ใต้ร่มธรรม

แสงธรรมนำใจ => ดอกบัวโพธิสัตว์ => ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น => ข้อความที่เริ่มโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:09:53 am

หัวข้อ: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:09:53 am

(http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other5/386.jpg)

“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)

คำอนุญาต

หนังสือธรรมะ “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ เผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้ธรรมเป็นทาน
หากผู้ใดมีเจตนา จะเอาธรรมะในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์ต่อ เพื่อมีเจตนาจะเผยแพร่ธรรม
และพิมพิ์แจกฟรี ผู้เขียนอนุญาตในทุกกรณี
แต่ห้ามดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม เนื้อหาธรรมะ ในทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้
ขออนุโมทนาบุญ สำหรับผู้ที่สนใจ จะนำ หนังสือธรรมะ
ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ไปพิมพ์แจกจ่ายฟรี เพื่อให้ธรรมเป็นทาน สมดังเจตนาของผู้เขียน
ผู้เขียน พระราเชนทร์ อานนฺโท

(http://jingreed.typepad.com/.a/6a00d8341c73fe53ef0133f0e6ff27970b-800wi)

คำนำ
ธรรมะในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” นี้...
   เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงตามแบบแผนแห่งคำสอนนิกายเซนในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งทางครูสอนเซนทั้งหลายในรุ่นก่อนๆได้สืบทอดคำสอนเหล่านี้มาโดยตรงจากองค์พระศาสดา เพื่อนำไปชี้ทางหลุดพ้นให้แก่บรรดาลูกศิษย์ของตนเองมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว เป็นการสอนโดยมุ่งเน้นที่จะคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมที่อยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและความไม่หลุดพ้น ธรรมะในหนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นตามแบบแผนแห่งคำสอนเซนอย่าง-แท้จริง โดยแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ คือ ภาค 1 สังขตธาตุ และ ภาค 2 อสังขตธาตุ

   ในส่วนของ ภาค 1 สังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลายได้หยิบยกเรื่องธรรม คือ สังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งการที่ยังเข้าใจผิดโดยยังเห็นว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดานั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุนั้นยังไม่ใช่ธรรมะอันแท้จริง ซึ่งคือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ หากใครได้หลงผิดหยิบยกธรรมเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาและปฏิบัติก็จะมีแต่ทำให้เข้าไปติดในการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติและติดปรุงแต่งในการหวังผลแห่งการปฏิบัติอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้เขียนจึงได้เขียนธรรมะในส่วนของสังขตธาตุขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นทุกท่านได้อ่านและพิจารณาในรายละเอียดแห่งสังขตธรรมนั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้ทิ้งไปเสีย

(https://lh6.googleusercontent.com/-BTvYUiqpK6Y/Um0YUitY5lI/AAAAAAAAb3M/wCplw8k3ETc/w550-h300-no/13-10-27+-+1)

   ผู้เขียนจึงขอเตือนนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายว่า หากได้หยิบหนังสือใจต่อใจในการฝึกตนขึ้นมาอ่านเพื่อศึกษาธรรมะในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ขอให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายพึงเฝ้าระวังเตือนตนเองให้มากๆว่า การอ่านเพื่อศึกษาธรรมอันคือ สังขตธาตุ ในภาค 1 นั้น เป็นการอ่านเพียงเพื่อทำความเข้าใจว่าธรรมในลักษณะนี้ยังไม่ใช่ธรรมอันแท้จริงที่จะทำให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ จึงเป็นเพียงการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้อันว่าด้วย การปฏิบัติและการรอคอยผลแห่งการปฏิบัติทิ้งไปสีย มิใช่เป็นการอ่าน.. เพื่อน้อมนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด

   ในส่วนของภาค 2 อสังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลาย ได้หยิบยกเรื่องธรรมคือ อสังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งอสังขตธาตุนั้น เป็นธรรมะอันแท้จริง คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นธรรมะที่จะต้องใช้ความตั้งใจเข้าไปเพื่อศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมนั้นได้ ผู้เขียนจึงได้พยายามเขียนธรรมะในส่วนของอสังตธาตุขึ้นให้ครบทุกประเด็นเท่าที่ผู้เขียนจะรำลึกได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา

   และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนก็มีความมุ่งหวังอย่างมากที่ต้องการให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลาย ได้ตระหนักชัดถึงความหมายที่แท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ ทั้งนี้ เป็นความมุ่งหวังเพื่อให้นักศึกษาทุกคน มีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจ เปี่ยมไปด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
23 พฤษภาคม 2555
ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c68.0.403.403/p403x403/75755_287620811347967_972829804_n.jpg)

"คนของเรา"
ย่อมขึ้นฝั่งพระนิพพานทุกดวงจิต
ภายใต้ความโอบอุ้มปีกพุทธะ
แห่ง "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"
ที่เราจักหยิบยื่นให้ตามวาระและโอกาส
ด้วยมิตรไมตรีที่เคยมีให้กันเสมอมา

(https://lh4.googleusercontent.com/-HpyXGGQkRGo/Un7psLjnWKI/AAAAAAAAhJE/CJD_WNFR0x8/w565-h368-no/13-11-9+-+1)

ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

(https://lh4.googleusercontent.com/-NFqUYtj5BCY/Uodhl2igRAI/AAAAAAAAi2Y/QzBav2Jd2J0/w578-h294-no/13-11-16+-+1)

อ่านเนื้อหาหนังสือธรรมะ.. "ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น
-http://board.palungjit.com/f14/ใจต่อใจในการฝึกตน-นิกายเซน-ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น-355568.html

(https://lh3.googleusercontent.com/-5jvcRGHUjxk/Un7q33XbGzI/AAAAAAAAhLg/6oLOqjci2b4/w438-h388-no/13-11-9+-+1)

คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
: http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398 (http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 05:00:31 pm

(https://lh5.googleusercontent.com/-YwCvHMj0ZaM/UmR0XRAZ9vI/AAAAAAAAYaA/ciENZ1ID_Zs/w533-h387-no/13-10-20+-+1)


เธอชอบเข้าไปดูในสิ่งที่มัน ไม่มี
เธอชอบเข้าไปดู "จิต"
เมื่อเข้าใจผิดว่ามันมี.. เธอก็ต้อง ตามรู้ความมี
ที่เธอเข้าใจผิด
ว่ามันดับไปเป็นธรรมดา
ตามหลักเกณฑ์อะไรของเธอ
และก็มานั่งภูมิใจว่านี่คือ.. ตัวรู้ นี่คือ.. สัมมาสติ
อะไรทำนองนี้...

ทั้งๆที่ความจริง.. มันไม่เคยมี มันจึงไม่เกิดไม่ดับ..
มัน  ไร้  วิถีเกิดดับ
มันจึงเป็นการที่เธอ หลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า.. มี
และต้องเหนื่อยกับ มัน..
ในการเข้าไป ตามรู้ตามดู มัน ที่เกิดๆดับๆ
มันเหนื่อยเปล่า.. ที่ชีวิตนี้ทิ้งไปกับ การปฏิบัติ แบบนี้

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


(http://www.lucianogranello.it/tramonto.gif)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 09:53:02 pm

(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/480550_395170857231151_1738230546_n.jpg)

มนุษย์แต่ละคน
มีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม
สำหรับการดำรงชีวิต
ที่เป็นอิสระและสมบูรณ์
..
..
เซน แห่ง " อาคิระ หัวใจที่โลกไม่เคยรู้ "
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
**************


(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/223473_556495247703881_617269851_n.jpg)

ในหัวใจของเด็กๆ ทุกคน
มีเมล็ดพันธุ์ของความรัก
และความปรารถนาอันบริสุทธิ์
********


(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/551281_569237809767808_464760607_n.jpg)

ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันไม่ถูกนับรวมอยู่
ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่
และไม่มีการตั้งอยู่
****************


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/521409_478979462168047_1781511666_n.jpg)

ก็เพราะว่าพุทธะในวิถีแห่งการปฏิบัติของพวกเธอ
บนหนทางบริสุทธิ์ที่พวกเธอกำลังจ้ำเดินอยู่นั้น
มันเป็นพุทธะที่กลายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทุกๆขณะ
ที่เธอกำลังทำความเพียรและมุ่งหวังให้พุทธะชนิดนี้
ในมโนภาพที่อยู่ในหัวพวกเธอมันเกิดขึ้น
มันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอตั้งใจภาวนา
และมันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอมุ่งหวังผลแห่งการภาวนา
มันเป็นเพียงจิตที่แสวงหาจิต
****************


(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/71417_469863093062170_2046235388_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 10:07:36 pm

(http://croatian.cri.cn/mmsource/images/2013/01/21/7fd607d42ec746a3a2c3187f511bffb7.jpg)

โดยธรรมชาติที่แท้จริง อันคือความดั้งเดิม
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า
ที่มันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ภาวะทุกข์
ภาวะเหตุแห่งทุกข์ ภาวะความดับไปแห่งทุกข์
ภาวะธรรม อันคือหนทางอันออกจากทุกข์
อันคือธรรมแห่ง สัมมาทิฏฐิ ทั้งหลายทั้งปวง
****************


(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/544573_608445395848820_1305395987_n.jpg)

เซน คือ
วิถีแห่งสัจธรรม ความเป็นจริง
ตามธรรมชาติ
เซนจึงมิใช่การเรียนรู้ เผื่อฝึกฝน
ให้ภาวะมันเกิด
**************


(http://4.bp.blogspot.com/-t73yM5-W854/TwenjzbFpdI/AAAAAAAAQbw/0oSxpCE2-f8/s540/SDFGRRT.png)

การที่พวกเธอจะดิ้นรน
พยายามทำให้มันปรากฎขึ้น
มันจึงเป็นการเข้าใจผิด
ต่อสภาพธรรมชาติแห่ง พุทธะ ของพวกเธอเอง
***************


(http://letras-uruguay.espaciolatino.com/aaa/acosta_delfina/Sobredosis%20de%20tristeza%20literaria.jpg)

เมื่อทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวอันคือ..
ธรรมชาติแห่งพุทธะ
จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะก่อให้ เกิด ใครสักคน
แล้วบังอาจกระทำตัวแปลกแยก
ออกมาจาก ความกลมกลืนแห่งธรรมชาตินั้น

แล้วมายืนตะโกนร้องบอกว่านี่คือ “ฉัน”
และนี่ก็คือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันปรากฎขึ้น
ซึ่ง “ฉัน” ได้ค้นพบมัน
ด้วยการแสวงหาอย่างเหน็ดเหนื่อย
ซึ่งเกิดจากการ ปฏิบัติธรรม ด้วยน้ำพักน้ำแรงของฉันเอง
****************


(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/396305_437935249596938_426302011_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 10:33:49 pm

(https://lh3.googleusercontent.com/-zJ2w2HFH4R4/Uk7K6verFGI/AAAAAAAAO7Q/nwMaFB39qPU/w530-h477-no/13-10-4+-+1)

ในฐานะของความเป็นมนุษย์นั่นเองแหละ
ก็คือความเป็นหน้าตาของธรรมชาติแห่งพุทธะ
ที่ปรากฎอยู่ในความเป็นสิ่งเดียวแบบกลมกลืนของทุกสรรพสิ่ง
มันจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าคนเราย่อมมีหนทาง
ไปสู่สัจธรรมได้เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว
เพราะ “ความมีหนทางไปสู่” นั้น
เท่ากับว่าคนเราเอง
ย่อมยังมีระยะห่างจากธรรมชาติที่แท้จริงอยู่
****************


(http://www.canvaz.com/ink/ink-05.jpg)

หมายถึงสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นอิสระแบบเด็ดขาดโดยตัวมันเอง
มันจึงมิใช่ภาวะธรรมที่ซึ่งเกิดจาก
การเข้าไปจัดแจงภาวะธรรมใดภาวะธรรมหนึ่ง
แล้วการเข้าไปจัดแจงนั้นมันเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้ธรรมชาตินี้ปรากฎขึ้น
**********************


(http://republika.pl/blog_wy_5139361/7987667/sz/chottte.jpg)

ในความเป็นจริงของธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนมาแต่แรกเริ่มเดิมที
อันคือความดั้งเดิมแท้ของมัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากฝีมือในการภาวนาปฏิบัติของใคร
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากการที่ได้ทำลายอะไรลงไป
มันจึงมิได้เกิดขึ้นเพราะใครไปสลายอัตตาอะไรให้หมดไป
แล้วอนัตตาคือความไม่มีตัวตนเช่นมันจึงจะปรากฎขึ้นมา
*********************


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/534998_485123654878097_724732175_n.jpg)

เมื่อพวกเธอเข้าใจซึมทราบด้วยใจของพวกเธอเอง
ถึงความที่มันเป็นอิสระโดยคุณลักษณะของมันเอง
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้ใครมาลุถึง
เธอก็เป็นอิสระไปแล้วทันที
************************


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/c67.0.403.403/p403x403/581942_313414585421935_1331866231_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:49:19 pm

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSAt6VNgpFmlPsubamdgv20KD-EUuGUc2bRX6Db1vaTmwDGwPBfBw)
(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c0.0.403.403/p403x403/529741_337253546384693_1473758131_n.jpg)


ความว่างมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ
เป็นความอิสระที่บริบูรณ์อยู่แล้ว
มันเป็นความอิสระโดยตัวมันเอง
ซึ่งนอกเหนือความหลุดพ้นหรือความไม่หลุดพ้น
อันเป็นส่วนที่เธอจะไข่วคว้ามาในฐานะแห่งการบรรลุ
********************


(http://assets.populardownloads.com/u/pd/mohler/media/details/images/wp/stormy_weather_400x250.jpg)

ทุกคนย่อมมีเหตุผล
ในการกระทำของตัวเองเสมอ
เรามีหน้าที่เพียงยอมรับและเข้าใจ
เหตุผลของการกระทำนั้นๆ
************


(https://lh5.googleusercontent.com/-NNRZaKscdxE/Uk_i6Mh502I/AAAAAAAAtF8/15JqzwJgkMo/w426-h306/sitting.meditation.33.jpg)

ชีวิตเท่าที่มีอยู่
ตามปกติ ณ ขณะนี้
นี่คือ...วิถีชีวิตแห่งเซน

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
*********************


(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/c0.0.403.403/p403x403/299081_333465393434045_1707536783_n.jpg)

มิตรไมตรีของเรา
ที่เคยมีให้กันเสมอ
คือความรักแห่งเซน
..
..
เซน แห่ง วาเลนไทน์
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
*******************


(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/560064_612899125403447_1060549103_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2013, 12:38:28 am


(http://images3.alphacoders.com/146/thumbbig-146067.jpg)

บทที่ 35 ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร

หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน

การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด
เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน

การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ

(http://i1304.photobucket.com/albums/s522/Seaorganic/Stop-Monsanto.jpg)

- การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ ทำสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันไม่ต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ (การที่จิตซี่งปรุงแต่งขึ้นดับไปเป็นธรรมดา การที่ขันธ์ทั้ง 5 ดับไปเป็นธรรมดา มันก็คือเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิซึ่งคือตัวปัญญา อยู่แล้วนั่นเอง)

-การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ" ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป็นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมา มันเป็นการ “ประคอง”สติ ซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ"แห่งสติ ที่แสดงเนื้อหาแห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ (การกำหนด เป็นการเข้าไปศึกษาธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้เราตระหนักชัดถึงลักษณะหน้าตาและความหมายแห่งธรรมนั้นๆ แต่เพียงเท่านั้น )

-การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน
การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง

แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ"
" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย

(http://www.canvaz.com/ink/ink-12.jpg)

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
:http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:33:46 pm


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/c99.0.403.403/p403x403/382324_338234382953276_1684852843_n.jpg)


เพราะฉะนั้นเมื่อมันปราศจากความมีความเป็น
ซึ่งมีคุณสมบัติแห่งการเกิดขึ้นดับไป
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงไม่ตกอยู่ภายใต้
“ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่”
..
..

การปฏิบัติธรรมอันเนื่องด้วยการตระหนักชัดและซึมทราบ
เป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดานั้น
มันเป็นการปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจผิดของเราเอง
ว่าความเป็นตัวตนมันมีอยู่จริง
..
..

ความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง
แต่ที่คิดว่ามีอยู่
และยังเข้าใจอีกว่าที่มีอยู่ก็เกิดขึ้นดับไป
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้
..
..

การปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจผิดว่า
มันต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
มันก็เป็นเพียงความรู้ที่ถูกต้องในส่วนหนึ่ง
แต่ก็ถูกอวิชชาตัณหาอุปาทานครอบปิดบังไว้ในส่วนหนึ่ง
..
..

การนั่งกรรมฐานภาวนาในทางเซน
เป็นการนั่งที่ได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวง
เฉกเช่นเดียวกับการอยู่ในอริยบทอื่นๆ
เช่น การเดิน การนอน การทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
ก็ย่อมเป็นการเคลื่อนไหวในอริยบทต่างๆอย่างมีอิสรภาพ
อันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงเช่นกัน
..
..

ด้วยความไม่รู้ความไม่เข้าใจของมนุษย์ว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นมาเอง
มนุษย์จึงพยายามทำสิ่งสมมุติเหล่านี้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์
ให้มั่นคง ให้คงทนถาวร อยู่ในความรู้สึกของตน
หรือพยายามทำสิ่งสมมุติที่ไม่ต้องการให้หมดไป
ให้สูญสลาย ให้หายไปจากความรู้สึกของตน
..
..

ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น
เป็นการทำหน้าที่แห่งความว่างเปล่า “โดยเด็ดขาด”
เด็ดขาดซึ่งปราศจากภาวะความเป็นของคู่โดยสิ้นเชิง
มันปราศจากภาวะความเป็นของคู่แม้กระทั้งชนิด
ที่ถูกแบ่งแยกแล้วซึ่งเรียกมันว่า
“การบรรลุ-การไม่บรรลุ”
“การหลุดพ้น-การไม่หลุดพ้น”
..
..

ในเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลาย
ปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน
และเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง
เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดสายตลอดเวลาโดยธรรมชาติของมัน
การทำนิพพานให้แจ้ง ให้เด่นชัด ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา
ก็เป็นการฝืนธรรมชาติโดยสิ้นเชิง
..
..

เพราะโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง
สิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง
แล้วจะทำให้สิ่งเหล่านี้
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปได้อย่างไร
..
..

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

(http://25.media.tumblr.com/811c0d05d84bd1573b9289cb2edf08ac/tumblr_mg41x7h6YK1rigueko1_500.jpg)

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:37:12 pm


(http://www.teneues.com/shop-int/images/product_images/popup_images/79390_3.jpg)

ในความเป็นจริงธรรมชาติแห่งพุทธะ
มันไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลยให้ซับซ้อนยุ่งยาก
ถ้าหากจะกล่าวว่ามีหลักเกณฑ์
ก็โดยสภาพของธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นแหละ
คือหลักเกณฑ์
..
..

ธรรมชาติแห่งพุทธะ
มันอยู่เหนือ
กฎแห่งความเป็นเหตุและผล
..
..

ถ้าเธอจะเพียงแต่ไม่คิด
เรื่องความมีอยู่และความไม่มีอยู่
เกี่ยวกับทุก ๆ สิ่ง จริง ๆ ได้เท่านั้น
เธอก็จะลุถึงธรรมตัวจริงได้
..
..

จงเพียงแต่พักใจของท่านไว้
และไม่แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็จะเข้าถึงความว่างได้ในตัวมันเอง
..
..

ถ้าหากว่าชั่วขณะหนึ่ง
ที่มันถูกวางจากเครื่องผูกมัด
ในหัวใจของท่านเอง
ทุก ๆ แห่งก็คืออิสรภาพ
..
..

ด้วยความเสมอภาคและเที่ยงตรง
จิตของท่าน
ไม่ได้พำนัก ณ ที่ใด
..
..

ความว่างมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะที่บริบูรณ์อยู่แล้ว
มันนอกเหนือความหลุดพ้นหรือความไม่หลุดพ้น
อันเป็นส่วนที่เธอจะไขว่คว้ามาในฐานะแห่งการบรรลุ
โละทิ้งไปได้เลยการปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ
ที่มันเป็นมายาแห่งความฝันที่เหมือน "คนตาบอด"
ลูบคลำหน้าตาพุทธะ...แล้วมานั่งนึกมโนภาพเอาเอง
..
..

เธอพยายามหยุดการกระทำ
เพื่อจะได้ถึงความหยุดนิ่ง
ความพยายามของเธอนั่นแหละ
ที่ทำให้เธอเต็มไปด้วยการกระทำ
..
..

ความฝันและปีศาจ
พรรณดอกไม้ทั้งหลาย
ในท่ามกลางท้องฟ้าว่าง
ธุระร้อนอะไรของท่าน
ที่จะไปยึดฉวยมัน
..
..

ความเรียบง่าย
ในความเป็นไปเองแห่ง “เซน”
จะพาข้ามพ้น
ความซับซ้อนทั้งปวงแห่งวิธีปฏิบัติ
..
..

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/542675_601275596565151_1129172665_n.jpg)
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2013, 02:47:08 pm


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c0.0.403.403/p403x403/150717_10151289826869117_1963351706_n.jpg)

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 38 ฌาน คือ ธรรมสำหรับบัวใต้น้ำ
ฌาน คือ สมาธิความตั้งมั่นในระดับต่างๆที่เอาความเป็นเราเข้าไปทำเป็นอัตตาชนิดหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรื่องฌานไว้ในกรรมฐาน 40 กอง ท่านตรัสเพื่อทรงสอนดอกบัวจำพวกใต้น้ำ คือ หมู่ชนผู้มืดบอดที่ “ ไม่รู้จักความสงบที่แท้จริง ” เพราะความเป็นจริง “จิต” ที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆนั้น ถือว่า เป็นความวุ่นวายอันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งขึ้นมา มันวุ่นวายไปด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน วุ่นวายไปด้วยความหมายแห่งความเป็นตัวตนเป็นอัตตา วุ่นวายไปด้วยความมีเรามีเขามีสิ่งๆโน้นมีสิ่งๆนี้เข้ามา สรุปคือ เป็นความวุ่นวายในความเป็นอัตตาตัวตน ซึ่งมีสภาพเป็นทุกข์

แต่โดยธรรมชาติแห่งความเป็นสัจธรรมความจริง “จิต” ต่างๆนั้นเป็นธรรมชาติที่มันตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว “ความสงบที่แท้จริง” ก็คือ ความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพธรรมชาติของ”จิต” มันเองนั่นแหละ เป็นความสงบปราศจากภาวะความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ปราศจากภาวะความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ปราศจากภาวะความมีเรามีเขามีสิ่งต่างๆ ปราศจากภาวะความเป็นอัตตา มันเป็นความสงบแท้จริงซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน

แต่หมู่ชนซึ่งเปรียบเสมือนพวกบัวใต้น้ำกลับไม่เข้าใจในความหมายแห่งความสงบที่แท้จริง ไม่สามารถตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นได้ ซึ่งความดับไปตามธรรมชาตินั้นคือความสงบซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน หมู่ชนแห่งบัวเหล่านี้ไม่รู้จักความหมายแห่งความแปรปรวน ไม่รู้จักความหมายแห่งอนิจจังความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่ในทางตรงกันข้ามหมู่ชนเหล่านี้ กลับ“มีแต่ความปรุงแต่งทางจิต และมีความสาละวนในการปรุงแต่งซ้ำๆซากๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งก่อให้เกิดเป็นจิตประเภทต่างๆอยู่ตลอดเวลา และไม่มีปัญญาพอที่จะตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปของจิตนั้นได้ สาละวนปรุงแต่งจนกระทั้งเกิด “ภาวะอุปสรรค” เข้ามากีดกั้นปิดบังไม่ให้รู้ไม่ให้เข้าใจไม่ให้ตระหนักชัดในธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นความสงบที่แท้จริง พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการปรุงแต่ง ซ้ำๆซากๆ

ที่กลายเป็นจิตประเภทนี้ไว้ 5 ชนิด คือ นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่
1.กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2. พยาบาท ความไม่พอใจ ความคับแค้นใจ ความอาฆาตปองร้าย
3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่ายตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

เมื่อรอบปัญญาบารมียังไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจและตระหนักชัดในเนื้อในเนื้อหาแห่งความแปรปรวนดับไปสิ้นไปของจิตทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวข้างต้นได้ พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนบัวเหล่าใต้น้ำนี้ท่านทรงแนะนำ “ อุบาย” อันจะช่วยทำให้ “หันเห” ความสนใจหันเหจากพฤติกรรมทางจิตที่ปรุงแต่งต่างๆนาๆจนเป็นอุปสรรคทำให้ไม่รู้จักไม่เข้าใจในความอนิจจังสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิต “หันเห” มาสู่จุดใดจุดหนึ่งในองค์ภาวนาในประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ถึง 40 กอง และให้ตามเพ่งอยู่ตรงจุดนั้นจนกว่าจะเกิด “ภาวะอัตตาอันประณีต” เช่นอาการวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา คือ จิตเพ่งตรงนั้นจนไม่ไปใหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมันทำให้หันเหจากพฤติกรรมที่ชอบปรุงแต่งเป็นจิตประเภทต่างๆที่มันเป็นอุปสรรคได้อย่างดี เมื่อหันเหมาสู่ภาวะอัตตาอันประณีตที่เรียกว่า องค์ฌาน มันก็กลายเป็นจิตอันประณีตอยู่ตรงนี้แบบชั่วคราวแต่เมื่ออำนาจฌานหมดไปหายไป หมู่ชนเหล่านี้ซึ่งเคยมีพฤติกรรมปรุงแต่งทางจิตไปต่างๆนาๆตามความเคยชิน ก็จะกลับไปปรุงแต่งอีกเหมือนเดิม

เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้หมู่ชนเหล่านี้ทำสมาธิในลักษณะฌาน เมื่อเกิดภาวะจิตปรุงแต่งอันประณีตในองค์ฌาน เมื่อจิตมีความ “รำงับ” จากความวุ่นวายชั่วคราวแล้วก็ควรรีบมาศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องอริยสัจจ์ เรื่องการแก้ไขปัญหาแบบตรงประเด็น คือการปฏิบัติตรงแบบอุชุปฏิปันโน แบบความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันคือความสงบนั้น
แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจเนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งสามารถตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตประเภทต่างๆได้ซึ่งถือว่าหมู่ชนเหล่านี้เปรียบเสมือนบัวปริ่มน้ำ บุคคลเหล่านี้ได้ลิ้มรสชาดแห่งความสงบทางจิตที่แท้จริงได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องเข้าไปทำกรรมฐานใน 40 กอง เพื่อให้เกิดความปรุงแต่งเป็นจิตอันประณีตในองค์ฌานเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาบดบังพระนิพพานและทำให้เกิดความลำบากกายทรมานกายขึ้นมาอีก

กรรมฐาน 40 กองมีดังนี้
- กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง แบ่งเป็น
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แสงสว่าง กสิณสีแดง กสิณเขียว กสิณสีขาว กสิณสีเหลือง

-อสุภกัมมัฏฐาน 10 อย่าง
อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายขึ้นบวมพอง ขึ้นอืด
วินีลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว ปะปนคน สีแดงในที่มีเนื้อมาก สีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก สีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุม ร่างของผู้ตายส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยผ้า สีเขียวจึงมากกว่า ดังนั้นจึงเรียกว่า วินีลกะ แปลว่าสีเขียว
วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
วิฉิทททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาดออกจากกัน
วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
วิขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย
หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลอออกเป็นปกติ
ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
อัฏฐกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก

- อนุสติ 10 คือ
พุทธานุสสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงพระธรรม คำสอน
สังฆานุสสติ - ระลึกถึง คุณพระสงฆ์
ศีลานุสสติ - ระลึก ถึงผู้มีศีล
จาคานุสสติ - ระลึกถึงคุณความดีของการให้
เทวตานุสสติ - ระลึกถึงความดีของเทวดา
มรณานุสสติ - ระลึกถึงความตาย
กายคตานุสสติ - ระลึกถึงร่างกายเราเป็นของสกปรกไม่มีอะไรดี
อาณาปานุสสติ - ระลึกถึงลมหายใจของเรา
อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงอารมณ์พระนิพพาน

-พรหมวิหาร 4
-อรูปฌาน 4
-อหาเรปฏิกูลสัญญา - พิจารณาว่าอาหารเป็นของเหม็นเน่าเหมือนร่างกาย
-จตุธาตุววัฏฐาน 4 พิจารณาการเกิดของสังขาร คือเป็นการประชุมของ ธาตุทั้ง 4

(http://jacquelineorourke.files.wordpress.com/2013/01/248858_448145905245603_1872969474_n1.jpg?w=300&h=300)

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2013, 03:26:08 pm


(http://images.nationalgeographic.com/wpf/media-live/photos/000/119/cache/baobab-trees-tarangire-camp_11973_600x450.jpg)

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 39 สัมมาสมาธิ
การที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 สิ้นไปดับไปเป็นธรรมดานั้น มันเป็นเนื้อหาแห่ง “ มรรคมีองค์ 8” อยู่แล้ว ซึ่งมันประกอบไปด้วยอินทรีย์ธรรมแห่ง สัมมาสมาธิอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น “สัมมาสมาธิ” มันจึงเป็น “ธรรมชาติแห่งความตั้งมั่น” ตั้งมั่นในความดับไปเป็นธรรมดาแห่งจิตต่างๆแห่งขันธ์ทั้ง 5 เมื่อจิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 มันดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองมันก็บ่งบอกความหมายที่แสดงถึง “ไม่มีความเป็นเรา” “ความเป็นเราดับไป” ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกเข้าไปทำ “สัมมาสมาธิ”ได้

เพราะฉะนั้นสัมมาสมาธิจึงไม่ใช่การเข้าไปทำ ไม่มีการเข้าไปฝึกเข้าไปทำ การเข้าไปทำสัมมาสมาธิล้วนเป็นความไม่เข้าใจในธรรมและเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง อีกทั้งสัมมาสมาธิไม่มีการเข้าและการออกเหมือนองค์ฌาน ที่มีลำดับในการเข้าไปในระดับของสมาธิในภาวะแห่งอัตตาอันประณีตนั้น เช่น เข้าไปในภาวะวิตกวิจารณ์ ปีติ สุข และเป็นภาวะหนึ่งเดียวที่ไม่ไปใหนไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากองค์ภาวนาคือจิตรวมเป็นอาการหนึ่งเดียวในลักษณะจิตจดจ่ออยู่อย่างนั้น เรียกว่า เอกคัตตา และสามารถออกมาจากภาวะฌานดังกล่าวได้

(http://24.media.tumblr.com/tumblr_lzrgkro7VA1rnzmeto1_500.jpg)

“จงฟังโศลกแห่งสมาธิธรรมชาติ”
*****
ธรรมชาติของสมาธิ ไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก
ไม่มีทั้งความเงียบ และ ไม่มีทั้งความวุ่นวาย ไม่มีทั้งสภาวะธรรมคู่แห่งการปรุงแต่ง
ธรรมชาติของสมาธิ ไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้ มันเป็นธรรมชาติแห่งความสงบตลอดกาล
ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา
อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม
************

(http://cache.desktopnexus.com/thumbnails/592731-bigthumbnail.jpg)

ธรรมชาติแห่งสมาธิ มันเป็นอาการที่นิ่งแต่เคลื่อนไหวได้
มันเป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วย สติและปัญญา
มันจึงทำหน้าที่ตามธรรมชาติแห่งความตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา ในทุกอิริยาบถ
ไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน กินข้าว ล้างหน้า แปรงฟัน
ขับรถ ทำงาน คุยกับเพื่อน ดูทีวี อ่านหนังสือ

และสมาธิธรรมชาตินี้ ไม่มีความเป็น “เรา” จะเข้าไปจับฉวยจับกุม
เพื่อวัดขนาดความเข้มข้นระดับชั้นมันได้
มันเป็นเพียงธรรมชาติอันตรงแน่วในความไม่มีไม่เป็นเท่านั้น

สมาธิธรรมชาติ มันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ
หน้าที่ ที่เป็นความตั้งมั่นแห่ง..
“ความกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน”
กับความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น

(http://www.linternaute.com/photo_numerique/galerie-photo/couchers-de-soleil/image/coucher-soleil-tanzanie-1312388.jpg)
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2013, 04:36:46 pm


(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/44694_469826053078410_1099976333_n.jpg)

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 40 สัมมาสติ
ในส่วนธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสถึง “สติ” ในธรรมอันคือสติปัฎฐาน ท่านทรงตรัสไว้ในหมวดกายานุปัสนาสติว่า “เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน และความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ”

ในส่วนพิจารณาอริยบทนี้ พระพุทธองค์มีความประสงค์ให้เราเรียนรู้ถึงสภาพธรรมอันคือการระลึกรู้แบบถ้วนทั่วซึ่งมันคือ สติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึง “ลักษณะความเป็นไป” ในอินทรีย์แห่ง สัมมาสติ
เพราะฉะนั้นการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อฝึกสติ มันจึงเป็นเพียง "สติสัมปัชชัญญะ" เป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจธรรมในลักษณะที่เป็น “การระลึกรู้แบบถ้วนทั่ว” เป็นการเอา “ความเป็นเราเป็นอัตตาตัวตน” เข้าไปฝึกเข้าไปทำ แต่ทั้งนี้เป็นพุทธะประสงค์ให้เรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึงลักษณะความเป็นไปในอินทรย์แห่งสัมมาสติ ในภายภาคหน้าเท่านั้น พึงเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า การฝึกสติสัมปัชชัญญะ ในอริยบทต่างๆเหล่านี้ยังไม่ใช่สัมมาสติแต่อย่างใด

สัมมาสติ เป็น "ธรรมชาติแห่งการรู้ในการที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 นั้นดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติมันเอง"
จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกทำได้ เพราะมันเป็นอินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากความดับไปเป็นธรรมดา จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 เมื่อมันดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา แสดงว่า "ไม่มีความเป็นเรา" “ความเป็นเราดับไป” และจะเอาความเป็นเราไปฝึก "สัมมาสติ" ได้ที่ใหนกัน

(http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/hphotos-prn1/552293_4374037512384_1773066793_n.jpg)

สัมมาสติ คือ"การที่รู้แบบธรรมดาธรรมชาติ"ว่าความคิดนั้นล้วนไม่เที่ยง
ดับไปเป็นธรรมดา.. โดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ
ไม่ใช่เป็นการเอาจิตไปปรุงแต่งขึ้นมาอีกชั้นหนี่ง "เพื่องัดตัวสติ" ขึ้นมา
สัมมาสติ ก็คือ สติที่มีเองทุกขณะ
โดยไม่ต้องออกแรงตั้งใจให้มีสติ
และมีอยู่เองโดยไม่มีความต้องการที่จะให้มีสติ

เพราะเห็นว่าสตินั้นมีประโยชน์ การเอาสติไปตั้งเพื่อคอยจ้องดูความคิด
การตั้งสติแบบนี้ การเข้าไปจัดแจงเพื่องัดและดึงตัวสติขึ้นมา
เป็นการปรุงแต่งในธรรม..
เป็นการปรุงแต่งในรายละเอียดในวิธีปฏิบัติ มันไม่ใช่สัมมาสติ

แต่มันเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานตัวหนึ่งเลยทีเดียว เพราะขันธ์ 5 ไม่ดับ
แต่กลับเข้าไปยึดขันธ์ 5 ให้กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรม
ซึ่งเป็นอวิชชาอันละเอียด
มันเป็นได้แค่สติสัมปัชชัญญะ ไม่ใช่สัมมาสติ

(https://lh4.googleusercontent.com/-bjGA9sRl5vg/USbPe8xeb7I/AAAAAAAAqSE/CHHSHRxf2Jk/w497-h373/med.jpg)

การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำทีละขั้นทีละตอน เช่น การฝึกสติสัมปัชชัญญะด้วยการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง การฝึกสติสัมปัชชัญญะดังกล่าวนี้จึงเป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชา ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น มิใช่เส้นทาง “ธรรมชาติ” อันคือธรรมชาติแห่งสติ หรือ สัมมาสติ แต่อย่างใด

แต่ถ้าเราพึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งอิริยาบทของร่างกาย และอริยาบทที่เกิดขึ้นของร่างกายก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในอริยบทเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากอริยบทเดิมนั้น “ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนกายานุปัสสนาสติแห่งอริยบทแบบนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา
ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราว มีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา การละทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมาตรงนี้ได้ คือ สัมมาสติ

(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/431631_170838203026204_1286419757_n.jpg)


เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ว่า.. มันว่างเปล่าตามธรรมชาติ
โดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
มันก็บ่งบอกว่า อินทรีย์ แห่ง สติ หรือ สัมมาสติ
มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วเช่นกัน


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/32175_10200567187799586_1849906143_n.jpg)
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: นิกายเซน ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:08:55 am
ขอฝากคุณฐิตา
เผยแพร่ธรรมะ






เข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
ได้ที่



1.http://youtu.be/XlqQvMCAaPg (http://youtu.be/XlqQvMCAaPg)

2.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 1.flv (http://www.youtube.com/watch?v=icz6yul9yv8#)
3.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 2.flv (http://www.youtube.com/watch?v=1hlS-CG4wmE#)
4.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 3.flv (http://www.youtube.com/watch?v=qe8X_5yjnMk#)
5.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 4.flv (http://www.youtube.com/watch?v=4EI5IGtz4yU#)
6.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 5.flv (http://www.youtube.com/watch?v=AKRWLwM23Lc#)
7.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 6.flv (http://www.youtube.com/watch?v=fA7sw6VRuQ8#)
8.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 7 (http://www.youtube.com/watch?v=38_I31rPrAk#)
9.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 8 (http://www.youtube.com/watch?v=586EvinSQfI#)
10.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 9 (http://www.youtube.com/watch?v=As7Cv50I_s8#)
[/size]
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มีนาคม 05, 2013, 11:49:09 pm

(https://lh6.googleusercontent.com/-7jesojp7joI/USaM2qIlu5I/AAAAAAABS-U/V4zxqm7Uhcc/w497-h373/3980317453_n.jpg)

บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 41 การปรุงแต่ง “เพื่อรักษาจิต”
ความเป็นจริงแล้วหัวใจหลักที่เป็นคำสอนแห่งพระพุทธศาสนานั้น คือ ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันคือความไม่ใช่ตัวไม่ตนแบบถ้วนทั่วของมันอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะเกิดขึ้นและไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะดับไป มันล้วนแต่เป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่เป็นความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากบุคคลใดมีความไม่เข้าใจในคำสอนอันเป็นหลักธรรมอันแท้จริงข้อเดียวนี้ และยังเข้าไปหลงด้วยอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ก่อให้เกิดเป็นจิตปรุงแต่งเป็น “ความมีตัวตนอัตตา”เกิดขึ้น เมื่อยังไม่เข้าใจในธรรมชาตืที่แท้จริงและยังหลงเห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระพุทธองค์ก็จะทรงชี้แนะว่า “สิ่งที่เห็นนั้นล้วนมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้มานานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว”

แต่ถ้าบุคคลนั้นยังไม่เข้าใจและไม่สามารถตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งความแปรปรวนเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่งที่เห็นว่ามัน “เกิดขึ้น” แล้วได้ พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนบุคคลเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจในธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนด้วยการแนะนำให้เข้าไปฝึกทำกรรมฐาน 40 กองตามจริตที่ตนเองชอบ เพื่อให้เกิดจิตอันประณีตปราศจากความวุ่นวายแห่งการปรุงแต่งเป็นตัวตนแบบซ้ำๆซากๆ เมื่อจิตสงบอันเกิดจากการเข้าไปทำกรรมฐานปราศจากการปรุงแต่งชั่วคราวแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้น้อมนำธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนมาพิจารณาถึงเนื้อหาและความหมายของมันว่าเป็นเช่นไร

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลซึ่งเปรียบเสมือนบัวใต้น้ำอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าไปทำกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบลงได้และไม่สามารถทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆหรือของขันธ์ทั้ง 5 ได้เลย พระพุทธองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะโปรดสัตว์ผู้มีปัญญาอันมืดบอดเหล่านี้ โดยท่านทรงชี้แนะสอนให้สรรพสัตว์พวกนี้ “ปรุงแต่งจิต” เพื่อให้รักษาจิตไปในทางกุศลกรรมอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เรียนรู้เรื่องภพชาติเรื่องกฏแห่งกรรมที่จะทำให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เลือกที่จะปรุงแต่งจิตไปในทางกุศลกรรม

(https://lh6.googleusercontent.com/-FJDmOqw_JO4/USaMsXD62sI/AAAAAAABS94/LjXs8XbBNq0/w497-h373/LovePic_Persian-Star.org_041.jpg)

เพื่อเลือกที่จะประกอบกรรมดีให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เป็นการสอนเพื่อให้เข้าไปปรุงแต่งรักษาจิต เป็นการสอนเพื่อให้เกิดความสำรวมระวังจิตมิให้ปรุงแต่งจิตไปในทางอกุศลกรรมไปในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ทั้งนี้เป็นพุทธประสงค์เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ไม่ตกไปสู่ภพภูมิที่ลำบากเมื่อละขันธ์ 5 ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เข้าไปกระทำปรุงแต่ง เช่น ให้รักษาศีลต่างๆ ให้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ให้มีความสงบเสงี่ยมแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ แบบสวยงามเหมาะสมลงตัวในมาตรฐานความดีในสังคมนั้นๆ แนะนำให้ให้สละทรัพย์เพื่อบริจาคทาน แนะนำให้เคารพและเลี้ยงดูบำรุงบิดา มารดา แนะนำให้เคารพผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์ แนะนำให้คบหาแต่บัณฑิต เหล่านี้เป็นต้น

                   (https://lh3.googleusercontent.com/-6VI-oTpWbsE/UlPVaGxBVBI/AAAAAAAARNs/UGh-BHhJieE/w393-h437-no/13-10-8+-+1)

แต่สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาที่สามารถตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้เปรียบเสมือนเป็นบัวปริ่มน้ำนี้ย่อมเข้าใจและเห็นชัดว่า จิตที่ปรุงแต่งไปในทางกุศลกรรมเหล่านี้ข้างต้น มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาอยู่เองแล้วตามสภาพธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตอันเป็นกุศลกรรมเหล่านี้เพื่อที่จะส่งผลให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์ขึ้นมาอีก พวกเขาสามารถตระหนักชัดและซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของจิตอันเป็นกุศลต่างๆเหล่านี้ได้

ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม ผู้ที่มีความตระหนักชัด
และกลายเป็น.. เนื้อหาเดียวกัน กับธรรมอันคือธรรมชาติ
การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น

(https://lh4.googleusercontent.com/-98oqk72wYKA/USaVmB3NaiI/AAAAAAABTHc/tUuDVt93DQw/w297-h173/001%2B%252812%2529.jpg)
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398
หัวข้อ: Re: คำสอนเซน หนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มีนาคม 18, 2013, 09:55:53 pm


(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-frc3/432278_562692943746408_152371090_n.jpg)

สิ่งที่เรียกว่า “เซน” นั้น
ไม่อาจถือว่าเป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
เซนไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับพุทธศาสนานิกายเซนเท่านั้น
หากแต่เป็นสัจจะอันสากล
ซึ่งจะนำปรีชาญาณที่แท้และนำสันติสุข
มาสู่ชีวิตของมหาชนในโลก...
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)


(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/c67.0.403.403/p403x403/644393_279815745482577_1860837491_n.jpg)

เซนมีบางสิ่งบางอย่าง
ที่สงบล้ำและปราศจากการปรุงแต่งทั้งมวล
ในขณะเดียวกับที่ห่อหุ้มปรีชาญาณอันลึกซึ้งไว้ภายใน
และถ้าหากเราพยายามที่จะยึดมันไว้
เพื่อนำมาดูว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่
มันก็จะสูญหายไปจนไร้ร่องรอย
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)


(https://lh3.googleusercontent.com/-S7TMONu53TU/UUWHhYxwMEI/AAAAAAAABdU/3hNlCQOrtxk/s646/734255_439522152792008_713931365_n.jpg)

เซนปฏิเสธการใช้สมองขบคิดใคร่ครวญ
เพราะกระทำดังนั้น
เท่ากับตกเป็นทาสของจิตใจแบบแบ่งแยก
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)


(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/69812_556450907719362_909347591_n.jpg)

ดอกไม้เบ่งบานขึ้นอย่างเงียบงัน
และจะหลุดร่วงไปโดยไร้สำเนียง
มาบัดนี้ ณ กาลนี้ และ ณ สถานที่นี้
ดอกไม้ทั้งหมด โลกทั้งหมด ล้วนเบิกบานขึ้น
นี่คือคำจำนรรจาแห่งดอกไม้
คือสัจจะแห่งการเบ่งบาน
แสงอันเรืองรองแห่งชีวิตนิรันดร์
ได้ฉายฉานลง ณ ที่นี้แล้ว
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)


(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-frc3/576850_10151431369936319_939122721_n.jpg)

ในโลกนี้มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่แค่ฟังพุทธพจน์
แล้วสามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของพระพุทธองค์ได้
ผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้จะต้องเป็นผู้มีปัญญาดุจพระราชา
ที่สามารถคัดเลือกแยกแยะคำแนะนำที่ดีๆของคณะที่ปรึกษา
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยไม่ถูกจูงจมูก
อย่างมีวิจารณญาณที่เป็นตัวของตัวเอง
~~~~~ เซน แห่ง โดเง็น ~~~~~


(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/c87.0.403.403/p403x403/2003_584434508248138_1591231532_n.jpg)

การแค่มีแนวคิดเกี่ยวกับพุทธธรรม
ยังไม่เพียงพอหรอก
ตราบใดที่คนผู้นั้นยังไม่สามารถ
สำแดงความเป็น “ผู้อยู่บนทาง” นี้
ต่อหน้า “คุรุ” หรือครูที่แท้ได้
ด้วยหัวใจและจิตวิญญาณทั้งหมดที่เขามี
~~~~~ เซน แห่ง โดเง็น ~~~~~


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/601494_428023300615543_1353605578_n.jpg)

ธรรมชาติเดิมแท้ของเธอนั้น
เป็นสิ่งซึ่งมิได้หายไปจากเธอ
แม้ในขณะที่เธอกำลังหลงผิดด้วยอวิชชา
และมิได้รับกลับมาในขณะที่เธอมีการตรัสรู้
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/c50.0.403.403/p403x403/601510_279831475481004_1324529604_n.jpg)

คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398

(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/c0.0.268.268/p403x403/269201_351637848286394_1549279041_n.jpg)

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ เมษายน 18, 2013, 03:32:51 am

(https://lh3.googleusercontent.com/-GZKY1-6ZYHo/UW5AN9fkOeI/AAAAAAAFGZw/RPNFq-gso0w/s579/46335_3f240b24abe030b8dc6868e994d2670d_large.jpg)

การเจริญด้วยสติว่ามีมันอยู่ แล้วรอดูการดับไป
ก็ไม่ได้ทำให้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริง
เพราะสิ่งอันเป็นมายาทั้งหลายก็จะมาวนเวียนมาให้เราดูอยู่เสมอ
จนกว่าเราจะใช้ปัญญาซึ่งเป็นเสมือนกุญแจ ปลดความมีตัวตนออกมา
เพื่อให้เห็นสิ่งอันจริงแท้
ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น
ว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียว


(https://lh3.googleusercontent.com/-zIwzZzUFaKE/UWFAvbb4uXI/AAAAAAAAGUA/rfPplalcAuE/s646/ciel.jpg)

ความคิดปรุงใด ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย
ที่กำลังกระหายต่อความหลุดพ้น
ย่อมสร้างภาวะพุทธะแห่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
..
..


(https://lh6.googleusercontent.com/-sdO9rlt0mpo/UWr7hN9HvJI/AAAAAAAAYQQ/hB2hj-8ReGg/w497-h373/Hinhnenso1.com-hinhdong-.090.gif)

จิตเราย่อมทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด
เรามักพยามไล่ตามมัน โดยใช้สติควบคุม หรือกดมันไว้
ก็ได้แค่เพียงชั่วขณะ แต่พอเผลอมันก็เตลิดไปอีก
บางทีไล่ตามมันจนเกิดความชำนาญ
คิดว่านั่นคือความสงบหรือความว่าง
แท้จริงแล้ว เราได้ใช้ความมีตัวตนเข้าไปจัดการมันต่างหาก
เพราะมีเราได้เข้าไปเริ่มและจบให้กับมัน
ก็เป็นการสมมุติปรุงแต่งทั้งนั้น
ทำให้บดบังความเป็นธรรมชาติอันแท้จริง


(https://lh3.googleusercontent.com/-6N3jIV3dWMM/Uk7GEpoS0aI/AAAAAAAAO4A/R_QEcy3PHZM/w426-h659/13-10-4+-+1)

หลักธรรมที่กล่าวนี้
ก็คือ ธรรมชาติแห่งพุทธะ
ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว
ก็ไม่มีหลักธรรมหรือหลักเกณฑ์ใดๆ เลย
ที่ต้องเข้าไปปฏิบัติให้ยุ่งยากซับซ้อน


(https://lh4.googleusercontent.com/-N0DQpQhNS5A/UWrheVQQz-I/AAAAAAAAAkc/skoPUsY-E_A/s646/DSC05698.jpg)

การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
ภายในของตนเหล่านี้
ไม่ได้หมายความว่าได้อะไรมาใหม่
..
..

(https://lh4.googleusercontent.com/-gBn6hfRtl-s/UV3r6Cjui9I/AAAAAAAAChg/gYWbkFCPvnM/w542-h431-p-o/56+-+1.jpg)


เซน แห่ง หนังสือ "ใจต่อใจในการฝึกตน"
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/p480x480/155779_434704236621629_343586187_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กรกฎาคม 17, 2013, 01:01:15 am


(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/1010826_401592876617426_1322851342_n.jpg)

การที่เกิดการปรุงแต่งใดๆขึ้นมาเป็นจิต
แล้วเราก็ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตชนิดนั้นๆ
ปล่อยให้มันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ
แล้วเรียกมันว่า “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์”
แล้วยังคิดอีกว่าความบริสุทธิ์ของจิตชนิดที่
ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น
มันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหา..
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้


(https://lh5.googleusercontent.com/-iZK3WloNRgQ/UeLfcc27TdI/AAAAAAAAp70/lznR3qnN5iA/s506-o/1069359_10200593072687162_587938276_n.jpg)

ซึ่งแท้จริงมันก็ยังเป็น ความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง อีกเช่นเดิม
ก็เพราะว่าโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันคือความว่างเปล่า
อันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น


(https://lh5.googleusercontent.com/-jRywZKs2a38/UeUPi1a-kjI/AAAAAAAAWNM/WCJQbJYkEtI/s506-o/53037cf872f8a93d3e9a1c0ef6ee4558.jpg)

มันคือความว่างเปล่า..
อย่างนี้มานานแสนนานแล้ว
เป็นคุณสมบัติอันดั้งเดิมของมันอัน
หาจุดเริ่มต้นมิได้ด้วยซ้ำ
เป็นคุณสมบัติของตัวมันเอง
ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้


(https://lh5.googleusercontent.com/-4-wxN4_1efI/UQog2pF5dZI/AAAAAAAEWus/bcXIYaUAWCY/w551-h366-no/2013-01-30)

โดยมิได้อาศัยกับความเกิดขึ้นดับไป
แห่งปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆ อันจะถือว่า..
เป็นจิตบริสุทธิ์
ก็เพราะธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันคือเนื้อหาแห่ง ความเป็นธรรมดา
ตามธรรมชาติ..
แห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
หาใช่ความบริสุทธิ์ใดๆไม่


(https://lh3.googleusercontent.com/-AHC-rSUEqPM/UeU_hpUvP-I/AAAAAAAAZJk/ib8dE9Nh_9c/w656-h381-p-o/DSC_9772-Edit-Edit-Edit-Edit.JPG)


เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


(https://lh4.googleusercontent.com/-y6LL1VDEenA/UeVnGwOESmI/AAAAAAAAFTg/TbmaJEqyjno/w646-h330-o/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7.jpg)

หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 02:13:27 pm

(https://lh6.googleusercontent.com/-AhHPxXvnq8I/Uj9-Dv1j0FI/AAAAAAAFGSA/Wu-5D2PgsfE/w533-h798/Fall+Has+Arrived....jpg)

จากจิต สู่จิต

ท่านซูอิกันโรชิ ขณะนั้นอยู่ในวัย 70 ปีแล้ว ได้ตั้งคำถามหลังที่ได้ฟังเรื่องราวของหนุ่มน้อยผู้แจ้งความประสงค์จะบวชอยู่ที่วัดว่า “ดูเหมือนว่าเธอจะสิ้นศรัทธาต่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งผู้คนด้วย แต่ที่นี้การฝึกปฏิบัตินั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากเธอไม่วางใจในครู เธอจะไว้เนื้อเชื่อใจฉันได้ไหมล่ะ ถ้าได้ ฉันจะรับเธอไว้ที่นี่ แต่ถ้าไม่ ก็เป็นการสูญเปล่า เธอก็กลับบ้านเสียดีกว่า”

แม้จะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของ ‘ความวางใจ’
แต่ด้วยความกลัวจะถูกปฏิเสธ โชโกโรชิจึงตอบแข็งขันว่าท่านวางใจในอาจารย์

บทเรียนในวันแรกที่ไดชูอิน อาจารย์ซูอิกันไม่ได้สอนด้วยการนั่งเทศนา พรรณนาด้วยคำพูดอันมากมาย แต่ด้วยวิธีการชี้นำที่ล้ำลึกควรแก่การเอ่ยถึง นั่นคือท่านบอกให้โซโกโรชิไปกวาดบริเวณรอบ ๆ ไดชูอิน ในวัดเซนทุกวัดนั้นพระท่านตั้งใจปลูกต้นไม้หลากหลายพันธุ์ เพื่อที่จะให้มีใบไม้ร่วงให้พระได้กวาดเป็นการฝึกปฏิบัติตลอดทุก ๆ ฤดูกาล

เพื่อจะเป็นที่ยอมรับของอาจารย์ โซโกโรชิจับไม้กวาดลงมือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างแข็งขัน ไม่นานก็ได้ใบไม้กองใหญ่เท่าภูเขา แล้วจึงไปถามอาจารย์ท่านว่าจะให้เอาขยะกองนี้ไปไว้ที่ไหน อาจารย์ซูอิกัน ส่งเสียงดังทันใด “ใบไม้ไม่ใช่ขยะ นี่เธอไม่เชื่อใจใช่ไหม” เขาจึงเปลี่ยนคำถามใหม่ว่าจะให้กำจัดใบไม้เหล่านี้อย่างไร อาจารย์ก็แผดเสียงอีกว่า “เราไม่กำจัดมันหรอก!” และบอกให้ท่านไปเอาถุงมาใส่ใบไม้ที่กวาดได้นำไปเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิง ส่วนที่เหลือเป็นก้อนกรวดก้อนหินที่หลังเก็บไปแล้วท่านให้นำไปไว้ตรงชายหลังคา เป็นทั้งที่รองรับน้ำฝน และเพิ่มความงามให้กับสถานที่ และท้ายสุดท่านอาจารย์ก้มลงเก็บเศษของกรวดหินชิ้นเล็ก ๆ นำไปฝังไว้ในดินจนบริเวณนั้นเกลี้ยงเรียบหมดจดแล้วจึงพูดขึ้นว่า “เธอเข้าใจบ้างแล้วหรือยังว่า สภาพที่แท้และดั้งเดิมของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นปราศจากขยะ”

                      (https://lh4.googleusercontent.com/-Dkgo05b9YbI/Ur2IAAU-gZI/AAAAAAAAq2k/aJXoVHcqYDA/w333-h504/tumblr_mp6npcrcqP1r4p4ago1_500.jpg)

นี่เป็นบทเรียนแรกในชีวิตสมณะของท่านโซโกโรชิ อีกนานกว่าท่านจะค่อย ๆ เข้าใจว่า นี่คือถ้อยคำที่เป็นสัจธรรมในพุทธศาสนา และเป็นสาระเดียวกันกับที่ศากยมุนีได้เปล่งเป็นวาจาในคืนวันตรัสรู้ ดังที่บันทึกไว้ในพระสูตรมหายานของจีนว่า “ตถาคต บรรลุถึงซึ่งมรรควิถี พร้อมโลกทั้งโลก และสรรพชีวิต สรรพสิ่งทั้งหลาย ภูผาป่าดง แม่น้ำลำธาร ไม้ใหญ่ และหย่อมหญ้าล้วนตรัสรู้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น”


(https://lh5.googleusercontent.com/-0fYTMbziH6U/UWA-7YzDrAI/AAAAAAAAW9M/7taLSyohY7g/w533-h394/110324064432943371.gif)
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
ที่มา: หนังสือ ใจต่อใจในการฝึกตน
F/B >>> Sathid Tongrak
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 03:57:54 pm

(https://lh6.googleusercontent.com/-rHznJtouOEI/UrQ-KgJHMMI/AAAAAAAAoKQ/3haFkNU2h-c/w333-h445/tumblr_mxagfrit1E1rsq9eyo2_r1_500.gif)

ถึงแม้จะเห็นว่ามี
“ความเปลี่ยนแปลง”
เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา
แต่มันก็ยังเป็นการเห็น
บนความเข้าใจในธรรมว่า
ยัง “มี” สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
เพื่อให้เราเข้าไปรับรู้ถึง
“ความเปลี่ยนแปลง”
ในการเกิดขึ้นดับไปของมัน
ถึงจะรู้เห็นตามธรรมชาติว่ามันมีความเปลี่ยนแปลง
แต่โดยความเป็นจริงมันก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม

8 พฤษภาคม 2013
***********


(https://lh6.googleusercontent.com/-Sz8pkKVlhfM/UrRE9f_YHQI/AAAAAAAAoL8/gGJRhcd2zIw/w333-h500/tumblr_my2v2jixYn1snnj7so1_500.jpg)

เพราะถ้ายังมี
ความแตกต่างระหว่าง
ดีกับเลว ถูกกับผิด
มันก็ยังมีตัณหาเหมือนเดิม

14 พฤษภาคม 2013
****************


(https://lh3.googleusercontent.com/-jx5lbVG5KLY/UqxPqVq1K1I/AAAAAAAAly8/hgxBh10e7sg/w533-h367/tumblr_mxrigxYP6J1qz5ao4o1_1280.jpg)

ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันเป็นเนื้อหาที่บริบูรณ์อยู่แล้วโดยตัวมันเอง
เป็นความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมชนิดที่
ไม่ต้องการเหตุและผล
เพื่อมาเติมเต็มในความบริบูรณ์แห่งมันได้อีกเลย

20 พฤษภาคม 2013
********************


(https://lh6.googleusercontent.com/-VVb08KFMDys/UrGkMvWyxVI/AAAAAAAC734/laZYJcwb3ME/w333-h254/home-landscape-waterfall-water_1851683.jpg)

ถ้าพวกเธอทราบโดยประจักษ์ว่า
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นของอันเดียวกัน
กับโพธิมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พวกเธอจะหยุดคิดถึงโพธิ
ในฐานะเป็นสิ่งที่ต้องลุถึงทันที

7 มิถุนายน 2013
***************


(https://lh4.googleusercontent.com/-duOgrT-NmxY/Uq2dbzqnPoI/AAAAAAAAmVE/NU7WIJ3CUiM/w533-h389/tumblr_mdquu5HcWM1r1knwfo1_500.jpg)

ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา
จงบินเอาเท่าที่บินเราบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
จงบินไปอย่าง...อิสระและเสรี

1 กรกฎาคม 2013
***************


(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash2/p480x480/1000377_396249047151809_1110504723_n.jpg)

ความสงบของฉัน
อยู่ตรงใหน...
อยู่กลางใจ
ที่ฉันกำหนดอยู่
ใช่หรือเปล่า

4 กรกฎาคม 2013
*******************

(https://lh4.googleusercontent.com/-chIXbnP6sGI/Uqsspsz-jYI/AAAAAAAAlig/H03XCRjQO2Y/w333-h499/tumblr_ms34iwv98Y1rgd6gxo1_r1_500.jpg)

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 05:35:18 pm

(https://lh6.googleusercontent.com/-AAsm-jMWHCo/UlUav8iBwsI/AAAAAAAAY5I/fNkLBkOPUQs/w550-h570-k/10594_603688352984539_1308473152_n.jpg)

เมื่อทุกคนมีจิตวิญญาณแห่ง.. ความปรารถนา
อันบริสุทธิ์ร่วมกัน
บนพื้นฐานแห่ง.. ความอ่อนโยนของจิตใจมนุษย์
สิ่งดีงาม..  ที่มีคุณค่าทั้งหลายที่เป็น..
แก่นกลาง ของชีวิต
และความรู้ ที่จะทำให้พ้นทุกข์ ได้อย่างแท้จริง.. นั้น
สองสิ่งนี้ ล้วนก่อให้เกิด การพัฒนาปรับปรุง
จิตวิญญาณแห่ง.. ความเป็นมนุษย์ของตน
ไปสู่.. ความเป็นจิตวิญญาณแห่ง ความเป็นพุทธะ
ที่สมบูรณ์พร้อมเพรียงได้ในที่สุด

เซน แห่ง ความเป็นมนุษย์
29 ตุลาคม 2013
************************


(https://lh3.googleusercontent.com/-IKmFpFosyeE/UpsyLNBfi5I/AAAAAAAAiJE/fHAh_zTVN8U/w333-h499/tumblr_munrmgI5rs1ri6x74o1_1280.jpg)

ร้องให้กับฝัน กับวันที่.. เดินหลงทาง
ค่ำคืนอ้างว้าง ยังมีสายลมหายใจ
ผ่านทางมืดมิด ชีวิตต้องเดิน ก้าวไป
ยังมีแสงไฟความหวังจุดส่องนำทาง

เซน แห่ง ยิ้มให้กับฝัน (มาลีฮวนน่า)
นายเมฆ โคโมริ
***************


(https://lh4.googleusercontent.com/-AvpwRj0ScCk/UpO7yh9GHEI/AAAAAAACwxg/mjGIgkSjl5c/w333-h682/IMG_0628.GIF)

แม้.. หัวใจอ่อนล้า
ถึงเส้นทางข้างหน้า เลือนลาง
ก็จะก้าวข้ามไป

9 กันยายน 2013
******************
บทกวีไฮกุ แห่ง อ้างว้าง
นายเมฆ โคโมริ


(https://lh4.googleusercontent.com/-Za3aJmuUTI4/Um_0FE3U2NI/AAAAAAACoww/ICWqBYdAb_E/w333-h278/13%2B-%2B1)

มนุษย์ควรมองให้เห็นถึง
คุณค่าและศักยภาพอันยิ่งใหญ่
ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติ
อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน

14 สิงหาคม 2013
*****************
เซน แห่ง ภายใต้ธรรมชาติ
นายเมฆ โคโมริ


(https://lh3.googleusercontent.com/-lPHb0Il5SPI/UpN2xaqeGoI/AAAAAAAAgwo/9ZeGjdCvo34/w333-h678/tumblr_mvuej0xjbf1rzp42wo1_1280.jpg)

ทุกคนมีเป้าหมาย แต่..
เรา ลืม อะไรไปบ้าง
ระหว่างทาง ไปสู่เป้าหมาย
ลืมกินข้าว ลืมกลับบ้าน
ลืมรดน้ำต้นไม้ ลืมเก็บกวาดบ้าน
ลืมใส่ใจ ลืมดูแลตัวเอง ลืมเรื่องเก่าๆ ลืมเวลา
ลืม.. ความหวังของใครบางคน
ลืม.. คนที่เรารักที่สุด

เซน แห่ง คลื่นหัวใจ
1 พฤศจิกายน 2013
***********************


(https://lh6.googleusercontent.com/-V3TI0Q7eQMg/UpodrLUXMrI/AAAAAAAAhz0/M2EheyUvaA4/w333-h200/love-me.jpg)

กาลเวลา... ที่ยังมาไม่ถึง
จะพาเรามาพบกัน
ในเส้นทางอนันตกาล

เซน แห่ง ระหว่างห้วงกาลเวลา
10 พฤศจิกายน 2013
*******************


(https://lh3.googleusercontent.com/-3Nx6BIGSmC4/Uo1uhCBZlfI/AAAAAAAAj-0/lJ9mvAGt0Ec/w332-h337-no/13-11-20+-+1)

วัน... เวลา...
แห่ง...
การ... รอคอย
ยาวนาน... เทียบเท่า
อสงไขยเวลา

เซน แห่ง สังคมธรรมาธิปไตย
11 พฤศจิกายน 2013
***********************

(https://lh5.googleusercontent.com/-MIAs5U1eZ2s/UsqfqIHun3I/AAAAAAAAv2I/pxdTJNw574M/w333-h552/6+-+1)
>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 07:08:36 pm

(https://lh5.googleusercontent.com/-3jjW1r9OvbE/UsqgHno8bcI/AAAAAAAAv4c/8PBsw2EBrEk/w333-h548/6+-+1)

ความเป็นบัณฑิต...
คือ ความที่มีความอดทนอดกลั้น
ในทุกภาวะที่กำลังเผชิญ
ความเข้มแข็งเท่านั้น
ถึงจะฝ่าฟันก้าวเดินต่อไปได้...

เซน แห่ง ไม่เคยอ่อนแอ
11 พฤศจิกายน 2013
*****************


(https://lh3.googleusercontent.com/-MrXY-O2D0sA/UqRwd9Uvd0I/AAAAAAAAoQI/k44QcwbBV8g/w433-h588/13-12-8+-+1)

หากวันหนึ่งฉันหลับไหล
หากวันหนึ่ง
ฉันต้องจากไปแสนไกล
หากวันหนึ่ง
ฉันไม่อาจจะคืนย้อน
มาได้ใหม่

(https://lh4.googleusercontent.com/-y534KznhEZc/UqmpSkjgjFI/AAAAAAAApVM/CcAosbzrDLc/w233-h399/12+-+1)

หากฉันตาย
อยากจะบอกว่ารัก ฉันรักเธอ
อยากจะบอกให้รู้ ให้เข้าใจ
เผื่อฉันไม่มีโอกาสบอกเธออีกต่อไป
ให้เธอจำคำๆนี้เอาไว้
*****************


(https://lh5.googleusercontent.com/-nPbkDYoszgw/Ulha_wdRa-I/AAAAAAAAed8/rQ-9Kj-C61k/w333-h599/tumblr_muhfjf1uvc1szzcazo1_1280.jpg)

เมื่อยังมองเห็น จิตว่างอยู่ เห็นนิพพานอยู่
และยังคงพิจารณาอยู่ นั้นแปลว่า
ยังคงมีอุปาทาน
และยังคงเป็นตัวเป็นตนยังแปรปรวน
ยังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป .....
เมื่อเป็นเนื้อหาเดียวแล้ว
สิ่งเหล่านี้ไม่มี
ธรรมชาติไม่ต้องเสแสร้ง

12 ธันวาคม 2013
**********************


(https://lh6.googleusercontent.com/-5uNoBetD0ms/Uqgg03ouazI/AAAAAAAApIA/yu24JXu6l0c/w577-h274-no/13-12-11+-+4)

บัวที่บานทุกดอก
มันล้วนมาจากโคลนตม
อันแปดเปื้อนโสมม
แห่งความมี ความเป็น ทั้งสิ้น
อย่าเอา ดี ชั่ว ในอดีตของตนเอง

(https://lh5.googleusercontent.com/-0DmCeUX8KYw/Up0enr2qDRI/AAAAAAAAmgc/y6jWv6SfJ28/w394-h437-no/13-12-2+-+1)

มาปิดกั้น บารมี ในเส้นทางหลุดพ้น
ที่ตนมุ่งหวังในเวลานี้ วินาทีนี้
คนเราต่างก็ทำดีทำชั่วมา
ในรูปแบบ
ที่แตกต่างกันไป เพียงเท่านั้น

(https://lh6.googleusercontent.com/KjVQCymbDdpOoHUPIor_LrJCD8L50M4zlfR2FV9OJDye=w304-h203-p-no)

ดีๆชั่วๆ ดีมาก ชั่วมาก
ก็เสมอกันด้วย ความเป็นอัตตาตัวหนึ่ง
ที่มันย่อมแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา
อย่าไปใส่ใจถึงการกระทำ
ในอดีตของตนที่ผ่านมาเลย

12 ธันวาคม 2013
**********************


(https://lh4.googleusercontent.com/-5zEGyXFBZPw/UoTURcz6hPI/AAAAAAAAgCc/IgpXCLN4mqw/w533-h333/00024454.jpg)

ความทุกข์ยากลำบาก
ทุกอย่าง
เป็นพืชพันธุ์ของ
พุทธะ

(https://lh6.googleusercontent.com/-0G7p33_XCqc/UqESDu2KW1I/AAAAAAAAnVc/hkDGu_XqvCE/w433-h317/13-12-5+-+1)

เซน แห่ง ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
************

(https://lh6.googleusercontent.com/-O60qwjCVySo/UpXlFqqmwdI/AAAAAAAAlj0/v90ihGWmamo/w475-h345-no/IMG_4312.JPG)
เซน แห่ง หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค คำสอน... ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 07:13:23 pm

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/1483059_466371833472863_1107062844_n.jpg)

การเห็นธรรมชาติของตัวเอง
คือ เซน
ความไม่คิดถึงอะไร
คือ เซน
ทุกสิ่งที่เราทำ คือ เซน

เซน แห่ง ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
19 ธันวาคม 2013
**********************


(https://lh4.googleusercontent.com/-qxva4qY0l0k/Usf7T8DVVjI/AAAAAAAAvdk/3MVy22OWPAw/w433-h468/4+-+1)

ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นมันจะเป็นโทษ
แต่ทุกข์นั้นโดยสภาพมันเอง
มันก็คือ เมล็ดพันธุ์พืชแห่งพุทธะ
ที่มันทำหน้าที่เป็นเหตุและปัจจัย "อย่างแท้จริง"
ที่ทำให้เราได้มีสติมีกำลังใจกระตุ้นเตือนตนเองว่า
เราควรหนีห่างออกจากมันโดยฉับพลัน
นี่คือ "ความทุกข์" แห่งพุทธะ

21 ธันวาคม 2013
**************************


(https://lh5.googleusercontent.com/-mq86-WLX7S4/Usf7Kkn7HLI/AAAAAAAAvdM/fk5PBxcVWlM/w333-h444/4+-+1)

เราไม่ได้อยู่
บนโลกใบนี้ตลอดไป
ดังนั้นอย่าเสียใจ
กับอะไรนานๆ

เซน แห่ง เปลืองหัวใจ
22 ธันวาคม 2013
***************


(https://lh3.googleusercontent.com/-ILmZKzP8-Ho/Usf6-iCd-6I/AAAAAAAAvco/BmUrwkrdso0/w333-h437/4+-+1)

เมื่อผลักประตูเปิดออกแล้ว
ก็เอาขาของตนก้าวข้ามมาสิ
ก้าวข้ามมาได้เลย
มันไม่มีวิธีอะไรให้ซับซ้อนยุ่งยาก

(https://lh6.googleusercontent.com/-l1S7OQV9RH4/Uc7dQcbvltI/AAAAAAAAM8k/YY2t3FV6ufs/w256-h324-o/1f8960b2.jpg)

เมื่อเดินมาถึงประตูก็เปิดเข้ามาได้เลย
เข้ามาอยู่กับความเป็นพุทธะตามธรรมชาติที่แท้จริง
แล้วอย่าลืมหันหลังไปปิดประตูบานนั้นให้สนิท
แล้วจงลืมเรื่องการก้าวข้ามประตูและลืมเรื่องประตูนี้เสีย
ก็ขอให้ท่านดำเนินชีวิตไปเหมือนว่า
ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของท่านมาก่อน

24 ธันวาคม 2013
***************


(https://lh3.googleusercontent.com/-lNNBzKpRLvQ/UvOF4bQmVTI/AAAAAAAAaOw/RvV4KJm_xTQ/s333/IMG_12720964053634.jpeg)

การดิ้นรนแสวงหาค้นหาความเป็นพุทธะ
จากภายนอกนั้น
จึงเป็นเพียงการปรุงแต่งไปในการค้นหา
ความเป็นพุทธะแต่เพียงเท่านั้น
มันจึงเป็นเพียงการใช้จิตแสวงหาจิต

มันเป็นเพียงการใช้จิตอันคือ
ความคิดของตน
แสวงหาจิตอันปรุงแต่งความเป็นพุทธะเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นจิตของตนอีกเช่นกัน
มันจึงเป็นได้แค่เพียงเกลียวเชือก
ที่ยิ่งพันเข้าหาตนเอง แน่นหนามากขึ้นกว่าเดิม

24 ธันวาคม 2013
**********************

เซน แห่ง หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์


(https://lh5.googleusercontent.com/-R5sEvsfEIEw/UsVYFNuX36I/AAAAAAAAvB0/7UZNKkr3PJY/w433-h403/2+-+1)

ในความตายที่กำลังจะมาเยือน
ในความหมายของชีวิตที่กำลังจะถูกพลัดพรากไป
แท้ที่จริงแล้ว
ในความตาย "ชีวิตที่แท้จริง" ก็ยังคงอยู่

27 ธันวาคม 2013
****************

(https://lh3.googleusercontent.com/-L-UlQZpF0Ms/UsacAFtM3OI/AAAAAAAAvMU/SCE6zFKZtIs/w533-h358/3+-+1)
เซน แห่ง หนังสือ "คำสอนเซน ภาค จิตวิญญาณแห่งพุทธะ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 03, 2014, 09:51:52 pm

(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/p480x480/1499650_505288942901714_964748358_n.jpg)

ก็ในเมื่อความเป็นจริง
ความเป็นธรรมชาติอันคือสัมมาทิฏฐินั้น
มันเป็นธรรมชาติโดยสภาพเนื้อหาของมันเองอยู่แล้ว
อยู่อย่างนั้น
ความเป็นธรรมชาติโดยสภาพของมันเอง
มันจึง "ไม่ใช่วิธี"
แต่เมื่อนักปฏิบัติทั้งหลายหลงไปว่ามันควรมีวิธีปฏิบัติ
ที่ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติ
(ซึ่งแท้ที่จริงมันคือความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น)

มันเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงการลงมือไป
ในความเพียรพยายามของนักปฏิบัติเองนั้น
การเข้าใจผิดในความหมายแห่งธรรมชาติ
และการมุ่งทะยานไปข้างหน้า
ที่หาเส้นชัยจุดหมายปลายทางไม่เจอ

เพราะวิธีต่างๆที่นักปฏิบัติเข้าใจและน้อมนำมา
เป็นทิศทางให้กับตนนั้น
มันไม่ใช่การปฏิบัติที่แท้จริงตามวิถีหนทางแห่งธรรมชาติ
แต่มันล้วนคือ ความหมายแห่งการปรุงแต่งของนักปฏิบัติเอง
มันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิต
เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติที่ผิดวิธีอยู่อย่างนั้น

28 ธันวาคม 2013
**********************

เซน แห่ง หนังสือ
"คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์


(https://lh3.googleusercontent.com/-LNTRHOfPfPs/Uch6MxCsA4I/AAAAAAAAcyM/2zXna-Y_pzA/w533-h333/00001072.jpg)

บทที่ 19 นาข้าวแห่งพุทธโคดม

เมื่อลมหนาวของต้นฤดู ได้พัดผ่านมาทางท้ายหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณนั้นมีท้องทุ่งนาแปลงหนึ่ง เป็นนาที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ภายในนาข้าวแปลงนั้นมีต้นข้าวที่ท้องแก่รวงใหญ่ ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่อย่างระลานตา และที่นั่นมีชาวนาที่ชื่อ "สมณพุทธโคดม" ท่านกำลังทรงใช้เคียวเก็บเกี่ยวข้าวในนาแปลงของตนอยู่ นาข้าวแปลงนี้อยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านนิคม "อุรุเวลา" เป็นหมู่บ้านซึ่งมีความสงบเงียบ เป็นสถานที่ที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน สะดวกด้วยโคจรคามในการเดินทางไปมา มีป่าชัฏเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท และมีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ยืนต้น ตั้งตระหง่านอยู่อย่างเห็นได้อย่างเด่นชัด ภายใต้ควงโพธิ์ต้นนี้ ชาวนาคนนั้นได้ใช้เป็นที่พักอาศัยแห่งตน เพื่อหลบแดดหลบฝน

ต่อมาในเวลาตะวันบ่ายคล้อยของวันนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินผ่านมา และเห็นรวงข้าวในท้องนา จึงได้เอ่ยปากกล่าวชมข้าวในนาของพระองค์ท่าน ว่าพระองค์ท่านเป็นชาวนาที่เยี่ยมยอด มีความดูแลเอาใจใส่เพาะปลูกข้าวในนาได้เป็นอย่างดี พราหมณ์จึงถามต่อพระองค์ท่านว่า มีวิธีดูแลอย่างไร จึงได้ผลผลิตเป็นข้าวรวงทองสีเหลืองงามอร่าม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้ฟังว่า เหตุที่ข้าวในนาของพระองค์ท่าน ทรงมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวมีรวงใหญ่ เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ไม่เล็กลีบเรียว เพราะเมื่อ "ฤดูฝนแห่งการได้ตรัสรู้" ที่พึ่งได้ผ่านมาถึง ท่านทรงได้ใช้ศาสตร์แห่งการเป็นกสิกรชาวนา ที่ท่านทรงได้อบรมตนเองมาตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขย ลงมือเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชื่อ "เมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งพุทธะ" ลงในแปลงนาของท่าน โดยท่านทรงกล่าวว่า ในการทำนาเมื่อต้นฤดูฝนที่ผ่านมานั้น ท่านลงมือหว่านไถโดย

(https://lh3.googleusercontent.com/-_bN7itXMJqA/UqvY1afS0WI/AAAAAAAAqFw/0-IIb5MKY8M/w433-h334/13+-+1)

"ใช้ศรัทธาของเราเป็นพืช ใช้ความเพียรของเราเป็นฝน ใช้ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ใช้หิริของเราเป็นงอนไถ ใช้ใจของเราเป็นเชือก ใช้สติของเราเป็นผาลและปฏัก ชาวนาอย่างเราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไป เพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การหว่านและไถนานั้น เราหว่านไถแล้วอย่างนี้ การหว่านและไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

31 ธันวาคม 2013
******************

เซน แห่ง หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
พระอาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร


(https://lh6.googleusercontent.com/-J_X8vpjypDc/UrIunRTWVvI/AAAAAAAArk8/Tmc6WP-yPaQ/w433-h349/18+-+1)

มีใจ
มีกระบี่
และด้วยความวุ่นวาย
จึงต้องตัดใจ
แต่เมื่อไร้ใจ
จึงไร้กระบี่
และไม่มีอะไรให้ตัด
ในท่ามกลางความสงบ
ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

1 มกราคม 2014
******************

(https://lh6.googleusercontent.com/-uFG2uoKEsag/UrIug5Z0WeI/AAAAAAAArkU/RN8NL9gEL3U/w433-h410/18+-+1)
เซน แห่ง ไม่ต้องชักกระบี่
นายเมฆ โคโมริ
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"


(https://lh3.googleusercontent.com/-govuDyIED8Q/Uq2m4mTrmmI/AAAAAAAAqkM/4Nn4PozXgYg/w433-h327/15+-+1)

ในหัวใจของพวกเธอทุกๆคน
มีเมล็ดพันธุ์ของความรัก
และความปรารถนาอันบริสุทธิ์

2 ม.ค. 2014
***********

(https://lh3.googleusercontent.com/-2GfBEOlk7tY/UqqcpKWsVNI/AAAAAAAApr8/6sy5gkqxFL4/w333-h214/12+-+1)
เซน แห่ง พึ่งจะก้าว
นายเมฆ โคโมริ
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"


(https://lh6.googleusercontent.com/-duN-WTMBUEQ/Uq7mUh1xiuI/AAAAAAAAq20/FrDGh9EJ1OY/w433-h545/16+-+1)

เมื่อไม่มีผืนน้ำ
ก็ไม่มีภาพสะท้อน

3 ม.ค. 2014
******************

(https://lh4.googleusercontent.com/-cO_ogjG8eis/Uq2iiUUBxnI/AAAAAAAAqeY/HmNi-PyiiTg/s299-p/15+-+1)
เซน แห่ง เหตุและปัจจัย
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
พระอาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/s168x128/1528719_471402076303172_2003928471_n.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ มกราคม 14, 2014, 04:18:42 pm

(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/duyen-dang-thumb1-8424-N_p.jpg)

เพราะ ธรรมชาติ มันย่อมแจ่มแจ้ง
ไปโดยรอบ
ด้วยความเป็นตัวมันเอง แห่ง..
.. ความเป็นธรรมชาติ
โดย.. ไม่ต้องใช้ ความมุ่งเน้น
ในการดู ในการเห็น

(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/xuan-thumb1-5367-N_l.jpg)

การดู การเห็น ชนิดนี้
มันเป็นเพียง
ภาวะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
เป็นการเห็น แห่ง.. ปุถุชนภาวะ
แต่เพียงเท่านั้น
ที่เกิดขึ้น.. มันมิใช่เป็นการ "เห็น
ตาม
ความเป็นจริง" แต่อย่างใด

11 มกราคม 2557
*****************

(http://files.myopera.com
/Gaiqueart/blog/3644181878_9099c45a83.jpg)
เซน แห่ง เห็นด้วยปัญญา
หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร


(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/5822285231%20sen.jpg)

ถ้าท่านคิดว่า มรรค นั้น
เกิดจากการใช้ จิต ค้นหา
ท่านก็ยัง
ดำเนินไปในทางที่ผิดอยู่
เพราะ.. มรรค นั้น
มันเป็นเพียงการทำความเข้าใจ
ในความเป็นจริง
ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น มรรค
จึงไม่ต้องค้นหาและไม่ต้องใช้อะไรค้นหา

12 มกราคม 2557
********************

(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/sen%20co%20gai%20ben%20ho.jpg)
เซน แห่ง มรรคคือธรรมชาติ
หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร


(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/5969909048_d4e5e1e50f_z.jpg)

ใครก็ตามที่พูดถึงการปลดเปลื้อง
แห่ง.. จิต
เขาผู้นั้นย่อม อยู่ห่างจาก
จิต อันแท้จริง
เพราะ จิต ก็คือ
ธรรมชาติแห่ง.. ความเป็นจริง
ของมัน อยู่อย่างนั้น อยู่แล้ว
มันเป็นจิตที่เป็น ธรรมชาติ อยู่แล้ว
มาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที
มันมิใช่เป็นปรากฏการณ์
ที่เป็น.. ภาวะแห่งจิต

13 มกราคม 2557
**************

(http://files.myopera.com/BaoTranart/blog/00k4054c55u.jpg)
เซน แห่ง จิตที่มิใช่จิต
หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

(http://files.myopera.com/Gaiqueart/blog/3515478-md.jpg)
>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2014, 03:55:06 pm

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/t1/p280x280/1508613_476646862445360_2057854313_n.jpg)

การที่เรามองเห็น มัน ด้วย.. ความเข้าใจ ใน
ความเป็นมัน
ที่มัน.. อยู่กับเราแบบนี้ มา.. นานแสนนานแล้ว
และเป็นการ ปรากฏตัว ของมัน.. เพียงครั้งเดียว
และ มัน จะไม่มีวันหนีหายไปจากเราได้อีกเลย
นี่คือ.. ความเป็นธรรมชาติแห่ง พุทธะ

เซน แห่ง ไม่เคยเลือนหาย
11 มกราคม 2557
..
..

(https://lh3.googleusercontent.com/-poghVPBpt1k/UhRCFXY7FZI/AAAAAAAFOtI/kfAIPd1PxX0/w426-h441/photo.jpg)

มรรคก็คือ
การที่ระลึกรู้ได้ตามธรรมชาติว่า
ธรรมชาติมันยังคงทำหน้าที่ของมัน
อยู่อย่างนั้นตามปกติ

เซน แห่ง มรรคา
16 มกราคม 2557
..
..

(https://lh4.googleusercontent.com/-cK-0uxRLZPI/UWj5-QXWd0I/AAAAAAAAqzg/m9YzB7w1Ca4/w506-h402-o/aspettami+ti+raggiungo+%2C+by+alla+alborova.jpg)

ใครก็ตามที่รู้ว่าแท้จริงตามธรรมชาติ
ย่อมไม่มีอะไรกับอะไรอาศัยซึ่งกันได้
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงมรรค

เซน แห่ง ธรรมชาติแห่งความ
ไม่มีเหตุและปัจจัย
18 มกราคม 2557
..
..

(https://lh4.googleusercontent.com/-4nlxi6Wp2Mk/UuusrXyuasI/AAAAAAACawk/23Lr3HC06OA/w333-h3330/1002135_648987425140672_284870844_n.jpg)

ความทุกข์ยากคือเมล็ดพันธุ์พืช
แห่งพุทธะ
ความทุกข์เป็น สัจธรรม ความเป็นจริง
ที่เข้ามากระตุ้นให้ ปุถุชน ใช้ปัญญาพิจารณา
ถึงธรรมชาติ แห่ง ทุกข์นั้น

เซน แห่ง เมล็ดพันธุ์
19 มกราคม 2557
..
..

(https://lh3.googleusercontent.com/-CQFSv4y-B6o/UcmRslsHyRI/AAAAAAAAykA/utXrlAY4T94/w336-h444-o/photo.jpg)

ความรู้แจ้งนั้น
ดำรงอยู่โดยธรรมชาติของมัน
จิตที่คิดจะได้
กลับยิ่งทำให้มืดบอด

เซน แห่ง สวนทางกัน
21 มกราคม
..
..


(https://lh3.googleusercontent.com/-gABJ34g2RUo/UbZ3Yaka1fI/AAAAAAAB_l8/OFnjnTsPTPI/w506-h337-o/600552_519315761455379_667112719_n.png)

หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
:>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

(https://lh6.googleusercontent.com/-0SQJNIt5_LU/UiA8s1dJiwI/AAAAAAAAQcQ/N2tRKjKRhAQ/w346-h260/Imagem+542.jpg)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2014, 04:42:55 pm

(https://lh4.googleusercontent.com/-GPyZqHTqnIY/UO98NPQoDUI/AAAAAAAANh0/yZsAQdzy2CA/w406-h568-o/BlackTreeLake.gif)

จงใช้ชีวิตอยู่กับเหตุ
และทิ้งผลไว้ให้แก่
กฎอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล

เซน แห่ง วิถีชีวิตที่เรียบง่าย
22 มกราคม 2557
..
..

(https://lh4.googleusercontent.com/-UWh2Dy-hvH4/UcVdhUOV3sI/AAAAAAAADxI/sK_zvsdfb8U/w446-h252-o/DSC_1254.JPG)

เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรม
ไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล
เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้จำนวนมาก
แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์
แห่งความเป็นมนุษย์

เซน แห่ง ความงดงาม
23 มกราคม 2557
..
..

(https://lh4.googleusercontent.com/-paKk0nGaiA0/UdqFFQogYqI/AAAAAAAAAZQ/4mDNRidc0jU/w306-h559-o/IMG_0061.jpg)

กาลเวลากลืนกิน
ทุกสรรพสิ่งไม่เหลือหรอ
ข้าไม่รอดเช่นกัน

บทกวีไฮกุ แห่ง ไม่เว้น
24 มกราคม 2557
..
..

(https://lh5.googleusercontent.com/-qbyBbW2U1vs/UuMeSas0wII/AAAAAAAAI5E/9Jy_hlK31Mw/w433-h374/24+-+1)

ความเป็น.. บัณฑิต
คือ ความที่.. มีความอดทนอดกลั้น
ใน ทุกภาวะ ที่กำลังเผชิญ
ความเข้มแข็งเท่านั้น
ถึงจะฝ่าฟันก้าวเดินต่อไปได้

เซน แห่ง ไม่เคยอ่อนแอ
24 มกราคม 2557
..
..

(https://lh6.googleusercontent.com/-PiSG1U2oPjA/UghHjaANy0I/AAAAAAAAhjI/tWj7HqfPMto/s333/sem367_047.gif)

ตถาคต.. ท่านทรงตรัสเพียง ขันธ์ทั้งห้า
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น
หามีตัวตนไม่ หาใช่ตัวใช่ตนไม่
ความอนิจจัง ไม่เที่ยงแห่ง ขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้
มีความหมายไป.. ในทางที่ว่า
มันไม่เคยมี ขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นมาก่อน
ซึ่งหมายความถึง.. มันไม่เคยมี..
ความปรากฏแห่ง ขันธ์ เกิดขึ้น
เพื่อ.. เป็นเหตุปัจจัย อันอาจจะทำให้..
เข้าไปยึดมั่นถือมั่น
จนกลายเป็น ตัณหา อุปาทาน ขึ้นมาได้
ซึ่งหมายความถึง ความไม่ปรากฏอะไรเลย..
... สักสิ่งเดียว
มันคงไว้แต่ ความเป็นธรรมชาติแห่ง..
... ความว่างเปล่า
ไร้ความหมายแห่ง.. ความเป็นตัวเป็นตนของมัน
ที่มันทำหน้าที่แสดง..
เนื้อหาของมันเอง ตามธรรมชาติ อยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

เซน แห่ง ความไม่เคยปรากฏ
25 มกราคม 2557
..
..

(https://lh5.googleusercontent.com/-SlUrU3dQ5WA/UuRBj4p9z6I/AAAAAAAEXqI/Lf0xgNT0zFc/w608-h424/1+Evening+Rhythms+by+James+Coleman.png)

หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

(https://lh6.googleusercontent.com/-vA-IKHIp1zs/UedeKDqqKnI/AAAAAAAAI6U/cF9-POAOduM/w506-h337-o/dragonfly2.gif)
หัวข้อ: Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
เริ่มหัวข้อโดย: ฐิตา ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2014, 06:35:58 pm

(https://lh4.googleusercontent.com/-wCNHK5gtGjo/UWAHVF8L_6I/AAAAAAAARqg/5eJ2CFSQsl4/w483-h375/photo.jpg)

ทุกคน.. ก็ต่างอยู่ บน..
เส้นทางใด เส้นทางหนึ่ง
ของตัวเองอยู่
เพียงแค่ว่า จะเลือก..
เส้นทางใหน
ที่จะ.. นำ ตัวเอง ไปสู่.. "คำตอบ"
ที่เป็น.. ความจริงแท้ ของชีวิตตน

เซน แห่ง นิ้วกลม พื้นที่ชีวิต
31 มกราคม 2557
..
..

(https://lh6.googleusercontent.com/-YpEuIlIt140/Uifsl9hj7_I/AAAAAAAAlCY/dy9OKi5d9fk/w383-h233/photo.jpg)

ผู้ซึ่ง ติดยึด อยู่กับความรื่นรมย์
ได้ทำลายปีกแห่งชีวิต
แต่ ผู้ซึ่ง.. จุมพิตความรื่นรมย์
ขณะที่ มัน บินจากไป
จะมีชีวิตสถิตใน..
นิรันดรภาพ... แห่ง แสงอรุณ

เซน แห่ง ไม่เหนี่ยวรั้ง
1 กุมภาพันธ์ 2557
..
..

(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1/s280x280/12379_486911961418850_195294380_n.jpg)

ดอกบัว.. ดอกนั้น กับสายพระเนตร
ที่ทรงทอดมองดู
ตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็น เส้นทางแห่ง..
ความ.. เจริญรุ่งเรือง ในภายภาคหน้า
แสงแห่ง  พุทธะ  จะสาดส่องให้แก่..
ดอกบัวนานาพรรณ
ได้บานกลีบของมันออก เป็นระยะๆไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุปัจจัยมาจาก..
มหากัสสปะ อัครสาวกแห่งเรา
พระตถาคตเจ้าจึงทรงชูดอกบัวดอกนั้น
ขึ้นท่ามกลางสันนิบาตที่ประชุม

เซน แห่ง กำเนิดเซน
5 กุมภาพันธ์ 2557
..
..

(http://bsphamdoan.files.wordpress.com/2011/06/550px-five_disciples_at_sarnath.jpg)

กรรมชั่วทั้งหมด.. อันข้าพเจ้าได้กระทำ..
... จนถึงขณะนี้
ด้วยเหตุแห่ง.. ความโลภ โกรธ และหลง
อันไม่มีจุดตั้งต้นของข้าพเจ้า
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ข้าพเจ้าขอสารภาพ ณ บัดนี้
และขอชำระให้บริสุทธิ์ทั้งหมด

เซน แห่ง การสำนึก
6 กุมภาพันธ์ 2557
..
..

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t1/p403x403/1800317_727762170575326_1926575206_n.png)

หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
:>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

(https://lh5.googleusercontent.com/-T0EUgg8yYQQ/UQEtYQK2atI/AAAAAAAAPqg/TGXIPz5VBTI/w506-h316-o/lakebeautiful.jpg)