ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 01, 2011, 06:40:08 am

หัวข้อ: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 01, 2011, 06:40:08 am
(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/2d/79/59/2d79592958d8e30d0616fa3c767376f1.gif)

ฮยากุโจและหมาป่า
โกอาน

(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/s403x403/63402_628084463883918_2013306823_n.jpg)

  เมื่อใดที่ท่านฮยากุโจไขปริศนาเซน จะมีชายชราร่วมฟังอยู่ในหมู่สงฆ์ด้วย และจะกลับพร้อมกับเหล่าพระสงฆ์  แต่วันหนึ่ง เขายังรออยู่ ท่านอาจารย์จึงถามว่า “เธอเป็นใคร?” ชายชราจึงตอบว่า  “กระผมไม่ใช่มนุษย์ ในอดีตสมัยของกัสสปพุทธเจ้า กระผมเป็นประธานสงฆ์ของวัดนี้

ครั้งหนึ่งมีพระองค์หนึ่งถามว่า “ผู้ตรัสรู้แล้วตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผลหรือไม่?”  กระผมตอบว่า “ไม่
เพราะคำตอบนี้ กระผมต้องกลายเป็นหมาป่าอยู่ ๕๐๐ ชาติ ได้โปรดช่วยกระผมด้วย โปรดพูดแก้ชะตาของกระผม
ช่วยกระผมให้พ้นจากร่างหมาป่าด้วยเถิด” แล้วชายชราจึงพูดกับท่านฮยากุโจว่า

“ผู้ตรัสรู้แล้ว ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผลหรือไม่?”
ท่านอาจารย์ตอบ “พวกเขาไม่ละเลยกฎ” เมื่อได้ยินดังนั้น ชายชราก็รู้แจ้งทันที

ทำความเคารพท่านฮยากุโจแล้วพูดว่า “กระผมเป็นอิสระจากร่างของหมาป่าแล้ว ซึ่งอยู่หลังเขาลูกนี้  ขอความกรุณาท่านช่วยฝังสรีระอย่างสรีระพระภิกษุรูปหนึ่งด้วยเถิด” ท่านจึงประกาศต่อพระภิกษุว่า จะมีการฝังสรีระพระภิกษุหลังอาหารเพล  เหล่าพระภิกษุพากันสงสัย จึงพากันถามว่า “พวกเราทุกคนสบายดี ไม่มีใครอาพาธ นี่มันเรื่องอะไรกัน ?”

            ภายหลังอาหารเพล ท่านจึงนำพระไปที่ก้อนหินหลังเขา ค้นหาซากหมาป่า แล้วก็ฝัง

ตอนเย็นท่านจึงขึ้นนั่งในที่สูงแล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระฟัง  โอบากุจึงถามว่า “ท่านพูดว่า ท่านผู้เฒ่าตอบผิดและต้องกลายเป็นหมาป่าถึงห้าร้อยชาติ ทีนี้หากแต่ละครั้งท่านเกิดตอบไม่ผิด ท่านจะเป็นอย่างไร?” ท่านอาจารย์ตอบ “เข้ามาใกล้ๆฉัน แล้วฉันจะตอบเธอ”  โอบากุจึงเข้าไปใกล้ๆ และตบหน้าอาจารย์หนึ่งครั้ง ท่านอาจารย์หัวเราะเสียงดัง ปรบมือ แล้วพูดว่า “ฉันคิดว่าเคราของชาวต่างชาติมีสีแดง  แต่เป็นชาวต่างชาติ(๑) พร้อมเคราสีแดง”


(http://24.media.tumblr.com/tumblr_lzbjtr7JAF1qby61eo1_250.gif)

คำวิจารณ์ของมูมอน
“ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”  ทำไมถึงต้องกลายเป็นหมาป่า ?
“ไม่ละเลยกฎ” ทำไมถึงคืนจากร่างของหมาป่า ?
ถ้าเธอมีดวงตาที่เห็นแจ้งแทงตลอดเรื่องนี้ เธอจะรู้ว่า ประธานสงฆ์องค์ก่อนของวัดนี้
มีชีวิตที่เปี่ยมสุขแม้ในร่างหมาห้าร้อยปี

บทร้อยกรองของมูมอน
ไม่อยู่ภายใต้, ไม่ละเลย   คู่และคี่ อยู่ที่ลูกเต๋าเดียวกัน
ไม่ละเลย, ไม่อยู่ภายใต้   นับร้อยพันความเสียใจ

(http://namaha.files.wordpress.com/2009/04/primal-howl.jpg?w=282&h=300)
หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 01, 2011, 06:46:29 am

ไขปริศนา  โกอาน  (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQOd9Xp-QyY4BY8dKy4iEwBAhCILeAGNEg1HBdoF-xnTZ651ak&t=1&usg=__Rb7bvYF4xzPFospTy9IDMgvnNQ4=)

โกอานนี้เรียกว่า นันโตะโกอาน ใช้ขัดเกลาสติปัญญาแห่งเซนของเหล่าศิษย์หลังรู้แจ้งแล้ว ให้แหลมคมยิ่งขึ้น ขณะที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างโกอานยากและง่าย อาจารย์อาจใช้โกอานเดิมด้วยจุดประสงค์อื่นๆ เพื่อชี้แนะลูกศิษย์ อย่างเช่น บางโกอานใช้เพื่อเน้น เอกภาพ(๒), บางโกอานใช้แสดงแง่มุมที่แตกต่างของ เอกภาพ ,บางโกอานใช้แสดงว่า เอกภาพคือ สหภาพ  และสหภาพคือ เอกภาพ ในโกอานนี้ ทั้งสัจจะแท้และการแสดงของมัน ถักทอแน่นหนากระทั่งผู้ที่ดวงตาเห็น เซน เปิดชัดแจ้งแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าใจความหมายได้ ในนันโตะโกอานนี้ บุรุษเซนที่แท้จึงจะเข้าใจเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดตามกฏแห่งกรรมได้  การเกิดตายเป็นความเชื่อมีมาแต่อินเดียแล้ว ประเด็นหลักของโกอานคือ ให้ศิษย์เซนเห็นแจ้งว่า ความหลุดพ้นที่แท้นั้นเป็นอย่างไร และเรื่องผีสางก็แค่ใช้เพื่อแสดงเรื่องนี้ เราจึงไม่ควรหลงประเด็น

ชาวอินเดียแต่โบราณเชื่อว่า หากมีอวิชชาก็คงวนเวียนเกิดตายแล้วแต่บุญบาป พุทธศาสนานำมาใช้โดยมีพื้นฐานที่กฏแห่งเหตุและผล และสอนต่อไปว่า เราควรปฏิบัติตามคำสอนเพื่อตื่นสู่สัจจะ นี่เป็นทางเดียวที่จะลุถึงศานตินิรันดรได้

             (http://media-cache-ec0.pinimg.com/736x/a9/6f/2b/a96f2b6c2019a88f4142b860b061d3b1.jpg)

ความจริงแห่งเหตุและผลช่างกระจ่างแจ้งจนยากปฏิเสธ  ไม่มีสิ่งใดในโลกจะอยู่นอกกฏแห่งเหตุและผล ทุกขณะทุก”สิ่ง”ก็เป็นเหตุด้วย นอกจาก”สิ่ง” นี้ก็ไม่มีฉันและโลก ประเด็นอยู่ที่นี่ บุรุษผู้บรรลุอิสรภาพที่แท้ย่อมอยู่อย่างสงบในทุกเหตุและผลที่เกิดขึ้น  ไม่ว่าสถานการณ์จะน่าพึงใจหรือไม่ก็ตาม เขาอยู่อย่างที่ทั้งตัวตนของตนเองก็เป็นสถานการณ์หนึ่งด้วย เป็นเหตุแห่งผลด้วย  ไม่แบ่งแยกสถานการณ์แบบทวิลักษณ์ จิตใจไม่หวั่นไหวไปกับสถานการณ์ภายนอก เมื่อเขาอยู่อย่างนี้ เขาก็เป็นนายแห่งเหตุและผล และทุกสิ่งล้วนดีงามตามที่เป็น ศานตินิรันดร เกิดขึ้นอย่างนี้ นี่เป็นปิติสุขเต็มเปี่ยมที่เกินกว่าถ้อยคำใดๆจะบรรยายได้ ที่บุรุษแห่งเซนได้ส้องเสพ เราพูดได้ คล้ายกับอาจารย์แต่โบราณ แต่เพียงว่า “ผู้รู้ไม่พูด  ผู้พูดไม่รู้”

อะไรคือชายชราผู้นั้น?  อะไรคือไฮยากุโจ? ไม่ใช่ทั้งคน ไม่ใช่ทั้งหมาป่า อะไรก็ตาม เป็นเคียงแค่  “มัน”  อะไรก็ตามเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัย(และผล) เราจะพูดอะไรได้อีก?

โมนจุ โชเซทสุ(คัมภีร์เล่มหนึ่ง) กล่าวว่า “คนมีความคิดนอกลู่นอกทาง ไม่ตกกระทะทองแดง” ที่นี้สมบูรณ์แท้  ไม่มีนรกกระทะทองแดงที่ไหนเลย และยังกล่าวต่อไปว่า “นักบุญก็ไม่ขึ้นสวรรค์” ที่นี่สมบูรณ์แล้ว  ไม่มีสวรรค์ที่ไหนอีก เมื่อทั้งจักรวาลเป็นเหตุปัจจัยแล้ว มันจะมี”ตกอยู่ภายใต้”  “ไม่ตกอยู่ภายใต้” ได้อย่างไร?  เธออาจพูดได้อย่างถูกต้องว่า “ไม่อยู่ภายใต้”  หรือ “ไม่ละเลย”  ก็ได้  ถ้าความคิดเกิดขึ้น  “ไม่อยู่ภายใต้,” “ไม่ละเลย”  ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้น ความผิดเพี้ยนแม้เพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดความแตกต่างที่สำคัญเท่าชีวิตได้  ขั้วทั้งสองแยกห่างกัน และเธอก็กลายร่างเป็นหมาป่า และตกกระทะทองแดง

เธออาจพูดว่า “ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล”  หากความคิดแยกแยะเกิดขึ้นและเธอยึดติดกับคำว่า “ไม่ละเลย”  เธอก็กลายเป็นหมาป่า   เธออาจพูดว่า “ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล” และเธอก็ไม่ยึดติดกับมัน เธอก็เป็นอิสระจากร่างของหมาป่า สาระของโกอานนี้จะรู้ได้เมื่อเข้าถึง”ไม่มีจิต”  จึงไม่มีทวิลักษณ์ระหว่าง “ไม่อยู่ภายใต้”และ  “ไม่ละเลย” ไม่ว่าบุคคลเป็นคนดีส่วนผู้อื่นไม่  เมื่อแทงทะลุและอยู่เหนือ “อยู่ภายใต้”,”ละเลย”

บางทีฉันพูดประเด็นนี้มากพอแล้ว  ดังนั้นกลับสู่รายละเอียดของโกอานต่อไป


(http://gallery.photo.net/photo/16051872-md.jpg)

หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 01, 2011, 07:06:53 am


(http://2.bp.blogspot.com/_lEptGK8bUvk/SK3YVw-PT_I/AAAAAAAAAEM/qZC3Y-aO6T8/s400/S5000077_resize.JPG)

การกล่าวถึงสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าแสดงว่า เรื่องนี้เกิดนานมาแล้ว  พระกัสสปพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่หก พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นองค์ที่เจ็ดแห่งกัลป์นี้ ครั้งนั้น ชายชราเป็นประธานสงฆ์แห่งวัดนี้

ท่านอาจารย์เอไก รู้จักทั่วไปในชื่อ ไฮยากุโจ ตามชื่อภูเขาที่ท่านอาศัยอยู่ ท่านมีชีวิตอยู่ ๙๕ ปีในสมัยราชวงศ์ถัง  ซึ่งเป็นสมัยที่เซนกำลังรุ่งเรือง และมีบทบาทในวัฒนธรรมจีน จึงมีความจำเป็นต้องมีกฎวินัยในวัดเซน เป็นที่รู้กันดีในเซนว่า ไฮยากุโจเป็นผู้ตั้งกฎข้อแรก ซึ่งภายหลังเรียกว่า “กฎของไฮยากุโจ”  ท่านใช้ชีวิตเซนอย่างขยันขันแข็ง และสร้างสรรค์ ใช้แรงงานร่วมกับพระทั้งหลายแม้จะชรามากแล้ว และมีชื่อเสียงกับคติพจน์ “ วันไหนไม่ทำงาน ก็ไม่ต้องกิน”

ท่านเกิดในฟูชูกุ ในประเทศจีน ออกบวชเมื่อเยาว์วัยและได้เข้าเรียนปริยัติธรรม. ต่อมาได้ยินกิตติศัพท์ของท่านบะโซ ซึ่งกำลังสอนเซนในโกไซ จึงได้ศึกษาเซนอยู่กับท่านบะโซ นันเซน ฟูกัน และ เซโด ชิโซ ซึ่งต่อมากลายเป็นอาจารย์เซนที่มีชื่อเสียง ก็เป็นศิษย์อาจารย์บะโซในสมัยนั้นเช่นกัน ทุกท่านล้วนแต่ปฏิบัติอย่างหนักทั้งสิ้น

            วันหนึ่ง ขณะที่ท่านไฮกำลังเดินอยู่กับอาจารย์บะโซ  ห่านป่าตัวหนึ่งกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า  ท่านบะโซจึงถามว่า “นั่นอะไร?”  ท่านไฮยากุโจตอบว่า “ห่านป่าครับท่าน” ท่านบะโซจึงถามต่อไปว่า “มันบินไปไหน?”  ท่านไฮยากุโจตอบว่า  “มันไปแล้ว”  ทันใดนั้น ท่านบะโซบีบจมูกท่านไฮยากุโจไว้แน่น แล้วบิดอย่างแรง ท่านไฮยากุโจร้องด้วยความเจ็บปวด ท่านบะโซจึงถามว่า “ท่านบอกว่า มันบินไปแล้ว ใช่ไหม?”  ทันใดนั้น ท่านไฮยากุโจก็ตื่นขึ้น

            หลายปีต่อมาท่านไฮยากุโจได้ทดสอบธรรมกับท่านบะโซ หลังจากผ่านการสนทนาธรรมเรื่องแส้ปัดยุงที่แขวนอยู่ ท่านบะโซตะโกนเสียงดัง ซึ่งนี่เป็นการปลุกท่านไฮยากุโจสู่การรู้แจ้งอย่างสมบูรณ์
            สองเรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์เซน คนจำนวนมากมาศึกษากับท่าน ต่อมาได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบนภูเขาไดยุในโกชู ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดไฮยากุโจ มีพระภิกษุเป็นศิษย์ท่านมากมาย รวมทั้ง อีซาน ไรยุและ โอบากุ คิอุนด้วย ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. ๑๓๕๗  รวมอายุได้ ๙๕ ปี

(http://1.bp.blogspot.com/-77NP2LESLtU/TahIEHBIwVI/AAAAAAAAGJE/SCnt4y3stmw/s320/green+nature+images.jpg+%252810%2529.png)

            ท่านอาจารย์โอบากุ(ฮวงโป)  เกิดในฟุกุชุ  ออกบวชตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ในวัดเซนในฟุกุไซเกนในฟุกุชุ ท่านมีชื่อว่า  โอบากุซาน เคมปุกุจิ (โอบากุ เป็นชื่อของไม้ชนิดหนึ่งใช้ย้อมผ้า  ขึ้นดกดื่นใกล้วัดที่ท่านอยู่)  ภายหลัง ผู้ว่าฯ ไฮเกียวศิษย์ของท่านได้สร้างวัดถวายในโกชู   คิอุนซึ่งรักชนบทที่ท่านอยู่มาก เรียกวัดของท่านว่า  โอบากุซาน และชื่อของท่านก็กลายเป็น โอบากุ  ท่านเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ เดนชิน โฮโย ซึ่งแสดงถึงลักษณะแห่งเซนของท่าน

            เมื่อท่านยังท่องเที่ยวศึกษาปริยัติธรรมในพุทธศาสนานั้น ท่านได้ยินกิตติศัพท์ของท่านไฮยากุโจ จึงมาเป็นศิษย์ มีบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อท่านไปเยี่ยมนันเซน ขณะกำลังลากลับ   นันเซนซึ่งมาส่งที่ประตู ยกหมวกของโอบากุขึ้นแล้วกล่าวว่า “ตัวท่านใหญ่ แต่หมวกกลับเล็ก  จริงหรือไม่? “ โอบากุตอบว่า “แต่ทั้งจักรวาลกลับอยู่ใต้มัน”  นันเซนจึงพูดต่อว่า “รวมทั้งฉันด้วย ใช่ไหม?”  เมื่อได้ยินเช่นนั้น โอบากุก็เดินจากไปโดยไม่เหลียวกลับมาแม้แต่เพียงครั้งเดียว   รู้กันทั่วไปถึงร่างอันใหญ่โตของท่าน

            วันหนึ่ง ไฮยากุโจถามโอบากุว่า  “เธอไปไหนมา?”  “ผมไปเก็บเห็ดที่เชิงเขามา”  โอบากุตอบ  “แล้วเธอเจอเสือหรือเปล่า?”   เมื่อได้ยินคำถามดังนั้น  โอบากุจึงคำรามเสียงดัง  โอบากุกลายเป็นเสือไปแล้ว  ไฮยากุโจแกว่งขวานหมายฟันท่าน แต่ท่านโอบากุจับแขนไว้ ตบหนึ่งที แล้วจากไปพร้อมเสียงหัวเราะทั้งจิตใจ ต่อมาเมื่อมีถึงรายการแสดงธรรม  ท่านไฮยากุโจขึ้นแสดงธรรม “มีเสือตัวหนึ่งที่เชิงเขา ควรระวังกันให้ดี  วันนี้ฉันถูกเขา(๓)กัดครั้งหนึ่ง”


หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 02, 2011, 01:07:09 pm

(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/e5/2f/f3/e52ff3567a29bd23dccf642651c75469.jpg)

            มีบันทึกว่า เซนของท่านโอบากุดูสดใสมีชีวิตชีวา เหมือนแสงเรืองรองของดวงประทีปส่องประกายฉายฉานไปรอบๆ  ด้วยบุคคลิกที่ยิ่งใหญ่ เข้มงวด ละเอียดรอบคอบ ของท่านมีอิทธิพลต่อวงการเซนในสมัยนั้นอย่างใหญ่หลวง ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. ๑๓๙๓ ห้าปีภายหลังการทำลายล้างพุทธศาสนาโดยจักรพรรดิบูโซแห่งราชวงศ์ถัง

            บุรุษผูตรัสรู้แล้ว  คือผู้ผ่านการฝึกเซนและรู้แจ้งแล้ว  เป็นผู้ตรัสรู้ พบความหลุดพ้น บรรลุศานติที่แท้จริง ไม่ตกอยู่ภายใต้ผลของกรรมและการเวียนเกิดตายอีกต่อไป อิสรภาพจากกฎแห่งเหตุและผล เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติในพุทธศาสนามหายาน นี่เป็นความจริงที่ชัดเจน ไม่ต้องถกเถียงกันอีก ทีนี้ประธานสงฆ์องค์ก่อนพูดตรงชัดเจนแจ่มแจ้ง “ผู้ตรัสรู้แล้ว  ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล” ทำไมเพราะพูดอย่างนี้จึงต้องกลายร่างเป็นหมาป่าตั้งห้าร้อยชาติ  อิสรภาพจากผลของกรรมคืออะไร สัจจะแห่งเซนอยู่ที่นี่    แน่นอนว่าคำสอน”ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล” ต้องทำให้บุคคลกลายร่างเป็นหมาป่า  เว้นเสียแต่ท่านจะรู้ว่า สัจจะที่แท้เป็นอย่างไร

            เมื่อชายชราพูดว่า “บัดนี้ ได้โปรดช่วยกระผมด้วย โปรดพูดแก้ชะตาของกระผมช่วยกระผมให้พ้นจากร่างหมาป่าด้วยเถิด” ไฮยากุโจตอบในทันทีว่า ““พวกเขาไม่ละเลยกฎ” (คำกล่าวแก้คือคำที่นำจิตกลับสู่สัจจะและปลุกจิตสู่การตรัสรู้  การแสดงออกเพียงอย่างเดียวของสัจจะ)
            แปลความหมายตามตัวหนังสือ คำตอบของไฮยากุโจหมายความว่า “บุคคลผู้ตรัสรู้แล้ว ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล แต่มีชีวิตอยู่สอดคล้องกับมัน “ มันตรงข้ามกับ “ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎ” ทำไมท่านไฮยากุโจจึงกล้าตอบปฏิเสธอย่างนั้น ซึ่งแย้งคำสอนของมหายานที่สอนให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด และดูเหมือนสนับสนุนการเวียนว่ายตายเกิด  ที่นี่ เป็นอีกครั้งที่เราควรค้นให้พบความหมายที่พูดไม่ได้ แสดงออกไม่ได้

            อาจารย์ของฉันเคยพูดถึงโกอานนี้ไว้ว่า  “น่าเกลียดอะไรเช่นนั้น”  ท่านกล่าว “ถ้าถามฉัน ฉันจะพูดขึ้นเสียงดัง แล้วตอบว่า “พวกเขาไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”” อาจารย์ตอบจากหลักการไหน?  ฉันอยากพูดว่า  “ไม่อยู่ภายใต้”, “ไม่ละเลย”  แตกต่างกันอย่างไร ? ความขัดแย้งของคำพูดนี้ทำให้โกอานนี้เป็นโกอานที่ดีและน่าสนใจ

“เมื่อได้ยินดังนั้น ชายชราก็รู้แจ้งทันที”  ชายชรารู้แจ้งเมื่อได้ยินไฮยากุโจตอบ “พวกเขาไม่ละเลยกฎ”  บุคคลย่อมทำความผิดร้ายแรงที่แก้ไขไม่ได้หากคิดว่า “ไม่อยู่ภายใต้กฎ” เป็นคำตอบที่ผิด และ “ไม่ละเลยกฎ”  เป็นคำตอบที่ถูก และเข้าใจว่า ชายชราได้เห็นแจ้งว่าบุคคลผู้รู้แจ้งแล้ว”ไม่ละเลยกฎ”
            ต่อถ้อยคำนี้    ชายชรารู้สึกราวกับทั้งจักรวาลถล่มทลาย ไม่มีทั้งชายชราและหมาป่า  “ไม่อยู่ภายใต้”,    “ไม่ละเลย”  ถูกกวาดออกไปจากใจของท่านจนหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในใจของท่าน ท่านตื่นสู่การตรัสรู้แล้ว  ถ้าใครยึดมั่นกับคำนี้  “ไม่ละเลย” ก็มีค่าเท่ากับ “ไม่อยู่ภายใต้”  และถ้าไม่มีอุปาทานกับคำว่า “ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”  มันก็มีค่าเท่ากับ “ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล”

            จงฟังอาจารย์เซนแต่โบราณกล่าวไว้อย่างกล้าหาญ
                        ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”
                        และท่านก็กลายร่างเป็นหมาป่า  ความผิดแรก
            “ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล”
            และท่านก็กลับร่างจากหมาป่า  ความผิดที่สอง

เมื่ออยู่เหนือ “ไม่อยู่ภายใต้,”และ   “ไม่ละเลย”  และมันถูกกวาดทิ้งแล้ว  จะเป็นครั้งแรกที่เธอจักได้เห็นท่านไฮยากุโจและท่านมูมอนและจับฉวยความหมายที่แท้ของโกอานนี้ได้ มันเป็นประสบการณ์อย่างไร และอยู่เหนือ  “ไม่อยู่ภายใต้,”และ   “ไม่ละเลย” เป็นอย่างไร การปฏิบัติเซนต้องมุ่งมั่นจดจ่ออยู่ที่นี่


หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 02, 2011, 09:07:35 pm
(https://i.pinimg.com/564x/9f/01/ab/9f01abb34507557834a001fdca78bbc6.jpg)

        ผู้คนมักพูดบ่อยๆว่า ที่ชายชรากลายร่างเป็นหมาป่าเป็นเพราะ “ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”  คือ ปฏิเสธกฎแห่งเหตุและผล เป็นการสุดโต่งด้านสมภาพ(๔)   ทัศนะที่ผิดเพราะแท้จริงไม่ได้เหมือน  ท่านถูกปลดปล่อยจากร่างหมาป่าเพราะ “ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล” เป็นการยอมรับกฎแห่งเหตุและผล และยอมรับความแตกต่าง(อสมภาพ)  แต่แก่นของโกอานนี้ไม่ได้อยู่ที่การแปลความแบบสามัญๆอย่างนั้น ฉันไม่ได้ปฏิเสธกฎแห่งเหตุและผล ฉันอยากให้เธอรู้ว่าเซนอยู่ในอีกมิติซึ่งเป็นอิสระในการใช้ “ไม่อยู่ภายใต้,” และ “ไม่ละเลย” 

            “ทำความเคารพท่านฮยากุโจแล้วพูดว่า “กระผมเป็นอิสระจากร่างของหมาป่าแล้ว ซึ่งอยู่หลังเขาลูกนี้  ขอความกรุณาท่านช่วยฝังสรีระอย่างสรีระพระภิกษุรูปหนึ่งด้วยเถิด” “

เมื่อหมาป่าเป็นหมาป่าโดยแท้จริง และไม่มีความคิดจำแนกแยกแยะ  ท่านก็เป็นเจ้าอาวาสองค์ก่อนโดยแท้จริงเช่นกัน เมื่อชายชราไม่สามารถเป็นชายชราและหลงทางไปกับความคิดแยกแยะ ท่านก็เป็นหมาป่า  ท่านโดเกนกล่าวว่า  “ทันทีที่เธอบรรลุการตรัสรู้  หากเธอต้องเวียนว่ายในภูมิทั้งหก{๑. มนุสสภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของมนุษย์
๒. ดิรัจฉานภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของสัตว์
๓. อสูรกายภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของพวกอสูร
๔. เปตวิสัยภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของพวกเปต
๕. นรกภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของพระยายมราชและพนักงาน กับพวกวิญญานที่กำลังใช้บาป
๖. ฉกามาพจรภูมิ – ภูมิอันเป็นที่อยู่ของพวกเทวดา หรือสวรรค์ }  มันก็ไม่เป็นอื่นนอกจากการุณยภาพแห่งการตรัสรู้

หมาป่ามีความสุขตามที่เป็น ไม่ว่าจะกลับร่างหรือไม่  ชีวิตแบบเซนเป็นอย่างนี้เอง

ไฮยากุโจจึงนำพระไปที่ก้อนหินหลังเขา ค้นหาซากหมาป่า แล้วก็ประกอบพิธีฝังตามประเพณีฝังพระภิกษุ   ไฮยากุโจไม่มีความคิดแยกแยะระหว่างพระภิกษุและหมาป่า นี่เป็นการแสดงคุณลักษณะของเซน และเรื่องก็จบอย่างน่าพอใจ
ต่อไปเป็นตอนที่สองของโกอาน การแสดงธรรมตอนเย็น ท่าน”ไฮยากุโจเล่าเรื่องให้พระฟัง แล้วจึงทดสอบเซนของลูกศิษย์ 
โอบากุจึงถามว่า “ท่านพูดว่า ท่านผู้เฒ่าตอบผิดและต้องกลายเป็นหมาป่าถึงห้าร้อยชาติ ทีนี้หากแต่ละครั้งท่านเกิดตอบไม่ผิด ท่านจะเป็นอย่างไร?”
โอบากุก้าวมายืนข้างหน้า และตั้งคำถามเจาะประเด็น  “ท่านผู้เฒ่าตอบไม่ถูกและต้องกลายเป็นหมาป่าถึงห้าร้อยชาติ ทีนี้หากแต่ละครั้งท่านเกิดตอบถูก แต่ละครั้งที่ตอบถูกอย่างนั้นท่านจะเป็นอย่างไร?”  คำถามของท่านโอบากุหมายความว่า

 “สรรพสิ่งล้วนมีธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งใหญ่ก็เป็นพุทธะใหญ่  สิ่งเล็กก็เป็นพุทธะเล็ก  ทุกสิ่งตามที่มันเป็นล้วนรู้แจ้ง(ตรัสรู้)  ทุกสิ่งตามที่เป็น ล้วนเป็นสัจจะ  ไม่มีทางจะหลงทางหรือผิดพลาด
คำถามอยู่ในคำตอบ คำตอบอยู่ในคำถาม”  เป็นคติพจน์เก่าแก่  โอบากุสะกิดสะเกาท่านไฮยากุโจ  เปิดเผยประเด็นหลักของเรื่องนี้

ท่านอาจารย์ตอบ “เข้ามาใกล้ๆฉัน แล้วฉันจะตอบเธอ”  โอบากุจึงเข้าไปใกล้ๆ และตบ(หน้า)อาจารย์หนึ่งครั้ง 
ไฮยากุโจ  ผู้เป็นอาจารย์เป็นนักเลงโดยแท้จริง และรู้ถึงจิตใจของศิษย์อย่างดี  ท่านโอบากุไม่พอใจคำตอบธรรมดาๆแน่ๆ  จึงพูดว่า “เข้ามาใกล้ๆ แล้วฉันจะตอบเธอ” โฮบากุก็รู้ดีว่าตอบด้วยคำพูดไม่ได้  ดังนั้นเมื่อเข้าใกล้ไฮยากุโจ จึงตบหน้าท่านหนึ่งที,  นี่หมายความว่า “คำตอบของท่าน  กระผมให้ท่าน? ” มหัศจรรย์โดยแท้คือความยิ่งใหญ่ของไฮยากุโจ  วิเศษโดยแท้คืออิสรภาพของท่านโฮบากุ อาจารย์และศิษย์อยู่ในมิติเดียวกัน  และที่นี่งานของเซนก็เกิดขึ้น  ควรจับจุดนี้ให้ได้
 
“ท่านอาจารย์หัวเราะเสียงดัง ปรบมือ แล้วพูดว่า “ฉันคิดว่าเคราของชาวต่างชาติมีสีแดง  แต่มันเป็นชาวต่างชาติพร้อมเคราสีแดง” “
ไฮยากุโจยิ้มด้วยความร่าเริง เพราะการกระทำอันยิ่งใหญ่ของลูกศิษย์ ซึ่งแสดงว่าท่านไม่ยอมเป็นรองอาจารย์ของตน(?)  อาจารย์ปรบมือเสียงดังและพูดพร้อมหัวเราะร่วน “ฉันคิดว่าเคราของชาวต่างชาติมีสีแดง  แต่มันเป็นชาวต่างชาติพร้อมเคราสีแดง” อาจพูดต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน หมายความว่า “ฉันกำลังจะตบหน้าเธอ  แต่เธอกลับตบหน้าฉัน” จิตใจของท่านอาจารย์และศิษย์เหมือนกระจกเงา  สะท้อนซึ่งกันและกัน อัจฉริยะย่อมเข้าใจอัจฉริยะ นี่คือความเข้าใจ,ซาบซึ้งใจที่แท้  ทั้งคู่เป็นอัศวินผู้ยิ่งใหญ่   จุดจากหมึกเดียวกัน  ขณะนั้น เท่ากับท่านไฮยากุโจยอมรับการบรรลุของโอบากุแล้ว


หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: แปดคิว ที่ มิถุนายน 02, 2011, 09:44:54 pm
 :46: :46: :45:
หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 03, 2011, 10:09:03 am
(http://media-cache-ec0.pinimg.com/736x/64/3c/cb/643ccb6834cb965de703c8f05f492a1e.jpg)

ฉันขอถามท่านอีกครั้งที่นี่  “ ถ้าคำตอบไม่ผิด แต่ละครั้ง
เขาจะกลายเป็นอะไร?”
ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
ท่านมูมอนวิจารณ์  “ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล” 
ทำไมถึงต้องกลายเป็นหมาป่า ?

“ไม่ละเลยกฎ” ทำไมถึงคืนจากร่างของหมาป่า ?
ถ้าเธอมีดวงตาที่เห็นแจ้งแทงตลอดเรื่องนี้
เธอจะรู้ว่า ประธานสงฆ์องค์ก่อนของวัดนี้มีชีวิตที่เปี่ยมสุข
แม้ในร่างหมาห้าร้อยปี
ด้วยคำวิจารณ์ยืดยาว ท่านมูมอน
สรุปความหมายของโกอานด้วยสองส่วน
ท่านฉลาดอย่างเด่นชัดในเรื่องจับหัวใจของเรื่องเพื่อลูกศิษย์

  ประเด็นแรก ทำไมประธานสงฆ์องค์ก่อนจึงกลายเป็นหมาป่า เมื่อตอบว่า บุคคลผู้ตรัสรู้แล้วไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล แล้วจึงถามเพื่อตรวจสอบ “ทำไมท่านคืนร่างจากหมาป่าเมื่อตอบว่า บุคคลผู้ตรัสรู้แล้วไม่ละเลยกฎ?” กล่าวกันแต่โบราณว่า แก่นของเซนอยู่ที่คำถามว่า “ทำไม?” ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น  ฉันขอถาม  โดยแท้จริงแล้ว ไม่มี ตกอยู่ภายใต้  ไม่มีกลับคืนร่าง จากจุดยืนนี้ อะไรที่กลับคืนจากร่างของหมาป่า ? และเป็นอะไรที่มีชีวิตอย่างหมาป่า ?  เราต้องสืบสวนที่จุดนี้ให้ละเอียดยิบ  ท่านมูมอนถามเราให้กวาดอุปสรรคต่างๆทิ้งให้หมด เช่นกลายร่างเป้นหมาป่า กลับคืนจากร่างของหมาป่า ฉันขอยกบทร้อยกรองของอาจารย์แต่โบราณอีกครั้ง เนื่องจากมันอาจชี้แนะแนวการศึกษาของเธอได้

(https://i.pinimg.com/564x/28/fb/4c/28fb4c4614b6115ca28826564f4f9e31.jpg)

            ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งเหตุและผล”
                        และท่านก็กลายร่างเป็นหมาป่า   ความผิดแรก
           “ไม่ละเลยกฎแห่งเหตุและผล”
                        และท่านก็กลับร่างจากหมาป่า  ความผิดที่สอง
 
            มูมอนพูดว่า “ถ้าเธอมีดวงตา”  คือดวงตาแห่งธรรมะที่เห็นโดยพื้นฐานว่า พระพุทธเจ้าและสรรพสัตว์เป็นหนึ่งเดียวกัน ความบริสุทธิ์และความเศร้าหมองเป็นหนึ่งเดียวกัน  จากจุดยืนที่สมบูรณ์  ทวิลักษณ์ต่างๆถูกข้ามไป นี่คือดวงตาที่สาม  ถ้าเธอมีดวงตานี้คือดวงตาแห่งการตรัสรู้  เธอจะรู้ว่า  ห้าร้อยชาติที่ประธานสงฆ์องค์ก่อนเป็นหมาป่า ก็มีความสุขดี เมื่อชายชราเป้นชายชราอย่างเต็มที่ ชีวิตก็มีความสุขและบรรลุถึงสุขคติ  เมื่อหมาป่าอยู่เหนือ “ตกอยู่ภายใต้ และกลับคืนร่าง”และเป็นหมาป่าอย่างเต็มที่ ชีวิตก็มีความสุขและบรรลุถึงสุขคติ  ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ห้าร้อยชาติ  แต่ความสุขนิรันดรทุกอายุและทุกที่จะเกิดขึ้น  ไม่ต้องกล่าวมากไป  คำวิจารณ์ของท่านมูมอน ตอบคำถามของโอบากุอย่างดียิ่ง 

“หากแต่ละครั้งท่านเกิดตอบไม่ผิด ท่านจะเป็นอย่างไร?” 
ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน

            ไม่อยู่ภายใต้, ไม่ละเลย  คู่และคี่ อยู่ที่ลูกเต๋าเดียวกัน
            ไม่ละเลย, ไม่อยู่ภายใต้
  นับร้อยพันความเสียใจ
           
            มูมอนสรุปคำวิจารณ์ไว้ในบทร้อยกรองนี้อีกครั้ง

            จากจุดยืนของเซน
ทั้ง “ไม่อยู่ภายใต้”, “ไม่ละเลย” เป็นเพียง “มัน” (แก่นแท้แห่งเซน ไม่ว่า”มัน”จะอยู่ที่ไหน เมื่อไร “มัน”ย่อมเป็นกฎแห่งเหตุและผลในตัวมัน  ไม่มีสิ่งใดอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งนี้ คู่และคี่อยู่ในลูกเต๋าลูกเดียวกัน  หรือเป็นสองหน้าของเหรียญเดียวกัน แต่ หากพูดว่าเป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นความเหมือนเดิม  คนอาจยึดติดกับคำนี้   อาจจะพูดว่า  ไม่ละเลย,หรือ ไม่อยู่ภายใต้  มันก็เป็นความเสียใจนับร้อยนับพัน๕

ฉันขอถามเธอท้ายนี้ว่า มันเป็นชีวิตชนิดไหน ที่มีนับร้อยพันความเสียใจ? อยากจะบอกว่า แก่นของโกอานนี้อยู่ที่บรรทัดสุดท้าย (ของย่อหน้าที่ผ่านมา-ผู้แปล) หัวใจของชีวิตทีเปี่ยมสุขห้าร้อยชาติซ่อนอยู่ตรงนี้ 

เริ่มแปล วันศุกร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จ  วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

(http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/12/50/ff/1250ff306decaab97251b8217be6ed1e.jpg)

[๑] ชาวต่างชาติในที่นี้หมายถึง  ท่านโพธิธรรม  เพราะท่านเป็นชาวอินเดีย
[๒] เอกภาพ   ความเป็นหนึ่งเดียว  สหภาพ  ความหลากหลาย
[๓] สังเกตว่า  ใช้คำว่า  “เขา”  กับเสือ   หมายถึงคนที่ปรีชาสามารถ ขนาดควรให้สมญาว่า เป็นเสือ
[๔] สมภาพ  ความเหมือน
[๕] หากยังยึดติดกับ ไม่ละเลย หรือ ไม่อยู่ภายใต้   ก็ต้องประสบทุกข์อีกนับร้อยนับพันครั้ง
หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มิถุนายน 03, 2011, 11:14:25 am
       "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง   (http://media-cache-ak0.pinimg.com/236x/b9/f4/0e/b9f40e9c425e7c4122aaf778f48c5542.jpg)

(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/15/56/d4/1556d43ac7e28530bf46c44ff006250d.jpg)

๑ ด่านที่ไร้ประตู 
๒ พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว 
๓ พบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง(เล่ม ๒) 
๔ ซุยกันเรียกตนเอง 
๕ ฮยากุโจและหมาป่า 
๖ โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก

      (https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/p235x350/10533833_672967999436406_1948122439190894245_n.jpg?oh=2869d09ade961b815c204cfd48e88699&oe=54D32E15&__gda__=1426754984_ec0f1ee58c4f78170ffb9b9198b83170)

(http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/dc/97/09/dc9709e7de0590c8017ca15141a5daee.jpg)

ที่มา : http://www.dhamma4u.com/index.php/section-blog/63-zen/594-2009-12-08-10-24-17.html?start=4 (http://www.dhamma4u.com/index.php/section-blog/63-zen/594-2009-12-08-10-24-17.html?start=4)
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
หัวข้อ: Re: ฮยากุโจและหมาป่า "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน ที่ มิถุนายน 03, 2011, 06:28:04 pm
 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
หัวข้อ: Re: ด่านที่ไร้ประตู "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 26, 2012, 10:09:35 pm


                      (http://terebess.hu/zen/hakuin/img/1998.56.jpg)

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับการแปล ๑
ชื่อเรื่อง :เซนโจะแยกร่าง
โกอาน
โกโสะถามพระรูปหนึ่ง  “ เซนโจะและวิญญาณของเธอแยกจากกัน  อันไหนเป็นของจริง ?”

คำวิจารณ์ของมูมอน
       ถ้าคุณรู้แจ้งถึงโกอานบทนี้  คุณจะรู้ว่าการออกจากเครื่องหุ้มกายอันหนึ่งแล้วก็หาอันใหม่มันก็เหมือนกับนักท่องเที่ยวชอบพักชั่วคราวตามโรงแรม  ถ้าคุณยังไม่รู้แจ้ง  ก็อย่ารีบร้อนอย่างคนตาบอด เมื่อธาตุทั้งสี่เสื่อมสลายอย่างฉับพลัน  คุณจะเป็นเหมือนปูถูกโยนใส่น้ำร้อน  ดิ้นรนด้วยแขนทั้งเจ็ดและขาทั้งแปด อย่าพูดว่าฉันไม่เคยเตือนคุณ

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTMW0hT9R1YeskGewip7-RCfGFlMGBIquIAW-lgd3knn9MvSOSYDA)  บทร้อยกรองของมูมอน
    ความเหมือนอยู่นี่  ดวงจันทร์กลางหมู่เมฆ
    ความต่างอย่างนี้   ขุนเขาและหุบเหว
             ช่างน่าอัศจรรย์        น่าชมเสียจริง
             นี่เป็นหนึ่งเดียวหรือ   เป็นคู่

ไขปริศนา โกอาน
       โกอานนี้ดูเหมือนธรรมดาๆ  ในสมัยก่อนโกอานนี้ถูกใช้เป็น นันโตะโกอาน  อาจารย์ โฮเอนต่อมาชื่อว่า อาจารย์โกโสะเพราะพักที่ภูเขานี้   ท่านบวชเป็นภิกษุเมื่ออายุ ๓๕ ปี เริ่มต้นด้วยการศึกษาปริยัติธรรมจนกลายเป็นปราชญ์ท่านหนึ่ง วันหนึ่งท่านอ่านตำราพบข้อความว่า “พระโพธิสัตว์เมื่อมองด้วยสายตาแห่งความรู้แจ้ง  การปฏิบัติและหลักปริยัติถูกหลอมรวมกัน  ปรากฏการณ์และแก่นแท้เป็นหนึ่งเดียวกัน  และอัตวิสัยและภววิสัยก็ไม่ได้แยกกัน"   ปราชญ์นอกศาสนาค้านว่า “ถ้าอัตวิสัยและภววิสัยไม่ได้แยกจากกัน  จะพิสูจน์ความจริงกันอย่างไร””  แต่อาจารย์เกนโจะพูดว่า  “เหมือนกับคนดื่มน้ำย่อมรู้ว่าน้ำเย็นหรือร้อนด้วยตัวเขาเอง”

อาจารย์โฮเอนพูดว่า “ฉันรู้ว่าน้ำร้อนหรือเย็น แต่ฉันไม่รู้ว่า  “รู้ด้วยตนเอง” เป็นอย่างไร ”  ท่านถามอาจารย์ แต่อาจารย์ไม่สามารถให้เข้ากระจ่างแจ้งแก่ท่านได้กลับพูดกับท่านว่า หากท่านต้องการคำตอบ  ให้ลงไปทางใต้และถามอาจารย์เซน” ด้วยความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยว  ท่านเดินทางพบอาจารย์เซนมากมาย  ขณะที่ท่านศึกษาอยู่กับอาจารย์ฮะกุน ชูตัน  มีพระองค์หนึ่งถามท่านอาจารย์แต่กลับถูกดุอย่างรุนแรง   เหตุการณ์นี้กลายเป็นแรงบันดาลใจอย่างใหญ่หลวง  ท่านจึงต้องการรู้ความจริงด้วยตนเอง ต่อมาท่านได้ยินโกอานว่า “มีพระเซนมากมายจากภูเขาโร ทั้งหมดล้วนรู้แจ้งแล้ว  ถ้าเธอถามเขาจะตอบอย่างดียิ่ง  หากถามโกอาน เขาจะตอบอย่างชัดเจน ถ้าให้เขาเขียนคำอธิบายเพราะๆ เขาก็เขียนได้อย่างดี  แต่เขาก็ยังจับฉวย “มัน”  ไม่ได้”  คำไขปริศนานี้ทำความสงสัยอย่างใหญ่หลวงแก่โฮเอน  ภายหลังศึกษาโกอานนี้อย่างหนักเป็นเวลาหลายวัน ในที่สุดท่านก็รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังขจัดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเซนจนหมดสิ้น ต่อมาภายหลัง  ชื่อเสียงของท่านก็ค่อยๆขจรขยายไปในวงการเซน

            เป็นเวลากว่าสี่สิบปีที่ท่านสอนศิษย์อย่างกระตือรือร้น วันหนึ่งท่านได้ประกาศลากลางที่ประชุม กลับกุฏิสรงน้ำปลงผมอย่างประณีตบรรจง  วันรุ่งขึ้นก็มรณภาพโดยอาการสงบในปี พ.ศ.๑๑๐๔ ขณะนั้นท่านมีอายุกว่า ๘๐ ปี อาจารย์  เอนโกผู้รวบรวมโกอาน เฮกิกันโรกุ(บันทึกหินสีฟ้า)เป็นหนึ่งในศิษย์หลายท่านของท่าน

            เรื่อง “เซนโจะและวิญญาณของเธอแยกจากกัน” เป็นตำนานสมัยราชวงศ์ถัง  ในโกชูในจีนมีชายคนหนึ่งชื่อโชกัน เขามีลูกหญิงสองคน  เนื่องจากคนแรกตายไป เขาจึงรักคนที่สองมาก  และทำทุกๆอย่างเพื่อลูก  เนื่องจากเธอสวยมาก หนุ่มๆหลายคนจึงอยากแต่งงานกับเธอ  พ่อของเธอตกลงใจเลือกฮินเรียว และตั้งใจยกเซนโจะให้เขา เซนโจะกลับรักโอชูซึ่งเป็นหลานของโชกัน  เมื่อโอชูยังเล็กอยู่วันหนึ่ง พ่อของเซนโจะพูดเล่นๆกับเขาว่า “โอชูและเซนโจะเข้ากันได้ดี  เมื่อโตน่าจะแต่งงานกัน “  คำพูดนี้ทำให้เขาทั้งสองเชื่อว่าได้หมั้นกันแล้ว  และเมื่อเวลาผ่านไปเขาก็พบว่าเขาทั้งสองรักกัน

            เซนโจะ  ผู้ได้ยินโดยกะทันหันว่าพ่อหมั้นไว้กับฮินเรียว เกิดเสียใจและโศกเศร้าอย่างรุนแรง  เช่นเดียวกับโอชูซึ่งเมื่อรู้เรื่องก็ตัดสินใจหนีจากบ้าน เพราะเขาไม่สามารถอยู่ใกล้ๆเธอได้  เย็นวันหนึ่งเขา(โอชู)ก็จากบ้านอย่างเงียบๆไม่บอกใครแม้เซนโจะ  เวลาเที่ยงคืนเขาเห็นเงาตะคุ่มๆวิ่งไปตามริมน้ำตามเรือของเขา  เขาหยุดมอง และก็ดีใจอย่างที่สุด เมื่อพบว่าเป็นที่รักของเขานั่นเอง  ทั้งสองกอดกันพร้อมทั้งน้ำตา เมื่อไม่สามารถกลับไปหาพ่อของเซนโจะได้ จึงหนีไปอยู่ที่โชกุและแต่งงานกัน

            ห้าปีผ่านไป เซนโจะซึ่งกลายเป็นแม่ของลูกสองคน คิดถึงบ้านมาก วันหนึ่งจึงบอกกับสามี “เพราะรักเธอฉันจึงยอมมาอยู่กับเธอที่นี่  แต่ฉันไม่รู้ว่าพ่อแม่เป็นอย่างไรบ้าง  ที่จากมาโดยพ่อแม่ไม่ยินยอม ฉันคงกกลับบ้านไม่ได้”   โอชูก็คิดถึงบ้านเช่นกัน  จึงพูดว่า “เรากลับโกชูและเขาขมาพ่อแม่ของเธอด้วยกัน” ทั้งสองเช่าเรือแล้วก็กลับบ้านเกิด
            ทิ้งเซนโจะไว้ที่ท่าเรือ โอชูวิ่งไปที่บ้านของโชกัน ขอขมาในความผิด แล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง  โชกันรู้สึกพิศวง ถามโอชูว่า “เธอพูดถึงผู้หญิงคนไหน”   “เซนโจะ  ลูกของท่าน”  โอชูตอบ โชกันกลับพูดว่า “ลูกฉันหรือ  เซนโจะ ตั้งแต่เธอจากไปแล้ว เธอก็นอนป่วยอยู่บนเตียงแล้วก็พูดไม่ได้ “ โอชูเมื่อถูกถามก็พยายามอธิบาย “เซนโจะแน่ๆ เธอตามผมไปอยู่ด้วยกันที่โชกุ เธอมีลูกที่แข็งแรงสองคน ถ้าท่านไม่เชื่อก็ไปดูที่ท่าเรือ  เธออยู่ที่นั่นกำลังรอผมอยู่”

            โชกันรู้สึกพิศวงงงงวยอีกครั้ง  ส่งคนใช้เก่าไปดู คนใช้บอกว่าจริง โชกันกลับบ้านก็พบว่าเซนโจะยังนอนอยู่บนเตียง เขาจึงเล่าเรื่องให้เซนโจะฟัง  ด้วยความดีใจอย่างสุดขีด เธอลุกขึ้นจากเตียงโดยพูดอะไรไม่ออก  ขณะนั้นเซนโจะซึ่งจากไปก็กลับมาด้วยเกวียน เซนโจะที่ป่วยออกจากบ้านไปพบอีกเซนโจะ ขณะที่เซนโจะจากเกวียนลงจากเกวียน ทั้งสองก็รวมเป็นคนเดียวกัน
            โชกัน ผู้เป็นพ่อ จึงพูดกับเซนโจะว่า  “ตั้งแต่โอชูจากหมู่บ้านนี้ไป เซนโจะไม่พูดแม้คำเดียว และปราศจากความรู้ตัวเหมือนคนเมา ขณะนี้ฉันเห็นแล้วว่า วิญญาณของเธอได้จากร่างของเธอไปแล้วไปอยู่กับโอชู” เซนโจะจึงตอบไปว่า “ฉันไม่รู้เลยว่าฉันป่วย เมื่อฉันรู้ว่าโอชูจากบ้านไปด้วยความทุกข์  ฉันก็ตามเรือของเขาไป ด้วยความรู้สึกราวกับฝันไป ฉันเองไม่แน่ใจว่า คนไหนเป็นตัวจริงของเซนโจะ คนที่อยู่กับพ่อ  นอนป่วยอยู่บนเตียง หรือคนที่ตามโอชูไป”   
            นี่เป็นเรื่องย่อๆของ “เรื่องวิญญาณที่แยกกัน”

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQtJRkL1h21npSOz92dUk-7wwT2ScXYMyFIOE7QvPh-ySjfQqAw)

หัวข้อ: Re: ด่านที่ไร้ประตู "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 26, 2012, 10:11:56 pm


(http://media-cache-ec6.pinterest.com/upload/249527635573514948_C7PWr9gU_b.jpg) (http://i285.photobucket.com/albums/ll80/Enigma1952/Doors-2.jpg)

            อาจารย์โกโซ โฮเอนเล่าเรื่องนี้ และถามว่า “ใครคือตัวจริง”  ท่านไม่ได้ถามแบบชาวบ้านธรรมดาอย่างในเรื่องนี้  ซึ่งเป็นอะไรคล้ายเรื่องภูตผีปีศาจ  ท่านพูดถึงเซนโจะซึ่งเดิมมีร่างเดียวแล้วกลายเป็นสอง เพื่อสอนเหล่าศิษย์ให้เปิดดวงตาสู่เซน
            อาจารย์มูมอน อยู่ข้างเดียวกับอาจารย์โกโซ และถามเหล่าศิษย์ว่า “ใครคือตัวจริง”  ท่านกดดันเหล่าศิษย์ให้แทงทะลุจิตวิญญาณแห่งเซนเพื่อเข้าถึงสิ่งนี้  ฉันขอเตือนท่านว่า คำถามของท่านอาจารย์ยังคงปรากฏอยู่เฉพาะหน้าคุณแม้ในปัจจุบันนี้

            ถ้าเราเหลียวมองตนเอง  เราเห็นหรือไม่ว่าเราทุกคนล้วนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างจากกรณีของเซนโจะ พร้อมด้วยวิญญาณที่แยกจากกัน   มี “ฉัน” ที่ต้องการทำอย่างที่ “ฉัน” ชอบ  พยายามทำความพอใจให้แก่ความปรารถนาของ  “ฉัน” หาความเพลิดเพลินแก่ชีวิตเต็มที่เท่าที่เป็นไปได้  และมีอีกหนึ่ง “ฉัน” ที่เดียวดายในชีวิตแห่งการแสวงหาความเพลิดเพลินกระทั่งรู้สึกว่าสุดทน  ใครคือ  “ฉัน” ตัวจริง
            ท่านชินรัน ผู้ก่อตั้งนิกายสุขาวดีในญี่ปุ่น ผู้มีชื่อเสียงด้วยคำรำพันแสดงความเศร้าโศกว่า “บาปฉันหนักและหนา กิเลสฉันก็ดกดื่น  ปลายทางฉันคือนรก” ชินรันผู้วิพากษ์ตนเองอย่างรุนแรงและดิ้นรนหาความรอด “สิ่งที่ต้องเปิดเผยคือการมีชีวิตเป็น “ตัวตนที่แท้”รูปแบบหนึ่งในกาลเทศะหนึ่ง  การตายเป็น “ตัวตนที่แท้” ในอีกรูปแบบในอีกกาลเทศะหนึ่ง  การมีชีวิตและการตาย แตกต่างจากกัน

            (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSAM73zivh7q-awELR2vqBlotHRniLFnEjvoq7klxrYsirwi9J6D8zwPV8FXg)

            อาจเหมือนกับคลื่นใหญ่เล็กในมหาสมุทร  “ตัวจริง” หรือ ความจริงแท้  อาจเปรียบได้กับน้ำ ที่พักอาศัยเปรียบได้กับคลื่น  น้ำสามารถแสดงตนเป็นลูกคลื่นหลายแบบ คลื่น  หรือระลอกคลื่น เทียบได้กับน้ำ  คลื่นแต่ละลูกคือน้ำในต่างๆขณะ แต่ท้ายสุดความจริงว่า คลื่นทั้งหลายล้วนคือน้ำไม่เคยเปลี่ยนไป  อาจารย์โดเกนจึงสอนเราว่า “ถ้ามี ”พุทธะ” ในชีวิตและความตาย  ย่อมไม่มีความตาย”  “พุทธะ”  ในที่นี้คือ “ตัวจริง” ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงตลอดกาล
            คำวิจารณ์ของมูมอนมีต่อไปว่า  “ในกรณีที่คุณยังไม่รู้แจ้งก็จงอย่ารีบร้อนจนหน้ามืดตามัว” ท่านกล่าวต่อไปว่า “ถ้าคุณยังไม่สามารถจับฉวย “ของจริง” ทั้งที่มีคำไขปริศนาให้แล้วอย่างนี้ ก็อย่าวุ่นวายเที่ยวหาจากหลักปรัชญาโน้นบ้างนี้บ้าง  คำสอนโน้นบ้างนี้บ้าง จงหยุดสิ่งเหล่านี้เสีย แล้วทุ่มเทจิตใจทั้งหมดไปค้นว่า “อะไรคือ “ของจริง” กระโจนตรงๆสู่มัน”  แล้วพูดต่อไปอีกว่า “ทันทีทันใดที่ธาตุทั้งสี่เสื่อมสลาย คุณจะเป็นเหมือนปูที่ถูกโยนใส่น้ำเดือด ดิ้นรนด้วยแขนทั้งเจ็ดและขาทั้งแปด”

            คนในสมัยก่อนคิดว่าร่างของคนประกอบด้วยธาตุทั้งสี่  “เมื่อธาตุทั้งสี่เสื่อมสลาย” จึงหมายถึงตาย  อาจารย์มูมอนเตือนเสียงกร้าว “พวกของคุณส่วนที่ยังไม่ตื่นสู่ “ของจริง” พวกของคุณส่วนที่ยังไม่พบสันติพื้นฐานของใจ จะไม่ตายไปอย่างสงบหากเกิดต้องตายอย่างกะทันหัน แต่จะทรมานอย่างปูที่ถูกโยนใส่น้ำเดือด  แขนขาตะกุยตะกายเอาชีวิตรอด” ท่านวิจารณ์ต่อไปว่า “อย่าพูดทีหลังว่าฉันไม่ได้เตือนคุณ” และไม่ลืมที่จะเตือนต่อไปด้วยความกรุณาว่า “ขณะกำลังจะตายคุณอาจจะเสียดายอาลัยอาวรณ์ว่า คุณยังไม่บรรลุถึง “ของจริง” แต่มันก็สายไปเสียแล้ว” นี้เป็นคำแนะนำด้วยความเมตตาและสำคัญยิ่งชีวิตต่อคุณแม้ในปัจจุบันนี้ด้วย  เช่นกัน

คำไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน  (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQo3IEgQismz1Mp35_S_ZFskwPr4HDwETNqUxSMu-n0WfN6b4AC)
    ความเหมือนอยู่นี่  ดวงจันทร์กลางหมู่เมฆ
    ความต่างอย่างนี้   ขุนเขาและหุบเหว
             ช่างน่าอัศจรรย์        น่าชมเสียจริง
             นี่เป็นหนึ่งเดียวหรือ   เป็นคู่

            เปรียบ “ของจริง” กับดวงจันทร์ท่ามกลางหมู่เมฆ  ของลวงตากับขุนเขาและหุบเหว มูมอนประพันธ์ว่า “เหมือนเดิมตลอดกาลคือดวงจันทร์ท่ามกลางหมู่เมฆ ความแตกต่างคือ ขุนเขาและหุบเหว  พระจันทร์ยังคงเป็นเช่นเดิมไม่ว่าจะมองจากที่ไหน  ทิวทัศน์ของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเหวนี้สู่เขาโน้น  หากคุณรู้ว่าความสวยของเหวเกิดจากเหตุอย่างเดียวคือดวงจันทร์ คุณจะรู้ว่าเป็นการโง่เพียงใดที่จะถกเถียงเรื่องความเหมือนและความต่างของจริงและของลวงตา เซนโจะข้างในหรือข้างนอก  ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น  ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณ เห็น รู้ ได้ยิน ล้วนน่าสรรเสริญ  มันไม่เป็นทั้ง 'หนึ่งเดียว' หรือเป็น 'คู่ '  ชีวิตจริงของเราทั้งหลาย ตามที่มันเป็นอยู่ ล้วนน่าเคารพสรรเสริญ, เป็นชีวิตที่เราใช้ทำงานและร่าเริงยินดี, ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระสังฆปรินายกทั้งหลาย จะมีอะไรน่าอัศจรรย์ควรให้ความสำคัญเท่านี้บ้าง

            (http://3.bp.blogspot.com/_xFJVXOsxV54/TDsDU6NyDvI/AAAAAAAAGns/1NLTlDkwhgM/s400/Blue+Door.jpg)

            ท่านกิโด เขียนบทประพันธ์สำหรับบทร้อยกรองนี้ว่า
                        กิ่งพีชและกิ่งอ้ออยู่เบื้องหน้า
                        กระดาษเงินตามหลังในงานศพ
                        สาวกของท่านนักบวชจากต่างถิ่น
                        คุณจะไม่ไปสู่ปรโลก

            สองบรรทัดแรกบรรยายถึงงานศพของคนจีน  ผู้อยู่ข้างหน้าถือกิ่งต้นพีชและกิ่งอ้อเพื่อกันปีศาจ หลังศพมีคนถือกระดาษเงินเอาใจเหล่าปีศาจ  นี้เป็นพิธีงานศพ  เมื่อกล่าวว่าชีวิตและความตายเป็นหนึ่งเดียว คุณเป็นอยู่น่าละอายใจเช่นไร  มารร้ายโจมตีคุณได้หรือไม่
            บรรทัดที่สามท่านกิโดพูดถึงศิษย์ของท่านโพธิธรรม หรือ นักปฏิบัติเซนที่ควรแก่การกล่าวถึง  นักบวชจากต่างถิ่นหมายถึง ท่านโพธิธรรม บรรทัดที่สี่ท่านพูดจริงจังว่า “คนเหล่านั้นจะไม่ไปสู่ปรโลก ปรโลกมีนัยสำคัญอย่างไร

            ท่านโฮเอนกล่าวแรกสุดว่า “เซนโจะและวิญญาณของเธอแยกจากกัน อันไหนเป็น “ตัวจริง” “ ด้วยความกรุณาท่านไม่สามารถหยุดเตือนเราว่า อย่าจับฉวย “ตัวจริง”ชนิดเหมือนกันแบบโดดๆ หรือว่างอย่างไม่มีอะไรเลย ดังนั้นท่านมูมอนจึงกล่าวพาดพิงถึงท่านโฮเอนเสียงเดียวว่า “น่าอัศจรรย์แท้ น่าสรรเสิญอย่างยิ่ง นี่เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นคู่”
            สำหรับผู้เปิดดวงตาเห็นเซนแล้ว ทุกสิ่ง  ตามที่มันเป็น เป็น  “มัน”  ถ้าเขายืน ที่ที่เขายืนอยู่ เป็น “มัน” ถ้าเขานั่ง  ที่ที่เขานั่งอยู่เป็น “ของจริง”   มันเป็น ตามที่มันเป็น  ทั้งจักรวาล

(http://ih2.redbubble.net/image.3856327.8450/flat,220x200,075,t.jpg) (http://ih2.redbubble.net/image.3915639.4231/flat,220x200,075,t.jpg)
:http://www.dhamma4u.com
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ)
ถนนนิคมรถไฟสาย ๒ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท์: ๐-๒๙๓๖-๒๘๐๐ โทรสาร: ๐-๒๙๓๖-๒๙๐๐ อีเมล์ :info@bia.or.th

หัวข้อ: Re: พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2012, 05:49:29 am

(https://i.pinimg.com/564x/69/a1/cf/69a1cfbaa2b79f8439cc84b0e2763f8e.jpg)

ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๖
ลำดับการแปล ๒
ชื่อเรื่อง :พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว
โกอาน


สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคและสาวกหมู่หนึ่งประทับอยู่บนเขาคิชฌกูฏ พระองค์แสดงธรรมโดยชูดอกบัวขึ้นต่อหน้าหมู่สงฆ์   เหล่าสาวกพากันเงียบกริบ  มีแต่พระมหากัสสปเพียงท่านเดียวที่ยิ้มอยู่อย่างสงบ  พระองค์จึงทรงตรัสว่า “เราทรงธรรมที่แท้อันขจรขจายไปทั่ว พระนิพพานอันหาสิ่งใดเปรียบเทียบไม่ได้ คำสอนที่ลึกซึ้งไร้รูปลักษณะ ไม่ขึ้นกับตัวอักษร และถ่ายทอดนอกคัมภีร์ใดๆ  บัดนี้เรามอบต่อมหากัสสปแล้ว”

คำวิจารณ์ของมูมอน
พระโคตมพุทธะผู้มีพระพักตร์เหลืองร้ายกาจอย่างแท้จริง พระองค์ทำนักปราชญ์ให้กลายเป็นคนชั้นต่ำ หลอกขายเนื้อหมาด้วยคำโฆษณาว่าเป็นเนื้อแกะ  ฉันคิดว่ามีบางสิ่งที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี  ในที่ประชุมนั้น หากภิกษุทุกรูปยิ้มกันหมด ถามว่าธรรมที่แท้ถูกถ่ายทอดให้ใคร หรือ หากพระมหากัสสปไม่ได้ยิ้ม ธรรมนี้ถูกถ่ายทอดหรือไม่ หากเธอคิดว่าธรรมะที่แท้สามารถถ่ายทอดกันได้ พระผู้มีพระพักตร์เหลืองกลายเป็นคนหลอกลวงตบตาแม้ชาวบ้านธรรมดาๆ หากเธอคิดว่าธรรมะที่แท้ไม่สามารถถ่ายทอดกันได้ ทำไมพระมหากัสสปจึงยิ้ม

                  (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:jXq2H8QIAyb9SM:http://www.bdcu.org.au/BDDR/bddr12no1/mahakasyapa.jpg)
บทร้อยกรองของมูมอน
            ดอกบัวถูกชูขึ้น
            และความลับก็เปิดเผย
            พระมหากัสสปเผยอยิ้ม
            ที่ประชุมสงฆ์ล้วนไม่ได้อะไร

ไขปริศนา โกอาน
            “พระผู้มีพระภาค” คำที่ใช้เรียกพระโคตมพุทธะ พระองค์ประสูติเป็นเจ้าชายชื่อสิทธัตถะแห่งวงศ์ศากยะเมื่อ ๕๖๕ ปี ก่อนคริสตศักราช ทรงออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา และบรรลุพระโพธิญาณเมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา  ทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อ ๘๐ พรรษา หลังจากทรงประดิษฐานพุทธศาสนาแล้ว
            เขาคิชฌกูฏ เป็นเขาลูกหนึ่งอยู่ใกล้เมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระองค์แสดงธรรมหลายครั้ง เพราะรูปร่างคล้ายอีแร้ง เขาลูกนี้จึงได้ชื่อเช่นนี้

            พระมหากัสสป เป็นหนึ่งในสิบอันดับแรกของอัครสาวกของพระพุทธองค์ ท่านได้รับการเคารพในฐานะผู้เคร่งต่อวินัย หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ท่านเป็นผู้นำที่ขวนขวายแห่งหมู่สงฆ์ ได้รับการเคารพว่าเป็นทายาทของพระพุทธองต์
            เซนรักษาหลักการแห่งการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงทางธรรมะโดยตรง และแก่นของเซนก็อยู่ที่การถ่ายทอดนี้แหละ  ดังนั้นจริงๆแล้วการถ่ายทอดโดยตรงเกิดขึ้นอย่างไร ในพุทธศาสนาแบบเซน โกอานบทนี้คือ พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว มีความสำคัญมากในฐานะที่มันเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและหนักแน่นแก่เรา ถึงหลักการถ่ายทอดธรรมะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน  ก่อนจะไขปริศนา ควรจะเข้าใจเบื้องหลังของเรื่องนี้เสียก่อน

            ในจีนมีตำรามากมายที่มีโกอานคล้ายๆกันนี้ ล้วนมีชื่อว่า “พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว” ราวกับว่าเป็นเรื่องจริงที่สามารถสืบสาวราวเรื่องได้ มีต้นเรื่องอยู่ในตำราเล่มหนึ่ง แต่ไม่มีในต้นฉบับภาษาสันสกฤต และกล่าวกันในหมู่ผู้รู้ว่าตำรานี้แต่งขึ้นในภายหลังในจีนโดยไม่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์
            แม้มีความจริงว่าเรื้องนี้ไม่มีข้อสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่ควรปฏิเสธเรื่องการถ่ายทอดธรรมระหว่างอาจารย์กับศิษย์ ผู้เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถ่ายทอดธรรมควรแปลความหมายของการถ่ายทอดธรรมได้ดี เช่นที่มีในโกอานบทนี้ ความสำคัญของโกอานไม่ได้เสียหายเพราะขาดข้อสนับสนุนทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด

            ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า หลักสำคัญของเซนคือการมีประสบการณ์โดยผู้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะตัว ตั้งแต่เริ่มแล้ว ที่การสวดมนต์ พิธีกรรมต่างๆ และตำราเป็นสิ่งที่เซนปฏิเสธ การถ่ายทอดแบบเซนมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์จริงเฉพาะตนของแต่ละบุคคล และขณะเดียวกันประสบการณ์ของอาจารย์และศิษย์ก็ต้องเป็นอันเดียวกัน นี่คือเหตุที่ว่า ทำไมขณะที่เซนยืนยันถึงความจำเป็นในการยืนอยู่กับประสบการณ์เฉพาะตนของตน  ก็ยังยึดมั่นในความสำคัญของการถ่ายทอดโดยตรงจากอาจารย์สู่ศิษย์  และเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มาก หากละเลยเรื่องนี้ไป แสงแห่งสัจจธรรม ธรรมเนียมที่มีชีวิตจริงของเซนก็จะตายไปในทันทีทันใด ดังนั้น การถ่ายทอดโดยตรงจากอาจารย์สู่ศิษย์ในเซนจึงเรียกอีกชื่อว่า “จากจิตสู่จิต” และมีความสำคัญและธรรมเนียมเฉพาะตัว

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRVH5TCoXKz_LcumlbD3LT-nkzhhbYQ4-u5hQbHBpRO4L-AE41EAQ)

หัวข้อ: Re: พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2012, 06:15:34 am

(https://i.pinimg.com/564x/ae/b4/29/aeb429a0be27c4d0d0634c455dde6120.jpg)

            แม้ว่าจะเป็นจากจิตสู่จิต แต่คำว่า ”ถ่ายทอด” มีหมายความทั่วไปว่ามีการถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งในเวลาหนึ่งๆ สำหรับเซนซึ่งขึ้นเฉพาะต่อประสบการณ์จริง ปฏิเสธการสืบทอดจากอดีต การอภิเษก(ส่งให้จากอาจารย์-ผู้แปล) ในรูปแบบใดๆ และมักเข้าใจคำว่าการถ่ายทอดกันผิดๆอย่างให้อภัยไม่ได้ คำใหม่จึงเกิดขึ้นเพื่ออธิบายคำนี้ “การถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้”  หรือ “การถ่ายทอดคือการชี้ตรงไป” กล่าวอีกอย่าง “การถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์” ในเซนหมายถึง “การชี้ตรงลงไป(ระหว่างอาจารย์-ศิษย์)”  ซึ่งประสบการณ์ของอาจารย์และศิษย์ ตรงกันอย่างสมบูรณ์ เป็นความตรงกันระหว่างธรรมที่แท้หนึ่งเดียวกัน

            นับแต่แรกเริ่มเนิ่นนานมาแล้ว กล่าวกันว่า “มันเหมือนกับรินน้ำจากเหยือกหนึ่งไปสู่อีกเหยือกหนึ่งซึ่งมีน้ำเหมือนๆกันอย่างสิ้นเชิง” ประสบการณ์ของศิษย์ต้องได้รับการยอมรับจากอาจารย์เสมอ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของการถ่ายทอดแบบเซนที่ การยืนยันจากอาจารย์นับว่าสำคัญมากขนาดนั้น เพราะนี่ทำให้หัวใจของเซนคงอยู่ตลอดไป   
            ไม่ว่าเรื่อง“พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว” จะมีความจริงทางประวัติศาสตร์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมเนียมเซนในการถ่ายทอดระหว่างอาจารย์กับศิษย์แต่อย่างใด หรือกล่าวได้ว่า การถ่ายทอดในเซนอยู่เหนือเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ ในความหมายนี้ โกอานนี้จึงมีความสำคัญต่อเราแม้ในทุกวันนี้

            โกอานบทนี้กล่าวว่าเมื่อนานมาแล้ว ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏท่ามกลางหมู่สงฆ์ ต่อหน้าหมู่สงฆ์ผู้รอฟังพระธรรม พระองค์ได้ทรงชูดอกบัวขึ้นโดยไม่ตรัสแม้แต่คำเดียว  พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว  พระองค์ทรงแสดงธรรมหรือไม่  มันเกิดขึ้นในทันทีที่ดอกบัวถูกชูขึ้น
            ฉันคือดอกบัว  ทั้งจักรวาลคือดอกบัว  หากมโนวิญญาณเกิดขึ้น มันก็หายไปแล้ว ท่านกูเตอิชูหนึ่งนิ้ว  ท่านโจชูส่งเสียง “มู”  สิ่งเหล่านี้เหมือนหรือต่างกัน? ผู้รู้ย่อมรู้ในชั่วขณะเดียว ผู้สามารถเห็นย่อมเห็นในทันที ทุกอย่างถูกบรรยายอย่างหมดจด  ธรรมบรรยายที่ยอดเยี่ยมอะไรเช่นนั้น

           โบราณาจารย์แห่งเซนกล่าวว่า
            เท่าที่ฉันเห็นด้วยจิตที่มิใช่จิต
            มันคือ ฉันเอง ที่เป็นดอกบัวดอกนั้น
เราไม่ควร สรุปด้วยความคิดของเราว่า ฉันและโลกเป็นสิ่งเดียวกัน

มีประโยคหนึ่งในสัทธรรมปุณฑริกสูตร  “เป็นความจริงแท้แน่นอนที่สุด ที่การประชุมสงฆ์ที่เขาคิชฌกูฏปรากฏที่นี่”  นี่หมายความว่า การแสดงธรรมที่เขาคิชฌกูฏเกิดขึ้นที่นี่อย่างชัดแจ้ง ต่อหน้าพวกเรา  ประโยคนี้จึงถามเราให้รับฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัวตรงๆ ที่นี่และเดียวนี้  ไม่ขึ้นกับกาลเทศะ ใช่หรือไม่  เป็นคำถามให้เราจับฉวยหัวใจแห่งสัจจธรรมก่อนวิญญาณ[1(หมายถึง  วิญญาณขันธ์)]จะเกิดขึ้นใช่หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ณ ที่นั้น ไม่มีใครจะสามารถเข้าใจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง หมู่สงฆ์พากันเงียบและปราศจากการตอบสนองใดๆ  มีแต่พระมหากัสสปที่เผยอยิ้มแต่ผู้เดียว มีแต่พระมหากัสสปผู้เดียวที่ซาบซึ้งต่อธรรมบรรยายที่ไร้คำพูดและตอบรับด้วยรอยยิ้ม

รอยยิ้มนี้กระตุ้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วสังคมเซน และก่อให้เกิดความเห็นต่างๆนานา
พูดโดยไร้คำพูด ได้ยินโดยปราศจากเสียง พระมหากัสสปได้รับอะไรจากดอกบัวที่พระพุทธองค์ทรงชูขึ้น  หรือกล่าวอย่างสรุปว่า การยิ้มของพระมหากัสสปมีความสำคัญอย่างไร นี้คือแก่นสำคัญของคำถาม และประสบการณ์จริงของนักปฏิบัติเซนแต่ละท่านคือกุญแจไขปัญหานี้

อาจารย์เซนท่านหนึ่งกล่าวว่า “เด็กน้อยไม่ใส่ใจความน่าเกลียดของแม่” ทำไมการชูดอกบัวของพระพุทธองค์จึงน่าเกลียด ดวงตาแห่งเซนต้องถูกเปิดออกก่อนจะเข้าใจคำถามนี้ อีกคำถามคือ พระพุทธองค์กล้าทำอะไรที่น่าเกลียดหรือ?  เพราะพระมหากรุณาอย่างสุดทนทานที่ทำให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น พระมหากัสสปเข้าใจความน่าเกลียดของพระพุทธองค์และประทับใจ และรอยยิ้มของท่านทำให้ปริศนา”การชี้ตรงลงไป(ระหว่างอาจารย์-ศิษย์)” จบลงด้วยดี  พระพุทธองค์-พระบรมครู และ  พระมหากัสสป-ศิษย์ มีส่วนร่วมในความน่าเกลียดแห่งครอบครัวเดียวกัน  บอกฉันมาว่า  “ความน่าเกลียดในครอบครัว” นี้คืออะไร ?  นี่คือจุดที่บรรจุความลับของ “ชูดอกบัว”  และ “ยิ้ม” ซึ่งเป็นการชี้ตรงลงไป(ระหว่างอาจารย์กับศิษย์)ที่สมบูรณ์
อาจารย์อีกท่านกล่าวว่า “พ่อขโมยแกะ และลูกก็ยอมรับ” ประโยคนี้เริ่มแรกใช้บรรยายความซื่อแบบเซ่อๆ  หมายถึง พ่อทำชั่วและลูกก็แฉ(อย่างไม่มีที่ปิดบัง-ผู้แปล) น่าสนใจที่พ่อและลูกเข้ากันได้อย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ยแม้ว่าจะอยู่ในฐานะต่างกัน  เราจะต้องเข้าใจว่า  “ขโมยแกะ”  มีความหมายจริงๆอย่างไร

ท้ายที่สุด โดยปราศจากประสบการณ์ที่กระจ่างแจ้งของเราทั้งหลาย เราจะไม่สามารถซาบซึ้งสิ่งที่โบราณาจารย์แห่งเซนพูดหรือทำได้เลย เป็นเพียงแค่ดอกบัว   เป็นเพียงแค่ไม้เท้า เป็นอย่างนั้นและอย่างนั้น แล้วจักรวาลจะไปอยู่ที่ไหน? บัดนี้จงพูดกับฉัน เธออาจเงียบ อาจยิ้ม ตามความประสงค์ และนี่เป็นครั้งแรกที่เธอจะจับฉวยโกอานบทนี้ได้
มีบทสนทนาที่พาดพิงถึง “พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว”  วันหนึ่งผู้ว่าราชการท่านหนึ่งถามอาจารย์อุนโกะ “มีเรื่องเล่าว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยปกปิดเป็นความลับ(ไม่พูด-ผู้แปล) เพียงแต่ชูดอกบัวขึ้น   และพระมหากัสสปเพียงแค่ยิ้ม ทำให้ความลับรั่วไหล นี่หมายความว่าอย่างไร” อาจารย์อุนโกะ ตอบว่า“ท่านผู้ว่าราชการ”  “ครับ ท่านอาจารย์” ท่านผู้ว่าฯ ตอบ  “เธอเข้าใจไหม?”อาจารย์อุนโกะ ถาม เมื่อผู้ว่าฯตอบว่า “ไม่ ท่านอาจารย์”  อาจารย์จึงกล่าวต่อไปว่า “ถ้าเธอไม่เข้าใจ  มันหมายความว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยปกปิดเป็นความลับอย่างแท้จริง ถ้าเธอเข้าใจ ก็หมายความว่า พระมหากัสสปทำให้ความลับรั่วไหลโดยแท้จริง”

โกอานบทนี้ช่างน่าสนใจเสียนี่กระไร ในบัดนี้ ถ้าดอกบัวที่ถูกชูขึ้นโดยพระพุทธองค์จะหอมกรุ่นไปทั่วทั้งจักรวาล  ขณะนี้ คำตอบของท่านผู้ว่าฯ “ครับ ท่านอาจารย์” ก็สะท้อนดังก้องไปทั่วโลกเช่นกัน  และบุคคลผู้รับมันได้  จงรับไปเถิด(ธรรมจากพระพุทธองค์-ผู้แปล)
ต่อรอยยิ้มของพระมหากัสสป พระพุทธองค์ทรงยืนยันความถูกต้องและประกาศต่อหน้าหมู่สงฆ์ “เราทรงธรรมที่แท้อันขจรขจายไปทั่ว พระนิพพานอันหาสิ่งใดเปรียบเทียบไม่ได้ คำสอนที่ลึกซึ้งไร้รูปลักษณะ ไม่ขึ้นกับตัวอักษร และถ่ายทอดนอกคัมภีร์ใดๆ  บัดนี้เรามอบต่อมหากัสสปแล้ว” พระองค์ให้การเป็นพยานต่อเรื่อง “การถ่ายทอดธรรมสู่พระมหากัสสป”  แล้ว
ตั้งแตโบราณกาลมาแล้วที่การถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้ ถูกเรียกขานต่อๆกันมาว่า  “การเป็นพยาน(ยืนยันความจริง)จากพระพุทธะสู่พระพุทธะ” นี่ไม่ใช่การส่งมอบจากพระพุทธองค์สู่พระมหากัสสป แต่เป็นการส่งมอบจากพระศากยมุนีพุทธสู่พระศากยมุนีพุทธ ไม่ใช่การส่งต่อจากพระมหากัสสปสู่พระพุทธองค์  แต่เป็นการส่งต่อจากพระมหากัสสปสู่พระมหากัสสป
การถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์ในเซนเป็นไปได้ในลักษณะนี้ และความถูกตรงระหว่างอาจารย์-ศิษย์ได้รับการยืนยันในลักษณะของการชี้ตรงลงไปอย่างนั้น ที่คือเหตุที่ว่า ทำไมการถ่ายทอดจึงเป็นการชี้ตรงลงไป และได้รับชื่อว่าเป็น  “การถ่ายทอดของสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้”

(https://i.pinimg.com/564x/2b/89/54/2b895449aa89dc91be70361e74977fa4.jpg)

หัวข้อ: Re: พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2012, 06:59:09 am


                    (http://3.bp.blogspot.com/-xQHnPiOdc34/T95yhj2wCEI/AAAAAAAAAPY/UdAE30M0Ywk/s1600/1132550085.jpg)

ดังนั้น  ธรรมที่แท้จึงต้องถ่ายทอดโดยการไม่ถ่ายทอด อยู่เหนือการระบุและมโนคติทั้งปวง  มันควรเป็น “สิ่ง” ที่  “ไม่สามารถเรียกชื่อได้”  น่าขันที่พระพุทธองค์ทรงให้ความหมายของสิ่งที่ไม่สามารถเรียกชื่อได้นี้ อย่างยาวเหยียด “ เราทรงธรรมที่แท้อันขจรขจายไปทั่ว พระนิพพานอันหาสิ่งใดเปรียบเทียบไม่ได้ คำสอนที่ลึกซึ้งไร้รูปลักษณะ ไม่ขึ้นกับตัวอักษร และถ่ายทอดนอกคัมภีร์ใดๆ ” ชั่วขณะที่เราถูกทำให้หลงทางเพราะชื่อ มันก็หายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เราก็ได้เห็นพระกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของพระพุทธองค์  ที่มีต่ออนุชนรุ่นหลัง อาจจะช่วยได้หากฉันจะอธิบายบางคำเสียก่อน

            ธรรมที่แท้  หมายถึง  ความเป็นเช่นนั้นเอง  ตถาตา ที่ซึ่งมโนวิญญาณไม่ทำงาน เป็น  “มัน” ที่อยู่เหนือกาลเทศะ
            ขจรขจายไปทั่ว  หมายถึงแหล่งแห่งความสร้างสรรค์และการงานที่มหัศจรรย์ เป็นความอิสระอย่างเต็มเปี่ยม ความสมบูรณ์เพียบพร้อม ไม่มีสิ้นสุด และสุดประมาณ
            พระนิพพานอันหาสิ่งใดเปรียบเทียบไม่ได้ คือสัจธรรมที่ไม่เคยเกิด ไม่เคยตาย(เสื่อมสลาย) เป็นอัตวิสัยที่แสดงตนและกระทำภารกิจโดยอิสระในทุกสถานการณ์
            ไร้รูปลักษณะ ลักษณะต้องมีรูปร่าง และมีรายละเอียดปลีกย่อย เมื่อไม่มีรายละเอียด ก็ไม่มีรูปลักษณะ   และรูปลักษณะที่ไร้รูปลักษณะนี้แหละคือรูปลักษณะที่แท้แห่งธรรมที่แท้ มันเป็นการแสดงออกของ “มู
            ไม่ขึ้นกับตัวอักษร  ธรรมที่แท้ไม่มีที่ว่างให้ความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ความจริงจากประสบการณ์ไม่เกี่ยวข้องกับตรรกะและความคิดแบบใดๆ
            ถ่ายทอดนอกคัมภีร์ใดๆ   การพูดธรรมะ แม้ว่าจะดีเยี่ยมสักปานใด แต่ก็คงเป็นเพียงซากศพของมโนคติเท่านั้น ความจริงจากประสบการณ์เป็นรากฐานของคำสอนและหลักการต่างๆ มันไม่ถูกจำกัดด้วยคำสอนและหลักการใดๆ มีชีวิตชีวา และสร้างสรรค์

คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อและคำต่างๆ  อาจจะมีประโยชน์แต่ก็เป็นเพียงมโนคติและการชี้ให้เห็นอะไรบางอย่างเท่านั้น เราไม่ควรหลงทางเพราะสิ่งเหล่านี้  พูดในแง่ลบ ไม่มีแม้แต่อนุภาคของ “มัน”  พูดในแง่บวก ธรรมะที่แท้แผ่ขยายไปทั่วโลก  ดังนั้นตามที่มันเป็น “มัน”เป็นอยู่แล้วที่นี่เดี๋ยวนี้  ธรรมะที่แท้สว่างไสวอยู่แล้วที่นี่และเดี๋ยวนี้
สิ่งที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าบรรลุใต้ต้นโพธิไม่ใช่สิ่งอื่นนอก นอกจากสิ่งนี้  ธรรมะที่ถ่ายทอดต่อกันมาจากพุทธะสู่พุทธะ อาจารย์สู่อาจารย์ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากสิ่งนี้  เราควรเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่า ปราศจากความจริงจากประสบการณ์และการทดสอบยืนยันจากพวกเราแล้ว  ก็ไม่มีธรรมเนียมอื่นใดในการถ่ายทอดเซน

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            ท่านมูมอนกล่าวว่า “พระโคตมพุทธะผู้มีพระพักตร์เหลืองร้ายกาจอย่างแท้จริง พระองค์ทำนักปราชญ์ให้กลายเป็นคนชั้นต่ำ หลอกขายเนื้อหมาด้วยคำโฆษณาว่าเป็นเนื้อแกะ  ฉันคิดว่ามีบางสิ่งที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี  หากในที่ประชุมนั้น หากภิกษุทุกรูปยิ้มกันหมด ถามว่าธรรมที่แท้ถูกถ่ายทอดให้ใคร หรือ หากพระมหากัสสปไม่ได้ยิ้ม ธรรมะที่แท้ถูกถ่ายทอดหรือไม่ หากเธอคิดว่าธรรมะที่แท้สามารถถ่ายทอดกันได้ พระผู้มีพระพักตร์เหลืองก็คือคนหลอกลวงตบตาแม้ชาวบ้านธรรมดาๆ หากเธอคิดว่าธรรมะที่แท้ไม่สามารถถ่ายทอดกันได้ ทำไมพระมหากัสสปจึงได้รับการรับรอง”
 ท่านอาจารย์มูมอน ด้วยความพยายามชี้ความสำคัญของโกอานบทนี้ ให้คำวิจารณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และอิสระของตัวเอง ตามปกติคำวิจารณ์ของท่านแหลมคมมาก แต่หากเรามองอย่างผิวเผินความหมายที่แท้ก็จะหายไป เราจึงต้องจับฉวยความหมายที่แท้ให้ได้

“ข้าแต่พระโคตมพุทธะผู้มีพระพักตร์เหลือง “  ท่านพูดถึงพระพุทธเจ้าอย่างล้อเลียน  “พระองค์ไม่ควรเหลวไหล พูดอะไรไร้สาระ เมื่อพูดกับคนชั้นสูง กลับเรียกเขาอย่างเหยียดหยาม  คนต้องการเหล้าองุ่นแต่พระองค์กลับให้น้ำส้ม หยุดหลอกลวงผู้คนเช่นนั้นเสียเถิด อาจจะดีขึ้นบ้างหรือดีแน่ๆ หากหยุดทำเรื่องเหลวไหลออกนอกเรื่องเช่นนั้น” ท่านมูมอนกล่าวถึงพระพุทธองค์  ซึ่งมีพระพักตร์เหลืองเพราะทรงตรัสรู้แล้ว ท่านพูดต่อว่า “เมื่อคนต้องการเหล้าองุ่น พระองค์ให้น้ำส้ม” คือใช้คำว่า “ธรรมที่แท้ซึ่งขจรขจายไปทั่ว”   แล้วทรงชูดอกบัวขึ้น คำวิจารณ์นี่ไม่ควรคิดว่าเป็นคำพูดตลกๆธรรมดาๆ ด้วยการลบหลู่พระดำรัสของพระพุทธองค์ ที่แท้กลับเป็นการสรรเสริญอย่างสูง
ท่านกำลังพูดว่า “ตามที่ฉันเห็นทุกคนเป็นคนชั้นสูงและร่ำรวยด้วยธรรมชาติแห่งพุทธะ ทำไมถึงปฏิบัติต่อทุกคนต่ำช้าเช่นนั้น แล้วยกย่องพระมหากัสสปเพียงท่านเดียว นอกจากนี้ พระองค์แกล้งตรัสธรรมะที่ลึกซึ้ง  หากแต่เพียงทรงชูดอกบัว พระองค์หลอกคนมากเกินไปเสียแล้ว ใช่หรือไม่?” ด้วยถ้อยคำกล่าวร้ายเช่นนั้น ท่านมูมอนยกย่องการแสดงธรรมด้วยการไม่พูดเป็นอย่างสูง

(https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcTg93Sxo7V5gyjJsxnS5Xe05S7V2ibNJs800aQYKrBy9tsil0QSPg)

หัวข้อ: Re: พระพุทธองค์ทรงชูดอกบัว "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ ธันวาคม 30, 2012, 07:59:06 am
(https://mindlovemiserysmenagerie.files.wordpress.com/2015/10/old-pond-1-by-basho.jpg)

คำวิจารณ์ของท่านมูมอนเฉียบคมยิ่งขึ้น “นี้นับว่าโชคดี ที่พระมหากัสสปเพียงท่านเดียวที่เข้าใจและยิ้ม หากทุกคนเข้าใจและยิ้มบ้าง จะเป็นการส่งมอบธรรมได้อย่างไร หรือถ้าพระมหากัสสปไม่ยิ้มเล่า ธรรมะที่แท้จะถูกถ่ายทอดต่อไปหรือไม่ ?”  ท่านมูมอนเร่งความเข้าใจเรื่องการถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้ของเราทั้งหลาย ท่านยังถามต่อจนจบว่า ถ้าพระองค์พูดว่ามีการถ่ายทอดในเซน ก็เป็นการหลองลวงผู้คน และพูดต่อว่า “ถ้าหากพระองค์พูดว่า ไม่มีการถ่ายทอดในเซน ทำไมจึงตรัสว่าพระองค์ส่งมอบแก่พระมหากัสสปเพียงท่านเดียว?” โดยการเน้นเช่นนั้น ท่านมูมอนพยายามยกอุทาหรณ์แสดงความสำคัญของการถ่ายทอดในเซน และแสดงว่าการถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์เป็นจริงได้

อาจารย์ฮะกูอินไขปริศนาดังนี้ “ทุกคน หญิงหรือชาย มีธรรมะที่แท้ พระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ส่งมอบแก่มหากัสสปแต่ท่านเดียว  แน่นอนที่พระองค์หลอกลวงผู้คน ฉันจะไม่กล่าวว่า ไม่มีการถ่ายทอด บัดนี้ฉันจะชูแส้อย่างนี้ สัจจะที่พระธรรมดาจับฉวยไม่ได้  พระมหากัสสปจับฉวยได้ ดังนั้นท่านจึงยิ้ม มีไม่มากที่จะเข้าใจยิ้มอย่างนี้  เมื่อเข้าใจได้ ก็มีการถ่ายทอดที่แท้”  ท่านควรฟังสิ่งที่ท่านฮะกูอินและมูมอนพูด และเข้าใจถึงการถ่ายทอดในเซน

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRuxA2-ulAFqx4uGH83IB6kiWzLo57CHwwMWdWqymhck6jZ786N)
ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ดอกบัวถูกชูขึ้น
            และความลับก็เปิดเผย
            พระมหากัสสปเผยอยิ้ม
            ที่ประชุมสงฆ์ล้วนไม่ได้อะไร

            ในบรรทัดที่สองของบทร้อยกรอง  คำว่า “ความลับ”  มีความหมายอื่นๆว่า “ใบหน้าที่อยู่ภายหลังหน้ากาก”  ซึ่งคือความลับที่อยู่เหนือถ้อยคำและตัวอักษร ในบทร้อยกรองนี้ ท่านมูมอนวิจารณ์การทรงชูดอกบัวของพระพุทธองค์ “กระผมรู้กลของพระองค์  พระองค์หลอกกระผมไม่ได้” ท่านมูมอนมองเห็นความลับของการถ่ายทอดสิ่งที่ถ่ายทอดไม่ได้  มูมอนแสดงความลุ่มลึกแห่งประสบการณ์ของตน  “พระองค์อาจหลอกใครๆได้ แต่จะหลอกกระผมไม่ได้เลย” ท่านมูมอนทูลพระพุทธองค์
            บอกฉันมาว่าดอกบัวที่ถูกชูโดยพระพุทธองค์คืออะไร  เป็นดอกบัวที่เผาไฟก็ไม่ไหม้  เป็นดอกบัวที่ไม่ใหญ่หรือเล็ก ในทุ่งหญ้าหรือป่าเขายิ่งเบิกบานสดชื่น ทั้งในอดีตหรือปัจจุบัน และขณะเดียวกันก็เป็นดอกบัวที่จะหายวับทันทีที่บุคคลยึดติดกับถ้อยคำและตรรกะหรือหลงด้วยมโนคติ

สองบรรทัดสุดท้ายของบทร้อยกรอง ท่านมูมอนกล่าวซ้ำว่า “พระมหากัสสปเพียงท่านเดียวเผยอยิ้มโดยความกระจ่างแจ้งในใจ  ส่วนที่เหลือล้วนไม่ได้อะไร”  ฉันได้ยินท่านมูมอนพูดกับเหล่าสาวก   “มันไม่ใช่เรื่องโบร่ำโบราณ หากเป็นเรื่องของท่านทั้งหลายในบัดนี้”  ความจริงแล้วท่านมูมอนพูดว่า “พวกท่านทุกคน ชูดอกบัวอมตะอยู่ในมือ  หรือไม่ก็เป็นดอกบัวเสียมากกว่า  แล้วทำไมจึงไม่เปิดดวงตาเสียที”

โบราณาจารย์แห่งเซนท่านหนึ่งได้วิจารณ์โกอานด้วยบทร้อยกรองบทหนึ่ง
เมื่อคืนฝนตก และทำให้ดอกบัวกระจัดกระจายไปทั่ว
กลิ่นหอมจากคฤหาสน์ล้อมรอบด้วยสายน้ำไหล
เราจะไขรหัสหาแก่นแห่งเซนจากบทร้อยกรองไพเราะๆนี้ได้อย่างไร

มันหมายถึงว่า ทุกคนยิ้มหรือไม่ก็ตาม ล้วนอาศัยอยู่ท่ามกลางสัจจธรรมเดียวกันใช่หรือไม่ ? แน่นอนว่าไม่มีที่ใดที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง  หากน่าสงสารที่คนตาบอดก็ยังคงอยู่ในความมืด
ขอวิจารณ์เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ในหนังสือเล่มหนึ่งที่ฉันได้อ่าน ได้วิจารณ์โกอานบทนี้ว่า “เพราะท่านมูมอนสายตามัวซัว จึงมองไม่เห็นความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนที่พระพุทธองค์และพระมหากัสสปแสดงต่อกัน และซ่อนอยู่เบื้องหลังโกอานบทนี้ “ นี่เป็นความเข้าใจผิดที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง สิ่งที่โกอานแสดงต่อเราคือ การถ่ายทอดเซนโดยการชี้ตรงไป(ระหว่างอาจารย์และศิษย์) และประเด็นทางจริยธรรมเช่นนั้นไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญของโกอานบทนี้ เพราะเซนชี้ตรงไปที่การเห็นแจ้งธรรมะซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งจริยธรรมและมนุษยธรรมทั้งหลาย

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRsqhQNhkFIG_AtAMscZzLVDjYrHxx0yU1Xvm-z0qvVQUPfQRIVzw)

หมายเหตุ คำว่า ถ่ายทอด   แปลความหมายทั่วไป  คือการ
ส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งเหมือนสิ่งของ
แต่ในเซนคือการที่อาจารย์และศิษย์เข้าใจตรงกัน
หลังจากการปฏิบัติจริงๆ  และเกิดการหยั่งรู้จริง  อาจารย์ก็เพียงแต่รับรองศิษย์
“การรับรอง” นี่เองที่เรียกว่า การถ่ายทอด การส่งมอบ ในเซน

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR6W6tDmGY8wYiA-v2MBVsQ_jjYs8xXyln9fI5DwT_XJr43SaY&t=1&usg=__A6YQdOW4mVEBkfr1Eg9tpeGIp2w=)

หัวข้อ: Re: พบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 12, 2013, 09:27:03 am

(https://i.pinimg.com/564x/d8/18/22/d81822a1eeed4b6c4595ed4dd15c9c37.jpg)

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๓๖
ลำดับการแปล ๓
ชื่อเรื่อง พบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง(เล่ม ๒)

โกอาน
โกโซถาม “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง เธอจะทักทายท่านว่าอย่างไร  โดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง บอกฉันมาซิ  เธอจะทักท่านว่าอย่างไร ?”
คำวิจารณ์ของมูมอน
หากเธอสามารถให้คำตอบที่ตรงเป้าได้ในทันที  ก็เป็นเรื่องน่ายินดีมาก แต่หากไม่ได้  ก็จงมีสติอยู่ทุกขณะ

            (https://68.media.tumblr.com/504ad48390b3604906e306f83cd98485/tumblr_nefxms7A8S1qboy26o1_250.jpg)

บทร้อยกรองของมูมอน
            ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
            จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ
            ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงที่สุด
            จงคว้ามันให้ได้ในทันที  ไม่มีชักช้า

ไขปริศนา โกอาน
            วันหนึ่ง ท่านอาจารย์โฮเอน พูดกับเหล่าศิษย์ว่า  “หากเธอพบนักปฏิบัติผู้บรรลุเต๋า ไม่เพียงพอที่จะทักทายด้วยการพูด และไม่เหมาะที่จะเงียบเสียง  ในสถานการณ์เช่นนั้น  เธอจะทักทายท่านอย่างไร? “
            แม้คำถาม “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง เธอจะทักทายท่านว่าอย่างไร  โดยไม่ใช้ทั้งการพูดหรือการเงียบเสียง บอกฉันมาซิ  เธอจะทักท่านว่าอย่างไร ?” นำมากล่าวที่นี่ในฐานะเป็นคำสอนของท่านโฮเอน แต่สันนิษฐานว่าผู้แต่งคือท่านอาจารย์เคียวเก็น ชิกัน ซึ่งถูกกล่าวถึงใน  “ศิษย์ของเคียวเก็นอยู่บนต้นไม้” 

                                    (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEo-pmXEljJjxIrxmltL0wUDTtgQmpywYWrpasAy3WXicwO9Ih)

มีบันทึกใน”การสืบทอดดวงประทีป” ดังนี้
                                    ชัดเจน  แจ่มแจ้ง  ไร้สิ่งใดปิดบัง
                                    จงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเชื่อสิ่งอื่นใด
                                    ถ้าพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
                                    จงทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง

            ไม่ว่าถ้อยคำในโกอานจะเริ่มต้นมาจากเคียวเก็นหรือโฮเอน ก็ไม่เกี่ยวกับคุณค่าของโกอานในแบบของเซน ท่านอาจารย์โฮเอนอาจเห็นคุณค่าแบบเซนและนำมาเป็นโกอานเพื่อช่วยจาระไนศักยภาพของเหล่าศิษย์ก็ได้
            “บุรุษแห่งมรรค”  คือผู้บรรลุแล้วถึงสัจจะหรือแก่นแห่งเซน และท่านก็เป็นผู้ที่อยู่เหนือทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเสียง “ถ้าเธอพบบุคคลเช่นนั้น ผู้ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเสียง  จะทักทายท่านอย่างไร?” ด้วยการถามเหล่าศิษย์เช่นนั้น ท่านอาจารย์โฮเอนกดดันลูกศิษย์สู่ขั้วที่สมบูรณ์แห่งความขัดแย้ง ด้วยความหวังจะช่วยให้ลูกศิษย์ได้พบอิสระอย่างแท้จริง

            ตามที่ได้อธิบายแล้วในโกอานบทที่ยี่สิบสี่ “ทิ้งเสียทั้งการพูดและการเงียบเสียง” สัจจะแห่งจักรวาล หรือ แก่นแห่งเซน อยู่ต่างหากจากบรรดา ชื่อ รูปลักษณ์  และการจำแนกให้เกิดความเปรียบเทียบทั้งปวง  ด้วยการเงียบเสียงหรือไร้วาจา “สมภาพ” ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของสัจจะก็เปิดเผย  ด้วยการพูด  “การจำแนกแตกต่าง”  ซึ่งเป็นอีกครึ่งของสัจจะก็เปิดเผย  บุรุษแห่งเซนควรยืนอยู่ข้างสัจจะสมบูรณ์  ซึ่งอยู่นอกเหนือ “สมภาพ ความเหมือน”  หรือ “การจำแนกแตกต่าง”  เว้นเสียแต่เขาจะเป็นอิสระในการใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง โดยไม่ไปผูกมัดกับทั้ง  “สมภาพความเหมือน”และ”การจำแนกแตกต่าง”เท่านั้น  เขาจึงสมควรได้รับการยกย่องเป็นบุรุษแห่งเซน

            ด้วยการแสดงท่าทีเช่นนี้ ท่านอาจารย์โฮเอนผลักดันเหล่าศิษย์ “บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ เธอจะทักทายท่านอย่างไร?”  อาจมีบางคนตอบอย่างรวดเร็วไม่สะทกสะท้านว่า “มันง่ายมาก ผมทักท่านได้โดยไม่ยากเย็นอะไร”  อย่างไรก็ดี คำทักทาย ต้องมีความชัดเจน แจ่มแจ้งมาจากก้นบึ้งแห่งบุคลิกภาพของตนเองด้วย  และยังต้องอยู่นอกเหนือทวินิยมทั้งในกาละและเทศะ  ซึ่งไม่มีใครตอบได้ง่ายๆเลย 
            เพราะคำไม่มีรูปแบบที่ตายตัวและความหมายที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้  บุรุษแห่งเซนพูดโดยไม่ใช้ลิ้น เพราะความเงียบไม่มีรูปลักษณ์และความหมายที่ตายตัว เมื่อบุรุษแห่งเซนเงียบเสียง ก็ยังมีกิจกรรมเปี่ยมชีวิตชีวาดำรงอยู่ในการเงียบเสียงเช่นนั้น  นี่คือกิจกรรมของบุรุษแห่งมรรค

            อาจารย์เซนให้คำไขปริศนาที่สำคัญอย่างน่าสนใจดังนี้ “ถ้าไม่พูดสิ่งที่มีในใจ เธอจะปวดท้องทุรนทุราย หากพูด ลิ้นเธออาจบาดคอเธอขาดได้ จงพูดเท่าที่ควร  และเงียบเสียงเท่าที่เห็นว่าควร” นี่เป็นคำไขปริศนาที่ยอดเยี่ยม  หากแต่คำไขนี้รู้สึกมีค่าแค่ในทางจริยธรรม ฉันขอเตือนว่าอย่าแปลคุณค่าของโกอานแค่เพียงระดับจริยธรรม เพราะคุณค่าแบบเซนจะหายไป
            ในวิมลเกียรตินิเทสสูตร คำถาม “พูดและเงียบ” ถูกยกมาเป็นบทสนทนาระหว่างท่านวิมลเกียรติอุบาสกและมัญชุศรีโพธิสัตว์ผู้ทรงปรัชญาปารมิตา เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในพุทธศาสนา(มหายาน)  ท่านมัญชุศรีพร้อมด้วยโพธิสัตว์อื่นๆอีกมากมายเยี่ยมไข้ท่านวิมลเกียรติ ขณะหนึ่ง ท่านวิมลเกียรติถามท่านมัญชุศรีว่า “โพธิสัตว์บรรลุถึงธรรมแห่งความไม่เป็นคู่(อทวินิยมธรรม)อย่างไร?”  ท่านมัญชุศรีตอบ “ตามความคิดของข้าพเจ้า อทวินิยมธรรม ไม่ใช่คำ ไม่ใช่การพูด ไม่ใช่การแสดง ไม่ใช่การรู้แจ้ง และดำรงอยู่ต่างหากจากถ้อยสนทนาทั้งปวง โพธิสัตว์บรรลุอทวินิยมธรรมด้วยอาการอย่างนี้ “ หลังจากตอบแล้ว ท่านได้ถามบ้าง ซึ่งท่านวิมลเกียรติได้แต่ “เงียบเสียง” ท่านไม่พูดแม้เพียงคำเดียว เมื่อได้เห็นเช่นนั้น ท่านมัญชุศรีจึงยกย่องท่านเป็นอย่างสูงว่า “ มหัศจรรย์  มหัศจรรย์ มหัศจรรย์อะไรเช่นนี้  ไม่ใช่คำ ไม่ใช่การพูดอย่างแท้จริง ท่านบรรลุถึงอทวินิยมธรรมอย่างแท้จริง”

            หากอธิบายอทวินิยมธรรมโดยถ้อยคำว่า “ไม่ใช่คำ  ไม่ใช่การพูด และอื่นๆ” มันก็เป็นการผูกมัดเข้ากับคำและการพูดเรียบร้อยแล้ว หากพูดว่า “ดำรงอยู่ต่างหากจากถ้อยสนทนาทั้งปวง” มันก็เป็นการผูกมัดกับคำและการพูดแล้วเช่นกัน และหากพูดว่า  การ”เงียบ” ของวิมลเกียรติอุบาสกเป็นคำตอบที่ยิ่งใหญ่   การ“เงียบ”ของท่านก็ทำให้เสียหายเช่นกัน
            บรรดาอาจารย์แห่งเซนพยายามกำจัดอวิชชาของมนุษย์โดยการกดดัน “ทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง”

                        (https://1.bp.blogspot.com/-qPtQ9rKp7iI/VnN4zwMOufI/AAAAAAAAAu8/BLkGcCSUJ2M/s320/th%25C3%25ADch%2Bca..jpg)

            ท่านอาจารย์โสเอน ผู้เป็นอาจารย์สอนเซนแก่ดร.ซูสุกิ เขียนบทร้อยกรองว่าด้วย
            “ความเงียบของวิมลเกียรติอุบาสก”
                        เนิ่นนานนัก  ลำนำเก่าๆปกคลุมทั่วไพสาลี
                        สามพันปีล่วงไป  นี่คือผู้รู้ความหมาย
                        ไพเราะนัก  ทั้งคำพูด  และคำเขียน
                        เสียงแห่งความเงียบ คือสัจจะจากท่านวิมลเกียรติ

(https://i.pinimg.com/564x/3c/9a/31/3c9a319e5c0e1b1cb21f82afe44d707e.jpg)

หัวข้อ: Re: พบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 13, 2013, 08:31:20 am
(http://25.media.tumblr.com/tumblr_m5uicz3W8O1r3xm7co1_500.jpg)


            ลำนำเก่าๆ พาดพิงไปถึงอทวินิยมธรรม นั่นคือธรรมแท้ที่อยู่นอกเหนือการพูดและการเงียบเสียง  ท่านวิมลเกียรติอุบาสกขับลำนำเรื่องอทวินิยมธรรมในเมืองไพสาลี แต่ไม่มีผู้ใดซึมซาบความหมายได้ สามพันปีต่อมา ที่นี่มีผู้จับฉวยหัวใจแห่งลำนำได้ คำพูดและคำเขียนช่างไพเราะยิ่งนัก  ทั้งปากและปากกาล้วนสร้างสรรค์ผลงานชั้นเยี่ยม การทำเช่นนั้น คือการดำรงอยู่กับสัจจะว่าด้วยเสียงแห่งความเงียบของท่านวิมลเกียรติ 
            ท่านอาจารย์โสเอนเขียนอย่างอิสระและพูดอย่างไพเราะจับใจ กิจกรรมบริสุทธิ์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งอื่นนอกจากสัจจะจากความเงียบของท่านวิมลเกียรติ เฉพาะเมื่อบุคคลอยู่นอกเหนือทวินิยมแห่งการพูดและการเงียบเท่านั้น ที่เขาจะบรรลุอิสรภาพและสร้างสรรค์ผลงานที่แท้

            มีบทสนทนาในลักษณะเดียวกันโดยอาจารย์ท่านอื่น เช่น ใน “การสืบทอดดวงประทีป” เล่มสิบสาม ในบทว่าด้วยอาจารย์ชูซาน โชเนน  พระรูปหนึ่งถามว่า “มีคนกล่าวว่า หากพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง ต้องไม่ทักทายท่านด้วยการพูดหรือการเงียบเสียง กระผมสงสัยว่าควรจะทักทายท่านอย่างไร?” และอาจารย์ท่านตอบว่า “ฉันเห็นคำตอบทั่วทั้งสามพันโลก(คือทั้งจักรวาล)”
            ในคัมภีร์ โกโตะ อีเก็น(บันทึกประวัติอาจารย์เซนชาวจีน) ,.ในบทว่าด้วยอาจารย์เซปโป กิเซน “อาจารย์แต่โบราณกล่าวว่า หากพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง ไม่ควรทักทายท่าน ทั้งการพูดและการเงียบเสียง  กระผมสงสัยว่า ควรจะทักทายท่านอย่างไร?”  ท่านอาจารย์ตอบว่า “เชิญจิบน้ำชา”

            อาจารย์ชูซานกล่าวว่า “ฉันเห็นคำตอบทั่วทั้งสามพันโลก(คือทั้งจักรวาล)”  อาจารย์เซปโปกล่าวว่า  “เชิญจิบน้ำชา”  เป็นคำตอบที่ไม่ผูกมัดกับการพูดและการเงียบเสียงได้อย่างไร  และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เว้นไว้เสียแต่ว่าท่านสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนและมั่นใจได้ มิฉะนั้นท่านก็เพียงแต่มีชีวิตอยู่ได้เพราะความเมตตาสงสารของ คำพูด และความเงียบเท่านั้น

             (http://g.udn.com.tw/upfiles/B_MI/mindlove/PSN_PHOTO/152/f_19460152_1.jpg)

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            “หากเธอสามารถให้คำตอบที่ตรงเป้าได้ในทันที  ก็เป็นเรื่องน่ายินดีมาก แต่หากไม่ได้  ก็จงมีสติอยู่ทุกขณะ
โดยการอ้างถึงคำสอนของโบราณาจารย์ “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง จงทักทายท่าน โดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง ” ท่านอาจารย์โฮเอนยืนยันคำถามกับบรรดาศิษย์ว่า “บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ เธอจะทักทายท่านอย่างไร?”ท่านอาจารย์มูมอน วิจารณ์โกอานบทนี้ว่า ถ้าเธอสามารถตอบคำถามได้ตรงจุด คือต้อนรับได้ถูกต้องได้เรื่องราวก็ควรจะยินดีกับเธอ ท่านแสดงความชื่นชมเซนของบุคคลเช่นนั้นเป็นอย่างสูงก็หมายถึงว่าบุคคลเช่นนั้นมีไม่มากนัก เป็นการกระตุ้นการฝึกฝนของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย

ท่านมูมอนก้าวต่อไป “ถ้าเธอไม่สามารถทักทายท่านได้ถูกต้องถูกเรื่องถูกราว และไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอร้องของท่านโฮเอน การฝึกฝนของเธอการยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ จงหมั่นเพียรฝึกฝนต่อไป และจงมีสติอยู่ทุกขณะ”  “ทุกขณะ”  คือ “อะไรที่เธอทำทุกขณะเวลาในชีวิตของเธอ”  เป็นคำเตือนที่ต้องใช้ความพากเพียรปฏิบัติตามราวกับฝนทั่งให้เป็นเข็ม ท่านอาจารย์มูมอนกระตุ้นเตือนให้พวกเราไขว่หาธรรมะแท้ซึ่งอยู่นอกเหนือการพูดและการเงียบเสียง รวมทั้งมีอยู่ในชีวิตจริงแห่งการเดินยืนนั่งนอนด้วย นั่นก็คือทุกขณะเวลาแห่งชีวิตประจำวันของเรา

                    (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQlh2-iqFAWJ3ZKnI8WXXde5L3AAD2tIwBVooS8vX2DhlSDTXil)

อะไรที่เป็นผู้เห็น อะไรที่เป็นผู้ได้ยิน อะไรที่เป็นผู้คิด จงสืบค้นไปเรื่อยว่า  มันเป็น”อะไร”  ค้นแล้วค้นเล่า จนกระทั่งไม่มีใครที่เป็นผู้เห็น ผู้ได้ยิน หรือผู้คิด เมื่อเธอได้ผ่านพ้นขั้วแห่งการเห็น,การได้ยินและการคิดอย่างแท้จริงแล้ว  วิสัยทัศน์อย่างใหม่จะเกิดขึ้นแก่เธอ
ท่านฮะกูอินมักเขียนบทร้อยกรองวิจารณ์ภาพกวนอิมโพธิสัตว์
ด้วยจักษุ  พระองค์ สดับ             เสียงขับขาน .ในฤดูกาล ใบไม้ผลิ
ด้วยโสต  พระองค์ ทอดทัศนา     หลากสีสัน แห่งสิงขร

ท่านกำลังบอกว่าบุรุษแห่งเซนจะต้องอยู่เหนือทุกการได้ยิน และทุกการเห็นใช่หรือไม่?
แน่นอนว่าเราต้องมีสติระลึกรู้อยู่ทุกขณะ ถ้าเธอยังคงฝึกฝนด้วยความพากเพียร
ด้วยความอุทิศตนอย่างจริงใจ  ต้องมีวันหนึ่งที่ดวงตาของเธอจะเปิดออกสู่ ธรรมแท้แห่งเซน ซึ่ง..
..อยู่เหนือ การพูดและการเงียบเสียง

                    (https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/150x150/06/6e/bc/066ebc1d7a7ae32b882eb3668ad22dc9.jpg)

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง
            จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ
            ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงที่สุด
            จงคว้ามันให้ได้ในทันที  ไม่มีชักช้า

 ในบทร้อยกรองวิจารณ์โกอานบทนี้ ท่านมูมอนย้ำโกอานอีกครั้งและกล่าวต่อว่า “ถ้าเธอพบบุรุษแห่งมรรคระหว่างทาง  จงทักทายโดยไม่ใช้ทั้งวาจาและความเงียบ”  มีคำพูดปรัมปราว่า “ทุกครั้งที่มันปรากฏ มันก็ใหม่เสมอ”  ถ้าใครไม่ซึมซาบบทร้อยกรองสองบรรทัดแรก ซึ่งเป็นเซนของท่านโฮเอนที่ทำงานของมันอย่างเต็มเปี่ยมด้วยอิสระ  ก็ไม่สมควรได้รับการรียกขานว่า บุรุษแห่งเซน ส่วนสองบรรทัดที่เหลือเพิ่มมาโดยปราศจากความจำเป็นใดๆ
            นี่เป็นความกรุณาอย่างล้นเหลือของท่านมูมอน และยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเป็นพิเศษว่า “ถ้าฉันพบบุคคลเช่นนั้น ฉันจะต่อยเขาอย่างรุนแรงสุดแรงของฉัน” นี่เป็นการทักทายที่หยาบคาย ใช่หรือไม่ และท่านยังกล่าวต่อไปอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจนแจ่มแจ้ง คมชัดรัดกุม ว่า”เธอมัวพูดอะไรเหลวไหลไร้สาระอยู่” แล้วจึงกล่าวต่อว่า “จงคว้ามันให้ได้ในทันที  อย่ามัวชักช้า”

            วิเคราะห์จริงๆแล้ว ในเซนก็ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า คว้ามันหรือไม่คว้ามัน ด้วยกำปั้นจงอยู่นอกเหนือกำปั้น ในความเจ็บปวดจงอยู่นอกเหนือความเจ็บปวด แล้วจงมองและเห็นมัน ธรรมะแท้อยู่ที่นั่นแล้ว
            ท่านอาจารย์มูมอนวิจารณ์ท่านมูมอนว่า “ฉันไม่ชอบสองบรรทัดสุดท้ายเลย ท่านมูมอนผิดพลาดอย่างมหันต์”  ยิ่งกว่าเรียกว่าผิดพลาดอย่างมหันต์ ฉันอยากพูดว่าอย่างนี้ ท่านมูมอนหยาบคายอย่างไม่จำเป็น อวดความเป็นพระเซนเกินไป ท่านควรรู้ความควรไม่ควรและใช้เซนอย่างสงบ
            บัดนี้ หากเธอพบบุรุษแห่งเซนระหว่างทาง จงทักทายท่านโดยไม่ใช้ทั้งการพูดและการเงียบเสียง เธอจะทักทายท่านอย่างไร ฉันต้องการคำตอบตรงไปตรงมา

(http://www.jssh114.com/attachment/forum/month_1001/1001200111e3ee27715bca2e16.jpg)

หัวข้อ: Re: ซุยกันเรียกตนเอง "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 12:34:47 pm


                 (http://www.artbangkok.com/wp-content/uploads/2013/01/Sangad66.jpg)

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๑๒
ลำดับการแปล ๔
ชื่อเรื่อง ซุยกันเรียกตนเอง

โกอาน  (http://ipad.wallpapersus.com/wp-content/uploads/2012/10/Leaves-02-300x300.jpg)
   ทุกๆวันท่านซุยกันจะเรียกตนเอง “ท่านอาจารย์” แล้วขานรับเอง “ครับ ท่านอาจารย์”  แล้วท่านก็ถามอีก”ท่านตื่นหรือยัง?” แล้วตอบ”ตื่นแล้ว” แล้วพูดต่อ “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”  แล้วตอบ “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก”
คำวิจารณ์ของมูมอน
    ท่านอาจารย์ผู้เฒ่าขายเองซื้อเอง ท่านมีหน้ากากปีศาจมากมายไว้เล่น ทำไม?nii(ไน้) อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด  หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก

บทร้อยกรองของมูมอน                   (http://ipad.wallpapersus.com/wp-content/uploads/2012/10/Drops-in-the-Blue-300x300.jpg)
            ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้
            พวกเขาเห็นแต่วิญญาณอย่างเก่าๆ
            ทำให้เวียนวนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
            แต่คนยังคงหลงจับฉวยแทนมนุษย์แต่ดั้งเดิม

ไขปริศนา โกอาน            (http://ipad.wallpapersus.com/wp-content/uploads/2012/10/Wet-Dandelion-Seeds-Macro-300x300.jpg)
            ท่านอาจารย์ชิเกน แห่งซุยกัน ถือกำเนิดในบิเนทสุ ออกบวชตั้งแต่เยาว์วัย และเป็นธรรมทายาทของท่านอาจารย์กันโตะ  เซนกัตสุ(๘๒๘-๘๘๗) ครั้งแรกที่ท่านพบท่านกันโตะ ท่านถามว่า “อะไรคือสัจธรรมนิรันดร? “ ท่านกันโตะตอบว่า “เธอพลาดเสียแล้ว” ท่านซุยกันจึงถามกลับว่า “มันเป็นอะไรเมื่อผมพลาด?” ท่านอาจารย์ซุยกันจึงตอบว่า “มันก็ไม่เป็นสัจธรรมนิรันดรอีกต่อไป”  ท่านซุยกันต้องปฏิบัติโดยขบโกอานนี้อย่างหนักหน่วงจนตรัสรู้ในที่สุด  ต่อมาท่านย้ายไปอยู่ที่ตันกิว ที่ซึ่งท่านนั่งนิ่งอย่างกับคนโง่ราวกับก้อนหินตลอดวัน ประชาชนทั้งหมดรักและเคารพท่าน นี่คือประวัติของท่าน  และนิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดซุยกัน ท่านเป็นผู้นำสงฆ์ที่เข้มงวดเฉียบขาดและถูกต้องเที่ยงตรง จึงได้รับการยกย่องจากทุกๆคน

            โกอานบทนี้มีชื่อเสียงเพราะฟังดูแปลกๆเหมือนนิยาย ทั้งๆที่ใครๆก็รู้จัก แต่กลับมีน้อยคนที่รู้ซึ้งถึงความหมายแบบเซนที่ซ่อนอยู่ภายใน
            ไม่ต้องกล่าวมากไป  โกอานคือการพูดและการกระทำที่ออกมาจากประสบการณ์เบื้องลึกของเหล่าอาจารย์เซน เบื้องหลังพื้นผิวแห่งการพูดและการกระทำของท่านเหล่านี้ก็มีสัจจะแห่งเซน ซึ่งอยู่เหนือการแสดงออกเหล่านั้น คุณค่าพื้นฐานของโกอานอยู่ที่นักศึกษาเซนสามารถเจาะทะลุ และเข้าถึงแก่นแห่งเซนที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการแสดงออกเหล่านั้น ผู้ไม่เคยปฏิบัติเซนสามารถเปิดดวงตาแห่งเซนด้วยโกอาน ส่วนผู้ที่ดวงตาแห่งเซนเปิดออกแล้ว ก็สามารถขัดเกลาจิตวิญญาณแห่งเซนให้ประณีตขึ้น

            คุณค่าทางจริยธรรมที่พบจากโกอานเป็นคุณค่าที่รองลงมา หากใครสนใจคุณค่าแบบนั้น ก็เท่ากับละทิ้งคุณค่าขั้นพื้นฐานไปเสียสิ้น แน่นอนว่าเซนไม่ได้ละทิ้งคุณค่าทางจริยธรรม แต่มันออกมาจากสัจจะแห่งเซนอีกชั้นหนึ่ง
            บ่อยทีเดียวที่ผู้คนแปลความหมายของ “ท่านอาจารย์” ในโกอานนี้ เพียงแค่ระดับศีลธรรม และคิดว่าท่านอาจารย์ซุยกันแค่เพียงตรวจสอบตนเองเท่านั้น หากมันเป็นเพียงเท่านี้ มันก็ไม่เป็นโกอานอีกต่อไป หากเป็นแค่คำสอนระดับศีลธรรม ท่านอาจารย์ซุยกันก็หมดความน่านับถือในฐานะอาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ไป
            ไม่จำเป็นต้องกล่าวมากเกินไป ท่านมูมอนไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสอนศีลธรรม แต่ใช้เป็นโกอานเพื่อให้สานุศิษย์ได้สัมผัสกับเซนของท่านซุยกัน และมีความลุ่มลึกในเซนมากขึ้น มีชีวิตอย่างเซนอย่างแท้จริง

            (http://ipad.wallpapersus.com/wp-content/uploads/2012/10/Sakura-Catching-Suns-Rays-300x300.jpg)

            โกอานกล่าวว่า ทุกๆวันท่านซุยกันจะเรียกตนเอง “ท่านอาจารย์” แล้วก็ขานรับเองว่า “ครับ ท่านอาจารย์”
            ก่อนนี้ ท่านอาจารย์ซุยกันเคยฝึกเซนอย่างขยันขันแข็งและยาวนานภายใต้การสอนของอาจารย์กันโตะ บรรลุเซนและกลายเป็นอาจารย์เซนผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากนั้น ทุกกิจกรรมของท่านล้วนเป็นผลงานจากความเป็นเซนของท่าน สำหรับท่านซุยกัน คำว่า“ท่านอาจารย์”ที่แท้จริง มีชีวิตและแสดงออกในคำเรียกและคำขานรับของท่าน หากเราไม่สามารถจับฉวย “ท่านอาจารย์”ที่แสดงตนอย่างชัดแจ้งนี้ได้ เราก็พลาดจากแก่นแห่งโกอานบทนี้ไป

            ขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อยเพื่ออธิบายการใช้คำว่า “ท่านอาจารย์” (การแปลในที่นี้ทำให้เสียอรรถรสทางภาษาไป เพราะคำเดิมในภาษาอังกฤษคือ Master ซึ่งมีความหมายได้หลายอย่าง”-ผู้แปล) หมายถึงมีความเชี่ยวชาญ มีอำนาจเหนือบางอย่าง เป็น(เจ้า)นายเหนือสถานการณ์ภายนอก แต่ในที่นี้เป็นความเชี่ยวชาญ เป็นอำนาจ เป็น(เจ้า)นายที่สมบูรณ์ ไม่มีการเปรียบเทียบใดๆ เป็นผู้สร้างและใช้ความเป็นนายเสียเองอย่างอิสระยิ่ง เป็นความที่ไม่ต้องระบุว่าเป็นอะไร ไม่สามารถคาดคิดได้ว่าเป็นอะไร เป็นความสมบูรณ์ในตนเอง มีนัยสำคัญแห่งการดำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในตัวมันเอง การเรียกด้วยถ้อยคำนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะจะผลักดันเราเข้าสู่การระบุและการคาดคิดต่างๆ ท่านอาจารย์เอไซได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า  “ไม่สามารถเรียกชื่อมันได้ตลอดไป“

            ด้วยความจำเป็น ท่านอาจารย์ซุยกันจึงเรียกสิ่งนี้ว่า “ท่านอาจารย์” อาจารย์กูไตชูหนึ่งนิ้ว อาจารย์เอโน(เว่ยหล่าง)เรียก “หน้าตาแต่ดั้งเดิม”  ท่านรินไซเรียก “บุรุษที่แท้แต่ไร้ชื่อ” รายชื่อที่แตกต่างกันทั้งหลายเหล่านี้ บรรดาอาจารย์ใช้เรียกเพื่อชี้ตรงไปยังสัจจะหนึ่งเดียวกัน (ฉันอยากพูดว่า คำว่า “ฉัน” ในประโยค “ต่อหน้าอับราฮัมคือฉัน” ก็หมายถึงสัจจะที่ไม่สามารถเรียกชื่อได้นี้เช่นกัน)
            เซนไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากประสบการณ์ที่ แต่ละคนได้เปิดดวงตาทางจิตวิญญาณสู่ความเป็น(เจ้านาย)อาจารย์ที่สมบูรณ์นี้ และเป็นมันเสียเอง ซาโตริ(การตรัสรู้)คือประสบการณ์นี้ บุคคลต้องยอมมอบกายใจให้แก่สิ่งนี้ ท่านมูมอนเน้นจุดนี้มากเมื่อท่านกล่าวไว้ในโกอานบทแรก “ในการปฏิบัติเซน ศิษย์ต้องผ่านด่านที่เหล่าอาจารย์แต่โบร่ำโบราณสร้างไว้ เพื่อการตรัสรู้ที่สมบูรณ์ ศิษย์ต้องขุดรากถอนโคนจิตแบบจำแนกแยกแยะทิ้งไป”

            (http://ipad.wallpapersus.com/wp-content/uploads/2012/10/Somethings-Got-To-Give-300x300.jpg)

            ท่านอาจารย์กูโดแห่งวัดเมียวชินจิในเกียวโตได้ประพันธ์บทร้อยกรองชื่อ “หน้าตาแต่ดั้งเดิม”
            นี่คือวัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม
            ถ้าไม่ยิ้มกับเธอ แบบหัวใจต่อหัวใจ
            เธอจักต้องเสียเลือดหมดหัวใจ
            ซีไชที่ว่างามยังดูซูบเซียว
            โยกิที่ว่าสง่ายังหลบสู่มุมมืด

            อำนาจสมบูรณ์ซึ่งไม่สามารถระบุถึงหรือคาดคิดถึงได้ เป็นอิสระจากขอบขีดแห่งปวงกาละและเทศะ ไม่ตกอยู่ภายใต้การเกิดและตาย อยู่เหนือตัวกูและของกู แม้ว่ามันอาศัยอยู่กับปัจเจกชนใดแต่ไม่สามารถจำกัดขอบขีดมันได้ ท่านอาจารย์กูโดเรียกอำนาจที่สมบูรณ์นี้ว่า “วัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม” ซึ่งงามบริสุทธิ์ไร้มลทินเสริมแต่ง เรื่องนี้กล่าวอ้างถึง ซีไชและโยกิผู้ที่เลื่องลือกันว่างามที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ท่านกล่าวว่าเมื่อเผชิญกับวัยเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม แม้สตรีที่หายากสุดเช่นนั้นในจีนยังดูซูบเซียว เพราะเหตุนี้ ท่านกูโดกล่าวว่า บุคคลต้องขุดรากถอนโคนความฉลาดแบบจำแนกแยกแยะออกไป และต้องยิ้มกับเธอแบบหัวใจต่อหัวใจ นั่นคือจับฉวยสิ่งนี้ไว้แม้ต้องเสี่ยงชีวิต  หากพลาดไปก็ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต

            ซุยกัน เป็นอาจารย์เซนที่ยิ้มหัวใจต่อหัวใจกับความเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงามภายหลังการฝึกอย่างหนักและยาวนานภายใต้การอบรมของอาจารย์กันโตะผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แม้ภายหลังประสบการณ์นี้ ซุยกันก็ยังคงเรียกขาน “มัน” หรือ “ท่านอาจารย์” ซึ่งเป็นชื่อที่ท่านซุยกันใช้เรียกความเยาว์แห่งธรรมชาติอันงดงาม ท่านเป็นอยู่ มีความสุข และใช้งาน “ท่านอาจารย์” ในตัวท่านเอง และชีวิตอย่างเซนของท่านก็ได้รับความชื่นชมจากสานุศิษย์รุ่นหลังอย่างสูง ท่านอาจารย์ผู้เรียก และ ท่านอาจารย์ผู้ขานรับ ไม่มีทางเป็นสองคน  แต่ต้องเป็นท่านอาจารย์ที่สมบูรณ์เพียงหนึ่งเดียวแห่งความเป็นนายที่สมบูรณ์  สิ่งที่แจ่มชัดคือจิตแห่งเซนของท่าน สุขุมคัมภีรภาพคือประสบการณ์เซนของท่าน ท่านจึงสมควรได้รับคำยกย่องจากใจจริงของเราทั้งหลาย

            ท่านซุยกันตั้งคำถามและตอบต่อไปในการเป็นอยู่ มีความสุข และใช้งาน “มัน” “ท่านตื่นหรือยัง?” “ตื่นแล้ว” “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”   “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก”  ถ้าเราอ่านบทสนทนานี้อย่างผิวเผิน จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดาๆ “ท่านอาจารย์ ความเป็นนาย(ในสถานการณ์ต่างๆ  หมายถึงเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัด ) ชัดเจนและมั่นคงดีหรือ? “  “ใช่ครับ ท่านอาจารย์” “อย่าปล่อยให้ใคร บดบังความเป็นนายของเธอ”  “ไม่  ไม่เลย” เราจักต้องมองให้เห็นอย่างแจ่มชัด ณ บัดนี้ ถึงการเรียกตนเอง ขานรับตนเอง  และความมั่นคงและชัดเจนของเซนของท่าน เราจะต้องอ่านเรื่องนี้อีกครั้งด้วยสายตาแห่งเซน ที่ได้มาจากประสบการณ์และการปฏิบัติ

            “ท่านตื่นหรือยัง”  “ตื่นแล้ว”  “อย่าให้ใครหลอก ไม่ว่าวันไหน เวลาไหน”  “ไม่ครับ ผมจะไม่ให้ใครหลอก” การถามเองตอบเองนี้หมายถึงอะไร  อาจารย์เซนท่านหนึ่งกล่าวว่า “ต้องเป็นพระเป็นเจ้าแห่งพระเป็นเจ้าจึงสามารถทำเรื่องนี้ได้โดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ”  “ท่านอาจารย์”ของซุยกันแสดงตัวให้เห็นได้อย่างปลอดโปร่งในการกิน นุ่งห่ม  สนทนา ยิ้ม และไม่เคยถูกหลอกโดยสิ่งใดๆ ถ้าท่านยืน ท่านก็ตื่นที่นั่น ถ้าท่านนั่ง ท่านก็ตื่นที่นั่น
            เพราะความโปร่งใสเห็นได้ชัดของเซนของท่านซุยกัน  ความเป็นอยู่อย่างเซนของท่าน “ประชาชนจึงรักและเคารพท่าน และนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดซุยกัน”

(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/c0.0.369.369/p403x403/425646_306336896150202_2046664417_n.jpg)

หัวข้อ: Re: ซุยกันเรียกตนเอง "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 12:55:37 pm

                       (http://media-cache-ec0.pinimg.com/736x/99/31/a4/9931a42247980b3bfe9dad9a113b7e2d.jpg)

            บุรพาจารย์แห่งเซน ได้วิจารณ์ให้เห็นเค้าเรื่องถึงความบริสุทธิ์และถูกต้องเที่ยงตรงถึงการเป็นอยู่อย่างเซนของท่านซุยกัน  “มังกรยินดีในแก้วมณี” น่าพิศวงขนาดไหนที่ท่านซุยกันอาศัย ชื่นชมยินดี และใช้ “มัน” ในตัวท่าน โดยเรียกและขานรับด้วยตัวท่านเอง  น่าพิศวงเช่นเดียวกับ มังกร รักและยินดี ในแก้วมณี
            วิญญาณแห่งเซนที่ลุ่มลึกและกระจ่างชัด ในการเป็นอยู่ ความร่าเริง การใช้ “มัน” ในตัวเขาไม่ควรตีความผ่านๆอย่างผิวเผินแค่ตามตัวหนังสือเพียงระดับศีลธรรม คือการตรวจสอบตัวเองเท่านั้น
            ทำไมท่านอาจารย์ซุยกันจึงใช้ชีวิต ร่าเริง ใช้”มัน”อย่างเคร่งครัดเช่นนั้น เราไม่ควรมองข้ามความกรุณาที่ล้นหลั่งไปสู่อนุชนรุ่นหลัง รวมทั้งเซนของท่านที่เต็มไปด้วยความชัดแจ้งจนมองเห็นได้ด้วยตา นั่นเป็นเหตุผลให้ท่านมูมอนนำโกอานบทนี้มาสอนสานุศิษย์  พูดสั้นๆ ท่านอาจารย์ของท่านซุยกันคืออาจารย์ของเธอ  ของฉัน ที่นี่และเดี๋ยวนี้

(http://dicasparadecorar.com/wp-content/gallery/jardim-japones/jardim-japones-3.jpg)

            มีโกอานอีกบทที่สืบเนื่องจากโกอานบทนี้ วันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งมาพบอาจารย์เกนชา “อาจารย์เกนชาถามพระว่า “เมื่อเร็วๆนี้เธออยู่ที่ไหน?”  พระตอบว่า “อยู่กับอาจารย์ซุยกันครับ  ท่าน”  ท่านอาจารย์จึงถามต่อว่า “ใช่  อาจารย์ซุยกันสอนศิษย์อย่างไร ?” ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ทุกวันที่อาจารย์ซุยกันถามและตอบตนเอง  เมื่อได้ยินดังนั้น  อาจารย์เกนชาจึงถามต่อว่า  “ทำไมเธอจึงไม่เรียนต่อไปกับอาจารย์ซุยกัน?”    พระภิกษุตอบ “ท่านซุยกันมรณภาพแล้ว”  ต่อคำตอบนี้ อาจารย์เกนชาจึงตั้งคำถามที่คิดไม่ถึงว่า “หากเธอถามท่านซุยกันเดี๋ยวนี้ “ท่านอาจารย์” ท่านซุยกันจะตอบหรือไม่?” โชคไม่ดี ภิกษุได้แต่เงียบ  ไม่พูดตอบแม้แต่คำเดียว

            ท่านซุยกันมรณภาพแล้ว และท่านเกนชาก็ถามว่า “หากเธอถามท่านซุยกันเดี๋ยวนี้ “ท่านอาจารย์” ท่านซุยกันจะตอบหรือไม่?”  ทำไมท่านจึงอาจหาญตั้งคำถามเช่นนั้น  เซนของท่านเกนชาทำงานอยู่เบื้องหลังคำถามนี้  ท่านพยายามปลุกพระให้ตื่นขึ้นมาพบอาจารย์(หรือนาย)ที่แท้ที่อยู่เหนือกาล,เวลา,เธอ,ฉัน,ชีวิต และความตาย น่าเสียดายที่พระไม่สามารถตอบสนองความกรุณาของท่านเกนชาได้ถูกต้อง
            ในยุคสงครามกลางเมืองในญี่ปุ่น มีขุนนางท่านหนึ่งนามว่า โอตะ โดกัน ได้สร้างคฤหาสน์หลังงามในเอโด หรือโตเกียวในปัจจุบัน  ท่านเรียนเซนกกับท่านอุนโกะ ซึ่งอาศัยอยู่ในวัดใกล้กันชื่อว่า เซอิโชจิ และขยันในการปฏิบัติเซนมาก  ท่านอุนโกะให้โดกันขบโกอาน “ท่านอาจารย์ของซุยกัน”  และให้โดกันปฏิบัติอย่างหนัก ท่านปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจเป็นเวลานาย และในวันหนึ่งก็แทงทะลุสู่แก่นของ “ท่านอาจารย์”

ท่านอุนโกะต้องการทดสอบผลการปฏิบัติ จึงถามว่า      (http://1.bp.blogspot.com/-JeI-9Jiou1c/Tqy4_xPLNGI/AAAAAAAABac/rnRW7MA65p4/s320/Svm1.jpg)
“ขณะนี้ บัดเดี๋ยวนี้   “ท่านอาจารย์” อยู่ที่ไหน?”
            ขุนเขาตอบ
            เสียงระฆังจากวัด
            ท่ามกลางแสงจันทร์ 
เป็นคำตอบจากโดกันในทันทีทันใด  และท่านอุนโกะก็ยอมรับ

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/318524_511432782212271_1300995515_n.jpg)

            บทร้อยกรองของโดกันเหมือนกับการตอบตนเองของท่านซุยกันหรือไม่ หรือต่างกัน อาจารย์ที่แท้คงอยู่ตลอดไป กับท่านซุยกันหรือโดกันก็ได้  ขณะนี้ หรือในอดีต ท่านเป็นความคิดรวบยอดที่ไม่มีชีวิต แน่นอนว่าท่านอาจารย์อยู่ที่นี่ในขณะนี้เสมอ และตื่นอยู่ในขณะแห่งการยืนและนั่งของเธอ เธอผู้มีตา(แห่งเซน)จงมองท่านเสียในบัดนี้ เธอผู้สามารถใช้ท่าน จงใช้ท่านเสียตรงๆ ท่านมูมอนกระตุ้นเราดังนี้

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน   (http://dicasparadecorar.com/wp-content/gallery/jardim-japones/jardim-japones-4.jpg)
            ท่านมูมอนวิจารณ์ “ท่านอาจารย์ผู้เฒ่าขายเองซื้อเอง ท่านมีหน้ากากปีศาจมากมายไว้เล่น ทำไม? Nii(ไน้) อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด  หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก”
            คำวิจารณ์นี้แบ่งได้เป็นสามส่วน ส่วนแรกเหมือนกับท่านมูมอนใส่ร้ายท่านซุยกัน”ทุกๆวัน ท่านเรียกตนเองและตอบตนเอง” “ท่านขายเองแล้วก็ซื้อเอง  การแสดงเดี่ยวของท่านหมายความว่าอย่างไร ที่ไปเล่นเอาปีศาจทุกชนิดมาแสดงบนเวทีทีละตัวทีละตัวอย่างนั้น ?” ท่านมูมอนไล่ต้อนท่านซุยกัน นี่เป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อยกย่องแบบเซน ที่จริงแล้วท่านยกย่องเซนของท่านซุยกัน
            “nii(ไน้)”  เป็นคำอุท่านเพื่อเน้นย้ำความหมาย  มันมีความหมายว่า “นั่นไง” “จงมองดูซิ” คาดคั้นเอาคำตอบ เมื่อท่านพูดพาดพิงถึงปีศาจ มีความเชื่อของชาวบ้านว่า เมื่อใช้ป้ายตัวอักษร nii(ไน้) ปิดเหนือประตูบ้านแล้ว จะขับไล่อัปมงคลทั้งปวงได้
            เราจะต้องมองให้เห็นความเท่าทันของท่านมูมอน เมื่อท่านซุยกันเป็นท่านอาจารย์เสียเองอย่างเต็มที่  และนำไปทุกที่ทั้งขณะมาและไป นั่งและนอน

            ส่วนที่สองคือ “อันที่เป็นผู้เรียก อันที่เป็นผู้ขานรับ อันที่เป็นผู้ตื่น อันที่ไม่ให้ใครหลอก ถ้าเธอคิดว่าเป็นเรื่องจริง เธอกำลังเข้าใจผิด”  ท่านพูดถึงพฤติกรรมต่างๆของท่านซุยกัน  เดี๋ยวก็เรียกตนเอง เดี๋ยวก็ขานรับตนเอง เดี๋ยวก็บอกให้ตนเองตื่น เดี๋ยวก็พูดว่าจะไม่ให้ใครหลอก  “จงอย่ายึดมั่นถือมั่นกับหลากหลายใบหน้าเหล่านี้” ท่านมูมอนเตือนสานุศิษย์อย่างเข้มงวด โดยพื้นฐาน ท่านอาจารย์  ก็คือ ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบไหน   ปราชญ์โบราณวิจารณ์ว่า “ลาอยู่ในบ้านทางตะวันออก ม้าอยู่ในบ้านทางตะวันตก” อยู่กับต้นหลิวมันก็ปรากฏเป็นสีเขียว  อยู่กับดอกไม้มันก็ปรากฏเป็นสีแดง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็เป็นสัจจะที่แท้เสมอ และไม่เคยพลาดจากความเป็นท่านอาจารย์เลย  ด้วยคำวิจารณ์เต็มไปด้วยความกรุณา ท่านมูมอนพยายามผลักดันให้เหล่าสานุศิษย์มองเห็นสาระในเซนของท่านซุยกัน

            ประโยคสุดท้าย “หากเธอเลียนแบบท่านอาจารย์ซุยกัน เธอยังเข้าใจแบบสุนัขจิ้งจอก”  บางคนอาจสรุปว่า ท่านอาจารย์หมายถึงสัจจะสมบูรณ์ที่อยู่เหนือคำบรรยายทั้งปวง สิ่งที่ควรทำคือ เพียงแต่เรียก “ท่านอาจารย์!  ท่านอาจารย์! “ หากพวกเขาเลียนแบบท่านซุยกันทำนองนี้ โดยปราศจากเซน ก็เป็นความเข้าใจที่ตายไปแล้ว เป็นความเข้าใจเซนที่ผิดและไร้ชีวิตจิตใจ เรียกว่า เซนสุนัขจิ้งจอก หลังจากกั้นรั้ว(กันศิษย์ออกนอกทาง)แล้ว ท่านมูมอนก็แสดงสัจจะที่แท้แก่เหล่าศิษย์  ท่านมูมอนว่ากล่าวตักเตือนด้วยความกรุณาที่แท้จริง

ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน  (http://media-cache-ec0.pinimg.com/736x/cd/f3/13/cdf313bc09c7fb81ee43a39b50cea23c.jpg)
            ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้
            พวกเขาเห็นแต่วิญญาณอย่างเก่าๆ
            ทำให้เวียนวนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่สิ้นสุด
            แต่คนยังคงหลงจับฉวยแทนมนุษย์แต่ดั้งเดิม

            บทร้อยกรองนี้แต่งโดยท่านอาจารย์โชสะ มูมอนนำมากล่าวโดยไม่ได้ดัดแปลงแก้ไขแม้น้อยนิด ใช้มันเป็นคำแนะนำโกอานบทนี้ด้วยความสามารถในเซนของท่านเอง “มนุษย์แต่ดั้งเดิม”  ตรงกับ “ท่านอาจารย์” ของท่านซุยกัน มูมอนใช้บทร้อยกรองนี้อย่างเปี่ยมด้วยความกรุณา พยายามบดขยี้ความฝันลวงๆของประชาชนผู้ยังติดกับความคิดแบบแบ่งแยกโดยเห็นเป็นมนุษย์แต่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหตุแห่งอวิชชาโดยแท้จริง
            ในวัยแห่งการฝึกเซนของฉัน ฉันสวดบทร้อยกรองนี้ต่อหน้าอาจารย์ของฉัน ยากที่จะจบบรรทัดแรกโดยไม่พูดอะไรต่อเติม  “ผู้แสวงหามรรคไม่เห็นธรรมแท้” ท่านก็รุกเร้า “ปล่อยบทร้อยกรองไว้ตามเดิม   บอกธรรมแท้ของเธอมาเดี๋ยวนี้!”  ฉันจำได้ว่าได้แต่เงียบกริบภายหลังถูกบีบบังคับด้วยคำถามของท่าน
            (http://3.bp.blogspot.com/-3fRNjWV9R4g/TmThP5JdQKI/AAAAAAAABHo/Qeg6Q8Vgf2A/s320/Svm4.jpg)  คำว่า ธรรมแท้ หมายถึงแก่นแห่งเซน
และก็เป็นจิตวิญญาณของบทร้อยกรองนี้ด้วย
พูดอีกอย่าง  จากคำนี้ ท่านอาจารย์   มนุษย์แต่ดั้งเดิม จึงเกิดมีขึ้น
            ผู้แสวงหามรรคมากมายไม่รู้แจ้งท่านอาจารย์ที่แท้จริง  เพราะพวกเขายึดมั่นอยู่กับอาลัยวิญญาณ ซึ่งคิดว่าเป็นต้นธารของชีวิตของพวกเขา  แท้จริงแล้วนี่คือเหตุแห่งการเวียนว่ายในวัฏฏะอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  และควรจะบดขยี้ถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือเชื้อ น่าเศร้าเพียงใดที่เห็นพวกเขาหลงผิดเห็นเป็น ท่านอาจารย์ที่แท้ มนุษย์แต่ดั้งเดิม ด้วยบทร้อยกรองนี้ท่านมูมอนหวังให้เราเปิดดวงตาแห่งสัจจธรรมสู่ ท่านอาจารย์ที่แท้ อย่างสมบูรณ์

           ถ้าใครบ่งชี้ถึง ท่านอาจารย์ที่แท้ และตั้งหลักเกณฑ์ว่ามีอยู่นอกตัวเขาแล้ว
                  นั่นก็เป็นอุปาทานและเหตุแห่งอวิชชาโดยแท้ อาจารย์เซนแต่โบราณ
                  ได้ตักเตือนอนุชนรุ่นหลังด้วยบทร้อยกรองต่อไปนี้

           (http://1.bp.blogspot.com/-6Wzpb-GZzxA/TlJ0vbpHwDI/AAAAAAAABE4/mEgJFWBOcJU/s320/SVM13.jpg)

            นกน้ำมาแล้วไป
            ไม่เหลือร่องร่อย
            แต่มันก็รู้
            หนทางของตนเอง

(http://media-cache-ak0.pinimg.com/236x/b8/e0/c9/b8e0c99a2a1982b80643874beaa44ebf.jpg)
เริ่มแปล วันจันทร์ที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จ วันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
หัวข้อ: Re: โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 02:32:54 pm

                   (http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/66/9f/10/669f106186efce013abfc537d4364359.jpg)

ด่านที่ไร้ประตู ลำดับเรื่อง(ในต้นฉบับ) ๑๑
ลำดับการแปล ๖
ชื่อเรื่อง โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก

โกอาน
  (http://media-cache-ak0.pinimg.com/736x/a9/60/01/a96001e33acb44447da309ea4ce0532d.jpg)

            โจชูเดินทางมาถึงอาศรมแห่งหนึ่ง แล้วถามว่า “มีคนอยู่ไหม?”
อนาคาริกคนหนึ่งชูกำปั้นขึ้น ท่านโจชูจึงพูดว่า” น้ำตื้นเกินกว่าจะทอดสมอเรือ”
แล้วเดินจากไป  มาถึงอาศรมอีกแห่ง แล้วถามเช่นเดิม
อนาคาริกอีกคนทำเหมือนเดิม ท่านจึงพูดว่า
“ท่านมีเสรีที่จะเอาหรือให้ ประหารชีวิตหรือให้ชีวิต” แล้วทำความเคารพอนาคาริกนั้น

คำวิจารณ์ของมูมอน
            ทั้งคู่ชูกำปั้น  ทำไมท่านรับรองคนหนึ่งแต่ไม่รับรองอีกคนหนึ่ง
ขอให้บอกมาว่าอะไรคือแก่นของความลึกลับซับซ้อน
ถ้าเธอรู้ เธอจะเห็นท่านโจชูไม่ถูกผูกมัดในการพูดสิ่งที่ต้องการ
มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะยกใครขึ้นหรือกดใครลง

            อันที่จริง  เป็นโจชูเองที่ถูก-อนาคาริกทั้งสองมองเห็น ธรรมชาติที่แท้ ?
ถ้าเธอเห็นว่า อนาคาริกคนหนึ่งเหนือกว่าอีกคน เธอยังไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน
หากบอกว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังคงไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน

(http://media-cache-ec0.pinimg.com/236x/42/da/f4/42daf46c3c4b0ff99e11343ea4b76381.jpg)
หัวข้อ: Re: โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 02:57:18 pm


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/25974_537444666275606_1294334086_n.jpg)

บทร้อยกรองของมูมอน
ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต
            ไขปริศนา  โกอาน (http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews-middle/69387.jpg)

            ในเรื่องนี้ท่านโจชูเป็นจุดสนใจเช่นเดิม  ฉันได้กล่าวถึงคำพูดลือชื่อของท่านมาแล้ว  มีบันทึกในประวัติของท่าน  ความว่า “เด็กเล็กเจ็ดแปดขวบ  หากเก่งกว่าฉัน ฉันก็ขอเป็นศิษย์  ชายชราอายุนับร้อยปี หากด้อยกว่าฉัน ฉันก็จะสอนเขา” ด้วยคตินี้ท่านโจชูจึงท่องเที่ยวไปเพื่อการปฏิบัติจนท่านอายุได้ แปดสิบปี  เหตุการณ์ในโกอานเกิดขึ้นเมื่อท่านกำลังท่องเทียวเพื่อการนี้  นักปฏิบัติเซนไม่ใส่ใจสถานการณ์แวดล้อมมากไปกว่าแก่นของเซน

            วันหนึ่งท่านโจชูมาถึงอาศรมแห่งหนึ่ง แล้วถามนักปฏิบัติที่นั่น “ท่านอยู่ข้างใน?” บ่อยทีเดียวที่นักปฏิบัติเซนใช้การสนทนาประจำวันเพื่อสั่งสอนธรรมแก่กันและกัน  ขัดเกลาจิตใจให้ลุ่มลึกในเซน ในโกอานบทนี้  การสนทนาเป็นการเริ่ม มอนโด [1] (การสนทนาธรรมแบบเซน)
            คู่สนทนาชูกำปั้นพร้อมความเงียบ  กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ  ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก
            อย่างไรก็ตาม เมื่อโจชูเห็นดังนั้น  จึงพูดว่า “น้ำตื้นเกินกว่าจะทอดสมอเรือ”  แล้วเดินจากไปในทันทีทันใด  บางคนแปลความหมายอย่างผิวเผินว่า “ เขาไม่ใช่นักปฏิบัติเซน ไม่ควรที่จะไปสนทนากับเขา”  แล้วท่านโจชูก็จากไป

(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews/18263-n.jpg)

หัวข้อ: Re: โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 03:59:46 pm


(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews-middle/61634.jpg)

            โจชูใช้และแสดงเซนของตนตามที่ประสงค์  มีความแตกต่างระหว่าง
            เก่งกว่าและด้อยกว่าที่การชูกำปั้นโดยตัวมันเองหรือ?
            อาจารย์เซนแต่โบราณได้วิจารณ์เรื่องกำปั้นไว้ว่า
ไม่ว่าจะเรียกว่า โง่หรือ หยาบคาย
ฉันปล่อยให้คนอื่นตัดสิน
โดยธรรมชาติ ช่อดอกท้อสีชมพู
โดยธรรมชาติ ช่อดอกสาลี่สีขาว

                  (http://25.media.tumblr.com/tumblr_m8e0hqVpkO1r8yl0oo1_250.jpg)

ท่านมองกำปั้นอย่างไรจึงเขียนบทร้อยกรองเช่นนั้น? กำปั้นมีความหมายว่าอย่างไร? ต้องเข้าใจจุดสำคัญนี้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
อีกครั้งเมื่อท่านพบอาศรมอีกแห่ง ถามอย่างเดียวกัน “ท่านอยู่ข้างใน?” และอนาคาริกอีกคนก็ชูกำปั้นพร้อมความเงียบเช่นเคย กำปั้นถูกชูขึ้น เป็นอย่างนั้น ช่างวิเศษแท้! กำปั้นก็ต้องเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ ที่นี่ไม่มีที่ว่างเพื่อความแบ่งแยก แต่ เมื่อเห็นอย่างนั้น  ท่านโจชูทำความเคารพอย่างลึกซึ้งในทันใด พร้อมกับคำพูด  “ท่านมีเสรีที่จะเอาหรือให้ ประหารชีวิตหรือให้ชีวิต” อีกครั้งที่ท่านใช้และแสดงเซนของท่านตามที่ประสงค์ ปล่อยให้ท่านทำตามที่ท่านประสงค์เถิด

ขอถามว่า “มีความแบ่งแยกหรือไม่ในกำปั้น?” ท้ายที่สุดมันก็เป็นแค่เพียงกำปั้น
    มันมีเท่านี้เอง โจชูมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริกได้อย่างไร ?
    เพียงแค่ชูกำปั้นคล้ายๆกัน อะไรเป็นกุญแจไขให้รู้จิตใจของโจชู?
    นี่เป็นจุดสำคัญยิ่งชีวิตของโกอานบทนี้
ก่อนอื่นเธอต้องเปิดดวงตาให้เห็นกำปั้นเสียก่อน เมื่อเธอมองทะลุกำปั้นได้แล้ว
จึงจะรู้ว่า ข้อสังเกตของโจชู เซนของท่าน มีความแจ่มชัดโดยธรรมชาติแท้จริง

              (http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews/294749-n.jpg)

    อาจารย์เซนท่านหนึ่งเขียนบทร้อยกรองดังนี้
              ลมอ่อนพัดผ่านพุ่มพฤกษ์
              สองสายมุ่งต่างทิศ
              สายบูรพาดูอบอุ่น
              สายอุดรดูเยือกเย็น

    ท่านมีชีวิตเซนอย่างไรจึงเขียนคำวิจารณ์เช่นนั้น หนึ่งคือทั้งหมด  ทั้งหมดคือหนึ่ง
    ความเหมือนในขณะเดียวกันก็คือความแตกต่าง
    เราต้องมีประสบการณ์ที่แทงทะลุความจริง  จึงจะเห็นอย่างท่านอย่างแท้จริง

ไขปริศนา คำวิจารณ์ของท่านมูมอน
            ท่านมูมอนให้ความเห็น  “ทั้งสองชูกำปั้น ทำไมท่านรับรองคนหนึ่ง แต่ไม่รับรองอีกคนหนึ่ง?” บอกฉันว่าอะไรคือเนื้อแท้ของความลึกลับซับซ้อน? ถ้าเธอสามารถตอบได้ถูกจุด จะเห็นท่านโจชูไม่ถูกผูกมัดในการพูดสิ่งที่ต้องการ มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะยกใครขึ้นหรือกดใครลง อันที่จริง ตรงข้ามกัน  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้  ? ถ้าเธอเห็นว่า อนาคาริกคนหนึ่งเหนือกว่าอีกคน เธอยังไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  หากบอกว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังคงไม่ได้รับดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน”

(https://lh3.googleusercontent.com/-trzaujGjZBQ/T0cdvgn9DoI/AAAAAAAAAnQ/evLqcBo7cC0/s382/eye.jpg)

หัวข้อ: Re: โจชูเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก "เซ็น" วิถีแห่งการรู้แจ้ง
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 19, 2013, 06:49:41 pm


(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews/110616-n.jpg)
(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews-middle/7030.jpg)

            คำวิจารณ์ของท่านมูมอนประกอบด้วยสามส่วน ส่วนแรก ท่านถามว่าทำไมจึงรับรองคนหนึ่ง แต่ปฏิเสธอีกคนหนึ่ง ในเมื่อทั้งสองชูกำปั้นขึ้นคล้ายๆกัน อะไรคือแก่นของความลึกลับซับซ้อน? ท่านมูมอนชี้ที่หัวใจของคำถาม แล้วพูดว่า “ถ้าเธอสามารถตอบคำถามได้ตรงจุด เธอจะรู้ถึงใจของท่านโจชูและเข้าใจอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ของท่านในการทำทุกสิ่งที่ประสงค์  ให้หรือเอา”  ข้อสังเกตที่ดูตื้นๆแล้วมั่วและขัดกันไปมา โดยแท้แล้วออกมาจากชีวิตแบบเซนที่อิสระและสร้างสรรค์  คำวิจารณ์ส่วนแรกของท่านมูมอน แสดงสถานะของตนเองและที่ท่านรับรองโจชู  ผู้ซึ่งรับรองอนาคาริกผู้หนึ่งแต่ปฏิเสธอีกท่านหนึ่ง

            ส่วนที่สอง มูมอนเปลี่ยนเสียงแล้วพูดว่า “อันที่จริง ตามที่ฉันเห็น  เป็นโจชูเองที่ถูกอนาคาริกทั้งสองมองเห็นธรรมชาติที่แท้ แม้ว่าท่านคิดว่า ท่านมองเห็นธรรมชาติที่แท้ของสองอนาคาริก”
            บอกฉันมาเดี๋ยวนี้ว่า อนาคาริกทั้งสองเห็นธรรมชาติที่แท้ของท่านโจชูอย่างไร? โดยไม่ปริปากทั้งคู่ล้วนชูกำปั้นขึ้น ทั้งคู่ต้องเป็นอาจารย์เซนที่ได้เปิดดวงตาแห่งเซนแล้ว พูดอีกอย่าง พวกท่านสาธิตสัจจะว่า “ทุกสิ่งกลับสู่ความเป็นหนึ่งเดียว

(http://25.media.tumblr.com/tumblr_m9buavnLPX1rn24lgo1_250.jpg)

            ส่วนสุดท้าย ท่านมูมอนจบคำวิจารณ์ด้วยข้อสังเกตที่คมชัดและเหมาะเจาะตรงสถานการณ์ “ถ้าเธอพูดเหมือนโจชู ว่าท่านหนึ่งเหนือกว่าอีกท่านหนึ่ง เธอยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน แต่หากเธอพูดว่าทั้งสองไม่ต่างกัน เธอก็ยังไม่เปิดดวงตาแห่งเซน  เช่นกัน
            ท่านมูมอนเตือนว่าเมื่อคิดถึงเรื่องกำปั้นแล้ว  เราไม่ควรตัดสินว่าทั้งสองมีความสามารถต่างกัน หรือไม่ต่างกัน ทำไมท่านพูดอย่างนั้น? ขอให้อยู่เหนือทวิลักษณ์ของคำว่า เด่นกว่า เก่งกว่า  ด้อยกว่า,  ใช่ ไม่ใช่ , และเป็นกำปั้นอย่างเต็มที่ทุกประการ เมื่อเธอกำจัดความแบ่งแยกเช่นนั้นแล้ว เธอจะได้รับกุญแจสู่อิสรภาพในการใช้คำคู่ เช่น ใช่ ไม่ใช่  เป็นต้น

            ท่านฮะกูอิน ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ คำวิจารณ์ของท่านมูมอนว่า “ท่านมูมอนพูดว่าท่านจะไม่ยอมรับคำพูดว่า  มีความแตกต่าง หรือ ไม่มีความแตกต่าง แม้ว่านี่เป็นคำวิจารณ์ที่ดี ถ้าฉันวิจารณ์ ฉันจะไม่วิจารณ์เซ่อซ่าเช่นนั้น เพราะท่านมูมอนอาจอธิบายได้ดี แต่เธอจะไม่เข้าใจ   ท่านอาจสอน แต่เธอจะไม่รู้อะไร บุคคลต้องประสบกับมันด้วยตนเอง  มิฉะนั้นความรู้ทั้งหลายเกี่ยวกับมัน ล้วนไร้ประโยชน์”
            ในความเหมือนก็มีความแตกต่าง  และความแตกต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหมือน ไม่มีหนึ่ง หรือ สอง แต่บุคคลต้องจับฉวยมันด้วยตนเองจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ควรเป็นแค่ข้อสรุปจากการขบคิดใคร่ครวญ  ท่านฮะกุอินชี้ประเด็นด้วยความกรุณา

(http://24.media.tumblr.com/tumblr_m8q3knXHzk1qi4mddo1_250.jpg)
ไขปริศนา บทร้อยกรองของท่านมูมอน
            ดวงตาของท่าน ว่องไวเหมือนดาวตก
            ใจของท่าน       เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
            ดาบหนึ่ง          เพื่อประหารชีวิต
            ดาบหนึ่ง          เพื่อให้ชีวิต

(http://4.bp.blogspot.com/_jD0xfXNG_V8/TJOkbr0Ut2I/AAAAAAAAAO0/Xf71wHS8r7o/s1600/95124.jpg)

            ท่านมูมอนสรรเสริญอัจฉริยภาพของท่านโจชูเป็นอย่างสูง
            ท่านเห็นธรรมชาติที่แท้ของอนาคาริกทั้งสอง ผู้ชูกำปั้นเหมือนๆกัน
            และบรรยายว่าท่านมีตาไวเหมือนดาวตก มีจิตใจน่าเคารพ สูงส่ง สง่า เหมือนสายฟ้าแลบ
            กำปั้น โดยแท้จริงแล้วมหัศจรรย์ยิ่ง มันสร้างสรรค์อย่างอิสระ ให้ชีวิตหรือประหารชีวิต

            ท่านมูมอนชื่นชมทั้งการรังสรรค์ของเซนของท่านโจชู
            และความลึกลับของกำปั้นพร้อมๆกัน
            เว้นเสียแต่ว่าจะหยั่งลึกสู่คำวิจารณ์ของท่านมูมอน และมองเห็นแต่ละประเด็น
            ที่ท่านยกขึ้นมาแสดง ย่อมไม่เข้าใจความหมายของโกอานและแก่นของเซนเลย

(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews-middle/110616.jpg)

เริ่มแปล วันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
แปลเสร็จเมื่อ  วันอังคารที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

(http://wallpaper.goodfon.ru/wallpaper/previews/19323-n.jpg)

Pics by : Google
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
-http://www.dhamma4u.com/

หัวข้อ: Re: อาจารย์เซนขี้เกียจสอน & ประตูที่ไร้ประตู
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2015, 04:37:50 pm
(http://joeycafe.files.wordpress.com/2013/04/img_90751.jpg?w=614&h=443)

อาจารย์เซนขี้เกียจสอน
หมอหนุ่มคนหนึ่งในโตเกียวชื่อคาสุดะ พบเพื่อสมัยเรียนที่กำลังเรียนเซน หมอหนุ่มถามเขาว่าเซนคืออะไร
“ฉันไม่รู้จะอธิบายอย่างไร” เพื่อนตอบ “แต่ถ้าคุณเข้าใจเซน คุณจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป”
“งั้นรึ?” คาสุดะพูดต่อ “ฉันจะลองดู จะหาอาจารย์ได้ที่ไหนล่ะ”
“ลองไปหาอาจารย์นานอินดูสิ” เพื่อนตอบ

ดังนั้น คาสุดะจึงมุ่งหน้าไปพบนานอินโดยพกดาบยาว ๙ นิ้วครึ่งไปด้วย หมายจะทดสอบว่าอาจารย์ไม่กลัวตายจริงหรือไม่
เมื่ออาจารย์เซนนานอินพบคาสุดะก็เอ่ยว่า “สวัสดีเพื่อน เป็นไงบ้าง เราไม่ได้เจอกันนานแล้วนะ”
คำพูดนี้ทำให้คาสุดะชะงัก ก่อนจะตอบกลับไปว่า “เราไม่เคยพบกันมาก่อน”
“ถูกแล้ว” อาจารย์เซนตอบ “ฉันจำคนผิด นึกว่าเป็นหมอคนหนึ่งที่กำลังมาเรียนที่นี่”
เมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาด คาสุดะเสียโอกาสที่จะทดสอบอาจารย์ เขาฝืนถามไปว่าจะสามารถเรียนเซนที่นี่ได้หรือไม่
อาจารย์นานอินตอบว่า “เซ็นไม่ใช่ของยาก ถ้าคุณเป็นหมอ ก็รักษาคนไข้ด้วยใจเมตตา นั่นแหละคือเซน”

คาสุดะเข้าพบอจารย์ ๓ ครั้ง ๓ ครา แต่ละครั้งอาจารย์ก็พูดอย่างเดิม “หมอไม่ควรจะมาเสียเวลาแถวนี้ กลับไปรักษาคนไข้ได้แล้ว”
คาสุดะยังคงคาใจ ว่าการสอนของอาจารย์เกี่ยวข้องกับการไม่กลัวความตายอย่างไร ดังนั้นเมื่อเขาเข้าพบอาจารย์ในครั้งที่ ๔ จึงถามไปตรงๆว่า
“เพื่อนของผมบอกว่า ใครก็ตามเมื่อเรียนเซนแล้วจะไม่กลัวความตาย แต่ว่าทุกครั้งที่ผมมาหาท่าน ท่านกลับบอกให้ไปรักษาคนไข้ เรื่องนั้นน่ะผมรู้ดีอยู่แล้ว ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ท่านเรียกว่าเซน ต่อไปผมจะไม่มาหาท่านแล้วนะ!!”

อาจารย์นานอิน ตบหน้าหมอหนุ่ม แล้วก็พูดว่า “ข้าเสียเวลากับเจ้ามากไปแล้ว เอาปริศนาธรรมไปแก้ซะ” จากนั้นอาจารย์ก็ให้คำถาม “ความว่างของโจสุ” ซึ่งเป็นปริศนาธรรมข้อแรกในหนังสือ “ประตูที่ไร้ประตู”
หมอหนุ่มพยายามไขปริศนาธรรมข้อนี้ถึง ๒ ปี ในระหว่างนั้นจิตใจเขาสงบขึ้นมาก แต่อาจารย์ยังบอกว่า “ยังใช้ไม่ได้”
เขาพยายามแก้ปัญหาต่ออีกปีครึ่ง จิตใจของเขาสงบนิ่ง ปริศนาธรรมถูกไขออก ความว่างกลายเป็นความจริง เขาเป็นอิสระทางความคิดจากความเป็นและความตายโดยไม่รู้ตัว
เมื่อเขากลับไปเยี่ยมนานอินอีกครั้ง อาจารย์เฒ่าก็ยิ้ม ทั้งสองต่างเข้าใจกันโดยไร้คำพูด
......................................................
ความว่างของโจสุ
ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ถามอาจารย์เซนโจสุว่า “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?” โจสุตอบว่า “มิว” (ว่าง)

17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:14 น.

(https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/f3/05/0c/f3050c9570c75420ef67fb06f0b19802.jpg)

ประตูที่ไร้ประตู
อู๋เหมินฮุ่ยคาย (มูมอนเอไก หรือมูมอนในภาษาญี่ปุ่น) เป็นนามของอาจารย์เซนชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ช่วง ค.ศ. 1183-1260 เกิดที่เมืองหางโจว ศึกษากับอาจารย์หลายท่าน อาจารย์ท่านหนึ่งนาม เยียะหลินซือก่วน (ชื่อแปลตรงตัวว่า อาจารย์จันทร์ไพร) ให้อู๋เหมินศึกษาโกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว (เส้าโจวเป็นชื่ออาจารย์เซน ค.ศ. 778-897 ญี่ปุ่นเรียก โจสุ) หมาของเส้าโจว เป็นโกอานสั้นๆ เนื้อความว่า:

พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เส้าโจว “หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”
อาจารย์เส้าโจวตอบว่า “อู๋” (ไม่มี)
หากโกอานอ่านได้ง่ายๆ อย่างนี้ ก็ย่อมไม่ใช่โกอาน!
อู๋เหมินขบคิดเรื่องนี้เนิ่น ผ่านไปเพียงหกปี เสียงนาฬิกาปลุกก็ดัง ท่านเข้าใจทะลุ และเขียนกวีบทนี้

“ฟ้าผ่าฟาดใต้ฟ้าสีน้ำเงินสดใส
สรรพชีวิตบนโลกเบิกตากว้าง
ทุกสิ่งใต้สวรรค์รวมเข้ากัน
เขาพระสุเมรุลุกขึ้นและเต้นรำ”

อู๋เหมินเดินทางจากวัดหนึ่งไปอีกวัดหนึ่ง สวมจีวรขาดเก่าคร่ำคร่า ไว้หนวดเครายาว และทำงานเยี่ยงชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็รวบรวมและวิจารณ์โกอาน 48 บท เป็นหนังสือชื่อ อู๋เหมินกวน แปลว่า ประตูที่ไร้ประตู (อู๋เหมิน แปลว่า ไร้ประตู กวน แปลว่า ปิด ภาษาญี่ปุ่นเรียก มูมอนกาน ภาษาอังกฤษว่า The Gateless Gate)
อู๋เหมินกวนตั้งคำถาม-สำรวจสภาวะและกระบวนการทางความคิดและจิตของตนเอง ในเรื่องของสองขั้วสุดโต่ง เฉกเช่นประตูที่กีดขวางการรู้แจ้ง ศิษย์เซนจะต้องก้าวข้าม ‘ประตู’ นี้ไปโดยการเฝ้าสังเกตของอาจารย์
อู๋เหมินกล่าวว่า การเข้าใจเซนก็คือการปลุกความสงสัยในร่างทั้งวันทั้งคืน ไม่หยุดหย่อน และปิดล้อมทางหนีทุกทางของศิษย์เซนด้วย ‘ประตูที่ไร้ประตู’
ย้อนกลับมาที่โกอานเรื่อง หมาของเส้าโจว
“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่?”

อู๋เหมินเขียนบทขยายโกอานบทนี้ว่า:
การรู้แจ้งเซนนั้นจำต้องก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก การรู้แจ้งมักเกิดหลังจากที่ทางคิดทุกสายถูกขวางกั้น ถ้าเจ้าไม่สามารถก้าวพ้นกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก หรือหนทางคิดทุกสายของท่านไม่ถูกขวางกั้นทุกสิ่งที่เจ้าคิดและทำเป็นเช่น ปีศาจที่ลอยล่อง เจ้าอาจอยากถาม แล้วอะไรเล่าคือกำแพงแห่งพระสังฆปรินายก คำว่า ‘อู๋’ (ไม่มี) นี้ก็คือคำตอบ
นี่คือสิ่งกีดขวางของเซน ถ้าเจ้าข้ามไปได้ เจ้าจะได้พบท่านเส้าโจวต่อหน้าต่อตา เจ้าจะเดินเคียงคู่กับพระสังฆปรินายกทั้งหลาย นี่มิใช่สิ่งที่ควรกระทำหรือ?

ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้ เจ้าต้องทำงานอย่างหนักหน่วง ทั้งวันและคืนกระดูกทุกท่อน ผิวหนังทุกรูขุมขนของเจ้าต้องบรรจุด้วยคำถามว่า “อะไรคือ อู๋” จงอย่าเชื่อว่ามันคือสัญลักษณ์ของด้านลบและไร้ความหมาย มันไม่ใช่ความไม่มีที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับความมี ถ้าเจ้าต้องการข้ามพ้นสิ่งกีดขวางนี้จริงๆ เจ้าต้องรู้สึกเช่นดื่มลูกเหล็กร้อน มิอาจกลืนเข้าและคายออก แลความไม่รู้ที่ติดตัวมากับเจ้าจะหายไปเช่นผลไม้ที่สุกในฤดูกาลของมัน อัตวิสัยและภววิสัยจะรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยธรรมชาติ นี่ก็เป็นเช่นคนโง่เขลาที่ฝัน รู้แต่มิอาจเล่าความฝันนั้น

เมื่อเขาย่างเข้าสู่สถานะนี้ เปลือกแห่งอัตตาของเขาจะถูกกระเทาะออก เขาจะสามารถเขย่าสวรรค์และเคลื่อนย้ายโลก เป็นเช่นนักรบยิ่งใหญ่ที่มีดาบคมกริบ หากองค์พุทธะขวางทางเขา เขาจะ ‘โค่น’ พุทธะลง หากพระสังฆปรินายกเป็นอุปสรรคขวางทาง เขาก็จะ ‘ฆ่า’ พระเสีย เขาจะเป็นอิสระจากการเกิดและการตาย เขาสามารถโลดแล่นไปโลกใดก็ได้เหมือนว่ามันเป็นสนามเด็กเล่นของเขา ข้าฯจะบอกเจ้าว่าจะทำอย่างไรด้วยโกอานบทนี้
จงรวมพลังงานทั้งมวลเข้ากับคำว่า ‘อู๋’ อย่าให้สะดุด เมื่อเจ้าเข้าสู่อู๋และไม่สะดุด การรู้แจ้งของเจ้าจะเหมือนเทียนไขที่จุดขึ้นส่องสว่างทั้งจักรวาล

“หมามีธรรมชาติแห่งพุทธะหรือไม่
นี่เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด
ถ้าเจ้าตอบว่าใช่หรือไม่ใช่
เจ้าก็สูญเสียธรรมชาติแห่งพุทธะของตัวเจ้าเอง”

– วินทร์ เลียววาริณ,
11 กรกฎาคม 2551
___________________
ที่มา :http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=1868.0
>>> พระพุทธศาสนา นิกายเซ็น - Zen
17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 21:14 น.