ใต้ร่มธรรม

วิถีธรรม => จิตภาวนา-ปัญญาบารมี => แนวทางปฏิบัติธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2010, 05:26:13 pm

หัวข้อ: เปลื้องอาลัย.. จิตตวรรคที่ ๓
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2010, 05:26:13 pm

(http://cdnimg.visualizeus.com/thumbs/c6/87/art,colour,creative,creativeimages,design,fineart-c687350b126e01f6b39fa1ef3ed8fb90_h.jpg?ts=93246)

เปลื้องอาลัย.. จิตตวรรคที่ ๓
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
คาถาธรรมบท

[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง
ฉะนั้นจิตนี้ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณ
เพียงดังน้ำซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร

ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำ
โยนไปแล้วบนบกดิ้นรนอยู่
ฉะนั้น การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์
อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี
เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิต
ที่เห็นได้แสนยากละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่
เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้

ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป
หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้ง
ซึ่งพระสัทธรรมมีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย

ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มีจิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะ
ไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียบด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย

กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้วมีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับ
แผ่นดิน ประดุจท่อนไม้ไม่มีประโยชน์
โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกัน
พึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด
พึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย  และความทุกข์นั้น
มารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ไม่พึง
ทำเหตุนั้นได้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้วพึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ

จบจิตตวรรคที่ ๓   

miracle of love
Pics by : Google 
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
หัวข้อ: Re: เปลื้องอาลัย.. จิตตวรรคที่ ๓
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2010, 06:06:05 pm
วิธีละมิจฉาทิฏฐิ
   
   ปัญหา ทำอย่างไรจึงจะละมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และอัตตานุทิฏฐิได้ ?
   
   พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...
   ว่าเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิ
   
   รู้เห็น รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์.... รู้เห็น จักขุวิญญาณ...
   โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...
   
   รู้เห็น จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...
   
   รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะผัสสะเหล่านี้
   เป็นปัจจัย ว่าเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้
   
  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ (เป็นต้นนั้น) ว่าเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้"   
  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นจักษุ...เป็นต้นนั้น) ว่าเป็นอนัตตาจึงจะละสักกายทิฏฐิได้....”
   
   
มิจฉาทิฏฐิสูตร สฬา. สํ. (๒๕๔-๒๕๖)
ตบ. ๑๘ : ๑๘๔-๑๘๙ ตท. ๑๘ : ๑๖๖-๑๖๗
ตอ. K.S. ๔ : ๙๓

http://www.84000.org/true/377.html
baby@home
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
หัวข้อ: Re: เปลื้องอาลัย.. จิตตวรรคที่ ๓
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ มกราคม 01, 2011, 10:12:46 am
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม