ใต้ร่มธรรม
ประชาสัมพันธ์ => 108 โทรโข่ง => ประชาสัมพันธ์ทางโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ เมษายน 10, 2012, 08:16:23 pm
-
กาชาด ขอรับบริจาคเลือด รับมือสงกรานต์!
(http://hilightad.kapook.com/img_cms2/user/jumjim/Blooddonation.jpg)
กาชาด ขอเลือด รับมือสงกรานต์! (ไทยโพสต์)
สภากาชาดไทยเพิ่มยอดรับบริจาคเลือดรับมือเทศกาลสงกรานต์ หวั่นขาดโลหิตช่วยกรณีฉุกเฉินจากอุบัติเหตุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ชี้เหตุวันหยุดยาวคนกลับต่างจังหวัด ทำยอดบริจาคลดลง พร้อมจัดกิจกรรมแล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ แจกเสื้อยืดให้ผู้บริจาค ตั้งเป้าจัดหาเพิ่มขึ้น 500 ยูนิต
เมื่อวันที่ 9 เมษายน พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนโลหิตเนื่องจากมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ประชาชนในกรุงเทพฯ จะเดินทางออกไปยังต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้บริจาคโลหิตลดลง ขณะนี้ได้จัดโครงการแล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจด้วยการให้โลหิต ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 16 เมษายน ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ โดยจัดทำเสื้อยืดที่ระลึกพิมพ์ข้อความว่า "ทุกคนเป็นฮีโร่ได้ด้วยการบริจาคโลหิต" เพื่อแจกผู้บริจาคทุกคน
พญ.สร้อยสอางค์ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคการเรียน จึงไม่มีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ตามสถานศึกษาต่างๆ ทำให้ยอดรับบริจาคหายไปถึง 30% ต้องรณรงค์ให้นักเรียนนักศึกษาเดินทางมาบริจาคถึงที่ศูนย์บริการโลหิตฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอและกังวลว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีคนมาบริจาคน้อย จึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญบริจาคโลหิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อ เตรียมพร้อมสำรองโลหิตให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งทุกปีช่วงเทศกาลสงกรานต์จะเกิดอุบัติเหตุและมีความต้องการใช้โลหิตเป็นจำนวนมาก
"ในแต่ละวันศูนย์บริการโลหิตฯ ต้องเตรียมพร้อมสำรองโลหิตในคลังเลือดไม่ต่ำกว่าวันละ 3,000-4,500 ยูนิต โดยจะต้องจัดหาโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายคือ วันละ 1,500 ยูนิต แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นอีก 500 ยูนิต เป็นวันละ 2,000 ยูนิต เพื่อแจกจ่ายโลหิตให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ 60% และส่งไปยังต่างจังหวัดอีก 40% และคาดว่าจะต้องส่งต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางในเทศกาลสงกรานต์" ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯ กล่าว
สำหรับโลหิตที่จัดหาได้ในแต่ละวันนั้นจะจัดส่งให้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยปริมาณความต้องการโลหิตร้อยละ 23 เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ต้องรักษาด้วยการได้รับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกร้อยละ 77 เป็นผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคมะเร็ง ผ่าตัด คลอดบุตร รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งหากมีโลหิตสำรองที่เพียงพอก็จะสามารถช่วยเหลือชีวิตได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ สถานการณ์ของโลหิตหมู่พิเศษ หรือ Rh negative ในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง เพราะมีปริมาณการบริจาคเลือดต่ำกว่าความต้องการหลายเท่าตัว ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง จากข้อมูลสำรวจทั่วโลกพบว่า คนยุโรปมีโลหิตหมู่พิเศษ หรือ Rh- ประมาณ 16-35% คนแอฟริกันเป็น Rh- ประมาณ 7% ส่วนคนเอเชียมีกรุ๊ปเลือด Rh- ไม่ถึง 1% คนไทยนั้นยิ่งพบน้อยมากเพียง 0.3% อธิบายง่ายๆ ว่า ใน 1,000 คนจะพบเพียง 3 คนที่เป็น Rh- ส่วนคนไทยอีก 99.7% เป็น Rh+ เมื่อผู้ป่วยที่มีโลหิตหมู่พิเศษต้องการใช้โลหิตจำนวนมากเพื่อช่วยรักษา พยาบาล จึงมักประสบปัญหาเรื่องการจัดหาเลือดที่ไม่เพียงพอและไม่ทันเวลาต่อความต้อง การ ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้บริจาคเลือด Rh- ในประเทศไทยอยู่เพียงกว่า 5,000 คน และมีผู้บริจาคใหม่ไม่ถึงปีละ 400 คน ทำให้ในคลังของศูนย์บริการ โลหิตฯ ยังขาดแคลนเลือด Rh- อย่างมาก จึงรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปบริจาคเลือดเพื่อจะได้รับบริการตรวจหาหมู่เลือดอย่างถูกต้องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/100412/55239-
-http://health.kapook.com/view39429.html-
.
-
เรื่องควรรู้ก่อน...บริจาคโลหิต
เลือด...ยังเป็นที่ต้องการเสมอ เพราะว่ามักมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดฝัน หรือมีความจำเป็นในการให้เลือดผู้ที่กำลังเจ็บป่วยอยู่เสมอ
การบริจาคโลหิตนอกจากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว ยังช่วยให้เราตรวจเช็กสภาพร่างกายของตัวเราเป็นระยะ ๆ เช่นกัน
แต่ก่อนจะไปบริจาคเลือดก็ต้องเตรียมตัว เช่นกัน
โดยโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียลได้ให้คำแนะนำว่า
คุณต้องนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
คุณ ต้องดูว่าในช่วง 3 วันก่อนการบริจาคเลือดได้รับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็ไม่มีคุณภาพ หรือไปถอนฟันเหงือกอาจอักเสบมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดก็ไม่ควรบริจาคเลือด
ต้องดูว่ามีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ ผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้
มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด
มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือคนในครอบครัวเป็นก็ต้องมีผลตรวจแน่นอนแล้วว่าปลอดเชื้อ
สำหรับ ผู้ที่ควรงดบริจาคเลือด อาทิ เป็นโรคหัวใจทุกชนิด โรคไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเรื้อรังอื่น ๆ โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ โรคไตชนิดเรื้อรัง วัณโรค โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV
รวมทั้งได้ รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด
ฉะนั้น ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สภากาชาดก่อนบริจาคเลือดเพื่อดูช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การบริจาค อาทิ ผู้ที่เคยได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา เข้าพื้นที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาลาเรียในระยะ 3 ปี คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ เจาะหู สัก ฝังเข็ม ผู้ที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือนไม่ควรบริจาคเลือด
การบริจาคเลือดนั้นดีแน่...แต่ก็ต้องเตรียมสภาพร่างกายของเราให้พร้อมเหมือนกัน
(http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1289453407&grpid=07&catid=no§ionid=0225)
-
:06: พอพูดถึงบริจาคเลือดแล้วเสียวๆเลบครับ แต่การให้ชีวิตต่อชีวิตด้วยเลือดของเรา เป็นการทานที่ยิ่งใหญ่เหมือนกันนะครับ อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม