ผู้เสียภาษีเฮ ! กรมสรรพากร ยันชัด อัตราภาษีเงินได้แบบใหม่ ใช้ทันปีนี้
-http://money.kapook.com/view78282.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กรมสรรพากร ยืนยัน พระราชกฤษฎีกาปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีผลบังคับใช้ปีนี้ โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีได้ในต้นปีหน้า
จากกรณีที่มีข้อสงสัยว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใหม่ ที่จะปรับลดจาก 10-37% เหลือ 5-35% นั้น จะสามารถนำมาใช้ทันในปี 2556 หรือไม่นั้น ล่าสุด กรมสรรพากรยืนยันแล้วว่า พ.ร.ฎ. ปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีผลบังคับใช้ในปีนี้
โดยวันนี้ (13 ธันวาคม 2556) นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงกรณีที่เกิดข้อสงสัยว่าการลดภาษีบุคคลธรรมดานั้นจะทันรายได้ปี 2556 หรือไม่ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว และคาดว่าจะสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2556 เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีได้ในต้นปี 2557 โดยผู้มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน ไม่ต้องเสียภาษี
นายสุทธิชัย กล่าวต่อว่า หลังยุบสภาฯ ทำให้กฎหมายภาษีตกไปกว่า 10 ฉบับ ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารจึงจะเสนอเข้ามาใหม่ และปัญหาการชุมนุมทางการเมือง ทำให้การบริโภคและการท่องเที่ยวชะลอตัวลงไปมาก ทำให้ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง แต่ภาพรวมเป้าหมายจัดเก็บภาษีไว้ในกรอบ 1.89 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่คำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 37 เหลือ 35 ทำให้เสียภาษีลดลงร้อยละ 5-50
(http://img.kapook.com/u/thitima/home/BZbH1EDCcAAJ7Lg.jpg)
ตารางเปรียบเทียบภาษีที่เสียแบบเดิม กับ ภาษีที่เสียแบบใหม่ (ข้อมูลจาก @Teerat Ratanasevi)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20131213/549581/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5!%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html-
รายจ่าย ลงทุนอะไร ที่หักภาษีได้บ้าง?
-http://money.sanook.com/224113/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเศษก็จะหมดปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ลูกจ้าง ก็คงฝันหวานถึงวันหยุดยาว เงินโบนัส(หากมี)และโอกาสใช้จ่ายเงินกับช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีและรับปีใหม่กันแล้ว
แต่หลังจากนั้น มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ทั้งหลาย ต้องไม่ลืมว่า จะต้องเตรียมยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย ซึ่งตามปรกติ กรมสรรพากรจะกำหนดให้ยื่นแบบตั้งแต่ต้นปี คือวันที่1 มกราคม จนไปถึงสิ้นเดือน มีนาคมของทุกปี
ทั้งนี้คนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของปี หากใครจะลงทุนหรือบริหารการเงินอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด วันนี้ sanook money จะรวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนอะไรที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้บ้าง รับรองว่าหลายคนจะได้รับเงินภาษีคืนอย่างแน่นอน.....
(http://p1.s1sf.com/mn/0/ud/44/224113/mon16106.jpg)
เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว
กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30,000 บาท
กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท
และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท
นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย
และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท
การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ
หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน
การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต
กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุนประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว
ประกันฯ โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน100,000 บาทเช่นกัน
หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น
การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน
จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
คลินิกกองทุนรวม : เช็กผลการดำเนินงานกองทุน LTF-RMF ได้ที่นี่
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000145873-
คอลัมน์ “คลินิกกองทุนรวม” ในสัปดาห์นี้หยิบผลการดำเนินงานของกองทุนที่น่าสนใจจากงาน “มหกรรมมีใช้ตอนแก่ด้วย LTF-RMF” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักลงทุน ... อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ทุกครั้งก่อนที่ตัดสินใจลงทุนนักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อนทุกครั้ง และทีมงานขอยก "5 อย่างที่ไม่ควรทำกับการเลือก LTF & RMF" บทความดีๆ จาก บลจ.กรุงศรีมานำเสนออีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่กำลังตัดสินใจซื้อกองทุน LTF-RMF ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีนี้...
ส่วนท่านผู้อ่านท่านใดมีคำถามก็สามารถส่งคำถามมาได้ที่ mgrfund@gmail.com ทางทีมงานจะทยอยตอบคำถามให้ ขอบคุณทุกท่านที่ส่งคำถามเข้ามาคะ
1. อย่ามองแค่ผลตอบแทนระยะสั้น :วัตถุประสงค์ของการลงทุนในกองทุน LTF-RMF มี 2 ข้อ คือ ประหยัดภาษี และเน้นการลงทุนในระยะยาว น่าเสียดายตรงที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองเรื่องของภาษีเป็นหลัก และมองผลตอบแทนในระยะยาวเป็นเรื่องรอง โดยให้ความสนใจแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ ว่า 3 เดือนที่แล้ว 6 เดือนที่ผ่านมา หรือไกลสุดย้อนไปดู 1 ปีก่อนหน้าว่าแต่ละกองทุนได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร กองทุนใดสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด แต่กลับลืมไปว่าระยะเวลาการถือครองกองทุน LTF อย่างน้อยๆ คือ 3 ปีปฏิทิน
สำหรับกองทุน RMF นั้นมีระยะเวลาการถือครองยาวนานกว่า โดยผู้ลงทุนจะขายหน่วยลงทุนก็ตอนเกษียณอายุ และการถือครองต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสรรพากร ดังนั้น อย่าดูแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ
2. อย่าซื้อเพราะโปรโมชันแรง!! : กองทุนรวมไม่ใช่การชอปปิ้ง ใครลดแหลก ทั้งแจกทั้งแถมเยอะสุด แปลว่ากองทุนนั้นน่าลงทุนที่สุด ถ้าคิดแบบนี้ ถือว่า “คิดผิด” โปรโมชันล่อใจในระยะสั้นอาจทำให้คุณต้องติดกับดักกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนไม่เหมาะสมกับตัวคุณเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนมีมูลค่าน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ แถมของโปรโมชันที่ได้รับแจกตั้งแต่ตอนลงทุนก็อาจใช้ไม่คุ้ม หรือวางทิ้งในบ้านจนลืมไปเลยก็มี อาจมีนักลงทุนบางท่านแย้งว่า “ก็ไม่รู้นี่” ว่ากองทุนใดจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ก็เลยเลือกของที่ดูชัวร์ที่สุด นั่นก็คือ ของแถม” ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษานโยบายการลงทุน ระดับความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ซึ่งมีความแตกต่างกัน และควรศึกษาคู่มือภาษีให้เข้าใจก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บลจ. หรือธนาคารที่เป็นตัวแทนขายกองทุน
3. อย่าคิดว่า LTF & RMF กองไหนๆ ก็เหมือนกัน: ถึงแม้จะเป็นกองทุนที่ได้ชื่อว่า LTF-RMF เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานก็แตกต่างกันในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น กองทุน LTF บางกองมีนโยบายกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารหนี้บางส่วน ในขณะที่บางกองทุนเลือกลงทุนในหุ้นทั้งหมด 100%เต็ม หรือกองทุน RMF ก็มีตัวเลือกทั้งนโยบายที่ลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในทองคำ หรือกระทั่งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะของกองทุนที่แตกต่างกัน หากผู้ลงทุนเลือกลงทุนเพราะคิดว่าเป็นกองทุน RMF เหมือนกันนักลงทุนก็อาจได้ผลตอบแทนไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง แล้วมานั่งเสียใจเมื่อขายคืนหน่วยลงทุนยามเกษียณ
4. อย่าคิดว่าลงทุนใน LTF - RMF ไปแล้วจะสับเปลี่ยนไม่ได้: จริงๆ แล้วหากเราพบว่ากองทุน LTF- RMF ที่เลือกลงทุนไว้มีนโยบายการลงทุนหรือระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมาะกับตนเองเราสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนอื่นภายใต้กองทุนประเภทเดียวกันได้ เช่น การสับเปลี่ยน LTF กองเดิมไปยัง LTF อีกกองหนึ่ง หรือการสับเปลี่ยนกองทุน RMF ไปยังกองทุน RMF ด้วยกัน แต่เราไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน RMF หรือกองทุนรวมทั่วไปได้
5. อย่าเข้าใจผิดว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถโอนย้าย บลจ.ได้:มีผู้ลงทุนหลายท่านเข้าใจผิดว่าถ้าลงทุนในกองทุน LTF RMF กับ บลจ.ใดแล้วจะต้องถือครองไว้จนครบกำหนดตามเงื่อนไขของสรรพากร ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถโอนย้ายกองทุน LTF -RMF จาก บลจ.เดิมไปยัง บลจ.อื่นได้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนย้ายที่ บลจ.ต้นทางจะเรียกเก็บ โดย บลจ.แต่ละแห่งจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การโอนย้าย LTF-RMF ข้าม บลจ.ก็จะต้องโอนย้ายกองทุนไปยังกองทุนประเภทเดียวกัน เช่น LTF โอนย้ายไป LTF หรือ RMF โอนย้ายไป RMF ด้วยกัน
คาถาพารวยด้วยแก้ว 3 ประการสำหรับมนุษย์เงินเดือน
-http://money.sanook.com/350671/-
-http://money.sanook.com/350671/-
สนับสนุนเนื้อหา
Tar Kawin AomMoney Guru
IDOL DCA ให้ความรู้การลงทุนด้วยภาษาง่ายๆ
เขียนบทความนี้กันต้นปีเลยแล้วกันนะครับ พอดีเห็นช่วงนี้มีคนชอบแชร์์เรื่องเกี่ยวกับ ดวงชะตาของราศีไหนจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็มีคนแซวไว้อยู่เหมือนกันว่าต้องเป็นราศีที่ทำมาหากิน ฮาๆ พอเห็นคนชอบดวง สูตรลับ ผมเองก็เลยอยากจะมอบคาถาพารวยในแบบฉบับของผมบ้างนะครับ จะได้ร่ำรวยกันตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
คาถาพารวยของผมก็ง่ายๆเลย เพียงแค่เราท่องว่า
“เพิ่มตัง จ่ายยั้ง ออมจัง”
มาดูความหมายของแต่ละคำกันเลยดีกว่า
เพิ่มตัง = เพิ่มรายได้
วิธีการเพิ่มตังสำหรับมนุษย์เงินเดือนนั้นก็มีหลายวิธีนะครับ อย่างแรกสุดเลยก็คือ การได้ขึ้นเงินเดือนจากที่ทำงาน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว ก็ตั้งใจทำงาน สร้างสรรค์ผลงานให้กับเจ้านายเห็น รับรองว่าถ้าเจ้านายไม่ขึ้นเงินเดือนให้ แต่ผลงานเราเตะตาเจ้านายในบริษัทอื่น รับรองว่าคุณจะเกิดการถูกแย่งตัวกันเลยทีเดียวนะครับ บางทีก็จะมี Head Hunter โทรมาคุยเลยว่า อยากได้เงินเดือนเท่าไหร่ ไปลองสัมภาษณ์กับที่นั่นที่นี่ไหม?
วิธีการที่ผมเคยทำก็คือเราต้องทำให้คนรู้จักเรามากให้มากขึ้น โดยเฉพาะทางสื่อ Online เช่น Facebook, LinkedIn, ฺBlog ทำ Profile ความเชี่ยวชาญของเราและคอยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราถนัด พอข้อมูลข้อเราไปเตะตาใครที่เขาต้องการอยู่ เขาจะติดตามเราพร้อมสืบประวัติและอ่านข้อมูลเรา เพื่อนำไปพิจารณาการ Offer งานใหม่ๆครับ
หรือถ้าหากใครมีความคิดดีๆในการสร้างธุรกิจของตัวเองหลังเลิกงาน หรือในวันเสาร์-อาทิตย์ ก็เป็นเรื่องที่ไม่เลวเลยนะครับ บางคนชอบขายของ Online สมัยก่อนผมเลยทำพวกงาน ล่ามภาษาอังกฤษ สอนพิเศษเด็กๆ วันหนึ่งๆได้เงินมาเพิ่ม 2,000 – 3,000 บาทเลย ทำไปทำงานรายได้ส่วนนี้พอๆกับงานประจำเลย (เรียกได้ว่าทำแบบจนลืมนัดกับแฟนกันทีเดียว)
จ่ายยั้ง = คิดและวางแผนก่อนใช้เงิน
ถ้าวิธีการแรกรู้สึกลำบ๊ากลำบากในการหาเงินเพิ่ม ลองมาประหยัดกันแทนดูไหมครับ ผมเคยอ่านคำพูดของเบนจามิน แฟรงคลิน (คนที่คิดสายล่อฟ้านั่นแหล่ะครับ) พูดถึงเรื่องการออมเงินว่า ถ้าเราประหยัด 1 เพนนี ก็จะมีเงินเพิ่ม 1 เพนนี นะเธอว์!!! ซึ่งมันก็เป็นจริงนะครับ การประหยัดตังบางทีมันง่ายกว่าการหาตังซะอีก
ถามว่าประหยัดอย่างไร วิธีง่ายๆเลยก็คือลองสำรวจตัวเองว่าวันๆใช้จ่ายอะไรบ้าง ลองทำบันทึกรายรับรายจ่ายไว้ก็ได่นะครับ แล้วพอเราไล่เรียงออกมาแล้วเราจะเห็น รายจ่ายอยู่ 2 แบบที่มันน่าหมั่นไส้จริงๆ
รายจ่ายที่ไร้สาระในชีวิตที่ตัดค่าใช้จ่ายได้: คือผมเข้าใจนะครับว่าคนเราต้องใช้เงินไปกับความสุข แต่ถ้าเรามีความสุขจนเป็นหนี้ อันนี้จะกลายเป็นความทุกข์ได้ ลองดูนะครับว่ารายจ่ายไร้สาระมันเกิดขึ้นในตัวเราบ้างหรือเปล่า อย่างตัวผมเองมีอยู่ช่วงๆหนึ่งเคยบ้ากินไอติมทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น หมดค่าไอติมไปเยอะมาก แถมอ้วนอีกต่างหาก เลยใช้วิธี กินอันที่มันถูกลง กับ กินให้มันถี่น้อยลงเป็น 3 วันครั้ง
รายจ่ายที่จำเป็นแต่เราหาวิธีประหยัดได้: เชื่อไหมว่าบางครั้งรายจ่ายที่จำเป็นก็ประหยัดได้นะ เพียงแค่เราหาวิถีประหยัดมันให้เจอ เมื่อก่อนผมเคยต้องนั่งรถเมล์ไปสถานี BTS และจ่ายค่า BTS ไปทำงาน แต่อยู่ๆผมก็เจอวิธีที่ประหยัดได้มากกว่าเดิม คือแถวๆบ้านผมจะมีคนไปที่ทำงานด้วยกัน 4-5 คน ก็เลยหารค่ารถไปด้วยกัน นัดกันมาเจอแล้วโบกแทคซี่ไปด้วยกัน ถึงเร็วกว่าเดิมค่ารถต่อคนถูกกว่าเดิมด้วยครับ พวกนี้มันขึ้นอยู่กับการวางแผนนะ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นใครว่ามันจะลดไม่ได้ล่ะ!!
ออมจัง = ออมเงินเยอะๆและหาทางต่อยอดเงินออม
แน่นอนครับว่า เงินออมนั้นมาจากความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและรายจ่าย หากเรามีรายรับเยอะกว่ารายจ่ายเมื่อไหร่ เงินออมย่อมเกิดขึ้นแน่ๆ แต่ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็อาจจะเซ็งกับดอกเบี้ยเงินฝาก ใช่ไหมครับ ออมอย่างเดียวสมัยนี้มันอาจจะไม่ได้สร้างความมั่งคั่งมากเท่ากับสมัยก่อน การเปลี่ยนเงินออมไปเป็นเงินที่ป้องกันความเสี่ยงและการลงทุนก็เป็นสิ่งที่สามารถทำเพิ่มได้
การป้องกันความเสี่ยงเป็นเบื้องต้นเลยที่เราน่าจะทำนะ เช่น การซื้อประกันไว้ เพราะถ้าเราเก็บเงินออมไปเรื่อยๆ แต่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ต้องจ่ายเงินทีเป็นหมื่นเป็นแสน บางทีกลายเป็นความมั่งคั่งหายไป การทำประกันให้ครอบคลุมความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับ
นอกจากนี้แล้วเราก็ควรจัดพอร์ตการลงทุนเพิ่มเติมตามความเสี่ยงของเรา ด้วยการนำเงินออมไปลงทุนใน หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ฯลฯ เพื่อให้เงินงอกเงยมากกว่าเดิม แต่การลงทุนมีความเสี่ยงเหมือนกันนะ หุ้นมีขึ้นก็มีลง ลงทุนไปก็อาจจะขาดทุนได้ การศึกษาและบริหารความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะหนีไม่ได้ เมื่อเราสร้างเงินออมให้งอกเงยแล้วก็จะรวยขึ้นได้มากเช่นกันครับ
เพิ่มรายได้ – ลดรายจ่ายไม่จำเป็น – ต่อยอดผลตอบแทนเงินออม
ลองนำไปปรับใช้ในชีวิตของเราดูนะครับว่าจะต้องทำอย่างไร และก็ขอให้ทุกคนร่ำรวยๆ นะครับ
ขอบคุณบทความดีๆจาก -www.aommoney.com-
มีน้องท่านนึงที่สนิทกันมาก จะซื้อบ้าน โทร.มาหาผมและสอบถามในเรื่องของโปรโมชั่นต่างๆของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ผมเองได้ให้คำแนะนำไปบางส่วนแล้ว ผมเห็นว่า ผมน่าจะนำเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้ทราบกัน แต่ผมว่ามีหลายๆท่านที่ทราบในเรื่องนี้แล้ว และมีบางท่านที่ไม่ทราบในเรื่องเหล่านี้
ผมจึงมาแนะนำเบื้องต้น เรื่องของการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ ว่ามีวิธีคิดอย่างไร
เรื่องแรก การคำนวนว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ใน 3 ปีแรก หรือในทุกๆ 3 ปี ว่ามีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ยระหว่างธนาคารหลายๆแห่ง
ผมยกตัวอย่างเพื่อการอธิบายครับ
ธนาคาร A มีโปรโมชั่น ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร A อัตรา MRR เท่ากับ 7.120%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ปีแรก = 3.00%
ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.00%
วิธีคำนวนดอกเบี้ย
ปีแรก 3.00%ต่อปี ให้นำ 3 คูณ 12(เดือน) ได้ผลลัพย์คือ 36
ปีที่สอง และ ปีที่ 3 MRR-2.00% ให้นำ MRR(คือ 7.120 – 2.00 ที่นำ 2 มาลบ จากโปรโมชั่น) ได้เท่ากับ 5.120 แล้วให้นำ 5.120 คูณ 24 (เดือน ทำไมต้องนำ 24 มาคูณ เนื่องจาก 1 ปี มี 12 เดือน แต่ในโปรโมชั่น 2 ปีถัดมา จะมีจำนวนเดือนคือ 24 เดือน) ได้ผลลัพย์ 122.88
แล้วนำผลลัพย์ทั้งสองยอด(คือ 36 และ 122.88) มาบวกกัน 36+122.88 จะได้ผลลัพย์เท่ากับ 158.88 เมื่อได้ผลลัพย์ 158.88 แล้วให้นำผลลัพย์นี้ มาหารด้วยจำนวนเดือนของ 3 ปี(36 เดือน) 158.88 หาร 36 จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.413%
ธนาคาร B มีโปรโมชั่น ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร B อัตรา MLR เท่ากับ 6.250%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เดือนที่ 1 – 6 (6 เดือนแรก) = 0.00% เดือนที่ 7 – 12 (6เดือนต่อมา) = MLR -1.00%
ปีที่ 2 MLR -0.50
ปีที่ 3 = MLR-0.75%
วิธีคำนวนดอกเบี้ย
เดือนที่ 1-6 (6 เดือนแรก ในปีแรก) ให้นำ 0.00 คูณ 6 (เดือน) ได้ผลลัพย์ 0.00
เดือนที่ 7-12 (6 เดือนหลัง ในปีแรก) ให้นำ 6.250-1.00 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.250 แล้วนำมาคูณ 6 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 31.50
ปีที่ 2 ให้นำ 6.250 -0.50 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.750 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 69.000
ปีที่ 3 ให้นำ 6.250 – 0.75 ( 6.250 คืออัตราดอกเบี้ย MLR) จะได้อัตราดอกเบี้ย 5.500 แล้วนำมาคูณ 12 (เดือน) จะได้ผลลัพย์ 66.000
ให้นำผลลัพย์ทั้ง 4 ยอด มาบวกกัน ( 0.00 + 31.50 + 69.00 + 66.00 ) จะได้เท่ากับ 166.50 แล้วนำ 166.50 หารด้วย 36 (เดือน เนื่องจาก ระยะเวลา 3 ปี จะเท่ากับ 36 เดือน) จะได้ผลลัพย์สุทธิที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็คือ 4.625
ดังนั้น เมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยระหว่าง ธนาคาร A กับ ธนาคาร B จะเห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยใน 3 ปี ของธนาคาร A จะถูกกว่า ธนาคาร B
ผมจะให้มองอีก 3 ประเด็น
ประเด็นแรก ธนาคาร B เสนออัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 0.00% (ไม่คิดดอกเบี้ย) แต่ธนาคาร A เสนออัตราดอกเบี้ยใน 1 ปีแรก 3.00% นั้นเป็นวิธีการคำนวนของแต่ละธนาคารว่า จะทำให้ลูกค้าเตะตาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย คนส่วนใหญ่จะชอบมี 0% แต่หารู้ไม่ว่า ในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ทางธนาคารได้บวกในส่วนเพิ่มที่ธนาคารจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าธนาคารที่คิดดอกเบี้ยในปีแรก *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****
ประเด็นที่สอง การคิดประเภทอัตราดอกเบี้ย เป็น MLR หรือ MRR นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร ว่าจะคิดประเภทอัตราดอกเบี้ยในแบบไหน แต่ก็อีกนั่นแหละครับ *****แต่ผมจะบอกว่า หากเรารู้วิธีการคำนวนแล้ว เราจะไม่หลงกลในเรื่องนี้*****
ประเด็นที่สาม หากเราสามารถลดดอกเบี้ยได้ เราจะประหยัดเงินของเราได้ และจะทำให้เราสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ครบกำหนดเร็วขึ้น ผมยกตัวอย่างให้เห็น
ภาระหนี้ 2,768,501.69 บาท หากเราได้ลดดอกเบี้ย 0.50% (ได้ลดไป 50 สตางค์) เราจะลดการจ่ายดอกเบี้ยต่อเดือน(สมมุติว่า 1 เดือนมี 30วัน) ไปจำนวน 1,137.74 บาท (คิดจาก 2,768,501.69 คูณ 0.50 หาร 100 เมื่อได้ผลลัพย์จำนวน 13,842.51 แล้วนำ 13,842.51 ไปคูณ 30 (จำนวนวัน) หารด้วย 365 ( 1 ปีมี 365 วัน) จะได้ผลลัพย์สุทธิ 1,137.74 บาท ผลลัพย์นี้ก็คือ ดอกเบี้ยที่เราได้ลด ลดแล้วไปทำอะไร เงินที่ได้นี้ จะไปชำระต้นเงินกู้ ถึงแม้ว่า เราจะจ่ายเงินชำระหนี้ต่อเดือนเท่าเดิม แต่ระยะเวลาจะสั้นลง
เพราะ
1.เมื่อต้นเงินชำระมากขึ้น ทำให้การจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง
2.การชำระต้นเงินได้มากขึ้น ทำให้ระยะเวลาการชำระหนี้น้อยลงด้วยเช่นกัน
เรื่องสุดท้าย ไม่ว่าเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบไหน จะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจในการใช้บริการแต่ละธนาคาร อีกส่วนหนึ่งที่ผมมองก็คือ service (การให้บริการ) ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการก่อนการขาย , การให้บริการระหว่างการขาย และ การให้บริการหลังการขาย ว่า มีการบริการที่ดีและประทับใจลูกค้าหรือไม่ ต่อให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่ากันเล็กน้อย บางครั้ง ลูกค้าอาจจะเลือกผู้ที่ให้บริการที่ดีกว่า ก็เป็นได้
ลูกค้า มีสิทธิในการเลือกใช้บริการของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิตต่างๆ หากเราใช้บริการแล้วทางสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ได้ให้บริการเรา ตามเจตนาที่เราต้องการ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรามีสิทธิที่จะร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เช่น หากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เราสามารถร้องเรียนผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้
มาต่อกันเรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อว่า ในแต่ละเดือน เราสามารถคำนวนในเบื้องต้นในเรื่องของจำนวนดอกเบี้ยได้ เรามาดูกันว่า คิดดอกเบี้ยอย่างไร
ผมยกตัวอย่างดังนี้
นาย โน๊ตตี้ โบ๊ตซัง มีวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินกู้ 5,000,000 บาท(ห้าล้านบาทถ้วน) อัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00%ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบันเท่ากับ 7.120%) อัตราดอกเบี้ย เท่ากับ 6.120%) ระยะเวลาการขอกู้ 30 ปี ( 360 เดือน ) หลังจากนั้น 5 ปีต่อมา มีภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท เราอยากทราบดอกเบี้ยที่จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูวิธีการคำนวนกัน
นำภาระหนี้คงเหลือ 4,556,127.50 บาท คูณกับอัตราดอกเบี้ย 6.120% (4,556,127.50 คูณ 6.120 หาร 100) จะได้ผลลัพย์ คือ 278,835.003 บาท
ให้นำ 278,835.003 หารด้วย 365 (เป็นจำนวนวันใน 1 ปี) (278,835.003 หาร 365) จะได้ผลลัพย์ คือ 763.931 (นี่คือจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน)
ให้นำผลลัพย์จำนวนดอกเบี้ยต่อวัน คือ 763.931 คูณกับจำนวนวัน (โดยปกติ สินเชื่อจะมีการชำระหนี้ทุกวันสิ้นเดือน แต่หากว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด อาจจะมีการชำระในวันทำการถัดไป) ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันทำการ เมื่อรวมจำนวนวันแล้วได้ 30 วัน เราจะนำ 763.931 คูณด้วย 30(วัน) ผลลัพย์ก็คือ 22,917.945 บาท (เป็นดอกเบี้ยของเดือนนั้นๆ) หากเดือนไหนมี 31 วัน เราต้องนำ 31 ไปคูณผลลัพย์ที่เป็นจำนวนดอกเบี้ยต่อวัน
ในบรรทัดนี้ ผมสมมุติว่า วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุด คือ วันเสาร์ เราจะต้องไปชำระในวันจันทร์ เราต้องนับจำนวนวันเพิ่มขึ้นอีก 3 วัน คือ วันศุกร์ , วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่หากวันสิ้นเดือนเป็นวันศุกร์ เราก็ไม่ต้องเพิ่มจำนวนวันดังกล่าว
อีกเรื่องก็คือ การชำระหนี้สินเชื่อในแต่ละเดือน ในวันที่เราชำระหนี้ นั่นหมายถึง เราชำระดอกเบี้ยตั้งแต่ที่เราชำระครั้งที่แล้วจนถึงวันที่เราชำระ แต่ในวันที่เราชำระ ดอกเบี้ยของวันนั้น ในระบบของแต่ละธนาคาร ยังไม่ได้ประมวลผลให้ จึงทำให้ดอกเบี้ยของในวันที่เราชำระหนี้ในเดือนนั้นๆ เราต้องไปชำระในเดือนถัดไป
สรุปเรื่องของการคำนวนจำนวนดอกเบี้ยในแต่ละเดือน
ต้นเงินกู้ (ภาระหนี้ปัจจุบัน) คูณด้วยอัตราดอกเบี้ย หาร 100 แล้วนำไปคูณจำนวนวัน หารด้วย 365 (วัน)
อีกเรื่องที่อยากจะบอกกัน ในกรณีของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หากเราไปขอลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร(การป้องกันRefinanceไปยังสถาบันการเงินอื่น) แล้ว หากเรายังไม่พอใจ เราไปขอลดได้อีก หรือ เราสามารถที่จะแจ้งขอย้ายวงเงินสินเชื่อไปยังสถาบันการเงินอื่นได้ ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย
เกือบลืม ผมมา กระซิบกันเบาๆ ว่า โดยปรกติ กรมธรรมประกันอัคคีภัย ที่เราต้องทำในกรณีที่เราต้องทำในตอนที่เราใช้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีอยู่ข้อนึงที่มักจะไม่ทราบกันก็คือ หากเกิดความเสียหายจากน้ำที่อยู่ภายในบ้าน เช่น ท่อน้ำภายในบ้านแตก หรือเกิดรอยรั่ว ขึ้นทำให้น้ำรั่วออกมาทำความเสียหายให้กับ พื้นบ้าน (เช่นพื้นปาร์เก้) หรือคิ้ว หรือส่วนอื่นๆ (ที่เป็นอุปกรณ์ของบ้าน แต่ไม่ใช่อุปกรณ์ตกแต่งบ้านเพิ่มเติมหรือเฟอร์นิเจอร์) เราสามารถแจ้งเคลมประกันได้ด้วย
ผมขอต่ออีกนิด เรื่องของการเสนอขายประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตที่เป็นรายสามัญ(จ่ายค่าเบี้ยประกันทุกๆปี) หรือ การประกันชีวิตคุ้มครองภาระหนี้ของสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นในชื่อแบบไหน ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก คปภ. เป็น ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต เสมอ ผู้ที่เสนอขายต้องแสดงใบอนุญาตและแจ้งชื่อ นามสกุล และเลขที่ใบอนุญาต ให้ลูกค้าทราบเสมอ
ส่วนเรื่องการเสนอการขายประกันวินาสภัย เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ผู้ที่เสนอขาย ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเช่นกัน เป็นใบอนุญาต ตัวแทนประกันวินาสภัย หรือ นายหน้าประกันวินาสภัย เหมือนกับการเสนอขายประกันชีวิตที่ผมได้อธิบายให้ทราบไปแล้ว
ในส่วนของ บริษัทประกันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือ ประกันวินาสภัย(เช่น ประกันรถยนต์ , ประกันอัคคีภัยต่างๆ เป็นต้น) หากผู้ที่เสนอขาย ไม่ได้ปฎิบัติตามที่ผมแจ้ง หรือ มีปัญหาในเรื่องของการบริการต่างๆ , การเคลมสินไหมต่างๆ เป็นต้น เราสามารถร้องเรียนผ่าน คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้เช่นกัน
ในเจตนาผมที่นำมาลง เพื่อเป็นวิทยาทานให้หลายๆคนที่ไม่ทราบ ได้ทราบกัน ผมยึดถือในเรื่องที่ในหลวงที่เคยสอนประชาชนของท่านว่า พระองค์ท่านให้เบ็ดมาเพื่อตกปลา แต่ไม่ยอมให้ปลา ผมหวังว่า สิ่งที่ผมได้อธิบายไปนี้ มีประโยชน์กับท่านบ้างไม่มากก็น้อย ครับ
ที่มา เกิดผล แก้วเกิด
#ซื้อประกันจากนายหน้า กับ #ตัวแทนประกัน ศาลท่านว่า ไม่เหมือนกัน
เคยมีข่าวกรณีที่มีประชาชน ถูกบริษัทประกันชีวิต ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีเจ็บป่วย โดยอ้างว่า ผู้เอาประกัน ไม่แจ้ง หรือ ปกปิดคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ ว่า เคยมีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว หรือเคยรักษาโรค ในระหว่างทำประกันสุขภาพ
ประมาณว่า ไม่ถงไม่ถามสุขภาพซ๊ากคำ...!!!
ความจริงแล้ว ผู้ทำประกันอาจเคยแจ้งต่อผู้ขาย ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันไปแล้ว...
ส่วนคนขาย จะจดแจ้งตามที่บอกหรือไม่ก็ไม่ทราบ
คดีนี้ โจทก์เป็นผู้ทำประกันสุขภาพ โดยมีจำเลยเป็นบริษัทประกันฯ
หลังโจทก์ทำประกันก็ล้มป่วย จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าประกันสุขภาพให้ โดยอ้างว่า โจทก์ปิดบังเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าเคยเป็นโรคตับอักเสบ
โจทก์ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ปิดบัง และเคยเข้ารับการรักษาตัว ตัวแทนของจำเลย (คนขายประกัน) ก็เคยมาเยี่ยมโจทก์ และทราบดีว่า โจทก์ป่วยเพราะตับอักเสบ
จำเลยต่อสู้ว่า #คนขายประกันให้โจทก์เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต #ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญา และคืนเบี้ยประกันให้โจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าสินไหมทดแทนใดๆ
สู้กันไปถึงศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท
คดีนี้ คนขายประกันไม่ใช่ตัวแทนจำเลยเพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือตั้งตัวแทน จึงมีฐานะเป็นเพียง นายหน้าประกันชีวิต นิติกรรมจึงไม่ผูกพันธ์จำเลย
จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาได้
#หมายเหตุ ผมไม่เห็นพ้องด้วยกับฎีกานี้นะครับ #ชาวบ้านจะรู้อย่างไร #ใครเป็นตัวแทน #ใครเป็นนายหน้า หนังสือมอบอำนาจ ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวแทนกับบริษัท เมื่อบริษัท รับเงินเบี้ยประกันไปแล้ว จนออกกรมธรรม์ให้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ย่อมเข้าใจว่า สัญญาย่อมถูกต้องทั้งหมด
ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทประกันภัยถึงหัวหมอตลอด
ผมนำตัวอย่างบัตรตัวแทน และ บัตรนายหน้ามาให้ดูครับ
ซื้อประกันกับนายหน้า ศาลไม่คุ้มครองนะครับ
ฎีกาที่ 1333/2551
ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของตัวแทนประกันชีวิตว่าหมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ตัวแทนประกันชีวิตอาจทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกันชีวิตผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากจำเลยให้ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของจำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึงเป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนในการทำสัญญาประกันชีวิตของจำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. การที่ ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะทำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจำเลยได้ทราบความจริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าหลังจาก ส. เสียชีวิตจำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานและประวัติเกี่ยวกับสุขภาพของ ส. ทราบผลการตรวจสอบเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2540 ว่า ส. ปกปิดข้อความจริงว่าเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ หากจำเลยทราบความจริงจำเลยจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตกับ ส. โดยโจทก์ไม่นำสืบหักล้าง ดังนั้น การที่ ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จำเลยปฏิเสธไม่ทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น ย่อมทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 จึงเป็นการบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้ว
#ซื้อประกันจากนายหน้า
#ซื้อประกันจากตัวแทนประกัน
ที่มา เกิดผล แก้วเกิด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394241677653601&id=100012033163351 (https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=394241677653601&id=100012033163351)