(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTvJcSybhh7wnI_vwxGpAJuj2BKUnKrmHrB5Idt59ifAf9p7rd06A)
คำสอนของฮวงโป
พุทธทาสภิกขุ แปลเรียบเรียง
ธรรมสภาจัดพิมพ์
คำสอนของฮวงโปนี้ เรียกในภาษาจีนว่า "ฮวงโป ฉวน สิ่น ฟา หยาว" มร. John Bolfeld แปลออกเป็นภาษาอังกฤษ เรียกว่า The Zen Teaching of Huang Po
พวกเราเห็นว่าควรแปลออกสู่ภาษาไทย จึงทำให้เกิดหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้
ผู้ที่เคยอ่านหนังสือเว่ยหล่างมาก่อนแล้ว พึงทราบว่า ฮวงโป เป็นหลานศิษย์ของเว่ยหล่าง
กล่าว คือ เมื่อเว่ยหล่าง สังฆปริณายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซ็น ได้รับการถ่ายทอดธรรมโดยตรง ชนิดที่เรียกว่า จากจิตถึงจิต จากพระสังฆปริณายกองค์ที่ ๕ แล้ว
นิกายเซ็นก็แตกออกเป็น ๒ สาย สายเหนือนำโดย ชินเชา คู่แข่งของเว่ยหล่าง สอนวิธีปฏิบัติการตรัสรู้อย่างเชื่องช้าคือ ค่อยเป็นค่อยไป เจริญรุ่งเรืองอยู่พักหนึ่งโดยราชูปถัมภ์ของพระจักรพรรดิ ตั้งอยู่ไม่นานก็เงียบหายไป ส่วนสายใต้ คือสายของเว่ยหล่าง สอนวิธีการปฏิบัติที่เป็นการตรัสรู้ฉับพลัน (จนได้นามว่า Sudden School) ได้เจริญรุ่งเรืองและขยายตัวออกมาจนแตกเป็นนิกายย่อยๆลงไป
ศิษย์คนที่สำคัญองค์หนึ่งของเว่ยหล่างมีนามว่า มา ตสุ (ตาย อาย) ถึงแก่มรณภาพเมื่อ ค.ศ.๗๘๘ สำหรับฮวงโปนี้ ถือกันว่าเป็นศิษย์ช่วงที่หนึ่งหรือช่วงที่สอง ต่อจากท่าน มา ตสุ เป็นสองอย่างอยู่ และกล่าวกันว่าถึงแก่มรณภาพในปี ค.ศ.๘๕๐ ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนนิกายนี้ให้แก่ อาย สื่น ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งนิกายหลินฉิ หรือที่เรียกอย่างญี่ปุ่นว่า รินซาย อันเป็นนิกายที่ยังคงมีอยู่ในประเทศจีน และแพร่หลายที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยเหตุนี้ ฮวงโป จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อกำเนิดพุทธศาสนานิกายนี้
บางส่วนจากคำนำผู้เรียบเรียง
-http://witdaeng.tarad.com/product.detail_605658_th_2978024
-http://fws.cc/leavesofeden/index.php?topic=417.0
(http://www.thammapedia.com/dhamonline/images/bdds.gif)
บันทึกชึนเชา
๑. จิตหนึ่ง
๒. ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร
๓. ความว่าง
๔. เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุด
๕. ชื่ออันไร้ตำหนิ
๖. ปลดเปลื้อง
๗. หลักธรรม
๘. ความฝันอันไร้ตัวตน
๙. ขอบวงของพุทธะ
๑๐. การแสวงหา
๑๑. ตัวตน
๑๒. การแบ่งแยก
๑๓. วิธีชั้นสุดยอด
๑๔. ธรรมกาย
๑๕. พุทธภาวะ
๑๖. สัจจธรรม
๑๗. ว่างเปล่า
๑๘. การรู้แจ้งเห็นแจ้ง
๑๙. แดนแห่งสิ่งล้ำค่า
๒๐. จิตนั่นแหละคือธรรม
๒๑. การหลบหลีก
๒๒. การเพิกถอน
๒๓. การถ่ายทอก
๒๔. กาย ๓ กาย
๒๕. เอกสภาวะ
๒๖. สัจจยาน
๒๗. ความรู้สึก
๒๘. คำตอบ
๒๙. ทาง
๓๐. เด็กสวาปาม
๓๑. มายา
๓๒. ฉันจะปล่อยเสียทั้งสองมือ
๓๓. เงาสะท้อน
๓๔. กาฝาก
๓๕. ความพากเพียร
๓๖. หลักที่ว่าไม่มีธรรม
(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTUI14Rxhb476CqcHT1NWBr1zWI-y79T9aIS5nNdPnjlY4KqOCdEA)
บันทึกวาน-ลิง
๑. การปลุกจิต / ๒. พุทธะ / ๓. ความคิด
๔. ยานเดียว / ๕. สภาพที่เป็นจริง
๖. ลักษณะ
๗. เดินผิดทาง / ๘. พุทธยาน
๙. ความพลาดอันน่าทุเรศ
๑๐. จิตถึงจิต / ๑๑. โพธิ / ๑๒. จิตนั้นแหละคือพุทธะ
๑๓. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
๑๔. บทบัญญัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง
๑๕. ความคิดกับสิ่งต่างๆ
๑๖. ความตระหนัก
๑๗. พุทธกิจ / ๑๘. โพธิมิใช่เป็นภาวะ
๑๙. โพธิมิได้เป็นสิ่งซึ่งต้องลุถึง
๒๐. ธาตุแท้
๒๑. การสั่งสอน
๒๒. ความขยันอย่างกระตือรือร้น
๒๓. การสร้างความมีอยู่
๒๔. การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม
๒๕. ธรรมะแห่งจิตหนึ่ง
๒๖. ทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๒๗. เพื่อนรัก
๒๘. การแก้เผ็ด
๒๙. การแสดงความเคารพ
๓๐. ผู้แก่อาวุโส
๓๑. ความนิ่งเงียบ
๓๒. จะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?
๓๓. ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผา
๓๔. เธออยู่ที่ไหน ?
(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRpCF07QizfylhhyEwQDf4KEPd2qpUelRZFw_zipWHOXPQOvZnnsQ)
baby@home : http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=320.0
(http://www.christies.com/lotfinderimages/D53553/ansel_adams_tetons_and_the_snake_river_grand_teton_national_park_wyomi_d5355323h.jpg)
๓๖.คำสอนของฮวงโป (หลักที่ว่าไม่มีธรรม)
ถาม ท่านพระสังฆปริณายกองค์ที่หก เป็นคนไม่รู้หนังสือ ทำไมท่านจึงได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตรเครื่องหมายตำแหน่ง ซึ่งยกท่านสู่ตำแหน่งนั้น ? ท่านเชนสุ่ย เพื่อนนักศึกษาคู่แข่งขันคนหนึ่งอยู่ในฐานะสูงกว่าศิษย์อื่่น ๆ ตั้งห้าร้อยคน เพราะเป็นอาจารย์ช่วยสอน และสามารถอธิบายความหมายอันลึกซึ้งของพระสูตรต่าง ๆ ได้ถึง ๓๒ คัมภีร์ ทำไมท่านจึงไม่ได้รับผ้ากาสาวพัสตรนั้น ?
ตอบ เพราะว่าท่านเชนสุ่ย ยังคงปล่อยตนไปในความคิดปรุงแต่ง คือในธรรมที่นำไปสู่การกระทำ ประโยคที่ว่า “เมื่อเธอปฏิบัติเธอจึงจะบรรลุ” นั้น ท่านองค์นั้นก็ยังยึดถือว่าเป็นของจริงอยู่ ดังนั้น พระสังฆปริฯยกองค์ที่ห้า ท่านจึงทำการมอบหมายธรรมแก่ท่านฮุยเหน่ง (เว่ยหล่าง) ชั่วขณะนั้นเอง ท่านฮุยเหน่งได้บรรลุถึงความเข้าใจซึมซาบชนิดที่ไม่ต้องมีคำพูดและได้รับ ธรรมหฤทัยอันลึกซึ้งที่สุด ของพระตถาคตไปอย่างเงียบกริบ นั่นแหละ คือข้อที่ว่าทำไม ธรรม นั้น จึงถูกถ่ายทอดไปยังท่าน
พวกเธอไม่เห็นว่า หลักคำสอน อันเป็นรากฐานของธรรมนั้น คือหลักที่ว่า ไม่มีธรรม ถึงกระนั้น หลักที่ว่าไม่มีธรรม นั่นแหละ เป็นธรรมอยู่ในตัวมันเอง และบัดนี้ หลักที่ว่า ธรรมไม่มีนั้น ก็ได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว หลักที่ว่า มีธรรม จะเป็นธรรมได้อย่างไรกัน ?
ใครก็ตามเข้าใจซึมซาบความหมายของข้อความนี้ ย่อมควรที่จะได้นามว่า ภิกษุ คือผู้ซึ่งเชี่ยวชาญต่อ “ธรรมปฏิบัติ”
ถ้าเธอไม่เชื่อความข้อนี้ เธอลองอธิบายความหมายของเรื่องต่อไปนี้ดู ท่านเว่ยมิง ได้ปีนขึ้นไปยังยอดสุดแห่งภูเขาต่ายื่น เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์ที่หก ท่านสังฆปริณายกได้ถามว่า มาทำไม มาเพื่อจีวรหรือมาเพื่อ ธรรม ? ท่านเว่ยมิงได้ตอบว่า ไม่ได้มาเพื่อจีวรแต่มาเพื่อ ธรรม เมื่อเป็นดังนั้น พระสังฆปริณายกได้กล่าวว่า “ขอให้ท่านทำจิตของท่านให้เป็นสมาธิสักขณะหนึ่ง และเว้นการคิดในความหมายของคำว่า ดีและชั่ว เสียให้หมด” ท่านเว่ยมิงได้ทำตามสั่ง และพระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า “เมื่อ ท่านไม่คิดถึงความดี และไม่คิดถึงความชั่วอยู่ ตรงขณะนี้แหละเธอจะย้อนกลับไปสู่ภาวะที่เธอได้เป็นอยู่ ในขณะก่อนแต่ที่มารดาบิดาของเธอเองเกิดมา” พอพูดจบ ท่านเว่ยมิงก็ได้ลุถึงความเข้าใจซึมซาบชนิดที่ไม่ต้องมีเสียงพูด ได้โดยแว็บเดียว
ต่อจากนั้นท่านได้หมอบลงบนพื้นดินและได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้า เหมือนกับคนที่ดื่มน้ำอยู่ ย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง ว่ามันเย็นอย่างไร ข้าพเจ้าได้อยู่กับท่านสังฆปริณายกองค์ที่ห้า และศิษย์ทั้งหลายของท่านมาเป็นเวลา ๓๐ ปี แต่เพิ่งวันนี้เอง ที่ข้าพเจ้าสามารถขจัดความผิดพลาดต่าง ๆ ในวิธีคิดอย่างเก่า ของข้าพเจ้าเสียได้” พระสังฆปริณายกองค์ที่หก ได้ตรัสว่า “ถูก แล้ว อย่างน้อยที่สุด บัดนี้ท่านย่อมเข้าใจว่า ทำไมเมื่อพระสังฆปริณายกองค์ที่หนึ่งจากอินเดียมาถึง ท่านจึงได้ชี้ตรงไป แต่ที่ จิต ของคน ซึ่งโดย จิต นั้นเอง เขาเหล่านั้นสามารถรู้แจ้งเห็นจริง ถึง ธรรมชาติเดิมแท้ของเขา และกลายเป็น พุทธะ ได้ และข้อที่ว่า “ทำไมพระสังฆปริณายกองค์นั้น จึงไม่เคยพูดถึงสิ่งอื่นนอกไปจากนี้เลย”
เรายังไม่เห็นกันอีกหรือ ว่าทำไมเมื่อพระอานนท์ได้ถามพระมหากาศยปะว่า พระพุทธองค์ซึ่งโลกบูชา ได้ทรงมอบหมายอะไรให้อีก พร้อมกับจีวรทอง พระมหากาศยปะจึงร้องขึ้นว่า “อานนท์!” เมื่อพระอานนท์ขานตอบ ด้วยความเคารพว่า “อะไรครับ ?” ดังนั้น ท่านมหากาศยปะได้กล่าวต่อไปว่า “ทิ้งเสาธงลงเสียที่ประตูวัดเถิด” ดังนี้ นี่แหละ คือนิมิตซึ่งพระสังฆปริณายก (สายอินเดีย) องค์ที่หนึ่งท่านได้ให้แก่พระอานนท์
ตลอดเวลา ๓๐ ปี ที่พระอานนท์คนฉลาด ปฏิบัติรับใช้ตามพระพุทธประสงค์ส่วนพระองค์มา แต่เนื่องจากท่านเป็นคนรักการได้ความรู้มากเกินไป พระพุทธองค์จึงได้ทรงตักเตือนท่าน โดยตรัสว่า “แม้ เธอเที่ยวหาความรู้อยู่ตั้ง ๑,๐๐๐ วัน มันก็ยังทำประโยชน์ให้แก่เธอได้น้อยกว่าการฝึกฝนเรื่อง ทาง ทางนี้โดยเฉพาะ แม้เพียงวันเดียว ถ้าเธอไม่ฝึกฝนมัน เธอจะไม่สามารถย่อยได้ แม้แต่น้ำหยดเดียว !”
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTd3da6bbUgK3S5o2y3ZLAmmcEW5hdsknbWlrOicyy3Cf66BDZg)
จบ บันทึกชึนเชา
ต่อที่ >>> บันทึกวาน-ลิง : http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7818.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7818.0.html)