ใต้ร่มธรรม

อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี => มาลาบูชาครู => หลวงปู่เทส เทสรังสี => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2011, 11:59:45 am

หัวข้อ: เพียงมายาหรือของไม่เที่ยง หลวงปู่เทสก์
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2011, 11:59:45 am


(http://statics.atcloud.com/files/comments/65/658339/images/1_display.jpg)

เพียงมายาหรือของไม่เที่ยง
หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

ตามกระแสพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าทุกข์
เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้

ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหากเป็นของที่ควรละ
ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น

ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของความเพียรแล้ว อาจคิดว่าความขยันหมั่นเพียร
ในภารกิจต่าง ๆ มันเป็นทุกข์ลำบากเหนื่อยยากมิใช่หรือ
จริงดังนั้นคนตกน้ำไม่ยอมว่ายมีหวังตายโดยถ่ายเดียว จะรอดมาได้
แต่เฉพาะคนที่ว่ายน้ำได้หมายพึ่งตนเองเท่านั้น


ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียร
เสียแล้ว ใคร ๆ ในโลกนี้
จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน

สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ย่อมพลัด
เข้าไปสู่ภวังค์เป็น “ฌาน
ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไรย่อมกลายเป็น “สมาธิ” ได้เมื่อนั้น

เมื่ออยู่ใน “สมาธิ” นั้นเล่า ก็มิไช่ว่าจิตจะโง่เง่าซึมเซอะแต่มันมีความผ่องใส
พิจารณาธรรมอันใดก็ปรุโปร่งเบิกบาน
“ฌาน” ต่างหาก ที่ทำให้จิตสงบแล้วซึมอยู่กับสุขเอกัคตาของฌาน
ขออย่าได้เข้าใจว่า “ฌาน” กับ “สมาธิ” เป็นอันเดียวกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความโง่อันสงบจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ยังดีกว่าความกล้า
หลงเข้าไปในกาม
ทั้งหลายเป็นไหน ๆ

หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ
พระองค์มิได้ตรัสว่า..
อนัตตาเป็นของไม่มีตนมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า
ตนตัวคือร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว
แต่จะหาสิ่งที่เป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มีดังนี้ต่างหาก…

เมื่อสรุปให้สั้น ๆ แล้ว … ผู้ที่ยังยึดอัตตาอยู่ พระองค์ก็สอนให้ประกอบภารกรรม
เพื่อประโยชน์
แก่อัตตา โดยทางที่ชอบที่ควรไปก่อน จนกว่าผู้นั้นจะเห็นแจ้ง
ด้วยตนเองว่า สิ่งที่เราถือว่าเป็นอัตตาอยู่นั้นแท้จริงแล้วมิใช่อัตตา มันเป็นเพียงมายา
หรือของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
… แล้วพระองค์จึงสอน “อนัตตา” ที่แท้จริง

การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้น คือ “ปัญญาขั้นต้น
คนใดว่าตนดีคนนั้นยังไม่ดี
ใครว่าตนวิเศษวิโสหรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่

พระพุทธศาสนานี้สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุดหมดสิ้นสงสัยหมดเรื่อง
ไม่เหมือนวิชาชีพอื่น เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด…
จึงว่าพระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไม่ถึงที่สุด…

แท้จริงความนึกคิดมิใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นตน
จึงเป็นทุกข์
ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

(https://lh5.googleusercontent.com/-9dgGEjmE6hA/UY0ZPM-_ZyI/AAAAAAAAD0k/5wEFU9VRjgg/w497-h373/922783_509966815729613_696382344_n.jpg)

นำมาจาก.. ผลไม้ในสวนธรรม
- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,117.0.html/center (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,117.0.html/center)]



(https://lh6.googleusercontent.com/-KKEnAr9Qywc/UZFnLMjMbgI/AAAAAAAAJQw/d9IwuOEOpo0/w280-h366-no/56+-+1)

ความเป็นจริงต้องสอนตนเองเสียก่อน :หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ความเป็นจริงต้องสอนตนเองเสียก่อน
แล้วจึงค่อยสอนคนอื่น
เราปฏิบัติอย่างไร ? เรารู้อย่างไร ? เราเข้าใจอย่างใด ?

การสอนคนอื่นก็ไม่ใช่ไปตั้งหน้าตั้งตาสอนแต่คนอื่น
เราปฏิบัติเห็นดีเห็นชอบ เห็นว่าเป็นธรรมเป็นวินัย
เห็นคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นธรรมเป็นวินัย เราก็เอาอันนั้นแหละมาสอน

ไม่ยากหรอกสอนคน ถ้าเราสอนตนเองได้แล้วมันไม่ยาก
เว้นแต่.. เราไม่สอนตนเอง
ที่เราไม่สอนตนเองนั่งอยู่เฉยๆไม่รู้เรื่องรู้ราว อยู่เฉยๆเรื่อยไป
ตนเองก็ไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ ก็เลยไม่ทราบว่าจะเอาอะไรไปสอน

เราเห็นตัวของเราเข้าใจตัวของเราดีแล้ว
สอนตัวของเราให้รู้สึกเห็นดีเห็นชอบเราจึงเอาอันนั้นแหละ
ไปสอนคนอื่น มันก็ได้ความเข้าใจน่ะซี
ที่สอนเขาไม่เข้าใจ ก็เพราะเหตุที่เราไม่เข้าใจตัวเราเอง

: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

(https://lh6.googleusercontent.com/-7njEModLv-g/UZAmdYrSsoI/AAAAAAAAJIQ/2KcHLCY0Bpg/w480-h388-no/56+-+1)

>>> G+ ชาตรี กองนอก
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ