ใต้ร่มธรรม
ริมระเบียงรับลมโชย => รับสายลมเย็นหน้าระเบียง => ล้างรูป => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ กรกฎาคม 08, 2012, 01:34:06 pm
-
40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ (ตอนที่ 1)
-http://hilight.kapook.com/view/73419-
-http://www.fotoinfomag.com/-
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/page_2.jpg)
สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ใครที่รักการถ่ายภาพ วันนี้เรามีเทคนิคการถ่ายภาพจากช่างภาพมืออาชีพ กับ 40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ ที่สามารถเปลี่ยนภาพถ่ายธรรมดา ให้เป็นภาพถ่ายที่สวยงามมีลูกเล่นภายในพริบตา โดยบทความนี้ จะแบ่ง 40 เทคนิค ออกเป็น 2 ตอน ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านพร้อมแล้ว ก็สามารถอ่าน 40 เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพ (ตอนที่ 1) อย่างคร่าว ๆ ได้เลยครั
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/1_9.jpg)
1. As Fast, As it move
การถ่ายภาพเคลื่อนไหว มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การถ่ายแบบสต็อปแอ็คชั่น โดยใช้ชัตเตอร์สูง หรือการถ่ายแบบให้วัตถุมีการเคลื่อนไหว ใช้ชัตเตอร์ต่ำ พร้อมกับแพนกล้องไปด้วย ก็จะทำให้พื้นหลังภาพเกิดการเบลอ ขณะที่จุดโฟกัสของภาพก็จะชัดขึ้น
2. แพนกล้อง กับเลนส์มุมกว้าง
ปกติการแพนกล้อง ถ่ายภาพวัตถุในแนวระนาบเดียวกัน โดยใช้เลนส์เทเล ที่มีความยาวโฟกัสสูง หากปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ในระดับต่ำ จะทำให้ภาพดูเคลื่อนไหว ได้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่สามารถไปถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้ก็ตาม แต่ข้อเสียคือ ฉากหลังของภาพจะถูกบีบให้แคบ จนไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ ดังนั้นจึงลองเปลี่ยนไปใช้เลนส์มุมกว้าง แทนเลนส์เทเล ก็อาจจะช่วยให้เก็บรายละเอียดในฉากหลังได้ดียิ่งขึ้น
3. ระยะโฟกัสใกล้สุด
แม้ว่าเลนส์มุมกว้างจะมีสัดส่วนที่บิดเบือน แต่ก็มีข้อดีตรงที่ เลนส์นี้มีระยะโฟกัสระยะสั้น ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดความคมชัดของระยะใกล้ ๆ ได้มาก และเก็บรายละเอียดของพื้นหลังได้กว้างด้วย สำหรับวิธีการถ่ายภาพ ให้ปรับระบบโฟกัสแบบแมนนวล และหมุนวงแหวนโฟกัสไประยะใกล้สุด
4. flash hilight
แสงแฟลชไม่ได้มีดีเพียงแค่การช่วยทำให้ถ่ายภาพในที่มืดสว่างเท่านั้น แต่สามารถทำให้ภาพที่ถ่ายในที่สว่าง โดดเด่นยิ่งกว่าเดิมได้ เพียงแค่เปิดรูรับแสงให้กว้าง และยิงแฟลชไปที่วัตถุที่ต้องการถ่าย ก็จะทำให้ภาพโดดเด่นแล้ว แต่ข้อผิดพลาดที่คนมักทำกันคือ ทำให้ฉากหลังติดแสงแฟลชไปด้วย ซึ่งจะทำให้ความโดดเด่นของวัตถุนั้นหมดไป
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/2_9.jpg)
5. Fundmental Conceptual
การเพิ่มคุณค่าของภาพที่ถ่าย มีวิธีที่นิยมใช้กันคือ การระบุคอนเซ็ปต์ของภาพ หรือ conceptual แบบในงานศิลปะ เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูเป็นศิลปะมากขึ้น และที่สำคัญคือตรงกับวัตถุประสงค์อีกด้วย ซึ่งการระบุคอนเซ็ปต์ของภาพ ต้องทำงานกันเป็นทีม เช่น ซับเจ็กต์ในภาพ ช่างทำผม แต่งหน้า หรือเสื้อผ้า ก็ต้องเข้าใจคอนเซ็ปต์ของภาพที่จะถ่ายไปในทิศทางเดียวกัน งานถึงจะผ่านไปได้ด้วยดี
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/3_6.jpg)
6. เล่นกับแสงและเงา จากธรรมชาติ
การเล่นแสงและเงาจากธรรมชาติ ส่วนมากใช้กับภาพถ่ายในที่ร่ม แต่มีแสงจากธรรมชาติลอดผ่านมาเล็กน้อย ซึ่งการจัดตำแหน่งของ subject ภาพให้เหมาะสม คือการยืนตำแหน่งที่เฉียงจากแสงที่ลอดมาจากด้านข้าง จะทำให้ ภาพดูโดดเด่น และมีมิตมากขึ้น
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/4_7.jpg)
7. ใช้แฟลชเปลี่ยนโทนภาพ เปลี่ยนอารมณ์ภาพ
ปัจจุบันเทคนิคแยกแฟลช ถือเป็นสิ่งที่ช่างภาพหลายคนใช้กันมาก และหน้าที่หลักของแฟลชคือ ใช้ในเวลาต้องการแสงสว่างเนื่องจากฉากมืด อย่างไรก็ตาม แฟลชก็สามารถใช้ในกรณีที่ฉากสว่างได้เช่นกัน ถือเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้โทนภาพเปลี่ยน หรือวัตถุในภาพ เด่นขึ้นมาได้ ก็คือ ทำให้ตัวซับเจ็กต์สว่างขึ้น ส่งผลให้ฉากหลังมีโทนที่มืดลง ทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนได้เช่นกัน
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/5_7.jpg)
8. สร้างแววตาง่าย ๆ จากชายคา
การถ่ายภาพบุคคล สิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ของภาพที่สุด นั่นคือ แววตา โดยเฉพาะภาพครึ่งตัว หรือภาพที่ถ่ายแต่ใบหน้า จะยิ่งชัดเจนที่สุด ซึ่งการถ่ายภาพดวงตาให้สื่ออารมณ์ออกมาดี ก็มีเทคนิคเช่นเดียวกันคือ การสร้างเงาสะท้อนดวงตาขึ้นมา เพียงแค่หาวัตถุที่มีความสว่าง เช่น รถสีขาว ม้าหิน ฯลฯ มาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้พื้นที่เกิดความสว่าง อย่างไรก็ตาม เทคนิคที่ดีที่สุด คือ การถ่ายภาพจากใต้ชายคา ด้วยการหันหลังชิดกำแพง จะได้แววตาที่โดดเด่น จากแสงที่พ้นชายคาออกไปนั่นเอง
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/6_10.jpg)
9. Street Portrait
ภาพแนว Street Portrait เป็นการถ่ายภาพแบบวิถีชีวิตในแบบธรรมชาติในอริยาบถต่าง ๆ ปราศจากการปรุงแต่ง เหมือนกับไม่มีใครกำหนดชะตาชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้องการรู้จักถึงตัวตนของบุคคลที่เราแอบถ่ายจริง ๆ ก็จะมองหาจังหวะ เพื่อสานสัมพันธ์กับบุคคลนั้นต่อไป
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/7_5.jpg)
10. คุณชัดเจนพอหรือยัง?
มีเทคนิคหนึ่งสำหรับช่างถ่ายภาพที่ทำให้ตัวบุคคลเกิดความโดดเด่นขึ้นมา นั่นคือ การเปิดรูรับแสงให้กว้าง ทว่า ปัญหาที่พบคือ ถ้าเปิดจากจอคอมพิวเตอร์ ก็จะทำให้ภาพดังกล่าวชัดแค่บางส่วน แต่บางส่วนไม่ชัด โดยเฉพาะภาพคู่ของคนสองคน ที่บางครั้งคนหนึ่งอาจจะชัด แต่คนที่อยู่ข้าง ๆ ไม่ชัดเลย ดังนั้นการเปิดรูรับแสงก็ควรเช็คสักนิดว่า พอดีหรือยัง เพื่อภาพที่สมบูรณ์
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/8_7.jpg)
11. Profile Portrait
การถ่ายภาพบุคคล ถือเป็นการแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะของบุคคลที่เราถ่าย แต่ทั้งนี้ ก็มีการถ่ายภาพอีกแนวหนึ่ง เรียกว่า Profile Portrait ที่เป็นการถ่ายภาพบุคคลจากด้านข้าง ในลักษณะที่แสงธรรมชาติมาทางด้านหลัง ทำให้เห็นโครงใบหน้าตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เห็นเส้นขอบของอวัยวะต่าง ๆ อย่างชัดเจน เพื่อการสื่ออารมณ์ของภาพได้ดียิ่งขึ้น
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/9_2.jpg)
12. แสงเงาแห่งชีวิต
ผู้เขียนได้เดินผ่านบ้านหลังหนึ่ง มีแสงเงาทอดผ่าน พื้นไม้กระดานวาววับ ด้านหลังเป็นพื้นที่โปร่ง ซึ่งเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งได้อย่างดีทีเดียว
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/10_2.jpg)
13. การใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อถ่ายภาพคน
การถ่ายภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์ของคนได้ดี ดูมีมิติ ไม่แบน มักปล่อยให้แสงกระทบลงมาจากด้านข้างของใบหน้าทำมุม 45 องศา แต่การใช้เลนส์มุมกว้างไปด้วย ก็ทำให้เกิดผลดีได้เช่นกัน แม้ว่าเลนส์มุมกว้าง จะทำให้ภาพผิดสัดส่วน เพียงแค่ใช้เวลาจัดวางมุมดี ๆ และแยกให้ออกว่าอันไหนคือ พื้นหลัง อันไหนคือ ด้านหน้าก็เพียงพอแล้ว
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/11_2.jpg)
14. หยอดแสงแฟลช
แม้ว่าแสงธรรมชาติจะมีคุณภาพสูงกว่าแสงแฟลชก็ตาม แต่ในบางครั้ง แสงธรรมชาติ ก็ต้องการแสงแฟลชช่วย เพื่อทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น โดยการหยอดแสงแฟลช ลงในตัววัตถุ เพื่อทำให้ตัววัตถุเด่นขึ้นนั่นเอง
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/12_1.jpg)
15. SNAP PORTRAIT
หมายถึง การถ่ายภาพบุคคลในอากัปกิริยาที่เป็นธรรมชาติ เพื่อต้องการสื่ออารมณ์อะไรบางอย่างออกมา โดยที่บุคคลที่ถูกถ่ายอาจจะไม่รู้ตัวเลย ซึ่งการถ่ายภาพ SNAP PORTRAIT มักเป็นวิธีที่ดีสำหรับคนที่ต้องการถ่ายบุคคลที่ไม่ใช่นางแบบนายแบบมืออาชีพ เนื่องจากคนเหล่านี้ มักโพสท่าได้ไม่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพแนวนี้คือ การถ่ายภาพต้องไม่ทำให้บุคคลในภาพเสื่อมเสียชื่อเสียง
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/13_2.jpg)
16. SHOOT LARGE PEOPLE
เทคนิคการถ่ายภาพคนอ้วนให้ออกมาแล้วดูดี เพรียวกว่าตัวจริง มี 6 วิธีด้วยกัน คือ
ถ้าเป็นไปได้ควรใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงสุด เพราะจะทำให้ภาพถูกบีบแน่นมากขึ้น
ห้ามถ่ายภาพคนอ้วนจากมุมต่ำ
ควรถ่ายภาพจากมุมสูง จะช่วยให้ตัวดูเพรียวขึ้นได้
ถ้าถ่ายภาพบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถใช้คนเล็กกว่า บังบางส่วนของคนที่ตัวใหญ่กว่าได้
เลี่ยงการถ่ายภาพร่างกายทั้งหมด แต่เน้นเฉพาะส่วน เช่น ถ่ายตั้งแต่ไฟล่ขึ้นไป
ถ่ายภาพบุคคลหลาย ๆ คนมาก ๆ ควรจัดท่าให้เบียด ๆ กัน เพื่อลดการเห็นทุกส่วนของร่างกาย
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/14_1.jpg)
17. Size Does Matter
การถ่ายวัตถุชนิดใหญ่ ๆ ในบางครั้ง เกิดอาการที่คาดไม่ถึงคือ วัตถุที่ถ่าย แม้ว่าจะใหญ่ แต่กลับไม่รู้สึกโดดเด่น ซึ่งมีวิธีแก้อย่างง่าย ๆ คือการนำวัตถุเล็ก ๆ ไปอยู่ในองค์ประกอบ เพื่อทำให้วัตถุใหญ่มีตัวเปรียบเทียบนั่นเอง
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/15_1.jpg)
18. การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ โดยเทคนิคการใช้ฉากหน้า
การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ส่วนมากมักถ่ายโดยใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อถ่ายเก็บรายละเอียดทั้งหมดให้ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ถ่ายภาพแบบนี้ มักทำให้ภาพขาดความโดดเด่น ดูเวิ้งว้าง ดังนั้นวิธีแก้คือ หาฉากหน้าให้แก่ภาพ ซึ่งจะเป็นฉากหน้าแบบธรรมชาติหรือทำเองก็ได้ โดยที่หาจุดโฟกัสที่ตำแหน่ง 1 ใน 3 ของภาพ
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/16_1.jpg)
19. รอยคลื่น ริ้วฟ้า และหมอกแห่งท้องทะเล
การถ่ายภาพในช่วงเวลาทองที่สุด คือการถ่ายภาพแสงเวลาเช้าและเย็น เพราะแสงจะสวยงามกว่าเวลาอื่น ซึ่งการถ่ายภาพแสงเวลาเช้า-เย็น จะสวยงามที่สุด เมื่อถ่ายคู่กับเกลียวคลื่น หรือ Seascape โดยการถ่ายในจังหวะที่คลื่นกำลังวิ่งเข้าหาฝั่ง และปรับค่าหน้ากล้องให้ได้สปีดต่ำ ๆ จะทำให้คลื่นที่ซัดเข้ามา ออกมาเป็นหมอกควัน
(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/thitima/New/17_1.jpg)
20. Star Trail เส้นทางของดวงดาวและผืนฟ้ายามค่ำ
นอกจากการถ่ายภาพแสงอาทิตย์ยามเช้าและยามเย็นแล้ว การถ่ายภาพดวงดาวในยามค่ำคืน ก็เป็นการถ่ายภาพธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ที่สวยงามไม่แพ้กัน เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการถ่ายภาพดวงดาวบนท้องฟ้าให้น่าสนใจ นั่นคือการจัดหน้าฉาก หาทิศที่เหมาะสม ซึ่งส่วนมากจะหันไปทางทิศเหนือ ใช้ดาวเหนือเป็นหลัก และขณะที่ถ่ายก็ควรปรับค่า ISO กล้องเหลือ 100 ค่าเอฟสตอปที่ f/5.6 หรือ f/8
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
-http://www.fotoinfomag.com/-
.