(http://4.bp.blogspot.com/_hfZMkpgbrGs/TEPUwhZMCjI/AAAAAAAACKY/eShbfDGEzts/s320/dh03.jpg)
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 15 : สุขวรรค
01. เรื่องระงับความทะเลาะแห่งหมู่พระญาติ
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในแคว้นสักกะ ทรงปรารภหมู่พระญาติ เพื่อระงับความทะเลาะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สุสุขํ วต เป็นต้น
แคว้นกบิลพัสดุ์ของพวกเจ้าศากยะ และแคว้นเทวทหะของพวกเจ้าโกลิยะ ตั้งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี พวกเกษตรกรของทั้งสองแคว้นต่างทำนาด้วยการใช้น้ำจากแม่น้ำแห่งนี้ มีอยู่ปีหนึ่ง เกิดภาวะฝนแล้งมาก น้ำในแม่น้ำมีน้อยไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการในเลี้ยงข้าวกล้าและพืชอย่างอื่นที่เพาะปลูกไว้ ทำให้ข้าวกล้าและพืชอย่างอื่นเหี่ยวเฉาและตายไป เกษตรกรของทั้งสองแคว้นต้องการจะผันน้ำจากแม่น้ำไปใช้ในส่วนของตนเพิ่มปริมาณมากขึ้น และไม่ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งผันน้ำไปใช้ ทั้งสองฝ่ายอ้างว่า หากข้าวกล้าของฝ่ายตนเสียหายแต่ละฝ่ายก็ไม่พร้อมที่จะนำเงิน หรือทรัพย์อื่นไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนอาหารจากอีกฟากฝั่งหนึ่งมาใช้บริโภค
เมื่อประชาชนของทั้งสองแคว้นต่างต้องการน้ำเพื่อนำมาใช้ของฝ่ายตนเพียงฝ่ายเดียวอย่างนี้ และก็มีการกล่าวกระทบกระทั่งเปรียบเปรย มีการกล่าวหา และมีการนำเรื่องบรรพบุรุษของอีกฝ่ายมาก่นด่าประณามประชดประชันซึ่งกันและกัน จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้น เริ่มแรกก็เป็นการขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับเกษตรกรของทั้งสองฝั่ง และได้ลุกลามเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าของทั้งสองเมือง และระหว่างผู้ปกครองประเทศในที่สุด จึงเกิดความตึงเครียดระหว่างสองเมือง เมื่อการเจรจาต่อรองกันทางการทูตไม่เป็นผล ก็มีการตระเตรียมอาวุธยุทโธปรณ์ที่พร้อมนำมาใช้ประหัตถ์ประหารกัน เป็นการพัฒนาความขัดแย้ง ไปสู่การใช้อาวุธเป็นเครื่องมือในนโยบายต่างประเทศ
พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นหมู่พระญาติทั้งสองฝ่าย ตั้งกองกำลังเรียงรายอยู่สองฝั่งแม่น้ำ กำลังตระเตรียมทำสงครามแย่งน้ำกันเช่นนั้น ทรงดำริว่า หากพระองค์ไม่เสด็จไปห้ามปรามพวกเขาไว้ พวกพระญาติก็จะรบกันถึงแก่พินาศทั้งสองฝ่าย พระองค์จึงได้เสด็จไปทางอากาศ แล้วประทับนั่ง อยู่ในอากาศตรงกลางแม่น้ำโรหิณี เมื่อพวกพระญาติเห็นพระศาสดาก็ทิ้งอาวุธ และทำการถวายบังคม พระศาสดาเมื่อได้ทรงสอบถามทั้งสองฝ่ายแล้ว ได้ตรัสเตือนพระญาติทั้งสองฝ่าย แล้วตรัสว่า “ มหาบพิตร เพราะเหตุไร? พวกท่านจึงกระทำกันแบบนี้ หากไม่มีตถาคตเสียแล้ว ในวันนี้ โลหิตก็จะไหลนอง ท่านทั้งหลาย ทำสิ่งที่ไม่ควร ท่านทั้งหลาย เป็นผู้มีเวร 5 แต่ตถาคตไม่มีเวร ท่านทั้งหลายเป็นผู้แสวงหากามคุณอยู่ แต่ตถาคตไม่ได้แสวงหา”
จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท สามพระคาถานี้ว่า
สุสุขํ วต ชีวาม
เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสเสสุ
วิหราม อเวริโน ฯ
(อ่านว่า)
สุสุขัง วะตะ ชีวามะ
เวริเนสุ อะเวริโน
เวริเนสุ มะนุดเสสุ
วิหะรามะ อะเวริโน.
สุสุขํ วต ชีวาม
อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนาตุรา ฯ
(อ่านว่า)
สุสุขัง วะตะ ชีวามะ
อาตุเรสุ อะนาตุรา
อาตุเรสุ มะนุดเสสุ
วิหะรามะ อะนาตุรา.
(อ่านว่า)
สุสุขํ วต ชีวาม
อุสฺสุเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุเกสุ มนุสฺเสสุ
วิหะราม อนุสสฺสุกา ฯ
(อ่านว่า)
สุสุขัง วะตะ ชีวามะ
อุดสุกเกสุ อะนุดสุกา
อุดสุเกสุ มะนุดเสสุ
วิหะรามะ อะนุดสุกา.
(แปลว่า)
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน
พวกเรา ไม่มีเวร เป็นอยู่สบายดีหนอ
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเรา ไม่มีเวรอยู่ .
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน
พวกเรา ไม่มีความเดือดร้อน เป็นอยู่สบายดีหนอ
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน
พวกเรา ไม่มีความเดือดร้อนอยู่.
ในหมู่มนุษย์ผู้ขวนขวายกัน
พวกเรา ไม่มีความขวนขวาย เป็นอยู่สบายดีหนอ
ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความขวนขวาย
พวกเรา ไม่มีความขวนขวายอยู่.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2557.0;attach=2232;image)
-http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2557.30
(http://www.thungkrachor.go.th/dnm_file/news/735_center.jpg)
08. เรื่องท้าวสักกะ
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า สาหุ ทสฺสนํ เป็นต้น
ในช่วง 10 เดือนก่อนที่พระศาสดาจะดับขันธปรินิพพานนั้น พระศาสดาเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ หมู่บ้านเวฬุวคาม ใกล้กรุงไพศาลี ขณะที่ประทับอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ทรงประชวรด้วยอาพาธลงพระโลหิต เมื่อท้าวสักกะทรงทราบว่าพระศาสดาอาพาธ ก็ได้เสด็จมาที่หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น และได้ทรงทำหน้าที่เป็นคิลานุปัฏฐาก(ผู้ดูแลผู้ป่วย) ของพระศาสดา แม้พระศาสดาจะตรัสห้ามว่าท้าวสักกะไม่ต้องกังวลในเรื่องพระสุขภาพอนามัยของพระองค์ เพราะมีพระภิกษุถวายความดูแลพระองค์อยู่แล้ว แต่ท้าวสักกะไม่ทรงยินยอมและได้ทรงมาคอยดูแลจนกระทั่งพระศาสดาทรงหายจากอาพาธ
ภิกษุทั้งหลายมีความประหลาดใจที่พบว่าท้าวสักกะเสด็จมาคอยดูแลพระศาสดาด้วยพระองค์เองเช่นนี้ เมื่อพระศาสดาทรงได้ยินคำสนทนาของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้ ตรัสว่า ข้อที่ท้าวสักกเทวราชมีความรักในพระองค์นั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเมื่อตอนท้าวสักกะชราภาพ พอได้ฟังธรรมจากพระองค์ ก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน และได้กลับคืนสู่สภาพเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่ง พระศาสดาได้ตรัสในช่วงท้ายด้วยว่า “การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลก็ดี การอยู่ ณ ที่เดียวกับเหล่าอริยบุคคลก็ดี ให้เกิดสุข แต่ว่า กิจเช่นนั้นกับพวกคนพาล ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น”
จากนั้น พระศาสดาตรัสพระธรรมบท สามพระคาถานี้ว่า
สาหุ ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ
(อ่านว่า)
สาหุ ทัดสะนะมะริยานัง
สันนิวาโส สะทา สุโข
อะทัดสะเนนะ พาลานัง
นิดจะเมวะ สุขี สิยา.
พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
ธีโร จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว สมาคโม ฯ
(อ่านว่า)
พาละสังคะตะจารี หิ
ทีคะมัดทานะ โสจะติ
ทุกโข พาเลหิ สังวาโส
อะมิดเตเนวะ สับพะทา
ทีโร จะ สุขะสังวาโส
ยาตีนัง วะ สะมาคะโม.
[ตสฺมา หิ]
ธีรญฺจ ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺถปถํว จนฺทิมา ฯ
(อ่านว่า)
(ตัดสะหมา หิ)
ทีรันจะ ปันยันจะ พะหุดสุตันจะ
โทรัยหะสีลัง วะตะวันตะมะริยัง
ตัง ตาทิสัง สับปุริสัง สุเมทัง
พะเชถะ นักขัดถะปะถังวะ จันทิมา.
(แปลว่า)
การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี
การอยู่รวมด้วยเหล่าอริยบุคคล ให้เกิดสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีสุข เป็นนิตย์แท้จริง
เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
เพราะว่า คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลยืดยาวนาน
ความอยู่ร่มกับพวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป
เมือนความอยู่ร่วมกับศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ.
(เพราะฉะนั้นแล)
ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต
นำธุระไปเป็นปรกติ มีวัตร
เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น
เหมือนพระจันทร์ ส้องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์ ฉะนั้น.
เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง คนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น.
(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTC_oeWNOOUSGMfsG3EdRUAOQyLIDkrfZ79rZrotVfUFCA545Gj)
-http://www.oknation.net/blog/dhammapada/2008/11/17/entry-7