ใต้ร่มธรรม
วิถีธรรม => จิตภาวนา-ปัญญาบารมี => แนวทางปฏิบัติธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 14, 2013, 10:01:01 pm
-
(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/c0.0.640.305.95492289442/p843x403/603128_582412581773975_1923636918_n.jpg)
สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุ อันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ
(การ เห็นอยู่ โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่ โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะ ความสิ้น ไปแห่งนันทิ
จึงมี ความสิ้นไป แห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะ ความสิ้นไป แห่งราคะ
จึงมี ความสิ้นไป แห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะ ความสิ้นไป แห่ง นันทิ และราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้น แล้ว ด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).
(ในกรณีแห่งอายตนะ ภายใน ที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณี แห่งอายตนะ ภายนอก ๖
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ก็ตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งจักษุ ทุกประการ.)
นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.
(http://24.media.tumblr.com/tumblr_m8k1hfoRwX1qg39ewo1_250.gif)
-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/