเจ้า อันเป็นชีวประวัติ ซึ่งได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกแล้วเป็นครั้งที่ ๓ โดยทรงเขียนขึ้น แต่ พ.ศ. ๒๕o๕ และทรงเล่าเหตุการณ์อันเลวร้าย จากการกระทำของจีน คอมมิวนิสต์อย่างทรงไว้ซึ่งเมตตากรุณยภาพมาก จากนั้นมาจนบัดนี้คอม มิวนิสต์จีนได้ทวีความรุนแรงในการกดขี่ข่มเหงธิเบตและพระพุทธศาสนา ในทุก ๆ ทาง แม้จะอ้างเลศอย่างไรก็สุดแท้ ถ้าสาธุชนคนไทยเข้าใจเรื่อง ทะไลลามะและเรื่องวัชรยานของธิเบตได้มากเพียงไร จักเป็นคุณประโยชน์ ในทางโลกและทางธรรมยิ่งขึ้นเพียงนั้น

ข้อสำคัญ ขอชาวเราอย่าหลงเลศจีนคอมมิวนิสต์และอย่าใจแคบเกี่ยวกับ พุทธศาสนานิกายอื่น ซึ่งแม้จะต่างจากเรา ก็ช่วยให้เราเข้าใจพระสัทธรรม ในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ในเรื่องการกลับมาเกิดใหม่ด้วยแล้ว ข้าพเจ้า เคยพบท่านลามะชาวธิเบตที่ทรงสถานะเช่นนี้บางรูป แต่ละรูปล้วนมีความ อ่อนน้อมถ่อมตนและมีคุณธรรมอื่น ๆ อันเคารพเลื่อมใส องค์ทะไลลามะ ข้าพเจ้าก็เคยเฝ้า และยืนยันได้ว่าพระองค์ทรงไว้ซึ่งพระคุณสมบัติอันพิเศษ ซึ่งสาธุชนชาวเรากราบไหว้ได้สนิทใจ ทั้งยังเรียนรู้อะไร ๆ จากพระจริยวัตร ของพระองค์ได้มาก แม้คริสต์ศาสนิกชนก็อาราธนาพระองค์ท่านไปนำสวด ภาวนาเพื่อสันติภาพร่วมกับองค์พระสันตปปาที่เมืองอัสซิซิในอิตาลีเมื่อปี กลาย ก่อนหน้านี้ อธิบดีสงฆ์นิกายอังกฤษแห่งวิหารเวสมินสเตอร์ในกรุง ลอดอน ก็ขอให้ท่านแสดงธรรมต่อนักพรตคริสต์ทุกนิกายที่สนใจทางสมาธิ ภาวนา นับว่าเป็นที่สรรเสริญของทุกคนที่ร่วมรรับฟังพระวัจนะของพระองค์ ท่านทั้งนี้ โดยไม่จำต้องเอ่ยถึงในที่ประชุมฝรั่งอื่น ๆ ที่ถือพุทธทั้งในยุโรป และอเมริกา

ที่น่ายินดี ก็ตรงที่ทรงรับโครงการไทย - ธิเบตในเรื่องธรรมชาติศึกษา เพื่อ แก้ปัญหานิเวศวิทยา ตามครรลองแห่งพระพุทธศาสนาไว้ในพระอุปถัมภ์ ให้เป็นต้น แม้สภาคริสต์จักรโลกก็อยากเรียนรู้วิธีการดังกล่าว โดยชุมชน พุทธแบบธิเบตก็ได้ขยายตัวออกไปในโลกที่ ๑ ยิ่ง ๆ ขึ้นทุกที หากไม่เป็น ไปในทางกร้าวร้าวหรือเผยแผ่ศาสนาอย่างหยาบ ด้วยต้องการผูกมิตรกับ ทุกลัทธิ ทุกศาสนา โดยไม่ต้องการแย่งศาสนิกนิกรจากใคร
 
 ในแทบทุกประเทศ รวมทั้งมาเลเซีย มีสถาบันการศึกษาพุทธศาสนาแบบ วัชรยานขึ้นด้วยแล้วแล้วทั้งนั้น เว้นแต่ประเทศไทยซึ่งแม้องค์ทะไลลามะเอง รัฐบาลยังไม่ยอมให้เสด็จเข้ามา ความข้อนี้ น่าที่พุทธศาสนิกชนคนไทยจะ พึงสำเหนียกไว้เป็นอย่างยิ่ง
 
ภาคผนวก จาก หนังสือเตรียมตัวตายอยางมีสติ โดย ส.ศิวลักษณ์
หัวข้อ: Re: เตรียมตัวตายอยางมีสติ : ทาไลลามะแห่งธิเบต
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ ธันวาคม 26, 2010, 08:43:12 pm
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด