(http://i277.photobucket.com/albums/kk56/thaihithot/unseen/angel-falls-5.jpg)
สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น
พระโพธิญาณเถระ(ชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อำเภอ วารินชำราบ
จังหวัด อุบลราชธานี
บรรยายที่วัดป่านานาชาติ
ให้แก่ที่ประชุมพระภิกษุและสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
การปฏิบัตินี้มันตรงกันข้ามกับจิตของเรา จิตของเราที่มีกิเลส ตัณหาอยู่นั้น มันตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ฉะนั้นการปฏิบัติจึง เป็นเรื่องยุ่งยากอยู่สักนิด บางทีสิ่งที่เราเข้าใจว่าผิด แต่มันถูกก็มี สิ่ง ที่เราเข้าใจว่าถูก มันอาจจะผิดก็มี เพราะอะไร? เพราะจิตของเรามัน มืด ไม่รู้แจ้งตามเป็นจริงในสภาวะธรรมทั้งหลายนั้น จิตของเราเอาเป็นประมาณไม่ได้ เพราะจิตของเราไม่รู้ตาม ความเป็นจริง จึงเอาเป็นประมาณไม่ได้ การฟังธรรมะอย่างวันนี้ก็ เหมือนกัน บางคนก็ไม่อยากจะรับฟังเลย บางคนก็อยากจะรับฟัง อย่างนี้ไม่ใช่วิสัยของนักปราชญ์ ถ้าเป็นนักปราชญ์แล้วฟังธรรมได้ทุกอย่าง จึงว่าความคิดของเรานั้นเอาเป็นประมาณไม่ได้ เดี๋ยวชอบ อย่างนี้ เดี๋ยวไม่ชอบอย่างนั้น บางทีอย่างที่เราชอบใจมันผิดความจริง ก็มี ไม่เป็นธรรมก็มี หรือบางสิ่งที่เราไม่ชอบใจนั้น มันเป็นแท้จริงก็มี บางทีก็เหมือนกับคนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง พอถูกคนโกหกเข้าก็เชื่อหมด เขาโกหกว่าอย่างนี้ถูก เราก็เชื่อ เพราะเรามันโง่ เขาชี้สิ่งที่ถูกว่าผิด เราก็เชื่อ เพราะอะไร? เพราะเรายังไม่เป็นตัวของ ตัว ไม่รู้ตามความเป็นจริงนั่นเอง
เหมือนจิตของเราทุกวันนี้แหละ ถูกอารมณ์โกหกอยู่เรื่อย บางทีก็ชอบอย่างนั้น บางทีก็ไม่ชอบอย่างนี้ ถูกโกหกอยู่เรื่อย เพราะ เราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมัน มันก็โกหกอยู่เรื่อยๆ ถ้าหากว่าเราผู้ ฟังธรรมก็ฟังธรรมไปเถิด ธรรมนั้นจะชอบใจเราหรือไม่ชอบใจ เราก็ ควรฟัง คนที่ฟังธรรมอย่างนี้ได้ประโยชน์ เพราะว่าความจริงที่พระ ท่านเทศน์ให้ฟัง หรือครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ฟังนั้น เราจะเชื่อก็ไม่ ได้ ไม่เชื่อก็ไม่ได้ เราต้องอยู่ครึ่งๆกลางๆนี้ ไม่ได้ประมาท ว่าเชื่อหรือ ไม่เชื่อ เราก็ฟังของเราไป แล้วเอาไปพิจารณา ให้มันเกิดเหตุผลใน ทางที่ชอบขึ้นมา
นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ควรเชื่อง่ายๆ ควรเอาไปพิจารณา ตริ ตรองดูเหตุผลก่อนจึงค่อยเชื่อ แม้จะพูดความจริงให้ฟังก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอะไร? เพราะเรายังไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงนั้นด้วยตนเอง พวกเราทุกคนก็เหมือนกัน รวมทั้งผมเคยปฏิบัติมาก่อนท่าน ก็เคยถูก โกหกมาแล้วว่า การปฏิบัตินี้มันลำบากมากหลาย ทำไมมันจึงลำบาก ก็เพราะเราคิดไม่ถูกต้องนั่นเอง มันเป็นมิจฉาทิฐิ เราคิดไม่ถูก
แต่ก่อนผมเคยอยู่กับพวกพระมาก ผมก็ไม่สบายรวนเร หนี ไปตามป่าตามเขา หนีจากพวก จากเพื่อน เห็นไปว่าภิกษุสามเณรก็ ไม่เหมือนใจเรา ปฏิบัติไม่เก่งเหมือนเรา มีความประมาท คนโน้นเป็น อย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น ก็เป็นเหตุอย่างหนึ่งให้เราวุ่นวาย เป็นเหตุ ให้หนีไปเรื่อยๆ ไปอยู่องค์เดียวก็มี สององค์ก็มี ก็ไม่มีความสบาย ไปอยู่องค์เดียวก็ไม่สบาย ไปอยู่หลายองค์ก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่เอกลาภ มากเยอะแยะก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่เอกลาภไม่มากไม่น้อยก็ไม่สบาย ความไม่สบายนี้ก็นึกว่ามันเป็นเพราะเพื่อน เป็นเพราะอารมณ์ เป็น เพราะที่อยู่ เป็นเพราะอาหาร เป็นเพราะอากาศ เป็นเพราะนั้น เป็น เพราะนี้ เราคิดว่ามันเป็นเช่นนั้น เราก็แสวงหาไปตามเรื่องของเรา เรื่อยๆ
แต่ก่อนเป็นพระธุดงค์ ธุดงค์ไปแล้วก็ไม่สบาย ภาวนาไป พิจารณาไป ทำอย่างไรจึงจะสบายหนอ พิจารณาอยู่อย่างนี้ อยู่มาก คนก็ไม่สบาย อยู่อากาศเย็นก็ไม่สบาย อากาศร้อนก็ไม่สบาย เพราะ อะไรหนอ ไม่เห็นเสียแล้ว ทำไมมันจึงไม่สบาย? ก็เพราะมันเป็นมิจฉา ทิฐิ มีความเห็นผิด เพราะตัวเรานี้ยังยึดธรรมอันมีพิษอยู่นั่นเอง ไปอยู่ ที่ไหนก็ไม่สบาย ว่าตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ไม่ดีอยู่เรื่อยไป มันไปให้โทษคน อื่นเขา มันไปให้โทษอากาศ มันไปให้โทษความร้อน มันไปให้โทษ ความเย็น มันไปให้โทษทุกสารพัดอย่าง เหมือนกับหมาบ้า หมาบ้า มันทันอะไรมันก็กัด เพราะมันเป็นบ้า เป็นเช่นนี้แหละ
(http://buddhism.hum.ku.ac.th/Buddhism/Ajahn_Chah/clipart/01DbHandsUp.jpg)
จิตใจของพวกท่านทั้งหลายนี้ พวกเราทั้งหลาย ผู้ประพฤติ ปฏิบัตินี้ก็ดี ฝั่งคลองก็คือความชัง หรือความรัก หรือฝั่งหนึ่งก็คือสุข อีกฝั่งหนึ่งก็คือทุกข์ ท่อนไม้ก็คือจิตของเรานี้เอง มันจะไหลไปตาม กระแสแห่งน้ำ มันจะมีความสุขเกิดขึ้นมากระทบ มันจะมีความทุกข์ เกิดขึ้นมากระทบอยู่บ่อยครั้ง ถ้าจิตใจของเราถึงกระแสแห่งพระ นิพพาน คือความสงบระงับ ให้เราเห็นว่าเมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกข์ นั้นก็ดับไป สุขเกิดขึ้นมา สุขนั้นก็ดับไป นอกเหนือนี้ไม่มีแล้ว มันก็ เป็นอย่างนี้
ถ้าเราไม่ไปติดในความรัก ไม่ติดความชัง ไม่ติดในความสุข ไม่ติดในความทุกข์ เท่านั้นก็เรียกว่า เราเดินตามกระแสธรรมของ สมณะ ที่เราปฏิบัติสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ อันเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า เจริญมาแล้ว ถูกมาแล้ว พบมาแล้ว ท่านจึงได้มาสอนเราให้เห็นความ รัก ให้เห็นความ ชัง ให้เห็นความ สุข ให้เห็นความ ทุกข์ ว่ามันเป็นธรรม ทิฐิ ธรรมนิยาม มันตั้งของมันอยู่อย่างนั้น มันก็เป็นของมันอยู่อย่าง นั้น เป็นอยู่ตลอดกาล มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
แต่ว่าเมื่อจิตของผู้ฉลาดแล้ว ไม่ตามไปส่งเสริมมัน ไม่ตามไป เยินยอมัน ไม่ตามไปยึดมั่นมัน ไม่ตามไปถือมั่นมัน มันก็มีจิตอัน ปล่อยวาง ทำไปเท่านั้นแหละ ให้สม่ำเสมอ มันก็เป็นสัมมาปฏิปทา เป็นสัมมาปฏิบัติถูกทาง เหมือนท่อนไม้ที่ปล่อยไปตามกระแสน้ำ มัน ไม่ติดอยู่ฝั่งโน้น และไม่ติดอยู่ฝั่งนี้ มันไม่ผุไม่พัง มันไม่เน่า มันก็ถึง ทะเลจนได้ เราทำ เราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเว้นจากทางทั้งสองอย่าง แล้ว คือกามสุขัลลิกานุโยโค และอัตตกิลมถานุโยโค มันก็ถึงความ สงบแน่นอนไม่ต้องสงสัย อันนี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนั้น
หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)
เรื่องนี้ผมใช้หนังสือ นอกเหตุเหนือผล ซึ่งจัดพิมพ์โดย สำนัก พิมพ์ ธรรมสภา มาเป็นต้นฉบับ พิมพ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ได้คงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความที่คาดว่า ต้นฉบับเดิมจะพิมพ์ผิด โดยได้ใส่วงเล็บกำกับไว้ ณ จุดที่แก้ไขแล้ว ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
จุด 1 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า มันอยู่ที่ความเห็นถูกเท่า นั้น ถ้ามีความเห็นถูกขึ้นในใจของเราแล้ว มันอยู่ที่ความเห็นถูกเท่า นั้น ถ้ามีความเห็นถูกขึ้นในใจของเราแล้ว ดูเหมือนเผลอพิมพ์ซ้ำ จึง ตัดข้อความที่ซ้ำทิ้งให้เหลือเพียงครั้งเดียว
จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า มันไม่ผุ ไม่เน่า ไม่พัง มัน ไปติดอยู่ฝั่งโน้นฝั่งนี้ แก้เป็น มันไม่ผุ ไม่เน่า ไม่พัง มันไม่ติดอยู่ฝั่ง โน้นฝั่งนี้
(http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2010/11/Lotus_by_zloizloi-300x232.jpg)
คัดลอกจาก ธรรมะ หลวงพ่อชา
รวบรวม การบรรยายธรรม ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร)
ซึ่งจัดทำโดย
คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง .
๒๐๐/๑๔๑ หมู่ ๘ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ๑๒๑๓๐ .
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ .
นำมาแบ่งปันโดย **wan**
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=71.0 (http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=71.0)
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ