(https://lh4.googleusercontent.com/-4qROszYbV4A/UuyLMR5xHZI/AAAAAAAAFwo/_PEHWNcR2Ew/w878-h548-no/1795542_641948812529054_2028208776_n.jpg)
มาฆบูชา
วันแห่งความรักในพระพุทธศาสนา
โดย ..... นสพ.ผู้จัดการออนไลน์
....... วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 ......
ในปีหนึ่งๆ นอกเหนือไปจาก วันพระ ตามปกติพุทธศาสนิกชน
จะมีวันพระที่จัดเป็นวันสำคัญพิเศษอีก 3 วัน
คือ .. วันมาฆบูชา .. วันวิสาขบูชา .. และ วันอาสาฬหบูชา
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
ถือได้ว่าเป็น วันพระพุทธ
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก
เป็น วันพระธรรม
วันมาฆบูชา วันที่พระสงฆ์มาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
เพื่อรับฟังหลักการ อุดมการณ์ ตลอดจนวิธีปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนา
เป็น วันพระสงฆ์
(https://lh4.googleusercontent.com/-UdjYkheCRoQ/US8ee7JfVCI/AAAAAAAAMq0/94vYzQ5nMf4/s482/Buddha.moon.stop.jpg)
วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญ เดือนมาฆะคือเดือน 3 หรือเดือน 4 ในปีที่มีอธิกมาส เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ในสมัยโบราณ ก่อนที่จะมีพุทธศาสนานั้น การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะเป็นพิธีดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า ศิวาราตรี คือ เป็นการทำพิธีลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าของพราหมณ์ ซึ่งเป็นพิธีใหญ่ในเทวสถานต่างๆ ... เมื่อพุทธศาสนาได้กำเนิดขึ้น พระภิกษุพุทธสาวกซึ่งมาจากวรรณะต่างๆ มีทั้งวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ และวรรณะอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่ก็เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนทั้งสิ้น
เมื่อถึงวันเพ็ญมาฆบูชา ได้เห็นพวกพราหมณ์ทำพิธีใหญ่ ซึ่งตนเคยทำมาก่อน ก็คงคิดว่าน่าจะทำอะไรทำนองนั้นบ้าง จึงได้พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย และนี้เอง จึงได้ก่อให้เกิดเหตุที่ถือว่าอัศจรรย์ขึ้นในเวลาต่อมา
กล่าวคือ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลา 9 เดือน ตั้งแต่วันเพ็ญ เดือน 6 ถึง วันเพ็ญเดือน 3 ของอีกปี และเริ่มออกสั่งสอนเป็นเวลา 7 เดือน สอนครั้งแรกคือไปโปรดปัญจวัคคีย์ เมื่อวันอาสาฬหบูชา คือวันเพ็ญเดือน 8 ในปีเดียวกับที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ลูกศิษย์ คือพระภิกษุที่เป็นพระสาวกขณะนั้นกว่า 1,300 รูป ซึ่งพระสาวกเหล่านี้ พระพุทธองค์ได้ทรงส่งออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทรงค้นพบใหม่ไปยังเมืองต่างๆ ส่วนพระองค์ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน หรือป่าไผ่ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ที่พระเจ้าพิมพิสารถวาย และถือเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
ปรากฏว่า พระสาวกที่เดินทางมาเฝ้าโดยมิได้นัดหมายกันนี้มีถึง 1,250 รูป ซึ่งถือว่าเป็นเหตุอัศจรรย์ยิ่ง เพราะเหตุการณ์เช่นนี้ ตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงได้กำหนดเรียกวันนี้ว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันประชุมใหญ่ครั้งแรกและเป็นครั้งพิเศษ ด้วยเป็นวันที่ประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1..... พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นพุทธสาวก จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
2..... พระพุทสาวกเหล่านี้ ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
3..... พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ หูทิพย์ กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ และบรรลุ อาสวักขยญาณ คือญาณหยั่งรู้ธรรมที่เป็นที่สิ้นแห่งอาสวะหรือกิเลสทั้งหลาย
4..... วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนมาฆะ พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดคือ เป็นเวลากลางคืน อากาศไม่ร้อน ท้องฟ้าแจ่มใส ... เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม (มาฆปุรณมี) หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะให้การมาครั้งนี้ของพุทธสาวกเป็นการประชุมพิเศษในการแสดงโอวาทปาติโมกข์เพื่อประกาศหลักการ อุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนาให้นำไปใช้ได้ในทุกสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญแห่งพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธทั้งหลายจะได้ยึดถือเป็นแม่บทสำหรับประพฤติปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ และยังเป็นแม่บทในการเผยแพร่พระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้
โอวาทปาติโมกข์ ที่ว่านี้ เป็นคนอย่างกับพระปาฏิโมกข์หรือศีล 227 ข้ออันเป็นพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ และพระภิกษุต้องลงโบสถ์ฟังทุกวันพระกึ่งเดือน ซึ่งโอวาทปาติโมกข์ที่พระบรมศาสดาแสดงในวันนั้น ถือเป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญ หรือเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา เลยทีเดียว
หลักธรรมดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ส่วน
คือ หลักธรรม 3 อุดมการณ์ 4 และ วิธีการ 6 อันได้แก่
หลักการ 3 ได้แก่
1..... การไม่ทำบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจาและใจ
2..... การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง
3..... การทำจิตใจให้ผ่องใส ด้วยการละบาปทั้งปวง ถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนถึงขั้นบรรลุอรหันตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง
อุดมการณ์ 4 ได้แก่
1..... ความอดทน คือการอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจา ใจ
2..... ความไม่เบียดเบียน คือ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวนหรือเบียดเบียนผู้อื่น
3..... ความสงบ คือ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย วาจาและใจ
4..... นิพพาน คือ การดับทุกข์ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8
วิธีการ 6 ได้แก่
1..... ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือโจมตีใคร
2..... ไม่ทำร้าย คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
3..... สำรวมในปาติโมกข์ คือ ความเคารพระเบียบวินัย กติกา กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม
4..... รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอดี พอกินพออยู่
5..... อยู่ในสถานที่ที่สงัด คือ อยู่ในสถานที่ที่สงบและมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
6..... ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือการฝึกจิต หมั่นทำสมาธิภาวนา
สำหรับหลักการ 3 ที่กล่าวข้างต้น ถือได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นการสอนหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่พุทธศาสนิกชน
ส่วนอุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 นั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหลักครูหรือหลักของผู้สอนคือวิธีการที่จะนำไปปรับปรุงตัวให้เป็นกัลยาณมิตรทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งผู้ใดปฏิบัติได้นอกจากจะเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ยังจะช่วยเผยแพร่พระศาสนาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
(http://www.numtan.com/story_2/picupreply/119-6-1091284855.jpg)
ภาพประกอบโดย ..... อุทัย ขุนจิต หรือ ปิยรัตน์
- http://www.numtan.com/story_2/view.php?id=119 (http://www.numtan.com/story_2/view.php?id=119)
ขอบพระคุณ ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : numtan
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแผ่..
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
(http://www.patongbeachthailand.com/moxiepix/b1_674.jpg)
TonightShow-14-Feb-2011 3/5 (http://www.youtube.com/watch?v=kgvQzaONHUU#ws) อัปโหลดโดย nongmaiFanClub เมื่อ 14 ก.พ. 2011
TonightShow-14-Feb-2011 3/5
ทูไนท์โชว์ - ท่านว.เทศนาวันมาฆะ 14Feb11 3/5
TonightShow-14-Feb-2011 4/5 (http://www.youtube.com/watch?v=g4MA9Hy2tOU#ws) TonightShow-14-Feb-2011 4/5
TonightShow-14-Feb-2011 5/5 (http://www.youtube.com/watch?v=YhwPkLD0PGE#ws) TonightShow-14-Feb-2011 5/5
คำว่า มาฆบูชา แปลว่า การบูชาพระรัตนตรัยในวันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันรำลึกถึงวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกระทำการประชุมอรหันตสาวก เพือแสดงหลักการ วิธีการ และอุดมการ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ... ซึ่งในวันนั้น มีเหตุการสำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ซึ่งเราเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมอันพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ คือ
1. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือ มฆะ (เพ็ญเดือน 3)
2. พระอรหันต์ 1250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
3. พระอรหันต์เหล่านั้น เป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานการบวชให้ทั้งหมด
4. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
องค์ 4 ประการนี้ บางแห่งอาจมี 4 ประการที่ไม่เหมือนกัน แต่เป็นที่สรุปได้ว่า มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นในวันนั้น ก็ถือว่าเป็นสันนิบาตได้ เหตุการณ์ที่น่าสำคัญควรจะมาอยู่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ .....
สิ่งที่น่าศึกษาในโอวาทปาฏิโมกข์
ในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
1. สัพพะปาปัสสะ อะกะรณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
เอตัง พุทธานะสาสะนัง นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
2. ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพาน เป็นธรรมอันประเสริฐสุด
น หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะปฆาตี ผู้ที่ยังฆ่าผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
3. อะนูปวาโท การไม่เข้าไปว่าร้ายใคร
อะนูปฆาโต การไม่เข้าไปทำร้ายใคร
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ คือ ศีลของภิกษุ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสะมิง รู้จักประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง ให้อยู่ในทีที่สงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค หมั่นประกอบความเพียรทางจิตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เอตํ พุทธานะสาสะนัง นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
ทั้ง 3 ตอนนี้ จะบอกถึง หลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ ในทางพระพุทธศาสนา คืออย่างไร ?
หลักการ ในทางพระพุทธศาสนา ก็คือ
สัพพะปาปัสสะ อะกะรณัง ต้องไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา ควรทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง ควรทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
วิธีการ ในทางพระพุทธศาสนา ก็คือ
อะนูปวาโท การไม่เข้าไปว่าร้ายใคร
อะนูปฆาโต การไม่เข้าไปทำร้ายใคร
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ คือ ศีลของภิกษุ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสะมิง รู้จักประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง ให้อยู่ในที่ที่สงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค หมั่นประกอบความเพียรทางจิตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
และอุดมการณ์ ในทางพระพุทธศาสนา ก็คือ
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพาน เป็นธรรมอันประเสริฐสุด
น หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะปฆาตี ผู้ที่ยังฆ่าผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
หลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้ร่วมประชุมในขณะนั้น ผู้จะออกไปเผยแผ่พระศาสนา จะต้องยึดเป็นหลัก การจะเข้าไปสั่งสอนผู้อื่น จะต้องไม่ไปว่าร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร ให้สำรวมในศีล รูจักประมาณในการบริโภค ให้อยู่ในที่สงัด และต้องหมั่นประกอบความเพียรทางจิต
ในการสอนหรือการเผยแผ่นั้น ต้องยึดหลักการว่า ต้องไม่ทำบาป ให้ทำบุญกุศล ให้ทำจิตให้ผ่องแผ้ว เป็นหลัก ฯ
ในฝ่ายของอุดมการณ์นั้น พระนิพพาน เป็นอุดมการณ์อันสูงสุด แต่บุคคลผู้ยึดถือเพศแหงบรรชิต จะได้ชื่อว่าเป็นบรรพชิตนั้น ต้องไม่เข้าไปฆ่าผู้อื่น จะเป็นสมณะได้ต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น และข้อสำคัญ ความอดทน มีตบะ มีความเพียร จะทำให้ดำรงเพศบรรชิต ไว้ได้ นี้จัดเป็นอุดมการณ์หลักในทางพระพุทธศาสนา ฯ
อนึ่ง โอวาทปาฏิโมกข์นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงแก่พระอรหันต์สาวก เพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระศาสนา แต่สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ
หลักการทั้ง 3 ข้อนั้นต้องยึดเป็นหลักให้มั่น จะทำอะไรก็แล้วแต่ จะเป็นอาชีพหรือไม่เป็นอาชีพ จะทำทางกาย วาจา หรือทางใจ ทางโลก หรือทางธรรม จิตจะต้องไม่เป็นบาป ในขณะเดียวกัน จิตจะต้องประกอบด้วยบุญกุศล และจิตใจต้องผ่องแผ้ว กิจกรรมทุกอย่างถ้ายึดหลักการได้อย่างนี้ เป็นอันไม่ผิด จัดว่าได้ปฏิบัติตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ....ฯ
อนึ่ง กิจกรรมทุกอย่าง ท่านบอกวิธีการว่า จะต้องไม่กล่าวว่าร้ายใคร (อนูปะวาโท) เช่นตัวเองทำบุญ แต่ไปเห็นคนอื่นไม่ทำ ก็อย่าไปกล่าวว่าร้ายเขา ว่าเขาไม่รู้จักทำบุญกุศล เป็นต้น ฯ ไม่ไปทำร้ายใคร จะทำบุญก็ไม่ควรไปทำร้ายสัตว์ หรือฆ่าสัตว์ คือ ฆ่าสัตว์เอาไปทำบุญ หรือฆ่าสัตว์เพื่อบูชาสิ่งต่าง ๆ (อนุปะฆาโต) ฯ มีความสำรวมในศีล คือ รักษาศีลตามสถานะของตนนั่นเอง คือ เป็น ฆราวาส (ูผู้ครองเรือน มิใช่นักบวช) ก็รักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นต้น ฯ
อีกอย่างหนึง คำว่า "มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง" รู้จักประมาณในการบริโภค รวมไปถึงต้องรู้ว่าจะบริโภคอะไร อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ ข้อนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้ การไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นเหตุให้มนุษย์เราเป็นโรคอ้วน ไขมันมากเกินไป นำมาซึ่งโรคภัยต่าง ๆ มากมาย ฯ และอีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่บริโภคสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น สุรา เบียร์ ยาเสพติดต่าง ๆ ก็จัดว่าเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคได้เช่นกัน ฯ อีกประการหนึ่ง การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคที่เป็นไปสำหรับคฤหัสถ์ หรือฆราวาสนั้น ท่านจัดเอาการไม่รู้จักบริโภคกามเข้าไปด้วย มุ่งหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ พูดง่าย ๆ การผิดศีลห้าข้อ กาเมสุมิจฉาจาร นั่นเอง ข้อนี้อาจมีโทษหนัก เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งโรคเอดส์ ซึ่งคร่าชีวิตคนมามากต่อมากแล้ว ฯ นี่เป็นโทษของการไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักวิธีบริโภคอย่างถูกต้อง ฯ
อนึ่ง ผู้ที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิต ควรอยู่ในที่อันสงัด ในที่ที่สมควร เพื่อประโยชน์ในการทำจิตให้ยิ่ง หรือคิดทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิได้ง่าย เป็นประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียน และอะไร ๆ อีกหลายอย่าง เช่น สมาธิ สามารถช่วยระงับโรคบางอย่างได้ เป็นต้น ..........ฯ
นิพพานเป็นอุดมการณ์อันสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา เพื่อความสิ้นทุกข์ทั้งปวง หมดสิ้นขันธ์ห้า ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ..........ฯ
-http://www.bds53.com/?name=article&file=readknowledge&id=169
(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/17623_434923739920357_1083043726_n.jpg)
“วันมาฆบูชา” ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “จาตุรงคสันนิบาต” เหตุการณ์อัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ๔ ประการ ได้แก่
(๑) คืนนั้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส
(๒) พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖
(๔) พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ทรงเห็นปรากฏการณ์พิเศษนี้ จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่ที่ประชุมสงฆ์ เนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ คนส่วนมากมักจดจำกันเพียง ๓ ข้อ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำความดีให้ถึงพร้อม, การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะโบราณไทยท่านบัญญัติให้เป็น “หัวใจ” หรือแก่นของพระพุทธศาสนา แต่ความจริงแล้ว โอวาทปาติโมกข์มีถึง ๑๓ หัวข้อ คือ
๑. ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นเครื่องเผากิเลสที่ยอดเยี่ยมที่สุด
๒. พระนิพพาน ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นยอด (เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต)
๓. ผู้ที่ฆ่าหรือทำร้ายคนอื่นอยู่ มิใช่บรรพชิต
๔. ผู้เบียดเบียนคนอื่นอยู่ มิใช่สมณะ
๕. ไม่ทำบาปทั้งปวง
๖. ทำความดีให้ถึงพร้อม
๗. ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
๘. ไม่ว่าร้ายคนอื่น
๙. ไม่เบียดเบียนคนอื่น
๑๐. เคร่งครัดในระเบียบข้อบังคับ
๑๑. อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด
๑๒. รู้จักประมาณในอาหารการกิน
๑๓. ฝึกจิตให้มีสมาธิขั้นสูง
(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c0.0.400.400/p403x403/71778_10200571206024771_1179806281_n.jpg)
-http://www.facebook.com/thavorn.petchteep
(http://kmnha.nha.co.th/blog/pedestrian/files/2011/02/Buddha.gif)
วันมาฆบูชาหรือวันจาตุรงคสันนิบาติ ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2556....วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปี วันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา
ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียกัน
(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/179266_423276561090624_1612431459_n.jpg)
เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ
1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4. พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้
พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า และบริวารทั้งหมด 1,000 รูป
กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป
การประชุมมหาสาวกสันนิบาตนั้น ในยุคของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ มีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง
ดังเช่น ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้ทรงประชุมสาวกสันนิบาตถึง 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 มีพระอรหันตสาวก 100,000 โกฏิ
ครั้งที่ 2 มีจำนวน 90,000 โกฏิ
ครั้งที่ 3 มีจำนวน 80,000 โกฏิ
แต่ละครั้งก็จะทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระ
เหมือนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประทานเอาไว้ทุกอย่าง
(http://2.bp.blogspot.com/_0EX9f9hrCpM/S4eAgww5t7I/AAAAAAAAA_k/UEnRWwIuSEk/s1600/488px-Magha_Puja.jpg)
สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์ชื่อว่าเป็นแม่บทในการเผยแผ่คำสอนพุทธศาสนา
เป็นการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่ส่งเสริมให้มนุษย์
มีความรักที่แท้จริงต่อกัน โอวาทปาฏิโมกข์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วนใหญ่
คือ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ ดังนี้
อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 3 ประการ ได้แก่
1. ความอดทน คือ ทนต่อความยากลำบากทุกอย่างเพื่อจะได้เป็นตบะคอยเผาผลาญกิเลสให้หลุดร่อนจากใจ ทนได้ก็ไปนิพพานได้ (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา)
2. นิพพาน คือ เป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติทั้งหมด (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
3. ไม่เบียดเบียนกัน คือ การเลิกก่อเวรเบียดเบียนทำร้ายทางกายและจิตใจ อยู่อย่างสงบเหมือนสมณะ จึงจะสามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้ง่าย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเห ฐยนฺโต)
หลักการ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมี 3 ประการ ได้แก่
1. ไม่ทำบาปทุกชนิด จะบาปมากหรือบาปน้อยก็ไม่ทำ เพราะมีกฏแห่งกรรมคอยบังคับอยู่ ต้องศึกษาจากท่านผู้รู้ว่าสิ่งใดควรทำ หรือไม่ควรทำ บาปแม้เพียงน้อยนิดไม่คิดทำ (สพฺพปาปสฺส อกรณํ)
2. ทำความดีให้ถึงพร้อม ความดีอะไรที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้ามีโอกาสต้องทำให้เต็มที่ บุญแม้น้อยนิดก็ต้องคิดทำ ไม่ว่าคนอื่นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม (กุสลสฺสูปสมฺปทา)
3. กลั่นจิตของตนให้ใส โดยหมั่นนั่งสมาธิ(Meditation)ทุกวันไม่ให้ขาด เมื่อใจใสมากแล้ว พระนิพพานก็ไม่ไกลเกินจะไปถึง เพราะสมาธิก็คือใจที่ตั้งมั่นที่เป็นกุศล (สจิตฺตปริโยทปนํ)
(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/45677_421986494552964_1840268872_n.jpg)
-NWO- -http://www.sookjai.com/index.php?topic=57495.msg86122#msg86122
(https://lh3.googleusercontent.com/-FhyhIklpsxQ/Uv2quLVZ8iI/AAAAAAAAF1o/ck9pNWdi-Uk/w433-h664/2011-02-05-09-01-39_0205.jpg)
(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/s480x480/485235_509775462408483_784157130_n.jpg)
มาฆบูชา ๒๕๕๖ ...สักการะ ๒๕ พระบรมธาตุ ภาคใต้ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ชุมพร
๑. วัดพระธาตุสวี (พระธาตุกาวี) ต.สวี อ.สวี
๒. วัดพระธาตุขวัญเมือง ต.นาโพธิ์ อ.สวี
๓. พระธาตุเจดีย์ถ้ำเขาเงิน ต.ขันเงิน อ.หลังสวน (รัชกาลที่ ๕ ทรงบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒)
สุราษฎร์ธานี
๑. วัดพระบรมธาตุไชยา ต.ในเวียง อ.ไชยา
๒. พระธาตุเจดีย์ศรีสุราษฏร์ อ.เมือง
พังงา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์วัดคีรีเขต (วัดลุ่ม) ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า
๒. พระมหาธาตุเจดีย์พุทธธรรมบันลือ(พระทันตธาตุ) วัดราษฎร์อุปถัมภ์ ต.บางเหรียง อ.ทับปุด
นครศรีธรรมราช
๑. วัดพระมหาธาตุ อ.เมือง (พระเขี้ยวแก้ว)
๒. วัดธาตุน้อย บ.จันดี ต.หลักช้าง อ.ช้างกลาง
พัทลุง
๑. พระเจดีย์วัดเขาเมืองเก่า ต.ชัยบุรี อ.เมือง
๒. พระธาตุเจดีย์วัดสะทัง ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน
๓. พระธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
สงขลา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์เขาตังกวน อ.เมือง
๒. พระมหาธาตุเจดีย์วัดเก้าแสน ต.เขารูปช้าง อ.เมือง
๓. พระมหาธาตุเจดีย์วัดชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร
๔. พระศรีรัตนมหาธาตุเจดีย์ วัดจะทิ้งพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ
๕. พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีมหาธาตุ วัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ
๖. วัดพระเจดีย์งาม ต.บ่อพรุ อ.ระโนด
๗. พระธาตุวัดคงคาเลียบ ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่
ปัตตานี
๑. พระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ ต.ป่าไร่ อ.โคกโพธิ์
๒. พระธาตุเจดีย์เขามะรวด ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ
นราธิวาส
๑. พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล อ.เมือง (สร้างทับพระเจดีย์เก่าบนเขากง)
๒. วัดขวัญประชา ต.สุไหงโกลก อ.สุไหงโกลก
๓. วัดชลธาราสิงเห ต.เจ๊าะเห อ.ตากใบ
ยะลา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธาธิวาส ต.เบตง อ.เบตง
(http://www.watmahathat.com/wp-content/uploads/2013/02/Wan-Makhabucha.jpg)
สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC)
-http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7885.0
(https://lh4.googleusercontent.com/-6XOIwdUB3v0/Uv1ioO361uI/AAAAAAABDaU/SLszeSI4Gvc/w433-h578/01884_7.gif)
สาระสำคัญของ"โอวาทปาฏิโมกข์"
การปฏิรูปชีวิตสู่ทางสว่าง
//-หลักที่หนึ่ง
"ความอดทนฝึกฝนตนเอง
....................เป็นยอดตะบะ
พุทธะ มีนิพพาน.......
..........................เป็นเป้าหมาย
บรรพชิต คือผู้หมด เจตนา
....................ทำร้ายทำลายใคร
สมณะ ทั้งหลาย.................
...มุ่งหมายสันติธรรม(เห็นคุณค่าความสงบ)ฯ
//-หลักที่สอง
ตัดทาง..........ไม่ไปสู่อบาย
ทำความฉลาดดีทั้งหลาย....
.....................ให้ปรากฎ
ชำระเหตุ อุปทานทุกข์ ใจวิสุทธิ์... ไม่ละลด
ทั้งหมดคือ คำสั่ง สอน... พระศาสดาฯ
//-หลักที่สาม
การไม่กล่าวร้าย......... ไม่ทำร้าย ใครๆ
ใส่ใจในทางสว่าง สติปัญญา...เสมอนั่น
ไม่เป็นทาสบริโภคนิยม... จนหมดพลังชีวาในชีวิตกัน
ฝึกสงบ สงัดจิต ยกระดับภูมิจิต ภูมิธรรม...
.........ให้ยิ่งนั้น ประเสริฐเอยฯ
(https://lh5.googleusercontent.com/-5MraDwhLnwY/Uv2KXE4NR6I/AAAAAAAAF0M/HxmOaTBsnjk/s533/4.jpg)
//-หลักที่หนึ่งเน้น ภาระหน้าที่ของ"นักบวช"
หลักสอง สำหรับทุกชีวิต ถ้าอยากชนะ ความทุกข์ และไม่เป็นทาสกิเลส
หลักสาม เป็นธรรมบาลคุ้มครองตนและสังคม ให้พบสันติสุข สันติธรรม
>>> Suraphol Kruasuwan
originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
(https://lh6.googleusercontent.com/-9hHQ8GZ91Ps/UvzCQ5E2PXI/AAAAAAAAQ_k/h0EVInJakMc/w433-h328/57+-+1)
.... ส่งความรัก จากใจ ไปถึงเขา
" รัก " ของเรา.. แผ่ไป ให้ไพศาล
สรรพสัตว์ น้อยใหญ่ ในจักรวาล
นิรันดร์กาล ประสพสุข ปลอดทุกข์ภัย
: ธรรมะ สวัสดี