ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => หยาดฝนแห่งธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 15, 2011, 09:46:13 am

หัวข้อ: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 15, 2011, 09:46:13 am


(http://www.buddhadham.com/article/art_243246.jpg)


วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส
คือ มีเดือน ๘ สองหน
วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖)
ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้



(http://www.numtan.com/story_2/picupreply/119-4-1091282405.jpg)



(http://www.lasallechote.ac.th/upload/visakhabusha_1.jpg)


(http://gotoknow.org/file/yanuprom/lordbuddhadescending.jpg)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 15, 2011, 10:19:32 am


(http://www.luangpukahlong.com/image_board/1241771851_tour.jpg)

ประสูติ

๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี   

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี

ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนาง ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น

ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ  ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน

ก็ได้รับการถวายพระนามว่า  "สิทธัตถะ"  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช
จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 15, 2011, 10:33:35 am

(http://upic.me/i/ee/wallpaper.gif)

ตรัสรู้

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์
 ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า
เป็นการตรัสรู้ อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน 
วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมี
พระพุทธเจ้าขึ้นในโลก ชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า)
อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น
ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ"
จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

(http://www.igetweb.com/www/buddhadham/private_folder/visaka02.jpg)

ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ
เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป


(http://gotoknow.org/file/raru2508/preview/001.JPG)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 15, 2011, 10:40:49 am


(http://www.luangpukahlong.com/image_board/1241771965_tour.jpg)

ปรินิพพาน

๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่
ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา
เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี  วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่
ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก
เพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก 
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญ ชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจ
และอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรม
มาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้น
ทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์
พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง
แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ
เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า

และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง
อันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

(http://www.igetweb.com/www/buddhadham/private_folder/02_19.jpg)

หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น


วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน
เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึก
ถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา
เพื่อรำลึกถึง พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการ
รำลึกถึงเหตุการณ์ อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน
และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ



Credit by : http://www.buddhadham.com/index.php?mo=3&art=243246 (http://www.buddhadham.com/index.php?mo=3&art=243246)
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ


(http://61.19.212.186/banphaicity/pic/small_10854896763visakha.jpg)


สมุดภาพพระพุทธประวัติ' ๘o ภาพ
โดย ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก

คลิ๊กค่ะ :
http://www.sookjai.com/index.php?topic=3330.0

สมุดภาพพุทธประวัติ สำหรับประชาชน
เล่าโดย พระอาจารย์พยอมกัลยาโณ
คลิ๊กค่ะ :
http://www.sookjai.com/index.php?topic=995.0

 
หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ดอกโศก ที่ เมษายน 15, 2011, 10:43:13 am
อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม
หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: สายลมที่หวังดี ที่ เมษายน 15, 2011, 09:17:46 pm
อนุโมทนา สาธุค่ะพี่แป๋ม :13:
หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 16, 2011, 10:59:01 am


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/585/2585/images/8-5-52/kit2.jpg)

กรมการศาสนา จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชาปี53
พิมพ์หนังสือบัตรอวยพรกว่า50,000ใบแจกประชาชนร่วมงาน


นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนาร่วมกับองค์กรเครือข่าย ทางพระพุทธศาสนา จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา  ประจำปี 2553  จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาขึ้น ระหว่างวันที่ 22 – 28 พฤษภาคม 2553 แบ่งเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

(http://www.bloggang.com/data/sorra/picture/1180936400.jpg)

โดยส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร

แบ่งเป็น 3 แห่ง ได้แก่ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง  วันที่  22 – 28 พฤษภาคม
วัดสระเกศ วันที่  26 – 28 พฤษภาคม 
วัดยานนาวา วันที่ 28 พฤษภาคม

(http://www.dhammajak.net/board/files/11_1231738510.jpg_504.jpg)

โดยมุ่งเน้นให้ เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญวันวิสาขบูชา ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้  และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า   ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก

        (http://www.palungdham.com/news/goldmountain07.jpg)

สำหรับกิจกรรมของงานเทศกาลวิสาขบูชาประกอบด้วยพิธีทำบุญตักบาตร เจริญพระพุทธมนต์ การแสดงพระธรรมเทศนา พิธีเวียนเทียน โดยเฉพาะที่บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง จะมีการเปิดศูนย์จริยศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรม การประกวด แข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ การตอบปัญหาธรรมะ เล่านิทาน รวมทั้งการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ สำหรับในส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ณ วัด หรือ ศาสนสถานที่สำคัญทั่วประเทศ นอกจากนี้  ยังได้จัดพิมพ์บัตรอวยพรจำนวน  50,000 ใบ และหนังสือพุทธวิธีแก้ปัญหาชีวิต  จำนวน  25,000  เล่ม  แจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/15/Vesak_in_Wat_Khung_Taphao_%28Thailand%29.jpg)

:http://www.posttoday.com/


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/06/Walk_with_lighted_candles_in_hand_around_a_temple.jpg/150px-Walk_with_lighted_candles_in_hand_around_a_temple.jpg)

พุทธสังเวชนียสถานเนื่องด้วยวันวิสาขบูชา
               เหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา เกิดภายในบริเวณที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล หรือประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน โดยสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติอยู่ที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาลในปัจจุบัน, สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่ พุทธคยา และสถานที่ปรินิพพานอยู่ที่ กุสินารา ประเทศอินเดียในปัจจุบัน โดย 2 ใน 3 ของพุทธสังเวชนียสถานที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

มีที่น่าสนใจมากมาย รวมภาพด้วยค่ะ...  -http://skly.in.th/buddhism2yourmind/?m=200905

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 16, 2011, 11:03:58 am

(http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg)

ร่วมอนุโมทนาบุญ
ในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาวิสาขบูชา..

พระรัตนตรัย

สัญลักษณ์สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัยในฐานะที่เป็นองค์รวมสูงสุดแห่งมนุษย์ ธรรมชาติและสังคมเป็นแม่แบบแห่งความสมบูรณ์สูงสุด และเป็นองค์คุณธรรมที่สัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะเป็นแบบอย่างและเป็นอุดมคติ ชีวิต พิธีกรรมการแสดงถึงความเป็นพุทธศาสนิกชน ก็คือการปฏิญาณตนนับถือพระรัตนตรัยโดยการเปล่งวาจา 3 ครั้ง ดังนี้

1. พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
2. ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
3. สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

พระรัตนตรัยแปลว่า ดวงแก้วอันประเสริฐ 3 ดวงคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึงอาจจำแนกอธิบายได้ดังนี้

ก. พระรัตนตรัย ในฐานะสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา

1. พระพุทธเจ้า

องค์แห่งพระรัตนตรัยที่ 1 คือพระพุทธเจ้า
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงคุณลักษณะ 2 ประการ

ประการที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าในฐานะบุคคลหรือมนุษย์ในประวัติศาสตร์ พระนามว่าสิทธัตถะ ทรงเป็นราชโอรสของพระมหากษัตริย์ พระนามว่าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาเผ่าพันธุ์ศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูติ ณ สวนลุมพินีวันในวันเพ็ญเดือน 6 ณ ชมพูทวิป อายุ 16 พรรษา อภิเษกสมรสกับพระนางสิริยโสธรา มีพระโอรส 1 พระองค์ พระนามว่า ราหุล

ประการที่สอง พระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้มีตนอันพัฒนาสูงสุด และเป็นแม่แบบที่มนุษย์ทั้งปวงที่จะต้องถือไว้เป็นตัวอย่าง เพราะทรงมีพัฒนาการสูงสุดในความเป็นมนุษย์ โดยทรงคุณสมบัติ 9 ประการ กล่าวคือเป็นพระอรหันต์

1.         ตรัสรู้เองโดยชอบ
2.         ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
3.         เสด็จไปดีแล้ว
4.         เป็นผู้รู้แจ้งโลก
5.         เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
6.         เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
7.         เป็นผู้มีโชค

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถย่นย่อได้ 3 อย่างคือ

1.         พระปัญญาคุณ ทรงมีพระปัญญาคือ ความรู้สัพพัญญูญาณ
2.         พระกรุณาคุณ ทรงคุณความดี คือความกรุณาในฐานะที่เป็นคุณธรรมที่ทำให้ความดีอื่น ๆ ทั้งหลาย และประโยชน์สุขเกิดขึ้นแก่คนอื่น
3.         พระวิสุทธิคุณ ทรงบริสุทธิ์ทั้งพระชาติ และความประพฤติทางกาย วาจา ใจ โดยทรงประกอบด้วยวิมุติ

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 16, 2011, 11:05:41 am

(http://img78.imageshack.us/img78/1928/budhavx2.gif)

2. พระธรรม

พระธรรมคือความจริงที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญา ซึ่งทำให้ผู้ค้นพบเป็นพุทธะ และถ้าเป็นผู้นำพระธรรมนั้นมาประกาศสั่งสอนผู้อื่น เผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ตามหรือตั้งศาสนาได้ เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าค้นพบเอง แต่ถ้าไม่ได้เผยแพร่พระธรรมนั้นแก่คนอื่น เรียกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะไม่สามารถจะตั้งศาสนาได้ ถ้าเป็นผู้รู้ธรรมตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนนั้น เรียกว่าอนุพุทธหรือ สาวก                                                                     

คุณของพระธรรมมี 6 อย่างคือ

1.) เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว
2.) เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
3.) เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยกาล (หรือกาลเวลา)

4.) เป็นธรรมอันควรเรียกให้มาดู (พิสูจน์ได้)
5.) เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาในตน
6.) เป็นธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ความหมายของพระธรรมอาจแยกได้ 5 ประการคือ

1.) ตัวธรรมชาติ คือ กลุ่มหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย
2.) ตัวกฎธรรมชาติ คือ กฎแห่งเหตุผล กฎแห่งกรรม เป็นต้
3.) หน้าที่ตามธรรมชาติ คือ การทำหน้าที่ให้ผลอย่างตรงตัวและพันธกรณีในทิศทั้ง 6
4.) ผลที่เกิดจากหน้าที่ คือความสุข ทุกข์ บาป บุญ เกิดขึ้นตามการปฏิบัติทั้งในส่วนตัว และสังคมมีลักษณะเป็นธรรมาธิปไตย เพราะถือหลักการหรือธรรมเป็นใหญ
5.) ธรรมวินัย คือคำแนะนำสั่งสอนและข้อบัญญัติห้ามมิให้การกระทำอีก

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นคุณชาติที่ทำให้ปุถุชนผู้ปฎิบัติตามกลายเป็นพระอริยบุคคลมี 4 ระดับ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ พระธรรมมีวิมุติเป็นแก่น และความพ้นทุกข์เป็นรส

พระคัมภีร์รองรับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว เรียกพระไตรปิฎกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยระเบียบวินัยและศีล พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยหลักธรรมที่แสดงแก่บุคคลต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เวลา และสถานที่ และพระอภิธรรมปิฎกว่าด้วยองค์แห่งสภาวธรรมล้วน ๆไม่ปรารภบุคคลหรือสถานที่  พระธรรมทั้งปวงรวมเป็นสามอย่างคือ ปริยัติธรรม การศึกษาเล่าเรียน อันเป็นส่วนเบื้องต้น ปฏิบัติธรรม ได้แก่ความประพฤติตามธรรมที่ตนได้สดับมา และปฏิเวธธรรม คือผลของการปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรค อริยผล มีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น มีอรหันต์ผลเป็นที่สุด

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 16, 2011, 11:07:45 am

(http://lh6.ggpht.com/_3OAzmvxqsqg/SgKP6mIR3zI/AAAAAAAALWg/TOZfaSzpxP8/s640/P1050531.JPG)

3. พระสงฆ์

พระสงฆ์ คือผู้ที่เข้าถึงธรรมตามที่ทรงแสดง โดยอาศัยพระกรุณาคุณ ของพระพุทธเจ้าทำให้เข้าถึงธรรม มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นองค์แรก และต่อมาได้สำเร็จมรรคผล เรียกอริยสงฆ์ที่ยังไม่สำเร็จมรรคผลอย่างพระภิกษุทั่วไป เรียกว่าสมมติสงฆ์  เพราะท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและเป็นพยานการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตาม และได้สั่งสอนธรรมต่อมาจึงเป็นที่ควรเคารพนับถือ พระสงฆ์ คือผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง ตรงกับพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้

พระสงฆ์คือ บุคคลที่เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว จะมีฐานะแตกต่างไปจากคฤหัสถ์หรือบุคคลทั่วไปถือเพศเป็นสมณะ ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีหน้าที่ 2 ประการคือ

1. ทำหน้าที่ตนเอง คือการศึกษาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และทรงบัญญัติไว้เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในพระธรรมวินัยถูกต้องตามความเป็นจริง

2. หน้าที่ต่อสังคม พระสงฆ์นอกจากจะปฏิบัติในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วพระสงฆ์ในฐานะกัลยาณมิตรของสังคม มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ 6 ประการ กล่าวคือ

2.1) แนะนำอบรมชี้แจงให้เขาละเว้นความชั่ว

2.2) แนะนำสั่งสอนเชิญชวนให้เขาปฏิบัติดี

2.3) สงเคราะห์เขาด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา มุ่งดี ปรารถนาดีต่อเขา

2.4) ให้เขาได้ยินได้ฟังเรื่องที่เขาไม่เคยได้ยินได้ฟัง

2.5) อธิบายสิ่งที่เขาได้ฟังมาแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน ให้เข้าใจให้ชัดเจน                                                                     
2.6) บอกทางสุข ทางเจริญ และทางสวรรค์แก่เขา

พระสงฆ์ทรงคุณลักษณะ 9 ประการ คือ

1. เป็นผู้ปฏิบัติดี มุ่งปฏิบัติชอบด้วยพระวินัย พัฒนาตนเองไปตามลำดับไม่เป็นข้าศึกต่อผู้อื่น พยายามขัดเกลาจิตใจ และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนไปตามลำดับความสามารถของตน

2. เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือพยายามทำตนให้ตรงต่อคำสอนเหล่านั้น เป็นผู้ตรงต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อภารกิจการงานที่ต้องจัดต้องทำ

3. เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม คือ ปฏิบัติมุ่งให้สงบกาย วาจา ใจ จนถึงหลุดพ้นจากความทุกข์

4. เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติตามสมควรแก่สมณเพศ สมควรแก่ฐานะจนสามารถขจัดกิเลสได้โดยลำดับจนถึงหมดสิ้น

5. เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ปฏิบัติตนดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติสมควร ดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นที่เคารพสักการะของคนทั้งหลาย

6. เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ เป็นผู้เมื่อประชาชนต้อนรับแล้ว ย่อมเกิดความสุขสบายใจคือประสบบุญ อันมีผลเป็นความสุขทั้งในปัจจุบันและกาลภายหน้าด้วย

7. เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน คือ เป็นผู้ปฏิบัติดีงามเหมาะสมเป็นรับทักษิณาทาน เพราะช่วยให้ทานที่เขาบริจาคมีผล มีอานิสงส์มาก

8. เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ เป็นผู้ปฎิบัติชอบ ควรแก่การประณมมือไหว้ท่านด้วยความเคารพ เป็นการแสดงความเคารพต่อท่านผู้มีคุณความดี

9. เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งไปกว่าเพราะคุณความดีองท่าน ดังกล่าวมาแล้ว เป็นเหมือนกับนาที่ดี ชาวโลกที่ต้องการความดีอันเป็นสุข ย่ิอมคบหาสมาคมเพราะความเป็นกัลยาณมิตรบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวงเมื่อเข้าสมาคมย่อมได้รับสิ่งที่เป็นกุศล และความสุขเต็ม ที่

ดังนั้น พระสงฆ์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 16, 2011, 11:14:18 am

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1445439)
“ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน” ผลงานของ มาโนชญ์ เพ็งทอง


บทบาทของพระรัตนตรัย

1. พระรัตนตรัยในฐานะแม่แบบความสมบูรณ์สูงสุด


โลกและชีวิตเมื่อแบ่งองค์ประกอบที่สำคัญออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์กันแล้วจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม

เมื่อทั้งสามส่วนทรงตัวอยู่อย่างสมดุลกัน โลกและชีวิตจึงดำเนินไปถึงความสมบูรณ์สูงสุดได้ มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางแห่งส่วนทั้งสาม เพราะมนุษย์สามากระทำการต่าง  ๆ ได้อย่างอิสระ และกระทำทุกอย่างด้วยเจตนา เลือกปฏิบัติต่อตนเองและส่วนอื่น ๆ ได้คุณค่าแห่งการกระทำของมนุษย์ จึงเกิดขึ้นมาบนมาตรฐานตัดสินว่า การกระทำอย่างใดถือว่า ดี กระกระทำอย่างใดถือว่า ไม่ดี หรือชั่ว ตรงกับคำว่าบุญหรือบาป

มนุษย์ประกอบขึ้นด้วยกายกับจิต มีชีวิตดำเนินไปในท่ามกลางธรรมชาติและสังคม จึงกลายเป็นผู้มีพันธกรณี หรือหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาตนเองไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุด ด้วยการเข้าใจในธรรมชาติอย่างถูกต้อง และนำสังคมอันเป็นผลรวมแห่งความสัมพันธ์ของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ ไปอย่างกลมกลืน ซึ่งจะต้องพัฒนาตนเองก่อนส่วนอื่น ๆ

ธรรมชาติ คือ สิ่งแวดล้อมตัวมนุษย์ หรือระบบนิเวศนั่นเอง เมื่อแยกมนุษย์ออกเป็นส่วนเฉพาะต่างหากแล้ว ส่วนที่เป็นสิ่งแวดล้อมก็คือธรรมชาติ อันที่จริงธรรมขาติเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับมนุษย์อย่างแยกจากกันไม่ได้ เพราะมนุษย์ก็คือธรรมชาติ และต้องอิงอาศัยธรรมชาติอยู่อย่างมีอิทธิพลต่อกันไม่ยิ่งหย่อนกล่าวคือ ในภาคปฏิบัติมนุษย์ มนุษย์แม้จะเลือกกระทำต่อธรรมชาติได้แต่จำเป็นต้องรู้เท่าทัน และปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความฉลาด ไม่ให้ธรรมชาติเสียดุลต่อมนุษย์ เพราะว่าเมื่อใดธรรมชาติเสียดุลต่อมนุษย์ ผลร้ายก็จะตามมากระทบมนุษย์และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สังคม คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกันในหลายระบบ เช่น ในระบบเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ความเชื่อ การศึกษา และวัฒนธรรม เป็นต้น ความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มารวมกันนี้ ย่อมแสดงออกตามคุณภาพของจิตใจแต่ละคน มนุษย์ยิ่งอยู่รวมมากเท่าไหร่ ความซับซ้อนแห่งความสัมพันธ์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และแสดงตัวออกมาในรูปธรรมในฐานะสถาบันต่าง ๆ เป็นจุดศูนย์ประสานโยงหน่วยความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการเมือง สถาบันศาสนา เป็นต้น รวมเรียกว่าความสัมพันธ์ทางสังคม

มนุษย์ในฐานะเป็นส่วนที่มีการกำหนดบทบาทของตนได้ จะต้องทำหน้าที่ คือการประสานอย่างกลมกลืน ส่วนทั้ง 3 นี้ เมื่อเข้ามาผูกพันเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละส่วนแล้ว จะทำให้เกิดผลดีและผลร้ายที่เรียกว่า ทำให้ขาดความสมดุลกันขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง มนุษย์จะต้องพัฒนาทุกส่วนในลักษณะองค์รวมอย่างเอกภาพ เพื่อบรรลุความสมบูรณ์สูงสุด

2. พระรัตนตรัยในฐานะองค์รวมสูงสุด

มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม ตามที่กล่าวมาแล้ว มีส่วนสุดยอดตรงกันในแต่ละอย่าง องค์ที่ต่างกันกับ 3 ส่วนนั้นก็คือพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มนุษย์พัฒนาสูงสุดแล้วเป็นพระพุทธ ธรรมชาติเมื่อเราเข้าถึงแล้ว ตัวความจริงของธรรมชาติที่ปรากฏแก่มนุษย์คือ ธรรมะ หรือพระธรรม และสังคมที่พัฒนาถึงขั้นอุดมคติแล้ว ก็เป็นหมู่ชนที่เรียกว่าพระสงฆ์

จึงอาจกล่าวได้ว่า หลักของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าพระรัตนตรัย ก็คือองค์แห่งความสมบูรณ์ในระดับแห่งพัฒนาการสูงสุดแห่งส่วนทั้งสามของโลก และชีวิต กล่าวคือ พระพุทธเจ้าก็คือมนุษย์ผู้พัฒนาสมบูรณ์แล้ว โดยได้ค้นพบพระธรรมแบะเปิดเผยแก่สังคม เพราะทรงมีการพัฒนาแล้ว 4 ด้าน กล่าวคือ

1. มีการพัฒนากายคือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ไม่เฉพาะพัฒนาร่างกายให้เข็มแข็งมีสุขภาพดี หรือพัฒนาทักษะเท่านั้น

2. มีการพัฒนาศีล คือการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เป็นการพัฒนาการในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม

3. มีจิตพัฒนา คือ พัฒนาการจิตใจให้เป็นอิสระจากพันธนาการของกิเลสทั้งปวง (วิมุติ)

4. มีพัฒนาการทางปัญญา ที่เรียกว่าตรัสรู้

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ผู้พัฒนาตนที่สมบูรณ์ ได้ค้นพบธรรมะ และเปิดเผยธรรมแก่สังคมพระธรรมคือตัวความจริงของธรรมชาติที่เปิดเผยขึ้น โดยการค้นพบ และประกาศของพระพุทธองค์ พระสงฆ์ คือสังคมมนุษย์ที่พัฒนาตนแล้วด้วยการปฏิบัติ หรือเข้าถึงธรรมตามอยางพระพุทธเจ้า ความเป็นเอกภาพของพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นในลักษณะอิงอาศัยกัน ถ้าไม่มีพุทธะ ธรรมะก็ไม่ปรากฏ และสงฆ์ก็ไม่อาจจะพัฒนาให้เกิดสังฆะได้ถ้าไม่มีธรรมะ มนุษย์ก็ไม่พัฒนาเป็นพุทธะและสังฆะก็ไม่อาจเกิดขึ้น ถ้าไม่มีสังฆะก็ไม่มีเครื่องยืนยันความเป็นพุทธและธรรมก็คงไม่ปรากฏอยู่ต่อไป แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปตามกฏปฏิจจสมุปบาท

3. พระรัตนตรัยในฐานะองค์ความสัมพันธ์ของโลกและชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัยกับโลกและชีวิตอธิบายได้ดังนี้

1. พระพุทธเจ้าทรงพระคุณ 3 ประการ
คือ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และพระบริสุทธิ์คุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าสัมพันธ์กับธรรมชาติและสังคม คือ

ก. ทรงสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยมีปัญญารู้เข้าใจค้นพบความจริงในธรรมชาติ และได้ตัวธรรมะขึ้นมาด้วยปัญญาซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธกับพระ ธรรมในพระรัตนตรัย

ข. การที่ทรงค้นพบธรรมะในธรรมชาติด้วยปัญญาคุณนั้น ทำให้พระองค์หลุดพ้นจากความทุกข์ หลุดพ้นจากกิเลส และความชั่วทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ เป็นคุณสมบัติข้อที่สอง คือ พระปริสุทธิคุณประจำพระองค์

ค. เมื่อทรงค้นพบธรรมะก็กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยการหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงแล้วก็เกิดมีคุณธรรมต่าง ๆ ขึ้น คุณธรรมเหล่านี้แสดงออกต่อสังคมโดยผ่านคุณธรรมที่เป็นตัวนำ แสดงออกต่อสังคม ซึ่งทำให้เกิดพระสงฆ์มีรูปแบบอยู่ได้เพราะหลักการใหญ่ 3 ประการคือ

1. พระวินัย คือฐานและเป็นตัวควบคุมให้ก่อเป็นรูปสงฆ์ได้

2. สามัคคี คือ พลังยึดเหนี่ยว

3. กัลยาณมิตร คือ เนื้อหาของสงฆ์ เพราะพระสงฆ์ประกอบด้วยบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร ในเมื่อเนื้อหาของสงฆ์ก็คือตัวบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร สงฆ์จึงเป็นแหล่งของกัลยาณมิตร ที่คนในสังคมจะต้องเข้าพบหา แล้วก็ได้รับประโยชน์เป็นตัวช่วยนำมนุษย์ให้เข้าถึงธรรมะ และมาร่วมกันเป็นสมาชิกของสงฆ์ต่อ ๆ ไป                                                                       

ดั้งนั้น หลักของสงฆ์จึงมีวินัยเป็นพื้นฐาน มีความสามัคคีเป็นพลังยึดเหนี่ยว แล้วมีกัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ เป็นเนื้อหา กัลยาณมิตรธรรมคือ

3.1 น่ารัก คือเข้าใจถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเอง ชวนให้ผู้สมาคมอยากเข้าไปปรึกษาหารือ

3.2 น่าเคารพ คือ มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจเป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย

3.3 น่าเจริญใจ คือ ความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอเป็นที่น่ายกย่องควรเอาอย่าง ทำให้ผู้คบหาเอ่ยอ้าง และรำลึกถึงด้วยความซาบซึ้งใจ มั่นใจและภาคภูมิใจ

3.4 รู้จักพูดให้ได้ผล คือ พูดเป็นรู้จักชี้แจงแสดงธรรมให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือนเป็นที่ปรึกษาที่ดี

3.5 ทนต่อถ้อยคำ คือพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ซักถาม แม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกินและคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ อดทนฟังได้ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์

3.6 แถลงเรื่องสำคัญได้ คือกล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่กลิ้งซับซ้อนให้เข้าใจได้และนำประชาชนให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งขึ้นไป

3.7 ไม่ชักนำในอฐานะ คือไม่ชักจูงในทางเสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

4. พระรัตนตรัยสัมพันธ์กับมนุษย์

                          (http://www.precadet26.org/msgboard/userpic/zy2x(4).gif)

ความสัมพันธ์ระหว่างพระรัตนตรัยกับมนุษย์สามารถอธิบายได้ดังนี้


มนุษย์มีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าโดยที่ว่า พระพุทธเป็นแม่แบบที่ทำให้มนุษย์เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่พัฒนาตนจนกระทั่งบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดได้ จึงทำให้มนุษย์ทุกคนเกิดความมั่นใจว่ามนุษย์แต่ละคนเป็นสัตว์ฝึกฝนได้ มีศักยภาพในตัวเองที่สามารถพัฒนาไปจนกระทั่งเป็นพระพุทธเจ้าได้ ศรัทธาในองค์พระพุทธก็หมายถึงการศรัทธาในศักยภาพของตนเอง  (ตถาคตโพธิสัทธา) คือเชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์ตรัสรู้กลายเป็นพุทธะซึ่งโยงความสามารถของตัว มนุษย์เองว่าด้วยมนุษย์เราสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นพระพุทธะได้ ให้เป็นคนสมบูรณ์

(http://thm-a01.yimg.com/nimage/833c89bbeca6e014)

http://www.oknation.net/blog/wisdomage/2009/05/07/entry-2 (http://www.oknation.net/blog/wisdomage/2009/05/07/entry-2)
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 10, 2011, 05:11:57 pm


(http://img.ryt9.com/img/thumb/ryt9.com/420x0/5c/iqa75420632559b97a632d833d08494d53.jpg)

กทม.ชวนพุทธศาสนิกชนร่วมงานวันวิสาขบูชา 11-17 พ.ค.นี้
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า
เสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2554 01:54:55 น.

นายสมศักดิ์  จันทวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ประจำปี 2554 ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมการศาสนา ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 พ.ค.54 เวลา 06.00 — 21.00 น. ณ มณฑลพิธีลานอเนกประสงค์ กองทัพภาคที่ 1 ในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน โดยจัดทำเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  พิธีบวงสรวงบูรพกษัตราธิราช  พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ(พระธาตุหลวง) จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานบนมณฑป ณ มณฑลพิธีลานอเนกประสงค์ กองทัพภาคที่ 1 ในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน การเทศน์มหาชาติ พิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตภาวนาถวายเป็นพระราชกุศล การจัดนิทรรศการส่งเสริมพระพุทธศาสนา นิทรรศการพระพุทธรูปสำคัญ 4 ภาค พิธีเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ พิธีทอดผ้าป่าสี่มุมเมืองสมทบกองทุนส่งเสริมพระพุทธศาสนา เวทีสะท้อนธรรม การประกวดบรรยายธรรม การอภิปรายธรรม และพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 229 รูป ในวันวิสาขบูชา เวลา 06.30 น.

ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ พระราชดำเนินทรงเปิดงานในวันพุธที่ 11 พ.ค.54 เวลา 17.00 น.

กรุงเทพมหานครจึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมกิจกรรมในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ประจำปี 2554 ได้ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ค.นี้


(https://lh4.googleusercontent.com/-4C8hMYZ1AZM/UZ7mDSNA7mI/AAAAAAAAQiQ/rt0l-o4hkbw/w406-h304-o/candle03.gif)
http://www.ryt9.com/s/nnd/1143800 (http://www.ryt9.com/s/nnd/1143800)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 10, 2011, 05:22:58 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/05/04/hjf66chc77ea86abdd5gk.jpg)

ผู้นำพุทธโลกร่วมถวายราชสดุดีในหลวง

คมชัดลึก :ผู้นำชาวพุทธทั่วโลกร่วมถวายราชสดุดี "ในหลวง" ทรงเป็นต้นแบบพระมหากษัตริย์ที่พัฒนาประเทศด้วยธรรมะ เตรียมนำแนวพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจ รวมทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ด้าน วธ. จัดหุ่นละครเล็กโจหลุยส์เผยแพร่บทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” สู่ประชาชน พ.ค.-ก.ค. นี้

   วันที่ 4 พ.ค. ที่โรงแรมโซฟีเทลเซ็นทารา แกรนด์ พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) แถลงข่าวการจัดกิจกรรมนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2554 และเนื่องในโอกาสครบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

      พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เมื่อปี 2553 มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ค.นี้ ที่ มจร. อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ โดยหัวข้อการประชุมครั้งนี้คือ “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” โดยประมุขสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช ผู้นำชาวพุทธ กว่า 1,700 รูป/คน จาก 86 ประเทศทั่วโลก ตอบรับเข้าร่วมงาน

 พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อว่า สำหรับหัวข้อในการประชุมครั้งนี้เป็นการกำหนดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากชาวพุทธทั่วโลก โดยคณะกรรมการดำเนินงานจัดกิจกรรมนานาชาติฯ ซึ่งมีผู้นำชาวพุทธจาก 25 ประเทศ เป็นกรรมการนั้น เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ธรรมะในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นในการกำหนดหัวข้อในการประชุมว่า “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” ก็เพื่อต้องการการนำพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องต่างๆ

     รวมทั้งแนวทางตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาหารือในการประชุม และออกเป็นมติให้ผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลกนำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปประยุกต์ใช้กับประเทศของตนเอง ขณะเดียวกันในการกล่าวสุนทรพจน์ของประมุขสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช และผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลก ก็จะมีการกล่าวถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 13 พ.ค. เวลา 17.00น. ผู้นำชาวพุทธจากที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะเดินทางไปเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย

     อธิการบดี มจร กล่าวด้วยว่า เนื่องในโอกาสสำคัญทั้งวันวิสาขบูชาโลก และร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงอยากเชิญชวนคนไทยทำกิจกรรม 3 อย่างคือ 1. ประดับบ้านเรือนด้วยธงธรรมจักร หรือธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 รวมทั้งประดับไฟอาคารบ้านเรือนด้วย 2. ทำความดีเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ 3.ร่วมกันทำพุทธานุสติ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า

ที่มา; คมชัดลึก วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554
ข้อมูล; สมหมาย  สุภาษิต
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQNQ7xwXwDtmfrIY4TH-g-nnpXzB2-yZLggFnkEmBOQur0HJGRFkg)

http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7288 (http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7288)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 10, 2011, 05:34:05 pm


(http://www.mcu.ac.th/BO/Pict/news/Img2022/rector2.jpg)

มจร.จัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชา ถวายเป็นพุทธบูชา
ถวายฯ แด่ในหลวง

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
คอลัมน์: ก้องจักรวาลเหนือ สวรรค์-นรก

นับเป็นมหามงคลครั้งยิ่งใหญ่ของเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อองค์การสหประชาชาติให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 12 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (แอสแคป)

ทั้งนี้ เจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติ ได้กล่าวในการแถลงข่าว ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ถ.พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ (4 พ.ค.) ว่า เป็นการประชุมชาวพุทธที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี เพราะว่าชาวพุทธทั่วโลกถือว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันของพระพุทธเจ้า เมื่อประเทศไทยได้รับฉันทานุมัติให้เป็นเจ้าภาพ ชาวพุทธทั่วโลกก็จึงได้มาประชุมกันที่นี่ และก็ร่วมกันเฉลิมฉลองในโอกาสที่สำคัญสองประการคือ เนื่องในโอกาสครบ 26 ศตวรรษของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อีกประการหนึ่งชาวพุทธได้ร่วมเฉลิมฉลองพร้อมกับคนไทยทั่วประเทศในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา โดยมีบุคคลสำคัญของโลกกว่า 5,000 รูป/คน มาประชุมกัน

         (http://uppic.net/full/484880be7418cd16a7884939b6afc4dc)
                      พุทธดุริยาง​คศิลป์ยิ่งให​ญ่ฉลองสองวาร​ะ

ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติกล่าวด้วยว่า มีการตั้งหัวข้อการประชุมครั้งนี้ว่าพุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้เป็นกรอบในการศึกษาพระราชจริยาวัตรและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ว่าได้ทรงประยุกต์พุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างไร มีรายการที่ประกาศราชสดุดีโดยผู้นำชาว พุทธในประเทศและต่างประเทศ มีการเจริญ พุทธมนต์นานาชาติ ทั้งเถรวาท มหายาน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศล จึงเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ และเหนืออื่นใด ก็คือว่าการประชุมที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาตินั้นจะมีชาวพุทธ ผู้นำทางการเมืองที่สำคัญมาร่วมการประชุม นอกจากฝ่ายประเทศไทยแล้ว ที่ตอบรับมาก็คือท่านนายกรัฐมนตรีของศรีลังกาก็จะบินมาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

จึงถือว่าเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ที่จะมีผลในการทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป ซึ่งผู้นำชาวพุทธก็จะประกาศวิธีการทำงานหรือแนวทางในการทำงานร่วมกันเรียกว่า การประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ในท้ายการประชุมในวันที่ 14 พฤษภาคม ผลของการประชุมจะมีการรายงานให้ทราบเป็นระยะในแต่ ละวัน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับความร่วมมือจากบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยหน่วยงานส่วนราชการ องค์กรทางพระพุทธศาสนาและองค์กรเอกชนให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งมีการถ่ายทอดระหว่าง วันที่ 12 ถึงวันที่ 14 พ.ค.2554 ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ TNN2 (ทรูวิชั่นส์ 8 )

                                 (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2009/05/04/5e6jdak96gfef5f8f5bae.jpg)

เจ้าคุณพระธรรมโกศาลาจารย์ กล่าวด้วยว่า อยากจะเชิญชวน ชาวพุทธไทยและชาวพุทธทั่วโลกว่าเราร่วมฉลองในโอกาสนี้พิเศษ 3 อย่างด้วยกัน

1.ให้ชาวพุทธทั่วโลกได้เห็นว่าเราได้ถือโอกาสนี้กระทำพุทธบูชาและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการประดับธงธรรมจักร ธงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ประดับไฟเนื่องในวันวิสาขบูชาแล้วก็มีธงชาติอยู่ร่วมด้วยกัน

2.ทำดีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำดีเป็นพุทธบูชาอยู่ใกล้วัดไหนไปเวียนเทียนที่วัดนั้น เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ทำบุญกันให้มากแล้วก็ทำกันทั้งสัปดาห์ เป็นการเดินตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

3.แสดงความกตัญญูกตเวที กตัญญูแปลว่ารู้คุณ กตเวทีแปลว่าประกาศคุณความดีให้ปรากฏ มาช่วยกันประกาศคุณของพระพุทธศาสนา ประกาศคุณของพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการที่เราเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทีเป็นราชสดุดีได้นึกถึงคุณความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประยุกต์พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้คนไทยได้อยู่ดีกินดีกว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์

ในวันพิธีเปิดวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จแทนพระองค์ทรงเปิดงานฯ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
         
                       (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTbYYFrIfjbSkme51Lk_qXOsGQ7p_X5VPfyJSdhYDdOAvvW8rCOYQ)

ปิดท้ายด้วยคำควรคิด ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้ทำการบูชา ย่อมได้รับการบูชา
เจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติ

การแถลงข่าวจัดกิจกรรมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2554 โดยมีเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ และ ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา จากบริษัท ทรูวิชั่นเคเบิ้ล จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าว

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS7ZdnUoE98IvpLcsbskj2Bl6Jf5xFXBDmNp4ezmU1P4_cQ1lBQ)

http://www.ryt9.com/s/bmnd/1143954 (http://www.ryt9.com/s/bmnd/1143954)

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRXN-ZeJgna3DKq2iz8ueCt_FPcKwnGalmaJbvfKOkPXwkAim3OFA)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 10, 2011, 05:46:22 pm


(http://images.thaiza.com/33/33_20071225160033..jpg)

สมเด็จ​พระ​สังฆราช'ประทาน​โอวาท​วิสาขบูชา54
วันที่ ๐๕/๐๕/๒๐๑๑   
"สมเด็จ​พระ​สังฆราช" ประทาน​พระโอวาท วัน​วิสาขบูชา 2554
เน้นให้บูชา​และ​น้อม​รำลึก​ถึง​พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อม​ทั้ง​พระธรรม​ และ​พระ​อริ​ยส​งฆ์ 
เพื่อ​น้อมนำ​มา​เป็น​ที่พึ่ง​ของ​ตน และใช้เป็น​แนวทาง ​ใน​การดำเนิน​ชีวิต...

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRQvSnUSVce9csa9s7ENvUfV-c1G_qLHY22zznKxkRmqUrUGnP6)

เมื่อ​วัน​ที่ 3 พ.ค. สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร สมเด็จ​พระ​สังฆราช สกล​มหา​สังฆปริณายก ประทาน​พระโอวาท วัน​วิสาขบูชา 2554 ซึ่ง​ตรง​กับ​วัน​ที่ 17 พ.ค. ใจความ​ว่า วัน​วิสาขบูชาเป็น​วัน​ที่​มี​ความ​สำคัญ​ที่สุด​สำหรับ​ พุทธศาสนิกชน​ทั่ว​โลก เพราะ​เป็น​วัน​ที่​พระสัมมาสัมพุทธเจ้า​ประสูติ ตรัสรู้ และ​ปรินิพพาน พระองค์​ทรง​เป็น​พระบรมศาสดา​ผู้​ทรง​เปี่ยม​ด้วย​พระ​คุณ​อัน​ประเสริฐ 3  ประการ คือ พระ​ปัญญา​คุณ พระ​บ​ริ​สุทธิ​คุณและ​พระ​มหา​กรุณาธิคุณ ต่อ​ทวย​เทพ มวล​มนุษย์​และ​สรรพ​สัตว์  เนื่องด้วย​พระ​พุทธศาสนา​มี​คุณูปการ​อัน​ใหญ่ ​หลวง ซึ่ง​อำนวย​ประโยชน์​เกื้อกูล​ความ​เจริญ​รุ่งเรือง​และ​ความ​สงบ​ร่มเย็น​ แก่​นานา​อารยชน​มา​ตลอด​ระยะ​เวลา​กว่า 2,500 ปี ฉะนั้น เมื่อ​วัน​วิสาขบูชา พุทธศักราช 2554 มา​ถึง ควร​ที่​เรา​ทั้งหลาย​จะ​ได้​ทำ​การ​บูชา​และ​น้อม​รำลึก​ถึง​พระสัมมา สัมพุทธเจ้า  พร้อม​ทั้ง​พระธรรม​และ​พระ​อริ​ยส​งฆ์  เพื่อ​น้อมนำ​มา​เป็น ​ที่พึ่ง​ของ​ตน  เป็น​แนวทาง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ดำเนิน​ชีวิต  เพื่อ​ความ​ สวัสดี​และ​ความ​สงบ​ร่มเย็น​แก่​เพื่อน​ร่วม​โลก​สืบไป

ด้าน​นาย​สมชาย  เสียง​หลาย  ปลัด​กระทรวง​วัฒนธรรม กล่าว​ว่า ใน​งาน​สัปดาห์​ส่งเสริม​พระ​พุทธศาสนา เนื่อง​ใน​เทศกาล​วิสาขบูชา ประจำปี 2554 วัน​ที่ 11-17 พ.ค.​นี้ คณะ​กรรมการ​ฝ่าย​คัดเลือก​ผู้​ทำคุณ​ประโยชน์​ต่อ​พระ​พุทธศาสนา กรมการ​ศาสนา (ศ​น.) ได้​คัดเลือก​ผู้​ทำคุณ​ประโยชน์​ต่อ​พระ​พุทธศาสนา​ที่​สมควร​ได้​รับ​การ​ ยกย่อง​เชิดชู​เกียรติ​แล้ว 160 รูป/คน โดย​ผู้​ได้​รับ​ประกาศ​ยกย่อง​จะ​เข้า​รับ​พระราชทาน​เสา​เสมา​ธรรมจักร  จาก​สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน​วัน​ที่ 11 พ.ค.​นี้.


ภาพ/ข่าว ไทยรัฐออนไลน์
แหล่งข่าว : ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7266 (http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7266)

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQYTbjfpKBmuOvh8ZUGyADn7K9e1TDZQ4wI1QNLgZHaPfsB6HoISA)

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSG_RmHkHz-hOuTHlXRawkBU4TtS62DflGv54KnmTNd3xqOp6WRK5uZLyib)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: แปดคิว ที่ พฤษภาคม 10, 2011, 07:48:10 pm
สุดบรรยายทั้งเสียงและภาพซ้าทุ๊ๆๆๆๆ
หัวข้อ: ภาพประทับใจ หญิงชาวมุสลิมร่วมใส่บาตรแก่พระสงฆ์ เนื่องในวันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 18, 2011, 08:28:55 am


(http://pics.manager.co.th/Images/554000006424507.JPEG)
หญิงชาวมุสลิมร่วมใส่บาตรแก่พระสงฆ์ ที่เมืองเมกาลัง จังหวัดชวากลาง วานนี้(16)

(http://pics.manager.co.th/Images/554000006424503.JPEG)
เด็กๆชาวศรีลังกาเดินถือโคมไฟกระดาษไปโรงเรียนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมฉลองวันวิสาขบูชา

(http://pics.manager.co.th/Images/554000006424505.JPEG)
ชาวพุทธสิงคโปร์ร่วมกันสวดมนต์ ด้วยการเดิน 3 ก้าว กราบ 1 ครั้ง ที่วัด Kong Meng San Phor Kark See วานนี้(16)

 :13: :19: :12:

ชมภาพบรรยากาศ "วันวิสาขบูชา" ทั่วเอเชีย
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000060271 (http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000060271)

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ สิงหาคม 08, 2011, 07:53:59 pm

(http://lh4.ggpht.com/_9QJze-_72EE/S_6SKz-aONI/AAAAAAAAJ_Y/qipGhQxgfGM/s400/556px-Wat_Tha_Thanon_05.jpg)

เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้ว (โดยอาการที่พระบาทออกจากพระครรภ์ก่อน)
พระโพธิสัตว์ได้ทรงพระดำเนินไปได้ 7 ก้าว
และได้ทรงเปล่งอาสภิวาจา (วาจาประกาศความเป็นผู้สูงสุด) ขึ้นว่า

อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส.
อยมนฺติมา ชาติ. นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว.
คำแปล : เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก,
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้

— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. อจฺฉริยอพฺภูตธมฺมสุตฺต อุปริ.
ม. ๑๔/๒๔๙-๒๕๑/๓๖๖-๗-๘-๙, ๓๗๑

(http://lh5.ggpht.com/_9QJze-_72EE/S_6Qcb89eGI/AAAAAAAAJ_Q/jsAfsdT0ook/s400/450px-Wat_Phra_Yuen_Phutthabat_Yukhon_04.JPG)

วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา
มากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า " วันพระพุทธเจ้า "

(http://lh4.ggpht.com/_9QJze-_72EE/S_6cQUk0SFI/AAAAAAAAKAE/FL2FmcXHM6M/s400/734px-Parinirvana1.jpg)

ประทานพระปัจฉิมโอวาท
จากนั้น พระองค์ทรงอนุญาตให้พวกมัลละกษัตริย์เข้าเฝ้าและได้ตรัสแก้ปัญหาของสุภัททะปริพาชก จนเกิดศรัทธาขอบรรพชาด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นพระสาวกองค์สุดท้ายในบรรดาสาวกที่ทันเห็นพระพุทธองค์ แล้วทรงตรัสให้พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เป็นผู้สืบศาสดาไว้ว่า

...อานนท์! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว...
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาปรินิพฺพานสุตฺต มหา. ที. ๑๐/๑๔๙/๑๑๗

จากนั้นทรงตรัสพระโอวาทที่สำคัญ ๆ อีก 4-5 เรื่อง จนในที่สุดทรงตรัสพระปัจฉิมโอวาทเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า

...หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ...
แปลว่า : ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า "สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา. พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาปรินิพฺพานสุตฺต มหา. ที. ๑๐/๑๔๙/๑๑๗

ปรินิพพาน
จากนั้น พระองค์ทรงนิ่งเงียบ เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วย้อนลงมาตามลำดับ ถึงปฐมฌาน แล้วย้อนขึ้นอีกโดยลำดับจนถึงจตุตถฌาน เมื่อออกจากจตุตถฌานนั้นจึง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน"
พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงความดับสมุทัยอันเป็นเหตุแห่งความดับทุกข์ (เสด็จดับขันธปรินิพพาน) ไว้เมื่อคราวทรงพระชนม์อยู่ว่า

...ต้นไม้ เมื่อโคนต้นยังอยู่ ไม่มีอุปัทวะ แม้ถูกตัด (ส่วนบน) แล้ว ก็งอกได้อีกอยู่นั่น
ฉันใดก็ดี แม้ทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัยยังมิได้ถูกถอนทิ้งแล้ว ก็ได้เกิดร่ำไป...
— สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ขุ. ธ. ๒๕/๓๓๘/๑๓๘

กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานเพราะความดับไปแห่งสมุทัย คือ ได้ทรงถอนเสียสิ้นซึ่งต้นและราก กิเลสตัณหาอันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงนี้แล้วเมื่อในวันตรัสรู้ การเสด็๋จดับขันธปรินิพพานนี้จึงเป็นการตายครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ โดย "สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ" (สิ้นตัณหาเมื่อคราวตรัสรู้ และสิ้นขันธ์ห้า เมื่อคราวปรินิพพาน)
เมื่อนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ โลมชาติลุกขึ้นชูชัน กลองทิพย์บรรลือลั่นไปในอากาศ ไว้อาลัยแด่การจากไปของพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นบรมครูของโลก กายของพระองค์สิ้นเชื้อคือตัณหาที่จะนำไปเกิดในภพใหม่ ครั้นกายแตกดับแล้ว ถึงความเป็นของว่าง ไม่มีอะไรเหลือสำหรับส่วนผสมของกายในภพต่อไป พระพุทธองค์ทรงจากไป ณ ยามสุดท้ายแห่งราตรี วันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศก (ตามการนับของไทย) 1 ปี

วันวิสาขบูชาในปฏิทินสุริยคติไทย
การกำหนดวันวิสาขบูชาในแต่ละประเทศนั้น บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป

(http://image.free.in.th/z/ia/jwcal.png)

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQwj8Cqtb1674q-NiChB7tG84Yp6w94SgTpgWqtNfuiK_v27ixQ)

http://swhappinessss.blogspot.com/2010/05/vesak-3-15-6-6-8-7-6-8-3-6-3-6-3-15-6.html (http://swhappinessss.blogspot.com/2010/05/vesak-3-15-6-6-8-7-6-8-3-6-3-6-3-15-6.html)
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
หัวข้อ: Re: วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา 2555)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 25, 2012, 10:12:03 am


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTv_NZjK9JKY9fNDp7HzOe7aayQw0wdcq07oIoOT1vEsNtL2Lj_Cg)

(http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/Visaka%20Bucha%20Day/Visaka%20Bucha%20Day_files/visakhabucha1.gif) (http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/Visaka%20Bucha%20Day/Visaka%20Bucha%20Day_files/visakhabucha.gif) (http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/Visaka%20Bucha%20Day/Visaka%20Bucha%20Day_files/visakhabucha2.gif)

(http://www.learntripitaka.com/History/Images/D02.jpg)

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda04.jpg)

(http://www.kmitl.ac.th/~kskittiw/tumma/Day6.jpg)
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
ก่อนพระพุทธองค์จะตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน6

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม  (http://thailandbookcenter.com/book/B1502.jpg)
วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน
ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ
หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา

(http://www.wataz.org/th/images/stories/news/visaka.jpg)

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

(http://sameaf.mfa.go.th/images/Announcements/Birth%20Scene.jpg)

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่
เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลา
หลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda02.jpg)

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงยังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda03.jpg)

2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
           (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRWIMnzUEhjvoNTnC0R8NK4YaACZTQnxiq9psdzqqOXD8fCO2uK)
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda01.jpg)

3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

(http://2.bp.blogspot.com/-brXi0rF7Z6A/TiCqjr892kI/AAAAAAAAChs/Q4OStoj6mH8/s1600/280352_126956990725173_100002326178893_219002_7576375_oa_resize.jpg)

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่น ให้บริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

(http://montradevi.org/attachfile/imagepost-20110523-230409.jpg)

-http://hilight.kapook.com/view/23220

หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤษภาคม 31, 2012, 09:30:49 pm
โมทนาบุญครับ

 :07:

.
หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤษภาคม 31, 2012, 09:34:01 pm
วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

-http://hilight.kapook.com/view/23220-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


           วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ


 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

          คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda02.jpg)

1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส


(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda03.jpg)

2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
         

           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา


(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda01.jpg)

3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
                                                           

 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย
 
          ปรากฎหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

          ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน


การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

           1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
           2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
           3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

           1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
           2.  จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
           3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
           4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
           5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
           6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
           7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
           8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่
 
1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

           ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

           สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

           นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

           มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท

          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ
 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- phutti.net
- dopa.go.th
- larnbuddhism.com
- onab.go.th
- yimsiam.com

.




















หัวข้อ: Re: วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ พฤษภาคม 23, 2013, 06:23:50 pm


(https://lh5.googleusercontent.com/-VlB-tLDwub0/UZ3OHJTfMFI/AAAAAAABH-Q/s_oOKQxoy2U/w682-h427-no/1253695593.jpg)

วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556


(https://lh4.googleusercontent.com/-iApPAsiWXKY/UZ7dwdzBqoI/AAAAAAAAEX8/dOGyqI4w6po/w365-h480-no/575372_289514804517967_1635604535_n.jpg)

วันนี้ขอ รวมใจคนในชาติ
"""""""""""""""""""""""""""""""
วิสาขกลางเดือนหกดิลกเลิศ
บุญบรรเจิด แจ่มหล้า ปาฏิหาริย์
วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
ปรากฏการณ์ ศรัทธามหาชน

ยี่สิบหก ศตวรรษผ่านมาแล้ว
บังเกิดแก้วผู้เห็นธรรมนำสั่งสอน
พระปัญญา แห่งองค์พระ..ชินวร
ทรงสั่งสอน ละบาปกรรม ทำความดี

พุทธองค์ ทรงอุบัติเพื่อสัตว์โลก
ทรงดับโศก ดับทุกข์ สร้างสุขศรี
โลกประจักษ์ แห่งบุญญา บารมี
ยากหาที่เปรียบเปรยใด้ ในโลกา

วันนี้ขอ รวมใจคนในชาติ
อภิวาท พุทธองค์ ทรงสั่งสอน
ค่ำคืนนี้เวียนเทียนกัน ทั่วนคร
ร่วมนอบน้อม กราบองค์...ผู้ทรงธรรม

"วันนิ้วันวิสาขบูชา ร่วมกันทำความดี และอย่าลืม
ตักบาตรทำบุญเข้าวัดฟังธรรม กันนะครับ"

^_______^
BY : เด็กวัด
โครงการ "ฉลอง 26 พุทธศตวรรษ"
>>> F/B 26 พุทธศตวรรษ


(https://lh5.googleusercontent.com/-6gixaOUG9TI/UZ67ad7B74I/AAAAAAACjfI/Q7151dnC-l4/w275-h500-no/970533_140688556123861_700113068_n.jpg)

วันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันวิสาขบูชาปุณมี
ขอน้อมตั้งจิตบูชาคุณพระรัตนตรัย
อันมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการปฎิบัติบูชา
น้อมรำลึกถึงในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยหน้าที่ของชาวพุทธ ขอพระธรรมนำทาง ให้แสงสว่าง สาธุ สาธุ
NaiChang Boon


(https://lh3.googleusercontent.com/-BJG5qV05jDQ/UZ6fgTMagMI/AAAAAAAAHjg/FL5PuE4FqAA/w506-h717-o/Dharma_Wheel.jpg)

(https://lh3.googleusercontent.com/-FvhElJjOcpQ/UZ3g-xTuvcI/AAAAAAAADz8/J__K_b9qveM/w506-h323-o/photo.jpg)

การขูดเกลากิเลส พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้..
ให้จำได้ง่ายๆ ๓ ขั้น
ตามที่เราทราบกันเป็นอย่างดีในโอวาทปาฏิโมกข์    

สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑
(ได้แก่ อกุสลกรรมบถ ๑๐)
กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑
(ได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐)
สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
(ได้แก่ เจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    
[ไม่ทำชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์]

(https://lh3.googleusercontent.com/-X0y2FT-k2LM/UZ6fAnQb-qI/AAAAAAAAHhQ/JNE9mVZ3TyE/w702-h458-no/fb009.jpg)
Manoonthum Thachai >> ชาวพุทธ >>> สนทนาธรรมตามกาล