(http://www.yimtamphan.com/wp-content/uploads/2010/01/chinese-paintings-sl0441.jpg)
(http://www.yimtamphan.com/wp-content/uploads/2008/12/rak-pak.gif) คัมภีร์รากผัก
ผู้แต่ง: หง ยิ่งหมิง
ผู้แปล: วิทยา โสภณดิเรกรัตน์
บทคัดย่อ: อ้ายคำปัน@ยิ้มแต้มฝัน.คอม
…มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมดีใจมากเมื่อรู้ว่ามีการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งหนังสือเล่มนั้นก็คือ “ว่าด้วยรากผัก” หรือ “คัมภีร์รากผัก” นั่นเอง มีหนังสือยอดวรรณกรรมของจีนอยู่ 4 เล่มที่ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของญี่ปุ่น คือ
1. สามก๊ก 2. ซุนวู 3. ไซอิ๋ว 4. คัมภีร์รากผัก
…หนังสือแต่ละเล่มผู้อ่านจะได้รับความรู้แง่คิดในด้านที่ต่างกัน คือ สามก๊กในด้านของการปฏิบัติ, ซุนวูในด้านของกลยุทธ์, ไซอิ๋วในด้านของจินตนาการ และ คัมภีร์รากผักในด้านของปรัชญา …หนังสือเหล่านี้ผมอ่านมาแล้ว 3 เล่ม ยังขาดอีก 1 เล่มคือ ไซอิ๋ว (เพราะเหตุนี้กระมังจิตนาการถึงไม่ค่อยสูง ^^) …แต่หากใครอยากเอาชนะญี่ปุ่นแนะนำให้หามาอ่านให้ครบทั้ง 4 เล่มนะครับ ยอมรับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าจริง ๆ
…ผู้ประพันธ์คัมภีร์รากผักคือ หง ยิ่งหมิง มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการแปลเป็นไทยโดยคุณ วิทยา โสภณดิเรกรัตน์ คัมภีร์รากผักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการบริหารจัดการของญี่ปุ่นถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า “ตำราบริหารธุรกิจ นั้นยังไม่อ่านก็ได้ แต่ ‘คัมภีร์รากผัก’ นั้นไม่อ่านไม่ได้เลย” เหมาเจ๋อตุงเคยกล่าวว่า “คนที่เคี้ยวกินรากผักได้ ย่อมสามารถทำงานอะไรก็ได้”
โบราณท่านว่า “แท้จริงแล้วรากผักมีรสหอมหวาน ลองปล่อยใจดื่มด่ำย่อมได้รสชาติที่แท้จริง” วันนี้เราลองมาทานรากผักกันดูนะครับ
(http://www.yimtamphan.com/wp-content/uploads/2008/12/chinese-painting-bamboo-b4205.jpg)
“รักษาคุณธรรม ไม่พึ่งอำนาจวาสนา”
คนที่เอาแต่พึ่งอำนาจวาสนาสุดท้ายแล้วจะต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
เพราะุเหตุด้วยความเสื่อมแห่งอำนาจวาสนานั่นเอง
“ความฉลาดมากเล่ห์ มิสู้ความสัตย์ซื่อตรง”
คนฉลาดแต่มากด้วยเล่ห์ไม่ยั่งยืน
เกิดเป็นคนควรมีใจสัตย์ซื่อ โอบอ้อมอารี ตรงไปตรงมา
“จิตใจต้องเปิดเผย ปัญญาความสามารถต้องปิดบัง”
ใช้ปัญญาความสามารถอย่างมีสติ มิเช่นนั้นภัยอาจถึงตัว
“ไม่แปดเปื้อนความโสโครก ไม่ยอมใช้เล่ห์เพทุบาย”
ท่ามกลางการใช่เล่ห์เหลี่ยมกลโกง คนที่ยังคงความดีของตัวเองไว้
ไม่ยอมเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมถือว่าเป็นคนที่สูงส่งยิ่ง
“รู้จักฟังคำระคายหู ฝึกตนด้วยเรื่องไม่สบายใจ”
เรื่องไม่สบายใจและคำระคายหู
ถือเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจชั้นดี เพื่อยกระดับคุณธรรมในตัวเราให้สูงขึ้น
“ความสงบสุขสันต์ ธรรมชาติกับมนุษย์หมายปอง”
ทะเลไม่เคยหยุดนิ่ง จิตใจคนเราก็เช่นกันมิอาจไร้ความสุขสบายได้แม้แต่วันเดียว
“รสจืดคือรสแท้ มนุษย์ที่แท้คือคนสามัญ”
คนดีที่แท้นั้น คือคนที่ปฏิบัติตนเยี่ยงคนธรรมดาสามัญ
“ยามว่างอย่าเย็นใจ ยามยุ่งอย่าร้อนใจ”
ยามว่างควรกระตือรือร้นขวนขวาย ยามยุ่งควรหัดรู้จักทำความสงบและปล่อยวาง
“นั่งสมาธิดูใจ ปรากฏทั้งความสว่างและความฟุ้งซ่าน”
นั่งสมาธิส่องดูใจของตัวเอง เพื่อความเข้าใจในสัจธรรมชีวิตและขจัดความฟุ้งซ่าน
“เมื่อสมหวังต้องรู้พอ เมื่อผิดหวังต้องไม่ท้อ”
เมื่อได้รับสมหวังตามที่ต้องการแล้วต้องรู้จักพอ แต่เมื่อเจอกับความผิดหวัง
ก็ไม่ควรเลิกล้มความพยายามง่าย ๆ
(http://www.yimtamphan.com/wp-content/uploads/2008/12/event_4782_image1.jpg)
(http://i.kapook.com/faiiya/11-4-54/chi18.jpg)
ใจสูงมาจากความเรียบง่าย แต่สูญสลายเพราะความฟุ้งเฟ้อ
คนที่ทนกินดื่มอาหารชั้นเลวได้ถือว่ามือจิตใจที่สูงส่ง
แต่คนที่มุ่งแต่อาหารและเครื่องประดับชั้นดีคือคนที่ยอมตกเป็นทาสรับใช้
ของคนอื่นอย่างอัปยศหมดศักดิ์ศรี
จิตโอบอ้อมอารี คุณความดียืนยาว
คนเราควรมีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น และควรสะสมคุณความดี
เอาไว้ให้มาก ๆ เพราะตายแล้วก็ยังมีคนระลึกถึงมิเสื่อมคลาย
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเพียงพอ
แม้ยามมีหรือไม่มีก็ตาม ต้องรู้จักเผื่อแผ่แบ่งปันให้คนอื่นเสมอ
สำเร็จได้เพราะไม่ใฝ่ต่ำ สู่แดนธรรมเพราะลดกิเลส
คนเราหากสามารถละทิ้งจิตใจใฝ่ต่ำได้ก็ถือว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จแล้ว
และหากสามารถลดละความผูกพันที่มีต่อลาภ ยศ สรรเสริญได้
ก็นับได้ว่าได้เข้าสูแดนธรรมอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว
(http://www.yimtamphan.com/wp-content/uploads/2010/01/chinese-art-painting-mi4027.jpg)
ใจกว้างคบเพื่อน สุจริตใจคบคน
การคบเพื่อนต้องมีใจนักเลงไม่กลัวเสียเปรียบ คนเราต้องรู้จักคงความบริสุทธิใจไว้บ้าง
เวลาได้รับไม่นำหน้า เวลาเสียสละไม่รั้งหลัง
เวลาได้รับความดีความชอบก็ไม่ควรแย่งแซงหน้าผู้อื่น
เมื่อจำเป็นต้องเสียสละก็อย่ามัวช้าอยู่หลังผู้อื่น
และเมื่อได้รับผลประโยชน์ตามควรแล้วให้รู้จักพอ
ความอดกลั้นคือศิลปะชั้นสูง ดีต่อเขาคือดีต่อตนเอง
การรู้จักถอยหลีกสักก้าวย่อมนำมาซึ่งจังหวะก้าวหน้าที่ดีกว่า
การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นคือารวางรากฐานอันนำกลับมาซึ่งประโยชน์สู่ตนเอง
คุยโวทำให้ผลงานด้อยค่า สำนึกบาปช่วยลดทอนความผิด
การคุยโวโอ้อวดจะทำให้ผลงานสร้างมาหมดคุณค่าลงอย่างรวดเร็ว
การสำนึกบาปกลับเนื้อกลับตัวได้ก็เปรียบเสมือนโจรกลับใจ
เรื่องดีไม่เอาใส่ตัวผู้เดียว เรื่องชั่วไม่ผลักให้ผู้อื่น
เรื่องความดีความชอบนั้นไม่ควรครอบครองเอาไว้แต่ผู้เดียว
ควรรู้จักยกย่องคนอื่นบ้าง ส่วนเรื่องอัปยศอดสู
ก็ไม่ควรผลักให้ผู้อื่นทั้งหมด ควรรู้จักรับเองบ้าง
ความดีความชอบไม่ขอให้ปรี่ล้น เป็นคนต้องรู้จักพอ
กระทำสิ่งใดอย่าหวังเอาแต่ได้
ควรมีใจเอื้อเฟื้อเผือแผ่ต่อผู้อื่น จะได้ไม่นำภัยมาสู่ตนในภายหลัง
(https://encrypted-tbn0.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRhF60YdrvCPiUOD9lu9Sfi964da05risyRDfnW4lVW_vreVOn9)
Credit By :http://www.yimtamphan.com/?p=384