ใต้ร่มธรรม

อิ่มกาย อิ่มใจ => สุขภาพกับชีวิต => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 07, 2012, 10:04:01 am

หัวข้อ: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 07, 2012, 10:04:01 am
ยา...อันตราย ถ้าใช้ไม่เป็น?
-http://health.kapook.com/view47820.html-

(http://img.kapook.com/u/patcharin/Health/Medicine/medicine_l.jpg)


ยา…อันตราย ถ้าใช้ไม่เป็น? (e-magazine)

          จริงอยู่ที่ยาเป็นสิ่งดีมีคุณอนันต์ แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษมหันต์ ถ้าใช้ไม่เป็น โดยความเข้าใจของคนส่วนใหญ่มักนึกว่า "ยา" คือ สิ่งที่ใช้บรรเทาหรือรักษาให้เราหายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วจะมีโทษมหันต์ได้อย่างไร แต่แท้จริงแล้วยาเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรู้จักใช้อย่างถูกต้องก็จะเป็นประโยชน์ สามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเราได้ ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตยืนยาวขึ้น เจ็บปวดน้อยลง แต่ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้องหรือถูกวิธี นอกจากจะทำให้ไม่หายจากโรคแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ดูสักนิดก่อนใช้ยา

          ก่อนที่จะหยิบหยูกยามาใช้ คุณควรระมัดระวังสักนิด โดยต้องศึกษาวิธีการใช้ยาอย่างละเอียด อ่านคำเตือน และข้อควรระวังก่อนใช้ยานั้น ๆ และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษานั่นเอง ก่อนกินยาทุกครั้งต้องดูให้แน่ใจว่า ยานั้นต้องกินก่อน หรือหลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร ในขนาดหรือปริมาณเท่าไร ยาก่อนอาหารควรกินก่อนอาหาร ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนยาหลังอาหารส่วนมากกินหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง แต่บางชนิดจะระบุให้กินหลังอาหารทันที จึงต้องแน่ใจว่า ยานั้น ๆ ใช้อย่างไร นอกจากนี้การกินยาควรกินกับน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น ไม่ควรกินกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ไม่ควรกินยากับน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้เช่นกัน

ยากับลูกน้อย

          การใช้ยาที่ควรระวังเป็นพิเศษก็คือ การใช้ยาในเด็ก ต้องแน่ใจว่า ยาที่ได้มานั้นสำหรับเด็กเท่านั้น และการใช้ยาจะต้องถามแพทย์หรือเภสัชกรให้แน่ใจ หรือดูฉลากยาให้ละเอียดด้วยว่าเด็กมีน้ำหนักตัวเท่าไร ถ้าเด็กตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ยาบางชนิดจะระบุให้ใช้ในปริมาณที่ต่ำกว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า แม้ว่าจะอายุเท่ากันก็ตาม เช่น การใช้ยาลดไข้ พาราเซตามอลกับเด็ก ถ้ารับประทานเกินขนาด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

(http://img.kapook.com/u/patcharin/Health/Medicine/medicine_3.jpg)


เก็บยาให้เป็น

          สำหรับการเก็บรักษายา ควรเก็บไว้บนที่สูงที่เด็กเอื้อมไม่ถึง อย่าปล่อยให้ยาโดนแสงแดด หรือความชื้น หรือเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพเร็วกว่ากำหนด เมื่อเปิดใช้ยาแล้วควรปิดฝาให้สนิทป้องกันฝุ่น แมลง หรือความชื้นเข้า ไม่ควรเก็บยาหลาย ๆ ชนิดไว้ในขวดเดียวกัน เพราะอาจทำให้ยาเสียได้ ไม่ควรเก็บยาไว้นาน ๆ ต้องดูวันหมดอายุของยา อย่าเผลอกินยาที่หมดอายุแล้ว เพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

          นอกจากนี้ แม้ยาบางชนิดจะไม่ระบุวันหมดอายุไว้ที่แผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ แต่โดยทั่วไปสภาพของยาจะมีอายุอยู่ได้นานเป็นเวลาประมาณ 2-3 ปี หลังจากวันที่ผลิต แต่ยาบางชนิดเมื่อเปิดใช้แล้วก็อาจมีอายุการใช้สั้น เช่น ยาหยอดตา ซึ่งจะมีอายุหลังเปิดใช้เพียง 1 เดือนเท่านั้น หรือยาปฏิชีวนะที่ต้องผสมน้ำสำหรับให้เด็กรับประทาน หลังจากผสมน้ำแล้วยาตัวนั้นจะมีอายุอยู่ได้เพียง 7 วัน หมายความว่าหลังจาก 7 วันแล้วไม่ควรนำยานั้นมาใช้อีกต่อไป

ใช้ให้ถูก

          วิธีการใช้ยาแต่ละชนิดเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทราบและใช้ให้ถูกวิธีดังกล่าวแล้ว ตัวอย่างการใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น การกินยาฆ่าเชื้อราที่ผิวหนัง หากเป็นชนิดรับประทานวันละ 1 เม็ด ควรรับประทานเวลาเช้า เพื่อให้ยาสามารถซึมออกมากับเหงื่อช่วงที่ร่างกายเราเคลื่อนไหวในเวลากลางวัน หรืออย่างแคลเซียมคาร์บอเนต ก็ต้องรับประทานหลังอาหารเพราะตัวยาจะถูกดูดซึมได้ดีเมื่อกระเพาะมีการหลั่งกรดออกมามาก หรืออย่างยาระบายไม่ควรกินร่วมกับนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นเหียน อาเจียน ท้องเสียได้

          ส่วนยาประเภทซัลฟา ให้กินหลังอาหารและดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อป้องกันมิให้ยาตกตะกอน ซึ่งอาจมีส่วนทำให้เป็นนิ่วที่ไตได้ในภายหลัง เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง ในการไปพบแพทย์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่า ขณะนี้คุณกำลังกินยาอะไรอยู่บ้าง ถ้าจำไม่ได้ ให้นำยาทั้งหมดไปให้แพทย์ดูด้วย เพื่อที่แพทย์จะได้สั่งยาไม่ซ้ำ หรือยาที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน และอย่าลืมแจ้งด้วยว่าคุณแพ้ยาอะไร ตลอดจนควรบอกให้แพทย์ทราบว่าคุณมีโรคประจำตัว หรือกำลังป่วยด้วยโรคอะไร เช่น โรคตับ โรคไต โรคกระเพาะอาหาร หรือกำลังตั้งครรภ์ เพื่อที่แพทย์จะได้เลี่ยงการจ่ายยาที่เป็นอันตรายกับโรคที่คุณเป็นอยู่นั้น

          ก่อนจะใช้ยา ให้คุณคิดถึงหลักเกณฑ์ ถูกต้อง ถูกวิธี ถูกเวลา ถูกเงื่อนไข ถูกขนาด และถูกกับโรค จึงจะสัมฤทธิ์ผล และมีประสิทธิภาพต่อการรักษาโรคอย่างแท้จริงและมีความปลอดภัย


ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน

-http://www.e-magazine.info/site/-

-http://www.e-magazine.info/site/category/article/healthy/-

.


หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 07, 2012, 10:06:57 am
ตะเวณเที่ยว โปรดยาลืมยา
-http://www.e-magazine.info/site/2012/09/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7/-

http://www.e-magazine.info/site/2012/09/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7/ (http://www.e-magazine.info/site/2012/09/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7/)

ถึงเวลาแบกเป้าเข้าป่าเข้าเขากันแล้ว เรื่องของร่างกายแน่นอนว่าจะต้องพร้อม

 แต่ทว่าเจ้ากระเป๋าใบเบ้อเริ่มของคุณมีที่ว่างพอสำหรับหยูกยาที่ควรตระเตรียมขณะออกเที่ยวแล้วหรือยัง หากแต่ว่าคุณๆ นักท่องเที่ยวจะไม่แน่ใจว่าควรหยิบยาอะไรไป วันนี้อีแมกกาซีนมีคำตอบ

ภญ.จินตนา แสงโพธิ์ จากโรงพยาบาลภูเขียว เผยว่า ยาที่ทุกคนควรพกติดกระเป๋าไปเที่ยวด้วยนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งนัก เพราะบางครั้งระหว่างทาง คุณอาจไม่ได้พบกับร้านขายยา ซึ่งแน่นอนว่า ผลร่ายที่เกิดกับร่างกายจะทำให้การออกเที่ยวหมดสนุดไปได้อย่างแน่นอน

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรพกติดเป้ไปท่องเที่ยว

1. ยาเม็ดแก้เมารถ เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท

เป็นยาในกลุ่มแอนตี้ฮิสตามีนออกฤทธิ์โดยตรงที่อวัยวะควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเมารถ เมาเรือ วิธีใช้เพื่อป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ ในผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 30 นาที ไม่ควรรับประทานเมื่อมีอาการแล้ว เพราะยาจะปนออกมากับอาเจียนโดยที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย

ยานี้เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม ดังนั้น ไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

2. ยาเม็ดบรรเทาปวด ลดไข้ พาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม

ใช้สำหรับลดไข้ หรือบรรเทาอาการปวด ให้รับประทานทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ ในขนาด...

- ผู้ใหญ่ ให้รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด

- เด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทานครั้งละ 1/2-1 เม็ด

- ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง และเมื่อหายจากอาการปวดหรือไข้แล้วให้หยุดยา ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 5 วัน และห้ามใช้ยานี้รักษาอาการปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก

3. ยาเม็ดแก้แพ้คลอร์เฟนิรามีน

บรรเทาอาการแพ้หรือลมพิษที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ขนาดและวิธีใช้ของยานี้ คือ รับประทานยาทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ

- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ไม่ควรรับประทานเกินวันละ 12 เม็ด

- เด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด และไม่เกินวันละ 6 เม็ด

- ยานี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานกับเครื่องจักรกล


4. ผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส)

สรรพคุณของยาตำรับนี้ จะช่วยทดแทนการเสียน้ำในรายที่มีอาการท้องเสีย หรือในรายที่อาเจียนมาก และป้องกันการช็อคเนื่องจากร่างกายขาดน้ำ วิธีใช้ คือ ละลายยาในน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ประมาณ 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) ให้ดื่มมาก ๆ เมื่อเริ่มมีอาการท้องร่วง ถ้าถ่ายบ่อยให้ดื่มบ่อยครั้งขึ้น ถ้าอาเจียนด้วยให้ดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

เด็กอายุมากกว่า 2 ปี-ผู้ใหญ่ ให้ดื่ม 1 แก้ว ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง หรือตามความกระหาย

เด็กอ่อน-เด็กอายุ 2 ปี ให้ดื่มทีละน้อย สลับกับน้ำเปล่าประมาณวันละ 3 ซอง หรือมากพอที่ผู้ป่วยต้องการ และดื่มต่อไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น

5. ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซีย

ประกอบด้วยตัวยาอะลูมิเนียมไฮดร็อกไซด์ และ แมกนีเซียมไฮดร็อกไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วยาจะไปเจือจางกรดในกระเพาะอาหาร มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก หรือมีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้

การรับประทานให้รับประทานยาครั้งแรกเมื่อมีอาการปวดท้อง หรือจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน พร้อมด้วยน้ำสัก 1-2 แก้ว หากอาการยังไม่หาย ก็ให้รับประทานต่อ โดยรับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง แล้วแต่สะดวก

6. ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง

มีตัวยาที่เป็นสารระเหยง่าย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ได้แก่ เมธิลซาลิซิเลต การบูร เมนธอล น้ำมันกานพลู ยูคาลิปตัส น้ำมันสน เป็นต้น มีสรรพคุณทำให้ผิวหนังระคายเคือง ทำให้บริเวณที่ทายามีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ผิวหนังจะมีสีแดง และรู้สึกร้อนขึ้น เลือดมีการหมุนเวียนดี กล้ามเนื้อคลายตัว จึงทำให้บรรเทาอาการปวดได้ และยังมีสรรพคุณเป็นยาชาเฉพาะที่ ทำให้ลดความเจ็บปวด และลดอาการคันได้ด้วย

ใช้ทาและนวดบริเวณที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังสามารถใช้บรรเทาอาการปวดบวม คัน เนื่องจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ โดยทั่วไปใช้ทาวันละ 3-4 ครั้ง


7. ยาใส่แผล โพวิโดน-ไอโอดีน

ใช้เมื่อเกิดแผลถลอกหรือแผลมีเลือดออก สิ่งสำคัญที่สุด คือ การห้ามเลือด และการทำความสะอาด โดยการทำความสะอาดแผลสามารถทำได้ด้วยการใช้สบู่และน้ำ หรือใช้น้ำสะอาดเพียงอย่างเดียวล้างบริเวณแผล เพื่อชำระสิ่งสกปรก

ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info

ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน

(ติดต่อขอใช้บทความที่ฝ่ายการตลาด)

ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info (http://www.e-magazine.info)


.


หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 10, 2012, 06:27:40 am
ต้อหินกับการใช้ยา
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123923-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
10 ตุลาคม 2555 00:35 น.

(http://pics.manager.co.th/Images/555000013058701.JPEG)
การมองเห็นของคนปกติ


(http://pics.manager.co.th/Images/555000013058702.JPEG)
การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน


(http://pics.manager.co.th/Images/555000013058703.JPEG)
ต้อหินอาจพบในเด็กเล็กได้โดยจะมีตาโตและกระจกตาขุ่น


โดย...รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์
       ภาควิชาจักษุวิทยา
       
       การเกิดโรคต้อหิน อาจพบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่สายตาสั้น หรือยาวมากๆ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และยังเชื่อว่า เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่สาเหตุสำคัญอีกอย่างที่ทำให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน ก็คือ การใช้ยาหยอดตาประเภท สเตียรอยด์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เพราะยากลุ่มนี้สามารถรักษาอาการคัน และระคายเคืองตาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ต่างๆ ได้ด้วย จึงทำให้คนทั่วไปนิยมซึ้อมาใช้เอง หรือนำตัวอย่างยาที่เคยได้รับจากจักษุแพทย์ไปหาซื้อมาใช้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดวงตาได้รับปริมาณยามากเกินไป ความดันตาจะสูงขึ้นจนถึงขั้นทำให้เกิดโรคต้อหิน ตาจะมัวลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นตาบอดสนิทได้
       
       ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ นอกจากจะพบในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือการอักเสบเรื้อรังที่ตา และจำเป็นต้องรักษาด้วยการหยอดยาลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์แล้ว ยังพบได้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานทั้งยารับประทาน ยาฉีด ยาพ่นจมูก รวมถึงยาป้ายผิวหนังบริเวณใบหน้า หรือรอบดวงตา เช่น โรคผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคหอบหืดเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจเป็นได้ทั้งต้อหินและต้อกระจก
       
       การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต้อหิน จำเป็นต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันตา และวางแผนการรักษา สำหรับมาตรฐานการรักษาต้อหินในปัจจุบันมี 3 วิธี ได้แก่ การใช้ยาซึ่งอาจต้องใช้ยาหยอดตาหลายชนิดร่วมกัน การรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ และการผ่าตัด ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ส่วนการนวดตา หรือการใช้สมุนไพรยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานการรักษาต้อหินในปัจจุบันครับ
       
       ฉะนั้น ก่อนการใช้ยาทางตาต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเสมอ ควรอ่านเอกสารกำกับยาเพื่อดูข้อบ่งใช้และผลข้างเคียงให้เข้าใจ รวมถึงการใช้ยาหยอดตาอย่างต่อเนื่องควรอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์ โดยเฉพาะยาที่อาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ข้อสังเกตเบื้องต้นคือ ยาที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายว่า เด็กซ์ (Dex)
       
       แต่ถ้าเป็นยาที่ไม่อันตราย เช่น น้ำตาเทียม ยาล้างตา ก็สามารถซื้อมาใช้เองได้ครับ
       
       ***
       
       กิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
       12 ต.ค.อบรม “Palliative and end of life care” โดย ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ แก่บุคลากรทางการแพทย์ ดาวน์โหลดใบสมัครที่ www.si.mahidol.ac.th/education (http://www.si.mahidol.ac.th/education) สอบถาม โทร.0 2411 6430
       14 ต.ค.บรรยาย “เลี้ยงทารกให้ง่ายๆ สบายๆ สไตล์ศิริราช” โดย รศ.กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ และ อ.พิกุล ขำศรีบุศ แก่ผู้ปกครองฟรี ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่ง โทร. 0 2419 5722, 0 2419 7626

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123923 (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123923)

.



หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 04, 2012, 09:24:57 am
รู้ไว้ใช่ว่า! อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการทานยาปฏิชีวนะ
-http://men.kapook.com/view49895.html-

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20(1).jpg)


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
   
          ยาปฏิชีวนะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ยาแก้อักเสบ นั้น ถูกนำมาใช้รักษาโรคหลายต่อหลายชนิดเลย ไม่ว่าจะเป็น อาการเจ็บคอ ไข้หวัด หรืออาการอักเสบต่าง ๆ เพราะยาชนิดนี้จะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโต และช่วยฆ่าเชื้อโรคในร่างกายนั่นเอง ซึ่งนอกจากจะต้องทานยาให้ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่งแล้ว ก่อนทานยาทุกครั้งก็ควรจะทานอาหารรองท้องไว้ด้วย ซึ่งเชื่อว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับยาชนิดนี้ และรับประทานเข้าไปแบบไม่ถูกต้อง วันนี้เราก็เลยนำเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับอาหาร 5 ประเภทที่คุณควรหลีกเลี่ยงก่อนการทานยาปฏิชีวนะมาฝากกันดังนี้

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20%282%29.jpg)

 1. แอลกอฮอล์

          แอลกอฮอลที่กล่าวถึงนั้น ไม่ได้หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง น้ำเชื่อม หรือของเหลวอื่น ๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อีกด้วย เพราะแอลกอฮอล์นั้นจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมตัวยา ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของตัวยาลดลง นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งหากคุณทานร่วมกันกับยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติก็เป็นได้ หากเป็นไปได้ก็พยายามทานยากับน้ำเปล่าจะดีที่สุด

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20%283%29.jpg)

2. ผลิตภัณฑ์จากนมวัว

          ถึงแม้การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัวจะทำให้สุขภาพของคุณแข็งแรง แต่หากคุณทาน หรือดื่มนมพร้อม ๆ กับยาคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะแคลเซียมในน้ำนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวนั้น จะทำให้ยาจับตัวกันเป็นก้อน จนร่างกายไม่สามารถดูดซึมตัวยาได้ หรืออาจจะดูดซึมยาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้การทานยากับผลิตภัณฑ์จากนมวัวนั้น ยังทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นผลข้างเคียงตามมาอีกด้วย

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20%284%29.jpg)

3. อาหารที่มีไฟเบอร์สูง

          หลังจากที่คุณทานยาปฏิชีวนะแล้ว ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อย่างเช่น พวกผักใบเขียวและอาหารประเภทถั่ว เพราะอาหารทั้งสองชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการทำงานของลำไส้ ทำให้ร่างกายดูดซึมตัวยาได้น้อยลง นอกจากนี้บางรายยังทำให้เกิดอาการท้องเสียขั้นรุนแรงอีกด้วย

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20%285%29.jpg)

4. อาหารที่มีค่าความเป็นกรดสูง

          อาหารที่มีค่าความเป็นกรดสูง อันได้แก่ มะนาว มะเขือเทศ หรือน้ำอัดลมต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมและยับยั้งฤทธิ์ยาเท่านั้น แต่อาหารประเภทนี้ยังส่งผลต่อปริมาณยาที่ร่างกายขับออกมาด้วย ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรจะทานอาหารประเภทนี้ หลังจากที่คุณทานยาผ่านไปแล้ว 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด

(http://img.kapook.com/u/suttichai/a999993/drug%20%286%29.jpg)

5. อาหารหนัก

          ก่อนที่คุณจะทานยาไม่ควรรับประทานอาหารหนักหรือย่อยยาก อย่างเช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะเป็นอาหารที่ย่อยยากและทำให้ลำไส้ของคุณทำงานหนักขึ้น อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังทำให้ร่างกายดูดซึมยาได้น้อยลงด้วย ดังนั้นก่อนทานยาคุณจึงควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และเป็นอาหารเบา ย่อยง่าย ๆ อย่างเช่น ขนมปัง ข้าวต้ม หรือโจ๊กจะดีกว่า

          หากคุณอยากจะให้ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อไม่ให้อาหารเหล่านั้นเข้าไปขัดขวางการดูดซึม และลดประสิทธิภาพในการรักษาของยาด้วย รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติกันด้วยนะครับ


http://men.kapook.com/view49895.html (http://men.kapook.com/view49895.html)

.

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ มกราคม 17, 2013, 10:37:49 pm
พบยานอนหลับตัวใหม่ “ฟีนาซีแพม” แรงกว่า 10 เท่า เสพกับเหล้าถึงตาย!
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000006787-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 มกราคม 2556 17:01 น.

พบยานอนหลับชนิดใหม่ “ฟีนาซีแพม” ระบาดภาคใต้ แรงกว่ายานอนหลับทั่วไป 10 เท่า ออกฤทธิ์นาน 60 ชั่วโมง ทำผู้ใช้ยาง่วงมึน สับสน เสียการทรงตัวและความจำ เสพร่วมกับเหล้าอาจถึงตาย ด้าน อย.เอาผิดได้แค่ยาไม่ตรงฉลาก เหตุยังไม่เป็นสารควบคุมในไทย ชี้ ถูกนำมาใช้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย เตรียมชงคณะกรรมการประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ฯประเภท 2

(http://pics.manager.co.th/Images/556000000710301.JPEG)

       วันนี้ (17 ม.ค.) นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีการพบการลักลอบนำเข้ายานอนหลับชนิดใหม่ ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ว่า สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ส่งของกลางยานอนหลับชนิดใหม่จำนวน 2,940 เม็ด มาให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ทำการตรวจวิเคราะห์ โดยลักษณะยาดังกล่าวด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พร้อมตัวเลข 028 และอีกด้านมีตัวเลข 5 บรรจุในแผงพลาสติกใสสีแดง-อะลูมิเนียม บนแผงมีข้อความตัวอักษร “Erimin 5” ซึ่งจากการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบ “ฟีนาซีแพม (Phenazepam หรือ Fenazepam)” ซึ่งเป็นยานอนหลับในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์ (Benzodiazepines) มีฤทธิ์แรงกว่า ไดอาซีแพม (Diazepam) ซึ่งเป็นยานอนหลับที่คนส่วนใหญ่รู้จักถึง 10 เท่า และออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า 60 ชั่วโมง
       
       “ผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวจะมีอาการง่วงซึม มึนงง สับสน สูญเสียการทรงตัว และสูญเสียความทรงจำ หากหยุดยาทันทีหลังได้รับยาขนาดสูง หรือเป็นระยะเวลานานอาจเกิดอาการถอนยา และถ้าใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือสารที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิเอตส์ หรือยานอนหลับอื่นๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบการนำฟีนาซีแพมไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งกลุ่มผู้เสพนิยมเรียกยานี้ ว่า Phenny, P, Bonsai, Bonsai Supersleep และ 7 bromo-5 ส่วนการเสพมีหลายวิธี ได้แก่ การกิน การอมใต้ลิ้น การสูด และการฉีดเข้าเส้น ทั้งนี้ ในสหรัฐอเมริกาก็มีรายงานพบผู้เสพยาชนิดนี้เสียชีวิตจากการได้รับยาเกินขนาดด้วย” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
       
       นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า ปกติแล้วยา Erimin 5 จะตรวจพบสารไนเมตาซีแพม ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และไม่มีการอนุมัติทะเบียนตำรับในประเทศไทย แต่จากการตรวจพิสูจน์ตัวอย่างของกลาง Erimin 5 แล้วพบฟีนาซีแพมนั้น จึงสันนิษฐานว่า อาจมีการนำฟีนาซีแพมมาผลิตเป็นยา Erimin 5 ทดแทน ไนเมตาซีแพม เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เนื่องจากฟีนาซีแพมยังไม่ได้จัดเป็นสารควบคุมในประเทศไทย รวมทั้งในอนุสัญญาสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะดำเนินการเฝ้าระวังและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของสารนี้ต่อไป

(http://pics.manager.co.th/Images/556000000710302.JPEG)

       นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า รายงานข้อมูลระบุว่า Erimin 5 เป็นยาที่ผลิตโดยบริษัท Sumimoto Pharmaceuticals ในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ตัวยาสำคัญชื่อ ไนเมตาซีแพม (Nimetazepam) ขนาดยา 5 มก.เป็นยานอนหลับในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์ มีการอนุญาตให้ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย โดยเป็นสารควบคุม สำหรับประเทศไทยตัวยาดังกล่าวจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แต่ยานี้ไม่มีการอนุมัติทะเบียนตำรับในประเทศไทย ซึ่งยาที่ถูกจับได้จึงเป็นยาที่ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศอื่นทั้งสิ้น โดยพบว่ามีการนำไปใช้ในทางที่ผิดในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งนิยมเรียกยานี้ในชื่อ five-five หรือ Happy 5 ดังนั้น ยาดังกล่าวที่ตรวจพบสารสำคัญไม่ตรงตามที่ระบุไว้ จึงเข้าลักษณะของวัตถุออกฤทธิ์ปลอม ซึ่งผู้ขายมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท ส่วนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีโทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-300,000 บาท แต่ไม่สามารถเอาผิดในเรื่องการผสมสารฟีนาซีแพมได้ เนื่องจากสารดังกล่าวไม่ได้เป็นสารควบคุมในประเทศไทยและสหประชาชาติว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
       
       “อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะนำเรื่องเข้าคณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทได้ในปลายเดือนมกราคมนี้ เพื่อประกาศให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 2 ซึ่งสามารถใช้ได้ภายในสถานพยาบาลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” เลขาฯ อย.กล่าว
       
       อนึ่ง สารฟีนาซีแพมได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในประเทศรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ.2517 และนำไปใช้ในทางการแพทย์ในประเทศรัสเซียและบางประเทศในยุโรปตะวันออกรักษาโรคระบบประสาท และโรคลมชัก โดยใช้ประมาณ 1- 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อวัน

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ มกราคม 19, 2013, 10:30:36 am
คุมเข้ม 'ยาเสียสาว' - คุณหมอขอบอก
วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/179061.jpg)

จากกรณีที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยกระดับ “อัลปราโซแลม” จากวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ทำให้หลายคนสงสัยว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการคุมเข้มยาดังกล่าวมากกว่าเดิม

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บอกว่า ที่ผ่านมามีการเฝ้าระวังมานานแล้วพบว่ามีการนำยาอัลปราโซแลมไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ ปรากฏเป็นข่าวอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากอัลปราโซแลมไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงมีผู้ไม่หวังดีนำไปบดผสมกับเครื่องดื่มมอมเหยื่ออยู่บ่อย ๆ ที่หลายคนเรียกกันว่า ยาเสียสาว ก็ยาตัวนี้ที่มีการนำไปใส่เครื่องดื่มมอมเมากัน ดังนั้นการยกระดับให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 น่าจะช่วยให้การเข้าถึงอัลปราโซแลมยากขึ้น เพราะมีการกลั่นกรองโดยแพทย์ มีการนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์มากขึ้น

เดิมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ร้านขายยาที่มีใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และ 4 สามารถจำหน่ายได้ แต่พอยกระดับขึ้นมาต่อไปร้านขายยาไม่สามารถจำหน่ายได้ จะมีเฉพาะในคลินิก หรือสถานพยาบาลที่มีแพทย์สั่ง การนำไปใช้ในทางที่ผิดก็น้อยลง

ส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งยาเหล่านี้ให้คนไข้ ตัวคนไข้ก็ต้องผ่านวิธีการรักษาอื่น ๆ มาพอสมควร เพราะการรักษาด้วยยามีขึ้นอยู่แล้ว การสั่งจ่ายยากลุ่มนี้แสดงว่า คนไข้เคยใช้ยาตัวอื่นมาแล้ว บางคนมีปัญหาเยอะมันจำเป็นจริง ๆ เพราะถ้าไม่ได้รับยาคนไข้จะทรมานมากนอนไม่หลับ และมีปัญหาอื่นตามมาอีกเยอะแยะ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้ยาตัวนี้ก็ยังคงมีอยู่
 
อัลปราโซแลมมี 3 ขนาด คือ 0.25 มก. 0.50 มก. และ 1มก. ต่อเม็ด โดยเฉลี่ยปีหนึ่งมีการใช้ประมาณ 70-80 ล้านเม็ด ไม่ถึง 100 ล้านเม็ด การใช้โดยแพทย์สั่งคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าแพทย์ต้องประเมินคนไข้ก่อน แต่ที่เรากังวลคือการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ดังนั้นการยกระดับเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คงลดปัญหาลงได้พอสมควรแต่คงยังไม่หมดไป เพราะยังมีการหลุดรอดออกไปได้อยู่
 
ด้าน ภก. ประพนธ์ อางตระกูล ผอ.กองควบคุมวัตถุเสพติด กล่าวว่า ยาอัลปราโซแลมใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ แต่มีคนไม่หวังดีเอาไปใช้ในการมอมเมาผิดวัตถุประสงค์ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขยกระดับอัลปราโซแลมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ ดังนั้นต่อไปร้านขายยาจะไม่สามารถจำหน่ายได้ ที่ผ่านมายาตัวนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่คลินิกและโรงพยาบาล ในร้านขายยามีไม่ถึง 10%

โรงพยาบาลรัฐจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตครอบครอง ส่วนโรงพยาบาลเอกชน คลินิก ต้องขอใบอนุญาตครอบครอง ในส่วนภูมิภาคยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ส่วนกรุงเทพฯ ยื่นขออนุญาตที่ อย. ทั้งนี้ให้ทุกโรงพยาบาลทั้งรัฐ เอกชน คลินิก จัดทำบัญชีรับ-จ่าย ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ปัจจุบันยานอนหลับซื้อในร้านขายยาได้หรือไม่? ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ยานอนหลับส่วนใหญ่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2  ประเภท 3 และ 4 ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ห้ามร้านขายยาจำหน่าย ส่วนประเภท 3 และ 4 ร้านขายยาที่ได้รับใบอนุญาตขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ขายได้ โดยต้องมีใบสั่งแพทย์ และมีเภสัชกรเป็นผู้ส่งมอบ อย่างไรก็ตามวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ปกติก็ไม่ค่อยมีอยู่ในร้านขายยาอยู่แล้ว กรณีอัลปราโซแลมเดิมร้านขายยามีไว้ก็ไม่ได้เอาไว้ขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่เอาไว้ขายให้กับคลินิก เพราะต่างจังหวัดเข้ามาซื้อยาหรือสั่งยาในกรุงเทพฯ หรือร้านขายส่งค่อนข้างลำบาก.

นวพรรษ บุญชาญ รายงาน
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤษภาคม 01, 2013, 08:29:31 am
13 วิธีสร้างสุขให้ทุกวันของชีวิต/ดร.สุภาพร เทพยสุวรรณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 เมษายน 2556 13:36 น.

-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000051306-


  ชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุขและต่างก็แสวงหาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น วันนี้ผู้เขียนมีวิธีที่ช่วยเพิ่มความสุขให้ตัวเองที่ทำได้ไม่ยากมาฝากค่ะ
       
       1. อยู่กับคนที่ทำให้เรายิ้มได้ จากการศึกษาพบว่าเราจะมีความสุขที่สุดเมื่ออยู่ท่ามกลางคนที่มีความสุขเหมือนกัน ให้เราอยู่กับคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างอารมณ์สุนทรีย์เพราะคนเหล่านั้นจะพลอยพาให้เราหัวเราะและมีความสุขไปด้วย
       
       2. ยึดถือคุณค่าในตัวเอง อะไรคือความเชื่อของเรา อะไรคือสิ่งที่ยึดถือ เช่น ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม หากเราให้ความสำคัญต่อคุณค่าเหล่านี้มากเท่าไหร่ เราจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและคนที่เรารักมากขึ้นเท่านั้น
       
       3. ยอมรับสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆก็ตาม อย่าผลักไสสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นและคิดว่าสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ให้เรายอมรับสิ่งดีที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะเป็นสิ่งน้อยนิดก็ตาม
       
       4. จินตนาการถึงการประสบความสำเร็จ อย่ากลัวว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้นั้นเราจะไปไม่ถึง ให้เราวาดภาพความสำเร็จของตัวเอง หลายคนไม่กล้าวาดภาพความสำเร็จของตัวเอง เพราะกลัวว่าจะทำให้ตัวเองผิดหวัง แต่ในความจริงการจินตนาการถึงความสำเร็จของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เราไปถึงจุดนั้น
       
       5. ทำในสิ่งที่เรารัก แม้ว่าเราไม่สามารถไปนั่งชมวิวชายทะเลทุกวัน หรือดำน้ำดูปะการังที่เราชอบได้บ่อยๆ แต่การได้ทำในสิ่งที่เรารักบ้างนานๆครั้ง จะช่วยเพิ่มความสุขให้แก่เราอย่างไม่น่าเชื่อ
       
       6. มีเป้าหมายในชีวิต คนที่มีเป้าหมายในชีวิตจะพยายามไปถึงจุดนั้นและจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและต่อชีวิต
       
       7. ทำตามใจของเรา เราเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถบอกตัวเราเองได้ว่าอะไรจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข ไม่ใช่สิ่งที่ครอบครัวหรือเพื่อนๆบอก แต่เป็นสิ่งที่รู้อยู่แก่ใจตัวเอง
       
       8. ผลักดันตัวเองไม่ใช่กดดันผู้อื่น เป็นการง่ายที่เราจะรู้สึกว่าความสำเร็จของเรานั้นขึ้นอยู่กับคนอื่น แต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับเรา เมื่อเราเข้าใจและตระหนักในสิ่งนี้แล้ว ในทางกลับกันสิ่งเหล่านี้จะมีอำนาจผลักดันให้เราไปถึงจุดหมายได้ ให้เราหยุดตำหนิโลกนี้และคนอื่น อย่าเปรียบเทียบตัวเราเองกับคนอื่น และเราจะค้นพบคำตอบในไม่ช้า
       
       9. เต็มใจรับการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าอาจจะยาก แต่ให้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้เรียนรู้ประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆในชีวิต และจะทำให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง
       
       10. พอใจกับชิวิตง่ายๆ คิดทางบวกอยู่เสมอ เช่น เรามีคนที่รักเรา เรามีความทรงจำที่ดี เรามีเพื่อนที่ดี วันนี้รถติดน้อยกว่าเมื่อวาน สิ่งง่ายๆเหล่านี้ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร
       
       11. ทำดีกับทุกคน การทำดีกับผู้อื่นจะช่วยสร้างความสุขให้แก่ตัวเรา ไม่ว่าความดีที่เราทำนั้นจะเล็กน้อยเพียงใด แต่จะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตัวเราได้ งานวิจัยพบว่า เด็กอายุ 9-11 ขวบที่ให้ทำสิ่งที่ดีเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน ไม่เพียงแต่มีความสุขเพิ่มมากขึ้นแต่ยังเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนๆอีกด้วย
       
       12. มีความเพียงพอ รู้จักประหยัด การมีหนี้สินหรือการใช้จ่ายเกินตัว ทำให้เราเป็นทุกข์ สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตนั้นมีไม่กี่อย่าง แต่สิ่งที่เราต้องการมีมากจนไม่รู้จบ ให้เรารู้จักพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ ว่าเรามีเพียงพอแล้ว ความละโมบทำให้เราเกิดความทุกข์ จากการไม่รู้จักพอ
       
       13. เป็นพ่อแม่คน สิ่งนี้หลายคนอาจไม่เห็นด้วย แต่การจากศึกษาพบว่าการเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองทำให้เรามีประสบการณ์อีกขั้นหนึ่งในชีวิตที่คนที่ไม่มีลูกไม่ได้รับ แต่ไม่ได้หมายความว่าการเป็นพ่อแม่คนทำให้เรามีความสุขแต่การเป็นพ่อแม่เป็นการเชื่อมต่อของความสุขและเป็นสิ่งที่มีความหมาย จากการศึกษาของ Lyubomirsky ในปี 2012 พบว่า การเป็นพ่อ แม่ของลูกเป็นประสบการณ์ที่ทำให้มีความสุขอีกขั้นหนึ่งของชีวิตและทำให้เรารู้จักความหมายของชีวิตมากขึ้น
       
       ความสุขเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราและหาได้ไม่ยาก แค่เพียงเริ่มต้นจากการเข้าใจตัวเอง มองเห็นคุณค่าในตัวเอง พอใจกับชีวิตง่ายๆ รู้จักพอ และพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงและประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆในชีวิต ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
       
       ข้อมูลอ้างอิงจาก -http://m.psychologytoday.com-

-------------------

วิธีแก้ปัญหาสารพัดเบื่อ/ดร.แพง ชินพงศ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 เมษายน 2556 08:55 น.

-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048990-

 “เบื่อ” เป็นสภาวะของอารมณ์ที่รู้สึกไม่พึงพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองในขณะนั้น โดยอาจแสดงออกด้วยการซึมเศร้า นิ่งเฉย ขาดความสดชื่น ไม่มีความตื่นเต้น ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ขาดแรงจูงใจและเป้าหมายในการกระทำสิ่งต่างๆ
       
       ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านทุกคนต้องเคยตกอยู่ในสภาวะแห่งความเบื่อหน่ายกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเบื่องาน เบื่อแฟน เบื่อคนใกล้ตัวหรือแม้กระทั่งเบื่อตัวเอง
       
       ผู้เขียนมีวิธีการแก้เบื่ออย่างง่ายๆ ที่มั่นใจว่าช่วยลดความเบื่อได้อย่างแน่นอน 100% ดังนี้
       
       1.เบื่องาน เช่น รู้สึกไม่อยากทำงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน รวมไปถึงเบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อหัวหน้า เบื่อลูกนัอง เบื่อระบบงานต่างๆ ซึ่งทำให้ไม่อยากจะหยิบจะจับงานอะไรหรือพาลอยากจะลาออกจากงานไปเลยด้วยซ้ำ
       
       วิธีแก้เบื่องาน
       - คิดด้านบวกเกี่ยวกับการทำงาน คือ คิดเสียว่างานเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตของเรา มีงานทำดีกว่าไม่มี เพราะถ้าไม่มีงานเราก็จะขาดรายได้ซึ่งทำให้เราไม่มีเงินสำหรับการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นหรือซื้อหาความสะดวกสบายให้ชีวิต
       - คิดว่างานเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเรา เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่เราจะต้องเอาชนะและทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความสามารถของเรา
       - จัดแต่งโต๊ะทำงานใหม่ เช่น เอารูปภาพวิวสวย ๆ มาติด เอาแจกันใส่ดอกไม้สวย ๆ มาวางบนโต๊ะทำงาน ทำความสะอาดโต๊ะทำงานให้เรียบร้อยสะอาดสะอ้าน ซึ่งจะช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายหายเบื่อได้
       - แก้ปัญหาเบื่อเพื่อนร่วมงาน อาจจะเกิดจากการที่เรามีเพื่อนร่วมงานที่มีทัศนคติไม่ตรงกัน หรือเจอเพื่อนร่วมงานที่ชอบเอาเปรียบ อิจฉาริษยา ชอบนินทาว่าร้าย ซึ่งทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายจนพาลอยากจะลาออกจากงาน วิธีแก้เบื่อเพื่อนร่วมงานอย่างง่ายที่สุดก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่กับคนที่ทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็พยายามพูดหรือเกี่ยวข้องกับคนที่เราเบื่อให้น้อยที่สุด
       
       2.เบื่อคนใกล้ตัว เช่น เบื่อแฟน เบื่อสามี เบื่อภรรยา ซึ่งก็มักเกิดจากความไม่เข้าใจกัน มีปากเสียงทะเลาะกันบ่อยๆ รู้สึกว่าถูกคนใกล้ตัวเอาเปรียบอย่างใดอย่างหนึ่งเบื่อหน่ายนิสัยบางอย่างของเขา ถูกเขาทำให้เสียใจ ผิดหวังซ้ำซาก หรืออาจเกิดจากการที่ความพิศวาส หรือความพึงพอใจในตัวเขาลดลง ทำให้ขาดความตื่นเต้นในชีวิตคู่ สัญญาณในการบอกว่าเรารู้สึกเบื่อแฟนหรือเบื่อสามีภรรยา สังเกตได้ง่ายๆ คือ รู้สึกคิดถึงและห่วงใยน้อยลง เวลาอยู่ด้วยกันก็แทบไม่คุยกันหรือมีกิจกรรมร่วมกันน้อยมาก
       
       วิธีแก้เบื่อคนใกล้ตัว
       - หันหน้าเข้าหากันเพื่อปรับความเข้าใจ รวมทั้งพูดตรงๆ ถึงความรู้สึกของกันและกันว่าเรารู้สึกไม่พอใจกันตรงไหนบ้าง เพื่อหาวิธีแก้ไขและปรับเปลี่ยน เพื่อที่จะมีความเข้าใจกันมากขึ้นและเมื่อได้ร่วมกันปรับเปลี่ยนแล้ว ความรู้สึกจะดีขึ้นและทำให้หายเบื่อหน่ายซึ่งกันและกันได้
       - ท่องเที่ยวร่วมกัน การที่แฟนหรือสามีภรรยา ได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน ในการไปดูหนัง ฟังเพลง ช้อปปิ้ง เที่ยวต่างจังหวัด ไปเที่ยวต่างประเทศ เหมือนเป็นการไปฮันนีมูน ไปดูสิ่งที่สวยงามแปลกใหม่ เป็นโอกาสให้ได้ใช้เวลาที่ดีร่วมกัน ซึ่งนอกจากช่วยสานสัมพันธ์ที่ดีแล้ว ยังช่วยทำให้ความเบื่อหน่ายระหว่างกันลดลงด้วยเพราะความตื่นเต้นสนุกสนานจะทำให้อารมณ์ดีและมีความสุขขึ้นได้
       
       3.เบื่อตัวเอง เกิดจากความรู้สึกเหงา คับข้องใจ ไม่ได้ตามที่ใจต้องการ หันไปทางไหนก็มีแต่สิ่งที่ซ้ำซากจำเจ หดหู่ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ถ้าเกิดกับใครขึ้นมา คนนั้นก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายตัวเองจนขาดแรงบันดาลใจและความสุขในการดำเนินชีวิต
       
       วิธีแก้เบื่อตัวเอง
       - เปลี่ยนทรงผมและเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวของตัวเอง แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกได้ว่าเราเป็นคนใหม่ได้
       - ออกกำลังกาย ทำให้จิตใจแจ่มใสและอารมณ์ผ่อนคลาย ยิ่งถ้าคุณมีปัญหาในเรื่องน้ำหนักด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่ ลองท้าทายตัวเองโดยการออกกำลังกายเพื่อให้เรามีรูปร่างที่ดีขึ้น แล้วชีวิตใหม่ๆ จะเกิดขึ้นแน่นอน
       - เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น แต่งบ้านใหม่ ปรับเปลี่ยนมุมในบ้านให้แปลกตาไปกว่าเดิม จัดสวนใหม่ หาสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยง เช่น สุนัข แมว ปลา จะทำให้ชีวิตเราสดชื่นขึ้นและผ่อนคลายขึ้น
       - ลองเปลี่ยนเส้นทางในการไปทำงานหรือกลับบ้านบ้าง จากเส้นทางเดิมๆที่รถติดน่าเบื่อหน่ายอาจสลับเปลี่ยนไปเดินทางที่ลัดบ้างอ้อมบ้างแต่รถไม่ติดมากและยังได้เห็นทิวทัศน์ที่แปลกตาไปจากเดิม
       - ไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ที่ไม่เคยไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิต
       - กินอะไรที่ไม่เคยกิน ไปร้านอาหารใหม่ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน หรือลองคิดค้นหาเมนูอาหารใหม่ๆ ลองทำกินดู
       - โซเชียลเน็ตเวิร์กช่วยได้ การคุยกับเพื่อน ๆ ออนไลน์ผ่านทาง facebook whatsapp line ช่วยทำให้เราหายเบื่อได้ แต่อย่าถึงเสพติดจนติดแหง่กไม่สนใจชีวิตด้านอื่นเลย
       - สมัครเรียนคอร์สสั้นๆ ที่เราสนใจ เช่น เรียนทำขนม เรียนภาษา เรียนร้องเพลง เรียนโยคะ
       - ไปเดินตลาดต้นไม้ หาต้นไม้มาปลูกที่บ้าน เพื่อสร้างความสดชื่น
       - เขียนบันทึก หรือเขียนบล็อกของตัวเอง ระบายความในใจ
       - ไปเยี่ยมคนชราหรือเด็กกำพร้าที่สถานสงเคราะห์ สมัครเป็นอาสาสมัครในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เช่น ไปอ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง ไปเก็บขยะที่ชายหาด เราจะได้รู้สึกว่าชีวิตเรามีค่าขึ้น
       
       ความรู้สึก “เบื่อ” เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราสามารถจัดการกับมันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับสภาพแวดล้อม เปลี่ยนมุมมองความคิดของตัวเราเอง ด้วยการก้าวไปข้างหน้าเพื่อแสวงหาประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เราสดชื่นและหายเบื่อได้ อย่าบ่อยให้ความเบื่อครอบงำเรานานเกินไป เพราะมันไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับชีวิตเรา มีแต่จะสร้างความเสียหายทั้งนั้น
       
       ถึงเวลาทิ้งความเบื่อของคุณแล้วรึยัง!

.


หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ มิถุนายน 16, 2013, 01:52:14 pm
‘ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดอันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ยา’ - ชีวิตและสุขภาพ
วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/212123-

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/212123.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/212123/0.jpg)



ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันคนไทยมีการเข้าถึงยาและใช้ยากันมากขึ้น บางคนถึงกับกินยาต่างอาหาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องกินยาหลายขนานร่วมกัน และจะเห็น

ได้ว่าปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยค่าใช้จ่ายด้านยาคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท

ค่ายาประมาณ 100,000 ล้านบาท นับเป็นมูลค่ามหาศาลและมากกว่าที่ควรจะเป็นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม และความไม่รู้ของประชาชนอยู่

อีกมาก

ด้วยตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาการใช้ยาดังกล่าว ในงานประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2556 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นวาระครบ

100 ปีวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล และเป็นปีที่สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ก่อตั้งมาครบ 24 ปี จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบทบาทวิชาชีพของ

เภสัชกรโรงพยาบาล ในการเป็นผู้ให้ข้อมูลและความรู้ด้านยาแก่ประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจัดขึ้นที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทย

สมาคมแห่งประเทศไทย ซอยศูนย์วิจัย เมื่อเร็ว ๆ นี้

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้มีการนำเสนอผลการวิจัยเรื่องยาเหลือใช้ ซึ่งทำการศึกษาจากข้อมูลการจ่ายยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4 โรค คือ ความดันโลหิตสูง

เบาหวาน หืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง กว่า 57,916 ราย พบว่า ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 60 มียาเหลือใช้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ4% และประมาณการว่ามูลค่ายาเหลือใช้ทั้งประเทศมีประมาณ

4,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดปัญหานี้ได้หากมีความตระหนักและจัดการอย่างเหมาะสม และยังได้มีการนำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับ “ความรู้เรื่องยา” ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังครอบคลุม

โรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ จำนวน 3,136 ราย ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องยา โดยร้อยละ 50 ไม่รู้จักชื่อยาที่ตนเองใช้ และมีเพียงร้อยละ 53.6 ที่อ่านฉลาก

ก่อนการใช้ยา

ดังนั้น เพื่อลดอันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ใช้ยาควรปฏิบัติ ดังนี้

• ผู้ป่วยควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ยา เพราะการไม่อ่านฉลากยา และใช้ยาผิด อาจทำให้เกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

• ไม่ควรใช้ยาของคนอื่น

• ผู้ที่มียาเหลือใช้อยู่ในบ้านต้องระมัดระวังและจัดเก็บให้ดี เพราะถือเป็นความเสี่ยงใกล้ตัว ถ้าเก็บไม่ถูกวิธีจะกลายเป็นยาเสีย หากมีคนนำไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะเป็น

อันตรายต่อสุขภาพ

• หากมียาเหลือใช้ที่ยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพดี ควรเก็บอยู่ในซองยา หรือขวดยาเดิมไว้ในที่เดียวกันและให้พ้นมือเด็ก หรือเก็บในตู้ยา หรือกระเป๋ายาให้พ้นแสงแดด ไม่อยู่ใน

ที่ชื้น

• อย่าเก็บยาในตู้เย็นยกเว้นยาที่มีฉลากระบุไว้

• อย่านำยาเหลือใช้มารวมในซองยา หรือขวดยาเดียวกัน

• อย่าแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ใช้

• อย่านำยาเหลือใช้ไปให้คนอื่นใช้ และอย่ากินยาที่คนอื่นให้มา เพราะอาการที่คล้ายกันอาจไม่ได้เกิดจากโรคเดียวกัน ขนาดยาก็อาจไม่เหมาะสม และอาจเกิดอาการแพ้ยาได้อีก

ด้วย

• อย่าใช้ยาที่หมดอายุ หรือยาเสื่อมสภาพ

• ยาเหลือใช้ที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ สีเปลี่ยนแล้วให้ทำลายก่อนทิ้ง โดยแกะฉลากที่มีชื่อผู้ป่วย ถ้าเป็นยาเม็ดให้ทุบทำลายและเติมน้ำเล็กน้อย ถ้าเป็นยาน้ำก็ให้เทน้ำผสมลงไป

ส่วนยาที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง ให้บีบออกจากหลอด จากนั้น นำกากชา ขี้เลื่อย เศษผัก หรือเปลือกผลไม้ ผสมลงไปในถุงเดียวกัน ปิดปากถุงให้สนิท ก่อนนำไปทิ้ง เพื่อไม่ให้คนอื่นนำ

ยาที่ทิ้งนั้นไปใช้ได้อีก

• หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ให้ปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง

และเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากยิ่งขึ้น ทางสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้จัดทำ สมุดบันทึกการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย และ แอพพลิเคชั่น

โปรแกรมบันทึกบัตรแพ้ยาที่สามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสะดวกในการบันทึกประวัติแพ้ยาได้ด้วยตนเอง และเภสัชกรผู้ประเมินอาการก็สามารถบันทึกข้อมูล

ผ่านทางมือถือ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลืมบัตรแพ้ยา นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาทั้งในรูปแบบบทความและวิดีโอ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด

แอพพลิเคชั่น “โปรแกรมบันทึกบัตรแพ้ยา” ได้ทาง App store หรือ เว็บไซต์ของสมาคมฯ www.thaihp.org (http://www.thaihp.org) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ข้อมูลจาก เภสัชกรสมชัย วงศ์ทางประเสริฐ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์


http://www.dailynews.co.th/article/1490/212123 (http://www.dailynews.co.th/article/1490/212123)

.

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ มิถุนายน 16, 2013, 02:16:25 pm
จับขายยาปลุกเซ็กส์เกลื่อนเตือนระวังช็อกดับ
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01UTXdNRFV6TWc9PQ==&subcatid=-

(http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=online/2013/06/13713005321371300586l.jpg&width=260&height=260)

 เมื่อเวลา 03.20 น. วันที่ 15 มิ.ย. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า พ.ต.ท.ออมสิน สุขการค้า พ.ต.ท. ภาสกร ไพจิตต์ รอง ผกก.สภ.วัฒนานคร ช่วยราชการ พดส.ภ.2  พ.ต.ท. กมล ทวีศรี ช่วยราชการ พดส.ภ.2. พร้อมด้วย ร.ต.ท.อิทธิพล ทองนาค และกำลังตำรวจ พดส.ภ.2 ส่วนหน้า นำกำลังแบ่งแยกออกเป็น 3 ชุดออกหาข่าวตามร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา หลังมีการแอบลักลอบจำหน่ายยาปลุกอารมณ์ทางเพศให้กับต่างชาติ รวมทั้งชาวไทยกันอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย

 ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดแรก เข้าจับกุมร้าน เค แอนด์ ฟาร์มาซี ตั้งอยู่ถนนพัทยาสายสอง ม.10 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ควบคุมตัว น.ส. พรทิวา รสดี อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 108/53 ม.13 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ผู้ดูแลร้าน พร้อมของกลางเป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศจำนวนมาก ส่วนตำรวจชุดสอง เข้าจับกุมร้านไทยแลนด์ ตั้งอยู่ถนนพัทยาสายสอง ม.10 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง ควบคุมตัว น.ส.สมฤดี ชินรัตน์ อายุ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 63 ม.8 ต.กำพี้ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ผู้ดูแลร้าน พร้อมของกลาง  ส่วนชุดที่สามเข้าจับกุมร้านอินทาว ตั้งอยู่ถนนพัทยาสายสอง ม.10 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง ควบคุมตัว น.ส. นันทิตา วงค์กองแก้ว อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 174 ม. 9 ต.ส้าน อ.เวียงสา จ.น่าน พร้อมของกลาง โดย ทั้ง 3 ร้านตั้งอยู่ย่านพัทยาใต้

 นอกจากเจ้าหน้าที่ยังยึดของกลางเป็นยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หลายยี่ห้อ เช่น ไวอากร้าซูปเปอร์คามากร้า ชนิดเม็ด และชนิดซอง จำนวนมาก มูลค่าหลายหมื่นบาท พร้อมควบคุมตัวผู้ดูแลทั้ง 3 ร้านนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองพัทยา ดำเนินคดีตามกฎหมาย

 สำหรับการกวาดล้างยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้ชาย พร้อมทั้งยึดของกลางได้หลายรายการ สืบเนื่องจากได้รับนโยบายมาจาก พล.ต.ต.โกศล พัวเวส รอง ผบช.ภ.2 ให้ทำการกวดขันจับกุมร้านขายยาในพื้นที่ที่ลักลอบจำหน่ายยาที่ไม่ได้รับอนุญาต และออกฤทธิ์ทางประสาทและยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เนื่องจากยาดังกล่าวส่งผลให้ถ้าผู้ใดกินแล้วเกินอาการแพ้ยา ก็อาจจะช็อกถึงขั้นเสียชีวิตได้จึงมีคำสั่งให้กวดขันสืบหาแหล่งจำหน่ายตามร้านยาต่างๆอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ กรกฎาคม 07, 2013, 08:26:59 pm
หมอณรงค์ เตือนผู้ป่วยไข้เลือดออก ห้ามกินยาแอสไพริน-ไอโบรบรูเฟน
-http://health.kapook.com/view66048.html-

(http://img.kapook.com/u/mueanphae/600.jpg)


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข


         หมอณรงค์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ชี้หากมีไข้ขึ้นสูง 2 วันติด เสี่ยงไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์ พร้อมเตือนห้ามผู้ป่วยไข้เลือดออกกินยา แอสไพริน และไอโบรบรูเฟน โดยเด็ดขาด เพราะจะกัดกระเพาะ-เลือดออกง่ายขึ้น
 
          วันนี้ (7 กรกฎาคม 2556) นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคไข้เลือดออกว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส และยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาโดยการประคับประคองอาการให้ร่างกายฟื้นตัวจนพ้นระยะอันตรายในช่วงสัปดาห์แรก ดังนั้นหากผู้ป่วยมีไข้ขึ้นสูงต่อเนื่อง 2 วันแล้วกินยาลดไข้หรือเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ซึ่งหากมีอาการรุนแรงแพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

   และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้าน โดยจะให้คำแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และการสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบกลับมาพบแพทย์ทันที ได้แก่

          1. ผู้ป่วยซึมลง

          2. อ่อนเพลียมาก

          3. ปวดท้อง กินอาหารและดื่มน้ำได้น้อย อาเจียน

          4. พบว่ามีเลือดออกเช่น เลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมากผิดปกติ หรือถ่ายเป็นสีดำ ซึ่งมักเกิดในวันที่ 3 หรือวันที่ 4 หลังเกิดอาการของโรค

          โดยหากมีอาการใดอาการหนึ่งที่กล่าวมา ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่ผู้ป่วยจะเริ่มเข้าสู่ภาวะช็อก เนื่องจากมีเลือดออกในอวัยวะภายในซึ่งมักจะเกิดในระยะหลังไข้ลง ซึ่งได้รับการรักษาช้าอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้หากหลังไข้ลดแล้ว ผู้ป่วยมีอาการยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุย กินอาหารได้มากขึ้น แสดงว่าอาการดีขึ้นเริ่มฟื้นตัว และจะหายเป็นปกติ

 สำหรับการดูแลผู้ป่วยในระยะ 1-2 วันแรกที่มีไข้สูง ขอให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา กินยาพาราเซตามอล ยาที่ห้ามกินเด็ดขาดคือแอสไพริน และไอโบรบรูเฟน เพราะจะกัดกระเพาะอาหาร ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก และห้ามกินน้ำหรือผลไม้ที่มีสีแดง เช่น น้ำแดง แตงโม เนื่องจากจะทำให้แยกอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ได้ยากขึ้น


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190063&catid=176&Itemid=524-

.
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ กันยายน 01, 2013, 08:50:46 am
ยาแก้ปวด ‘ทรามาดอล’ - คุณหมอขอบอก
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/229733-

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/229733.jpg)

จากกรณีที่มีวัยรุ่นนำยาแก้ปวด “ทรามา ดอล” มาผสมน้ำอัดลม หรือผสมเหล้าดื่ม เพื่อให้เกิดอาการมึนเมา ล่าสุดมีข่าวนักเรียน ม.2 ใน จ.สมุทรปราการ ดื่มแล้วช็อกหมดสติ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัว คุมเข้มไม่ให้มีการนำยานี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จนเกิดอันตราย

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า  “ทรามาดอล” เป็นยาแก้ปวดอย่างแรง จัดอยู่ในประเภท “ยาอันตราย” ที่ต้องควบคุมการขายโดยเภสัชกร ร้านขายยาต้องมีการจัดทำบัญชีควบคุมการครอบครอง การจำหน่ายให้ชัดเจน เมื่อมีการนำไปใช้ผิดวัตถุ ประสงค์คงต้องเข้มงวดร้านขายยามากขึ้น

ยานี้เพิ่งมีปัญหาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะมีการยกระดับยาหลายชนิดทำให้หาซื้อไม่ได้ในร้านขายยา เช่น ซูโดอีเฟดรีน อัลปราโซแลม  คนที่เสพก็เลยเปลี่ยนไปหายาตัวใหม่อยู่เรื่อย ๆ พอคุมทรามาดอลก็คงจะไปหายาตัวอื่นมาใช้อีกเช่นกัน

หลังจากเกิดปัญหาขึ้นมา  อย. ได้เชิญ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน สมาคมร้านขายยา ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย และผู้รับอนุญาต ผลิต นำเข้า มาร่วมประชุมปรึกษาหารือ

ปกติ อย.ขอให้ผู้ผลิตรายงานยอดการจำหน่ายยาทุก 4 เดือนเพื่อจะได้รู้ปริมาณการใช้  แต่ระยะเวลา 4 เดือนอาจช้าไป ดังนั้นคงต้องดูว่าควรรายงานทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน และต้องแจ้งด้วยว่าส่งไปที่ไหนบ้าง จะทำให้รู้จังหวัด หรือร้านขายยาที่รับยาไป จากนั้นก็แจ้งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) รับทราบเพื่อตรวจสอบการนำไปใช้ ในปัจจุบันมีผู้ผลิตประมาณ 20-30 แห่ง โดยปริมาณการผลิตยานี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างผิดสังเกต

ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือให้สภาเภสัชกรรมย้ำกับเภสัชกรเรื่องการจำหน่ายยาดังกล่าวแก่คนไข้ที่จำเป็นต้องใช้ยา  ไม่จ่ายยาให้กับคนที่จะนำยาไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะเยาวชน ห้ามจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ไม่มีอาการปวดรุนแรง และต้องจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม

คิดว่ามาตรการดังกล่าวคงคุมได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้ผลก็ต้องมาคุยกันว่าจะจำกัดการขายเฉพาะในร้านยาคุณภาพซึ่งผ่านการรับรองจาก อย.และสภาเภสัชกรรมเท่านั้น ขณะนี้ร้านยาคุณภาพมีอยู่ประมาณ 600-7,000 แห่งจากกว่า 1 หมื่นแห่ง

หรืออาจพิจารณาว่าจะยกระดับเป็น “ยาควบคุมพิเศษ”หรือไม่ ความจริงยานี้ยังมีประโยชน์อยู่  คนที่มีอาการปวดกินพาราเซตามอลแล้วเอาไม่อยู่ อาจใช้ยานี้ ดังนั้นการยกระดับจาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” อาจไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม  เพราะจะทำให้การเข้าถึงยายากขึ้น ดังนั้นต้องชั่งน้ำหนักให้ดี  แม้ในบางประเทศจะจัดเป็นยาควบคุมพิเศษแล้วก็ตาม

ภก.วินิต อัศวกิจวิรี  ผอ.สำนักยา กล่าวว่า “ทรามาดอล” เป็นยาแก้ปวดที่ค่อนข้างจะได้ผลกับอาการปวดมาก ๆ หากกินยานี้ในปริมาณที่มากจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้มึนงง ระยะหลังพบว่ามีการนำยานี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะร้านขายยาบางแห่งเห็นแก่ได้มุ่งขายยาไปในปริมาณมาก ๆ การกินยาในปริมาณมาก ๆ อาจเป็นอันตรายได้ แม้ยานี้จะมีความปลอดภัยไม่ค่อยมีฤทธิ์เสพติด แต่ฤทธิ์ของมันไปกดประสาทส่วนกลาง  ถ้ากินมาก ๆ อาจไปกดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้

ขอเตือนไปยังวัยรุ่นว่า ยาพวกนี้ไม่ใช่ว่ากินแล้วไม่เป็นอันตรายอะไร ถ้ากินมาก ๆ อาจไปกดการหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้  นอกจากนี้ยังไปทำอันตรายต่อตับ ไต ดังนั้นอย่าเห็นแก่ความสนุกชั่ววูบ

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผอ.กองควบคุมวัตถุเสพติด  กล่าวว่า  “ทรามาดอล”  มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เรียกว่ายากลุ่มโอปิออยด์ โครงสร้างทางเคมีคล้ายกับยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน ใช้แล้วทำให้มึน ๆ เมา  ๆ  เหมือนคนเมาเหล้า  บางคนกินแล้วรู้สึกเคลิ้ม หากใช้นาน ๆ จะเสพติด   วัยรุ่นที่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์อาจผสมกับยาตัวอื่น หรือเครื่องดื่ม มีหลายสูตรด้วยกันแล้วแต่ใครอยากกินอะไรก็ใส่ลงไป เช่น ผสมกับยาแก้แพ้  ผสมน้ำอัดลม

สำหรับอาการไม่พึงประสงค์เมื่อกินเข้าไปแล้ว  อาจไปกดศูนย์การหายใจ คนแพ้ยาตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ขณะเดียวกันยาจะสะสมในร่างกาย ขับออกได้ช้า  อย่างน้อยต้องใช้เวลาขับออก 5-6 ชม. ถ้ากินเข้าไปมาก ๆ ร่างกายขับออกไม่ทัน ฤทธิ์ยาจะสะสมไปเรื่อย ๆ เป็นอันตราย  ทั้งนี้การนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดความเชื่อที่ผิด ๆ แล้วนำไปเผยแพร่ต่อ ๆ กัน พอมีปัญหาทำให้คนจำเป็นต้องใช้ยาพลอยลำบากไปด้วย ร้านขายยาบางร้านตัดสินใจไม่ขายยาตัวนี้เลย ทั้งที่ยานี้ยังมีประโยชน์สำหรับคนไข้ที่ต้องใช้ยา.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 23, 2013, 07:27:32 am
วัคซีน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  23 ตุลาคม 2556 06:14 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000132432-

 รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์
       ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
       
        ปัจจุบันมีวัคซีนอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยโดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ ทุกรายควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ แต่มีบางรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดโรค

     ซึ่งวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดมีดังนี้
        1.วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ถึงแม้ว่า
       หญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปสู่ลูกได้มากที่สุดคือ ขณะอายุครรภ์ 27 - 36 สัปดาห์ เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม สาเหตุที่ต้องฉีด เพราะขณะนี้โรคคอตีบได้กลับมาระบาดอีก ในรายที่รุนแรงอาจทำให้แม่และลูกในท้องเสียชีวิตได้ ส่วนโรคไอกรน พบว่าลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรนจะติดเชื้อมาจากแม่ ถ้าฉีดให้แม่ก็จะป้องกันให้ลูกที่คลอดออกมาได้ประมาณ 6 เดือน และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย
        2.วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องมากกว่าคนธรรมดา หากเป็นแล้วจะ
       ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย วัคซีนนี้ฉีด 1 เข็ม ป้องกันได้ 1 ปี
        3. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่เคยฉีดวัคซีนดังกล่าว หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้าน ทาน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น สามีเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี ก็อาจจะรับการฉีดวัคซีนนี้ได้
        4. หากคุณแม่ตั้งครรภ์ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขจะบ้าหรือไม่ ให้ฉีดวัคซีนทันที
       นอกจากนี้ยังมีวัคซีนหลายชนิดที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทราบ โดยเฉพาะวัคซีนที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค เพราะวัคซีนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 23, 2013, 07:28:40 am
อันตรายจากการใช้ยา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 ตุลาคม 2556 08:04 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000129499-


อ.พญ.พิณพิไล จูทะ สมพากร
       ภาควิชาเภสัชวิทยา
       
       ยาจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แต่การใช้ยาพร่ำเพรื่อ ก็เป็นอันตายได้เช่นกัน กล่าวว่า อันตรายจากการใช้ยาพบได้ทุกเพศทุกวัย อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา รวมถึงการดื้อยาด้วย

   
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
อันตรายจากการใช้ยาในเด็ก พบได้แม้ในยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อง่าย เช่น ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง ซึ่งนิยมใช้สำหรับบรรเทาอาการหวัด นอกจากไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้น อาจกดการหายใจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และได้รับยาเกินขนาด นอกจากนี้การใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็กที่เป็นไข้หวัด ยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เป็นพิษต่อตับและสมอง
       
       ส่วนผู้ใหญ่ก็อาจได้รับอันตรายเช่นกัน หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้ยาเกินขนาดก็อาจเกิดพิษต่อตับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราปริมาณมากร่วมด้วย อาจเกิดพิษต่อตับได้แม้กินยาในขนาดปกติ ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ (antimicrobial) ที่มักเรียกกันผิดว่า ยาแก้อักเสบ เป็นยาอีกกลุ่มที่ใช้กันแพร่หลาย แต่มักใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (common cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
       
       ในผู้สูงอายุนั้น ร่างกายเสื่อมถอยลง มีโรคภัยมากขึ้น อาจจำเป็นต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น เช่น ยาแก้ปวดลดอักเสบ (NSAID) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาจทำให้เกิดไตวายได้ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ฉะนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดจึงต้องปรึกษาแพทย์
       
       สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
       
       เรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวัย โรคประจำตัว หรืออาจมีการทำงานของตับ ไตบกพร่อง เหล่านี้มีผลต่อการใช้ยาทั้งสิ้น ดังนั้นควรกินยาตามที่แพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยา

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ตุลาคม 25, 2013, 05:35:25 am
กิน “ยา” แบบไหน ให้มีคุณภาพ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 ตุลาคม 2556 17:13 น.
-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130083-

 เวลาป่วยแล้วต้องกินยา บางครั้งก็มียาหลายขนานมาให้กิน ทั้งก่อนอาหาร หลังอาหาร บางครั้งก็มียาก่อนนอน ซึ่งยาที่จะต้องกินเหล่านี้ก็มีกำหนดเวลาที่จะต้องกินตามที่แพทย์สั่ง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของยานั้นทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยรักษาอาการป่วยต่างๆ ได้ดี
       
       แต่หลายคนคงจะสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ยาก่อนอาหารนั้นต้องกินก่อนอาหารนานแค่ไหน แล้วหลังอาหารจะกินอย่างไร ยาก่อนนอนนั้นกินแล้วต้องนอนเลยหรือไม่ “108 เคล็ดกิน” ได้ไปหาคำตอบมาให้จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       
       ยาก่อนอาหาร เป็นยาที่กินในช่วงที่ท้องว่าง คือ กินยาก่อนกินอาหารอย่างน้อย 30 นาที (จะกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงก็ได้) เนื่องมาจากการกินยาประเภทนี้ในช่วงที่ท้องว่าง จะทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่ลดลง เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร อาหาร และส่วนประกอบอื่นๆ อาจจะไปลดการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าหากลืมกินยาก่อนอาหาร ก็ให้กินอาหารไปก่อนได้เลย แล้วรอให้กระเพาะย่อยให้เสร็จก่อน (ประมาณ 2 ชั่วโมง) จึงค่อยกินยานั้นทีหลัง
       
       ยาหลังอาหาร สามารถกินได้พร้อมกับอาหาร หรือก่อนกินอาหารคำแรก หรือกินหลังอาหารทันทีก็ได้ แต่ไม่ควรกินหลังอาหารเกิน 15 นาที เนื่องจากว่ายาชนิดนี้ต้องการกรดในกระเพาะไปช่วยในการดูดซึมตัวยา สำหรับใครที่ลืมกินยาหลังอาหาร ควรจะรอกินหลังอาหารในมื้อถัดไป หรืออาจจะกินอาหารว่างไปรองท้องก่อนแล้วค่อยกินยาตามก็ได้
       
       ยาก่อนนอน ควรกินก่อนนอนประมาณ 15-30 นาที เนื่องจากยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนหรือเวียนหัวมากๆ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที จึงจะออกฤทธิ์
       
       ยารับประทานเวลามีอาการ ก็ควรจะกินเวลาที่มีอาการจริงๆ เท่านั้น โดยในฉลากยามักระบุไว้ว่า ให้กินยาทุก 4-6 ชั่วโมง หรือทุก 8 ชั่วโมง เวลามีอาการ ซึ่งเมื่อมีอาการก็สามารถกินยาได้เลยโดยไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร สามารถกินยาซ้ำได้หากยังมีอาการอยู่โดยมีระยะเวลาห่างกันตามที่ฉลากระบุไว้ และเมื่อหายจากอาการแล้วสามารถหยุดยาได้เลย
       
       แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะกินยาชนิด หรือประเภทไหนก็ตาม เมื่อได้รับการแจกยามาแล้วควรสอบถามวิธีการกินยาชนิดนั้นๆ จากเภสัชกรอย่างละเอียด เพราะยาบางชนิดอาจมีวิธีการกินนอกเหนือไปจากยาทั่วไป เพื่อจะให้การกินยาแต่ละเม็ดนั้นได้ประสิทธิภาพสูงสุด

http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130083 (http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000130083)

.
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 08, 2013, 05:43:13 am
6 เรื่องควรรู้วิธีดูฉลาก ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ยาเถื่อน-เครื่องสำอางปลอม”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 พฤศจิกายน 2556 23:20 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000139120-


(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014563701.JPEG)

    เห็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาแถลงข่าวการจับกุมสินค้าผิดกฎหมายคราใด ก็ให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตแทบทุกครั้ง เพราะสินค้าผิดกฎหมายที่อยู่ในความดูแลของ อย.นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนไทยเราแทบทั้งสิ้น ไล่ตั้งแต่อาหาร ยา เครื่องสำอาง ไปจนถึงเครื่องมือทางการแพทย์

       ล่าสุด ก็เพิ่งมีข่าวบุกทลายโรงงานยาเถื่อนย่านสายไหม มูลค่ารวมราว 10 ล้านบาท พบว่า ไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย รวมไปถึงจับกุมฝรั่งชาวเดนมาร์กนำเข้ายาฮอร์โมนเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยาเช่นกัน และเวย์โปรตีนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร และที่ผ่านๆ มา ก็มีทั้งเครื่องสำอางที่มีสารพิษอย่างพวก สารตะกั่ว สารไฮโดรควิโนน เป็นส่วนประกอบ รวมถึงไม่มีเครื่องหมาย อย.มีการสวมเลขทะเบียน เป็นต้น ซึ่ง อย.ก็ทำได้แค่ออกเตือนให้ระวังสินค้าเหล่านี้ ด้วยวิธีการดูฉลาก เพราะหากซื้อมาอุปโภคหรือบริโภคก็คงจะอันตรายมิใช่น้อย
       
       แม้ อย.พยายามแนะนำให้ประชาชนดูฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีระบุถึงเครื่องหมาย อย.ข้อมูลต่างๆ ของสินค้าไปจนถึงผู้ผลิต เพื่อช่วยสกรีนเบื้องต้นว่าสินค้านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร ถึงกระนั้นก็ยังคงมีการสวมเลขทะเบียน หรือทำทะเบียนปลอมขึ้นมาหลอกลวง แล้วประชาชนจะรู้ได้อย่างไรว่าฉลากแบบไหนคือของจริง เพราะที่ผ่านมา อย.ก็แทบไม่เคยออกมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว หรือมีแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ให้แก่ประชาชน
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แม้ อย.จะสร้างแอปพลิเคชันให้ตรวจสอบเลขทะเบียนสินค้าได้ แต่ก็เป็นเพียงในส่วนของเครื่องสำอางเท่านั้น ดังนั้น การสร้างความรู้ติดอาวุธให้สมองด้วยตัวเราเอง ก็น่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของสินค้าอันตรายและหลอกลวงผู้บริโภคอีกต่อไป
       
       ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลของ อย.ก่อนว่า สินค้าเหล่านั้นมันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะสมัยนี้ก็ไว้ใจไม่ได้ มีการเอาเครื่องหมาย อย.สำหรับอาหาร มาใส่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางก็มี ทั้งนี้ในคู่มือ “กินดี ใช้เป็น คนไทยไกลโรค” จัดทำโดย อย.ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้
       
       
       
       1.ฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
       
       หากได้รับอนุญาตจาก อย.แล้ว จะต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก เรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่งจะมีตัวเลข 13 หลัก อยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย.เช่นนี้ xx-x-xxxxx-x-xxxx ส่วนข้อความอื่นๆ ในฉลาก ได้แก่ ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือแบ่งบรรจุ หรือสำนักงานใหญ่ของสถานที่ผลิตหรือแบ่งบรรจุ วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญ เลขสารบบอาหาร คำเตือน คำแนะนำในการเก็บรักษา และวิธีปรุงเพื่อรับประทาน
       
       แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย อาหารทั่วไป เช่น กะปิ พริกไทย เครื่องปรุงรส เป็นต้น สถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่กำหนดให้ต้องขอเลขสารบบอาหาร แต่หากต้องการแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ก็สามารถยื่นขอได้ ตามสมัครใจ
       
       
       
       
       2.ฉลากผลิตภัณฑ์ยา
       
       ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดทั้งยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ จะไม่มีเครื่องหมาย อย.แสดงบนฉลาก แต่จะแสดงเลขที่รหัสใยบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือที่เรียกว่า “เลขทะเบียนตำรับยา” เช่น 1A12/35 G 99/55 โดยฉลากยาและเอกสารกำกับยาจะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา ชื่อและปริมาณ หรือความแรงของสารออกฤทธิ์ที่เป้นส่วนประกอบ (กรณียาแผนปัจจุบัน) เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ หรือ Lot. Number ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร วันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น Exp. หรือ Exp date หรือข้อความว่า “ยาสิ้นอายุ” แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่หมดอายุ นอกจากนี้ ยังมี คำว่า “ยาอันตราย” “ยาควบคุมพิเศษ” “ยาใช้เฉพาะที่” “ยาใช้ภายนอก” ตามแต่กรณี คำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” “ยาแผนโบราณ” “ยาสำหรับสัตว์” ตามแต่กรณี วิธีใช้ และคำเตือน
       
       ทั้งนี้ ตัวเลขที่นำหน้าตัวอักษรจะมีเฉพาะยาแผนปัจจุบันเท่านั้น มีความหมายดังนี้ เลข 1 หมายถึง ยาที่มีตัวยาสำคัญที่ออกฤทธิ์เพียงตัวเดียว เลข 2 หมายถึงยาที่มีตัวยาสำคัญออกฤทธิ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
       
       ตัวอักษร A-F เป็นตัวอักษรสำหรับยาแผนปัจจุบัน มีความหมายดังนี้ A คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ B คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ C คือ ยามนุษย์น้ำหรือสั่งเข้า D คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ E คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ F คือ ยาสัตว์น้ำหรือสั่งเข้า ส่วนตัวอักษร G-N เป็นตัวอักษรสำหรับยาแผนโบราณ โดย G คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ H คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ K คือ ยามนุษย์น้ำหรือสั่งเข้า L คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ M คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ N คือ ยาสัตว์น้ำหรือสั่งเข้า
       
       
       
       3.ฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
       
       ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจะไม่มีเครื่องหมาย อย.แสดงบนฉลาก แต่จะต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง เป็นตัวเลข 10 หลัก เช่น 10-1-5512345 พร้อมทั้งฉลากภาษาไทยมีรายละเอียดดังนี้ ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (ต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น) ชื่อสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม เรียงลำดับจากสารที่มีปริมาณมากไปสารที่มีปริมาณน้อย วิธีใช้ คำเตือน ชื่อ-ที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิตเครื่องสำอาง เดือน/ปีที่ผลิต เดือน/ปีที่หมดอายุ (กรณีมีอายุการใช้งานน้อยกว่า 30 เดือน) และเลขที่ใบรับแจ้ง
       
       
       
       4.ฉลากเครื่องมือแพทย์
       
       เครื่องมือแพทย์ มี 3 ประเภท มีการแสดงเครื่องหมาย อย.ที่แตกต่างกัน
       
       -เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี คอนแทกต์เลนส์ เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องแสดงข้อความบนฉลากเป็นภาษาไทย เช่น ชื่อเครื่องมือแพทย์ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาณที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต เลขที่ใบอนุญาตหรือเลขที่ใบรับแจ้งรายละเอียด ข้อบ่งใช้ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา ให้แสดงข้อความว่า “ใช้ได้ครั้งเดียว” คำเตือนและข้อควรระวัง อายุการใช้งาน และเครื่องหมาย อย.บนฉลาก โดยตัวอย่างเครื่องหมายจะมีข้อความ ผ 999/2550 ในเครื่องหมาย อย ซึ่งหมายถึงผลิต หรือ น 999/2550 ในเครื่องหมาย อย หมายถึงนำเข้า
       
       -เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ได้แก่ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย เป็นต้น เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องแสดงฉลากเหมือนกัน แต่ไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.ให้แสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลาก
       
       -เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ได้แก่ เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีการบังคับให้แสดงฉลากภาษาไทย และไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.หรือเลขที่รับแจ้งบนฉลาก
       
       
       
       5.ฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน
       
       ผลิตภัณฑ์นี้จะมีการแสดงฉลาก 3 แบบ โดย วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ที่ฉลากต้องมีเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น วอส.999/2550 เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัด/ไล่แมลง ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวประเภท กรด-ด่าง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด เป็นต้น
       
       ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.แต่ต้องมีเลขที่รับแจ้งข้อเท็จจริง ตัวอย่าง 999/2550 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์และวัสดุต่างๆ ที่มีเฉพาะสารลดแรงตึงผิวบางชนิดเป็นสารสำคัญ ผลิตภัณฑ์ประเภทคลอรีนที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคหรือกำจัดกลิ่นในสระว่ายน้ำ เป็นต้น
       
       สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.ได้แก่ ก้อนดับกลิ่น/ลูกเหม็น
       
       
       
       และ 6.ตรวจผ่านแอปพลิเคชัน Oryor Smart Application
       
       แอปพลิเคชันนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะสามารถเข้ามาเช็กข้อมูลได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย.หรือผลิตภัณฑ์ใดปลอมเลขทะเบียน โดยการคีย์ตัวเลขสารบบว่า ถูกต้องกับระบบของ อย.หรือไม่ ก็จะทราบทันที โดย นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวว่า อย.เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชันเวอร์ชัน 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้น ซึ่งเวอร์ชันแรกจะเน้นตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้งกลุ่มเครื่องสำอางเป็นหลัก แต่เวอร์ชัน 2 จะครอบคลุมทั้งเลขทะเบียนตำรับยา เลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เป็นต้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการตรวจสอบข้อมูลมากขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้าแม้จะมีเลข อย.แต่ก็อาจเป้นการสวมทะเบียนหรือเป็นเลขปลอมก็ได้ จึงต้องมีช่องทางในการตรวจสอบให้รับรู้ ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถตรวจเช็กข้อมูลได้รวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 16, 2013, 12:01:55 pm
แนะ 5 เทคนิคง่ายๆ กินยาไม่สับสน

-http://campus.sanook.com/1370226/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0-5-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99/-


หมอชี้กินยา"มาก-ซ้ำซ้อน"สุดอันตราย ตับวาย ไตพัง ถึงชีวิตได้ แนะ 5 เทคนิคง่ายๆ กินยาไม่สับสน

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวแสดงความห่วงใยการบริโภคยาที่มากเกินความจำเป็น ว่า ปัจจุบันมียาจำนวนมาก และยาหลายชนิดมีฤทธิ์ซ้ำและก้ำกึ่งกัน เช่น ยาลดไข้ก็สามารถแก้ปวดได้ หรือยาละลายลิ่มเลือดก็แก้ปวดได้ด้วย ทำให้เกิดปัญหายาเป็นพิษ ปัญหานี้มักพบได้กับคนที่ใช้ยาเยอะอยู่แล้ว หรือมียาประจำตัวอยู่แล้ว ต่อไปก็จะเจอปัญหาสับสนกับการใช้ยาเพราะประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมอุดมยา

"กฎข้อห้ามข้อหนึ่งคือการกินยายิ่งมาก ยิ่งเสี่ยงมาก ทั้งพิษจากยาและยาออกฤทธิ์ตีกัน อีกข้อหนึ่งคือ กินยามากไม่ได้ช่วยให้หายมากขึ้น ตรงข้ามอาจทำให้ตับวายมากกว่า" น.พ.กฤษดากล่าว

น.พ.กฤษดากล่าวว่า เพื่อระงับปัญหาจากการกินยามาก เวชศาสตร์อายุรวัฒน์มี 5 เทคนิคจัดโปรแกรมกินยาไม่สับสน แบบง่ายๆ สำหรับคนกินยาเยอะ คือ

1.แยกยาเป็นชนิดเขียนชื่อกำกับไว้ให้ชัดเจน

2.เขียนฉลากโดยเขียนฤทธิ์ยาสั้นๆ ติดไว้ พร้อมวิธีรับประทาน

3.ใช้ตลับแบ่งยา ข้อนี้ช่วยคนกินยาเยอะไม่ให้กินยาซ้ำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือดหากกินซ้ำเข้าไปก็อาจทำให้ตกเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

4.พกยาติดตัวไปหาหมอเพื่อไม่ให้เกิดการจ่ายยาซ้ำ

5.ขอให้ถามหากสงสัย โดยเฉพาะเรื่องของยาซ้ำ ให้ถามแพทย์หรือเภสัชกร

ผู้อำนวยการศูนย์ เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การรักษาคนไข้ ได้รับคำถามมากมายเกี่ยวกับภาษาทางเคมีและปฏิกิริยาในทางเภสัชวิทยา ทำให้เกิดความสับสนในเรื่องของการใช้ยา คือ ยาลดความดันกับยาโรคหัวใจ ยากลุ่มนี้มีอยู่มาก บางตัวลดความดันและทำให้หัวใจเต้นช้าลง แต่ถ้ารับประทานผิดคือซ้ำซ้อนจนทำให้มากเกินไปอาจทำให้ หัวใจเต้นช้า มึนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยไม่รู้สาเหตุ ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นภูมิแพ้หอบหืดอยู่จะถึงขั้นหลอดลมตีบเสียชีวิตได้ ยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกับยาลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ถูกเรียกให้สับสนว่า "ยาลดไขมัน" เหมือนๆ กัน

การรับประทานที่มากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้มึนศีรษะ ไม่สบายตัว ปวดตามร่างกายและทำให้ตับทำงานหนักถึงขั้นเสื่อมเร็วได้ ยาแก้ปวดกับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาประเภทนี้มักถูกจ่ายคู่กันซึ่งในหลายครั้งไม่จำเป็นต้องกินควบเลย เพราะการได้รับมากไปใช่ว่าจะทำให้ดีขึ้น หลักง่ายคือห้ามคิดว่า ปวดมากต้องกินยามาก อันนี้จะอันตรายหนักขึ้น

"ยาแก้แพ้กับยาแก้หวัด เป็นยาที่ถูกจ่ายบ่อยมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีหลักง่ายคือ ยาแก้แพ้บางชนิดไม่ใช่ยาแก้หวัด และยาแก้หวัดบางชนิดก็ไม่อาจแก้แพ้ได้ ข้อสำคัญคืออย่าใช้ซ้ำซ้อนกันมาก หากเป็นหวัดไปหาคุณหมอขอให้บอกว่าท่านใช้ยาเหล่านี้อยู่ครับจะได้ไม่ถูกจ่าย ยาซ้ำ ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ยา 2 ชนิดนี้ไม่ใช่ยาตัวเดียวกันเลย แต่ถูกจับมาเรียกจนคุ้นปากคุ้นหู ขอให้ทราบว่ายาแก้อักเสบมีอยู่กว้างมากและฆ่าเชื้อไม่ได้

ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้นก็ใช่ว่าจะแก้อักเสบได้เสมอไป ถ้าใช้ยาฆ่าเชื้อนานไปจะเสี่ยงเชื้อดื้อยา มากขึ้นด้วย ยาคลายเครียดกับยานอนหลับ ยากลุ่มคลายเครียดอาจมีฤทธิ์ง่วงก็จริงแต่ไม่ใช่ยาช่วยให้หลับเพราะยาคลาย เครียดหรือต้านซึมเศร้ามีฤทธิ์ไปกวนสารเคมีในสมองทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ การรับประทานคู่กันจะยิ่งอันตรายต่อเคมีในสมองมากขึ้น

ยาลดไข้กับยาแก้ปวด ท่านที่ทานยาแก้ปวดเป็นประจำอยู่ เมื่อมีไข้ขอให้ระวังการทานยาลดไข้เพิ่ม และให้หยุดยาแก้ปวดก่อน เพราะยาทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ซ้ำซ้อนกันมาก และพิษก็ซ้ำซ้อนกันมากด้วย

ยาโรคกระเพาะกับยาแก้ปวดบิดไส้ เวลาปวดท้องหมออาจจะให้ยาร่วมกันมาทั้ง 2 ชนิด ขอให้ดูให้ดีก่อนรับประทาน หากเป็นโรคกระเพาะไม่มากอาจไม่ต้องกินยาแก้ปวด หรือท่านที่ปวดท้องแต่ไม่แน่ใจว่าจากลำไส้ขอให้เลี่ยงยาแก้ปวดบิดไส้ไว้ก่อนยาช่วยระบายกับยาถ่าย ยกตัวอย่างยาช่วยระบายเช่น ใยอาหาร มะขามแขก ส่วนยาถ่ายคือแบบที่ทำให้ปวดลำไส้ถ่ายเหลวคล้ายท้องเสีย หากรับประทานร่วมกันจะทำให้เกิดอันตรายถ่ายจนถึงขั้นช็อกได้

ยาละลายลิ่มเลือดกับยาช่วยเลือดไหลคล่อง ยาละลายลิ่มเลือดอย่าง "แอสไพริน" ถ้ากินกับยาที่ทำให้เลือดไหลคล่องอย่าง "วาร์ฟาริน" จะทำให้เกิดเลือดออกได้มากหากไม่ระวัง ดังนั้น เทคนิคคือไม่ควรรับประทานร่วมกันและหมั่นเจาะเลือดดูการแข็งตัวของเลือดอยู่เสมอ

ยาสร้างเม็ดเลือดกับยาธาตุเหล็ก ยา 2 ชนิดนี้บางทีถูกจ่ายคู่กัน แม้จะทานร่วมกันได้แต่มันมีพิษโดยเฉพาะกับ "ธาตุเหล็ก" ในกรณีที่โลหิตจางอย่างไม่แน่ใจขอให้เลี่ยงธาตุเหล็กไว้ก่อนเพราะมันเป็นพิษ กับโลหิตจางชนิด "ธาลัสซีเมีย" ส่วนยาสร้างเม็ดเลือดที่เป็น "โฟลิก" นั้นปลอดภัยรับประทานได้ในเลือดจางทุกประเภท
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 21, 2013, 05:53:13 am
อย.แฉ! 5 ยาสมุนไพรอันตรายอ้างสรรพคุณโอเวอร์-ไม่ขึ้นทะเบียนยา
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144444-

   อย.เผยรายชื่อยาสมุนไพรอันตราย 5 ผลิตภัณฑ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ชี้เฉพาะ “ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล” นำเลขผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่ฉลากแทน เตือนประชาชนอย่าหลงกลและหลงเชื่อ ข้อความอวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค เพราะอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน
       
       ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีและผู้บริโภคให้ตรวจสอบยาสมุนไพรแผนโบราณ 5 รายการ ได้แก่ 1.ยาสมุนไพร ZIA TU WAN (เซีย ทู หวัน) 2.ผลิตภัณฑ์ พญาดงชุดชะลอความแก่ 3.ผลิตภัณฑ์ตายสิบปี ดีเหมือนเดิม 4.ผลิตภัณฑ์ฮับบาตุส เซาดาห์ “786” เนื่องจากฉลากแสดงข้อความโอ้อวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรค อาทิ แก้หัด อีสุกอีใส ป้องกันและรักษานิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ต่อมลูกหมากโต มะเร็ง บำรุงกำหนัด บำรุงหัวใจ รักษาโรคเกาต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน เป็นต้น และ 5.ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล ระบุเลขทะเบียนตำรับยา สรรพคุณไม่ระบุข้อความภาษาไทย
       
       หลังรับเรื่องร้องเรียน อย.ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทั้ง 5 รายการดังกล่าวยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียนตำรับยา และยังพบว่ายาสมุนไพร JIE DU DAN ได้นำเลขทะเบียนยาผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่บนฉลาก จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อและซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด เนื่องจากมักพบว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริงมักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และการผลิตผลิตภัณฑ์มักไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงอาจทำให้ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน ดังนั้น ขอฝากเตือนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อยาสมุนไพรแผนโบราณใดๆ ที่แสดงสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค เพราะนอกจากจะเสียเงินทองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจได้รับอันตรายอย่างคาดไม่ถึง มิหนำซ้ำยังอาจเสียโอกาสในการรักษาโรคอย่างถูกต้องอีกด้วย
       
       รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อว่า ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยาใดๆ ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยยาแผนโบราณ ฉลากต้องระบุ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ G 888/50 ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตยา และแสดงคำว่า “ยาแผนโบราณ” ให้เห็นได้ชัด รวมทั้งแสดงคำว่า “ยาใช้ภายนอก” “ยาใช้เฉพาะที่” ด้วยตัวอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน แล้วแต่กรณี หรือแสดงคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” กรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือแสดงคำว่า “ยาสำหรับสัตว์” กรณีเป็นยาสำหรับสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ผ่านการขออนุญาตจาก อย.หรือโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.โทร.1556 หรืออีเมล : 1556@fda.moph.go.th หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองพร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย.อาคาร 1 ชั้น 1 ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 25, 2013, 06:51:35 am
3 โรคหายเองได้ ไม่ต้องใช้ "ยาปฏิชีวนะ"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 พฤศจิกายน 2556 19:00 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000145976-

โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000015271201.JPEG)

       สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทยถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญมาจาก...การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล
       
       ไม่สมเหตุสมผลในที่นี้คือ มีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นอย่างมากทั้งในคนและในสัตว์ ยกตัวอย่าง เมื่อเวลาเจ็บคอ ก็มักจะนิยมรับประทานยา "อะม็อกซี" หรือ Amoxicillin ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ "แบคทีเรีย" เท่านั้น แต่สาเหตุของการเจ็บคอมากกว่า 75% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยรักษาให้หายได้ มีเพียงน้อยกว่า 15% เท่านั้นที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
       
       นอกจากนี้ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทยื ได้กล่าวไว้ในการแถลงข่าวเรื่อง “การรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในเด็ก : Antibiotics Smart Use in Children (ASU KIDs)” เนื่องในวัน Antibiotic Awareness Day ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินจำเป็นส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากผู้ปกครองด้วย
       
       "ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการไข้หวัด-เจ็บคอ ซึ่งมักพบบ่อยในเด็ก 2-5 ปี เป็นโรคที่สามารถหายเองได้โดยภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กรับประทานยามากเกินไป โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถรักษาอาการไข้หวัด-เจ็บคอ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายอาจทำให้เด็กแพ้ยาเพิ่มความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในเด็ก ที่สำคัญคืออาจเหนี่ยวนำให้เด็กเกิดเชื้อดื้อยาซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้"

การรับประทานยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่จำเป็นนั้น นอกจากจะมีอันตรายคือทำให้เด็กแพ้ยา มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แล้ว ยังทำให้เชื้อดื้อยาจนรักษายากขึ้นด้วย รวมไปถึงทำให้มูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ จากรายงานการผลิตและนำเข้ายาประจำปี 2552 พบว่า ประเทศไทยใช้ยาปฏิชีวนะมูลค่าปีละกว่า 10,000 ล้านบาท มีผู้ติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากกว่า 100,000 คน อยู่โรงพยาบาลนานขึ้นกว่า 1 ล้านวัน และเสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน
       
       ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะจึงควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น หากมีอาการเจ็บคอ ทางที่ถูกต้องคือควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องก่อนใช้ยาปฏิชีวนะ
       
       ทั้งนี้ ล่าสุด กลุ่มนักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศกว่า 150 คน จาก 6 สถาบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสถาบันพระบรมราชชนก ได้ออกมาทำแฟลชม็อบ เพื่อร่วมต้านการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ Digital Gateway สยามสแควร์ ซึ่งภายในงานมีการรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เพื่อลดการดื้อยา
       
       โดยโรคที่ทำการรณรงค์ว่าสามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาปฏิชีวนะมีทั้งหมด 3 โรคด้วยกันคือ 1.ท้องเสีย ซึ่ง 99% เกิดจากเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ เพียงดื่มน้ำเกลือแร่ก็หายได้ เพียงแต่ต้องจำกัดการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและนม แล้วรับประทานผงเกลือแร่และน้ำ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป นอกจากนี้ หากอุจจาระมีมูกเลือดปน และอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์
       
       ซึ่งกลุ่มที่ท้องเสียมีการถ่ายเหลวและมีมูกเลือดปน มีไข้ ตรวจพบเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ กลุ่มนี้จึงจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้ออะมีบา หรือที่มักวินิจฉัยกันว่าเป็นโรคบิด ต้องกินยาฆ่าเชื้อ แต่ควรจะไปพบแพทย์ก่อนที่จะซื้อมารับประทานเอง เพราะจากข้อมูลทางสถิติโดยกรมควบคุมโรคได้รับรายงานจากสถานพยาบาลต่างๆ ในปี 2550 พบว่า ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงมี1,433,230 ราย มีผู้ป่วยเพียง 19,026 รายที่เข้าข่ายโรคบิด จึงมีผู้ป่วยที่ควคกินยาปฏิชีวนะเพียง 1.3% เท่านั้น
       
       2.หวัด-เจ็บคอ อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่ามากกว่า 80% เกิดจากเชื้อไวรัส การพักผ่อนและทำร่างกายให้อบอุ่น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายแข็งแรง กำจัดไวรัสได้เร็วขึ้น จึงหายป่วยเร็วขึ้น และ 3.แผลเลือดออก โดยเกิดจากมีดบาด แผลถลอก ถ้าทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ แผลก็จะหายเองได้
       
       ทั้ง 3 โรคที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อย จึงไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้นแต่อย่างใด เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองและเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้อยาด้วย ดังนั้น ก่อนใช้ยาปฏิชีวนะควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าโรคที่เป็นนั้นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
       
       ขอบคุณข้อมูลจากแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.)

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ ธันวาคม 05, 2013, 09:24:49 am
ถ้าลืม “กินยา” ทำไงดี

-http://club.sanook.com/16145/%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5-



ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร ลืมกินยาตามเวลา อันตรายหรือไม่

ภก. ธีรัตถ์ เหลืองมั่นคง
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญหาที่มักพบเสมอเวลาจะรับประทานยา คือ ต้องรับประทานก่อนหรือหลังอาหาร และก่อนอาหารนานเท่าไหร่ หลังอาหารกี่นาที ก่อนนอนนานแค่ไหน ถ้าลืมแล้วจะทำอย่างไร บทความนี้จึงขอสรุปหลักการและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องทั่วไปของวิธีการรับประทานยาเหล่านี้

1. ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร อย่างน้อย ๓๐ นาที

ยาที่รับประทานก่อนอาหาร ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งก็คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย ๓๐ นาที เนื่องจากยาอาจถูกทำลายและเสียประสิทธิภาพในการรักษา เมื่อพบกับกรดปริมาณมากที่กระเพาะอาหารจะหลั่งออกมาหลังมื้ออาหาร การรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง ทำให้ยาไม่ถูกทำลาย และประสิทธิภาพของยาไม่ลดลง

อาหารและส่วนประกอบของอาหารอาจลดการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่สามารถรับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารได้

ยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน จะใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ การรับประทานยาก่อนอาหารจึงเป็นเสมือนการเตรียมพร้อมให้ระบบทางเดินอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร

การลืมรับประทานยาก่อนอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนอาหาร หรือนึกได้ว่าต้องรับประทานยาก่อนที่จะทานอาหารไม่ถึงครึ่งชั่วโมง การทานยาก่อนอาหารทันที จึงไม่ต่างกับการรับประทานยาหลังอาหาร ควรข้ามยามื้อที่ลืมไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการหลั่งอินซูลิน กรณียาที่รับประทานก่อนอาหารเพราะยาจะถูกทำลายหรืออาหารอาจลดการดูดซึมของยา อาจรอให้กระเพาะอาหารว่างก่อนแล้วค่อยรับประทานยาก็ได้ ซึ่งก็คือประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร แต่ยาที่ต้องรับประทานในมื้อถัดไปอยู่แล้ว ให้ทานยาก่อนอาหารมื้อถัดไปแทนได้เลย ไม่ต้องทานยาซ้ำ

2. ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันทีและไม่ควรนานเกิน ๑๕ นาทีหลังอาหาร

ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันที อาจทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารคำแรกก็ได้ เพราะไม่ว่าจะกรณีใด ยาจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารพร้อมกับอาหารที่รับประทานเหมือนๆ กัน ยาที่ควรรับประทานหลังอาหาร เนื่องจาก

ยามีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

ต้องการกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารจะหลั่งสูงสุดในระหว่างที่รับประทานอาหารเท่านั้น

การลืมรับประทานยาหลังอาหาร

ถ้าลืมรับประทานยาหลังอาหาร สามารถรับประทานยาได้ทันทีที่นึกได้และไม่เกิน ๑๕ นาที แต่ถ้านึกได้หลังจากรับประทานอาหารมากกว่า ๑๕ นาทีแล้ว ควรรอรับประทานหลังอาหารในมื้อถัดไปแทน หรืออาจรับประทานอาหารมื้อย่อยแทนมื้อหลักก่อนรับประทานยาก็ได้ กรณีที่ยานั้นมีความสำคัญมาก

3. ยาก่อนนอน ควรรับประทานยาก่อนเข้านอน ๑๕ – ๓๐ นาที

ยาที่แนะนำให้รับประทานก่อนนอนมีหลายประเภท แต่โดยทั่วไป ควรรับประทานก่อนนอน ๑๕ – ๓๐ นาที เนื่องจาก

ยามีผลข้างเคียงสำคัญคือทำให้ง่วงนอนหรือวิงเวียนศีรษะมาก ถ้ารับประทานก่อนนอนนานเกินไป อาจส่งผลต่อให้ผู้รับประทานยาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กรณีที่ยังไม่พร้อมจะเข้านอน

ยาที่ช่วยให้นอนหลับ มักใช้เวลาประมาณ ๑๕ – ๓๐ นาทีก่อนที่จะออกฤทธิ์ช่วยให้หลับ

การลืมรับประทานยาก่อนนอน

ถ้าลืมรับประทานยาก่อนนอน มักนึกได้เมื่อถึงเช้าของวันรุ่งขึ้นแล้ว ไม่ควรรับประทานยานั้นอีก ควรรอให้ถึงเวลาก่อนเข้านอนในคืนถัดไปค่อยรับประทานยานั้น

4. ยารับประทานเวลามีอาการ ควรรับประทานเมื่อมีอาการจริงๆ

ยาในกลุ่มนี้ มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุก ๔ – ๖ ชั่วโมง ทุก ๘ ชั่วโมง หรือทุก ๑๒ ชั่วโมง เวลามีอาการ เมื่อมีอาการสามารถรับประทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร เนื่องจากไม่ว่าจะรับประทานอาหารหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หลังรับประทานยาแล้วถ้ายังมีอาการอยู่สามารถทานยาซ้ำได้ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ ไม่ควรรับประทานบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้เลย

หมายเหตุ ยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่วๆ ไปข้างต้น รวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวก เนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป

เอกสารอ้างอิง

Larry AB, editors. Applied clinical pharmacokinetics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2008.

Joseph TD, editors. Concepts in clinical pharmacokinetics. 5th ed. American Society of Health-System Pharmacists; 2010.

 

Credit : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=83 (http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=83)




หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ มกราคม 25, 2014, 08:54:15 pm
อย.เตือนกินยาแก้ปวดพร่ำเพื่ออาจตายได้

-http://news.springnewstv.tv/42209/%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-


นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาพาราเซตามอลของคนไทยพบว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาพาราเซตามอล เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพราะมองว่าเป็นยาพื้นฐาน มีความปลอดภัย และเข้าใจว่าสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากยาแก้ปวดแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน ทรามาดอล ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงจากอวัยวะภายใน เช่นปวดนิ่วในไต ปวดกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปวดจากบาดแผลที่มีขนาดใหญ่ เช่น หลังการผ่าตัด การคลอดลูก โรคมะเร็ง ยาประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่

สำหรับยากลุ่มดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง หากได้รับยาเกินขนาดจะทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมาเช่น อาเจียน ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทำงานช้าลงจนถึงขั้นหยุดหายใจได้
 
ผู้สื่อข่าว : ทีมข่าวสปริงนิวส์

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2014, 05:30:09 pm
สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

-http://health.kapook.com/view82323.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด



(http://img.kapook.com/u/patcharin/Health/Medicine/Supplement/dietpill4.jpg)



         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด

ยาลดความอ้วน

         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          สธ. ห่วงวัยรุ่นคลั่งผอม กินยาลดน้ำหนัก-รีดไขมัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วนจริง เพียงแค่อยากผอมเหมือนดาราและใส่เสื้อผ้าขนาดเล็กได้เท่านั้น ชี้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แสดงความเป็นห่วงวัยรุ่นไทยที่ไม่ได้อ้วนจริง แต่ใช้ยาลดความอ้วน เพราะคลั่งความผอม ความสวย อยากมีหุ่นเพรียวลมเหมือนการ์ตูนญี่ปุ่นและดารา และนิยมสั่งซื้อยาลดความอ้วนผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าสถานบริการลดความอ้วนตามตลาดมืด หรือหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้สารสกัดลดน้ำหนัก

         ทั้งนี้ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วัยรุ่นหญิงไทยและหญิงข้ามเพศ มีค่านิยมว่าจะต้องมีรูปร่างที่ผอมมาก เพราะคิดว่าผอม ๆ เช่นนั้นแล้วสวย ใส่เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กมากได้ ทำให้วัยรุ่นที่อ้วนหรือแค่รู้สึกว่าตัวเองอ้วน หันมาใช้ยาลดน้ำหนัก ใช้ทางลัดต่าง ๆ ทั้งเข้าสถานบริการลดความอ้วน ทานยา อดอาหารอย่างผิดวิธี โดยไม่คิดที่จะออกกำลังกายสลายไขมัน นอกจากนี้ ยังใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงหรือพิษภัยจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหารดังกล่าว  จนบางรายถึงกับเสียชีวิต

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่อว่า ยาลดความอ้วนที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้  ยับยั้งการดูดซึมของสารอาหาร  และยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง  เพื่อลดความอยากอาหารกินแล้วไม่หิวง่าย เช่นเฟนฟลูรามีน (Fenfluramine), เด็กซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine), ไซบูทรามีน (Sibutramine)  โดยตัวยาเหล่านี้ ทาง อย. ได้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของยาชนิดนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553 ตามลำดับ

         พร้อมกันนี้ เภสัชกรประพนธ์  เผยต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากข้อมูลการใช้ยาไซบูทรามีนในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก (stroke) ได้

         ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดดเด็ดขาดและขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือว่าเป็นความผิด

ยาลดความอ้วน

         สำหรับคนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนที่อ้วนจริง เนื่องจากวัดค่าดัชนีมวลกายมักพบว่าคนเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ที่ต้องการลดความอ้วนเพราะอยากเลียนแบบดาราหรือต้องการทำตามเพื่อน ส่วนผลข้างเคียงที่พบบ่อยก็คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก  และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้

        เภสัชกรประพนธ์ กล่าวต่ออีกว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ซึ่งยาอาจจะส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว รวมทั้งห้ามใช้ในหญิง มีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์  ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้

         ทั้งนี้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก 

        อย่างไรก็ดี หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ปรึกษาสายด่วน อย. 1556 หรือสามารถไปร้องเรียนได้ด้วยตนเองพร้อมนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปด้วย ที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=218993&catid=176&Itemid=524#.UwCTmoWbyZR-

หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ เมษายน 04, 2014, 10:37:29 pm
คุยกับหมอพิณ ยาสามัญประจำทริป

-http://men.sanook.com/2137/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B/-


สวัสดีค่ะ ใกล้จะถึงเดือนเมษายน เดือนแห่งวันเทศกาล วันหยุดหลาย ๆ ท่านคงวางแผนที่จะออกไปเที่ยวในหรือต่างประเทศกันแล้วนะคะ

สัปดาห์นี้จะขอคุยเกี่ยวกับการเตรียมตัวออกไปเที่ยวละกันค่ะ

ถ้าไปเที่ยวแล้วเกิดป่วยระหว่างการเดินทาง ทริปของเราอาจจะไม่น่าจดจำเท่าไหร่ใช่ไหมคะ

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้อมูลอาจจะไม่ค่อยครบถ้วน

เพราะอ้างอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวของหมอเองค่ะ

1.ยารักษาโรคประจำตัว : หากคุณ (หรือผู้ร่วมทริป เช่น คุณพ่อคุณแม่) มีโรคประจำตัว เอายาไปให้ครบ
เอาไปเผื่อด้วยจะปลอดภัยกว่านะคะ เกิดยาหล่น หรือแผนเปลี่ยน เช่น ตกรถ ตกเรือ (หรือโดน Hijack เครื่องบิน)
กลับบ้านช้ากว่ากำหนด อย่างน้อยยังมียาประจำตัวไว้ให้ทาน จดชื่อยาพกไว้ด้วยก็ดีนะคะ เกิดยาหายจะได้ซื้อทานได้

2.ยารักษาโรคประจำการเดินทาง : บางคนเดินทางทีไร อาการไม่พึงประสงค์มาเยี่ยมทุกที เช่น

-เมารถ : ยาแก้เมารถ เมาเรือ มีหลายกลุ่มค่ะ เช่น ยา Dimenhydrinate ทานก่อนออกเดินทางซัก 30-60 นาที

ทานซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมงค่ะ

-แพ้อากาศ : บางคนอากาศเปลี่ยนก็คัดจมูก น้ำมูกไหล

ไอเจ็บคอ ขอแนะนำให้พกยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาอมแก้เจ็บคอไปด้วยค่ะ

-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ : ยาแก้ปวด Paracetamol ไม่ควรลืมนะคะ เกิดมีใครปวดแข้งปวดขาก็สามารถรับประทานได้
ถ้าคิดว่าจะปวดมาก ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เช่น Ibuprofen ก็สามารถพกพาไปได้ แต่ควรระวังด้วยนะคะ เพราะหลายคนแพ้ยากลุ่มนี้
ถ้าเคยทานแล้วไม่แพ้ก็จัดเลยค่ะ อ้อ อย่าลืมพกยานวดไปซักหลอดนะคะ

-อาหารเป็นพิษ ถ้าทริปไหนท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย ทานอะไรก็ไม่ได้ มันน่าเศร้านะคะ
อย่าลืมพกผงเกลือแร่ ยากันอาเจียน เช่น Motilium ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin, Ciprofloxacin

ถ้าท้องเสียรุนแรง มีไข้ อ่อนเพลียมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์ค่ะ

ในกรณีที่อาหารไม่เป็นพิษ แต่อาหารเป็นมิตรทานจนแน่น แนะนำแอร์-เอ็กซ์ หรืออีโนนะคะ

3. อื่น ๆ เช่น

-พลาสเตอร์แปะแผล แอลกอฮอล์ล้างแผลขวดเล็ก สำหรับแผลถลอกเล็ก ๆ น้อย ๆ

-ยากันแดด ยากันยุง ยาทาแก้คันแมลงสัตว์กัดต่อย

-หน้ากากอนามัย เผื่อไว้เกิดเราเป็นหวัด เราจะได้ไม่ไปแพร่ใส่ใคร หรือสมมติที่ที่เราไปเที่ยวเกิดมีโรคระบาด
เช่น มีไข้หวัดหมู ไข้หวัดหมี อย่างน้อยก็อาจจะป้องกันได้บ้าง (มีทริปหนึ่งของหมอช่วงไข้หวัดหมูระบาด หมอพกหน้ากาก N95 ไปเที่ยวด้วยนะคะ)

-สำหรับสุภาพสตรี หากระยะที่จะไปเที่ยวเกิดมีประจำเดือน อย่าลืมพกยาแก้ปวดประจำเดือนไปเผื่อด้วยนะคะ ผ้าอนามัยควรเอาไปเผื่อด้วยค่ะ

-ยาระบาย สำหรับคนที่ไปเที่ยวต่างที่ ถ้าห้องน้ำไม่ใช่ที่บ้านหรือที่ทำงาน บรรยากาศมันไม่ใช่แล้วถ่ายไม่ออก ขอแนะนำพกยาระบายไปเผื่อด้วยค่ะ

ถ้าไปเที่ยวต่างประเทศแนะนำทำประกันก่อนเดินทางก็ดีนะคะ เพราะ 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ใช่รักษาได้ทั่วโลก เกิดเจ็บป่วยอะไรอุ่นใจกว่าค่ะ

สุดท้ายนี้ขอย้ำนะคะ ว่ายาแต่ละชนิดที่พกไป ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าเราไม่ได้แพ้ยาหรือข้อห้ามในการใช้ยาเหล่านี้หรือกลุ่มนี้มาก่อน
เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองนะคะ

ขอให้คุณผู้อ่านมีวันหยุดที่สนุกสนานและปลอดภัยค่ะ

สวัสดีค่ะ


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ เมษายน 12, 2014, 07:39:09 pm
อภ.เตือนกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ ระวังง่วง

-http://club.sanook.com/28965/%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5-


ช่วงวันหยุดยาวนี้หลายท่านคงมีแผนเดินทางเพื่อกลับบ้านหรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดกันใช่ไหมคะ การเดินทางไกลด้วยการขับรถนานๆในสภาพอากาศร้อนจัดแบบนี้อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและไม่สบายได้ง่าย ทางแก้ที่ง่ายคือหายามารับประทาน แต่การทานยานั้น ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยองค์การเภสัชกรรมได้มีคำเตือนเกี่ยวกับการทายยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อมาดังนี้

 

องค์การเภสัชกรรมเตือนประชาชนที่ต้องเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้ระวังการทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ ก่อนขับรถ อาจทำให้ง่วง หลับในและเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้



ภญ.นิภาพร ชาตะวิริยะพันธ์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจำนวนมากต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์จำนวนมาก และปีนี้จากการคาดการณ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 268-334คน  ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นคืออาการง่วงนอนหรือหลับใน องค์การฯจึงขอเตือนผู้ที่ต้องขับรถเดินทางควรระมัดระวังในการรับประทานยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาแก้ปวดทรามาดอล(Tramadol), ยาแก้ปวดอะมิทริปทัยลีน(Amitriptyline) และยาแก้ปวดกาบ้าเพนติน(Gabapentin) เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกดประสาทส่วนกลาง เพื่อบรรเทาอาการปวด  ส่วนยาคลายกล้ามเนื้อ อาทิ ยาโทลเพอริโซน (Tolperisone) และยาออเฟเนดรีน (Orphenadrine)   ยาเหล่านี้มีฤทธิ์ในการลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการปวดตึงทั้งร่างกาย ซึ่งยาทั้ง 2กลุ่มนี้ มีผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล อาจจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการขับขี่ ทำให้ตัดสินใจได้ช้าลง มองเห็นเป็นภาพเบลอ ไม่ชัด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

 

รองผู้อำนวยการฯ กล่าวอีกว่า ไม่เพียงยาทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว ยังมียาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนชนิดอื่นๆ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเมื่อต้องขับรถเช่นกัน อาทิ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก, ยาแก้แพ้ แก้คัน, ยากล่อมประสาท, ยาคลายกังวล, ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้เมารถ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ทานยาลดน้ำตาลในเลือด และต้องขับรถ หากระหว่างการเดินทางไม่สามารถทานอาหารได้ตรงเวลา อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด เหงื่อออกมาก ใจสั่น และอาจหมดสติได้ จึงจำเป็นต้องเตรียมอาหาร ลูกอม น้ำหวานไว้ระหว่างการเดินทาง เพื่อป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว นอกจากนี้ไม่ควรทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาลดน้ำมูก จะทำให้อาการง่วงของยาเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาบรรเทาปวด ลดไข้ จะทำให้ตับเสียหายได้มากขึ้น เป็นต้น

 

ดังนั้น ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ควรมีการวางแผนการเดินทาง และวางแผนการทานยาก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทาง ว่ายาแต่ละชนิดที่ต้องทานในระหว่างการเดินทางนั้น มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง โดยปรึกษาแพทย์, เภสัชกร หรือโทรปรึกษาปัญหาการใช้ยาได้ที่ Call Center องค์การเภสัชกรรม 1648 ฟรี

 

ที่มา :: สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หัวข้อ: Re: รวมเคล็ดไม่ลับ กับการใช้ยา
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ พฤษภาคม 30, 2014, 06:23:47 am
“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤษภาคม 2557 15:14 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000060101-


 บ้านสกปรกระวัง “ด้วงกระเบื้อง” บุกรุก เสี่ยงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ-ผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร แนะทำบ้านให้สะอาด โล่ง เผยกวาดรวบตัวด้วงลงกะละมังใส่น้ำผสมผงซักฟอกช่วยกำจัดได้ หรือใช้สารไซฟลูทรินผสมน้ำฉีดพ่นฆ่าตัวด้วงและตัวหนอน ป้องกันได้ 6 เดือน ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง

“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
       วันนี้ (29 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีพบแมลงกระเบื้องจำนวนมากในบ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 11 ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี นานกว่า 3 เดือน ว่า กลุ่มกีฏวิทยาและควบคุมแมลงนำโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้เข้าไปตรวจสอบและกำจัดแมลงดังกล่าวแล้ว โดยแมลงกระเบื้องจัดเป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในวงศ์เดียวกันกับด้วงมอดแป้ง แต่ความเป็นอยู่สกปรกกว่า ลักษณะลำตัวกลมรี มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เปลือกค่อนข้างแข็ง ชอบอยู่ตามพื้นดินในที่ต่างๆ เช่น ใต้ไม้ผุๆ ใต้ก้อนหิน ตามรังมด รังปลวก ตามต้นพืชหลายชนิด หรือตามบ้านเรือน ตามกองใบไม้ทับถม และตามที่ที่มีเชื้อรา หรือซากสัตว์เน่าเปื่อย ตัวหนอนของด้วงชนิดนี้สามารถเดินได้เร็วและชอนไชเก่งมาก ชอบดินชื้นๆ โดยจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน
       
       นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนด้วงตัวแก่ที่เข้ามาอาศัยภายในบ้าน หากเข้าหูอาจทำให้หูอักเสบ หรือเกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนังจากกลิ่น เกล็ดและขนที่หลุดร่วง หรือหนามที่ขา นอกจากนี้ ยังสามารถนำโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งติดมาตามขาและลำตัวด้วย จึงขอแนะนำประชาชนหากพบจะต้องรีบกำจัดทันที โดยลดหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ด้วยการรักษาความสะอาดบ้านเรือน และบริเวณบ้านให้โล่งเตียน กำจัดเศษใบไม้ทับถม ส่วนเศษมูลสัตว์ที่จะทำเป็นปุ๋ยคอก ควรตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในถุงที่มิดชิดหรือนำไปใช้ใส่ต้นไม้ทันที
       
       “หากต้องการป้องกันและกำจัดไม่ให้ด้วงเข้าไปอยู่ในบ้าน ให้ต่อหลอดไฟนีออนห่างจากตัวบ้าน 5-10 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อล่อด้วงตัวแก่ เพราะชอบเล่นไฟนีออนตอนกลางคืน โดยทำโคมสังกะสีโค้งๆ ครอบเหนือหลอดไฟ แล้ววางกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกแบบไม่ต้องมีฟองไว้บนพื้นใต้หลอดไฟ เมื่อฝูงด้วงเล่นไฟแล้วบินชนโคมไฟก็จะตกลงในกะละมัง เมื่อปีกเปียกน้ำผสมผงซักฟอกจะไม่สามารถไต่หรือบินขึ้นมาได้และจมน้ำตายในที่สุด” อธิบดี คร. กล่าว
       
       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า แต่หากด้วงบุกเข้าไปอยู่ในบ้านแล้ว ให้ใช้ไม้กวาดและที่ตักผงกวาดรวบรวมตัวด้วงนำไปใส่ในกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกดังกล่าวเพื่อฆ่าฝูงด้วง แต่หากจะกำจัดแบบถาวรให้ใช้สารเคมีชื่อไพรีทรอยด์ ชนิดไซฟลูทริน (cyfluthrin) สูตรน้ำมันละลายน้ำ (สูตร EC) ผสมกับน้ำแล้วนำไปฉีดพ่นใส่ตัวด้วง หรือพื้นผิวที่ด้วงอาศัย เพื่อฆ่าระยะตัวหนอน โดยพ่นในปริมาณ 50 มิลลิลิตรต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร แต่หากจะพ่นตามผนังอาคารที่ด้วงเคยเกาะให้ใช้สูตรผงละลายน้ำ (สูตร WP) ทั้งนี้ ฤทธิ์ของสารเคมีดังกล่าวเมื่อถูกตัวด้วงจะทำให้ด้วงตายภายใน 24 ชั่วโมง มีฤทธิ์ตกค้างบนผนังอาคาร 6 เดือน ด้วงจะได้ไม่มาเกาะอีก แต่สารดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง พ่นซ้ำได้ทุก 6 เดือน หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป

(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000006218501.JPEG)

.