-
แหล่พระเวสสันดร พระอาจารย์ราชันย์ (http://www.youtube.com/watch?v=ZN88jMiRWG4#) อัปโหลดโดย eekabott เมื่อ 2 พ.ย. 2010
งานแสดงเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง
ณ โรงละครแห่งชาติ
โดย พระครูวาทีพัชรโสภณ (พระอาจารย์ราชันย์ อริโย)
พระมหาศุภักษร สุภาจาโร (มหาแป๊ะยิ้ม)
การเทศน์ท่านก็บอกว่ามี 2 แบบ
1) เทศน์แบบไม่มีทำนอง(ปะมาณิกา)
2) เทศน์แบบใช้ทำนอง(โคสัพปะมาณิกา)
ทั้ง 2 อย่างก็ล้วนแต่น้อมนำธรรมมะสู่สาธุชนทั้งสิ้น และเพื่อให้เข้ากับการบ้านการเมือง และการใช้ชีวิตในสมัยปัจจุบันที่มีแต่กิเลสมากมายเท่าที่ผมลองถามๆผู้เฒ่าผู้แก่ดูไม่มีผิดพุทธบัญญัตินี่ครับ และกว่าจะเทศน์ได้แบบนี้ท่านต้องร่ำเรียนเป็นเวลานานหลายปี ท่านเทศน์ก็เป็นผู้ให้ความรู้หรืออาหารสมองมาให้เราทั้งนั้น อย่าติเตียนท่านเลยเราควรมองตัวเราว่าเราทำอะไรให้สังคมบ้างเราทำดีพอแล้วหรือยัง
lolusher ตอบกลับไปที่ zhivago007 (แสดงความคิดเห็น) 2 เดือนที่ผ่านมา
ศาสนาพุทธถูกนำมาประยุกต์กับวัฒนธรรมไทย เพื่อทำให้พุทธศาสนิกชนหันมาสนใจฟังเทศน์ฟังธรรมกันครับ
ซึ่งหน้าที่ของพระสงฆ์คือสืบทอดหลักธรรมพุทธศาสนา สั่งสอนคนให้เป็นคนดี เป็นแนวทางให้คำเทศน์น่าฟังไม่เบื่อหน่าย
วิธีใดที่ทำได้และไม่ผิดวินัยสงฆ์ ก็เป็นการณ์ดีเสียอีก เพราะถือศีลอยู่ที่ใจนะครับ
Raklookthong ตอบกลับไปที่ 0879226180 (แสดงความคิดเห็น) 1 ปีที่ผ่านมา
คุณครับ พระพุทธองค์ ไม่เคย แสดง ธรรมแบบนี้ก็จริง แต่คนสมัยนี้ไม่ค่อยได้เข้าวัดฟังธรรมมากนัก พระอาจารย์ท่านจึงได้ แหล่ให้เป้นจุดสนใจประสมความไพเราะ ไม่ให้การฟังเทศน์นันดูน่าเบื่อ ครับ
minja2530 ตอบกลับไปที่ 0879226180 (แสดงความคิดเห็น) 1 ปีที่ผ่านมา
-
เทศน์มหาชาติชาดก พระปลัดธีรเดช part 1/13 (http://www.youtube.com/watch?v=w8165WfPN2I#) อัปโหลดโดย benzzaa29 เมื่อ 31 ส.ค. 2011
แม้ในสมัยพระพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงแต่งเพลงรักให้อุตตรมาณพนำไปร้องโต้ตอบลูกสาวพญานาคนามว่าเอรกปัตตนาคราช จนเป็นเพลงรักหนึ่งเดียวที่ถูกบรรจุไว้ในพระไตรปิฎก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็แค่แต่งให้มาณพนั้นนำไปร้องเท่านั้น ไม่ได้สนับสนุนให้ภิกษุนำมาร้องแต่อย่างใด ทั้งที่เพลงที่แต่งโดยพระพุทธองค์ต้องเป็นธรรมะไม่ไร้สาระแน่ๆ แต่เพื่อผ่อนปรนให้สำหรับคนยินดีในเสียงท่านจึงทรงอนุญาตให้พระเทศน์ด้วยเสียง(สรภัญญะ) โดยสมัยหลังเรียกการเทศน์แบบนี้ว่า "โฆสัปปมาณิกา" การเทศน์สำหรับผู้ยินดีในประมาณเสียงก้อง
chai rasi ตอบกลับไปที่ chanwit680 (แสดงความคิดเห็น) 1 เดือนที่ผ่านมา
-
แหล่สุวรรณสาม พระปลัดธีรเดช (http://www.youtube.com/watch?v=fN_18NEOIEI#ws) อัปโหลดโดย benzzaa29 เมื่อ 22 ต.ค. 2011
บันทึกการแสดงธรรม เรื่อง สุวรรณสาม เพื่อเผยแผ่ธรรมะการกุศล
แสดงธรรมโดย พระครูปลัดธีรเดช ชุตินฺธโร พระอาจารย์เสนาะ กิตฺติธโร
พระมหาตุ้ยนุ้ย พระอาจารย์สมเกียรติ
พระธรรมทั้งสอง ถึงร้องไม่ร้อง ได้ผลเท่ากัน แปลว่าขึ้นอยู่กับผู้ฟัง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพระที่เทศน์
SSom Ssornkaew 1 เดือนที่ผ่านมา
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำ
ร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓ / jongarrg 1 เดือนที่ผ่านมา
ฟังด้วยปัญญา ฟังให้เข้าไปถึงข้างใน อย่ามองแต่ภายนอก มองให้เห็นถึงเจตนา
Jarutmax 2 เดือนที่ผ่านมา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
....จริงๆก็เป็นอาบัตินั่นแหละ แต่เป็นอาบัติเล็กน้อยเท่านั้นเอง ชอบก็ฟัง ไม่ชอบก็อย่าฟัง ก็เท่านั้น
wanohwan101 4 เดือนที่ผ่านมา
ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ ๕ ประการนี้คือ
๑. ตนยินดีในเสียงนั้น ๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น ๓. ชาวบ้านติเตียน
๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป ๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
อ้างอิงจากพระไตรปิฏกเล่มแดง เล่มที่ 9 หน้า 8
RattapongMY 7 เดือนที่ผ่านมา